ความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ เกียวกับสติ และสมาธิ
ขอรบกวนท่านผู้รู้สักหน่อยครับว่า ที่เรียกว่า สัมมาสติ เป็นอย่างไร การรู้เฉยๆ โดยไม่ปรุงแต่งจะเป็นสัมมาสติได้หรือไม่ แล้วอะไรที่เรียกว่า มิจฉสติคืออะไร เป็นสติที่อยู่ในฌาณที่สูงขึ้นไปนี้ใช่หรือปล่าวครับ คือเริ่มตั่งแต่อัปปนาสมาธิขึ้นไปเป็นมิจฉา-สติและเป็นมิจฉาสมาธิใช่หรือปล่าวครับ มีบ้างท่านบอกว่าการแยกรู้แยกนามนั้นเป็นขั้นที่ต้องใช่ในการพิจารณาซึ่งยังไม่ควรที่จะทำในขั้นเริ่มต้นปฏิบัติควรจะเป็นการทำหลังจากที่ได้มีสติที่มั่นคงพอสมควรเ ช่น มีสติแบบที่อยู๋ในขันอัปปนาสมาธิหรือเปล่าหรือเป็นการตามดูรู้อยู่กับปัจจุบันเพียงอย่างเดียวไม่ต้องคิดหรือพิจารณาอะไร ก็เลยสงสัยว่าแล้จะรู้ลักษณะรู้นามตามความเป็นจริงได้อย่างไร หรือตามดู้ไปก็จะแยกรู้แยกนามได้เองแล้วจะมีเหตุผลอะไรถึงเป็นได้เช่นนั้น ขอคำชี้แจงด้วยนะครับ ขอคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สัมมาสติ องค์ธรรมคือสติเจตสิก สติเจตสิกเกิดกับจิตที่ดีงาม ดังนั้นขณะใดที่เป็น
กุศลขณะนั้นจะต้องมีสติครับ สัมมาสติ โดยทั่วไปแล้ว เป็นสติที่เกิดกับสมถภาวนา
คือปัญญาที่อบรมเจริญให้ถึงความสงบ มีฌาน เป็นต้น ขณะนั้นก็เป็นสัมมาสติเพราะมี
การระลึกชอบเป็นไปกับอารมณ์ของสมถภาวนา ส่วนสัมมาสติก็เกิดกับการอบรม
วิปัสสนาด้วยครับ ซึ่งเป็นไปในการอบรมสติปัฏฐาน คือขณะที่สติระลึกลักษณะของ
สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นมีสติที่เป็นสัมมาสติ ระลึก
ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นครับ ดังนั้นเมื่อพูดถึงสัมมาสติแล้วจึงเป็นสติที่ระลึก
ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นไปในสมถภาวนาและวิปัสสนาครับ
แต่การรู้เฉยๆ นั่นไม่ใช่สัมมาสติครับ สติทำหน้าที่ระลึก การรู้เป็นหน้าที่ของปัญญา
การไม่ปรุงแต่ง ไม่รู้อะไร รู้เฉยๆ ไม่ใช่สัมมาสติ ไม่ใช่ปัญญา แต่เป็นความไม่รู้เพราะ
ขณะนั้นเฉยๆ ไม่รู้อะไร ดังนั้นการอบรมปัญญาจึงไม่ใช่เรื่องของการที่จะไม่ปรุงแต่งให้
ไม่รู้อะไร แต่การอบรมปัญญาคือต้องมีปัญญาเกิดรู้ความจริงในขณะนั้นครับ ขออธิบายเรื่องการปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งครับ จริงๆ แล้วเรามักเข้าใจว่าเมื่อไม่คิดอะไร
เฉยๆ คือการไม่ปรุงแต่ง แต่ในความจริงแล้ว สภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิตคือเจตสิก ซึ่งเมื่อ
ใดที่จิตเกิดก็จะต้องมีเจตสิกเกิดแล้วครับ ปรุงแต่งจิตในขณะนั้นครับ ดังนั้นเพียงแค่
เห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยปรุงแต่งจิตแล้ว ยังไม่ทันรู้ว่าเป็นอะไรเลยและขณะนั้นก็เฉยๆ
เท่านั้นก็ปรุงแต่งคแล้วครับ ปรุงแต่งด้วยเจตสิกที่เกิดขึ้นครับ
ส่วนมิจฉาสติ โดยองค์ธรรมเป็นโลภะ คือความต้องการนั่นเอง ขณะใดที่ปฏิบัติผิด
ก็ทำให้ระลึกผิด มีความต้องการที่จะรู้ ที่จะจดจ้องในสภาพธรรม เช่น ขณะนี้มีเห็นก็
พยายามจะจดจ้องที่เห็น นั่นเป็นความต้องการ แต่ไม่ใช่สติที่เป้นสัมมาสติที่เป็นกุศลที่
ระลึกสภาพธรรม แต่เป็นความต้องการที่จดจ้อง ขณะนั้นตรงข้ามกับสติ จึงเรียกว่า
มิจฉาสติครับ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการอบรมสมถภาวนาและวิปัสสนา หากปฏิบัติผิดก็
ต้องมีโลภะด้วยในขณะนั้น ก็ย่อมมีมิจฉาสติครับ ดังนั้นขณะเป็นฌานที่เป็นขั้นอัปนา
สมาธิที่เป็นกุศล เป็นสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาสติ แต่ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสติครับ
อีกนัยหนึ่ง การะลึกที่เป็นไปในอกุศลหรือคือการคิดนึกนั่นเอง นึกถึงเรืองบ้านเรื่องที่
เป็นอกุศล ขณะนั้นก็เป็นมิจฉาสติครับ ซึ่งมิจฉาสติจะต้องเป็นอกุศลเท่านั้นครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
มิจฉาสติ ว่าด้วยมิจฉาสติ [มูลปัณณาสก์]
มิจฉาสติ กับ โลภมูลจิต
ความแตกต่างระหว่างสัมมาสติและมิจฉาสติ
ส่วนประเด็นที่ถามว่าการแยกรูป แยกนาม
ประเด็นนี้การแยกรูปและนาม ต้องแยกด้วยปัญญาและเป็นปัญญาระดับสูงมาก
ระดับวิปัสสนาญาณครับ เพราะฉะนั้นคงไม่มีทางถึงเลย ถ้าไม่เป็นผู้อบรมเจริญสติ
ปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ทีละเล็กละน้อยครับ ต้องเริ่ม
จากปัญญาขั้นต้นก่อนครับ และก่อนจถึงสติปัฏฐานก็ต้องเริ่มจากการฟังใหเข้าใจไป
เรื่อยๆ ในเรื่องของสภาพธรรมครับ ดังนั้นการอบรมปัญญาจึงไม่ใช่เรื่องรีบร้อน แต่เป็น
เรื่องค่อยๆ ฟังไปใหเข้าใจ ปัญญาจะทำหน้าที่ระลึกรู้ลัการะของสภาพธรรมเอง แต่เมื่อ
ไหร่ที่มีความต้องการ ก็เป็นเครื่องกั้น และก็ทำให้เป็นมิจฉาสติได้ครับ ฟังพระธรรมไป
เรื่อยๆ ครับ ปัญญาจะทำหน้าที่เอง ไม่ต้องไปตามดูครับ ฟังพระธรรม ธรรมทำหน้าที่เอง
เพราะการตามดูก็เป็นตัวตน เป็นความต้องการ เป็นมิจฉาสติอันเป็นหนทางที่ไม่ถูกต้อง
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอน้อมจิตอนุโมทนากับทุกท่านด้วยเศียรเกล้าครับ
ที่สำคัญคือปัญญาและสัมมาทิฏฐิจริงๆ ครับ ต้องหมั่นอบรมและเจริญให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
รูปและนามแยกขาดกันอยู่แล้วตามความเป็นจริง.....ไม่จำเป็นต้องแยกค่ะ
เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่สัมปยุตกัน
สภาพธรรมทั้งนามและรูป เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
แต่เป็นเพราะว่าเรายังขาด "ความเข้าใจที่ถูกต้อง"
เมื่อสั่งสมความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนามและรูปก็จะปรากฎให้เห็นตรงตามความเป็นจริงค่ะ
รูปคือสิ่งถูกรู้ นามคือสภาพรู้ วิปัสสนาเริ่มต้น ถ้ายังแยกไม่ออก ระหว่างรูปกับ นามก็ยังไม่ใช่วิปัสสนา แต่การแยก ต้องประกอบด้วยสัมมาสติ ก่อนเริ่มต้นศึกษาธรรมะ (ปฏิบัติธรรม) ทุกคนจะรู้สึกว่าเรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา เวลา พูด ทำ คิด จะเสมือนเป็นสิ่งเดียวกัน แยกไม่ออก แต่เมื่อเริ่มมีสติปัฏฐาน สติก็จะเป็นเครื่องกัน ความเป็นเราก็จะเริ่ม ขาดตอนเป็นช่วงๆ เริ่มต้น จะรู้สึก มีสิ่งถูกรู้ และสภาพรู้ ปรากฎชัด เรียกว่าการแยกรูปและนามด้วยสติและปัญญา
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อย่าถือเป็นสรณะ