มงคล
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นเข้าใจความหมายของมงคลให้ถูกต้องก่อนครับ ก็จะเข้าใจมงคลในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง มงคล คือ เหตุ หรือ สิ่งที่นำมาซึ่งความเจริญและความสุข
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุและผลถูกต้องตามความเป็นจริง แสดงว่าธรรมทั้งหลาย อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การได้รับความสุขทั้งทางกายและใจ ความสุข ที่สูงสุด คือ ความสุขที่ปราศจากกิเลส ไม่มีกิเลสเลย ความสุข ความเจริญตามที่กล่าว มาต้องมีเหตุ เหตุที่ให้ได้รับความสุข ความเจริญ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า มงคล อย่าง เช่นความสุขที่ได้รับสิ่งที่ดีๆ มีเงินและทอง ความสุขที่ได้รับทรัพย์สมบัติ ได้เห็นสิ่งทีดีๆ ได้ยินสิ่งที่ดีๆ ได้กลิ่นดีๆ ได้ลิ้มรสอร่อย การได้รับความสุข ความเจริญเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุ คือ กุศลกรรมที่ได้ทำนั่นเอง ทำให้ได้รับสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่ เป็นความสุข ความเจริญ ที่เรียกว่า วิบาก หรือ ผลของกรรมที่ดี เพราะฉะนั้น เหตุ หรือ มงคลที่นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ มงคลนั้นก็คือ กุศลธรรมความดีประการต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นการให้ทาน ศีล กุศล บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ และ กุศลธรรมประการต่างๆ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมปัญญา เป็นมงคล คือ นำมาซึ่งความสุข ความ เจริญ เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้รับความสุขกายและสุขใจ เพราะมีการทำความดี (มงคล) ทำเหตุแล้ว เมื่อกรรมดี (มงคล) ให้ผล ก็ทำให้ได้รับสิ่งทีดี มีทรัพย์ สมบัติ และ การได้เห็นสิ่งที่ดีๆ เป็นต้น และมงคล คือ สิ่งที่ดี อันเป็นกุศลธรรม ก็มีหลายระดับ ทั้ง กุศลเบื้องต้น จนถึงมงคลสูงสุด คือการดับกิเลส ไม่มีความทุกข์ ประจักษ์ความจริง คือ พระนิพพาน นั่นเป็นมงคลสูงสุด เพราะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง คือ สุขที่ปราศจาก กิเลสทั้งปวง ไม่ต้องทุกข์อีกเลยครับ
สรุปคือ มงคลคือ คุณความดีประการต่างๆ ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ แต่สิ่งใด ที่ไม่ใช่ กุศล แต่เป็นเพียงความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามพระ พุทธเจ้าทรงแสดง ขัดกับหลักกรรมและผลของกรรม เป็นต้น ไม่เป็นมงคลครับ แต่เป็น มงคลตื่นข่่าว นี่คือหลักแยกแยะสิ่งที่เป็นมงคลจริงๆ และที่เป็นมงคลตื่นข่าวครับ คือ เป็นกุศลธรรม เป็นความดีหรือไม่ เช่น ปลูกต้นไม้ประเภทนี้จะทำให้เจริญ เพราะชื่อของ ต้นไม้ ซึ่งความจริงการจะได้รับความสุข ความเจริญ เพราะการทำความดี จากตัวอย่าง ที่กล่าวมา การปลูกต้นไม้ ไม่ใช่เหตุที่ได้รับความสุข และการปลูกต้นไม้ด้วยความเชื่อ อย่างนั้นก็ไม่ใช่กุศลกรรม การทำความดีในขณะนั้น แต่เป็นความเข้าใจผิด เป็นอกุศล ก็ ไม่สามารถทำให้ถึงความเจริญ นำมาซึ่งสิ่งที่ดีๆ ได้เลยครับ จึงไม่ใช่มงคลครับ มงคล จึงไม่ใช่การได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นมงคลจะโชคดี การได้ยินเสียงใดเสียงหนึ่งจะเป็น มงคล แต่กุศลธรรมกุศลจิตเกิดขึ้นในขณะใด ในบุญญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ชื่อว่าเป็น มงคล เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความสุขและความเจริญครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มงคลไม่ใช่สำหรับท่อง และไม่ใช่สำหรับจำ แต่สำหรับอบรมเจริญ เพื่อความเจริญขึ้นซึ่งเป็นมงคลแต่ละข้อ มีการไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต เป็นต้น เพราะมงคลหมายถึงเหตุแห่งความเจริญ หรือ สิ่งที่จะทำให้ถึงซึ่งความเจริญ เมื่อจะกล่าวโดยสรุปแล้ว มงคล หมายถึง ความดีทุกอย่างทุกประการ นั่นเอง เพราะเหตุว่าสิ่งที่ไม่ดีจะนำมาซึ่งผลที่ดี ไม่ได้ ผลย่อมตรงกับเหตุ ถ้าเหตุไม่ดี ผลก็ต้องไม่ดี แต่ถ้าเหตุดี ผลก็ต้องดี เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ กว่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยกับอีกแสนกัปป์ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก มงคลแต่ละข้อ ก็มาจากการตรัสรู้ของพระองค์ ดังนั้น การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม จึงเป็นมงคลประการหนึ่งด้วย ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม คือ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นำมาซึ่งความเห็นที่ถูกต้อง ในสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดง แต่ มงคลมีมากมาย ไม่ใช่เพียงการฟังธรรม เท่านั้น เริ่มตั้งแต่การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต การบูชาบุคคลผุ้ควรบูชา เป็นต้น ล้วนเป็นมงคลอันประเสริฐทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นการเชื่อในเรื่องที่แตกตื่นกันไปเอง ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นมงคลโดยไม่มีเหตุผล ไม่เป็นไปตามพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นั่นไม่ใช่มงคล แต่เป็นมงคลตื่นข่าว มีแต่จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความไม่รู้และความเห็นผิด บุคคลผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ศึกษาพระธรรม จะเป็นผู้ถึงความเจริญด้วยปัญญาไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าความเจริญจริงๆ ไม่ใช่ความเจริญทางวัตถุ หรือ ความเพิ่มมากขึ้นของความโลภ ความติดข้อง ต้องการ การแสวงหาในสิ่งที่คิดว่าน่าปรารถนา คือ ลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ สุข แต่ความเจริญจริงๆ เป็นความเจริญของจิต ซึ่งเริ่มมีปัญญาที่เข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ถ้าไม่มีปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเลย ย่อมจะเป็นเหตุให้สะสมความไม่รู้ และ อกุศลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น นั่นเอง จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม ตลอดชีวิต ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง เพื่อรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เพื่อที่จะได้ละความไม่รู้ และเพื่อความรู้และความเจริญในคุณธรรมความดีประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ต่อไป ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
การทำความดีทุกอย่างเป็นกุศล เป็นมงคล เพราะทำให้เจริญทั้งโลกนี้และโลกหน้า อกุศล ไม่ใช่มงคล เพราะนำไปสู่ความเสื่อมทุกอย่าง และทำให้เิกิดในอบายภูมิค่ะ
ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ
มงคลตื่นข่าว เป็น สีลัพพตปรามาส หรือไม่?
(ตามความเข้าใจของผมเองคิดว่าไม่ใช่)
เช่น ตอนเด็กๆ เชื่อว่าถ้าเสกดินสอก่อนทำข้อสอบจะได้คะแนนดี หรือ อย่างเช่นเชื่อว่า ปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้หน้าบ้านจะทำให้เงินทองรั่วไหลออกจากบ้าน หรือเชื่อเรื่องการทำ สังฆทานสะเดาะเคราะห์ ฯลฯ (คือเชื่อว่าการกระทำบางอย่าง จะทำให้เกิดผลบางอย่างที่ต้องการ แต่ไม่ได้มีความเห็น ว่าการกระทำนั้นจะยังให้ถึงความบริสุทธิ์คือพระนิพพาน... เช่นนี้น่าจะเป็นเพียงโลภะ ไม่ ใช่สีลพพตปรามาส)
แล้วองค์ธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมของ สีลพพตปรามาส คือ ทิฏฐิเจตสิก ใช่มั๊ยครับ
ถ้าเช่นนั้นแล้ว มงคลตื่นข่าว น่าจะเป็นการกระทำด้วย โลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น
ตัวอย่างข้างต้น
- แต่ถ้าเป็น สีลพพตปรามาส คือทำผิดๆ เพื่อหวังความบริสุทธิ์ (เช่นนั่งหลับตาท่อง พุทโธๆ แล้วเชื่อว่าจะเกิดวิปัสสนาญาณ) น่าจะเป็น โลภมูลจิตที่ประกอบด้วยความเห็น ผิด ความเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องมั๊ยครับ หรือยังมีความคลาดเคลื่อนประการใด
ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
เรียนความเห็นที่ 9 ครับ
ก่อนอื่นก็ต้องเข้าจครับว่า ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิดนั้น มีหลากหลายและมีหลาย ระดับ ทั้งความเห็นผิดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรม ผลของกรรม เช่น การกระทำ ที่เข้าใจผิดที่ขัดกับหลักกรรมและผลของกรร ม ดังนั้น แม้ มงคลตื่นข่าว เช่น เข้าใจว่า การปลูกต้นไม้เช่นนี้ ทำให้ได้รับสิ่งที่ดี ก็เป็นความเห็นผิดที่ ขัดกับหลักรรมและผลของ กรรม เป็นโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิดเช่นกัน และ สีลพพตปรามาส ข้อวัตร ปฺฏิบัติที่ผิด ก็เป็นความเห็นผิด แต่เป็นความเห็นผิดที่เนื่องด้วยข้อปฏิบัติ ที่เข้าใจผิด ในหนทางปฏิบัติครับ ดังนั้น ความเห็นผิด จึงมีหลากหลายนัยตามที่กล่าวมา ทั้งระดับ เล็กน้อยและมาก และความเห็นผิดที่เนื่องด้วยข้อปฏิบัติและที่ขัดกับหลักและผลของ กรรมด้วยครับ มงคลตื่นข่าวในบางประการจึงเป็นความเห็นผิดได้ ที่เป็นโลภมูลจิตที่ ประกอบด้วยทิฏฐิเจตสิกครับ
แสดงว่า ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิด คือความเห็นความเชื่อไม่ว่าประการใดๆ ก็ตามที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงของสัจจธรรม
สีลัพพตปรามาส คือ ความเห็นผิดเกี่ยวกับหนทางปฏิบัติเพื่อถึงความหลุดพ้นเท่านั้น
(คือ ทิฏฐิเจตสิก คลุมความหมายกว้างกว่า สีลัพพตปรามาส; สีลัพพตปรามาสต้องเป็นความเห็นผิดแน่นอน แต่ความเห็นผิดบางอย่างไม่จำเป็นต้องเป็น สีลัพพตปรามาส)
เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ
เรียน ความเห็นที่ 11 ครับ
ถูกต้องครับ ทิฏฐิเจตสิก กว้างกว่า สีลัพพตปรามาส และความเห็นผิดบางอย่างไม่จำ เป็นต้องเป็น สีลัพพตปรามาส
ขออนุโมทนาที่เข้าใจถูกต้องครับ