การศีกษาสิ่งที่เรารู้ไม่ได้มีประโยชน์หรือไม่
รูปธรรมมีถึง ๒๘ แต่เรารู้ได้จริงๆ เพียง ๗ รูปเท่านั้น ส่วนนามธรรมทั้งจิต ๘๙
และเจตสิก ๕๒ นั้น เรารู้จริงๆ ได้ก็ไม่เท่าไร... ทำให้ผมคิดว่าพระธรรมที่ทรงแสดง
ไว้โดยละเอียดนั้น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เกินความสามารถของพวกเราในยุคนี้ที่จะรู้ได้
จริงๆ ถ้าเป็นดังนี้แล้ว การศึกษาชื่อและเรื่องราวที่เรารู้ไม่ได้จะมีประโยชน์หรือไม่ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ก่อนจะไปประเด็นเรื่อง การศึกษาชื่อและเรื่องราวที่เรารู้ไม่ได้จะมีประโยชน์หรือไม่
ก็ต้องกลับมาว่าจุดประสงค์ของการศึกษาธรรมที่ถูกต้องคืออะไรก่อนครับ จุดประสงค์
ของการศึกษาธรรมที่ถูกต้องคือเพื่อละ ละอะไร ละกิเลส แต่ต้องเป็นไปตามลำดับคือ
ละความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล เริ่มจากการฟังธรรมให้เข้าใจ ว่าธรรมคือ
อะไร ซึ่งจะละกิเลสก็ต้องเป็นปัญญา โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ คราวนี้เราก็ทราบจุด
ประสงค์ที่แท้จริงแล้วว่าการศึกษาธรรมที่ถูกต้องนั้นคืออะไร เพราะฉะนั้น ในการศึกษา
พระไตรปิฎกที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่ออะไร ก็เพื่อละ ละกิเลส ละความเห็นผิด
ว่าเป็นเรา โดยนัยตรงกันข้าม ศึกษาเพื่อได้ อยากรู้ โดยถูกโลภะมาแนบเนียน ขณะนั้น
ถูกต้องหรือไม่ เป็นไปเพื่อให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม อันเป็นไปเพื่อละ
ความเห็นผิดหรือไม่ครับ
กลับมาที่ประเด็นที่ว่า
การศึกษาชื่อและเรื่องราวที่เรารู้ไม่ได้จะมีประโยชน์หรือไม่ครับ
ผู้ที่มีความมั่นคงในเรื่องของการเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ไม่ว่าศึกษาในส่วนใด ก็
ไม่ลืมเสมอว่าก็เป็นสภาพธรรมในขณะนี้ ตรงนี้สำคัญมาก แต่ไม่ใช่การไปหา ไปขวน-
ขวายหาชื่อ ขณะนั้นกำลังมั่นคงหรือเปล่าว่าเพื่อเข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้ หรืออยากรู้
เท่านั้น ศึกษาส่วนใดก็เพื่อละ มั่นคงว่าเป็นธรรม สิ่งใดรู้ไม่ได้และเกินกำลังปัญญา ก็
ศึกษาเท่าที่รู้ได้ตามกำลังปัญญา นั่นคือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้นั่นเองที่ควรศึกษา
และต้องไม่ลืมว่าที่เรากำลังศึกษา จิตอย่างละเอียด รูปอย่างละเอียดในขณะนั้น เพื่อที่จะเข้าใจธรรมจริงในขณะนี้จริงๆ หรือเปล่า ก็ต้องเป็นผู้ตรง จะเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยน์ก็ตรงนี้ครับ
นางวิสาขาเรียนอภิธรรมไหมตอนได้เป็นพระโสดาบันตอน 7 ขวบ แต่ท่านรู้ตัว
อภิธรรมในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเรียนอภิธรรม ไม่ใช่การท่องจำ พยายามรู้ให้ได้
มากๆ นั่นย่อมไม่เป็นประโยชน์ตามที่ประเด็นกระทู้กล่าวไว้ แต่การศึกษาอภิธรรมเพื่อ
เข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ เพราะประโยชน์คือการรู้ลักษณะของ
สภาพธรรมในขณะนี้เพื่อละความเห็นผิดว่าเป็นเรานั่นเอง
จึงควรเข้าใจคำว่าศึกษาที่ถูกต้อง (จุดประสงค์ที่ถูกต้องคือเพื่อรู้ลักษณะธรรมใน
ขณะนี้) คำว่าประโยชน์ที่ถูกต้อง (การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ไม่ใช่การจำ
ชื่อเรื่องราว) ก็จะเข้าใจในประเด็นที่ถามนั่นเอง และตามทีได้กล่าวมาครับ
ข้อความจากกระทู้ คำเตือนจากท่านอาจารย์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ถามท่านอาจารย์ว่า ในชีวิตประจำวันมีรูปที่รู้ได้
เพียง ๗ รูปเท่านั้น แต่ผู้มีปัญญามากสามารถรู้ปสาทรูปได้ จึงกราบเรียนถามว่า
ต้องปัญญาขั้นไหนจึงจะรู้ปสาทรูปได้ คำตอบที่ได้ เป็นคำเตือนที่มีค่ายิ่ง หาก
ท่านอาจารย์ตอบว่าปัญญาขั้นนี้...ปัญญาขั้นนั้น... พอเราได้คำตอบ เราก็พอใจ
อีกไม่นานเราก็ลืม ลืมคำตอบที่เราอยากได้ แต่ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจ
ซึ่งไม่มีวันลืม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ รู้ความจริงทุกๆ อย่าง
พระอริยบุคคล... ผู้มีปัญญาที่ได้สะสมมาเมื่อมีปัจจัยให้รู้ปสาทรูป ผู้นั้นก็รู้
เอง แล้วเราล่ะสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฎอยู่ขณะนี้ไม่ว่า ทางตา ทางหู ...
และทางใจ ยังไม่รู้เลย แล้วจะไปรู้ปสาทรูปได้อย่างไร จึงควรอบรมเจริญ
ปัญญารู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่อปัญญา
ถึงวาระที่สมบูรณ์ วันไหนก็วันนั้น... เพราะฉะนั้น "เลิกหวัง " แต่ให้ค่อยๆ
เข้าใจ ยิ่งฟังยิ่งเข้าใจ ฟังแล้วให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟังซึ่งเป็นหนทางเดียว...
ฟังเรื่องสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ จนกว่าจะรู้ว่า เป็นเพียงธรรมไม่ใช่เรา ไม่ว่า
ทางตา ทางหู....และทางใจ ขออนุโมทนาค่ะ
เชิญคลิกฟังที่นี่
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุญาตแสดงความเห็นส่วนตัว...ซึ่ง เข้าใจ ว่า
การศึกษาเรื่องใดก็ตาม ควรทราบจุดประสงค์ (ของตนเอง) ว่า ศึกษาเพื่อ "ประโยชน์" อะไร.!เมื่อมั่นใจแล้ว ว่า เป็นหนทางที่ตรงกับจุดประสงค์ก็ควร "ศึกษาให้ถึงที่สุด"
ในระหว่าง การศึกษาเรื่องนั้นๆ ....ควรศึกษาอย่างละเอียด ไม่เผิน ไม่คิดเข้าข้างตัวเอง ว่า พอแล้ว...รู้แล้วเพราะความคิดเช่นนั้น...เป็นเครื่องขัดขวางให้หยุดที่จะก้าวหน้าต่อไปเพราะถ้าศึกษาเผินๆ .....ไม่ละเอียด จะ "เข้าใจอย่างลึกซึ้ง" ได้อย่างไร.?
เพียงแต่ ต้องรู้กำลังของตนเอง ว่าเข้าใจได้...แค่ไหน..อย่างไร.?มีเหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้ ลืมจุดประสงค์ที่แท้จริง ไปหรือเปล่า...?ไม่ลืม ว่า การศึกษาอย่างละเอียด รอบคอบนั้นๆ เกื้อกูลต่อ "ความเข้าใจ"อันเป็นเหตุ ให้ เกิดผล...คือ บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือเปล่า.!
ที่สำคัญ........คำว่า "ประโยชน์" นั้น.......เป็นเรื่องเฉพาะตน.!เพราะเราอยู่ในโลกคนละใบ...............โลกแต่ละใบ ย่อมสั่งสมมาไม่เหมือนกันแม้เกื้อกูลกันได้.........ก็ต้องเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย....ค่ะ.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
จากคำกล่าวที่ว่า
ที่สำคัญ........คำว่า "ประโยชน์" นั้น.......เป็นเรื่องเฉพาะตน.! เพราะเราอยู่ในโลกคนละใบ............... โลกแต่ละใบ ย่อมสั่งสมมาไม่เหมือนกัน แม้เกื้อกูลกันได้.........ก็ต้องเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย....ค่ะ.
การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้เป็นเรื่องเฉพาะตน เพราะต้องเป็นปัญญา
ของบุคคลนั้นเอง ส่วนคำว่าประโยชน์ในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นเรื่องที่จะเปลี่ยนไป
ตามแต่ละคน เพราะเป็นสัจจะ หากเป็นเรื่องเฉพาะตนแล้ว แต่ละคนก็สำคัญในสิ่งที่ผิด
ว่าเป็นประโยชน์ หรือสำคัญว่าพอใจในสิ่งใด มีอัธยาศัยชอบในสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็น
ประโยชน์แล้ว ประโยชน์ไม่ได้ขึ้นอยู่กัยบอัธยาศัย แต่ประโยชน์ที่แท้จริงในการศึกษา
ธรรมคือต้องเป็นกุศลและที่สำคัญคือเป็นไปในการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะ
นี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่คือประโยชน์ที่เป็นสัจจะ เป็นประโยชน์ที่แท้จริง เป็น
ประโยชน์ที่ถูกต้องในการศึกษาพระธรรม เพราะเป็นไปเพื่อละ ละความเห็นผิดว่าเป็น
เรา เป็นสัตว์ บุคคลตัวตน จนถึงการดับกิเลสในที่สุด
ที่สำคัญทุกคนก็กำลังมีโลกที่ไม่ต่างกันเลย คือโลกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่สำคัญเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งด้วยอันเป็นไปเพื่อละความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคลกำลังมีในขณะนี้เองครับ เพราะทุกท่านจะไม่พ้นไปจากสภาพธรรม อันเป็นสิ่งที่ควรรู้
นั่นคือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวันครับ
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับจะทำให้เข้าใจว่า ประโยชน์ที่แท้จริงในการศึกษาธรรม
คืออะไร โดยจะไม่แปรเปลี่ยนไปตามแต่ละบุคคลเลย ประโยชน์ที่แท้จริงในการศึกษา
ธรรมเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เชิญคลิกอ่านครับ
ประโยชน์อย่างแท้จริงของการศึกษาพระธรรม รู้ว่าเป็นอนัตตา..แต่ก็ยังยินดีเกื้อกูลอยู่
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
การศึกษาพระอภิธรรมมีประโยชน์คือทำให้รู้ความจริงของชีวิตว่า ธรรมทั้งหลายเป็น
อนัตตา มีเหตุปัจจัยจึงเกิด ต่อเมื่อมีปัญญาจึงจะรู้ว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนค่ะ