เรื่องปัญหาของพระอานนท์เถระ ... เสาร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.พ. 2554
หมายเลข  17830
อ่าน  3,109

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๒ ก.พ. ๒๕๕๔
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

เรื่องปัญหาของพระอานนท์เถระ

... จาก ...

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 331

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 331

๔. เรื่องปัญหาของพระอานนท์เถระ [๑๕๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของพระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ" เป็นต้น.

กาลแห่งพระพุทธเจ้าต่างกัน แต่คำสอนเหมือนกัน

ได้ยินว่า พระเถระ นั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า "พระศาสดา ตรัสบอกเหตุแห่งพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ทุกอย่าง คือ พระชนนีและพระชนก การกำหนดพระชนมายุ ไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต อัครสาวก อุปัฏฐาก แต่อุโบสถมิได้ตรัสบอกไว้; อุโบสถ แห่งพระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้นเหมือนอย่างนี้ หรือเป็นอย่างอื่น." ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามเนื้อความนั้น. ก็เพราะความแตกต่างแห่งกาลแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เท่านั้น ได้มีแล้ว, ความแตกต่างแห่งคาถาไม่มี; ด้วยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ ๗ ปี, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ประทานแล้ว ในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ ๗ ปี, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี แล เวสสภู ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ ๖ ปี (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้นพอไปได้ ๖ ปี) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะ ได้ทรงกระทำอุโบสถ ทุกๆ ปี, (เพราะพระโอวาท ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์นั้น ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ปีหนึ่งๆ ) ; พระกัสสปทสพล ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ๖ เดือน, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวันหนึ่ง พอไปได้ ๖ เดือน; ฉะนั้น พระศาสดา จึงตรัสความแตกต่างกันแห่งกาลนี้ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า "ส่วนโอวาทคาถาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นอย่างนี้นี่แหละ." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงกระทำอุโบสถ แห่งพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ซึ่งเป็นอันเดียวกันทั้งนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :- ๔. สพฺพปาปสฺส อกรณ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปน เอต พุทฺธาน สาสน. ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปร วิเหฐยนฺโต. อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสน อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอต พุทฺธาน สาสน.

คำแปล

"ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวพระนิพพาน ว่า เป็นเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ. ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลธรรมทุกชนิด. การยังกุศลให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ออกบวชจนถึงพระอรหัตตมรรค และการยังกุศลที่ตนให้เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ชื่อว่า อุปสมฺปทา. การยังจิตของตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปน.

บาทพระคาถาว่า เอต พุทฺธาน สาสน โดยอรรถว่า นี้เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์. บทว่า ขนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความอดทน กล่าวคือ ความอดกลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยอดยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้. บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรม วทนฺติ พุทฺธา ความว่า พุทธบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ คือ พระพุทธะจำพวก ๑ พระปัจเจกพุทธะจำพวก ๑ พระอนุพุทธะจำพวก ๑ ย่อมกล่าวพระนิพพานว่า "เป็นธรรมชาติอันสูงสุด" บทว่า น หิ ปพฺพชิโต โดยความว่า บุคคล ผู้ที่ล้างผลาญบีบคั้นสัตว์อื่นอยู่ด้วยเครื่องประหารต่างๆ มีฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. บทว่า สมโณ ความว่า บุคคลผู้ยังเบียดเบียนสัตว์อื่นอยู่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ไม่ชื่อว่า เป็นสมณะด้วยเหมือนกัน. การไม่ติเตียนเอง และการไม่ยังผู้อื่นให้ติเตียน ชื่อว่า อนูปวาโท. การไม่ทำร้ายเอง และการไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำร้าย ชื่อว่า อนูปฆาโต. บทว่า ปาติโมกฺเข ได้แก่ ศีลที่เป็นประธาน. การปิด ชื่อว่า สวโร. ความเป็นผู้รู้จักพอดี คือความรู้จักประมาณ ชื่อว่า มตฺตญฺญุตา. บทว่า ปนฺตํ ได้แก่ เงียบ. บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่ง กล่าวคือ จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ ๘. การกระทำความเพียร ชื่อว่า อาโยโค. บทว่า เอต ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์. ก็ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสศีลอันเป็นไปทางวาจา ด้วยอนูปวาท ตรัสศีลอันเป็นไปทางกาย ด้วยอนูปฆาต, ตรัสปาติโมกขสีลกับอินทริยสังวรสีล ด้วยคำนี้ว่า ปาติโมกฺเข จ สวโร, ตรัสอาชีวปาริสุทธิสีล และปัจจัยสันนิสิตสีล ด้วยมัตตัญญุตา, ตรัสเสนาสนะอันสัปปายะ ด้วยปันตเสนาสนะ, ตรัสสมาบัติ ๘ ด้วยอธิจิต ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นฉะนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

เรื่องปัญหาของพระอานนท์เถระ


ท่านพระอานนท์เถระ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกถึงพระชนนี (พระมารดา) และ พระชนก (พระบิดา) การกำหนดพระชนมายุ ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต (การประชุมพระสาวก) อัครสาวก และภิกษุผู้อุปัฏฐาก ของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ (พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี สีขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และ พระสมณโคดม) แต่มิได้ตรัสบอกอุโบสถไว้ อุโบสถของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นเหมือนกันหรือเป็นอย่างอื่น ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงเรื่องดังกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า กาลเท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่โอวาทคาถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ที่นี่ครับ

ความลึกซึ้งของ ... การไม่ทำบาป

การยังจิตของตนให้ผ่องใส ฯลฯ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Noparat
วันที่ 8 ก.พ. 2554

....ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 ก.พ. 2554

ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์คำปันว่า คำว่า "อุโบสถ" ในที่นี้มีความหมายอย่างไรครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paew_int
วันที่ 10 ก.พ. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน คุณจักรกฤษณ์ ความคิดเห็นที่ 3 ครับ

คำว่า อุโบสถ มีความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมุ่งหมายถึงอะไร ในแต่ละที่ในแต่ละแห่ง

ความหมายของอุโบสถ มีดังนี้

- หมายถึง วันพระ

- หมายถึง ศีล ๘ ที่รักษาในวันอุโบสถ (คือวันพระ)

- หมายถึง สังฆกรรมของพระภิกษุที่จะต้องกระทำทุกกึ่งเดือน คือ การยกสิกขาบทขึ้นแสดง เพื่อเป็นการทบทวนว่าพระภิกษุแต่ละรูปมีการล่วงละเมิดสิกขาบทข้อใดบ้างเป็นต้น

- หมายถึง การทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (คำสอนที่เป็นประธาน) ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

- หมายถึง บัญญัติ คือ ชื่อของสัตว์ เช่น ช้างอุโบสถ เป็นต้น

ดังนั้น คำว่า อุโบสถ ในพระสูตรนี้ หมายถึง การทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ของพระพุทธเจ้า ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 10 ก.พ. 2554

เข้าใจมากยิ่งขึ้นแล้วครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์คำปั่นเป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 11 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 11 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
homenumber5
วันที่ 12 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาทุกท่าน

ขอเรียนถามท่านอ คำปั่น ความเห็นที่ 1

บาป ในชีวิตประจำวัน (คลิกไปอ่านรายละเอียดที่แนะนำแล้ว) อรรถาธิบายว่า การไม่ตั้งอยู่ใน โลภะ โทสะ โมหะ ไม่เป็นบาป อกุสล รายละเอียดของคำว่า โลภะ โทสะ โมหะ นี้ที่เราจะต้องละนั้นคืออะไร ชีวิตประจำวัน ต้องแสวงหา รายได้ อาหาร ปัจจัยสี่ เป็นโลภะ หากต้องการมากกว่าความจำเป็นเล่าถือเป็นโมหะไหม ส่วนโทสะนี้ ทุกๆ วินาที ที่เราไม่ชอบใจ สิ่งแวดล้อม ที่ ร้อนไป หนาวไป อับไป เสียงดังไป แบบนี้ก็เรียกโทสะ จริงไหมคะ หากเป็นเช่นนี้ ทุกวัน ที่เรามีชีวิตอยู่ มีแต่การสร้างบาปอกุสล ใช่ไหมคะ ท่านอาจารย์จะแนะนำวิธีการละบาปอกุสลแบบชีวิตประจำวันอย่างไรดี คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Jans
วันที่ 12 ก.พ. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 9

(ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้ครับ)

บาป เป็นนามธรรม ซึ่งไม่พ้นไปจากกุศลธรรม ซึ่งข้อความในอรรถกถาก็ได้แสดงไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า บาป ได้แก่ กุศลธรรม, จิตที่เป็นกุศลในชีวิตประจำวันมีเป็นพื้นอยู่แล้ว ประกอบด้วยโลภะ บ้าง โทสะ บ้าง โมหะ บ้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานแล้วในสังสารวัฏฏ์ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ย่อมจะไม่มีทางเห็นโทษภัยของกุศล นั่นหมายความว่า นับวันกุศลมีแต่จะพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ ย่อมไม่มีทางที่จะละกุศลเหล่านั้นได้ ตามความเป็นจริงแล้ว ชีวิตของผู้ที่ยังมีกิเลส ยังมีกุศลอยู่ กุศลจิตย่อมเกิดขึ้นเป็นไป ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริง (กุศล ก็เป็นธรรม) ไหลไปด้วยอำนาจของกุศลประการต่างๆ ทั้งโลภะ ความติดข้องยินดีพอใจ โทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่สบายใจ และทุกครั้งที่จิตเป็นกุศล ก็จะมีโมหะ เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง แต่ผู้ที่เห็นโทษของการปล่อยจิตให้คลุกคลีอยู่กับกุศล ก็ย่อมจะเป็นผู้ไม่ละทิ้งการฟังพระธรรม ไม่ละทิ้งการอบรมเจริญปัญญา เพราะปัญญาเห็นกุศลตามความเป็นจริง ซึ่งถ้ายังไม่เห็นกุศลตามความเป็นจริง ก็ยังคงคิดว่าไม่เป็นโทษและไม่รู้ด้วยว่า การสะสมกุศลมากๆ การเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดกับกิเลส เป็นการเพิ่มความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น

ดังนั้น จึงต้องอดทนฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไป ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย (ดังธรรมวาทะที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ได้กล่าวไว้ ในวันนี้ตอนท้ายชั่วโมงสนทนาพระสูตร ว่า "อดทน จนกระทั่งดับกิเลสได้หมด") เพราะเหตุว่า การละกุศล การละกิเลส นั้น ไม่ใช่ตัวตนที่ไปละ แต่เป็นขณะจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเป็นไป เช่น ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ขณะนั้นก็ละกุศล คือ ละความไม่รู้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Siriphong
วันที่ 13 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

ขอเรียนถามท่าน อ. คำปั่น ว่า "อดทน" จะมีได้อย่างไรครับ

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 12 ครับ

ธรรม เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก่อนอื่นต้องเริ่มที่ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ทุกขณะของชีวิตเป็นธรรม แต่ดูเหมือนว่าจะไปหาว่า ขณะไหน เป็นความอดทน แต่ความอดทนมีแล้ว เกิดแล้ว เป็นไปแล้ว ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม (เพราะรูปธรรม อดทนไม่ได้) เช่น อดทนที่จะไม่ว่าร้ายผู้อื่น อดทนที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น อดทนในการที่จะฟังพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ เพราะพระธรรมเป็นเรื่องยาก ต้องมีความอดทน ในการฟัง ในการศึกษาต่อไป ... ทั้งหมดนี้ คือ ความอดทนในชีวิตประจำวัน ละเอียดยิ่งกว่านั้น คือ อดทนทั้งต่ออกุศล อดทนต่อผลของอกุศล นอกจากนั้น ยังอดทนต่อผลของกุศล ด้วย กล่าวคือ เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ และ น่าพอใจ ก็อดทนที่จะไม่เป็นไปด้วยอำนาจของอกุศล ทั้งโทสะ และ โลภะ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความอดทน เป็นธรรมเครื่องเผาอกุศล ด้วย เป็นธรรมที่ทำให้ถึงซึ่งฝั่ง คือ การดับกิเลส ด้วย (เป็นบารมี) ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Siriphong
วันที่ 13 ก.พ. 2554

เรียน ท่าน อ. คำปั่น ครับ

เท่าที่ผมอ่านดู ผมเข้าใจว่า ความอดทน มีเป็นปกติอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น สัตว์ในภูมิใดก็ตามที่มีขันธ์ ๔ หรือ ขันธ์ ๕ ไม่ทราบถูกหรือไม่ครับ

อีกคำถามครับ ที่ว่า ความอดทน เป็นธรรมเครื่องเผาอกุศล นั้น ผมเข้าใจว่าเป็นเพียงคำเปรียบเทียบเหมือนกับไฟเผาเท่านั้น แล้วความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไรครับ

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 14 ครับ

นามธรรม กล่าวคือ จิต และเจตสิก เกิดขึ้นเป็นไปในภูมิที่มีขันธ์ ๔ และ ขันธ์ ๕ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ครับ

ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะทั้งหมดแสดงถึงสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม, สิ่งที่มีจริงนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และ ทรงแสดงให้สัตว์โลกได้เข้าใจตามความเป็นจริง ธรรม เป็นจริงอย่างไร พระองค์ก็ทรงแสดงไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น อย่างเช่น ความอดทน ก็เช่นเดียวกัน เป็นธรรมที่มีจริง ซึ่งข้อความในอรรถกถาทั้งหลาย ก็ได้แสดงไว้ว่าความอดทน ได้แก่ กุศลขันธ์ ซึ่งมีอโทสะเป็นประธาน ซึ่งหมายความว่า ขณะนั้นเป็นกุศลธรรม ขณะที่จิตเป็นกุศลนั้น อกุศลจะเกิดไม่ได้ เพราะเป็นธรรมคนละประเภทกัน ไม่เกิดพร้อมกัน ขณะที่จิตเป็นกุศล ก็เผาอกุศล จนกว่าจะดับได้อย่างเด็ดขาดจนหมดสิ้น ไม่เกิดอีกเลย

การจะดำเนินไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้นั้น ต้องอาศัยธรรมที่ทำให้ถึงซึ่งฝั่งของการดับกิเลสประการหนึ่ง ด้วย คือ ความอดทน ถ้าไม่อดทน ก็จะไม่มีการฟังพระธรรม ไม่ศึกษาพระธรรม เมื่อไม่อดทนที่จะฟังพระธรรมแล้ว จะเข้าใจความจริงได้อย่างไร? เมื่อไม่เข้าใจ ก็คงไม่ต้องพูดถึงการดับกิเลส หรือ เผากิเลส เผาบาป เพราะเป็นไปไม่ได้ แต่ที่เป็นผู้มีความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ สะสมไปทีละเล็กทีละน้อย ได้นั้น ก็เพราะมีความอดทนในการฟัง ในการศึกษาพระธรรม นั่นเอง

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pamali
วันที่ 21 ก.พ. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
เซจาน้อย
วันที่ 21 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
homenumber5
วันที่ 24 ก.พ. 2555

เรียนทุกท่าน

เรื่องของความอดทน ดิฉันขออนุญาต แสดงความเห็นดังนี้

ทุกวันเราต้องอดทนเพื่อแสวงหาปัจจัย ๔ หากเราตระหนักว่าพระธรรมจะพาให้พ้นทุกข์ได้ เราจึงจะพยายามอดทนฟังพระธรรม จนถึงการพ้นทุกข์

ก่อนจะอดทนฟังพระธรรมจึงต้องอดทนฟังว่าธรรมใดเป็นอกุศล ธรรมใดเป็นกุศล เพื่อจะได้ละอกุศลได้ถูกต้องและเพียรในกุศลที่ถูกต้อง

นั่นคือฟังให้เข้าใจก่อนว่า อกุศลได้แก่อะไร กุศลได้แก่อะไร

เช่นจิตอกุศล มี ๑๒ จิต เราต้องละ ควบคุม

จิตอเหตุกะ มี ๑๘ จิต จิตที่ไม่รู้บุญรู้บาป เพียงใช้ อายตนะทั้ง ๖ รับ อารมณ์เข้าไป และก่อเกิดอกุศลวิปากหรือกุศลวิปากก็แล้วแต่ว่า จะมีปัญญา เข้าใจ อารมณ์ที่รับมาได้อย่างไร จิตมหากุศล ในกามาวจรมีเพียง ๘ จิต เราจะต้องเพียรพยายามให้จิตของเราเข้าสู่มหากุศลจิต ๑ ใน ๘ ทั้งหมดนี้ใช่หรือไม่คะ

ถ้ายิ่งสามารถเข้าสู่ ญาณสัมปยุตต์มหากุศลจิตก็จะยิ่งดีในฐานะกามาวจรบุคคลใช่ไหมคะ

เรียนท่านวิทยากรช่วยชี้แนะ ด้วยค่ะ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
khampan.a
วันที่ 24 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 18 ครับ

เป็นเรื่องที่ละเอียดมากในเรื่องของความอดทน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ความอดทนจะเจริญขึ้น เพิ่มขึ้นได้ ต้องเป็นผู้เห็นคุณของกุศล เห็นคุณของความอดทน อย่างเช่น พระอริยสาวกทั้งหลายในอดีต ก่อนที่ท่านได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านก็เป็นผู้มากไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ แต่ท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีปัญญาเห็นคุณของความอดทน เห็นคุณของกุศลธรรมทั้งหลาย เห็นโทษของอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงมีความอดทนที่จะเจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลาละคลายกิเลส จนกว่าจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นได้ในที่สุด

อกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดีควรละ กุศล เป็นสิ่งที่ดีควรอบรมเจริญ ไม่ใช่การบังคับบัญชา แต่เป็นเรื่องของความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น เริ่มเห็นโทษของอกุศลและเห็นคุณของกุศล ปัญญาและโสภณธรรมอื่นๆ ก็จะเป็นเครื่องปรุงแต่งให้น้อมไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น เป็นการถอยกลับจากอกุศล เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้ไม่ใส่ชื่อหรือไม่เรียกชื่อ สภาพธรรมก็ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะเป็นอย่างอื่น เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ครับ

..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
homenumber5
วันที่ 25 ก.พ. 2555

ขออนุโมทนา

อ. คำปั่นคะ

ดิฉันขอเสริม ดังนี้ค่ะ ความอดทนจึงมีพื้นฐานมาจาก ความศรัทธา ศรัทธาในการตรัสรู้ ว่าองค์ธรรมที่ทรงตรัสรู้สามารถทำให้พ้นทุกข์ หากแม้ไม่เริ่มฟังธรรมด้วยความอดทน ก็ไม่มีการเริ่มต้น หรือแค่เพียงพอใจสภาพชีวิตปัจจุบันที่ได้ปัจจัยสี่พอเพียงแล้ว ก็ไม่พ้นวัฏสงสารไปได้ แต่ อย่าประมาทว่าพระธรรม พระพุทธเจ้าจะมีให้พบ ให้สิกขาได้ทุกชาติเพราะอกุศลเกิดตลอดเวลาในชาติปัจจุบัน หากชาติต่อๆ ไปเกิดเป็นเดรัจฉาน หรือ หูหนวก ตาบอด ฟังธรรมไม่ได้ หรือยาจกเข็ญใจหาไม่พอกิน จะยิ่งหาโอกาสฟังธรรมยากยิ่งนัก

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ