เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปย่อมไม่มี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ก.ค. 2551
หมายเลข  19501
อ่าน  3,215

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 329

คันธารชาดก

บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรมไม่ควรแล้ว จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม. อีกอย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปย่อมไม่มี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สิริพรรณ
วันที่ 29 เม.ย. 2562

กราบนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

....ท่านละทิ้งหมู่บ้านที่บริบูรณ์ ๑๖,๐๐๐ หมู่ และคลังที่เต็มด้วยทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ยังจะทำการสะสมอยู่อีก......

ดูก่อนท่านวิเทหะ เรากล่าวธรรมะความจริง เราไม่ชอบอธรรมความไม่จริง เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ บาปก็ไม่เปรอะเปื้อนเรา.....

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ สภาวะความเป็นเอง คือเหตุที่บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงพรรณนาสรรเสริญแล้ว.

บทว่า อธมฺโม เม น รุจฺจติ ความว่า ธรรมดาอธรรมไม่ใช่สภาวะความเป็นเอง เราก็ไม่ชอบใจแต่ไหนแต่ไรมา

ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตจักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่ยังดิบๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบำราบเอาบำราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็นสาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้

เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีกเพื่อแสดงให้เห็นว่า ท่านตักเตือนบำราบแล้ว ตักเตือนบำราบอีก จึงรับบุคคลทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้วเคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผาสุกแล้วเท่านั้นไว้ ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-

ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่มีปัญญาของตนเอง หรือวินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้ คนจำนวนมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น
แต่เพราะเหตุที่ธีรชนบางเหล่า ศึกษาดีแล้วในสำนักอาจารย์ ฉะนั้น ธีรชนผู้มีวินัยที่ได้แนะนำแล้ว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่

บทว่า น ปาปมุปลิมฺปติ ความว่า เมื่อเรากล่าวสภาวะนั่นเองหรือเหตุนั่นแหละอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปจะไม่ติดอยู่ในใจ

ธรรมดาการให้โอวาทนี้เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก และโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาทที่ท่านเหล่านั้นให้แล้ว แต่ผู้ให้โอวาทก็ไม่มีบาปเลย. เมื่อจะแสดงอีก จึงกล่าวคาถาว่า :- ผู้มีปัญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดบำราบ คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น จะมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว คนควรตักเตือน ควรพร่ำสอนและควรห้ามเขาจากอสัตบุรุษ เพราะเขาจะเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ ไม่เป็นที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ.

การศึกษาพระธรรม แล้วเข้าใจเป็นโอกาสได้ขัดเกลากิเลส เห็นโทษของอกุศล ละอายต่ออกุศล

ขออนุโมทนาขอบคุณมากค่ะ

คลิ๊กฟังที่..

สิ่งที่มีค่าที่สุดที่อยู่ในจิต คือ ปัญญาและคุณความดี

ภิกษุ คือ ผู้มีความละอาย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ