จารีตศีล และ วารีตศีล

 
SOAMUSA
วันที่  1 มี.ค. 2555
หมายเลข  20671
อ่าน  6,513

ผู้ที่จะปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน นั้น ในเบื้องต้นต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติอยู่ในศีลทั้ง ๒ ที่เรียกว่า จารีตศีล และวารีตศีล ให้ได้ดีทั้งสองอย่าง ไม่ใช่ว่าระวังแต่วารีตศีล ที่ตนเองรักษาเท่านั้น (เช่น ศีล ๕ เป็นต้น) แต่จารีตศีล ที่ดำรงชีวิตประจำวันกับผู้คนนั้น ประพฤติตัวไม่ดี เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว มีผลต่อการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างไรบ้างค่ะ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อกล่าวถึงคำอะไร ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องในคำที่กล่าวถึงว่าหมายถึงอะไร เริ่มตั้งแต่คำว่า ปฏิบัติธรรม เป็นการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี คือ สติและปัญญาพร้อมทั้งโสภณธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมกันในขณะนั้น ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่ตัวตนที่ไปปฏิบัติ ไม่ใช่ตัวตนไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาที่จะรู้ธรรม

วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง การอบรมเจริญปัญญาเพื่อการละกิเลสเป็นลำดับขั้นจนกระทั่งสูงสุดถึงความเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องเกิดอีกเลย ซึ่งก็คือการอบรมเจริญสติปัฏฐานหรืออริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นหนทางเพื่อการดับทุกข์และกิเลสทั้งปวงซึ่งจะขาดปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้นไม่ได้เลย ไม่ใช่ว่าไปนั่งทำอะไรที่ผิดปกติหรือไปเดินอะไรที่ผิดปกติแล้วจะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่อย่างนั้นเลย

วาริตศีล เป็นการงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น เช่น งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น นอกจากจะเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้นแล้ว ก็ยังจะต้องน้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามด้วย เช่น เลี้ยงดูมารดา บิดา ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ช่วยเหลื่อผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเป็นจาริตศีล สำหรับการเจริญสติปัฏฐาน ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องของปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก ไม่ว่าจะต้องไปรักษาศีลให้บริสุทธิ์ก่อนถึงจะเจริญสติปัฏฐานได้ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วก็เป็นตัวเราที่ไปรักษาศีล ไปกระทำด้วยความเป็นตัวตน ตามปกติของปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส แม้ว่าจะเป็นผู้ศึกษาพระธรรมคำสอน มีความเข้าใจมีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ในบางกาลอาจมีการก้าวล่วงศีลบ้างบางข้อ หรือ มีความประพฤติไม่เหมาะสม เป็นไปตามกิเลสที่ได้สะสมมาเพราะความเป็นปุถุชน

แต่ความเข้าใจพระธรรม ความเข้าใจเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐานที่สะสมเพิ่มขึ้นจากการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นปัจจัยแก่สติปัฏฐานตามสมควรแก่ความเข้าใจพระธรรม และที่สำคัญขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้น ศีล ก็มี สมาธิ ก็มี และปัญญา ก็มีด้วย เมื่อมีปกติเจริญสติปัฏฐาน และ มีปกติอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมจะอุปการะเกื้อกูลให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีงามยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวัน ทำให้งดเว้นจากสิ่งที่ควรงดเว้น และ ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ คล้อยตามความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้นในชีวิตประจำวัน

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ก่อนที่พระอริยสาวกทั้งหลายในอดีตที่ท่านจะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ท่านก็ยังมีกิเลสอยู่ครบ ความประพฤติเป็นไปก็เป็นไปตามอำนาจของกิเลสบ้าง มีความประพฤติไม่เหมาะสมประการต่างๆ บ้าง แต่พอได้ฟังพระธรรม ได้รับการฝึกด้วยพระธรรม ก็เป็นเหตุให้ท่านเหล่านั้น สามารถมีปัญญาถึงขั้นที่จะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ มีกาย วาจา ใจ ที่ดีงามตามระดับขั้นของปัญญาของตนเอง จนกว่าจะเป็นผู้มีกาย วาจา และใจ ไม่มีโทษใดๆ เลย คือ ไม่เป็นไปกับด้วยกิเลสอกุศลใดๆ เลย เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับปัญญาความเข้าใจพระธรรม เป็นสำคัญ จะขาดปัญญาไม่ได้เลย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่เรื่องของศีลที่มีเกี่ยวข้องกับการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาก็ต้องเข้าใจให้ละเอียดและถูกต้อง ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ครับ

ธรรม มีหลากหลายนัย ครับ จากที่ผู้ถาม โยงในเรื่อง จารีตศีล และ วารีตศีลกับการเจริญวิปัสสนานั้น ศีล หมายถึงการกระทำทางกายและวาจา ดังนั้น จารีตศีล ก็คือ การกระทำทางกายและวาจา แต่เป็นการกระทำทางกายวาจา ที่ประพฤติปฏิบัติกัน เป็นการประพฤติที่สมควร คือ เป็นกุศลนั่นเอง เช่น การประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ การตอบแทนพระคุณมารดา บิดา ด้วยการช่วยเหลือท่าน เป็นต้น ส่วน วารีตศีล หมายถึงการกระทำทางกายและวาจาที่งดเว้นจากการกระทำทางกายและวาจาที่ไม่ดี เช่น งดเว้นจากการกระทำทางกายที่ไม่ดี มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการะทำทางวาจาที่ไม่ดี คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นต้น สรุปได้ว่า จารีตศีล หมายถึง การประพฤติสิ่งที่สมควรอันเนื่องด้วยกายและวาจา ส่วน วารีตศีล หมายถึง การงดเว้นการกระทำทางกายและวาจาที่ไม่ดี

ส่วนการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งบางครั้งเราก็จะเรียกในการเจริญวิปัสสนาว่า ไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งในความเป็นจริง การอบรมปัญญาที่เป็นการเจริญวิปัสสนานั้น ศีล สมาธิ และปัญญา ไม่ได้แยกกันนะครับ แต่ขณะที่ สติปัฏฐาน เกิดหรือ วิปัสสนาเกิดนั้น มี ศีล สมาธิและปัญญาพร้อมกัน ดังนั้น การอบรมปัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่จะต้องอบรมศีลก่อน แล้วค่อยอบรมสมาธิแล้วจึงอบรมปัญญา คือ วิปัสสนาทีหลัง ครับ

ดังนั้น เราก็จะต้องเข้าใจใหม่ครับว่า ศีลที่เกิดพร้อมกับการเจริญวิปัสสนานั้น คืออย่างไร

ศีลที่เกิดพร้อมสมาธิและปัญญา หรือ ศีลที่เกิดพร้อมกับการเจริญวิปัสสนา คือ อินทรียสังวรศีล คือ ศีลที่เป็นไปในการสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ดังนั้น จึงไม่ใช่พยายามที่จะทำศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ก่อนครับ จึงอบรมวิปัสสนาได้ เพราะศีล ๕ จะบริสุทธิ์ได้จริงๆ คือ เป็นพระโสดาบัน และศีลจะบริสุทธิ์ได้จริง จะต้องบริสุทธิ์เพราะมีปัญญา ครับ ด้วยการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ดังนั้น ศีลที่เกิดพร้อมวิปัสสนา จึงไม่ใช่เรื่องของศีล ๕ ที่เป็น วารีตศีล ข้อควรงดเว้น และ ไม่ใช่ ศีลที่เป็นจารีตศีล ข้อที่ควรประพฤติ แต่เป็นศีลที่สำรวมทางตา หู จมูก ... ใจที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล

ดังนั้น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ เจริญวิปัสสนา ขณะนั้นมีศีลแล้ว คือ กำลังสำรวมทางตา ... ใจ ครับ

จะเห็นนะครับว่า จารีตศีล ศาสนาอื่นก็มีอยู่ คือ การประพฤติปฏิบัติที่สมควรทางกาย วาจา มีการเลี้ยงมารดา บิดา เป็นต้น แต่ไม่ใช่ศีลที่เป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลส วารีตศีล ศาสนาอื่นก็มีอยู่ที่งดเว้นจากการกระทำทางกายไม่ดี มีการฆ่าสัตว์ แต่ไม่เป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลส แต่ศีลเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการเจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ ด้วยเหมือนกัน เช่น การประพฤติที่ดีเหมาะสม ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ แต่หากไม่มีปัญญา แม้ทำความประพฤติที่ควร มีเลี้ยงมารดา บิดา เป็นต้น แต่ไม่เข้าใจหนทางการอบรมปัญญาก็ไม่ถึงการดับกิเลส เพียงแต่เป็นทางให้เจริญขึ้นของกุศล ครับ แต่หากว่ามีความเข้าใจพระธรรม เข้าใจหนทางด้วย กุศลต่างๆ ที่เจริญบ่อยๆ มีการประพฤติที่ดี จารีตศีล ก็เกื้อกูลต่อกุศลประการอื่นๆ ให้เจริญและทำให้ เกื้อกูลต่อการเจริญสติปัฏฐาน เพราะกุศลต่างๆ เกื้อกูลให้เจริญขึ้นได้ ครับ แต่สำคัญจะต้องมีปัญญาความเข้าใจถูกในหนทางการอบรมปัญญาด้วยครับ

ดังนั้น จากการที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า การเจริญวิปัสสนา ไม่ได้หมายความว่า จะต้องประพฤติจารีตศีล วารีตศีลให้ดีสมควรก่อนจึงจะอบรมปัญญาได้ เพราะศีลที่เป็นไปในการอบรมปัญญา คือ อินทรียสังวรศีล ซึ่งเกิดพร้อมกับสมาธิและปัญญาที่เป็นไตรสิกขา อันเป็นหนทางที่จะทำให้ถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลทั้งหมด จริงๆ ครับ ดังนั้น หนทางที่ถูกต้อง คือ ไม่ต้องพยายามที่จะทำศีลให้ดี ให้ได้ก่อน เพราะทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย สำคัญที่ ฟังพระธรรมเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรมก็จะเข้าใจ และปัญญาเจริญขึ้น จนสติปัฏฐานเกิดรู้ความจริง ขณะนั้นก็มีศีลแล้ว และเป็นศีลที่จะทำให้ถึงความบริสุทธิ์จากกิเลส ที่เป็นอินทรียสังวรศีล ครับ ดังนั้น ศีลมีหลากหลายนัย แต่เราจะต้องเข้าใจว่าศีลใดเป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลส ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
SOAMUSA
วันที่ 2 มี.ค. 2555

กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ อาจารย์ทั้งสอง

ขอบพระคุณอย่างสูง ที่ให้ความเข้าใจในเรื่องที่สงสัยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 2 มี.ค. 2555

เพียงความดีเบื้องต้น เช่น ศีล ๕ ถ้ารักษาไม่ได้ หรือ การให้อภัยทานก็ยังให้ไม่ได้ อกุศลที่มีอยู่เต็ม ที่ยังไม่ได้ขัดเกลากิเลส และไม่ได้บำเพ็ญความดี กุศลยังไม่พอที่จะละคลายความความเหนียวแน่นของกิเลส สติปัฏฐานก็เกิดยากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 2 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ศีลจะบริสุทธิ์ได้จริง จะต้องบริสุทธิ์เพราะมีปัญญา ครับ"

"ที่สำคัญขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้น ศีล ก็มี สมาธิ ก็มี และปัญญา ก็มีด้วย"

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 2 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 7 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ศีลจะบริสุทธิ์ได้จริง จะต้องบริสุทธิ์เพราะมีปัญญา ครับ"

"ที่สำคัญขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้น ศีล ก็มี สมาธิ ก็มี และปัญญา ก็มีด้วย"

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 29 ก.ค. 2558

สาธุ อนุโมทนา และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พี่สุภัสสร
วันที่ 17 มี.ค. 2561

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สิริพรรณ
วันที่ 26 พ.ค. 2561

กราบอนุโมทนา

ขอบพระคุณ วิทยากรทั้ง ๒ ท่าน และผู้สนทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
peem
วันที่ 14 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Nataya
วันที่ 16 พ.ค. 2563

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
bigcat001
วันที่ 19 ก.ย. 2564

อนุโมทนาคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
bigcat001
วันที่ 19 ก.ย. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 2 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่เรื่องของศีลที่มีเกี่ยวข้องกับการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาก็ต้องเข้าใจให้ละเอียดและถูกต้อง ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ครับ

ธรรม มีหลากหลายนัย ครับ จากที่ผู้ถาม โยงในเรื่อง จารีตศีล และ วารีตศีลกับการเจริญวิปัสสนานั้น ศีล หมายถึงการกระทำทางกายและวาจา ดังนั้น จารีตศีล ก็คือ การกระทำทางกายและวาจา แต่เป็นการกระทำทางกายวาจา ที่ประพฤติปฏิบัติกัน เป็นการประพฤติที่สมควร คือ เป็นกุศลนั่นเอง เช่น การประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ การตอบแทนพระคุณมารดา บิดา ด้วยการช่วยเหลือท่าน เป็นต้น ส่วน วารีตศีล หมายถึงการกระทำทางกายและวาจาที่งดเว้นจากการกระทำทางกายและวาจาที่ไม่ดี เช่น งดเว้นจากการกระทำทางกายที่ไม่ดี มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการะทำทางวาจาที่ไม่ดี คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นต้น สรุปได้ว่า จารีตศีล หมายถึง การประพฤติสิ่งที่สมควรอันเนื่องด้วยกายและวาจา ส่วน วารีตศีล หมายถึง การงดเว้นการกระทำทางกายและวาจาที่ไม่ดี

ส่วนการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งบางครั้งเราก็จะเรียกในการเจริญวิปัสสนาว่า ไตรสิกขา หรือ ศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งในความเป็นจริง การอบรมปัญญาที่เป็นการเจริญวิปัสสนานั้น ศีล สมาธิ และปัญญา ไม่ได้แยกกันนะครับ แต่ขณะที่ สติปัฏฐาน เกิดหรือ วิปัสสนาเกิดนั้น มี ศีล สมาธิและปัญญาพร้อมกัน ดังนั้น การอบรมปัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่จะต้องอบรมศีลก่อน แล้วค่อยอบรมสมาธิแล้วจึงอบรมปัญญา คือ วิปัสสนาทีหลัง ครับ

ดังนั้น เราก็จะต้องเข้าใจใหม่ครับว่า ศีลที่เกิดพร้อมกับการเจริญวิปัสสนานั้น คืออย่างไร

ศีลที่เกิดพร้อมสมาธิและปัญญา หรือ ศีลที่เกิดพร้อมกับการเจริญวิปัสสนา คือ อินทรียสังวรศีล คือ ศีลที่เป็นไปในการสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ดังนั้น จึงไม่ใช่พยายามที่จะทำศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ก่อนครับ จึงอบรมวิปัสสนาได้ เพราะศีล ๕ จะบริสุทธิ์ได้จริงๆ คือ เป็นพระโสดาบัน และศีลจะบริสุทธิ์ได้จริง จะต้องบริสุทธิ์เพราะมีปัญญา ครับ ด้วยการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ดังนั้น ศีลที่เกิดพร้อมวิปัสสนา จึงไม่ใช่เรื่องของศีล ๕ ที่เป็น วารีตศีล ข้อควรงดเว้น และ ไม่ใช่ ศีลที่เป็นจารีตศีล ข้อที่ควรประพฤติ แต่เป็นศีลที่สำรวมทางตา หู จมูก ... ใจที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล

ดังนั้น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ เจริญวิปัสสนา ขณะนั้นมีศีลแล้ว คือ กำลังสำรวมทางตา ... ใจ ครับ

จะเห็นนะครับว่า จารีตศีล ศาสนาอื่นก็มีอยู่ คือ การประพฤติปฏิบัติที่สมควรทางกาย วาจา มีการเลี้ยงมารดา บิดา เป็นต้น แต่ไม่ใช่ศีลที่เป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลส วารีตศีล ศาสนาอื่นก็มีอยู่ที่งดเว้นจากการกระทำทางกายไม่ดี มีการฆ่าสัตว์ แต่ไม่เป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลส แต่ศีลเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการเจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ ด้วยเหมือนกัน เช่น การประพฤติที่ดีเหมาะสม ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ แต่หากไม่มีปัญญา แม้ทำความประพฤติที่ควร มีเลี้ยงมารดา บิดา เป็นต้น แต่ไม่เข้าใจหนทางการอบรมปัญญาก็ไม่ถึงการดับกิเลส เพียงแต่เป็นทางให้เจริญขึ้นของกุศล ครับ แต่หากว่ามีความเข้าใจพระธรรม เข้าใจหนทางด้วย กุศลต่างๆ ที่เจริญบ่อยๆ มีการประพฤติที่ดี จารีตศีล ก็เกื้อกูลต่อกุศลประการอื่นๆ ให้เจริญและทำให้ เกื้อกูลต่อการเจริญสติปัฏฐาน เพราะกุศลต่างๆ เกื้อกูลให้เจริญขึ้นได้ ครับ แต่สำคัญจะต้องมีปัญญาความเข้าใจถูกในหนทางการอบรมปัญญาด้วยครับ

ดังนั้น จากการที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า การเจริญวิปัสสนา ไม่ได้หมายความว่า จะต้องประพฤติจารีตศีล วารีตศีลให้ดีสมควรก่อนจึงจะอบรมปัญญาได้ เพราะศีลที่เป็นไปในการอบรมปัญญา คือ อินทรียสังวรศีล ซึ่งเกิดพร้อมกับสมาธิและปัญญาที่เป็นไตรสิกขา อันเป็นหนทางที่จะทำให้ถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลทั้งหมด จริงๆ ครับ ดังนั้น หนทางที่ถูกต้อง คือ ไม่ต้องพยายามที่จะทำศีลให้ดี ให้ได้ก่อน เพราะทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย สำคัญที่ ฟังพระธรรมเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรมก็จะเข้าใจ และปัญญาเจริญขึ้น จนสติปัฏฐานเกิดรู้ความจริง ขณะนั้นก็มีศีลแล้ว และเป็นศีลที่จะทำให้ถึงความบริสุทธิ์จากกิเลส ที่เป็นอินทรียสังวรศีล ครับ ดังนั้น ศีลมีหลากหลายนัย แต่เราจะต้องเข้าใจว่าศีลใดเป็นไปเพื่อถึงการดับกิเลส ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

อนุโมทนาสาธุๆ ๆ ๆ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ