การละความกำหนัดในเพศตรงข้าม

 
dets25226
วันที่  8 ก.ค. 2554
หมายเลข  18706
อ่าน  3,566

การละความกำหนัดในเพศตรงข้ามนั้นควรทำอย่างไร ด้วยความเคารพอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ธรรมทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น กิเลสก็เช่นกัน เมื่อ

สะสมกิเลสมามาก นับว่าเป็นปุถุชน คือ ผู้หนาด้วยกิเลส เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้กิเลส

เกิดก็พร้อมที่จะเกิดได้ทันทีครับ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่า

ปรารถนา น่าพอใจก็เช่นกัน เมื่อได้เห็นรูปที่ดี กิเลสที่เป็นโลภะที่สะสมมามาก เนิ่น

นานในสังสารวัฏฏ์ก็พร้อมที่จะเกิด ติดข้องทันทีครับ ดังนั้น รูปที่น่ารัก น่ายินดี จึงไม่

ได้หมายถึง รูปชายและหญิงเท่านั้น แม้ในขณะนี้ ในรูปอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพศตรงกันข้าม

โลภะก็ติดข้องแล้ว โดยไม่รู้ตัวเลยว่ามีโลภะแล้วครับ จะเห็นถึงความละเอียดของ

กิเลสทีเกิดขึ้นว่าไว และ เร็วและไม่รู้ตัวเพราะต้องเป็นปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ตัว รู้ว่ามี

โลภะครับ

โลภะ ความติดข้องผู้ที่จะจนหมดสิ้น คือถึงความเป็นพระอรหันต์ ส่วนโลภะที่ติดข้อง

พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีรูปเพศตรงข้ามเป็นต้น ต้องถึงความเป็นพระ

อนาคามีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้น แสดงให้เห็นถูกและแสดงถึงกุศลทุกระดับ การระงับ

อกุศลทีเป็นความพอใจในรูป ที่น่ารัก เป็นต้น พระองค์แสดง อสุภะ ความไม่งาม ด้วย

ให้พิจารณาด้วยปัญญาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนังไม่งาม เมื่อลอกเอาผิวหนังออกก็พบ

กับความไม่งาม ปฏิกูลมากมายไม่ว่าเขาหรือเรา การพิจารณาถูก ก็สามารถทำให้เกิด

กุศลจิต และไม่ติดข้องชั่วขณะที่พิจารณาถูกครับ เพราะขณะที่เป็นกุศล จะเป็นโลภะ

ไม่ได้เลย แต่หากพิจารณาที่ยังมีเรา มีเขา มีสัตว์ บุคคลอยู่ นั่นก็ไม่ใช่หนทางดับกิเลส

ได้แท้จริงครับ เพราะเพียงแค่ให้จิตสงบจากกิเลส ชั่วขณะ แต่เมื่อไม่คิดถูกอย่างนั้นอีก

กิเลสก็กำเริบ เหมือนฉีดยาที่เพียงระงับไม่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโต แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็

เชื้อโรค เจริญเติบโตอีก แต่พระพุทธองค์แสดงธรรมอันเป็นไปในการดับกิเลสได้อย่าง

แท้จริง คือ การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพราะความเข้าใจว่า เมื่อการดับโลภะ พอใจใน

รูป เสียง..สัมผัสต้องถึงความเป็นพระอนาคามี จึงแสดงให้เห็นว่าการละกิเลสจึงต้อง

เป็นไปตามลำดับ จะดับโลภะ ถึงความเป็นพระอนาคามีทันทีมีไม่ได้ เพราะต้องถึงความ

เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามีก่อนครับ เมื่อกิเลสต้องละเป็นลำดับ การศึกษาพระ

ธรรมก็จะทำให้เข้าใจว่า กิเลสประเภทไหนที่จะต้องละเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะไปถึง

การละกิเลสคือ ความติดข้อง ที่เป็นโลภะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

กิเลสที่จะต้องละเป็นอันดับแรก คือ ความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ว่ามีเรา มีเขาครับ

เพราะความจริงมีแต่ธรรม ซึ่งพระโสดาบันท่านละความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล

แต่ท่านก็ยังมีโลภะ ยังยินดีพอใจ ในรูปที่น่ารัก น่ายินดี บางท่านก็มีครอบครัว เพราะยัง

มีกิเลสที่ยังละไม่ได้ทีเป็นโลภะครับ เพราะฉะนั้นจะต้องเริ่มจากปัญญาเบื้องต้นเพื่อไป

ถึงปัญญาระดับสูง จนสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับครับ ปัญญาเบื้องต้นที่ควรจะ

เข้าใจ คือ เริ่มจากปัญญาขั้นการฟังว่า ธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ เห็นมี

จริง เสียงมีจริง อกุศลมีจริงเป็นธรรม ไม่ใช่เรา โลภะก็ไม่ใช่เรา เป็นธรรม การเข้าใจ

เบื้องต้นอย่างนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็จะค่อยๆ เข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้ว่า ไม่มีเรา

มีแต่ธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้นตามลำดับ เข้าใจถูกว่าเป็นธรรม ไม่มีเราแล้ว ปัญญาก็

จะค่อยๆ เจริญขึ้นและก็จะละกิเลสไปตามลำดับ จนถึงการดับโลภะในที่สุด แต่เป็นเรื่อง

ไกล และแสนยากครับ เพราะต้องสะสมปัญญามากมายกว่าจะถึงจุดนั้น เพราะฉะนั้น

ไม่ต้องไปละโลภะ เพราะละไม่ได้แน่นอน ยังไม่มีปัญญาถึงระดับนั้น แต่ค่อยๆ เข้าใจใน

สิ่งทีเกิดแล้ว เข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเราที่ชอบคนนั้นคนนี้ เป็น

เราที่ชอบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีเราที่ชอบ ชอบก็คือชอบ เป็นโลภะไม่ใช่เรา

ครับ การเริ่มเขาใจแบบนี้ย่อมถึงการดับกิเลสได้ในที่สุด โดยเริ่มจากการฟังพระธรรมให้

เข้าใจนะครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

จะละกามราคะ ปัญญาต้องรู้อะไรก่อน ขอคำตอบแบบภาษาชาวบ้าน

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
dets25226
วันที่ 8 ก.ค. 2554

สาธุครับ ธรรมที่แสดงมา วิจิตรยิ่งนัก เหมือนว่าผมไม่เคยได้ฟังที่ไหนมาก่อน

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งว่า

"การบรรลุธรรมทั้งหลาย อาศัยบุญอย่างเดียวก็ได้เชียวหรือ

หรือต้องมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงจะทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจได้

นัยว่า ถ้าผู้ปฏิบัติไม่มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ การปฏิบัติก็ไร้ผล"

อาจารย์กรุณายกอุปมาเปรียบเทียบก็จะเป็นการดีครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

การบรรลุธรรมต้องอาศัย บุญ แต่บุญก็มีหลายระดับครับ ต้องเป็นบุญที่เป็นไปใน

การเจริญวิปัสสนา หรือ การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา บุญ หรือ กุศลที่เป็นแบบนี้ จึงจะสามารถละกิเลสได้จริงๆ ครับ ส่วนบุญระดับ

อื่นๆ ที่ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา เพียงทำให้สงบจากกิเลสแต่ไม่สามารถละกิเลสได้ครับ

เหมือนการที่จะทำให้ต้นไม้ตาย เพียงตัด กิ่ง เดี๋ยวก็งก็งอกออกอีก แต่การตัดที่ราก

แก้ว ทำลายที่รากเลย ย่อมทำให้ต้นไม้ตายได้จริงๆ ครับ บุญ หรือ กุศลก็เช่นกัน ก็มี

หลายระดับ แต่บุญระดับที่เป็นวิปัสสนาจึงสามารถละกิเลสได้จริง อันเป็นการตัดราก

แก้วครับ หรือ อีกอุปมาหนึ่ง เพียงการเอาก้อนหินไปทับหญ้า หญ้าก็ยังไม่โตตราบเท่า

ที่หญ้าทับอยู่ บุญที่เพียงระงับกิเลส ไม่ใช่หนทางในการดับกิเลสก็เพียงทำให้สงบจาก

กิเลสชั่วขณะเท่านั้นครับ แต่ไม่สามารถดับกิเลสได้ครับ ส่วนการที่ทำลายหญ้าที่ราก

ย่อมทำให้หญ้าตายได้ การเจริญวิปัสสนา หรือ อริยมรรค อันเป็นการระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เป็นหนทางที่ดับกิเลส คือ ทำลายรากของหญ้าครับ

ดังนั้นก็ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไรครับ ซึ่งการที่เป็นผู้สะสม

บุญคือความเข้าใจพระธรรมในหนทางที่ถูกต้องมาแล้วในอดีตชาติ ย่อมเป็นปัจจัยได้

พบพระธรรมที่ถูกต้องในชาตินี้และได้สะสมปัญญาความเห็นถูกต่อไปและเป็นปัจจัยให้

ดับกิเลสได้ในอนาคตครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พร้อมเสมอ
วันที่ 8 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
dets25226
วันที่ 8 ก.ค. 2554

สาธุครับ ธรรมเป็นของละเอียดลึกซึ้ง เหตุเป็นสภาพที่เห็นได้ด้วยตนเอง

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาเช่นกันครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ค. 2554

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ใดที่จะดึงดูดใจได้เ่่ท่ากับผู้หญิง ตรงกันข้าม ไม่มีรูป เสียง ฯล ดึงดูดใจได้เท่า

กับผู้ชาย เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้ภิกษุสำรวมอินทรีย์ ผู้หญิงไม่เห็น

ได้เป็นการดี ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยก็ให้มีสติ และ

ถ้าจะละไม่ยินดีในเพศตรงข้าม ต้องบรรรลุพระอนาคามี จีงจะไม่ติดเพศตรงข้ามค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วินิจ
วันที่ 10 ก.ค. 2554

เรียนคุณ”วรรณี” (คห.8) ,ผมเคยโทรไปที่1765 (ก.วัฒนธรรม) หลายครั้งว่าให้รู้เท่าทัน

”สื่อทีวี”,และทำงาน”เชิงรุก”โดยหาวิธี”ป้องกัน”เพื่อเห็นแก่ลูกหลานของเรา,ในเรื่อง

ที่ละครไทยพยายามจะพัฒนาในบทหญิงชายใกล้ชิดจนเกินงาม,เพราะพยายามจะ

เอาอย่างละครจีน,เกาหลีที่เล่นในรอบดึก,โดยบอกไปว่าไม่ควรทำตามวัฒนธรรม

เมืองหนาว,ไทยก็คือไทย,ไม่จำเป็นต้องเอาอย่างวัฒนธรรมต่างชาติในสิ่งที่วัฒนธรรม

ของไทยแต่ดั้งเดิมดีอยู่แล้ว,เมืองร้อนอย่างไทย,เชื้อโรคมาก,เติบโตขยายพันธุ์ได้เร็ว

กว่าเมืองหนาว,ถ้ามีปฏิสัมพันธ์ (คลุกคลี) กันเกินอาจติดเชื้อโรคร้าย เช่น วัณโรค หรือ

ไวรัสตับอักเสบบางชนิด,โดยบอกว่า”สื่อ”พยายาม”เริ่ม”จากการให้เห็นภาพที่ไม่

เหมาะสมของดาราเกาหลี,จีน,ฝรั่ง,ให้ผู้ชมชินตาจนเห็นเป็นเรื่องธรรมดาและไม่มีปฏิ

กิริยาต่อต้าน,จากนั้น,รายการ”บันเทิงดารา”บางรายการก็พยายามพูดนำถามนำแกม

เชียร์ว่าใช้มุมกล้องหรือแสดงจริง,คือพยายามสร้างค่านิยมให้ดารารู้สึกว่าถ้ากล้าแสดง

จริงจึงจะเก่งอะไรประมาณนั้น,แล้วตอนนี้ก็มีละครไทยในช่วงไพร์มไทม์บางช่องก็เริ่ม

แล้วในสิ่งที่เหมือนละครรอบดึกของจีน,เกาหลี,ที่เราไม่อยากเห็น,ดังที่เคยแสดงความ

เห็นคาดคะเนทิศทางการพัฒนาของละครไทยจะไปในทิศดังกล่าวในเวลาไม่นาน,แต่

ดูเหมือนการแสดงความคิดเห็นไปทางโทรศัพท์จำนวนเกือบ10ครั้งจะไม่เกิดผลอะไร

เลย,ตอนหลังก็เลยยอมแพ้,แม้แต่ข่าวสารที่มีการประท้วงของชาวต่างชาติแบบแปลกๆ

ระหว่างหญิงชาย,”สื่อทีวี”ไม่ว่าช่องไหนก็ดูจะขยันนำเสนอเสียจริง,โดยไม่คิดถึงว่าจะ

กระทบกระเทือนถึงลูกหลานไทยเลย...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วินิจ
วันที่ 10 ก.ค. 2554

ผมเข้าใจว่า,ความรู้สึก”เอ็นดู”,”พึงพอใจ”ใน”ลูกสัตว์”ตัวเล็กๆ ,โดยเฉพาะที่มีขนปุกปุย

ก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการติดข้องในเรื่องเพศตรงข้ามครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 9 และ 10 ครับ

สำหรับเรื่องละคร ก็ต้องเข้าใจครับว่าธรรมและเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มี

ใครจะไปจัดการโลกได้ทั้งหมด ในเมื่อเป็นยุคเสื่อมและสัตว์โลกเต็มไปด้วยกิเลสมาก

และยินดีในกิเลส ก็ย่อมทำในสิ่งที่ตอบสนองกับกิเลส เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่น่า

ปรารถนา น่าพอใจ คือ เงิน ทอง ทรัพย์สิน ชื่อเสียงและเกียรติยศครับ ดังนั้นสำคัญ

ที่ใจเรา เข้าใจถูกถึงความเป็นไปของโลกที่จะต้องเป็นไปอย่างนี้ครับ ซึ่งไหลไปสู่

อำนาจกิเลส เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ทำหน้าที่เตือนแล้วก็เบาและวางเฉยด้วยความเข้าใจ

ว่าเป็นอนัตตานั่นเอง สำคัญคือรักษาใจเรา แลอยู่กับชีวิตประจำวันและเหตุการณ์ต่างๆ

ด้วยความเข้าใจพระธรรมครับ

--------------------------------------------------------------------------------

ผมเข้าใจว่า,ความรู้สึก”เอ็นดู”,”พึงพอใจ”ใน”ลูกสัตว์”ตัวเล็กๆ ,โดยเฉพาะที่มีขน

ปุกปุยก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการติดข้องในเรื่องเพศตรงข้ามครับ...


ไม่ว่าความติดข้องในสิ่งใด ก็ไม่พ้นจากโลภะ สภาพธรรมที่ติดข้องทั้งหมดครับ

เพียงแต่มีวัตถุ อารมณ์ ที่ติดข้อง คือ รูปที่น่าปรารถนา น่าพอใจ เป็นต้น และอาศัย

อนุสัยกิเลสที่สะสมมามาก คือ โลภะ จึงทำให้ติดข้องในทุกสิ่งทุกอย่างครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้มีปัญญาถึงขั้นที่จะดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย) ได้อย่างเด็ดขาด บรรลุถึงความเป็นพระอนาคามี-บุคคล ความยินดีพอใจในสิ่งเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นมีเป็นธรรมดา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร โลภะ ซึ่งเป็นความยินดีพอใจนั้น มีหลายระดับขั้น มีทั้งโลภะที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กระทำทุจริต-กรรมเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน ถ้าไม่ได้ศึกษาย่อมจะไม่รู้เลยว่าเป็นโลภะ และอีกประการหนึ่ง คือโลภะที่มีกำลังมาก หรือ โลภะเกินประมาณ เป็นความติดข้องที่มีกำลังมาก เป็นเหตุให้ล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้ นี้คือ โลภะซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง

สภาพธรรม จึงไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม สภาพธรรมต่างๆ ก็มีพร้อมที่จะให้เราได้เข้าใจ พร้อมที่จะให้ได้รู้ชัด พร้อมที่จะให้ประจักษ์แจ้งได้ ที่สำคัญ คือ ความเข้าใจถูก เห็นถูก อันเริ่มมาจากการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับให้ปัญญาเกิด ไม่มีตัวตนที่จะไปละกิเลส และประการที่สำคัญแต่ละบุคคลที่เป็นปุถุชนย่อมมากไปด้วยกิเลส สะสมมาอย่างมากมายในสังสารวัฏฏ์ ยากที่จะละให้หมดสิ้นไปในทันทีทันใด ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ยังไม่สามารถละโลภะ ได้ จะต้องละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลก่อน โดยอาศัยการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นทางเดียวจริงๆ ที่จะค่อยๆ ละคลายกิเลสไปตามลำดับ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
dets25226
วันที่ 10 ก.ค. 2554

ขออนุโมนาที่ร่วมสนทนาครับ คำถามที่ ๑ ครับ...? สติ ความระลึกได้นั้น เป็นตัวให้เกิด

ปัญญามิใช่หรือ หรือมีเหตุให้ปัญญาเกิดได้อีก นัยว่า ธัมเมสุ จักขุง อุทปาทิ ญาณัง อุท

ปาทิ ปัญญา อุทปาทิ วิชชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ

สติ เกิดขึ้นตอนไหน คำถามที่ ๒ ครับ...? คำว่า ญาณัง กับคำว่า ปัญญา ในที่นี้ มีความ

หมายแตกต่างกันอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

สติ ความระลึกได้นั้น เป็นตัวให้เกิดปัญญามิใช่หรือ หรือมีเหตุให้ปัญญาเกิดได้อีก

-----------------------------------------------------------

ส่วนเหตุให้เกิดปัญญา ก็มีหลายประการ ทั้งการฟังพระธรรม การศึกษาพระธรรม

การคบสัตบุรุษ การสอบถาม การปรารภความเพียร เป็นต้น ซึ่งเหตุเหล่านี้ ก็ทำให้เกิด

สติและปัญญาเกิดพร้อมกันครับ ซึ่งขณะใดที่มีปัญญาเกิดต้องมีสติเกิดพร้อมกันอยู่แล้ว

ดังนั้น เหตุให้เกิดปัญญาจึงไมไ่ด้มุ่งหมายถึงสติเท่านั้นครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

เหตุ ๘ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา [ปัญญาสูตร]

-----------------------------------------------------------

ดังนั้นที่ถามว่าเกิดสติตอนไหน ก็เกิดพร้อมกับปัญญาครับ คือ ขณะที่อริยมรรคมีองค์ 8

เกิดขึ้น มีทั้งปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาอาชีวะ............สัมมาสติและ

สัมมาสมาธิ ดังนั้น สติก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กับปัญญานั่นเองครับ คือ สัมมาสติ เกิดพร้อมกับ

สัมมาทิฏฐิ (ปัญญา)

----------------------------------------------------------------

คำว่า ญาณัง กับคำว่า ปัญญา ในที่นี้ มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร

ซึ่งผู้ถามได้ยก บทบาลีมา อันเป็นแสดงชื่อของปัญญา ที่เป็นจักษุ ญาณัง แสง

สว่าง ก็เป็นชื่อของปัญญาทั้งหมด ซึ่งปัญญาหรือญาณังก็คือปัญญาที่รู้ขัดตามความ

เป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
dets25226
วันที่ 10 ก.ค. 2554

ดูแล้ว ท่านอาจารย์ มีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง แทงตลอดทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ

ผมเห็นว่า ปัญญาที่เป็นปริยัติ กับปัญญาที่เป็นปฏิบัตินั้น ห่างกันมากครับ คาดว่า ปัญญา

ที่เป็นปฏิเวธนั้น คงจะพอดูเหมือนกัน แต่ถึงกระนั้น ผมก็ยังมีความเชื่อมั่นว่า ธรรมะที่เป็น

ไปเพื่อการสลัดออกจากภพในวัฏฏะ ไม่ได้ยากจนเกินไปที่บุคคลผู้รักดี จะปฏิบัติให้เห็น

เป็นจริงได้ครับ ขออาจารย์เป็นกัลยาณมิตรให้ผมด้วยนะครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาครับ ที่นี่สมาชิกเว็บไซด์เป็นกัลยาณมิตรทุกคนครับ ที่สำคัญพระพุทธเจ้า

ปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมที่ได้ฟังเป็นกัลยาณมิตรที่ประเสริฐสูงสุด ขอแนะนำให้คุณ

dets25226 เปิดฟังธรรมในเมนู ฟังธรรมที่หน้าเวปไซต์นะครับ เพื่อความเจริญขึ้นของ

ปัญญา ซึ่งอธิบายโดยกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา คือ ท่านอาจารย์สุจินต์ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 11 ก.ค. 2554

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใดย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น หมกมุ่นสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่หมกมุ่นสิ่งนั้น ไม่หมกมุ่นสิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.
เชิญคลิกอ่าน...

บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด [ภิกขุสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
akrapat
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ไม่ต้องกล่าวถึงปุถุชน โสดาบัน สกทาคามี ยังติดข้องในรูปที่ปรากฎ ทางปัญจ

ทวาร คือหู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส และ มโณทวาร คือ ความตรึก นึกถึง กามราคะ

จึงยังต้องเวียนอยู่ในกามภพ แต่ความต่างคือ ท่านไม่ผิดศีล

ปุถุชนเมื่อมองเห็น เพศตรงข้าม ก็ย่อมมีราคะ คือ ความกำหนัด และไม่รู้ตัวจึงมี

โอกาสล่วงศีลได้ และยังละสายตาจากเพศตรงข้ามไม่ได้ คือยังอยากมอง พูดคุย

จนถึงขั้นล่วงไปทางกาย

โสดาบัน สกทาคามี เห็นเพศตรงข้าม ก็ย่อมมีกามราคะ คือ ความกำหนัด แต่ รู้ว่า

ราคะนั้นไม่ใช่เรา ละสายตาในการมองได้ จึงไม่เป็นเหตุให้ล่วงศีล (แต่อาจหันกลับ

ไปมองอีก เพราะยังละไม่ได้อย่างเด็ดขาด)

พระอนาคามี เห็นเพศตรงข้าม กามราคะไม่มี (สติปัญญาเกิดแทนที่ กามฉันทะ

และปฏิฆะ) แต่ไม่ได้ห้ามมองเพศตรงข้าม แต่มองแล้วกามราคะเกิด รู้ทันหรือไม่

ทวารอื่นก็เช่นกัน ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
akrapat
วันที่ 13 ก.ค. 2554

สำหรับหนังละคร สมัยนี้สื่ิอบ้านเราอาศัยกิเลส ของคนในสังคม ทำมาหาเลี้ยงชีพ

ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบ คงไปห้ามเขาไม่ได้ เพราะค่านิยมมันเป็นอย่างนั้น ละครเรื่อง

ไหน เรตติ้งสูง ละครเรื่องนั้นย่อมตรงกับ กิเลสคนส่วนใหญ่ ออกแนว โป๊ เปลือย แรงๆ

เมื่อคนดูเยอะ รายได้จาการโฆษณาก็เยอะ บริษัทผู้ผลิต หนือ ทีวีช่องนั้นก็รวย

การดูหนัง ดูละคร ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ดูไป แต่ให้รู้ว่า ที่กำลังนั่งดูอยู่น่ะไม่ใช่เรา ไม่ใช่

ดูเพื่อให้รู้เรื่องหนังและละคร เพราะถ้ารู้เรื่องก็จะเป็นทุกข์ ถ้ารู้ว่า กำลังดูก็เป็น ธรรมะ

ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ