กำลังของสติ

 
samroang69
วันที่  16 พ.ย. 2554
หมายเลข  20040
อ่าน  2,419

อยากทราบว่ากำลังของสติ เกิดได้จากสมาธิหรือไม่ คือมีคำกล่าวที่ว่า ฟังอย่างเดียว

จะไปละอะไรได้ โดยปกติที่เคยมีมา เช่น พระเกจิอาจารย์ดังๆ ในอดีตที่เคยทำสมาธิ

มา ก็ใช้สติเป็นกำลังในการละกิเลส เพราะสมาธิเป็นกำลังของสติใช่หรอไม่ คนที่ฟัง

ก็มีเยอะมากมายแต่ก็ละอะไรไม่ได้ก็มีมาก แต่การปฏิบัติคือการทำสมาธิที่ครูบาอาจารย์

ฝ่ายสมถะ ก็บอกว่าสมาธินีสำคัญมาก เพื่อเป็นกำลังให้กับสติได้ระลึกรู้บ่อยขึ้น รู้

ลักษณะของไตรลักษณ์ คือเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ฟังอย่างเดียวจะไปทำอะไรได้ นี้ก็

เป็นความคิดของผู้รู้บางท่านที่ข้าพเจ้าเคยได้ได้สนทนาด้วย การที่อาจารย์ฝ่าย

วิปัสสนาก็ให้ฝึกยุบหนอพองหนอ และเดินก็ว่า ซ้ายย่างหนอ ขวายางหนอ นี้ก็เป็นการ

ฝึกสติของทางฝ่ายวิปัสสนา คือให้รู้ชัดขณะปัจจุบันตามความเป็นจริง คือให้รู้รูปที่มีการ

เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้นั้นเกิดดับอยู่ตลอด ก็ไม่รู้แน่ว่าอย่างที่สอนมานี้ถูกต้องเพียงใด

พอมาฟังรายการบ้านธรรมก็ให้ฟังและระลึกรู้เห็นตามความเป็นจริง ว่านี้เป็นสภาพธรรม

ที่เกิดข้ึนปรากฎและดับไป พิจารณาสภาพธรรมนามธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง

แต่ละอาจารย์ก็บอกมาคนละอย่างกันจึงต้องข้อความกรุณาผู้รู้ที่จะให้ความเข้าใจได้มาก

ขึ้น เพื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ขอบคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระธรรมของพระพุทะเจ้าเป็นเรื่องละเอียดลลึกซึ้งเพราะตรัสรู้ด้วยพระปัญญา

ของพระพุทธองค์ ซึ่งสำหรับในเรื่องหนทางในการดับกิเลส ซึ่พระพุทธองค์แสดงไว้

ครับว่า คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือ อริยมรรค เท่านั้น ไม่ใช่หนทางอื่น ซึ่งก่อน

ที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก ก็มีผู้ที่อบรมสมถภาวนา จนได้ฌาน หรือ ปัจจุบันคือ

การอบรมสมาธิ แต่แม้ได้ฌาน ก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ เพราะไม่เข้าใจหนทางดับ

กิเลส คือ ไม่เข้าใจการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้องครับ

ดังนั้นต้องเริ่มจากความเข้าใจถูกเบื้องต้นว่า การเจริญสติปัฏฐาน เป็นทางเดียวที่

จะดับกิเลส สมาธิ การเจริญสมถภาวนา ไม่สามารถดับกิเลสได้ ซึ่งในสมัยพุทธกาล

ผู้ ที่อบรมเจริญวิปัสสนา คือ สติปัฏฐานอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้อบรมสมาธิ มีการเจริญ

สมถภาวนา มีมากมายและได้บรรลุธรรมากมาย เช่น นางวิสาขา ท่านอนาถะ และอริย

สาวกมากมายที่บรรลุธรรมโดยไม่ได้อบรมสมาธิ อบรมสมถภาวนาเลยครับ นี่แสดงให้

เห็นว่า ไม่ได้มีความจำเป็นเลยครับที่จะต้องเจริญสมถภาวนาก่อน เพื่อจะเป็นกำลังให้

สติปัฏฐานเกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 16 พ.ย. 2554

แต่หนทางที่จะทำให้สติเกิด คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจในเรื่อง

ของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เพราะสติและปัญญา ที่เป็นสติปัฏฐาน จะรู้อะไร ก็

ต้องรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ หากปราศจากการฟังให้เข้าใจแล้ว ก็ย่อม

ประพฤติปฏิบัติผิด และเมื่อฟังเข้าใจ ปัญญาเจริญขึ้น จนถึงการที่สติเกิดระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติแล้ว ธรรมปฏิบัติ รู้ความจริง

ของสภาพธรรมนั่นเอง โดยไม่ต้องไปเดิน ไปทำสมาธิเลย เพราะหากได้อ่านประวัติ

อริยสาวกมากมาย ท่านก็ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าและได้บรรลุธรรม แสดงว่าท่าน

เหล่านั้นไมได้อบรมสมาธิ แต่ท่านอบรมปัญญามาก่อนในอดีต เรื่อง สติปัฏฐาน จนมี

ความเข้าใจมากแล้ว เมื่อได้ฟังในชาตินี้ก็ได้บรรลุธรรมครับ

สำคัญคือ จะต้องเข้าใจว่า หนทางดับกิเลสคืออะไร และคำว่าปฏิบัติคืออะไรครับ ก็

จะทำให้เข้าใจถูกต้องว่า ไม่จำเป็นจะต้องนั่งสมาธิเพื่อใหสติเกิด เพราะสติปัฏฐานเกิด

จากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมให้เข้าใจ และเมื่อปัญญาถึงพร้อมจากการศึกษา

สติปัฏฐานก็เกิดเอง เพราะสะสมปัญญามาจนมีกำลังครับ ดังนั้น กำลังที่แท้จริงที่ทำ

ให้สติปัฏฐานเกิด ไม่ใช่ สมาธิ แต่เป็นปัญญา ทีเกิดขึ้นบ่อยๆ จากการฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรม จนมีกำลัง ก็เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดเพราะอาศับปัญญาทีเกิดขึ้น

บ่อยๆ ครับ หากปราศจากความเข้าใจ คือ ปัญญา ไม่มีกำลังของปัญญาแล้ว ย่อมปฏิบัติ

ผิดและไม่เกื้อกูลให้สติปัฏฐานเกิดเลยครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อย่างเดียว โดยไม่ทำสมถะก่อน จะข้ามขั้นตอนไหม

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
samroang69
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สติปัฏฐาน เป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นหนทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น จะขาดปัญญาที่เป็นสภาพธรรมที่เข้าใจถูก เห็นถูก ไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และสติเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ สภาพธรรมที่เป็นอารมณ์หรือเป็นที่ตั้งของสติ ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมมีลักษณะให้รู้ได้ นี้ เป็นสติปัฏฐาน สติที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นสติปัฏฐาน ด้วย ในขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้น สมาธิ ก็มี เป็นสัมมาสมาธิ ที่เกิดร่วมกับสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา) สัมมาสติ เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ คือหมวดของกาย หมวดของเวทนา หมวดของจิต และหมวดของธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด กล่าวคือ ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปที่กาย ขณะนั้นเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของความรู้สึก (เวทนา) ที่กำลังปรากฏขณะนั้นเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของจิต

ประเภทต่างๆ ขณะนั้นเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปธรรมหรือนามธรรมอื่นๆ ขณะนั้นเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูก ทั้งหมด การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และไม่ใช่เรื่องทำ แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ ไม่ขาดการฟังพระธรรม เพราะการฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ มีความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ ก็จะเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้สสภาพธรรมในขณะนั้น ได้ และ จะไม่ทำให้ดำเนินไปในทางที่ผิด ด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่ง คือ จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น ไม่ใช่เพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้น เพราะการทรงแสดงสติปัฏฐานก็ทรงแสดงถึงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ที่เมื่อสติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ แต่ละอย่างๆ ไม่ปะปนกันแล้วแต่ว่าสติจะระลึกและปัญญารู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดเจาะจง เพราะธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
samroang69
วันที่ 17 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 18 พ.ย. 2554

สติ แปลว่า การระลึก สภาพที่ระลึก ระลึกลัุกษณะของสภาพธรรมะทืี่่มีจริง ทีเกิด

ขึ้น กำลังปรากฏอยู่ขณะนี้ เช่น เห็นมีจริง เกิดแล้วดับ ไม่ใช่ตัวตน เป็นธรรมะค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ