ใครรู้วิธีคิดระงับ เมื่อเพื่อนของแฟนไม่ชอบเรา

 
autobluesky
วันที่  16 มี.ค. 2555
หมายเลข  20799
อ่าน  4,091

ไม่ชอบในที่นี้คือไม่ใช่รักนะครับ คือเหมือนกับว่าเค้าไม่อยากจะคุยกับเรา เรื่องก็คือ เมื่อก่อนแฟนผมปัจจุบันไปเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนคนที่ไม่ชอบผมตลอด พอมาเป็นแฟนกับผม เธอก็เลยไม่ชอบเที่ยว ซึ่งส่วนตัวผมก็ไม่ชอบเที่ยวกลางคืนอยู่แล้ว ผมจะวางตัวหรือว่าคิดยังไงให้จิตใจสบาย ไม่ฟุ้งซ่านไม่คิดมากดีครับ

ขอบคุณครับ ผมน้องใหม่ฝากตัวด้วยนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตามความเป็นจริง ชีวิตของคนเรา มีอยู่ ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นการได้รับผลของกรรม เช่น ขณะที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย รวมไปถึง ขณะที่หลับสนิท ด้วย ถ้าไม่มีกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตเป็นปัจจัย วิบากจิต ซึ่งเป็นการได้รับผลของกรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ และ อีกส่วนหนึ่ง เป็นส่วนของการสะสมเหตุ คือ เป็นกุศล กับเป็นอกุศล (มีความไม่ชอบ เป็นต้น) นี้ก็ขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคล ไม่มีใครกำหนด ไม่มีใครบังคับ แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ครับ

ซึ่ง จากคำถาม ที่กล่าวว่า เพื่อนแฟนไม่ชอบ ความไม่ชอบเป็นสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นความไม่พอใจ ที่เป็นโทสมูลจิต หรือ จิตโทสะนั่นเองครับ ซึ่งในสัจจะความจริง สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมอะไร ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ซึ่ง ความไม่ชอบ ไม่ว่าของใคร ก็เป็นอกุศลจิต เป็นส่วนที่สะสมมา ที่เป็นอกุศล เพราะยังมี โทสะที่สะสมมาในอดีตชาติ ทำให้เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมก็เกิด โทสะ ความไม่ชอบเกิดขึ้นได้ ครับ

ดังนั้น โทสะ ความไม่ชอบ ไม่พอใจของใคร ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย แม้แต่อกุศลของตนเอง คือ ความไม่พอใจ ไม่ชอบ เป็นต้น ก็ไม่สามารถบังคับได้ เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้น จะกล่าวไปไยถึงอกุศลของผู้อื่น ครับ ก็ไม่สามารถบังคับได้เช่นกัน

ดังนั้น อกุศลของใครก็ของคนนั้น สำคัญที่ใจเรา ครับ และ ความประพฤติของเราเป็นสำคัญ หากเราทำดีแล้ว เมื่อเราทำความดี มีการไม่ไปเที่ยว และแฟนเราก็ไม่ไปเที่ยวกลางคืน ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ส่วนคนอื่นจะเป็นอกุศล เพราะเราทำสิ่งที่ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องของคนอื่น ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย จึงไม่มีใครที่จะห้ามระงับ อกุศลของคนอื่นได้ เพราะเป็นเรื่องกิเลสของเขาเองครับ

ดังนั้นเราจะไม่เปลี่ยนการกระทำที่ถูกต้อง เพียงเพื่อให้คนอื่น หรือ คนใกล้ตัวสบายใจ หรือ ไม่เป็นอกุศล ครับ ความดี ควรทำ ไม่ว่า คนอื่นจะเป็นอย่างไร แม้พระพุทธเจ้าทำดี แต่คนบางคนก็เป็นอกุศล แต่คนบางคนก็เกิดกุศล บรรลุธรรม พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกับบิดา มารดาได้บรรลุธรรม แต่ผู้เป็นบุตรสาว กลับโกรธแค้นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะทำอย่างไรได้ ในอกุศลจิตของผู้อื่นที่เขาสะสมอกุศลมาครับ

แม้พระพุทธองค์ยังทำอะไรไม่ได้เลย เพราะใจใครก็ใจใครครับ ดังนั้นทำความดีต่อไป สบายใจที่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และเพื่อนที่ดีจริงๆ ย่อมยินดี พอใจในความถูกต้องในสิ่งที่เรากระทำ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
autobluesky
วันที่ 16 มี.ค. 2555

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20799 ความคิดเห็นที่ 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตามความเป็นจริง ชีวิตของคนเรา มีอยู่ ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นการได้รับผลของกรรม เช่น ขณะที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย รวมไปถึง ขณะที่หลับสนิท ด้วย ถ้าไม่มีกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตเป็นปัจจัย วิบากจิต ซึ่งเป็นการได้รับผลของกรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ และ อีกส่วนหนึ่ง เป็นส่วนของการสะสมเหตุ คือ เป็นกุศล กับเป็นอกุศล (มีความไม่ชอบ เป็นต้น) นี้ก็ขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคล ไม่มีใครกำหนด ไม่มีใครบังคับ แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ครับ

ซึ่ง จากคำถาม ที่กล่าวว่า เพื่อนแฟนไม่ชอบ ความไม่ชอบเป็นสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นความไม่พอใจ ที่เป็นโทสมูลจิต หรือ จิตโทสะนั่นเองครับ ซึ่งในสัจจะความจริง สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมอะไร ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ซึ่ง ความไม่ชอบ ไม่ว่าของใคร ก็เป็นอกุศลจิต เป็นส่วนที่สะสมมา ที่เป็นอกุศล เพราะยังมีโทสะที่สะสมมาในอดีตชาติ ทำให้เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อม ก็เกิด โทสะ ความไม่ชอบเกิดขึ้นได้ ครับ

ดังนั้น โทสะ ความไม่ชอบ ไม่พอใจของใคร ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย แม้แต่อกุศลของตนเอง คือ ความไม่พอใจ ไม่ชอบ เป็นต้น ก็ไม่สามารถบังคับได้ เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้น จะกล่าวไปไยถึงอกุศลของผู้อื่น ครับ ก็ไม่สามารถบังคับได้เช่นกัน

ดังนั้น อกุศลของใครก็ของคนนั้น สำคัญที่ใจเรา ครับ และ ความประพฤติของเราเป็นสำคัญ หากเราทำดีแล้ว เมื่อเราทำความดี มีการไม่ไปเที่ยว และแฟนเราก็ไม่ไปเที่ยวกลางคืน ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ส่วนคนอื่นจะเป็นอกุศล เพราะเราทำสิ่งที่ถูกต้อง ก็เป้นเรื่องของคนอื่น ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย จึงไม่มีใครที่จะห้ามระงับอกุศลของคนอื่นได้ เพราะเป็นเรื่องกิเลสของเขาเองครับ

ดังนั้นเราจะไม่เปลี่ยนการกระทำที่ถูกต้อง เพียงเพื่อให้คนอื่น หรือ คนใกล้ตัวสบายใจ หรือ ไม่เป็นอกุศล ครับ ความดี ควรทำ ไม่ว่า คนอื่นจะเป็นอย่างไร แม้พระพุทธเจ้าทำดี แต่คนบางคนก็เป็นอกุศล แต่คนบางคนก็เกิดกุศล บรรลุธรรม พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกับ บิดา มารดาได้บรรลุธรรม แต่ผู้เป็นบุตรสาว กลับโกรธแค้นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะทำอย่างไรได้ ในอกุศลจิตของผู้อื่นที่เขาสะสมอกุศลมาครับ

แม้พระพุทธองค์ยังทำอะไรไม่ได้เลย เพราะใจใครก็ใจใครครับ ดังนั้นทำความดีต่อไป สบายใจที่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และเพื่อนที่ดีจริงๆ ย่อมยินดี พอใจในความถูกต้องในสิ่งที่เรากระทำ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

ดีใจมากเลยครับที่ผมได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

ขอขอบพระคุณ คุณPaderm ด้วยนะครับ

ทำให้ผมคิดอะไรหลายๆ อย่าง ผมจะทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไปครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ขอบคุณด้วยใจ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 16 มี.ค. 2555

ถ้าเราทำดี มีเมตตากับทุกคน ใครจะชอบหรือไม่ชอบเรา ช่างเขา ถ้าเรามั่นคง ในเรื่องของกรรม และ ผลของกรรม เราก็จะไม่ประมาทประกอบแต่กุศลกรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
autobluesky
วันที่ 16 มี.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20799 ความคิดเห็นที่ 3 โดย wannee.s ถ้าเราทำดี มีเมตตากับทุกคน ใครจะชอบหรือไม่ชอบเรา ช่างเขา ถ้าเรามั่นคง ในเรื่องของกรรม และ ผลของกรรม เราก็จะไม่ประมาท ประกอบแต่กุศลกรรม ค่ะ

ผมจะตั้งใจทำดีต่อไปครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
sirijata
วันที่ 16 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาในกุศลของทุกท่านค่ะ

อเสวนา จ พาลานัง ไม่ควรคบคนพาล คนที่ไม่ชอบเรา โดยที่เราไม่ได้ไปทำร้ายเขา ก็ถือว่ามีส่วนเป็นคนพาล (หาเรื่อง) พยายามหลีกเลี่ยง แต่ก็มีเมตตา มีไมตรี ความเป็นมิตรให้เขา ถ้ามีโอกาสช่วยเหลือเมื่อเขาเดือดร้อน ก็ช่วย ถ้าไม่มีโอกาส ก็อยู่ห่างๆ ไว้จะดีกว่าการเที่ยวกลางคืน ถือว่าไปในสถานที่อโคจร คือสถานที่ไม่ควรไป เพราะ โอกาสจะได้รับความเดือดร้อนกาย เดือดร้อนใจ ได้รับอันตราย ย่อมมีมากกว่าปกติ และที่สำคัญโอกาสทำอกุศลมีมาก การคบคนชอบเที่ยวกลางคืน คบได้ คบในส่วน ที่ดีของเขา ส่วนที่ไม่ดี คือเที่ยวกลางคืน ก็ไม่คบ คือไม่ไปเที่ยวกลางคืนด้วย ถ้าเที่ยว ก็เที่ยวกลางวัน หรือในสถานที่ควรไปสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลอบายมุข

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 16 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปกติในชีวิตประจำวัน บุคคลแต่ละบุคคล มีอกุศลมากด้วยกันทั้งนั้น ทั้งความติดข้อง ยินดีพอใจ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เป็นต้น แต่ถ้าถึงกับที่จะต้องล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้น ขณะนั้นแสดงให้เห็นถึงกำลังของกิเลสว่ามีมาก ผู้ที่มีปัญญา ท่านจึงเห็นโทษแม้ในอกุศลเพียงเล็กน้อย การที่บุคคลอื่นเขาไม่ชอบเรา แท้ที่จริง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนเลย แต่เป็นเพราะอกุศลธรรมที่มีกำลังเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่เท่านั้น

เมื่อพบเห็นบุคคลผู้ประพฤติไม่ดีเช่นนี้ จึงไม่ควรที่จะเพิ่มกิเลสให้กับตนเองด้วยการไปโกรธหรือผูกโกรธเขา (ขณะที่เราโกรธเขา ก็เป็นอกุศลของเราเอง และไม่เป็นมิตรกับบุคคลนั้นด้วย) แต่ควรที่จะสงสารเขา เพราะเขากำลังสะสมเหตุที่ไม่ดีให้กับตัวเขาเอง และเป็นความจริงที่ว่า ความโกรธ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เมื่อมีเหตุที่จะทำให้ความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธก็เกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา ถ้าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมฟังพระธรรม จนกระทั่งมีความเข้าใจสภาพธรรม ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความเข้าใจว่าเป็นธรรมจริงๆ แล้ว ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ก็จะลดน้อยลง ทุกอย่างเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปเท่านั้นจริงๆ จึงไม่ควรโกรธใครเลยทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในชีวิตประจำวัน อย่างแท้จริง ทำให้ทุกคนมีที่พึ่ง นั่นก็คือ ปัญญา (ความเข้าใจถูก) ของแต่ละบุคคล นั่นเอง ครับ ขอปิดท้ายด้วยประโยคที่ควรเก็บไว้ในหทัย (ไม่ลืม) ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้กล่าวเตือนไว้ ไพเราะมากทีเดียว ดังนี้.-

เขาไม่ชอบเรา ใครกันแน่ที่เป็นทุกข์?

ใครจะรัก ใครจะชัง ใครจะไปเปลี่ยนแปลงได้ แต่ใจเรา ล่ะ เป็นอย่างไร?

ถึงแม้ว่าคนอื่นเขาจะร้าย แต่ใจเราไม่ร้าย ได้หรือไม่?

ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้น ประทุษร้ายใคร ต้องตัวเองก่อนอย่างแน่นอน

ขณะที่ให้อภัย ใครได้ประโยชน์? เมตตา เกิด จะไม่เกลียดใครเลย

สะสมความโกรธไปทีละเล็กทีละน้อย แล้วความสุขจะมาจากไหน?

ธรรม บังคับบัญชาไม่ได้ บังคับไม่ให้ไม่โกรธ ก็ไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัย ความโกรธ ก็เกิดขึ้น แต่ต้องรู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดี อกุศลทั้งหลาย ไม่มีอะไรดีเลย

เมื่อคนอื่นเขาพูดไม่ดี ทำไม่ดี ก็เป็นเรื่องของเขา ไม่เกี่ยวกับเราเลย ทำไมจะต้องไปเก็บเอาความไม่ดีของผู้อื่นมาใส่ไว้ในใจของตนเอง ด้วยล่ะ.

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 16 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ความดี ควรทำ ไม่ว่า คนอื่นจะเป็นอย่างไร"

"ไม่ควรเพ่งโทษในอกุศลจิตของคนอื่น"

"อกุศลของใครก็ของคนนั้น สำคัญที่ใจเรา"

"คิดดี ทำดี พูดดี"

ขอบคุณ และขออนุโมทนา อ.ผเดิมและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
รากไม้
วันที่ 16 มี.ค. 2555

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ

๑. ในสภาพที่ยังมีความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ... ให้ยอมรับความหลากหลายของบุคคล ที่มีจิตคิดปรุงแต่งไปต่างๆ กันตามการสะสม โดยที่เราไปบังคับไม่ได้ว่า จะให้ใครคิดเหมือนเรา เป็นการยากที่คิดจะไปเปลี่ยนแปลงความคิดเขาโดยที่เรายังไม่มีปัญญาที่จะไปทำเหตุให้เขาเปลี่ยน, และความคิดคนทุกคน ก็ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุปัจจัยทำให้เปลี่ยนไป ทั้งในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้ คนที่ชื่นชอบเราในวันนี้ อาจจะรังเกียจเราในวันหน้าก็ได้

๒. ถ้าบุคคลที่รังเกียจเรานั้นเป็นคนพาล รังเกียจในสิ่งที่เราทำถุกต้องดีแล้ว เราก็ไ่ม่ควรเดือดร้อน หากจะมีคนรังเกียจเราบ้าง ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดา, เราไม่ควรไปขุ่นเคืองใจ แต่ควรจะเมตตาเขาที่เขายังไม่มีโอกาสได้อบรม ให้รู้จักว่าอะไรถูกอะไรผิด และหากมีโอกาสอันควรจริงๆ ก็ควรจะสอนเขาให้รู้จักในสิ่งที่ถูกต้อง ให้รู้จักทำกรรมอันไม่มีโทษต่างๆ เพื่อเป็นธรรมทานแก่เขาตามกำลังปัญญาของเรา

๓. แต่ถ้าหาก บุคคลที่รังเกียจเรานั้นเป็นบัณฑิต นั่นแสดงว่าเราน่าจะไม่ดีจริงๆ บัณฑิตจึงรังเกียจเพราะเขารู้ว่าตามความจริงว่าเรามีข้อไม่ดีอะไรบ้าง เราก็ควรพิจารณาตนเอง เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ตามกำลังปัญญา ..แต่โดยปกติแล้วบัณฑิตจะไม่แสดงความรังเกียจตรงๆ แ่ต่จะหนีห่าง ไม่อยู่ใกล้ ไม่คบหาคนพาล เพราะคนพาลจะนำความเดือดร้อนไปให้เขาได้ และในขณะเดียวกันคนพาลก็จะไม่ค่อยคบหาบัณฑิตด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นคนละเหตุผลกันจากข้อ ๒ และ ๓ ... กล่าวคือ ไม่ใช่ว่าให้ปล่อยวาง ไม่สนใจไปเสียทั้งหมดว่า ใครจะคิดต่อเราอย่างไรบ้าง แต่ให้พิจารณาโดยละเอียด ไปถึงเหตุของความรังเกียจนั้น เช่น เขาเป็นใคร รังเกียจในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยปัญญาระดับนึง ที่จะทราบได้ว่าใครเป็นคนพาล ใครเป็นบัณฑิต อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรทำ อะไรไม่ควร และเรายังมีอะไรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นจริงๆ หรือไม่ ถ้าดีอยู่แล้วจริงก็ต้องมั่นคงในความดี มุ่งกระทำความดีต่อไปตามเดิม

๔. หากขุ่นเคืองใจครั้งใด ก็ควรพิจารณาให้รู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นเพราะจิตใจตนเองนั่นแหละที่มีกิเลส มีความต้องการให้คนรอบๆ ชอบเรา พึงพอใจเรา แต่เมื่อมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นตามต้องการ จึงเกิดความไม่สบายใจเกิดขึ้นทันที เพราะพบกับสิ่งที่เราไม่ชอบใจ และไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ซึ่งควรทราบตามความเป็นจริงว่า การหวังอย่างนี้เป็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงควรค่อยๆ อบรมเพื่อละทิ้งความต้องการเช่นนั้นด้วย

๕. ส่วนการอบรมในขั้นสูง ให้ไปถึงระดับที่จะวางเฉยเป็นอุเบกขาทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่ควรศึกษา ควรเรียนรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น การเจริญสติปัฏฐาน ระลึกรู้ว่าทุกสิ่งที่ถูกเห็น เป็นเพียงรูปที่ปรากฎทางตา เป็นรูปที่ไม่รู้อะไร แต่จิตนั้นนั่นเองที่ไปรู้รูปารมณ์นั้นแล้วมีการปรุงแต่งการคิดนึกไปตามการสะสมของจิต บังคับบัญชาไม่ได้ และเมื่อคิดถึงสิ่งใดผ่านไปแล้ว ก็หมดไปแล้วไม่มีส่วนเหลือ โดยทั้งหมดเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของจิตและสังขารธรรม จึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นจนเกิดความเดือดร้อนใจ ..โดยเห็นทุกอย่างโดยความเป็นธาตุที่เพียงเกิดแล้วดับไปทันที ละความยึดถือว่าธาตุที่ประชุมรวมกันนั้นเป็นตัวตน ฯลฯ ... เป็นต้น

ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
autobluesky
วันที่ 16 มี.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20799 ความคิดเห็นที่ 5 โดย sirijata

ขออนุโมทนาในกุศลของทุกท่านค่ะ

อเสวนา จ พาลานัง ไม่ควรคบคนพาล คนที่ไม่ชอบเรา โดยที่เราไม่ได้ไปทำร้ายเขา

ก็ถือว่ามีส่วนเป็นคนพาล (หาเรื่อง) พยายามหลีกเลี่ยง แต่ก็มีเมตตา มีไมตรี ความ

เป็นมิตรให้เขา ถ้ามีโอกาสช่วยเหลือเมื่อเขาเดือดร้อน ก็ช่วย ถ้าไม่มีโอกาส ก็อยู่ห่างๆ

ไว้จะดีกว่าการเที่ยวกลางคืน ถือว่าไปในสถานที่อโคจร คือสถานที่ไม่ควรไป เพราะ

โอกาสจะได้รับความเดือดร้อนกาย เดือดร้อนใจ ได้รับอันตราย ย่อมมีมากกว่าปกติ

และที่สำคัญโอกาสทำอกุศลมีมาก การคบคนชอบเที่ยวกลางคืน คบได้ คบในส่วน

ที่ดีของเขา ส่วนที่ไม่ดี คือเที่ยวกลางคืน ก็ไม่คบ คือไม่ไปเที่ยวกลางคืนด้วย ถ้า

เที่ยว ก็เที่ยวกลางวัน หรือในสถานที่ควรไป สถานที่ปลอดภัย ห่างไกลอบายมุข

ขอบคุณด้วยใจ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
autobluesky
วันที่ 16 มี.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20799 ความคิดเห็นที่ 6 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปกติในชีวิตประจำวัน บุคคลแต่ละบุคคล มีอกุศลมากด้วยกันทั้งนั้น ทั้งความติดข้องยินดีพอใจ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เป็นต้น แต่ถ้าถึงกับที่จะต้องล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้น ขณะนั้นแสดงให้เห็นถึงกำลังของกิเลสว่ามีมาก ผู้ที่มีปัญญา ท่านจึงเห็นโทษแม้ในอกุศลเพียงเล็กน้อย การที่บุคคลอื่นเขาไม่ชอบเรา แท้ที่จริง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนเลย แต่เป็นเพราะอกุศลธรรมที่มีกำลังเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่เท่านั้น เมื่อพบเห็นบุคคลผู้ประพฤติไม่ดีเช่นนี้ จึงไม่ควรที่จะเพิ่มกิเลสให้กับตนเองด้วยการไปโกรธหรือผูกโกรธเขา (ขณะที่เราโกรธเขา ก็เป็นอกุศลของเราเอง และไม่เป็นมิตรกับบุคคลนั้นด้วย) แต่ควรที่จะสงสารเขา เพราะเขากำลังสะสมเหตุที่ไม่ดีให้กับตัวเขาเอง และเป็นความจริงที่ว่า ความโกรธ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เมื่อมีเหตุที่จะทำให้ความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธก็เกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา ถ้าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมฟังพระธรรม จนกระทั่งมีความเข้าใจสภาพธรรม ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความเข้าใจว่าเป็นธรรมจริงๆ แล้ว ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ก็จะลดน้อยลง ทุกอย่างเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปเท่านั้นจริงๆ จึงไม่ควรโกรธใครเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในชีวิตประจำวัน อย่างแท้จริง ทำให้ทุกคนมีที่พึ่ง นั่นก็คือ ปัญญา (ความเข้าใจถูก) ของแต่ละบุคคล นั่นเอง ครับ ขอปิดท้ายด้วยประโยคที่ควรเก็บไว้ในหทัย (ไม่ลืม) ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวน-เขตต์ ได้กล่าวเตือนไว้ ไพเราะมากทีเดียว ดังนี้.-

เขาไม่ชอบเรา ใครกันแน่ที่เป็นทุกข์?

ใครจะรัก ใครจะชัง ใครจะไปเปลี่ยนแปลงได้ แต่ใจเรา ล่ะ เป็นอย่างไร?

ถึงแม้ว่าคนอื่นเขาจะร้าย แต่ใจเราไม่ร้าย ได้หรือไม่?

ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้น ประทุษร้ายใคร ต้องตัวเองก่อนอย่างแน่นอน ขณะที่ให้อภัย ใครได้ประโยชน์? เมตตา เกิด จะไม่เกลียดใครเลย สะสมความโกรธไปทีละเล็กทีละน้อย แล้วความสุขจะมาจากไหน? ธรรม บังคับบัญชาไม่ได้ บังคับไม่ให้ไม่โกรธ ก็ไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัย ความโกรธ ก็เกิดขึ้น แต่ต้องรู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดี อกุศลทั้งหลาย ไม่มีอะไรดีเลย เมื่อคนอื่นเขาพูดไม่ดี ทำไม่ดี ก็เป็นเรื่องของเขา ไม่เกี่ยวกับเราเลย ทำไมจะต้องไปเก็บเอาความไม่ดีของผู้อื่นมาใส่ไว้ในใจของตนเอง ด้วยล่ะ. ...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

ขอบคุณด้วยใจครับ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
autobluesky
วันที่ 16 มี.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20799 ความคิดเห็นที่ 7 โดย เซจาน้อย

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

" ความดี ควรทำ ไม่ว่า คนอื่นจะเป็นอย่างไร"

"ไม่ควรเพ่งโทษในอกุศลจิตของคนอื่น"

"อกุศลของใครก็ของคนนั้น สำคัญที่ใจเรา"

"คิดดี ทำดี พูดดี"

ขอบคุณ และขออนุโมทนาอ.ผเดิมและทุกๆ ท่านครับ


ขอบคุณด้วยใจครับ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Yongyod
วันที่ 16 มี.ค. 2555

เมตตาจริงๆ เกิดให้ได้แม้กับ คนที่มีอกุศลที่ไม่ชอบเรา

เพียรเจริญกุศล

เป็นหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ