ลำบากนัก ก็สึกออกมาเถอะ
หากการบวชนั้นทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก
จนถึงขั้นล่วงละเมิดสิกขาบท
.
โดยเฉพาะเรื่องการ "รับเงิน" ค่ะ เห็นกันบ่อยมาก
ท่านอ้างว่า "จำเป็น"
แต่ท่านลืมพิจารณาถึงความ "ถูกต้อง"
อันที่จริง ปัจจัย ๔ ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับเพศบรรพชิต
ในเมื่อท่านได้ตัดสินใจสละอาคารบ้านเรือน
ญาติมิตร
และทุกสิ่งทุกอย่าง
.
.
มีเรื่องจะเล่าให้ฟังค่ะ
หลายท่านที่เคยไปอินเดียคงพอจะทราบนะคะว่าสภาพที่นั่นเป็นยังไง
อัตคัดขัดสนแค่ไหน
อาหารที่ขายกันตามร้าน ตามโรงแรมว่าดีแล้วก็ยังทานกันไม่ค่อยได้
ไม่ต้องกล่าวถึงอาหารบิณฑบาตรเลยค่ะ ถ้าเห็นแล้วจะตกใจ
(ได้ยินมาว่า บางครั้งพระท่านฉันไปแล้วท้องเสีย)
ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีพระภิกษุที่ท่านเคร่งครัดในสิกขาบท
ยังบิณฑบาตรเป็นวัตรและฉันโภชนะตามที่ได้มา
ไม่รับเงินและทอง
เป็นความประพฤติที่น่าเลื่อมใสมากค่ะ
ทุกเช้าจะมีพระมาบิณฑบาตรที่บริเวณรอบๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ข้าพเจ้าจะไปที่นั่นแต่เช้า (ประมาณ ๖ โมง)
เอาอาหารและบริขารต่างๆ ที่เตรียมมา ถวายพระที่มาบิณฑบาตร
บางรูปก็ถามว่า มีเงินรึเปล่าโยม (เพราะท่านไม่รับ)
มีรูปนึงค่ะ ท่านถามว่าใน (กล่อง) นั้นมีอะไรบ้าง
ข้าพเจ้าก็บอกว่ามีมีดโกน ใบมีด กรรไกรตัดเล็บ ฯลฯ
ท่านบอกว่าท่านมีแล้ว ท่านยังใช้อยู่
ท่านแนะนำให้เอาไปถวายรูปอื่นที่ขาดแคลนค่ะ
มักน้อย สันโดษ
แถมอยู่ในประเทศที่กันดาร
ไม่มีเงิน ท่านก็อยู่ได้
มีอยู่วันนึงข้าพเจ้าเอาอาหารแห้งไปมอบให้กับโรงครัวของวัดไทยวัดนึงในพุทธคยา
ได้มีโอกาสสนทนากับพระเถระที่ดูแลอาวาส
ท่านก็เมตตาให้ร่วมรับประทานอาหารที่วัด
ข้าพเจ้าตกปากรับคำด้วยความยินดี
เพราะทานแต่อาหารแขกมาหลายวันแล้วค่ะ
ซักพัก เห็นพระภิกษุทยอยกันออกมา กุลีกุจอยกอาหารมาจัดมาเรียงกันอย่างรีบเร่ง
เลยถึงบางอ้อ ว่าพ่อครัวก็คือ "พระ" นี่เอง
เห็นแบบนี้แล้วทานไม่ลงค่ะ ต้องกราบนมัสการลา
.
.
ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อพระภิกษุ ที่ท่านทนฉันแต่อาหารบิณบาตรจึงมีมากยิ่งขึ้นค่ะ
เพราะท่านไม่ฝ่าฝืนพระวินัยบัญญัติด้วยการประกอบอาหารกินเอง
สังเกตว่าพระภิกษุเหล่านี้ ท่านมีวรรณงามและผ่องใสมากๆ
(เพราะผลของกุศลธรรมอันดีงามนี่เอง)
ขอเล่าอีกเรื่องนึงนะคะ
เมื่อ ๘ ปีที่แล้ว
(จากภูเก็ตมากรุงเทพ)
ช่วงระหว่างที่เดินทางเข้าสู่สนามบิน
บังเอิญเหลือบไปเห็นพระเถระรูปนึง (มาพร้อมกับสามเณร)
มีกิริยาอาการน่าเลื่อมใสมาก
รู้สึกศรัทธาอย่างแรง แต่ไม่มีอะไรที่จะถวายท่านได้ในตอนนั้นค่ะ
นอกจาก "เงิน"
และด้วยความไม่รู้ เพราะยังไม่ได้เริ่มศึกษาธรรม
จึงตรงดิ่งเข้าไปใกล้ๆ พอได้จังหวะ.....
.
.
ข: " ขอถวายปัจจัยค่ะ หลวงตา"
ภ: (ท่านมองไปที่เงิน) "ไม่รับเงิน"
(แล้วท่านกับลูกศิษย์ก็ก้มหน้าก้มตาเดิน ท่าทางเร่งรีบ ข้าพเจ้าต้องจ้ำตามไปติดๆ ไม่งั้นไม่ทันค่ะ)
ข: " ทำไมล่ะค่ะ "
ภ: " ไม่ใช่สิ่งจำเป็น "
(เหลือบดูสามเณรที่ตามท่านมาทำหน้ากด like)
ข:????
(แอบงงอยู่ ๒ วิ แต่ยังไม่ละความพยายาม เดินตามไปอีก)
ข: "แล้วเดินทางมากันยังไงค่ะ ถ้าไม่ใช้เงิน"
ภ: "มีคนจัดการเรื่องนี้"
(พูดจบท่านหันมามองแว่บนึง) และทิ้งท้ายเอาไว้ว่า "ธรรมยุต รู้จักมั้ย? "
.
ตอนนั้นยังไม่รู่จักนี่ค่ะ
กราบขอขมาด้วยค่ะ
พระภิกษุที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่เห็นแก่ลาภ ไม่เห็นแก่ปากท้อง แต่ท่าน
รักษาสิกขาบทยิ่งชีวิต
ที่กล่าวว่า (เงิน) "จำเป็น" นั้น จำเป็นแค่ไหน (สำหรับบรรพชิต) ถึงไม่มีก็ไม่ตาย แต่
การล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัตินั้นมีโทษมาก เพราะเป็นการตายจากสุคติและมรรคผล
อะไรสำคัญกว่ากัน..........ความ "จำเป็น" กับ ความ "ถูกต้อง"
แต่การล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัตินั้นมีโทษมาก เพราะเป็นการตายจากสุคติและมรรคผล
ขออนุโมทนาครับคุณไตรสรณคมน์
ขอบคุณค่ะที่แบ่งปันประสบการณ์ดีๆ เช่นนี้ให้ได้ฟังกันค่ะ ขออนุโมทนา
ส่วนใหญ่จำเป็นเพราะกิเลสครับ ที่เห็นความถูกต้องมีน้อยเพราะไม่ได้บวชด้วยความขัด
เกลาจริงๆ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิมเติมได้ที่นี่ ครับ
ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษการอนุโมทนาบรรพชา
ส่วนใหญ่จำเป็นเพราะกิเลสครับ ที่เห็นความถูกต้องมีน้อยเพราะไม่ได้บวชด้วยความขัด
เกลาจริงๆ
ไม่ได้เห็นท่านเข้ามาตอบเสียนาน ยังคมคายเหมือนเดิม
ว่าแต่ว่าท่าน ไรท์แจกแล้วไง จะไม่เปลี่ยนชื่อเป็น ซื้อแจกแล้วนะ บ้างเหรอค่ะ?