ตักบาตรและถวายเงินใส่ซองให้พระ

 
หลานตาจอน
วันที่  5 ก.ย. 2554
หมายเลข  19653
อ่าน  22,877

ตักบาตรและถวายเงินใส่ซองให้พระ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การใส่บาตรพระ ควรใสของที่เหมาะสม ที่เป็นกัปปิยะ ไม่ควรใสของที่ไม่เหมาะสม มี

เงินและทอง เป็นต้น เพราะจะทำให้พระท่านอาบัติครับ ดังนั้นอุบาสก อุบาสิกาที่ดี ควร

รักษาพระศาสนาและรักษาพระธรรมและรักษาพระภิกษุด้วยการใส่อาหาร แต่ไม่ใส่ เงิน

กับพระภิกษุครับ เพราะความจำเป็นในเรื่องเงินไม่จำเป็นกับพระภิกษุเลย เพราะเป็น

เพศที่สละอาคาร บ้านเรือนทุกอย่างแล้ว กิจของท่านคือ ดำรงชีวิตด้วยอาหารและ

ประพฤติพรหมจรรย์คือ อบรมปัญญาครับ ไม่ใช่กิจดังเช่นคฤหัสถ์มีการประกอบอาชีพ

โดยการใช้เงินเพื่อเดินทาง เป็นต้นดังนั้นไม่ว่ายุคสมัยใด ไม่ควรถวายเงินกับพระภิกษุ

เพราะทำให้ท่านอาบัติได้ และเงินก็ไม่ใช่สิ่งที่สมควรกับพระภิกษุครับ จึงควรใส่อาหาร

สด ใส่บาตรตอนเช้าครับ แต่ไม่ใส่เงิน ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... การรับปัจจัยเงินทอง

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pamali
วันที่ 5 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
oom
วันที่ 5 ก.ย. 2554

การที่ฆารวาสเอาเงินใส่บาตร พระภิกษุทราบดีว่าจะเป็นอาบัติ เหตุใดพระภิกษุ จึงไม่บอก

ญาติโยมที่ใส่บาตร ให้ทราบเรื่องพระวินัยของพระว่าไม่สามารถรับเงินและทองได้

ดิฉันใส่บาตรทุกเช้า จะเห็นทุกวันที่คนที่มาใส่บาตรใส่อาหารคาวหวานและใส่เงินลงไปใน

บาตรด้วย แต่พระท่านก็ไม่พูดอะไร ก็รับไป ดิฉันคิดว่าพระท่านทราบดีว่าผิดหรือถูก ที่จริง

ถ้าท่านน่าจะบอก ให้ญาติโยมทำให้ถูกต้อง แต่ท่านก็ไม่พูด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

สัตว์โลกสะสมต่างกันไปตามอัธยาศัย ผู้ทีไม่รู้เป็นเพศบรรพชิตแล้วรับเงินทองก็มีเพราะ

ไม่รู้ ส่วนผู้ที่รู้อยู่แต่ก็ยังรับก็มีเพราะยินดีในเงินทอง ปัญญาไม่พอนั่นเองครับ และผู้ที่รู้อยู่

ด้วยปัญญาและปฏิเสธก็มีครับ ดังนั้นสัตว์โลกจึงเป็นไปตามการสะสมมาที่แตกต่างกันไป

ครับ ตามกำลังของปัญญาที่สะสมมานั่นเอง ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
หลานตาจอน
วันที่ 5 ก.ย. 2554
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาที่ให้ความกระจ่างความถูกต้องในครั้งนี้ด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 5 ก.ย. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 5 ก.ย. 2554

สมัยนี้คนนิยมใส่บาตรด้วยเงิน เพราะไม่มีความรู้เรื่องพระวินัย ส่วนพระภิกษุจะรู้หรือ ไม่รู้

ก็ผิดพระวินัย และต้องอาบัติแน่นอน มีโทษมาก ถ้าบวชแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติ ตามพระ

ธรรมวินัย อบายภูมิก็รออยู่แล้วข้างหน้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การถวายเงินแก่พระภิกษุโดยตรง โดยที่พระภิกษุเป็นผู้รับ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พระภิกษุผู้รับนั้น จะรับเพื่อตนเอง หรือ เพื่อผู้อื่น ก็เป็นอาบัติด้วยกันทั้งนั้นส่วนผู้ถวายก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ฉลาดในการให้ทาน เพราะเป็นการให้ที่ทำให้พระภิกษุต้องอาบัติ แต่ถ้ามอบเงินไว้ให้กับไวยาวัจจกร (ผู้ขวนขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์) เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เหมาะสมกับเพศบรรพชิต ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นไปตามพระธรรมวินัย เพราะพระภิกษุไม่ได้เป็นผู้รับ ไม่ได้เกี่ยวข้อง เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัย มีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วว่า อะไรเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ควรที่จะกระทำผิดต่อไป ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kinder
วันที่ 5 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
SOAMUSA
วันที่ 6 ก.ย. 2554

กราบอนุโมทนาในธรรมทานของทุกๆ ท่านค่ะ

ดิฉันขอถามว่า แล้วเงินใส่ติดกัณฑ์เทศน์ละคะ ผิดหรือไม่ค่ะ

อย่างเทศน์มหาชาติ มีซองแจกให้เราใส่ซองทำบุญติดกัณฑ์เทศน์มหาชาติ

และการเทศน์ในโบสถ์ทั่วๆ ไป ก็มีพานใส่เงินติดกัณฑ์เทศน์ แบบนี้เราใส่เงิน

ไปได้ใช่มั้ยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

ไม่ถูกต้องครับ เพราะธรรมไม่ใช่มีไว้แลกกับของต่ำ คือ เงินทอง และที่สำคัญ เพศพระ

ภิกษุไม่ควรรับหรือยินดีในเงินทองเลย ดังนั้นหน้าที่แสดงธรรมของท่านคือให้บุคคลอื่น

ได้เข้าใจเท่านั้น แต่ไม่ใช่เพื่อมาแลกเปลี่ยน เปรียบเหมือนเอาของดี ไปแลกกับของไม่

ดี พระธรรมจึงไม่ใช่มีไว้สำหรับแลก ที่มีไว้สำหรับให้ครับ

ดังนั้นจึงไม่ถูกต้องโดยประการทั้งปวงที่ถวายเงินในกัณฑ์เทศน์ครับ เพราะในความ

เป็นจริง เครื่องบูชาที่ประเสริฐ เกิดขึ้นแล้ว คือ ขณะที่เกิดกุศลจิต ขณะที่ปัญญาเกิด

ขณะนั้นเป็นการบูชาพระธรรม อันสูงสุดแล้วครับ ไม่ต้องบูชาด้วยเงินทองและติด

กัณเทศน์เลยครับ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทำนายในอนาคตกาลว่าจะมีพระภิกษุแสดงธรรม

เพื่อแลกกับลาภ สักการะ เปรียบเหมือนการนำของดี ของสูงไปแลกกับของบูดเน่าไม่ดี

ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
SOAMUSA
วันที่ 6 ก.ย. 2554

กราบขอบพระคุณค่ะ ไวยาวัจจกร หมายถึง ธนาคาร ได้มั้ยค่ะ

แล้วการที่พระท่านนำเงินที่ได้มานั้นทั้งหมดไปทำกุศล เช่นสร้างเมรุเผาศพ

ดิฉันบริจาคเงินผ่านทางธนาคาร แต่ว่าเป็นชื่อบัญชีของพระ เราทำบุญด้วยการ

ผ่านทางธนาคารเข้าบัญชีพระ เพื่อสมทบทุนสร้างเมรุเผาศพ

อันนี้ผิดถูกประการใด ขอความกรุณาอธิบายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 12 ครับ ไม่ได้ครับ พระจะมีชื่อบัญชีเป็นของตนเองไม่ได้ เพราะพระรับเงินทองไม่ได้ ก็เท่ากับ

ว่า ท่านรับเงินทองแล้ว เพราะเป็นชื่อท่านและที่สำคัญ แม้การยินดีในเงินทองที่ได้มา

ก็อาบัติแล้วครับ พระจะทำเป็นดังเช่นคฤหัสถ์ไม่ได้ ดังนั้นที่ถูกคือ ต้องเป็นชื่อบัญชีคน

อื่นที่ไม่ใช่พระ นั่นแหละครับ คนที่มีชื่อนั้นเป็นไวยาวัจจกร และพระไม่มีส่วนจะมาใช้ชื่อ

เบิกเงินเองอะไรไมได้ทั้งสิ้นคัรบ และที่สำคัญ การจะสร้างศาสนาวัตถุ โดยการใช้เงิน

ก็ต้องเป็นเรื่องของฆราวาสที่เป็นไวยาวัจจกร ไม่ใช่พระทำครับ

ดังนั้นหากเราเข้าใจถูกอย่างนี้ก็ไม่ควรโอนเงินเข้าบัญชีพระเลยเพราะทำลายท่าน

ทำให้ท่านอาบัติ ทำให้พระศาสนาอายุสั้นลงและก็เราเป็นอุบาสก อุบาสิกาที่ทำไม่ถูก

ต้องตามพระธรรมครับ บุญมีมากมายให้ทำครับ ที่สำคัญทำด้วยความถูกต้อง สำคัญที่

สุดครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
bauloy
วันที่ 6 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เห็นด้วยกับความคิดเห็นของท่าน อ.paderm แต่กระผมก็มีข้อสงสัยอยู่ว่า หากนำเงินใส่

ซองเพื่ออุทิศ ชำระหนี้สงฆ์ขณะใส่บาตรพระตอนเช้า เจตนาเพื่อให้ท่านใช้ในกิจของสงฆ์

จะเหมาะสมหรือไม่ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

ไม่เหมาะสมครับ เหตุผลคือ เรามีเจตนาดี แต่พระท่านรับเงินทองไม่ได้ ท่านเป็นอาบัติ

ครับ ดังนั้นถ้าจะทำบุญกับวัดต้องให้กับไวยาวัจจกรรับเงินนั้นครับ ไม่ใช่ให้กับพระภิกษุ

โดยตรง ส่วนเรื่องการชำระหนี้สงฆ์

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

เดี๋ยวนี้จะส่งเสริมให้ทำบุญเพื่อชำระหนี้สงฆ์กันมากค่ะ ไม่ชำระจะตกนรกมั้ยค่ะ

การชำระหนี้สงฆ์

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
SOAMUSA
วันที่ 6 ก.ย. 2554

ถูกต้องที่สุด เวลาไปฟังเทศน์ ดิฉันก็หยอดตู้เงินในโบสถ์ เป็นค่าน้ำค่าไฟวัด

ค่ารักษาอุโบสถ บำรุงวัดและตู้บริจาคอื่นๆ

ขอบพระคุณทุกๆ คำตอบค่ะ

กราบอนุโมทนาอาจารย์ทุกท่านค่ะ ที่ให้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการทำบุญ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
patiphat
วันที่ 17 ก.ย. 2554

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นกุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหาร

อยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น เขาย่อมแบ่งส่วน

ไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น

เขาจึงแบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร เด็กของสกุล

นั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า บุรุษผู้สามี

จึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจักซื้อของอื่นถวายท่าน

ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศายบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร

เข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย

ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มี

มีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง จากนั้นเด็กคนนี้

ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อ

ส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วย

ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เราแล้วหรือ

บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว

อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา

บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใด

นั้นเองแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-ศากบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา

ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา

ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ

สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท-

ศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ

ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้

ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไมเป็น

ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส

ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป

เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น

อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย

อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น

คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ

คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ

เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ

กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย

อเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม

แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท

แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ

รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-

ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ

อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยทั้งปวง ห้ามถวายเงินและทองให้พระโดยเด็ดขาดครับ และการปลงอาบัตินี้ต้องปลงท่ามกลางสงฆ์ 4 รูป ขึ้นไป คือการสละออกครับหรือทิ้งไปเลย ซึ่งจะไม่เหมือนกับการปลงอาบัติที่พระท่านกล่าวต่อหน้ากันและกันครับ วิธีการต่างๆ ที่มีการเรี่ยไรเป็นต้น โยงเข้ากับเหตุแห่งการสังคยนาครั้งที่ 2 ครับ เรื่องด้วยวัตถุ 10 ประการ

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 18 ธ.ค. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
pat_jesty
วันที่ 18 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
jaturong
วันที่ 29 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
Komsan
วันที่ 6 เม.ย. 2555

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
sutttipan
วันที่ 8 เม.ย. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 19653 ความคิดเห็นที่ 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การใส่บาตรพระ ควรใสของที่เหมาะสม ที่เป็นกัปปิยะ ไม่ควรใสของที่ไม่เหมาะสม มี

เงินและทอง เป็นต้น เพราะจะทำให้พระท่านอาบัติครับ ดังนั้นอุบาสก อุบาสิกาที่ดี ควร

รักษาพระศาสนาและรักษาพระธรรมและรักษาพระภิกษุด้วยการใส่อาหาร แต่ไม่ใส่ เงิน

กับพระภิกษุครับ เพราะความจำเป็นในเรื่องเงินไม่จำเป็นกับพระภิกษุเลย เพราะเป็น

เพศที่สละอาคาร บ้านเรือนทุกอย่างแล้ว กิจของท่านคือ ดำรงชีวิตด้วยอาหารและ

ประพฤติพรหมจรรย์คือ อบรมปัญญาครับ ไม่ใช่กิจดังเช่นคฤหัสถ์มีการประกอบอาชีพ

โดยการใช้เงินเพื่อเดินทาง เป็นต้นดังนั้นไม่ว่ายุคสมัยใด ไม่ควรถวายเงินกับพระภิกษุ

เพราะทำให้ท่านอาบัติได้ และเงินก็ไม่ใช่สิ่งที่สมควรกับพระภิกษุครับ จึงควรใส่อาหาร

สด ใส่บาตรตอนเช้าครับ แต่ไม่ใส่เงิน ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... การรับปัจจัยเงินทอง

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
delan
วันที่ 16 เม.ย. 2555

ขอขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
เข้าใจ
วันที่ 3 พ.ค. 2555

คนจำนวนมากที่เป็นชาวพทุธแค่ทะเบียนบ้าน และไม่ได้ศึกษาพระธรรม ว่าพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายมีดีอย่างไร และทรงตรัสสอนอะไรไว้ เรื่องพระรับเงินนี่น่าเหนื่อยครับ ถ้ารับเงินก็ไม่ใช่พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ ก็ขออนุโมทนากับท่านที่ตอบ ความรู้ถูกความเข้าใจที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยไว้ด้วยครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
สายธาร
วันที่ 4 พ.ค. 2555

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
Thanupong
วันที่ 7 พ.ค. 2555

สามัญญผลสูตร

เล่ม ๑๑ หน้า ๒๖๔

๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ. (ข้าวสาร ของแห้ง)

๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กหญิง.

๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

๒๒. เธอเว้นขาดจากการเป็นทูตและการรับใช้.

๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย.

คำถาม. ในข้อนี้ เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย หมายถึงอะไรบ้างครับ เช่น การเช่าพระเครื่อง ที่ทำกันอยู่ ในวัดสมัยนี้ คำว่า เช่า มันเป็นแค่คำเลี่ยงใช่ไหมครับ แต่ที่บอกในนี้คือทุกการกระทำ ที่หมายถึง ซื้อและขาย แล้ว ดอกไม้ ธูป เทียน ที่มีในวัด แล้วให้ใส่ตู้บริจากล่ะครับ เหมือนกันหรือเปล่า แล้วถ้าเราทำให้พระ ผิดศีล หรือ พระจงใจปกปิดก็ตาม เราบาปด้วยไหม บาปขนาดไหนครับ เพราะผมเคยอ่านเจออยู่ข้อนึง ว่า ทำบุญโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบุญก็ได้บุญ ทำบาปโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบาปก็ได้บาป

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
Thanupong
วันที่ 7 พ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
วัชรสิทธิ์
วันที่ 7 พ.ค. 2555

สวัดีครับ ผมสมาชิกใหม่ครับ

ผมมองว่า เป็นการใช้ปัญญามากกว่า มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาเป็นคนต้องได้รับการทดสอบทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น

คำชมชั่งหอมหวาน คำติชั่งขืนขมจะเลือกเอาอย่างไหนดีหนอ เมื่อสุขจิตก็ติด เมื่อเครือบแครงใจจิตก็ติด วางทุกอย่างไว้ที่ อุเบกขาไหม ครับ


ขออนโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยน่ะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
Thanupong
วันที่ 9 พ.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 19653 ความคิดเห็นที่ 27 โดย Thanupong

สามัญญผลสูตร

เล่ม ๑๑ หน้า ๒๖๔

๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ. (ข้าวสาร ของแห้ง)

๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กหญิง.

๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

๒๒. เธอเว้นขาดจากการเป็นทูตและการรับใช้.

๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย.

คำถาม. ในข้อนี้ เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย หมายถึงอะไรบ้างครับ เช่น การเช่าพระเครื่อง ที่ทำกันอยู่ ในวัดสมัยนี้ คำว่า เช่า มันเป็นแค่คำเลี่ยงใช่ไหมครับ แต่ที่บอกในนี้คือทุกการกระทำ ที่หมายถึง ซื้อและขาย แล้ว ดอกไม้ ธูป เทียน ที่มีในวัด แล้วให้ใส่ตู้บริจากล่ะครับ เหมือนกันหรือเปล่า แล้วถ้าเราทำให้พระ ผิดศีล หรือ พระจงใจปกปิดก็ตาม เราบาปด้วยไหม บาปขนาดไหนครับ เพราะผมเคยอ่านเจออยู่ข้อนึง ว่า ทำบุญโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบุญก็ได้บุญ ทำบาปโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบาปก็ได้บาป

ไม่มีใครช่วยตอบคำถามให้กระจ่างเลยครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 31 ครับ

พระภิกษุ เป็นเพศที่ไม่ใช่เพศฆราวาส ครับ สละหมดทุกอย่างแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าการซื้อ

หรือ การขาบอะไร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเงินทองงไม่ไ้ด้ทั้งสิ้นครับ รวมทั้ง พระภิกษุ

จะเป็นผู้นำตู้มารับบริจาคเงินทองก็ไม่ไ้ด้ครับ ส่วนบุญ หรือ บาป สำคัญที่เจตนา เป็น

สำคัญ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
ไม่แน่นอน
วันที่ 13 ส.ค. 2555

คุณ paderm พูดได้ถูกต้องหมดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
arin
วันที่ 18 ส.ค. 2555

เรียนถามเพิ่มเติม ข้อ 14. เธอเว้นขาดจาก การรับธัญชาติดิบ (ข้าวสาร ของแห้ง)

หมายถึงการใส่บาตร ด้วยข้าวสาร หรืออาหารแห้งก็ไม่ได้ใช่หรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
tonnkhaow
วันที่ 4 ก.ย. 2555

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นประเด็นนี้ครับ เคยสัมผัสสภาพแวดล้อมของพระในประเทศเราแล้ว คิดว่าการบิดเบือนการปฏิบัติที่ถูกต้องผิดจากพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติได้สูงมาก

ประการแรก พระผู้บวชทุกรูปต้องเชื่อฟังพระผู้อาวุโสกว่า ดูแล้วเป็นการปลูกฝังการยึดถือตัวบุคคลมากกว่าคำสอนพระพุทธเจ้า ดังนั้น หากพระผู้อาวุโสกว่า โดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัดบัญญัติหรือตีความพระวินัยอะไรขึ้นมา พระที่อยู่ในวัดไม่สามารถปฏิเสธได้ หากปฏิเสธก็ถูกตำหนิหรืออาจถึงขั้นหาวัดอยู่ไม่ได้เลยครับ โดยเฉพาะการรับเงินบริจาคเป็นต้น

ประการที่สอง การสืบทอดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพุทธศาสนาจากคำสอนที่แท้จริงภายในวัด เป็นความเห็นที่ถูกสอดแทรกแบบสืบทอดกันมาเป็นทอดทอดแบบไทยไทยมากกว่าเนื้อหาตามพระไตรปิฏก ทุกวันนี้ถึงได้เห็นการนั่งสมาธิวิปัสนาที่หลากหลายมากมายเป็นต้น พระในแต่ละวัดจึงทำหน้าที่สืบทอดวัฒนธรรมความรู้แบบไทยไทยในแต่ละวัดที่สังกัด มากกว่าความรู้จากพระไตรปิฏกโดยตรง จึงเกิดความเชื่อทั้งที่ไม่ทราบเลยในพระไตรปิฏกได้มีคำสอนของพระพุทธองค์หรือไม่

ประการที่สาม คนไทยนับถือพุทธยึดถือประเพณีปฏิบัติแบบวัฒนธรรมไทยมากกว่าขวนขวายแสวงหาความรู้ธรรมมะแบบถูกต้อง ทุกวันนี้กลายเป็นการส่งเสริมพระที่ตนศรัทธาให้ทำที่ต้องการทุกอย่างเช่นสร้างโบสถ์วิหาร แทนการส่งเสริมให้พระได้แสวงหาความรู้ด้านธรรมมะมากขึ้น เพราะปู่ย่าตายายสืบทอดเราให้ทำกันมาแบบนั้น

รู้สึกว่าเราได้อยู่ในช่วงของการเสื่อมของพุทธศาสนาอย่างพุทธทำนายเลยครับ โดยเฉพาะพระสงฆ์อันเป็นองค์ประกอบของพระรัตนตรัย พระอริยสงฆ์คงมีน้อยลงจนอาจไม่มีเลย มีแนวโน้มจะเสื่อมก่อนพระธรรมด้วยกระมัง ทุกวันนี้ผมก็ยังทำบุญถวายอาหารพระ ยอมรับทำตามเพราะประเพณ๊ไทยที่มองว่าเป็นการทำดีอย่างนึงแต่ส่วนใหญ่ทำเพราะรู้สึกพึงพอใจสภาพธรรมของการละของที่เราบริจาคได้มากกว่ามันทำให้ลืมความทุกข์ใจได้บ้าง แต่ก็รู้สึกถึงการเสื่อมของสถาบันสงฆ์ไทยมีมากขึ้นเรื่อยเรื่อยแบบที่เราทำอะไรไม่ได้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
mattavan
วันที่ 12 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
chadcha
วันที่ 16 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาบุญกับความรู้ที่ได้ให้มานี้กับทุกท่านด้วยนะคะ

ดิฉันเพิ่งรู้ว่า การถวายเงินให้แก่พระภิกษุสงฆ์ นั้นเป็นบาป และทำให้ท่านอาบัติได้ ตกใจอย่างแรง ไม่เคยทราบมาก่อนเลยค่ะ ขอขอบคุณความรู้ที่ทุกท่านได้ให้ไว้นี้ด้วยนะคะ ขออนุโมทนาอีกครั้งค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 36 ครับ

มุ่งหมายถึง ข้าวเปลือก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
isme404
วันที่ 12 ต.ค. 2555
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
danuacom
วันที่ 21 ต.ค. 2555

สมัยก่อนๆ ไม่เห็นมีใครใส่เงินกัน

ต้องให้ความรู้ญาติโยมให้เข้าใจ และไม่ตามใจความรู้สึกตัวเอง นึกเสียว่าพระพุทธเจ้าเป็นถึงกษัตรย์ยังละสมบัติออกบวช มีอาหารขบฉันเป็นต้นก็อยู่ได้แล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
Phorn
วันที่ 25 ก.ค. 2560

เคยมีพระบางองค์ปฏิเสธกฐินที่โดยมีโยมจองกฐินด้วยปัจจัย50,000 บาท ท่านไม่รับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ