ขอแสงสว่างแก่ผมผู้มืดบอดด้วยกิเลสด้วยครับ
ขอเชิญ อ่าน-พิจารณาที่นี่ค่ะ v
ความจริงแห่งชีวิตตอนที่ ๑๕๓ จิตตสังเขป (ความคิด-ดับกิเลสไม่ได้)
ความจริงแห่งชีวิตตอนที่ ๑๕๒ จิตตสังเขป (โลก-ว่างเปล่า-จากอะไร.?)
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การอบรมปัญญาในหนทางที่ถูกต้องเข้าใจก่อนในขั้นการฟังว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และเป็นอนัตตา อะไรเป็นธรรม กุศลเป็นธรรมและอกุศลก็เป็นธรรม กุศลและอกุศลก็ เป็นอนัตตาด้วยคือบังคับบัญชาไม่ได้ มีเหตุปัจจัยก็เกิด เพราะสะสมกิเลสมามาก กิเลสก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดาครับ ปัญญาก็ค่อยๆ เจริญขึ้นตามลำดับจากการฟังเป็น ปัจจัยครับ
เห็นโทษด้วยการคิดนึก ก็เพราะฟังธรรมจึงเห็นโทษ ไม่เห็นโทษเพราะเป็นกิเลส อย่างละเอียดก็ธรรมดาครับ เพราะปัญญาไม่มาก แต่ที่สำคัญต้องรู้ว่าการอบรมปัญญา ปัญญาต้องรู้อะไร กิเลสอะไรที่ต้องละก่อนเป็นอันดับแรก ปัญญาต้องรู้ว่าเป็นธรรมไม่ ใช่เรา กิเลสที่ต้องละก่อนเป็นอันดับแรกคือความยึดถือว่าเป็นเราเป็นสัตว์ บุคคล เพราะฉะนั้นจึงต้องค่อยๆ ฟังต่อไปจนกว่าจะเข้าใจว่าแม้อกุศลก็เป็นธรรม รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราครับ โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร
ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส
ไม่ทราบว่าผมกำลังมาถูกทางหรือเปล่าครับและมีสิ่งใดที่ผมควรรู้ครับ?
สิ่งที่ควรรู้คือสภาพธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ตัวตน บุคคล ถูกปรุงแต่งด้วยเจตนาฝ่ายดีบ้างเจตนาฝ่่ายไม่ดีบ้าง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ เป็นสภาพธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็มีสภาพแปรปรวน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา ^^
ปุญญาภิสังขารสภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร
อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย
ถ้าขณะที่สติเกิดขึ้นจะช้าจะเร็วก็ดี อย่าได้ยึดว่าสภาพธรรมนั้นๆ เป็นอัตตาตัวตนเพราะจะหลง ยึดเอาสภาพธรรมที่เลว ที่เป็นอกุศลเป็นสัตว์ตัวตนบุคคลเป็นเราของเรา การมีความคิดที่จะให้อภัยทาน เจริญวิหารธรรม เจริญมรณานุสติ ก็ขอให้ระลึกถึงสภาพธรรม หรือขณะที่จิตเป็นกุศลนั้น ก็ไม่เที่ยง ขณะที่เป็นอกุศลก็ไม่เที่ยง มีแต่ความแปรปรวนเป็นธรรมดา คิดจะสร้างกุศลเจตนา ก็อย่าได้หลงยึดจิตนี่เป็นอัตตา เป็นตัวตนของเรา
พึงมีสติระลึกรู้ในสภาพธรรมที่เกิดดับตามความเป็นจริงในสติปัฏฐาน รูปและนามเนื่องๆ ว่าไม่ใช่สภาพสัตว์ตัวตนบุคคล แสงสว่างหรือปัญญานั้น จะเกิดได้ก็เพราะอาศัยความมืดและอวิชชาความไม่รู้นั่นเอง พิจารณาในสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ตัวตนบุคคลนั่นแล
เรียนความเห็นที่ 6
ที่กล่าวมาก็เป็นการคิดนึกเรื่องราว ไมได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ คิดนึกถึง ความเกิดดับ คิดนึกถึงสภาพธรรมแต่ไมได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม ไมได้ห้ามให้คิด นึกเพระห้ามไม่ได้ แต่ที่สำคัญต้องไม่เข้าใจว่าการคิดนึกแบบนี้คือการเจริญสติปัฏฐาน
ขออนุโมทนาครับ
เรียนคุณ paderm ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนแสดงความเห็นครับ
Avatar แสดงลักษณะเป็นเรื่องราว ย่อมเป็นสภาพลักษณะที่เกิดแล้วและดับไปแล้ว จริงอยู่ก็ที่กล่าวมานั้นย่อมไม่ได้เรียกว่ารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง (ในมุมมองคุณpaderm) เพราะเป็นกรณีที่ได้แสดงไว้แก่คุณ tharo เพียงเท่านั้น^^
ที่กล่าวว่า แต่ที่สำคัญต้องไม่เข้าใจว่าการคิดนึกแบบนี้คือการเจริญสติปัฏฐาน
ข้อนี้นั้นลองพิจารณาดูนะครับ อัทธาสัมมสนนัย
การพิจารณาไตรลักษณ์ ๔ แบบ (ในสังคหะ ปริเฉทที่ ๙)
ขออนุโมทนาครับ
คุณ paderm กล่าวไว้ถูกต้องดีแล้วครับ
แต่ก่อนผมเคยคิดว่า ถ้าเราอบรมความเชื่อเช่นนี้ไปเรื่อยๆ คิดนึกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เราก็จะสำเร็จมรรคผลได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ วิปัสสนาไม่ใช่วิปัสสนึก ถ้าจะทำให้ถูกต้องเช่น "นึกหนอ นึกหนอ, คิดหนอ คิดหนอ" "อยากได้อยากสำเร็จหนอ โลภะหนอ"
1 ต้องรู้จักก่อน
2 ตามรู้สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
(แม้ตากำลังเห็นหน้าจอ ก็ต้องรู้ว่าเห็นหนอ ตีความหนอ คิดหนอ แม้เสียงในหัวว่าคิดหนอก็ยังเป็นความคิด เป็นอารมณ์ที่มาจากมโนทวารเข้ามากระทบจิตให้รู้อารมณ์) ว่าย่อๆ แค่นี้ก่อนนะครับ
ก็ต้องขอถาม ความเห็นที่ 8 ว่า
สติปัฏฐานมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือบัญญัติ เป็นอารมณ์ครับ เรียนสนทนาครับ เพื่อจะได้เข้าใจว่า การคิดใช่การเจริญสติปัฏฐาน หรือไม่ และแม้การเห็นการเกิดดับใช่การคิดนึกหรืออย่างไร เรียนถามว่าสติปัฏฐานมี ปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือบัญญัติเป็นอารมณ์ครับ
แค่เพียงคิด และตั้งใจ จะขัดเกลาจิตใจให้พ้นจากกิเลส ...ก็จัดว่าเป็นความเห็นถูกแล้วครับ
ส่วนวิธีการนั้น ไม่มีอะไรตายตัว ขึ้นอยู่กับนิสัยคนและสิ่งที่สะสมมาทั้งหมด ว่าควรใช้แนวทางใดครับ ...ดังนั้นควรจะเลือกเองครับ หาเอาตามสะดวก ที่เหมาะสมกับตน ไม่มีใครบังคับ อย่างไหนที่ลองทำแล้วดี เห็นผล ก็ทำไปเรื่อยๆ ครับ และอาจจะต้องเปลี่ยนแนวทางไปเรื่อยๆ เช่นกัน บางคนอาจต้องศึกษาหลายๆ แนวจึงจะเกิดผล
สรุปคือว่า ให้ยึดมั่นในศีล 5 (สำคัญมากๆ ) , อย่ายึดติดในแนวทาง แต่ให้ยึดมั่นเอาแค่จุดหมายปลายทางให้ตรงกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ และ อย่าท้อ อย่าหยุด เมื่อเดินหน้าแล้ว ห้ามถอยหลังครับ ...สู้ๆ นะครับ
ขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 14
ก็ต้องขอถาม ความเห็นที่ 14 ว่าสติปัฏฐานมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือบัญญัติ เป็นอารมณ์ครับ เรียนสนทนาครับ เพื่อจะได้เข้าใจว่า การคิดใช่การเจริญสติปัฏฐาน หรือไม่ และแม้การเห็นการเกิดดับใช่การคิดนึกหรืออย่างไร เรียนถามว่าสติปัฏฐานมี ปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือบัญญัติเป็นอารมณ์ครับ การแลกเปลี่ยนสนทนากันเพื่อจะได้เข้าใจว่าสิ่งที่ได้อ่านมาจากข้อความในส่วนใดส่วนหนึ่ง มีความเข้าใจอย่างไรถูกต้องหรือไม่ อันเป็นไปเพื่อความเจริญของปัญญาครับ เรียนถามว่าสติปัฏฐานมี ปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือบัญญัติเป็นอารมณ์ครับ
ขออนุโมทนา
ถูกครับ
สติปัฏฐานไม่ใช่การคิดนึก ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ เช่น ตามองเห็นคน ก็พยายามคิดว่า ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ พยายามคิดว่าเกิดดับๆ หรือยังรู้สึกตัวว่าแขนขานี้ก็ของเราร่างกายนี้ก็ตัวเรา แต่ก็พยายามนึกว่า กายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา พยายามคิดๆ ซ้ำๆ แล้วพยายามจะเชื่อตามว่ามันเป็นอย่างนั้น เราเข้าใจแล้ว อย่างนี้ก็ยังไม่ใช่สติปัฏฐาน
(ซึ่งผมก็เคยผิดพลาดแบบนี้มาแล้ว แม้จะนึกแบบนั้นมากมาย ยังไงก็ไม่สามารถเกิดปัญญาญาณได้ ยังมีอยู่ครบ ตัวตน กิเลสต่างๆ ไม่สามารถแยกนาม-รูปได้เลย)
ต่อมาจากทั้งอาจารย์ของผมได้สอนให้เข้าใจมากขึ้น และจากทั้งการศึกษามากขึ้น พบว่าทางที่ถูกคือ "ตามรู้สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน" แต่ไม่ใช่ "นึก หรือ คิด" ส่วนบัญญัติกับปรมัตถ
ยกตัวอย่างเสริมให้นะครับ เช่น เราล้างมือ พอมือเราโดนน้ำ เราก็รู้ว่ามือเราโดนน้ำ อย่างนี้เป็นบัญญัติ เพราะเราเรียกว่าน้ำ เรียกว่ามือ ถ้าเป็นบัญญัติของฝรั่งก็ This is water and this is my hand. ส่วนปรมัตถจะไม่คำบรรยาย ไม่มีภาษากำกับ เป็นความรู้สึกอย่างนั้นเลย เย็นๆ นิ่มๆ กำลังเกิดขึ้นตรงนั้น
(เหมือนเด็กทารกไม่รู้จักสิ่งที่สัมผัสว่าเรียกว่าน้ำ แต่รู้ว่าเกิดอะไรเย็นๆ นิ่มๆ ไหลๆ เกิดขึ้นที่ตรงนั้น หรือเด็กทารก ไม่รู้ว่าความรู้สึกไม่สบายๆ หรือทุกข์แบบนั้น บัญญัติว่าหิว)
เพราะความไม่รู้ และความติดข้องจึงหลงยึดสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เคยยึดถือ ปัญญาที่ค่อยๆ อบรมค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้นว่า เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ไม่มีแม้ความทรงจำว่าเป็นเรา แล้วเย็นๆ นิ่มๆ กำลังปรากฏเกิดขึ้นตรงนั้นตรงนี้ ความเข้าใจค่อยๆ น้อมไปสู่อนัตตสัญญาในขณะที่เย็นๆ นิ่มๆ ปรากฏ
จะต้องทิ้งสัญญาความจำที่ยังมีตัวตน
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าค่ะ ...
ใช่ครับ
แม้ "เย็นๆ นิ่มๆ เกิดขึ้นตรงนั้น" ก็ยังเป็นบัญญัติ (ที่น้อยกว่าบัญญัติว่าน้ำ) ถ้าบัญญัติภาษาอังกฤษ ก็เรียก " cool and soft, over there " ดังนั้นถ้าเป็นปรมัตถ์ไปเลยก็จะไม่มีคำอธิบายหรือคำบริกรรมแต่อย่างใดเลยครับ
เชิญอ่านพิจารณา นาวาสูตร ครับ เป็นพระสูตรที่น่าสนใจพระสูตรหนึ่งครับ
ขออนุโมทนา
การฟังพระธรรม การศึกษาธรรมนั้น เพื่อรู้เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน จึงจะเป็นประโยชน์
... ขออนุโมทนาค่ะ ...
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15474 ความคิดเห็นที่ 18 โดย ขอธรรมทาน
ใช่ครับ แม้ "เย็นๆ นิ่มๆ เกิดขึ้นตรงนั้น" ก็ยังเป็นบัญญัติ (ที่น้อยกว่าบัญญัติว่าน้ำ) ถ้าบัญญัติภาษาอังกฤษ ก็เรียก " cool and soft, over there " ดังนั้นถ้าเป็นปรมัตถ์ไปเลยก็จะไม่มีคำอธิบายหรือคำบริกรรมแต่อย่างใดเลยครับ
ถ้าถามเด็กๆ ... เค้าก็รู้สึกเหมือนกันค่ะว่า ... "เย็นๆ นิ่มๆ " เพราะว่า ... มีลักษณะปรากฎให้รู้ได้ ถามใครๆ ... ใครๆ ก็รู้ได้เหมือนกัน โดยที่ไม่ต้องนึกคิดออกมาเป็นคำๆ ก็ได้ แต่ความรู้อย่างนั้นหรือคือ ... สติปัฏฐาน ความรู้อย่างนั้นหรือคือ ... ปัญญา และที่สำคัญคือยังเป็น "เรา" ที่รู้