วิริยะเจริญอย่างไรจึงถูกต้อง

 
จักรกฤษณ์
วันที่  22 ก.พ. 2552
หมายเลข  11331
อ่าน  1,339


เนื่องจากในชีวิตประจำวันนั้น แต่ละท่านมีภารกิจมากมาย การเจริญสติปัฎฐานที่

เราแต่ละคนจะเจริญได้ย่อมแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การที่เรามีความเพียรในการศึกษา

และเจริญสติ ย่อมเป็นเหตุแห่งการสร้างปัญญา

แต่เราจะเจริญวิริยะอย่างไรให้ถูกต้อง ไม่ตึงหรือหย่อน (ส่วนใหญ่จะย่อหย่อนในการ

ระลึกรู้สภาพธรรมะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง)

และควรมีหลักการหรือแนวทางใดที่จะไม่ทำให้ท้อถอยในความเพียรนี้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ควรเข้าใจว่า ความเพียรหรือวิริยเจตสิก เกิดกับจิตเกือบทุกดวง จึงไม่ใช่ตัวเราที่

จะเพียร แต่ธรรมทำหน้าที่เพียร ขณะที่เป็นอกุศล ขณะนั้นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย

เป็นความเพียรที่เป็นไปในอกุศล ในทำนองเดียวกับกุศลก็เช่นกัน

การเจริญสติปัฏฐานเป็นการอบรมปัญญาในชีวิตประจำวัน เพราะเป็นการรู้ธรรมที่มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ซึ่งบุคคลใดจะมีภารกิจ การงาน หน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

ทุกท่านก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านที่มีหน้าที่อย่าง

หนึ่ง กับอีกท่านที่มีหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง แต่ก็มีสภาพธรรมที่มีจริงคือ ต้องเห็น มีสภาพ

เห็น ไม่ต่างกันเลย ดังนั้น การอบรมสติปัฏฐานคือการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งไม่

แตกต่างกันเลยในหนทางการปฏิบัติครับ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 23 ก.พ. 2552

ดังนั้นจึงไม่ใช่ตัวเราที่จะเจริญวิริยะ แต่การฟังธรรม อันทำให้เกิดความเข้าใจถูกขึ้น

ทีละเล็กละน้อย ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว เป็นความเพียร

ที่ประกอบด้วยปัญญาอันจะเป็นไปเพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ต้องทำวิริยะ

แต่อาศัยการฟังธรรมให้เข้าใจครับ ซึ่งในการจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็ตามเหตุ

ปัจจัย เพราะเป็นหน้าที่ของธรรม ไม่ใช่เราที่จะทำให้สติเกิดครับ ส่วนประเด็นว่า จะทำให้อย่างไม่ให้ท้อถอย ก็ควรเข้าใจว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

ไม่มีใครสามารถบังคับให้เป็นกุศลหรืออกุศลได้ตามใจชอบ เช่นเดียวกับความท้อถอย

มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น ดังนั้นการอบรมปัญญาที่ถูกต้องคือการรู้สภาพธรรมตามความเป็น

จริงที่เกิดแล้วเพราะเป็นของจริง ความท้อถอยมีจริง ปัญญาควรรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

เพื่อไถ่ถอนความเห็นผิดว่าเป็นตัวเราที่ท้อถอย แต่ไม่ใช่การไปห้ามไม่ให้เกิดเพราะเป็น

ไปไมได้แน่นอนครับ แต่ก็แล้วแต่ระดับปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น

หรือไม่ ที่สำคัญอบรมเหตุคือการฟังพระธรรมต่อไป และมั่นคงเสมอว่าไม่มีตัวตนที่จะ

ทำวิริยะและสติปัญญาได้ แต่เป็นหน้าที่ของธรรม ที่จะปรุงแต่งไปในทางที่ถูกต้องด้วย

การฟังพระธรรมครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 ก.พ. 2552

ขณะที่สติปัฏฐานระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏเฉพาะหน้าในขณะนี้ ไม่ว่าจะทาง ตา หู จมูก ลิ้นกาย หรือใจ ขณะนั้น วิริยะที่เป็นสัมมาวายามะ หนึ่งในองค์มรรค ก็เกิดแล้ว กำลังเจริญขึ้นแล้ว รวมไปถึงองค์ของมรรคองค์อื่นๆ ด้วยครับ เพราะฉะนั้น ไม่ควรลืมประโยคที่ว่า"เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน" คือ ไม่แสวงหาหนทางอื่น นอกจากฟัง ศึกษาพระธรรมสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ จนกว่าจะมั่นคงเป็นสจญาณ เมื่อสัญญาที่มั่นคงในความเป็นธรรมะสะสมจนมีเหตุปัจจัยพร้อม สติปัฏฐานก็ย่อมเกิดขึ้น ระลึกรู้ในสภาพธรรมที่ปรากฏ ...ตรง... ไม่ผิดไปจากที่ได้ฟังและศึกษามา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kullawat
วันที่ 24 ก.พ. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.พ. 2552

......................... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .........................แนวทางเจริญวิปัสสนาโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

.
.
.

ได้ฟังคำปรารภจาก ผู้ที่รู้สึกท้อใจ ว่า..............วันไหนหนอ จึงจะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ตามความเป็นจริง.
ชีวิตนี้สั้นนัก...อยู่กันไปก็ไม่ถึงร้อยปี และอยู่กันมานานมากแล้วด้วยและภพชาติในอดีต ก็ช่างมากมายเหลือเกิน.
แล้วถ้าไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ตามความเป็นจริง...ในปัจจุบันชาตินี้แล้วชาติต่อไปข้างหน้า ก็จะยืดยาวไปอีกนานเหลือเกิน.
ก็เลยรู้สึกว่า......เมื่อไรหนอจึงจะได้รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ตามความเป็นจริง..
.
.ไม่มีอะไร ที่จะให้เหตุผลได้ดี ยิ่งไปกว่า....พระธรรมวินัย ที่ได้ทรงแสดงแล้ว.ที่จะช้าหรือเร็ว นั้น........ย่อมขึ้นอยู่กับ "เหตุปัจจัย"ไม่ใช่ปลอบใจ ให้เร่ง และให้บรรลุธรรมในชาตินี้ได้ โดยเหตุไม่สมควรแก่ผล.
พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ทรงแสดงธรรมอะไร...ที่ปลอบใจคนหรือที่จะชักชวน....ให้เข้ามาหา พระธรรมวินัยของพระองค์ แต่ว่าทรงแสดงธรรม...ตามเหตุและผล ตามความเป็นจริง..
.
.ถ้าผู้ใด มีความรู้สึกในทำนองนี้ (...รู้สึกท้อใจ) ก็ขอกล่าวถึง
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค นาวาสูตร ซึ่งมีข้อความว่า
.
.
.ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ จะพึงเกิดความปรารถนา อย่างนี้ว่า
ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้.....ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น...จิตของเธอ ย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะ ...เพราะไม่ถือมั่นได้เลย.
ข้อนั้น เพราะเหตุไร...........?ข้อนั้น............พึงกล่าวได้ว่า
เพราะเธอไม่อบรม...เพราะไม่อบรมอะไร..........................? เพราะไม่อบรม สติปัฏฐาน ๔...เพราะไม่อบรม สัมมัปปธาน ๔เพราะไม่อบรม อิทธิบาท ๔...........เพราะไม่อบรม อินทรีย์ ๕เพราะไม่อบรม พละ ๕..............เพราะไม่อบรม โพชฌงค์ ๗เพราะไม่อบรม.......................มรรคมีองค์ ๘..
.
.แด่...ผู้ท้อใจ


.
.
.ความยากของการเจริญสติปัฏฐาน
. . .
ขออนุโมนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขณะที่ฟังพระธรรม ศึกษาพิจารณาในสภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ แล้วเข้าใจในตัวสภาพธรรม ไม่ใช่รู้เพียงชื่อหรือเรื่องราวต่างๆ ของสภาพธรรม ขณะที่เข้าใจก็เป็น

ปัญญา ขณะนั้นก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่มีตัวเราที่จะไปเพียร ถ้าเป็นตัวเราทีจะไปเพียรก็ผิดแล้ว เพราะสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

บัญชาของใครที่จะไปทำความเพียรได้ค่ะ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ