สติ เป็นสภาวธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ได้อย่างไร

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  30 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18644
อ่าน  1,680

กราบขอประทานอภัยครับ ถ้าถามไม่ถูกต้อง กับคำถามพื้นฐานของผู้รู้ครับ

คืออย่างนี้ครับ สิ่งที่เป็นกุศลหลักๆ คือ มี

๑ ทาน

๒ ศีล

๓ ภาวนา ซึ่งภาวนา แยกเป็น

๓.๑ สมถภาวนา คือ ความเจริญความสงบของจิต (สงบจากอกุศล)

๓.๒ วิปัสสนาภาวนา คือ การเจริญปัญญา

ซึ่งสงสัยครับว่า

* สติ เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนาอย่างไร

* * แล้ววิปัสสนา เกี่ยวกับ สติปัสฐาน ๔ อย่างไร

* * * แล้ว กรรมฐาน ๔๐ เกี่ยวข้องกับ สติปัสฐาน ๔ อย่างไร

คือ ต้องการอธิบายให้น้องๆ เข้าใจ เพราะผมอธิบายไม่ถูกครับ

และ ตอนนี้กลายเป็นความสับสนถึงขั้นเสียศูนย์เลยครับ

(เข้าใจเลยครับสำหรับตอนนี้ ว่าการที่ศึกษาต้องศึกษาอย่างมีระบบ

และ ตามขั้นตอน ไม่ใช้อ่านโน้นที่ ฟังนี่ที เลยหาหัวหางที่ชัดไม่ได้เลยครับ

พอจะหาคำจำกัดความจริงๆ เลยสับสนไปหมดครับ)

อยากให้ทุกท่านศึกษาพระธรรมจากแหล่งที่เชื่อถือได้

และ

ศึกษาพระธรรมอย่างจริงจัง และ เป็นระบบครับ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยสติ เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนาอย่างไร

สติเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นจตสิก สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี สติเป็นเจตสิกที่

เกิดกับจิตฝ่ายดีทุกประเภท เพราะฉะนั้น สติจะไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลเลย แต่จะ

เกิดกับจิตฝ่ายดี มีกุศลจิต วิบากจิตและกิริยาจิตที่เป็นจิตฝ่ายดีครับ ดังนั้นสติเกิดกับ

กุศลจิตทุกประเภท เกิดกับกุศลขั้นทาน ขั้นศีล และขั้นภาวนา หน้าที่ของสติคือสภาพ

ธรรมที่ระลึก ไม่ใช่รู้ตามเป็นจริง

วิปัสสนา คือ ปัญญาที่รู้แจ้งตามความเป็นจริงในสภาพธรรม เช่น การรู้ความจริง

ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นการเจริญวิปัสสนา และมีปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงใน

ขณะนั้น ขณะที่เป็นวิปัสสนา ก็ต้องมีจิตและเจตสิกเกิดขึ้น ดังนั้นจิตต้องเป็นกุศลใน

ขณะนั้น เป็นกุศลจิต จิตเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ จะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย

เสมอ เพราะฉะนั้น เมื่อใดที่จิตเป็นกุศล ไม่ว่าขั้นทาน ศีล ภาวนา มี วิปัสสนา เป็นต้น

ต้องมีสติเกิดร่วมด้วยเสมอ เพราะสติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เกิดกับกุศลจิตทุกประเภท

ครับ ขณะที่เป็นวิปัสสนา จิตเป็นกุศล ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ต้องเป็นเจตสิกฝ่าย

ดีเกิดด้วย นั่นคือ สติเจตสิก รวมทั้งต้องมีปัญญา (อโมหเจตสิก) เกิดร่วมด้วยในขณะ

ที่เป็นวิปัสสนาด้วยครับ และก็มีเจตสิกอื่นๆ อีก มีศรัทธา วิริยะ เป็นต้นที่เกิดร่วมด้วย

แต่สภาพธรรมแต่ละอย่างก็ทำหน้าที่ต่างๆ กันไป เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็นวิปัสสนา คือ

ขณะที่รู้ความจริงในสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สติเกิดขึ้นในขณะนั้น

ทำหน้าที่ระลึกถึงตัวสภาพธรรมที่มีในขณะนั้น ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง

ถ้าไม่มีสติก็ไม่สามารถที่จะระลึกที่ตัวธรรมที่กำลังปรากฎให้รู้ความจริงได้ เช่น ขณะนี้

ได้ยินเสียง ถ้าไม่มีสติ ก็ไม่สามารถระลึกถึงตัวเสียงที่กำลังปรากฎได้ แต่เพราะมีสติ

ทำกิจระลึกถึงตัวธรรมที่กำลังปรากฎ คือ ระลึกถึงเสียงในขณะนี้ ที่กำลังได้ยิน แต่สติ

ไมได้ทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง แต่ปัญญาที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ทำหน้าที่รู้ตาม

ความเป็นจริงในขณะนั้น ดังนั้นขณะที่เป็นวิปัสสนา ก็ต้องมีสติและปัญญาเกิดร่วมด้วย

เสมอ สติทำหน้าที่ระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ปัญญา ทำหน้าที่รู้ความจริงของ

ตัวธรรม ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ จะเห็นว่า ต้องอาศัยสภาพธรรมแต่ละอย่างทำหน้า

ที่แต่ละอย่างและร่วมกัน จะขาดสภาพธรรมบางประเภทไม่ได้เลย มีสติและปัญญาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2554

วิปัสสนา เกี่ยวกับ สติปัสฐาน ๔ อย่างไร

วิปัสสนา ตามที่กล่าวแล้วคือ ปัญญาที่รู้แจ้งชัดตามความเป็นจริง และสติปัฏฐาน 4

ก็คือหนทางในการอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริง ดังนั้น พยัญชนะต่างกัน แต่อรรถความ

หมายแล้วเหมือนกัน แล้วแต่จะแสดงโดยนัยไหนก็ได้ครับ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะ

นั้นมีสติและปัญญารู้ความจริงของสาภพธรรมที่กำลังปรากฏ เช่นเดียวกับขณะที่เจริญ

วิปัสสนา ก็คือขณะที่สติและปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎเช่นกัน

จึงกล่าวได้ว่า ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขณะนั้นเจริญวิปัสสนาอยู่ ขณะที่เจริญวิปัสสนา

อยู่ คือ ขณที่สติปัฏฐานเกิดครับ ดังนั้นบางนัยท่านก็กล่าว ความหมายเหมือนกันครับ

ส่วนบางนัยก็แสดงถึงความต่างกันของระดับปัญญา เช่น สติปัฏฐานเป็นปัญญา

ระดับต้นที่ค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรม ส่วน วิปัสสนาที่เป็นปัญญาระดับวิปัสสนา

ญาณ แสดงถึงปัญญาระดับสูงที่แทงตลอดสภาพธรรม ประจักษ์แจ้งโดยความเป็น

นามธรรมและรูปธรรม และวิปัสสนาญาณก็มีหลายขั้น ทั้งเห็นการเกิดดับของสภาพ

ธรรม เป็นต้น ดังนั้นเพราะอาศัยสติปัฏฐาน เกิดขึ้นเนืองๆ บ่อยๆ ย่อมเป็นปัจจัยให้ถึง

ปัญญาระดับวิปัสสนาญาณและเมื่อวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นเป็นลำดับขั้นไป ก็ย่อมถึง

การดับกิเลสได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลครับ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว สติปัฏฐานและ

วิปัสสนาก็ต่างกันเพียงพยัญชนะ แต่อรรถ ความหมายก็เหมือนกันคือการอบรมปัญญา

เพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ........... วิปัสสนากับสติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2554

แล้ว กรรมฐาน ๔๐ เกี่ยวข้องกับ สติปัสฐาน ๔ อย่างไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนครับว่า การอบรมภาวนา มี 2 อย่างคือ สมถภาวนา และ

วิปัสสนาภาวนา สมถภาวนาคือการอบรมจิตจนถึงความสงบ ด้วยอารมณ์ต่างๆ มีการ

ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งการเจริญสมถภาวนาก็ต้องมีปัญญาด้วย

ถึงจะอบรมได้ การอบรมสมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ เพียงแต่ทำจิตให้สงบ

เท่านั้น แต่ไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพียงแต่มี

ปัญญาที่จะระลึกถึงอะไรแล้วจิตจะสงบจากกิเลส ดังนั้นจะต้องมีอารมณ์ของสติที่จะ

ระลึกถึงแล้ว สงบ (สงบจากกิเลส) อารมณ์ที่สติระลึกแล้วสงบ คือ อารมณ์ 40 อย่าง ที่

เมื่อระลึกแล้วก็ทำให้ จิตสงบ อารมณ์ 40 อย่างจึงรียกว่า กรรมฐาน 40

ดังนั้นเมื่อพูดถึง กรรมฐานคือที่ตั้งการงานทางใจ จึงมี 2 อย่างคือ สมถกรรมฐาน (สม

ถภาวนา) และวิปัสสนากรรมฐาน (วิปัสสนาภาวนา) เมื่อกล่าวถึงกรรมฐาน 40 จึงเป็น

การเจริญสมถภาวนานั่นเองครับ คือ อารมณ์ 40 ประการที่สติระลึกแล้วสงบจากกิเลส

มีพุทธานุสสติิ การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2554

ดังนั้นสมถภาวนาที่เป็น กรรมฐาน 40 จึงไม่เกี่ยวข้องกันเลยกับสติปัฏฐาน 4 ครับ

เพราะตามที่กล่าวแล้ว สติปัฏฐาน 4 ก็คือการเจริญวิปัสสนาภาวนา ส่วนกรรมฐาน 40

เป็นการเจริญสมถภาวนา จึงเป็นปัญญาคนละระดับกัน สมถภวานาทีเป็นกรรมฐาน 40

เพียงทำให้จิตสงบจากกิเลส แต่ไม่สามารถละกิเลสได้จริง และไม่รู้ตามควาเมป็นจริง

ของสภาพธรรม แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐานหรือการเจริญวิปัสสนา เป็นสติและปัญญาที่รู้

ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใชเรา และเป็นหนทางที่สามารถดับกิเลสได้อย่าง

แท้จริงครับ

ดังนั้นก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ก็มีการเจริญสมถภาวนา แต่ไม่สามารถดับกิเลสได้

แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้จึงมีการเจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา อันเป็นหนทางดับกิเลส

ได้นั่นเองครับ

สำคัญที่สุด ให้เริ่มจากความเข้าใจพื้นฐาน เบื้องต้น ก็จะค่อยๆ ไปถึงความเข้าใจถูก

ในเรื่องสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาครับ

ขออนุโมทนา คุณผ้าเช็ดธุลี ที่ร่วมสนทนาครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

กรรมฐาน

กรรมฐาน

อารมณ์กรรมฐาน 40

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 1 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ ในกุศลวิริยะที่ตอบได้ละเอียด ชัดเจน เป็นประโยชน์กับผู้ใฝ่ศึกษามากๆ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
SOAMUSA
วันที่ 1 ก.ค. 2554

กราบอนุโมทนาในธรรมทานของอาจารย์ค่ะ

ดิฉันจะนำไปโพสท์ที่อื่นต่อ เพื่อให้คนที่เวปอื่นได้อ่านด้วยค่ะ

แต่ข้อความที่ ความคิดเห็นที่ 3 นั้น คำที่ขีดเส้นใต้นี้คืออะไรค่ะ

................................................................................................................

ดังนั้นจะต้องมีอารมณ์ของสติที่จะ

ระลึกถึงแล้ว สงบ (สงบจากกิเลส) อารมณ์ที่สติระลึกแล้วสงบ คือ อารมณ์ 40 อย่าง ที่

เมื่อระลึกแล้วก็ทำให้ จิตสงบ อารมณ์ 40 อย่างจึงรียกว่า กรรมฐาน 40

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

เรียนความคิดเห็นที่ 6 ครับ

เมื่อมีจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่จิตรู้ สิ่งที่ถูกจิตรู้ ในภาษาธรรม เรียกว่า อารมณ์ครับ

เช่น ขณะนี้กำลังได้ยิน ในความเป็นจริง ไม่ใช่เราได้ยิน แต่เป็นจิตทำหน้าที่ได้ยิน

เรียกว่าโสตวิญญาณ หรือ จิตได้ยิน เมื่อจิตได้ยินเกิดขึ้น ก็ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้

จิตได้ยิน จึงมีเสียง เป็นสิ่งที่ถูกจิตได้ยินกำลังรู้ครับ เสียงจึงเป็นอารมณ์ของจิต

ได้ยินนั่นเอง คือเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ มีจิตโดยไม่มีอารมณ์ หรือ ไม่มีสิ่งที่ถูกจิตรู้ไมได้

เลยครับ ในกรณีเดียวกันนี้เองครับ สำหรับ การเจริญสมถภาวนา อันเป็นไปเพื่อ

ความสงบจากกิเลส การเจริญสมถภาวนา ถามว่าใครเจริญ ไม่มีเราเจริญ แต่ก็ต้องมี

สิ่งที่ทำหน้าที่ ซึ่งก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงคือ จิต เจตสิกที่ทำหน้าที่ในการ

อบรมสมถภาวนานั่นเองครับ ดังนั้นขณะที่เจริญสมถภาวนาอยู่ก็มีจิตเกิดขึ้น จิตนั้น

เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญาในขณะนั้น ในเมื่อมีจิต ก็ตามที่กล่าววแล้ว จะต้องมี

อารมณ์ คือสิ่งที่จิตรู้ อารมณ์นั้นจะต้องเป็นอารมณ์ที่สามารถทำให้จิตในขณะนั้นเป็น

กุศลและสงบจากกิเลสได้ อารมณ์นั้นมี 40 ประการ มีการะลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นต้น

ขณะที่กำลังระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ของ

จิตที่กำลังระลึก คือ เป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ในขณะนั้นครับ อารมณ์จึงหมายถึง สิ่งที่ถูกจิตรู้

ในขณะนั้นนั่นเองครับ

สำหรับที่คุณ SOAMUSA ได้ถามถึง เนื่องจากกระผมเขียน คำว่า อารมณ์ผิด เป็น

อาณณ์ 40 ประการ ก็อาจทำให้งงครับ ต้องขออภัยผู้อ่านมา ณ ที่นี้ คำนั้นหมายถึง

อารมณ์ครับ ซึ่งได้แก้คำผิดให้ถูกต้องแล้วครับ และกระผมก็อธิบายคำว่าอารมณ์ให้

เข้าใจเพิ่มขึ้นครับ และขออนุโมทนาคุณ SOAMUSA ที่มีกุศลจิตในการร่วมสนทนา

เพื่อความเข้าใจถูกและมีเจตนาดีที่จะนำพระธรรมไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกต้อง

เพิ่มขึ้นครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...อารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
โชติธัมโม
วันที่ 1 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาบุญด้วยเศียรเกล้าครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 1 ก.ค. 2554

สติเกิดกับสมถภาวนาก็ได้ เกิดกับวิปัสสนาภาวนาก็ได้ สติเกิดไม่ประกอบด้วยปัญญา

ก็ได้ เช่น ขณะทีให้ทาน มีสติเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือ สติเกิด

ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ เช่น ขณะทีให้ทาน เฃื่อกรรมและผลของกรรมมีจริง แต่ถ้า

วิปัสสนาเกิดต้องมีสติเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะวิัปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
SOAMUSA
วันที่ 1 ก.ค. 2554

กราบขอบพระคุณค่ะ ที่อธิบายเพิ่มเติม

เรื่องอารมณ์นั้น เป็นเรื่องเข้าใจได้ยากสำหรับดิฉัน

ในชั้นจูฬโทที่ผ่านมา อารมณ์เข้าใจยากจริงๆ ค่ะ

ดิฉันเห็นอารมณ์พิศดาร 21 แล้ว ก็รู้ว่ายากแท้ๆ ค่ะ

ขอตั้งใจเรียนต่อไปค่ะ

ขอกราบอนุโมทนาในธรรมทานของอาจารย์อย่างสูงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 1 ก.ค. 2554

* * * ------------------------ * * *

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

และ

อนุโมทนากับจิตที่เป็นกุศลของทุกท่านครับ

* * * --------------------------------------------- * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ ซึ่งไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรม เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่ไม่ปะปนกัน เมื่อเริ่มต้นของการศึกษา ประโยชน์ คือ ได้ยินคำอะไร ก็ควรจะเข้าใจคำนั้นๆ ก่อน เป็นการศึกษาธรรมทีละคำ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ แม้แต่ในเรื่องของ สติ วิปัสสนา สติปัฏฐาน กรรมฐาน ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่การสะสมชื่อ หรือ สะสมคำ แต่ศึกษาเพื่อเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง นั่นเอง ซึ่งเมื่อศึกษาก็จะเข้าใจได้ว่า สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นโสภณเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตฝ่ายดีทุกประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจิตฝ่ายดีนั้นจะเกิดพร้อมกับด้วยปัญญาหรือไม่ ถ้าเกิดพร้อมกับด้วยปัญญา สติในขณะนั้นก็เกิดร่วมกับปัญญา [และปัญญาก็มีหลายระดับ] เพราะเหตุว่าจะเกิดเฉพาะสติเดีี่ยวๆ หรือ ปัญญาเดียวๆ หรือ จิตเดี่ยวๆ ไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกัน แต่ทำกิจหน้าที่ต่างกันตามประเภทของธรรมนั้นๆ ,สติปัฏฐาน เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาที่จะลึกและรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งจะขาดพื้นฐานความเข้าใจสภาธรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย ซึ่งการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นวิปัสสนา เพราะเป็นไปเพื่อการเห็นธรรมอย่างแจ่มแจ้ง และก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ด้วย ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ต้องเริ่มด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง และจะต้องสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก เพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ต่อไป โดยไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 1 ก.ค. 2554

* * -------------------------- * * *

พี่วรรณี

ยังไม่เข้าใจน่ะครับ ขอตัวอย่างอีกได้ไหม๊ครับ

ขอบพระคุณมากครับ

* * * ----------------------------- * * *

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ