วิธีฆ่าความโกรธ

 
yolladda
วันที่  25 เม.ย. 2554
หมายเลข  18260
อ่าน  6,695

ขอคำอธิบาย มองในแง่ดี เจ้ากรรมนายเวร การฆ่าความโกรธ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

มีคำอยู่ 3 คำ ที่ควรเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าและสัจจะที่พระองค์ทรงแสดง

มองในแง่ดี เจ้ากรรมนายเวร การฆ่าความโกรธ

คำว่ามองในแง่ดี คือ มองด้วยความเห็นถูก การมองตามความเป็นจริงของแต่ละสิ่งว่าเป็นอย่างนั้น ที่เป็นสัจจะ มองในแง่ดี ไม่ได้หมายถึงการมองที่สังคม บัญญัติขึ้นว่า การมองเช่นนี้จะทำให้มีความสุข การมองในแง่ดีจึงไมได้ขึ้นอยู่กับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง สังคมใดสังคมหนึ่งที่บัญญัติขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับความจริงที่เป็นอย่างนั้น โดยไม่ผันแปร ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใด ณ เวลาใด มองในแง่ดีคือมองตามความเป็นจริงนั่นเองซึ่งเป็นสัจจะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงครับ มองในแง่ดี กุศลเป็นกุศลไม่เปลี่ยนแปลง อกุศลเป็นอกุศลไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ความเห็นถูกเป็นความเห็นถูก ความเห็นผิดเป็นความเห็นผิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 25 เม.ย. 2554

เจ้ากรรมนายเวร ไม่มีใครบุคคลใดเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครเพราะสัตว์ทั้งหลาย เป็นไปตามกรรมของแต่ละบุคคลที่ทำมา ได้ยินเสียงที่ไม่ดีจากใคร ไม่ใช่ใครทำให้ ไม่มีเจ้ากรรมนายเวรทำให้เพราะกรรมที่ทำเองนั้นเอง ที่ทำมาจึงทำให้ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ไม่มีใครทำให้เกิด กรรมที่ทำเองเท่านั้นที่ทำให้เกิด ไม่มีใครทำให้ตาย กรรมของตนเองเท่านั้นที่ทำให้ตาย ไม่มีใครทำให้เจ็บกรรมของตนเองเท่านั้นที่ทำให้เจ็บ ไม่มีใครทำให้โกรธ กิเลสของตนเองเท่านั้นที่มีทำให้โกรธครับ เพราะฉะนั้นเจ้ากรรมนายเวรไม่มี มีแต่สภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป กรรม ผลของกรรมที่ทำมาเท่านั้น ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่

แผ่ส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้ไหม

เรื่อง เจ้ากรรมนายเวร อีกสักที

การฆ่าความโกรธ โกรธเป็นธรรมไม่ใช่เรา จะฆ่าความโกรธหรือดับความโกรธไม่ได้เลย ถ้าไม่มีปัญญา ปัญญาคือความเห็นถูก การฆ่าความโกรธจึงต้องเริ่มจากหนทางที่ถูก ไม่มีเจ้ากรรมนายเวรเป็นความเห็นถูก แต่มีสภาพธรรมเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีใครทำให้โกรธ และไม่ควรโกรธใครเพราะไม่มีเรา ไม่มีบุคคล ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร มีแต่สภาพธรรมที่ได้ยิน เห็น คิดนึกต่างๆ ที่เป็นธรรม หาความเป็นสัตว์ บุคคลไมได้ การพิจารณาที่ถูก เริ่มจากความเห็นถูกจึงฆ่าความโกรธได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 25 เม.ย. 2554

การฆ่าความโกรธ ผู้ที่จะดับความโกรธได้ต้องเป็นพระอนาคามี แต่ก่อนจะถึงขั้นนั้นจะต้องดับกิเลสเป็นลำดับ คือดับความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคล ดับความเห็นว่ามีใครมีบุคคลใดที่ทำกรรมกับเรา ดับความเห็นผิดว่ามีเจ้ากรรมนายเวรครับ เริ่มจากความเห็นถูกว่าการฆ่าความโกรธจริงๆ นั้นคือ การอบรมปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป้นธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ทรงสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธได้ แล้วย่อมไม่เศร้าโศก.

...บทว่า โกธสฺสปหีนตฺตา เพราะละความโกรธได้แล้ว คือ เพราะความโกรธมีประการดังกล่าวแล้วได้ด้วยอนาคามิมรรค.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สมศรี
วันที่ 25 เม.ย. 2554
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 เม.ย. 2554

การคิดกับการกระทำ-บางทีคิด (ตั้งใจ) จะกระทำความดี-ไม่โกรธ-แต่ถึงเวลาเช่นมีคนมาว่าเราอาจโกรธได้เพราะธรรมะเป็นอนัตตา คิดดีแล้วทำตามที่คิดได้ทั้งหมดโลกนี้จะเต็มไปด้วยคนดีเพราะคนส่วนใหญ่อยากทำดีทั้งนั้น..แต่บางครั้งอยากดีแต่ไม่ดีเพราะยังมีกิเลส-คิดดีเป็นกุศลจิต-แต่จิตที่ทำให้เกิดการกระทำเป็นคนละขณะดังนั้นคิดดีไม่แปลว่าทำดีได้เสมอไปต้องแล้วแต่การสะสม..และผู้ที่ไม่โกรธได้ถาวรคือพระอนาคามี..

ลองคลิกฟัง..

ไม่สามารถได้สติด้วยความอยาก ต้องอบรม.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 25 เม.ย. 2554

ควรพิจารณาบ่อยๆ ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน ถ้าเชื่อกรรมและผลของกรรม ไม่ว่าเราจะได้รับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ดีหรือไม่ดี ก็เป็นเหตุที่เราได้ทำไว้แล้ว ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 25 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุคคลผู้ที่เป็นปุถุชน เป็นผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส มีกิเลสที่ได้สะสมมาอย่างมากมาย เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย ก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันที เป็นอกุศลทันที อกุศลเป็นธรรม เกิดกับใครก็เป็นอกุศลไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ แต่เพราะไม่เข้าใจธรรมจึงมีการยึดถือว่าคนนี้ที่ทำไม่ดี สร้างความเสียหายให้แก่เรา หรือใครก็ตาม ตัวเราเองจึงเกิดอกุศลจิตเพราะการกระทำไม่ดีของผู้อื่น แท้ที่จริงแล้ว ตัวเราก็ไม่มี คนอื่นก็ไม่มี มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น แล้วจะโกรธอะไร? แต่ความโกรธ ความไม่พอใจก็เกิดขึ้นเป็นไป

ตามความเป็นจริงแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะเห็นใจ สงสาร เข้าใจในอกุศลของบุคคลอื่น เพราะขณะนั้น เขากำลังสร้างเหตุที่ไม่ดีให้กับตัวเขาเอง ขณะที่โกรธ ขณะที่ไม่พอใจ ขณะที่ขุ่นเคืองใจ นั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ขณะนั้นเป็นการสะสมโทสะไว้ในจิตแล้ว เมื่อสะสมมากขึ้นๆ จนโทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ มีกำลังมากขึ้น วันหนึ่งวันใดข้างหน้าอาจจะถึงกับประทุษร้าย เบียดเบียน ฆ่าผู้อื่นก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงไม่ควรเห็นว่า ความโกรธเป็นเรื่องดี ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะยินดีในความโกรธ เพราะเหตุว่า การสอนให้โกรธ การสอนให้ทำร้ายสอนให้คิดร้ายต่อบุคคลอื่นนั้น ไม่มีในคำสอนทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ที่ทำให้ผู้ที่ศึกษา มีความเข้าใจถูก เห็นถูก เป็นไปเพื่อละอกุศล ละความไม่รู้ จนกระทั่งสูงสุดเพื่อความเป็นผู้ดับกิเลสได้หมด พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
intira2501
วันที่ 26 เม.ย. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 26 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ธรรมะหน้าเดียว
วันที่ 26 เม.ย. 2554

ความโกรธ (โทสะ) ก็คือการที่เราการประสบกับสิ่งไม่ชอบไม่รักหรือเราพลัดพรากจากสิ่่งที่เรารักที่เราชอบ (โลภะ) ถ้าโลภะมีกำลังมากก็จะก่อให้เกิดความโกรธที่มีกำลังมาก โลภะที่มีกำลังน้อยก็จะให้เกิดความโกรธที่มีกำลังน้อย โลภะ คือการติดข้องในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ต่างๆ เพราะโมหะ (ความหลง) คือ การไม่รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นต้นเหตุหลัก ก็คือปัญญาของเราไม่มีกำลังพอที่จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาในรูปในนามที่รวมกันอยู่เป็นสัตว์เป็นบุคคล หนทางที่ดับความโกรธได้ก็ต้องเจริญกุศลทุกประการ และเจริญสติในขณะที่โลภะและโทสะเกิด ปัญญาจะค่อยๆ รู้สภาวธรรมของโลภะและของโทสะที่ละน้อยๆ ความโลภและความโกรธที่รุนแรงๆ ก็จะลดน้อยลงเมื่อเรามีสติและปัญญามากขึ้น แต่จะดับได้เด็ดขาดก็ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามีขึ้นไป ซึ่งก็ต้องอาศัยการเจริญสติและบำเพ็ญเพียรบารมีอย่างต่อเนื่อง จนเกิดปัญญาถึงขั้นดับโลภะและโทสะได้อย่างเด็ดขาด

ขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Sensory
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ถ้ามีความผูกโกรธ มีพยาบาท ย่อมเป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมได้ในภายหน้า มีครั้งหนึ่ง ดิฉันโกรธคู่แข่งในแวดวงการค้าไม่หายสักทีพยายามอยู่หลายทางที่ผู้แตกฉานแนะนำ สุดท้าย ยังไม่หายจึงลองแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้นั้นเสียเลยปรากฏว่าพอยื่นแบ่งปันให้ ผู้นั้นรับ และได้คุยกันจนคุ้นเคย ความผูกโกรธก็หายไป กลายเป็นเพื่อนที่สนิทมาจนทุกวันนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 28 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาความเห็นที่ 12 ครับ

ถูกต้องครับ การบรรเทาความโกรธหลากหลายวิธี แม้การให้กับคนที่ไม่ชอบเราก็เป็นวิธีหนึ่งครับ ดังข้อความในวิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 179

[วิธีสุดท้าย - ทำทานสังวิภาค]

แต่พระโยคาวจรผู้ไม่อาจทำธาตุวินิพโภค ก็พึงทำทานสังวิภาค (การให้และการแบ่ง) เถิด (คือ) พึงให้ของๆ ตนแก่ปรปักษ์ รับของๆ ปรปักษ์มาเพื่อตน

การให้ ปราบคนที่ใครๆ ปราบไม่ได้ (ก็ได้) การให้ ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จ (ก็ได้) ด้วยการให้กับการเจรจาไพเราะ (ประกอบกันทำให้) คนทั้งหลายเงย (ผูให้) ก็มี ก้ม (ผู้รับ) ก็มี

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 28 เม.ย. 2554

ความโกรธไม่ต่างจากโลภะ ตรงที่เป็นสภาพธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pamali
วันที่ 28 เม.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18260 ความคิดเห็นที่ 14 โดย ไรท์แจกแล้วไง

ความโกรธไม่ต่างจากโลภะ ตรงที่เป็นสภาพธรรม

ประโยคนี้ลึกซึ้งมาก แต่น้อยคนนักที่จะเห็นโทษของ "โลภะ"

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
วินิจ
วันที่ 7 พ.ค. 2554
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
foei2517
วันที่ 14 ก.ค. 2554

ความโกรธ..ทำให้เราเศร้าหมอง..จิตขุ่นมัว...

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
peem
วันที่ 5 ธ.ค. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 23 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ