อรรถกถาพกสูตร

 
chatchai.k
วันที่  11 พ.ย. 2563
หมายเลข  33279
อ่าน  931

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 143

อรรถกถาพกสูตร

ในพกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังตอไปนี้ :-

บทวา ปาปก ทิฏิคต ไดแกสัสสตทิฏฐิที่ต่ําทราม.

บทวา อิท นิจฺจ ความวา พกพรหมกลาวฐานะแหงพรหมพรอมทั้งโอกาสนี้ซึ่งไมเที่ยงวา เที่ยง.

บทวา ธุว เปนตน เปนไวพจนของบทวา นิจฺจ นั้นนั่นแหละ บรรดาบทเหลานั้น บทวา ธุว ไดแกมั่นคง.

บทวา สสฺสต ไดแกมีอยู ทุกเมื่อ.

บทวา เกวล ไดแกไมขาดสายคือทั้งสิ้น.

บทวา อจวนธมฺม ได แกมีความไมจุติเปนสภาวะ. ในคําวา อิท หิ น ชายติ เปนตน ทานกลาว หมายเอาวา ในฐานะนี้ ไมมีผูเกิด ผูแก ผูตาย ผูจุติหรือผูอุปบัติไรๆ บทวา อิโต จ ปนฺ ความวา ชื่อวาอุบายเปนเครื่องออกไปอันยิ่งอยางอื่นจาก ฐานะแหงพรหมพรอมทั้งโอกาสนี้ไมมี. พกพรหมนั้นเกิดสัสสติทิฏฐิอยางแรง ดวยประการแมอยางนี้. ก็แลพกพรหมผูมีทิฏฐิอยางนี้นั้น ยอมปฏิเสธคุณวิเสส ทุกอยางคือ ภูมิฌาน ๓ ชั้นสูง มรรค ๔ ผล ๔ และพระนิพพาน.

ถามวา ก็ทิฏฐินั้นเกิดขึ้นแกพรหมนั้นเมื่อไร.

ตอบวา เมื่อครั้งเขาเกิดในภูมิปฐมฌาน. อาจารยบางพวกกลาววา เกิดในภูมิทุติยฌาน. ในขอนั้นมีอนุปุพพีกถาดังตอไปนี้. ไดยินวา พรหมนี้อุปบัติภายหลัง เมื่อยังไมมีสมัยเกิดพระพุทธเจาก็บวชเปนฤาษี กระทํากสิณบริกรรมและทํา สมาบัติใหเกิด ไมเสื่อมฌานทํากาละแลว บังเกิดในพรหมโลกชั้นเวหัปผลาใน ภูมิจตุตถฌาน. มีอายุอยู ๕๐๐ กัป. เขาดํารงอยูในพรหมโลกชั้นเวหัปผลานั้น ตลอดอายุขัย ชวงเวลาที่เกิดภายหลัง เจริญตติยฌานใหประณีต บังเกิดใน พรหมโลกชั้นสุภกิณหะ มีอายุ๖๔ กัป. พกพรหมนั้นรูกรรมที่ตนทําและสถาน ที่ที่ตนเกิดในปฐมกาลเกิดครั้งแรก เมื่อกาลลวงไปๆ ลืมกรรมและสถานที่ทั้ง ๒ เสีย จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ.

บทวา อวิชฺชาคโต ความวา ไปดวยอวิชชาคือประกอบดวยความ ไมรูไมมีญาณ เปนผูมืดดังคนตาบอด.

บทวา ยตฺร หินาม ไดแก โย นาม.

บทวา วกฺขติ แปลวา ยอมกลาว. ก็เพราะประกอบศัพทนิบาตวา ยตฺร คําวา วกฺขติ ก็กลายเปนอนาคตกาลแปลวาจักกลาว เมื่อกลาวอยางนี้แลว พรหมนั้นถูกพระผูมีพระภาคเจาคุกคาม ไดสติ กลัววาพระผูมีภาคเจาทรงเพงเราทุกฝกาว ประสงคจะบีบบังคับเรา เมื่อจะ บอกสหายของตน จึงกลาวคําวา ทฺวาสตฺตติ เปนตน เหมือนโจรถกเฆี่ยน ๒ - ๓ ครั้งในระหวาทางอดกลั้นไมยอมซัดถึงพวกเพื่อน เมื่อถูกเฆี่ยนหนักขึ้น จึงบอกวา คนโนนๆ เปนสหายของเรา ฉะนั้น. ความขอนั้นมีอธิบายดังนี้ ขาแตพระโคดมผูเจริญ พวกขาพระองค ๗๒ คนดวยกันทําบุญไว จึงเกิดใน ที่นี้ดวยบุญกรรมนั้น เปนผูใชอํานาจตนเอง ไมอยูในอํานาจของผูอื่น ทําผ อื่นใหอยูในอํานาจของตน ลวงชาติและชราได. ขาแตพระผูมีพระภาคเจา การ อุปบัติในพรหมโลกเปนครั้งสุดทายนี้ นับวา เวทคู เพราะพวกขาพระองค ไปถึงดวยเวททั้งหลาย.

บทวา อสฺมาภิชปฺปนฺติ ชนา อเนกา ความวา ชนเปนมากยอมชอบใจพวกขาพระองค ยอมปรารถนายอมกระหยิ่มอยางนี้วา ทานพรหมผูนี้แล เปนมหาพรหมผูยิ่งใหญ ไมมีใครครอบงําได เปนผู เห็นถองแท เปนผูใชอํานาจ เปนอิสระ เปนผูสราง เปนผูเนรมิต เปนผู ประเสริฐสุด เปนผูจัด เปนผูเชี่ยวชาญ เปนบิดาของสิ่งที่เปนแลวและกําลัง เปน.
ลําดับนั้น พระผูมีพระภาคเจาตรัสกะพกพรหมนั้นวา อปฺป หิ เอต
เปนตน.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา เอต ความวา ทานสําคัญอายุใดของ ทานในที่นี้วา ยืนอายุนั่นนอย คือนิดหนอย.

บทวา สตสหสฺสาน นิรพฺพุทาน ไดแกแสนนิรัพพุทะ โดยจํานวนนิรัพพุทะ (นิรัพพุทะเปนสังขยาซึ่งมีจํานวน เลขสูญ ๖๘ สูญ) .

บทวา อายุ ปชานามิ ความวา เรารูวาอายุของทานในบัด นี้เหลืออยูเพียงเทานี้.

บทวา อนนฺตทสฺสี ภความมสฺมิ ความวา ขาแต พระผูมีพระภาคเจา พระองคตรัสวา เราเปนผูมีปกติเห็นไมมีที่สิ้นสุด ลวง ชาติเปนตนไดแลว.

บทวา กึ เม ปุราณ ความวา ถาพระองคเปนผูมี ปกติเห็นไมมีที่สิ้นสุด เมื่อเปนเชนนั้น ขอพระองคจงตรัสบอกขอนี้แกขา พระองค คืออะไรเปนวัตรเกาของขาพระองค. ศีลนั่นแหละทานเรียกวาศีล วัตร.

บทวา ยมห วิชฺา ความวา พกพรหมกลาววา ขาพระองคควร ทราบขอใดที่พระองคตรัส ขอพระองคจงบอกขอนั้นแกขาพระองค. บัดนี้ พระผูมีพระภาคเจาเมื่อจะตรัสบอกแกพกพรหมนั้น ไดตรัส พระพุทธพจนเปนตนวา ย ตฺว อปาเยสิ ดังนี้. ในขอนั้นมีอธิบายดังนี้ ไดยินวา เมื่อกอน พกพรหมนี้เกิดในเรือนมีตระกูล เห็นโทษในกามทั้งหลาย คิดจักทําชาติชราและมรณะใหสิ้นสุด จึงออกบวชเปนฤาษี ทําสมาบัติ ใหเกิดไดฌานอันเปนบาทแหงอภิญญา ปลูกบรรณศาลาอยูที่ริมฝงแมน้ําคงคา ใหเวลาลวงไปดวยความยินดีในฌาน.

ก็ในครั้งนั้น มีพวกพอคาเกวียนใช เกวียน ๕๐๐ เลม เดินทางผานทะเลทรายเสมอๆ . ก็ในทะเลทรายไมมีใคร สามารถเดินทางกลางวันได เดินไดแตตอนกลางคืน. ครั้งนั้น โคงานที่เทียม แอกเกวียนเลมหนา เมื่อเดินทาง ไดวกกลับมายังทางที่มาแลวเสีย เกวียน ทุกเลมก็วกกลับอยางนั้นเหมือนกัน กวาจะรูไดก็ตอเมื่ออรุณขึ้น. แลในครั้งนั้น พวกพอคาเกวียนจะขามพนทางกันดารได ใชเวลาหนึ่งวัน ฟนและน้ําก็หมดสิ้น ทุกอยาง. ฉะนั้น พวกมนุษยเขาคิดวา คราวนี้พวกเราตายหมด ผูกโคที่ลอ แลวเขาไปนอนที่รมเงาเกวียน.

แมพระดาบสก็ออกจากบรรณศาลาแตเชาตรู นั่งที่ประตูบรรณศาลา แลดูแมน้ําคงคา ไดเห็นแมน้ําคงคาเต็มเปยมดวยหวงน้ําใหญไหลมาเหมือน. แตงแกวมณี ครั้นเห็นแลวจึงคิดวา ในโลกนี้มีเหลาสัตวที่ลําบากเพราะไมมี น้ําที่อรอยเห็นปานนี้หรือหนอ. พระดาบสนั้นเมื่อรําพึงอยูอยางนั้น เห็นหมู เกวียนนั้นในทะเลทราย คิดวา สัตวเหลานี้จงอยาพินาศ จึงอธิษฐานดวย อภิญญาจิตวา ขอทอน้ําใหญจงเซาะขางโนนบางสูขางนี้บาง แลวไหลตรงไปยัง หมูเกวียนในทะเลทราย. พรอมดวยจิตตุบาท น้ําไดไปในที่นั้นเหมือนไปสูเหมือง อันเจริญ พวกมนุษยลุกขึ้นเพราะเสียงน้ํา. เห็นน้ําแลวตางราเริง ยินดี อาบ ดื่ม ใหโคทั้งหลายดื่มน้ําแลว ไดไปถึงที่ที่ตนปรารถนาโดยสวัสดี. พระศาสดา เมื่อทรงแสดงบุรพกรรมของพรหมนั้น ไดตรัสคาถาที่ ๑.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา อปาเยสิ ไดแกใหดื่ม. อ อักษรเปนเพียงนิบาต.

บทวา ฆมฺมนิ ไดแกในฤดูรอน.

บทวา สมฺปเรเต ความวา อันความรอนในฤดูรอน ถูกตอง คือติดตาม.

สมัยตอมา ดาบสรางบรรณศาลาที่ริมฝงแมน้ําคงคา อาศัยหมูบาน ใกลปาอยู. ก็สมัยนั้น พวกโจรปลนบานนั้น พาแมโคและเชลยทั้งหลายไป ทั้งโคทั้งสุนัขทั้งมนุษยทั้งหลายรองเสียงดังลั่น. ดาบสไดยินเสียงนั้นรําพึงวา นี่อะไรหนอ ทราบวา พวกมนุษยเกิดภัย คิดวา เมื่อเราเห็นอยู สัตวเหลานั้น จงอยาพินาศ เขาฌานอันเปนบาทแหงอภิญญา ออกจากฌานแลวใชอภิญญาจิต เนรมิตกองทัพ ๔ เหลา ตรงที่สวนทางพวกโจร มาเตรียมพรอมอยู. พวกโจร เห็นแลวคิดวา ชรอยวาพระราชาเสด็จมา จึงทิ้งสิ่งของที่ปลนมาหนีไป. พระดาบสอธิษฐานวา ทุกอยางจงเปนเหมือนเดิม. สิ่งนั้นไดเปนเชนนั้นทีเดียว. มหาชนก็มีความสวัสดี.

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงบุรพกรรมของพกพรหม นั้นแมนี้ จึงไดตรัสคาถาที่ ๒. บรรดาบทเหลานั้น บทวา เอณิกุลสฺมิ ไดแก ใกลฝงแมน้ําคงคา.

บทวา คยฺหก นียมาน ความวา ถือนําไป. อธิบายวา พาไปเปนเชลย ดังนี้ก็มี.

สมัยตอมา ตระกูลหนึ่งอยูที่แมน้ําคงคาดานเหนือ ผูกสันถวไมตรีกับ ตระกูลซึ่งอยูที่แมน้ําคงคาดานใต ผูกเรือขนานบรรทุกของกินของใชของหอม และดอกไมเปนตนเปนอันมาก มาตามกระแสน้ําคงคา. พวกมนุษย เคี้ยวกิน บริโภค ฟอนรํา ขับรองไดเกิดโสมนัสเปนอันมาก เหมือนไดไปในเทพวิมาน. คังเคยยกนาคราช เห็นเขาก็โกรธ คิดวา มนุษยเหลานี้ไมทําความสําคัญในเรา คราวนี้เราจักใหพวกมันจมทะเลใหได จึงเนรมิตอัตภาพใหญ แยกน้ําเปน ๒ สวน ชูหัวแผพังพานสงเสียงขูสุสุๆ . มหาชนเห็นเขาพากันกลัวสงเสียงดังลั่น. ก็พระดาบสนั่งอยูที่ศาลา ไดยินเขา นึกวามนุษยพวกนี้พากันขับรองฟอนรํา เกิดโสมนัสมา แตบัดนี้รองแสดงความกลัว เหตุอะไรหนอ เห็นนาคราช คิดวา เมื่อเราเห็นอยู ขอพวกสัตวจงอยาพินาศ จึงเขาฌานอันเปนบาทแหงอภิญญา ละอัตภาพเนรมิตเปนเพศครุฑแสดงแกนาคราช. นาคราชกลัวหดพังพาน จมน้ําไป. มหาชนก็มีความสวัสดี.

พระศาสดาเมื่อทรงแสดงบุรพกรรมของพก พรหมแมน จึงกลาวคาถาที่ ๓.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา ลุทฺเธน ไดแก ผูรายกาจ.

บทวา มนุสฺสกมฺปา ความวา เพราะความเอ็นดูตอมนุษย อธิบายวา เพราะความประสงคจะปลดเปลื้องพวกมนุษย. สมัยตอมา พกพรหมนั้นบวชเปนฤาษี ไดเปนดาบสชื่อเกสวะ. สมัยนั้น พระโพธิสัตวของพวกเราเปนมาณพชื่อวา กัปปะ เปนศิษยของทาน เกสวะ ปฏิบัติรับใชอาจารย ประพฤติเปนที่ชอบใจ เปนผูถึงพรอมดวยปญญา ไดเปนผูทรงไวซึ่งอรรถะ. เกสวดาบสไมอาจจะอยูแยกกับเธอได. อาศัยเธอ เทานั้นเลี้ยงชีพ. พระศาสดาเมื่อทรงแสดงบุรพกรรมของพกพรหมแมน จึงตรัส คาถาที่ ๔.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา ปฏจโร ไดแกอันเตวาสิก. ก็กัปปมาณพนั้นเปนหัวหนาอันเตวาสิก.

บทวา สมฺพุทฺธิวนฺต วติน อมฺึ ความวากัปปมาณพสําคัญเขาวา ทานเกสวะนี้มีปญญาสมบูรณดวยวัตรโดยชอบ จึงแสดงวาโดยสมัยนั้น เรานั้นไดเปนอันเตวาสิกของทาน.

บทวา อฺเป ชานาสิ ความวา มิใชรูเฉพาะอายุของขาพระองคอยางเดียวเทานั้น แมสิ่ง อื่นๆ พระองคก็รู.

บทวา ตถา หิ พุทฺโธ ความวา เพราะพระองคเปน พระพุทธเจา คือเพราะเปนพระพุทธเจา ฉะนั้น พระองคจึงทรงทราบ.

บทวา ตถา หิ ตฺยาย ชลิตานุภาโว ความวา ก็เพราะพระองคเปนพระพุทธเจา อยางนี้ ฉะนั้น พระองคจึงมีอานุภาพรุงเรื่อง.

บทวา โอภาสย ติฏติ ความวา ทําพรหมโลกทั้งปวงใหสวางไสวดํารงอยู.

จบ อรรถกถาพกสูตรที่ ๔

ขอเชิญอ่านพระสูตร ...

พกสูตร วาดวยพระพุทธเจาโปรดพกพรหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 11 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ