อริยชน
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 18
บทว่า อริโย ในคาถานั้น เป็นชื่อของผู้สอน ก็อริยชนนี้ นั้นมี ๔ ประเภท คือ อาจารอริยชน อริยชนผู้มีอาจาระ ๑ ทัสสนอริยชน อริยชนที่ควรแลดู ๑ ลิงคอริยชน อริยชนผู้ถือเพศ ๑ ปฏิเวธอริยชน อริยชนผู้รู้แจ้งแทงตลอด ๑ ในอริยชน ๔ ประเภท นั้น อริยชนผู้ตั้งอยู่ในมารยาทอันประเสริฐ จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ดิรัจฉานก็ตาม ชื่อว่า อาจารอริยชน . สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :- ข้าพเจ้าขอสละภัสดาผู้ประพฤติเยี่ยง อริยชนคนโกง เชิดชูบิณฑะ ที่พามาได้นั้น แก่ท่าน ขอท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.
ส่วนอริยชนผู้ประกอบด้วยรูปและอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส น่าดู ชื่อว่า ทัสสนอริยชน สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า :- ท่านผู้เจริญ ท่านมีนัยน์ตาผ่องใส่ มีท่าทางอันประเสริฐ ออกบวชจากตระกูล อะไร จิตของท่านสละโภคทรัพย์ได้ละ หรือ ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะออกจากเรือนบวชได้. อริยชนผู้เป็นคล้ายสมณะ โดยถือเพศด้วยการนุ่งห่มเที่ยวไปอยู่ แม้จะเป็นผู้ทุศีล ก็ชื่อว่า ลิงคอริยชน ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :- บุคคลผู้ทำการนุ่งห่มเหมือนผู้มีพรต อันงามทั้งหลาย มักเอาหน้า ประทุษร้ายตระกูล เป็นคนคะนอง เป็นคนเจ้าเล่ห์ไม่สำรวม เป็นคนพร่ำเพ้อ ประพฤติโดยอาการเทียม ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายหนทาง.
ฝ่ายพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิเวธอริยชน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวกทั้งหลาย เรียกว่า พระอริยะ.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น