สัทธา (2)
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
หรือบางครั้งอาจจะเป็นผู้ที่ ตระหนี่ หรือ ริษยา ขณะนั้นเป็นอกุศล เมื่อพิจารณาตนเอง ก็ดูว่าตนเองจะมีสัทธาที่จะละความริษยา และละความตระหนี่ขึ้นหรือยัง ในขณะที่ขุ่นเคืองใจและระลึกได้ เมื่อได้ฟังเรื่องของสัทธา ก็เรี่มพิจารณาว่า มีสัทธา ที่จะไม่เห็นประโยชน์ของความโกรธหรือยัง มิฉะนั้นแล้วก็ยังคิดว่ายังดีอยู่นั่นเอง โกรธนิดๆ หน่อยๆ ทำให้คนอื่นประพฤติดีขึ้น แต่ว่าลักษณะของความขุ่นเคืองใจนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย แทนที่จะขุ่นเคืองใจ อาจจะทำสี่งอื่นที่เป็นประโยชน์กว่านั้น ด้วยความไม่ขุ่นเคืองใจ ขณะใดที่เป็นอย่างนั้น ก็แสดงว่ามีสัทธาที่จะไม่โกรธและเห็นโทษของความโกรธและอกุศลอื่นๆ
บางท่านที่มีสัทธาที่จะเผยแพร่พระธรรม ให้คนอื่นเข้าใจพระธรรม และขัดเกลากิเลส คิดถึงคนอื่นมาก แต่อย่าลืมพิจารณาตนเองเหมือนกันว่าในขณะที่มุ่งที่จะให้คนอื่นได้ฟังพระธรรม และขัดเกลากิเลส ตัวท่านเองซึ่งเป็นผู้ที่หวังดีต่อคนอื่น มีการพิจารณาและขัดเกลา กิเลสอะไรของตนเอง ซึ่งเห็นเพี่มขึ้น เพื่อที่จะได้ขัดเกลาให้มากขึ้นอีก
บางคนก็มีใจที่เมตตา กรุณา สงสารคนที่กำลังเดือดร้อน ขณะนั้นรู้ได้ค่ะว่า เป็นสภาพของจิตที่อ่อนโยน แต่ว่าสัทธานั้น พอที่จะช่วยเหลือด้วยหรือยัง หรือเพียง แต่คิดสงสาร เห็นใจ ขณะนั้น ก็เป็นจิตใจที่ดี แต่สัทธานั้นยังไม่มีกำลัง ถึงกับจะช่วยด้วย ซึ่งถ้าเป็นกุศลที่มีกำลังเพี่มขึ้น ก็จะไม่คิดเมตตาหรือกรุณาแต่เพียงในใจ แต่ก็จะต้องทำสี่งหนึ่งสี่งใด ซึ่งเป็นการเกื้อกูล เป็นประโยชน์ต่อผู้นั้นด้วย
การที่สัทธา และ กุศลจิต จะเกิด ก็จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจถึงเหตุและลักษณะของสัทธาด้วยว่า
สัทธา มีความเชื่อใน กุศล เป็น ลักษณะ
มีความเลื่อมใส เป็น รสะ
มีความไม่ขุ่นมัว เป็น ปัจจุปัฏฐาน
มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งสัทธา เป็น ปทัฏฐาน
หรือมี โสตาปัตติยังคะ เป็น ปทัฏฐาน
มีวัตถุ อันเป็นที่ตั้งแห่งสัทธา จะเห็นได้ชัดว่า ขณะใดที่กุศลจิตเกิด แสดงว่า ขณะนั้น ท่านมีสัทธา ในวัตถุคือ ใน กุศลประการนั้น
เพราะว่าสัทธาในการกุศลของแต่ละคนนี้ ต่างกันไปตามการสะสม บางคนสัทธาที่จะทำบุญถวายอาหาร แก่พระภิกษุสงฆ์ บางคนก็มีสัทธาที่จะช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก สำหรับตัวท่านเอง ก็พิจารณาได้ว่า สัทธาของท่านมีอะไรเป็นวัตถุที่ตั้งของสัทธา ท่านสัทธาอย่างไร ท่านทำอย่างนั้น ท่านมีความเลื่อมใสที่ไหน ท่านก็มีการทำนุบำรุง เสียสละทำประโยชน์ในที่นั้น
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะพิจารณาได้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ว่า กุศลจิตจะเกิดได้มากขึ้น ถ้าระลึกถึงสัทธาในกุศล แม้แต่การต้อนรับมิตรสหาย ขณะนั้นก็ต้องเป็นกุศลจิตเหมือนกัน ใช่ไหม มีสัทธาที่จะโอภาปราสัย มีสัทธาที่จะมีอามิสปฏิสันถาร หรือ ธรรมปฏิสันถาร ซึ่งทุกคนจะรู้จิตใจของตนเองดียี่งกว่าคนอื่น เพราะว่าคนอื่นไม่สามารถจะรู้จิตใจของท่านได้
มีท่านผู้หนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลให้บุคคลอื่นที่สนใจในธรรม ได้หนังสือธรรมบ้างหรือว่า อธิบายธรรมบ้าง แล้วบางท่านก็แปลหนังสือธรรม ท่านผู้หนึ่ง ท่านถามว่า ในขณะที่ท่านกำลังช่วยเหลืออยากจะให้คนอื่นได้เข้าใจพระธรรมนี้ ในขณะนั้นทำ ไม่เคยคิดว่า เพื่อที่จะบรรลุมัคค ผล นิพพาน เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นสัทธาของท่านเป็นไปในประเภทใด ในการช่วยเหลือบุคคลอื่่น ที่สนใจธรรมให้ได้อ่านหนังสือธรรมหรือว่าได้ให้เข้าใจธรรม แต่ขณะนั้นไม่มีความคิดว่า เพื่อที่จะได้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน
นี่ก็แสดงถึงลักษณะของสัทธาที่ละเอียดกว่า จะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่ก็ควรจะได้พิจารณา ว่ากุศลใดๆ ก็ตาม ที่กระทำโดยไม่หวังสี่งใด เป็นการตอบแทนอันนั้นก็คงจะแสดงยี่งกว่า คำพูดที่ว่า ต้องการดับกิเลส เพราะว่าถ้าพิจารณาจริงๆ แล้ว ทำไมจึงทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร ถ้าไม่ใช่เพื่อให้คนอื่นเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยที่ไม่ได้หวังสี่งใด แม้แต่ที่จะคิดว่าเพื่อที่จะได้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน แต่การไม่หวังนั่นแหละค่ะ คือการที่แสดงว่าต้องการที่จะดับกิเลส โดยที่ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องคิดขึ้นมาเป็นคำ ว่าการกระทำอย่างนี้ เพื่อที่จะได้ดับกิเลส หรือบรรลุ มัคค ผล นิพพาน
เพราะว่าถ้าพิจารณาถึงบางท่าน ซึ่งอาจจะมีสัทธา และพูดว่าต้องการที่จะดับกิเลส แต่ว่าไม่ขวนขวาย ไม่กระทำสี่งใดที่จะเกื้อกูลต่อการที่จะเจริญปัญญาที่จะดับกิเลส อันนั้นก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า
สัทธายังไม่เท่ากับการที่จะทำประโยชน์ต่อผู้อื่นในการที่จะให้เขาเข้าใจในพระธรร แม้ว่าไม่เอ่ยว่า เพื่อการที่จะได้ดับกิเลส หรือ รู้แจ้ง อริยสัจจธรรม