นิสัยและการสะสมเปลี่ยนไปได้

 
เมตตา
วันที่  3 ต.ค. 2551
หมายเลข  10050
อ่าน  2,405

แต่ละคนมีอุปนิสัยสะสมมาแตกต่างกันโดยเฉพาะสะสมอกุศลมากกว่ากุศล แต่เมื่อได้ ศึกษาพระธรรมก็รู้ว่าขณะใดเป็นอกุศลจิต และรู้โทษภัยของอกุศลจิต เมื่อได้อบรมเจริญสติปัฎฐานก็เป็นปัจจัยให้ละเว้นการกระทำใดๆ ที่เป็นอกุศลที่เป็นอุปนิสัยสะสมมาแต่อดีตได้ เช่น เป็นผู้มีอุปนิสัยโกรธฉุนเฉียวเมื่อมีใครมาด่าว่าหรือนินทาว่าร้าย ก็จะด่าตอบโต้ แต่แทนที่จะเกิดอกุศลจิตก็อาจเห็นโทษของความโกรธ เห็นภัยของอกุศล ผู้นั้นจะรู้เองว่าเวลาอบรมเจริญปัญญาแล้วปัจจัยที่จะให้ความโกรธหรือ วาจาทุจริตลดน้อยลง นิสัยและการสะสมเปลี่ยนไปได้ แต่ไม่ใช่ตัวตนที่สามารถ เปลี่ยนนิสัยและการสะสมได้ ความเข้าใจธรรมและการอบรมเจริญปัญญาระลึกรู้ ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริงเป็นปัจจัยที่ทำให้อุปนิสัยจะค่อยๆ เปลี่ยนไปได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
choonj
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ผมมีความเห็นว่า นิสัยและการสั่งสมในตัวมันเองไม่ได้เปลี่ยน สภาพธรรมเกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก นิสัยและการสั่งสมก็เกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก แต่การสั่งสมมีอยู่ทุกเวลา เจริญทั้งกุศลและกุศล จึงทำให้รู้เหมือนว่าเปลี่ยนไปได้ เมื่อศึกษาธรรมะก็ต้องเข้าใจให้ถูกตามนี้ ใช่มั้ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปริศนา
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ขอแสดงความเห็นส่วนตัว สืบเนื่องจากความเห็นของ คุณชุณ นะคะ อุปนิสสัยเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีเหตุปัจจัย คือเหตุ สมควรแก่ผลนั่นเองค่ะ ปัจจัยในอดีตมีผลในปัจจุบัน ปัจจัยในปัจจุบันจะเป็นผลในอนาคต เช่น ความเข้าใจพระธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดความเห็นถูก ความเห็นถูกเป็นปัจจัยให้รู้ว่าควรสะสมกุศลแทนที่จะสะสมอกุศล เช่น ควรฟังพระธรรมสม่ำเสมอพิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นต้น เหตุแห่งการสะสมกุศลธรรม (โดยเหตุ คือปัญญาทำกิจเห็นโทษของกุศลธรรม เป็นต้น) ตามกำลังของสติและปัญญา ที่ได้อบรมดีแล้วย่อมมีผล คืออุปนิสสัย ค่อยๆ เปลี่ยนไป เห็นประโยชน์ของการสะสมกุศลธรรมมีมากขึ้นก็เป็นประโยชน์ เกื้อกูล ต่อการเจริญกุศลทุกประการ มากขึ้น เช่น ถ้าบุคคลใด มีอุปนิสสัยที่เป็นปกติมักโกรธ แล้วไม่เห็นโทษของความโกรธว่าสะสมมากๆ ขึ้นก็มีกำลังขึ้น จนมีกำลังมากจนสามารถที่จะล่วงออกมา เป็นกายทุจริต วาจาทุจริตได้.และมีผลเป็นโทษยิ่งๆ ขึ้นไปหากยังไม่เห็นโทษ หรือบุคคลใดเห็นคุณของพระธรรม เพราะตั้งใจฟังก็เข้าใจ และนำมาประพฤติในชีวิตประจำวันแล้วเห็นคุณของพระธรรม ว่าขัดเกลาอกุศลได้จริงจากผู้ที่ไม่มีอุปนิสัย ไม่มีความเพียรในการฟังก็มีความเพียรมากขึ้น เป็นเหตุแห่งการสะสมอุปนิสสัยในการฟังพระธรรมมากขึ้น เป็นต้น. เช่น คุณชุณ สะสมมาที่จะฟังพระธรรม คุณชุณจึงมาฟังพระธรรมไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นเพราะอุปนิสสยปัจัย สภาพที่เกิดแล้วดับแล้ว เป็นความจริงแต่ความจริงอีกอย่างคือ เกิดแล้ว ดับแล้วแต่เป็นปัจจัยสะสมอยู่ในจิตเป็น "อนันตรปัจจัย" แก่จิตดวงต่อๆ ไป เช่น การสะสมสันดานของจิต เกิดที่ชวนะวิถีจิตทุกๆ ครั้งที่เห็น คิดนึก ถ้าจิตเป็นกุศลก็สะสมกุศลนั้นๆ ๗ เท่าถ้าจิตเป็นอกุศลก็สะสมอกุศลนั้นๆ ๗ เท่า ซึ่งเป็นความจริงที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดงเรื่องจิต และวิถีจิต โดยละเอียด

หากคุณชุณ สนใจจะทราบรายละเอียดเรื่อง การสะสมอุปนิสสัยของตนเอง ขอแนะนำให้อ่านโดยตรง จากข้อความที่ท่านอาจารย์สุจินต์บรรยายไว้แล้ว ย่อมดีกว่าค่ะ เพราะท่านได้อธิบาย เรื่องนี่ไว้โดยละเอียดและข้าพเจ้าเอง ก็แสดงความเห็นในฐานะที่กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่จึงอาจมีข้อความ ที่ไม่ละเอียดรอบคอบ พอเพียงค่ะ มีข้อความเรื่องนี้ ในกระทู้

ปกตูปนิสสยปัจจัย และ กรรม

ปกตูปนิสสยปัจจัย และ ผลของกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 4 ต.ค. 2551

เรียน คุณ ปริศนาขอบคุณที่แสดงความคิดเห็นของผม กัลยาณมิตรก็ต้องอย่างนี้แหละผิดถูกก็ช่วยๆ กันไป ผมอ่านความเห็นของคุณปริศนาแล้วเข้าใจว่าน่าจะเข้าใจตรงกันนะหรือว่าไม่ตรง? เพีองแต่ว่าคุณปริศนา อธิบายเป็นปัจจัย ส่วนผมไม่ได้อธิบายเป็นปัจจัยเพราะผู้ถามเขาถามเป็นนิสัยและการสะสม คำว่า "แต่การสั่งสมมีอยู่เจริญทั้งกุศลและอกุศล" นี้รวมอยู่แล้วปัจจัยที่คุณปริศนาอธิบาย ที่ผมชี้้ให้เห็นเพื่อเข้าใจถูกต้อง คีอนิสัยและการสะสมในตัวมันเองเกิดแล้วดับแล้ว ส่วนที่เข้าใจเปลี่ยนไปนั้นเพราะการสั่งสมใหม่ที่เจริญขี้นทุกเวลา การเข้าใจอย่างนี้จีงไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเปลี่ยนไป จะทำให้เข้าใจธรรมะผิดต่อไปได้ หรือว่าคุณปริศนาเข้าใจเป็นอย่างอื่น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปริศนา
วันที่ 4 ต.ค. 2551

โดยส่วนตัว เรื่องปัจจัยเป็นเรื่องที่ยากมาก ถ้าศึกษาเองโดยไม่มีท่านอาจารย์สุจินต์ ได้กรุณาบรรยายไว้สิ่งที่เขียน และอธิบาย ตามความเห็นส่วนตัว จึงเป็นการอธิบาย ตามความเข้าใจในสิ่งที่ ท่านอาจารย์สุจินต์อธิบายไว้ และเมื่อเข้าใจระดับหนึ่งจึงทบทวนอีกครั้งด้วยการเขียน และการตอบข้อความที่ข้าพเจ้าได้เขียน โดยคัดลอกจากการถอดเทป โดย คุณย่าสงวนซึ่งเป็นเอกสารของ มศพ ที่คุณวรรณี ได้กรุณาส่งมาให้อ่าน เพื่อศึกษาในรายละเอียด จึงขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้รับประโยชน์และจะขอบพระคุณมากหากท่านพบข้อความใดที่ข้าพเจ้าอาจคัดลอกมาแล้ว มีความผิดพลาดและมีการท้วงติงในส่วนที่คลาดเคลื่อน ขอน้อมรับ และยินดีแก้ไขให้ถูกต้อง

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 5 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 5 ต.ค. 2551

เรียนพี่choonj ค่ะ

นิสัยและการสะสมมาในอดีตย่อมเปลี่ยนไม่ได้แน่นอนค่ะ แต่นิสัย ที่ไม่ดีที่ได้สะสมมาแล้วในอดีตจะให้มันมีต่อไปในปัจจุบันและสะสมต่อไปในอนาคต หรือ? การศึกษาพระธรรม เข้าใจพระธรรม และการอบรมเจริญปัญญาเป็นปัจจัยให้เปลี่ยนไปได้ ปัจจัยเป็นเรื่องยากเป็นเรื่องละเอียดมากจริงๆ เมตตาเองก็ได้รับประ โยชน์มากจากกระทู้ที่คุณปริศนากรุณาคัดลอกทอดเทปโดยคุณย่าสงวน และทำความ เข้าใจในสิ่งที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้อธิบายไว้และนำมาลงในกระทู้เพื่อให้ได้ศึกษากัน ต้องขอขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตและความเพียรของคุณปริศนาด้วยค่ะ สำหรับเมตตาเองได้มีโอกาสศึกษาจากกระทู้ที่คุณปริศนานำมาลง ทำให้มีความเข้าใจ มากขึ้น และได้อ่านศึกษาจากหนังสือธรรมปฎิบัติในชีวิตประจำวัน โดย คุณนินา วันกอร์คอม แปลโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กระทู้ นิสัยและการสะสมเปลี่ยนไปได้ ที่นำมาลงเพราะเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เพราะสอดคล้องกับเรื่องปัจจัย เช่น อุปนิสสยปัจจัยและปกตูปนิสสยปัจจัยที่ คุณปริศนากรุณานำมาลง หากมีข้อความใดผิดพลาดขอท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย เช่นกันค่ะ ขอน้อมรับและยินดีแก้ไขให้ถูกต้องค่ะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
choonj
วันที่ 5 ต.ค. 2551

เมตตา ลองพยายามทำความเข้าใจจุดที่ผมพยายามจะบอกว่า การสะสมเป็นอันหนี่ง การสั่งสมที่ดีและไม่ดีก็เป็นอีกอันหนี่ง เพราะฉะนั้นจีงไม่มีการปล่อยจะให้มีต่อในปัจจุบันและสะสมต่อในอนาคต นิสัยและการสั่งสมที่ว่าเปลียนไปได้นั้น เพราะมีการสั่งสมใหม่ๆ ต่อที่ดีหรือไม่ดีตามเหตุปัจจัยอะไรก็แล้วแต่ จีงดูเหมือนว่าเปลียนไปได้ ซึ่งการเข้าใจอย่างนี้ อาจจะทำให้เข้าใจธรรมะผิดได้ว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเปลี่ยนไป เพราะทุกสิ่งเป็นธรรมไม่ใช่ตน ผมถีงถามว่าใช่มั้ยครับ ผมก็อ่านหนังสือ Abhidhamma in daily live ของ คุณนินา ฉบับภาษาอังกฤษ คุณนินาเขียนว่าอาจารย์เป็นผู้ให้แรงบันดาลใจในการเขียน และ ไม่คิดว่าอาจารย์จะแปลหนังสือเล่มนี้เพราะยังไม่เคยเห็น ถ้ามีผมก็อ่านฉบับภาษาอังกฤษแล้วหลายหน แล้วหนังสือเล่มนี้เขียนมานานแล้วตั้งแต่ปี ๑๙๘๙ และ พิมพ์อีกที่เมื่อ ๑๙๙๐ ก่อนคุณนีน่าจะแปล ปรมัตถธรรมสังเขป เมื่อปี ๒๐๐๕ เป็นหนังสือที่น่าศีกษามาก จะเขียนว่ามากกว่าก็เกรงใจหนังสือเล่มเก่า ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 5 ต.ค. 2551

ที่นี่น่ารื่นรมย์

มิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 ต.ค. 2551

เปลี่ยนในขณะปัจจุบัน คือ เปลี่ยนโดยสะสมกุศลมากขึ้น เปลี่ยนโดยบรรเทาอกุศลลงเปลี่ยนเพราะปัญญาเข้าใจพระธรรมตรงตามความเป็นจริงที่ปรากฏ ไม่ใช่ตัวตนเปลี่ยน พระธรรมสามารถให้คำตอบกับเราได้หลายแง่มุมมากมาย พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ไม่มีที่จะผิดเพี้ยนเลย แต่แง่มุมของผู้แสดงธรรมต่างหากที่จะช่วยให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเกิดกุศลจิตที่ประกอบไปด้วยปัญญาหรือไม่ ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ควรจะพิจารณา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เมตตา
วันที่ 5 ต.ค. 2551

เรียนพี่ choonj ค่ะ

หนังสือ ธรรมปฎิบัติในชีวิตประจำวัน

โดย

นินา วัน กอร์คอม

แปลโดย

สุจินต์ บริหารวนเขตต์

เป็นคนละเล่มกับที่พี่พูดถึงค่ะ เป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า

MENTAL DEVELOPMENT IN DAILY LIFE

BY

NINA VAN GORKOM

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เมตตา
วันที่ 6 ต.ค. 2551

เรียนพี่choonj ค่ะ การสะสมหรือการสั่งสม มีความหมายเหมือนกันค่ะ บางท่านจะใช้ "สะสม " บางท่านใช้ "สั่งสม" ก็ได้ค่ะ ธรรมชาติของจิตจะสะสม หรือสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ซึ่งจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ค่ะ แต่โดยมากจะเป็นอกุศลมากกว่าค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
khampan.a
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นไปเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา เพื่อพิจารณาสภาพธรรมที่แต่ละบุคคลได้สั่งสมมา (กุศลมาก หรืออกุศลมาก อย่างไร) เพราะเหตุว่าบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเราได้ และเราก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นได้ เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือเป็นผู้ได้ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ และเห็นคุณค่าของพระธรรม แล้วน้อมประพฤติปฏบัติตาม ผู้นั้นก็จะได้รับประโยชน์จากพระธรรม เป็นการสั่งสมเหตุใหม่ที่ดีของผู้นั้นเอง การฟังพระธรรมจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล อย่างแท้จริง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
orawan.c
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
happyindy
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

คิดไปทำไมมี

เรื่องจิตเจตสิก...ที่สะสม

เกิดแล้วดับ...ลับหาย...สลายจม

แต่ทิ้งรอยทับถม...สะสมไป

เก่าไปแล้ว

ทิ้งรอยไว้

ให้ใหม่เกิด

นับแต่ถือกำเนิด

นับไหวไหม

เก่าแล้ว ดับแล้ว ช่างปะไร

ขณะใหม่ สะสมใหม่ ขอให้ดี

ค่อยๆ เพิ่ม

สะสม อบรมไป

เหตุปัจจัย จะงอกไว ก็ใช่ที่

ความเข้าใจ กว่าจะโต มั่นคงดี

อีกแสนโกฏิกัปป์ปีอาจเป็นได้

ทั้งหมดเริ่ม

ที่ฟังธรรม

นะพี่ชาย

ความเข้าใจ

จักเพิ่มพูน...คูณทวี

เป็นปัจจัย

เป็นธาตุดี

ทั้งสิ้น...เอย

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
choonj
วันที่ 7 ต.ค. 2551

เรียน เมตตา

ผมก็เข้าใจว่าเหมือนกันนะ แต่เวลาพิมพ์บางทีมือมันไปเองนะ อย่างไรก็ตาม ขอบใจ

ขอบใจ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ประเด็น มี 2 ประเด็นคือ อะไรที่ เปลี่ยนไม่ได้ เปลี่ยนได้ อะไรเปลี่ยน

อะไรเปลี่ยนไม่ได้ เมื่อสภาพธรรมเกิดขึ้น เช่น อกุศลเกิดขึ้นก็ต้องเป็นชาติอกุศล จะเป็นกุศล วิบาก กิริยาก็ไม่ได้ เกิดแล้วเป็นสภาพธรรมอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น จึงเป็นสัจจะ ความจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในตัวของสภาพธรรมนั้นที่เกิดขึ้น เกิดเป็นสภาพ ธรรมใดก็เป็นสภาพธรรมนั้น แต่สภาพธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เช่น อกุศลจิตเกิดขึ้น เมื่อ ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ยังเป็นปัจจัย (อนันตรปัจจัย) ให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้เอง จึงมาสู่ประเด็นที่ว่า เปลี่ยนได้ อะไรเปลี่ยน

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2551

เปลี่ยนได้ อะไรเปลี่ยน จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม สะสมทั้งฝ่ายที่ดีและไม่ดี ซึ่งก็ คืออาสยะ สะสมทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี คือเมื่ออกุศลเกิดก็สะสม เมื่อจิตที่เป็นอกุศลนั้นดับ ไปก็สะสมสิ่งที่ไม่ดีต่อไปในจิตขณะต่อไป เช่นเดียวกับฝ่ายกุศล เมื่อเกิดขึ้นก็สะสมในจิตขณะต่อไป ดังนั้นธรรมดาปุถุชนผู้ไม่ได้อบรมปัญญา ก็สะสมอกุศลเป็นส่วนมาก แต่เมื่อมีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ขณะที่ปัญญาเกิด ขณะที่กุศลจิตเกิดก็สะสม ความเห็นถูก สะสมกุศลธรรม สะสมอุปนิสัยฝ่ายดีมากขึ้น ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย เหมือนด้ามมีดที่ค่อยๆ สึก แต่แทบไม่รู้เลยว่าเปลี่ยนเพราะกิเลสสะสมมามาก แต่จะบอกว่าเปลี่ยนไมได้ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ เพราะไม่เช่นนั้น พระธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรง แสดงก็เป็นโมฆะ เพราะไม่สามารถเปลี่ยนจากบุคคลที่เป็นปุถุชนเป็นพระอริยเจ้าได้ จน สามารถดับกิเลส แต่ค่อยๆ เปลี่ยน จากการฟังพระธรรม ธรรมทำหน้าที่ ไม่มีเราเปลี่ยน มีแต่ธรรมครับ ดังนั้นสิ่งที่เปลี่ยนคือ จิตและเจตสิกเปลี่ยนไปในทางฝ่ายกุศลหรืออกุศลมากขึ้น เปลี่ยนจากจิตที่มีกิเลสจนเป็นจิตที่ไม่มีกิเลสนอนเนื่องเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2551

ความเข้าใจถูกอันเกิดจากการฟังพระธรรม อันอาศัยสัตบุรุษเป็นผู้แสดงย่อม สามารถเปลี่ยนความเข้าใจผิด ความไม่รู้ที่สะสมมามากให้เป็นความเข้าใจถูกได้อาศัยกัลยาณมิตรความเป็นผู้ว่าง่าย พิจารณาธรรม เห็นประโยชน์ของพระธรรม ย่อมเปลี่ยนได้เพราะปัญญาทำหน้าที่เปลี่ยนนั่นเองครับ กุศลธรรมก็เจริญขึ้นอันเกิดจากความเห็นถูกครับ เชิญอ่านพระสูตรที่แสดงว่าเปลี่ยนได้ แต่ไม่ใช่ตัวตนที่เปลี่ยนแต่เกิดคจากความเข้าใจ จึงเปลี่ยนจากอกุศลเป็นกุศลครับ

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๓

การตั้งตนไว้ชอบ

คนบางคนในโลกนี้ ย่อมทำตนที่ทุศีลให้ตั้งอยู่ในศีลสัมปทา ตนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ในสัทธาสัมปทา ตนที่ตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคสัมปทา การตั้งตนดังกล่าว ชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบ. การตั้งตนไว้ชอบนี้ เรียกว่า อัตตสัมนาปณิธิ. อัตตสัมมาปณิธินี้แลเป็นมงคล.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ปริศนา
วันที่ 8 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะที่กรุณาอธิบายให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นจากความเห็นที่ ๑๗ -๑๙

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
wannee.s
วันที่ 9 ต.ค. 2551

พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลคบคนเช่นไร ก็เป็นเช่นนั้น ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น นกสองพี่น้อง นกตัวแรกไปตกที่บริเวณของพวกฤาษีอยู่ เสพคุ้นกับฤาษี นกตัวนั้นก็มีคุณธรรมด้วย ส่วนนกอีกตัวหนึ่งไปตกที่อยู่หมู่โจรก็มีนิสัยไม่ดี ไม่มีคุณธรรม การคบคนจึงสำคัญ ทำให้เปลี่ยนนิสัยจากไม่ดีเป็นดีได้ จากคนดีเป็นไม่ดีก็ได้ค่ะ พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่าการไม่คบคนพาลเป็นข้อแรก การคบบัณฑิตเป็นข้อสอง

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
choonj
วันที่ 10 ต.ค. 2551

จากความเห็นที่ ๑๗ ถีง ๑๙ จะขอถามคุณ ประเดิม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องมากขี้น คือ จากปุถุชนเป็นอริยบุคล การเปลี่ยนเช่นนี้ เรียกว่า การเปลี่ยนทางโลกหรือทางธรรม หรือว่าไม่เรียกทางโลก ทางธรรมเรียกว่าเปลี่ยนเฉยๆ ทางโลกเมื่อมีอย่างหนึ่งแล้วกลายเป็นอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าการเปลี่ยน แต่ทางธรรมเมื่อบรรลุเป็นอริยบุคคลเรียกว่าการเปลี่ยนหรือเปล่า คือ จิต เจตสิก เมื่อการสั่งสมจนเป็นอริยบุคคล เรียกว่าการเปลี่ยนหรือเปล่า แล้วถ้าเรียกว่าการเปลี่ยนอาจเข้าใจผิด เหมือนกับการเปลี่ยนทางโลกที่มีตัวตนเปลี่ยนได้หรือเปล่า คือผมยังไม่เข้าใจว่าการสั่งสม คือการเปลี่ยนและเรียกว่าเปลี่ยน แต่เข้าใจว่า จิตที่เกิดต่อจากจิตที่ดับด้วยอนันตรปัจจัยสั่งสม แต่ต่างจากจิตที่ดับไม่เรียกว่าเปลี่ยน แต่เป็นจิตอีกดวงที่มีการสังสมมากขึ้นเท่านั้นเอง และไม่เกี่ยวกับดวงที่ดับ ผมก็ถือโอกาสสนทนาเพื่อการเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
orawan.c
วันที่ 10 ต.ค. 2551

ความจริงที่มีลักษณะเฉพาะของตนเปลี่ยนแปลงไม่ได้แน่นอน แต่สามารถเปลี่ยน ความเห็นผิดเข้าใจผิดในสภาพธรรมตามความเป็นจริงให้เป็นความเห็นถูกเข้าใจถูกได้ ด้วยการอบรมเจริญปัญญาโดยเริ่มต้นที่ฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะและเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
choonj
วันที่ 10 ต.ค. 2551

เป็นผู้ฝึกเวไนยสัตว์ เป็นธรรมเป็นธรรมทุกอย่างเป็นธรรม ฟังธรรมให้เป็นธรรมไม่ใช่เรา ฟังให้เข้าใจไม่ใช่เรา มีแต่ความประพฤติของขันธ์ ไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตน สี่งที่เกิดดับเป็นทุกข์ล้วนไร้สาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2551
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ ๒๒ โดย choonj จากความเห็นที่ ๑๗ ถีง ๑๙ จะขอถามคุณ ประเดิม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องมากขี้น คือจากปุถุชนเป็นอริยบุคล การเปลียนเช่นนี้ เรียกว่า การเปลียนทางโลกหรือทางธรรม หรือว่าไม่เรียกทางโลก ทางธรรมเรียกว่าเปลี่ยนเฉยๆ ทางโลกเมื่อมีอย่างหนึ่งแล้วกลายเป็นอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าการเปลี่ยน แต่ทางธรรมเมื่อบรรลุเป็นอริยบุคคลเรียกว่าการเปลียนหรือเปล่าคือ จิต เจตสิก เมื่อการสั่งสมจนเป็นอริยบุคคล เรียกว่าการเปลี่ยนหรือเปล่าแล้วถ้าเรียกว่าการเปลี่ยนอาจเข้าใจผิดเหมื่อนกับการเปลี่ยนทางโลกที่มีตัวตนเปลียนได้หรือเปล่า คือผมยังไม่เข้าใจว่าการสั่งสม คือการเปลี่ยนและเรียกว่าเปลี่ยน แต่เข้าใจว่าจิตที่เกิดต่อจากจิตที่ดับด้วยอนันตรปัจจัยสั่งสมแต่ต่างจากจิตทีดับไม่เรียกว่าเปลี่ยน แต่เป็นจิตอีกดวงที่มีการสั่งสมมากขึ้นเท่านั้นเอง และไม่เกี่ยวกับดวงที่ดับ ผมก็ถือโอกาสสนทนาเพื่อการเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น ครับ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ก็ต้องเริ่มต้นให้เข้าใจว่ามีแต่ธรรม ไม่ใช่เรา ที่เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ดังนั้นที่ กล่าวว่า เปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล อะไรเปลี่ยน ถ้าไม่ใช่สภาพธรรมที่ เปลี่ยนคือ สภาพจิต คำถามอาจมีว่าเปลี่ยนอย่างไร ในเมื่อจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไปก็เกิดจิตดวงใหม่ แล้วเปลี่ยนอย่างไร ก็ต้องความเข้าใจครับว่า ทำไมถึงเรียกว่าปุถุชน จิต ปุถุชนเป็นอย่างไร เพราะปุถุชนมีอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องสะสมอยู่ที่จิต ทั้งอนุสัยที่เป็นความเห็นผิด ความโกรธ ความพอใจในรูป อวิชชานุสัย แม้ขณะที่จิตเป็นกุศลก็มีอนุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิต อนุสัยกิเลสมาจากไหน ก็มาจากขณะที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นก็สะสมอนุสัยกิเลสไป เช่น ทำไมบางคนโกรธง่าย เพราะสะสมอนุสัยกิเลสคือปฏิฆานุสัย อันเนื่องมาจาก เมื่อโกรธเกิดขึ้นก็สะสมเป็นอนุสัยกิเลสนอนเนื่อง สะสมต่อไปในจิตขณะต่อไป กลับมาที่ประเด็น ปุถุชน เพราะจิตสะสมอนุสัยกิเลสเต็ม เปลี่ยนเป็นพระอริยบุคคล เช่น เปลี่ยนเป็นพระอนาคามี ก็ต้องกลับมาที่อะไรเปลี่ยนก็ไม่พ้นสภาพธรรมที่เปลี่ยนคือ จิตของพระอนาคามี ไม่มีอนุสัยกิเลสคือ ปฏิฆานุสัยแล้ว ต่างจากจิตของปุถุชน ไม่ว่าจิตประเภทใดของปุถุชนที่เกิดก็มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในจิต อันเป็นเหตุให้เกิดความโกรธได้เมื่อเหตุพร้อมเพราะยังมีปฏิฆานุสัยอยู่ ต่างจากจิตของพระอนาคามี ที่ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใดเกิดก็ไม่มีปฏิฆานุสัยแล้ว เพราะดับปฏิฆานุสัยด้วยอนาคามีมรรคแล้วครับ เมื่อไม่มีปฏิฆานุสัยก็ไม่มีเหตุให้เกิดความโกรธอีกครับ

ดังนั้น สิ่งที่เปลี่ยน คือสภาพจิตที่เคยมีอนุสัยกิเลสเต็ม (ปุถุชน) เปลี่ยนเป็นสภาพจิตที่ไม่มีอนุสัยกิเลส (แล้วแต่ระดับของพระอริยบุคคล ว่าดับอนุสัยใด) ดังนั้นในขณะนี้ หากเกิดอกุศลก็สะสมไป ให้เป็นคนโกรธง่ายขึ้น โลภง่ายขึ้น หรือสะสมความเห็นถูก ก็สะสมอยู่ที่จิต เปลี่ยนจากความเห็นผิดเป็นความเห็นถูก จึงไม่มีตัวตนเปลี่ยน ธรรมทำหน้าที่เปลี่ยนตามได้อธิบายมาครับ ส่วนสภาพธรรมเปลี่ยนไมได้ ได้อธิบายไว้แล้ว ในความเห็นที่ ๑๗ ในประเด็นอีกประเด็นครับ หากสงสัยเพิ่มเติมก็สนทนากันต่อไปครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
choonj
วันที่ 11 ต.ค. 2551

โอเค เข้าใจแล้วครับ

ขอบพระคุณ ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ