พระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม [พกสูตร]

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  4 ม.ค. 2553
หมายเลข  14990
อ่าน  2,288

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

๔. พกสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม

[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดาไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.

[๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น. พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.

[๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ กะพกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อกัน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของความเคลื่อนไหวเป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด แก่ ตาย เป็นที่จุติและอุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้.

ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 4 ม.ค. 2553

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

เทวบุตรนั้นเห็นเงาในกระจกแล้วจึงทราบความที่ตนเป็นผู้จุติแล้ว ได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนเพราะสมบัติ ด้วยอันคิดว่า เราทำสมณธรรมมิได้ ปรารถนาฐานะเช่นนี้ เราปรารถนาพระอรหัตอันเป็นอุดมประโยชน์ ดังนี้. เทวบุตรนั้น พิจารณาดูแผ่นผ้าดังสีทอง จึงคิดว่า ชื่อว่า สมบัติในสวรรค์นี้ เป็นของหาได้ง่าย ความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยาก ราวกะ นักมวยปล้ำหยั่งลงสู่ที่ที่รบกัน (ย่อมต้องการของมีค่า) แต่กลับได้กำแห่งหัวมัน ดังนี้ จึงมิได้เข้าไปสู่วิมานเลย ผู้อันหมู่แห่งนางอัปสรแวดล้อมแล้ว ด้วยทั้งศีลยังมิได้ทำลายนั่นแหละมาสู่สำนักของพระทศพล ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 8 เม.ย. 2564
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 4 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ