ใช่พุทธพจน์จากพระโอษฐ์หรือไม่

 
WS202398
วันที่  14 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18551
อ่าน  1,855

หากเราได้รับข้อมูลจากผู้กล่าวอ้าง หรือแสดงความเห็นส่วนตน ว่าข้อความนั้นๆ คัมภีร์

นั้นๆ ในพระไตรปิฎกเป็นของเพิ่มเข้ามาภายหลัง ด้วยเหตุผลอย่างนั้นๆ และบอกอีกว่าแม้

เพิ่มภายหลังแต่ก็ลงเข้ากับพระธรรมวินัย ฯลฯ

เมื่อได้รับข้อมูลเช่นนี้ควรพิจารณาอย่างไรดีครับ เมื่อผมก็ไม่มีภูมิไม่มีเวลาพอที่จะไปตามรู้

ตามศึกษาถึงเพียงนั้น หรือควรมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ไม่ว่าผู้ใดจะกล่าว อย่างไร ไม่พึงคัดค้าน และเชื่อทันทีครับ แต่ต้องตรวจสอบกับ

พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ว่าตรงกันไหม เข้ากันได้ไหม ถ้าสอดคล้องไม่ขัดกับ

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ สิ่งนั้นก็เป็นธรรมกล่าวโดยชอบ ดังนั้นก็ไม่พ้นจาก

การตรวจสอบเทียบเคียงกับพระธรรมวินัย ด้วย มหาปเทส 4

ที่สำคัญ แม้สิ่งบางอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ไ้ด้บัญญญัติไว้ ไมไ่ด้กล่าวไว้ แต่สิ่งนั้น

คำนั้นสอดคล้องกับพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ขัดกับสิ่งที่ควร นั่นก็ควรอยู่ครับ

ยกตัวอย่างเช่น น้ำปานะ 8 อย่าง ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ แต่น้ำมะขวิด เป็นต้น ที่มี

ผลเล็ก ซึ่งก็ไม่ผิดในพรธรรมวินัย แม้พระพุทธเจ้าจะไม่ได้แสดงเรื่องน้ำลูกมะขวิด แต่

น้ำนั้นก็ควรเพราะเป็นผลไม้เล็กนั่นเองครับ ดังนั้นจะต้องตรวจสอบกับพระธรรมวินัยว่า

สอดคล้องหรือไม่ ขัดกันหรือไม่ครับ ไม่ว่าใครจะกล่าวก็ตาม ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตร

ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ไม่พึงเชื่อและคัดค้านทันทีครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

มหาปเทส 4 คืออะไร?

มหาประเทศ ๔ [มหาปเทสสูตร]

มหาปเทส ๔ [มหาวรรค]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

พระพุทธานุญาตมหาปเทส ๔

[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้. ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย. ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย. ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย. ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อสำคัญ คือ ข้อความดังกล่าวนั้น ให้ความเข้าใจอะไร ทำให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันหรือไม่? หรือว่า เป็นไปเพื่อความเห็นผิด ซึ่งผู้ฟัง ก็จะต้องมีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาด้วย เพราะว่าถ้าเป็นถ้อยคำหรือข้อความที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม แต่ถ้าผิดจากความเป็นจริงส่งเสริมให้เกิดความเห็นผิดแล้ว ย่อมไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่โทษอย่างเดียวทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น และไม่ตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วย ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
bsomsuda
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18551 ความคิดเห็นที่ 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ไม่ว่าผู้ใดจะกล่าว อย่างไร ไม่พึงคัดค้าน และเชื่อทันทีครับ แต่ต้องตรวจสอบกับ

พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ว่าตรงกันไหม เข้ากันได้ไหม ถ้าสอดคล้องไม่ขัดกับ

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ สิ่งนั้นก็เป็นธรรมกล่าวโดยชอบ ดังนั้นก็ไม่พ้นจาก

การตรวจสอบเทียบเคียงกับพระธรรมวินัย ด้วย มหาปเทส 4

ที่สำคัญ แม้สิ่งบางอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ไ้ด้บัญญญัติไว้ ไมไ่ด้กล่าวไว้ แต่สิ่งนั้น

คำนั้นสอดคล้องกับพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ขัดกับสิ่งที่ควร นั่นก็ควรอยู่ครับ

ยกตัวอย่างเช่น น้ำปานะ 8 อย่าง ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ แต่น้ำมะขวิด เป็นต้น ที่มี

ผลเล็ก ซึ่งก็ไม่ผิดในพรธรรมวินัย แม้พระพุทธเจ้าจะไม่ได้แสดงเรื่องน้ำลูกมะขวิด แต่

น้ำนั้นก็ควรเพราะเป็นผลไม้เล็กนั่นเองครับ ดังนั้นจะต้องตรวจสอบกับพระธรรมวินัยว่า

สอดคล้องหรือไม่ ขัดกันหรือไม่ครับ ไม่ว่าใครจะกล่าวก็ตาม ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตร

ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ไม่พึงเชื่อและคัดค้านทันทีครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

มหาปเทส 4 คืออะไร?

มหาประเทศ ๔ [มหาปเทสสูตร]

มหาปเทส ๔ [มหาวรรค]

ในมหาปเทสสูตร ใช้คำว่า "ฯพึงลงสันนิษฐานได้ว่าฯ" ดังนั้น ก็เป็นหมายความว่าไม่ให้

เชื่อสนิทใช่ไหมครับ ว่าเป็นพุทธพจน์โดยตรง อีกทั้งข้อความพระไตรปิฎก เรื่องจังกี

สูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ก็มีนัยว่าไม่ควรปักใจไปว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ไม่ว่าจะปลงใจเชื่อ ณ ตอนนี้อยู่

อย่างนี้ (พระเป็นความเชื่อที่เกิดจากการคิดพิจารณา มิใช่รู้แจ้งจริง อันนี้ความเข้าใจ

ของผมเองครับ)

ถ้าข้อความที่ยกขึ้นกล่าวถึง เป็นข้อความในพระไตรปิฎก อาจจะทั้งสูตร หรือทั้งคัมภีร์ก็

ตาม แต่ถ้าสอดคล้องไม่ขัดกับ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ สิ่งนั้นก็เป็นธรรมกล่าว

โดยชอบ หรือแน่แล้วเป็นพุทธพจน์ครับ หรือว่าเราไม่ควรสนใจมากไปกว่านี้ ถ้าสอด

คล้องก็ถือว่าใช้ได้ มุ่งภาวนาซึ่งเป็นส่วนตัวต่อไป เพราะเราก็พิสูจน์ไม่ได้ ให้บุคคลที่

สามารถทำหน้าที่พิสูจน์ของเขาต่อไป เป็นแนวทางที่ใช้ได้หรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้

ภิกษุนี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว

คำว่าพึงลงสันนิฐานได้ว่า ก็คือ เป็นอันตกลงใจแล้วครับ เพราะพิจารณาจากพระ

ธรรมวินัยตรวจสอบแล้ว ว่าไม่ตรง เป็นต้น เป็นคำที่รับมาผิด ไมใช่ยังไม่แน่ใจ ไม่เช่น

นั้นก็ไม่สามารถตัดสินได้จริงว่าคำใดถูกหรือผิดเสียทีครับ แต่ตรวจสอบแล้วลงกับ

พระธรรมวินัย เข้ากันได้ ก็ถูก แต่ถ้าเข้ากันไมได้ ค้านกัน ก็พึงสันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่

คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ มีคำว่าแน่แท้ก็คือ แน่นอน

แล้วครับว่าไม่ใช่

ส่วนข้อความจากจังกีสูตรนั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้า ตรัสถามมาณพผู้นับถือลัทธิ

พราหมณ์ ซึ่งอาจารย์ของลัทธิพราหมณ์ไม่มีใครกล่าวเลยว่าเรารู้อย่างนี้ สิ่งนี้จริง สิ่งอื่น

เปล่า คือ อาจารย์ของพราหมณมีความเข้าใจไม่ถูกต้องก็ย่อมไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริง

สรุปคือ พระธรรมใดที่แสดงไว้และสอดคล้องกับพระธรรมวินัย ด้วยการพิจารณา

ตรวจสอบแล้วก็เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ศึกษาเพื่อความเข้าใจถูกมากขึ้น การศึกษา

พระธรรมที่ถูกต้องไม่ใช่แบบวิชาการ แต่เป็นไปเพื่อละคลายกิเลส อันอาศัยพระธรรม

ที่ถูกต้อง และพิจาณารใคร่ครวญว่าถูกต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่ เ พื่อจุดประสงค์

คือ อาศัยพระธรรมนั้นเพื่อขัดเกลากิเลส อบรมปัญญาครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

และผมก็เห็นว่าเป็นคำตอบที่มีประโยชน์สำหรับผู้ถามมากครับ

แต่ผมก็เกิดอยากรู้ตามมาเพิ่มอีกครับว่า การศึกษาแบบวิชาการ โดยส่วนตัวผมก็ไม่ค่อย

เข้าใจนักครับว่า การศึกษาแบบวิชาการเป็นอย่างไร รู้นิดๆ พอเป็นทาง เพราะผมไม่ได้

เป็นนักวิชาการ ด้านศาสนา แต่จุดที่ผมสงสัยคือ การศึกษาแบบวิชาการต่างกับการ

ศึกษาเพื่อละคลายกิเลสอย่างไร จริงอยู่ที่ผมก็พอจะรู้คำตอบแบบหยาบๆ แต่ก็เรียกได้่

ว่าไม่รู้อยู่นั้นเอง คือ การศึกษาแบบวิชาการ มีข้อเสีย ข้อต่าง ข้อขัดข้อง อย่างไร เมื่อ

เทียบกับการศึกษาเพื่อละคลายกิเลส เพราะเดิมๆ ผมก็เรียนมาในโรงเรียนในระบบทั่วๆ

ไป ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าการศึกษาแบบที่เรียนว่าวิชาการนี้ มีข้อเสียอย่างไร ถ้าจะพูดให้

แคบลงในทางศาสนาวิชาการก็คงไม่พ้นวิชาการด้านอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็น

หลัก ส่วนด้านเนื้อหา หลักมหาปเทส 4 ก็ครอบถึง ผมก็ยอมรับว่าการศึกษาแนวนี้มิใช่

ทางแบบการศึกษาแบบเพื่อละคลายกิเลส แต่ด้วยปัญญาขณะนี้ ก็ไม่เข้าใจว่า การ

ศึกษาแบบนี้มีข้อพร่อง ข้ออุปสรรค ในแง่ใด หรือแง่เป็นเครื่องเนิ่นช้า เสียเวลา สำหรับ

ผมก็คือเนิ่นช้า เสียเวลา เพราะผมไม่ใช่นักวิชาการด้านศาสนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

การศึกษาพระธรรม ประโยชน์คือเข้าใจความจริงของสภพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ และ

เป็นไปเื่พื่อละคลายกิเลส การอ่านพระไตรปิฎก ศึกษาแบบวิชาการ ก็คือ ศึกษาว่า

พระธรรมมีมาสมัยไหน ศึกษาประวัติศาสตร์ ศึกษาเพื่อท่องจำมากๆ รู้เยอะๆ หรือสอบ

แข่งขัน ให้ผ่านชั้นต่างๆ ได้ใบประกาศ กลายเป็นการศึกษาเหมือนทางโลกที่มีการ

สอบ อันเป็นไปเพื่อได้ ไม่เป็นไปเพื่อละ เพราะโลภะติดข้องเพื่ออยากได้ใน รูป รส..

อันน่าพอใจ คำยกย่อง สรรเสริญ โดยมีพระธรรมเป็นตัวสื่อกลาง และพยายามจดจำ

พระธรรมให้มาก แต่ไมไ่ด้พิจารณาน้อมเข้าไปในใจอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส พระธรรมของพระพุทธเจ้าในการศึกษาที่ถูกต้องจึงเป็นไปเพือเพิ่มพูนโสภณธรรม

เพิ่มพูนศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดังนั้นถ้าเรา

มามุ่งเน้นเหมือนการเรียนพระธรรม ที่สอนให้จำมากๆ อธิบายศัพท์ต่างๆ เหมือน

ศึกษาวิชาการ แต่ไม่ไ่ด้เข้าใจจุดประสงค์ของพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงว่าเพื่อ

เข้าใจความจริงในขณะนี้ เพื่อขัดเกลากิเลส ก็จะไมไ่ด้ประโยชน์จากพระธรรมครับ ก็จะ

กลายเป็นใบลานเปล่า เพราะไม่น้อมพระธรรมเข้ามาที่ใจครับ ดังนั้นโลภะจึงติดข้องได้

ทุกอย่างแม้แต่การศึกษาพระธรรมครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
WS202398
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ถ้าการศึกษาแบบวิชาการเป็นแบบที่ท่านความเห็นที่ 9 อธิบาย ผมเห็นว่าน่าจะหนักกว่าใบลานเปล่าอีกครับ เพราะสมัยพุทธกาลผมจำได้นิดหน่อยว่ามีพระรูปหนึ่งท่านเก่งปริยัติมากแต่ไม่บรรลุอริยธรรมสักที พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเตือนสติท่านโดยเรียกท่านว่าใบลานเปล่า ซึ่งขนาดท่านจดจำได้มากและเป็นปริยัติจริงๆ เป็นพุทธพจน์แท้จริง สอนลูกศิษย์มากมายให้บรรลุธรรมได้ ก็ยังถูกเรียกว่าใบลานเปล่าได้ ถ้าผู้ศึกษามามากๆ และก็ยังไม่รู้ว่าที่มากๆ นั้นจริงหรือเท็จถูกหรือผิด แต่จำได้มากล่ะ ให้เหตุให้ผลอธิบายได้มาก ก็คงจะยิ่งกว่าใบลานเปล่าโดยนัยนี้

ผมมาคิดดูแล้วได้คำตอบเพียงเท่านี้ ก็น่าจะเหมาะสมกับภูมิปัญญาของตนขณะนี้แล้ว

ส่วนข้อสงสัยที่เหลืออยู่ก็ยกไว้ก่อน เพราะไม่มีประโยชน์ต่อการเจริญ ทาน ศีล ภาวนา ของตัวผู้สงสัย ความจริงผมไม่ได้คิดสงสัยขึ้นมาเองหรอกครับ พอไปอ่านตรงนั้นตรงนี้ ที่เขาสนทนากัน ก็เลยสงสัย อีกอย่างหนึ่งแต่ก่อนธรรมะบางอย่างผมก็เคยสงสัยและต่อมาเมื่อฟังมากขึ้นก็หายสงสัยไปเอง

ขออนุโมทนา และขอขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

อ่านมาถึงตอนท้ายของเจ้าของกระทู้ ดูเหมือนว่าจบรายการแล้ว แต่ในฐานะ

ญาติธรรมคนหนึ่ง กระผมขออนุญาตเข้ามาช่วยดูแลกันและกันอีกคนหนึ่งตามสติ

ปัญญา แต่ด้วยกุศลจิตครับ

กรณีมีการอ้างว่าเป็นพระพุทธพจน์ หรือมีมาในพระไตรปิฎก จะมีเป็น 2

ลักษณะ คือ (1) อ้างเป็นถ้อยคำ เช่นยกเป็นพุทธภาษิตบ้าง ยกศัพท์แสงขึ้นมาอ้างบ้าง

มีผู้นิยมอ้างกันเสมอ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่พุทธพจน์เลย ลักษณะนี้ต้องตามไปดู หรือตามไปค้น

คว้า จึงจะรู้ได้ว่าเป็นพระพุทพจน์จริงหรือเปล่า (2) อ้างเป็นเค้าความ เช่นอ้างว่าพระ

พุทธเจ้าสอนว่าอย่างนั้นๆ ลักษณะนี้แค่ฟังดูก็อาจตัดสินได้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่าง

นั้นจริงหรือเปล่า สรุปว่าต้องเลือกเอาว่าอย่ากจะพิสูจน์ความจริงถึงระดับไหน

ส่วนการศีกษาและปฏิบัติ ท่านก็มีหลัก คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ คันถธุระ

คือเรียนเพื่อให้เข้าใจแตกฉานเพื่อนำไปสั่งสอนเผยแผ่ต่อไป ก็คือที่เรียกว่าศึกษาแบบ

วิชาการนั่นเอง ส่วน วิปัสสนาธุระ คือเรียนเพื่อให้รู้หลักในการละโลภ โกรธ หลง แล้ว

ลงมือละโลภ โกรธ หลง ไปจนกว่าจะละได้หมด นี่ก็ต้องเลือกเอาอีกเช่นกันว่าจะต้อง

การเรียนแบบไหน

สรุปแล้วก็จะมีคนอยู่ 4 จำพวก คือ [1] เรียนเพื่อรู้ แต่ไม่ได้ละ (หาง่าย) [2]

เรียนเพื่อละ แต่ไม่ค่อยรู้ (พอหาได้) [3] เรียนเพื่อรู้ด้วยและเพื่อละด้วย (หายาก แต่มี)

และ [4] ไม่เรียนและไม่ละอะไรทั้งนั้น (หาได้ทั่วไป) ก็ต้องเลือกเอาว่าจะเป็นพวกไหน

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นเท่านี้ครับ - ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนา คุณ WS202398 และนาวาเอกทองย้อย

ที่ร่วมสนทนาธรรมเพื่อความเข้าใจถูกขึ้นครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
traveller
วันที่ 16 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาอาจารย์ paderm ,คุณกำปั่น ที่อธิบายชี้แจงชัดแจ้งให้เกิดความเข้าใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 28 มิ.ย. 2554

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้

1. การศึกษาธรรม แบบจับงูพิษที่ข้างหาง คือการศึกษาผิด ปฏิบัติผิด

2. ศึกษาเพื่อการหลุดพ้น เป็นการศึกษาถูกทาง ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะ ฯลฯ

3. ศึกษาแบบขุนคลัง เป็นการศึกษาของพระอรหันต์ ศึกษาเพื่อรักษาพระธรรมวินัย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ