พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว และ ยังมิได้ทำของตน
บุคคลผู้ไม่ควรทำคำแสยงขน
ของคนเหล่าอื่นไว้ในใจ
ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของคนเหล่าอื่น
พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว
และ
ยังมิได้ทำของตนเท่านั้น.
ทำคำแสยงขน มีนัยอย่างไรครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
เรียนคุณจักรกฤษณ์ครับ
ในอรรกถาท่านกล่าวว่า คำแสยงขน เป็นคำหยาบคายครับ พระสูตรนี้ พระผู้มี-พระภาคทรงสอนให้อุบาสิกาท่านหนึ่ง ซึ่งกำลังมีจิตใจฟุ้งซ่าน เพราะถูกอาชีวกด่า
ทอเสียๆ หายๆ ให้นางตั้งใจฟังธรรม ไม่ควรคำนึงถึงคำที่ไม่เป็นที่รักใคร่ของผู้อื่นไม่ควรครุ่นคิดเก็บไว้ในใจ ควรพิจารณากิจ คือ การอบรมปัญญาของตนเท่านั้นครับ
ขอเชิญคลิกอ่าน >> พิจารณาตัวเองเป็นสำคัญ [เรื่องปาฏิกาชีวก]
ไม่พึงพิจารณาคนอื่น พึงพิจารณาตนเอง [เรื่องปาฏิกาชีวก]
กระทู้นี้เตือนใจดีมากครับ ผมคนหนึ่งที่มักเป็นทุกข์ใจเพราะคำแสยงขน เพราะมัวแต่ใส่ใจในคำของผู้อื่น ลืมเสมอว่าเป็นกรรมที่ตนได้ทำไว้ให้ผล และที่สำคัญ ลืมกิจของตน คือ การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ชัดในความจริงว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นธรรมครับปัญญาน้อย จึงเดือดร้อนมาก ทางเดียว คือ ฟังธรรม น้อมประพฤติตามธรรม ขัดเกลากิเลสของตน อบรมบารมีในชีวิตประจำวันครับ "ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง"
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระทู้นี้ ด้วยครับ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น ไม่มีข้อความใด ที่พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมให้พุทธบริษัทเกิดอกุศลจิตเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม บุคคลผู้ที่มีความเข้าใจตามความเป็นจริง ย่อมจะพิจารณาใส่ใจอยู่เสมอว่า เมื่อผู้อื่นประมาทอยู่ ประกอบแต่อกุศลกรรมประการต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น ทั้งด้วยกาย ด้วยวาจา ซึ่งจากใจที่เป็นอกุศล แต่เราจะไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นผู้เห็นภัยในอกุศลธรรมทั้งหลาย พร้อมทั้งอบรมเจริญปัญญาสะสมเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกของตนเอง จากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เพราะชีวิตเหลือน้อยเต็มทีแล้วจริงๆ (เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ chaiyut ที่ว่า กระทู้นี้เตือนใจดีมากครับ) ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณและอนุโมทนาคุณคำปั่นครับ
ขอเรียนถามคุณคำปั่นว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ใช่นั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้
ภาษาบาลีว่าอะไรครับ
ทราบแต่ว่า
บทว่า เอตํ มม (นั่นของเรา) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ
เพราะตัณหาเป็นมูล.บทว่า เอโสหมสฺมิ (เราเป็นนั่น) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ เพราะมานะเป็นมูล.บทว่า เอโส เม อตฺตา (นั่นเป็นตัวตนของเรา) มีความสำคัญเพราะทิฏฐินั่นเอง.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เรียน คุณหมอ ครับ (จากความคิดเห็นที่ ๕) ข้อความตอนหนึ่งจาก ... อลคัททูปมสูตร มีว่า [เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑๘ - หน้าที่ ๒๘๙ อริยาสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ฯลฯ ------------------------------------- เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริง ก็ไม่เห็นผิด ไม่ถือผิด ว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล หรือ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้น คุณหมอถามถึงภาษาบาลีของคำ ๓ คำ กระผมก็พอจะนึกออกได้ แต่เพื่อความถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัส ก็ต้องค้นจากพระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลีอีกที พร้อมกับขออนุญาตแปลยกศัพท์มาให้ด้วย ดังนี้ ครับ เนตํ มม มาจากคำว่า น (ไม่ใช่) เอตํ (นั่น) มม (ของเรา) = นั่นไม่ใช่ ของเรา เนโสหมสฺมิ มาจากคำว่า น (ไม่) +เอโส (นั่น) + อหํ (เรา) + อสฺมิ (เป็น) = เราไม่เป็นนั่น น เมโส อตฺตา มาจากำคว่า น (ไม่ใช่) เม (ของเรา) เอโส (นั่น) อตฺตา (ตัวตน) =นั่น ไม่ใช่อ้ตตา (ตัวตน) ของเรา ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านครับ...