ละโลภะอย่างไร ให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

 
ลูกจีนหัวใจไทย
วันที่  13 พ.ค. 2552
หมายเลข  12332
อ่าน  2,227

อยากทราบว่า การละ โลภะ ที่เป็น สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ เป็นสภาพธรรมที่ควรละ ในความหมายโดยนัยของ อริยสัจ 4 ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้นั้น คืออย่างไร

เพราะถ้าจะไม่ให้ยินดีพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วจะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้นั้น ความเข้าใจเพียงเท่านี้ ไม่ได้ ลึกซึ้ง เลย เพราะมีนักบวชนอกศาสนาที่พยายามละ โลภะ โดยวิธีนี้มาก่อนหน้า การตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค อยู่แล้ว แล้วก็ไม่ได้ เห็นยาก ด้วย เพราะแค่ รับประทานอาหารอร่อยๆ ก็รู้ได้ว่าขณะนั้นมีโลภะเกิดขึ้น

ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 14 พ.ค. 2552
อริยสัจที่ ๒ คือสมุทัย สภาพธรรมได้แก่โลภเจตสิก ซึ่งเรียกว่าตัณหา ในพระไตรปิฎกแสดงตัณหาไว้หลายนัยตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น ตัณหา ๓ ตัณหา ๔ ตัณหา ๖ และตัณหา ๑๐๘ เป็นต้น สำหรับพระอรหันต์ท่านดับตัณหาได้ทั้งหมดไม่มีเหลือ พระอนาคามีบุคคลดับตัณหาที่เป็นไปในกาม พระสกทาคามี พระโสดาบันดับตัณหาที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดในรูปนามขันธ์ห้าว่าเป็นตัวตน (โลภทิฏฐิคตสัมปยุต) ดังนั้นลำดับของการละตัณหาของพระอริยสาวกเป็นลำดับอย่างนี้ และการละตัณหาต้องละด้วยปัญญาไม่ใช่เราไปละด้วยความเป็นตัวตน ถ้าปัญญาไม่เกิดการละตัณหาก็มีไม่ได้และปัญญาระดับโสตาปัตติมรรคละตัณหาที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด และ ตัณหาที่เป็นไปกับการยึดถือข้อปฏิบัติที่ผิดจากหนทางอริยมรรคมีองค์แปด สำหรับนักบวชภายนอกพยายามละตัณหาด้วยความเป็นตัวตน ด้วยเพียงการข่มไว้ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉทครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
akrapat
วันที่ 14 พ.ค. 2552

เมื่อไหร่ที่รู้ทุกข์ เมื่อนั้นก็ละสมุทัย จู่ๆ จะไปละสมุทัย โดย ไม่รู้ทุกข์เลยย่อมเป็นไปไม่ได้ การรู้ทุกข์ต้องรู้ด้วยสติและด้วยปัญญา ถ้ารู้ด้วยสติแต่ไม่มีปํญญาประกอบก็ยัง ละสมุทัยเป็นสมุทเฉทไม่ได้ การรู้ทุกข์ ก็คือ การรู้กาย รู้ใจ หรือรู้ รูปนาม หรือขันธ์ห้า นี้ว่าเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการรู้คือ สติปัฏฐาน จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอน อริสัจจ จะเริ่มด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ได้เริ่มด้วย สมุทัย นะครับ เพราะเป็นการตรัสรู้ของท่าน จากการประจักษ์สภาวธรรมล้วนๆ ไม่ใช่นั่งคิดแบบนักวิชาการ อยางเราๆ พอดีไปจำครูบาอาจารย์ มาอีกทีนึงนะครับ

ผิดถูกขออโหสิกรรม และอนุโมทนากับกุศลจิตทุกท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ลูกจีนหัวใจไทย
วันที่ 14 พ.ค. 2552

ขอเรียนถามเพิ่มเติมว่า ที่ทรงแสดงว่า โลภะ เห็นได้ยาก นั้นหมายความว่าอย่างไร เพราะในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีโลภะเกิดเป็นปกติ แล้วเราก็รู้ด้วยว่า ขณะนั้นโลภะ กำลังเกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 พ.ค. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ลูกจีนหัวใจไทย
วันที่ 14 พ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ สหายธรรมทุกท่าน ที่กรุณาให้ความกระจ่าง ได้ลองเข้าไปอ่านในกระทู้เก่า ที่คุณ ajarnkruo กรุณาทำ link ไว้ให้ ทำให้หมดความสงสัยไปเลย และ พลอยได้อ่าน link กระทู้เก่าเกี่ยวกับ อริยสัจจธรรมสี่ 3 รอบ 12 อาการ ซึ่งเกื้อกูลต่อการอบรมเจริญปัญญาเป็นอย่างมาก ขอให้ทุกท่านมี จิตโสมมนัสยินดี อนุโมทนาในกุศลจิต ที่เกิดขึ้นโดยทั่วกันเทอญ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 พ.ค. 2552

พระโสดาบัน ละความเห็นผิด ในสภาพธรรม ตามความเป็นจริงพระโสดาบัน ละ "โลภะประกอบด้วยความเห็นผิด" (โลภะทิฏฐิคตสัมปยุต) และ ยังมี โลภะ และ โทสะ ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดค่ะ.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธรณ์__ภควลีธร
วันที่ 15 พ.ค. 2552

โลภมูลจิต คือ จิตที่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงทำให้พอใจติดข้องในอารมณ์ปรากฏ

โลภมูลจิตมี ๘ ประเภท คือ

ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา (โสมนสฺสสหคตํ) ความรู้สึกดีใจเป็นสุข เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ) คือ มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง (อสงฺขาริกํ)

ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง (สสงฺขาริกํ)

ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ) คือไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนาความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํโลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 15 พ.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12332 ความคิดเห็นที่ 5 โดย ลูกจีนหัวใจไทย   ขอขอบพระคุณ สหายธรรมทุกท่าน ที่กรุณาให้ความกระจ่าง   ได้ลองเข้าไปอ่านในกระทู้เก่า ที่คุณ ajarnkruo กรุณาทำ link ไว้ให้ ทำให้หมดความสงสัยไปเลย และ พลอยได้อ่าน link กระทู้เก่าเกี่ยวกับ อริยสัจจธรรมสี่ 3 รอบ 12 อาการ ซึ่งเกื้อกูลต่อการอบรมเจริญปัญญาเป็นอย่างมาก ขอให้ทุกท่านมี จิตโสมมนัสยินดี อนุโมทนาในกุศลจิต ที่เกิดขึ้นโดยทั่วกันเทอญ   ขออนุโมทนา ผู้ถาม และผู้ตอบ ทุกๆ ท่าน ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 16 พ.ค. 2552

พระอรหันต์ดับกิเลสหมดทั้งโลภะ โทสะ โมหะ ส่วนพระโสดาบันละความโลภที่เป็น เหตุให้ไปอบายภูมิ ละความโลภที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ข้อปฏิบัติผิด ละวิจิกิจฉา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ขั้นแรกไม่ได้ให้ละกามคุณ 5 แต่ให้ละความเห็นผิดก่อนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุภาพร
วันที่ 20 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 5 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ