อาชีพที่ขัดต่อศีล 5

 
พรรณี
วันที่  14 พ.ค. 2554
หมายเลข  18351
อ่าน  4,031

ถ้าต้องทำงานในแผนกผลิตสุรา หรือผลิตยาฆ่าแมลง จะเป็นการประกอบอาชีพที่ขัดต่อศีล 5 หรือไม่ ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น เป็นความจริงทั้งหมด ไม่มีเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงแสดงตามความเป็นจริง อกุศล เป็นอกุศล, กุศล เป็นกุศล , อกุศลเป็นธรรมที่ไม่ดี ให้โทษ มีผลเป็นทุกข์ เป็นสภาพธรรมที่ควรละ , ส่วน กุศลเป็นธรรมที่ดี ไม่มีโทษ พร้อมทั้งให้ผลเป็นสุข เป็นธรรมที่ควรเจริญ ควรอบรมให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน บุคคลผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา พร้อมทั้งเห็นประโยชน์อันเนื่องมาจากความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ก็จะสามารถละคลายหรือขัดเกลาอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นกับตนได้ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีจิตใจที่น้อมไปในทางกุศลมากยิ่งขึ้นด้วย แม้แต่ในเรื่องของศีล ซึ่งเป็นเรื่องของความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจา ผู้ที่เห็นโทษของอกุศล เห็นโทษของความเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นต้น ก็มีเจตนาที่จะงดเว้นจากสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม โดยที่ไม่มีการบังคับ เลย เพราะธรรมเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย และ อาชีพที่คฤหัสถ์ไม่ควรประกอบ นั้น เป็นอาชีพที่เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ต่อสัตว์อื่น ก็ไม่ควรที่จะประกอบ ไม่ควรที่จะทำ แต่ ...จะห้ามใครได้หรือไม่ว่าอย่าทำอาชีพนี้ อย่าประกอบอาชีพนี้ คำตอบ คือ ห้ามไม่ได้ เพราะสะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น และที่สำคัญ ธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่ถ้าเหตุปัจจัยพร้อมมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง มีความเข้าใจพระธรรมไปตามลำดับ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี มีค่าต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง และจะทำให้ค่อยๆ ละอาชีพที่ไม่ควรประกอบเหล่านั้น แล้วเป็นผู้ประกอบอาชีพที่สุจริต (หมายถึง เว้นจากกายทุจริต เว้นจากวจีทุจริตที่เนื่องด้วยอาชีพ) เลี้ยงชีพในทางที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมคำสอนได้ในที่สุด ความเข้าใจพระธรรม จึงเป็นสาระสำคัญของชีวิต ซึ่งจะทำให้กาย วาจา ใจ เป็นไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น คล้อยตามความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้น นั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอย่างไร เป็นคนมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่ขัดขวางต่อการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพราะยิ่งศึกษา ยิ่งมีประโยชน์ขึ้นอยู่กับว่า ผู้นั้นจะเห็นความสำคัญของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเ้จ้าทรงแสดงหรือไม่ ครับ. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ อาชีพที่ไม่ควรประกอบ [วณิชชสูตร] มีอาชีพขายยาฆ่าแมลง การประกอบอาชีพอะไร เป็นไปตามการสะสมของจิต ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณพรรณี และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พรรณี
วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ ตามที่อาจารย์คำปั่นอธิบายมาก็พอเข้าใจค่ะ คือถ้าผู้ที่หันมาศึกษา

พระธรรมแล้ว ก็ไม่ควรที่จะเข้าไปประกอบอาชีพในบริษัทเหล่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้

อยู่ในแผนกผลิตสุรา หรือผลิตยาฆ่าแมลงก็ตามอย่างนั้นหรือเปล่าคะ เพราะมันก็มี

แผนกอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง ขอประทานอภัยที่ต้องถามเจาะลึ

กลงไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 พ.ค. 2554

เรียน ความคิดเห็นที่ ๒ ครับ เป็นเรื่องที่ละเอียดที่จะต้องพิจารณา เพราะถ้าหากจะพิจารณาแล้วก็จะเห็นได้ว่าอาชีพที่สุจริต ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นให้เดือดร้อน มีมาก ที่สามารถจะประกอบได้ เพราะเหตุว่าถ้ากระทำอาชีพที่ไม่ควรประกอบ ก็นำมาซึ่งความไม่สบายใจ ถึงแม้ว่าจะได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง ก็ไม่คุ้ม ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องปรุงแต่งให้มีความประพฤติที่ดีงาม เพราะรู้ว่าอะไร ดี อะไรชั่ว และประการที่สำคัญ เมื่อรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควร เป็นสิ่งที่ไมู่ถูกต้องแล้ว จะกระทำต่อไปหรือว่าจะเห็นโทษแล้วกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เท่านั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขอร่วมสนทนาในความเห็นที่ 2 ครับ รวมทั้งในกระทู้ครับ

ต้องแยกระหว่างผู้ประกอบการกับลูกจ้างนะครับ และที่สำคัญอยู่ที่เจตนาของผู้เป็น

ลูกจ้างในการประกอบอาชีพด้วยครับ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการย่อมเป็นผู้เป็นเจ้าของบริษัท

เป็นเจ้าของอาชีพคือผลิตสุราหรือยาฆ่าแมลง ส่วนลูกจ้างเป็นลูกมือ ลูกจ้างทำหน้าที่

โดยไมไ่ด้มีเจตนาที่จะเป็นผู้ค้ายาฆ่าแมลงและสุรา ผมขออนุญาตยกตัวอย่างในพระ

ไตรปิฎกในเรื่องการประกอบอาชีพที่ไม่สมควรครับ

เรื่องนายพรานกุกกุฏมิตร นายพรายคนนี้ประกอบอาชีพคือล่าสัตว์และเอาเนื้อสัตว์ไป

ขาย ซึ่งก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ไม่สมควร คือการค้าเนื้อสัตว์ ส่วนภรรยาของนายพรานเป็น

ธิดาเศรษฐีแต่ภรรยาเป็นพระโสดาบันแล้ว แต่นายพรานยังเป็นปุถุชน ซึงมีอยู่คราวหนึ่ง

เมื่อนายพรานกำลังจะไปล่าสัตว์เอามาขายและทาน นายพรานก็ได้บอกกับภรรยาผู้เป็น

พระโสดาบันว่า จงหยิบมีดหรืออาวุธล่าสัตว์มาให้หน่อย ซึ่งภรรยาผู้เป็นพระโสดาบันก็

หยิบให้ คำถามจึงมีในพระภิกษุสงฆ์ว่าภรรยาเป็นพระโสดาบันแล้ว ทำไมยังหยิอาวุธให้

อีก พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่าภรรยาผู้เป็นพรโสดาบัน ท่านไม่มีเจตนาฆ่าสัตว์เลย

เพียงแต่ส่งอาวุธ ทำตามหน้าที่เท่านั้นและทรงตรัสพระคาถาว่า หากว่าบุคคลไม่มีแผล

ในฝ่ามือ แม้จะหยิบยาพิษ ยาพิษนั้นก็ไม่ซึมเข้าไปในมือ สรุปคือท่านไม่มีเจตนา คนที่

ประกอบอาชีพไม่สมควรคือนายพราน เปรียบเหมือนบริษัทผู้ทำอาชีพไม่สมควร ส่วน

ภรรยาผู้เป็นพระโสดาบันทำตามหน้าที่ที่นายพรานสั่งไมไ่ด้มีเจตนาฆ่าสัตว์ หรือทำ

อาชีพเหมือนนายพราน แม้จะเป้นผู้ส่งอาวุธก็ตามครับ แม้ผู้ที่ทำงานในบริษัทนั้น

แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะผลิตเหมือนเจ้าของ ไม่ไช่ผู้ประกอบอาชีพที่เป้นเจ้าของบริษัท

เพียงแต่ทำตามหนาที่ที่บริษัทสั่งครับ ดังนั้นต้องพิจารณาให้ละเอียดครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.... ยาพิษไม่ซึมเข้าผู้ไม่มีแผล [นายพรานกุกกุฏมิตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 14 พ.ค. 2554

ธรรมไม่ใช่เรื่องบังคับแต่ชี้แจงให้เห็นประโยชน์ ทุกชีวิตก็ย่อมเป็นไป ไม่มีใครบังคับ

บัญชาได้ แม้แต่การประกอบอาชีพ เหมือนจะเลือกได้ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจัย

ตามการสะสมมาและกรรมที่บันดาลให้เป็นไปตามนั้น และนายพรานผู้ประกอบอาชีพ

ล่าเนื้อและเอาเนื้อมาขาย เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า ตัวนายพรานเองก็ไ้ด้บรรลุเป็นพระ

โสดาบัน จะเห็นไ้ด้ว่าท่านสะสมปัญญามา แม้ท่านจะประกอบอาชีพไม่เหมาะสมเพราะ

ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไมไ่ด้ แต่เมื่อสะสมปัญญามา ปัญญา

ถึงพร้อมไม่ว่าอาชีพใดก็สามารถบรรลุธรรมได้ครับ เพียงแต่ว่าจะต้องเข้าใจเหตุผลใน

เรื่องของพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในเรื่องการประกอบอาชีพว่า อาชีพใดไม่

ควรประกอบเพราะเอื้อต่อการทำอกุศลกรรม แต่เลือกไมไ่ด้ แต่ค่อยๆ สะสมปัญญาได้ ถ้า

เลือกได้ทุกคนก็อยากทำงานดีๆ เป็นคนดี แต่เลือกไม่ไ่ด้เลยเพราะธรมเป็นอนัตตา แม้

จะสะสมปัญญามาดังเช่นนายพราน กรรมก็ยังซัดไปให้ไปประกอบอาชีพไม่ควร แต่ท้าย

สุดท่านก็เป็นพระโสดาบันครับ ประโยชน์คือการฟังพระธรรมต่อไป และจากเรื่องที่ผม

กล่าวมาในเรื่องของภรรยานายพรานทำให้เห็นว่าแม้จะส่งอาวุธให้แต่ท่านไม่มีเจตนา

ทุจริต เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ค้าเนื้อสัตว์ดังเช่นนายพรานเลยครับ สำคัญที่เจตนา และนาย

พรานก็คงไม่ใช้ภรรยาเพียงครั้งเดียว คงต้องหลายครั้งครับ สำคัญที่เจตนาและเราไม่

ใช่ผู้ประกอบอาชีพเจ้าของบริษัครับ เราทำตามหน้าที่ที่บริษัทสั่งมา ดังนั้นสำคัญที่

เจตนาครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พรรณี
วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นที่กรุณาให้คำอธิบาย ดิฉันจะพยายามฟังพระธรรมให้เกิดความ

เข้าใจมากยิ่งขึ้นต่อไปค่ะ ขออนุโมทนาในกุศลจิตที่มีต่อผู้ที่สนใจธรรมะที่ยังมีความเข้าใจ

ไม่ถูกอยู่อีกมากด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พรรณี
วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณค่ะ ที่คุณPaderm ขยายความให้เข้าใจเพิ่มขึ้น ขออนุโมทนาในกุศลจิตที่ช่วย

ตอบปัญหาข้อข้องใจในทุกแง่มุมอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 16 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปันและอาจารย์ผเดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 14 พ.ย. 2554

* * * กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ * * *

และ

อนุโมทนากุศลจิต ที่เกิดจากการบรรยายด้วยครับ

* * * ------------------------------------- * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jaturong
วันที่ 15 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ