ทสุตตรสูตร [หมวด ๑๐] ... วันเสาร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕

 
มศพ.
วันที่  21 เม.ย. 2555
หมายเลข  21004
อ่าน  2,118

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕

เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

๑๑. ทสุตตรสูตร

(ว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งไปจนถึงสิบ)

...จาก...

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๔๘


(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๗ ม.ค. ๒๕๕๕)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์และ คณะวิทยากร

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๔๘

๑๑. ทสุตตรสูตร

(ว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งไปจนถึงสิบ)

[นำมาเพียงบางส่วน]

[๓๖๔] ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ .-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อ คัคครา ใกล้เมืองจำปา.

ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ภิกษุเหล่านั้น รับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า

[๓๖๕] เราจักกล่าวทสุตตรสูตร อันเป็นธรรมเพื่อ ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพื่อ บรรลุถึงพระนิพพานเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์.

... ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐

[๔๖๕] ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่าง ควรเจริญ ธรรม ๑๐ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่าง ควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วน เสื่อม ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๑๐ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.

[๔๖๖] ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน? ได้แก่ นาถกรณธรรม ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังปาติโมกข์ ถึงพร้อมอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุมีศีลสำรวมระวังโนปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมที่งามในเบื้อง ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ย่อมประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอสดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอดทิฏฐิ ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต . . . แทง ตลอดด้วยทิฏฐิ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี. ข้อที่ภิกษุมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ว่าง่ายประกอบด้วยธรรมที่กระทำ ให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวาแม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่ น้อยของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัด ในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่ง ในอภิธรรม ในอภิวินัย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรมเจรจาน่ารักมีความปราโมทย์ยิ่งใน อภิธรรม ในอภิวินัย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัช บริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมเพื่อจะยังกุศล ธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีกำลัง มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ . . . แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนานได้. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนานได้. แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดและ ความดับเป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ... ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก

[๔๖๘] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อายตนะ ๑๐ คือ จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะคันธายตนะ ชิวหา- ยตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ธรรม๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.

[๔๖๙] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรละ เป็นไฉน? ได้แก่ มิจฉัตตะ ๑๐ คือ เห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด อาชีพผิด ความพยายามผิด ระลึกผิด ตั้งมั่นผิด รู้ผิด พ้นผิด. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรละ.

[๔๗๐] ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน? ได้แก่ อกุศล- กรรมบถ ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิด จากคลองธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.

[๔๗๑] ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน? ได้แก่กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของ เขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.

จบ ทสุตตรสูตร

ในส่วนธรรมหมวด ๑๐ ที่นำมาบางส่วน เพียงเท่านี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ทสุตตรสูตร

[ในส่วน ธรรมหมวด ๑๐] ท่านพระสารีบุตร แสดงทสุตตรสูตร แก่พระภิกษุทั้งหลาย ในส่วนของธรรมหมวด๑๐ ดังนี้ ธรรมหมวด ๑๐ ที่มีอุปการะมาก ได้แก่ นาถกรณธรรม (ธรรมที่กระทำให้มีที่พึ่ง,ธรรม

ที่เป็นที่พึ่ง) ๑๐ ประการ ได้แก่ ดังนี้ -มีศีล -สดับตรับฟังพระธรรม

-มีมิตรดี

-ว่าง่าย น้อมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ -ขยันไม่เกียจคร้านในกิจน้อยใหญ่ของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน

-ใคร่ในธรรม

-มีความสันโดษ

-มีสติและมีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน

-ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรม -มีปัญญาเห็นความเกิดดับ อันเป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ธรรมหมวด ๑๐ ที่ควรกำหนดรู้ ได้แก่ อายตนะ ๑๐ คือ ตา สี หู เสียง จมูก กลิ่น

ลิ้น รส กาย และ โผฏฐัพพะ ธรรมหมวด ๑๐ ที่ควรละ ได้แก่ มิจฉัตตะ (สิ่งที่ผิด,ความเป็นผิด) ๑๐ อย่าง ได้แก่ความเห็นผิด ดำริผิด วาจาผิด การงานผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด สมาธิผิด รู้ผิด และ พ้นผิด

ธรรมหมวด ๑๐ ที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ได้แก่ อกุศกรรมบถ ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็ง อยากได้ของของผู้อื่น พยาบาทปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด

ธรรมหมวด ๑๐ ที่เป็นไปในส่วนวิเศษ ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ มี การเว้นจากการฆ่า สัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติในกาม เป็นต้น

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อาจาระและโคจร

เป็นผู้ว่าง่าย...ไม่ใช่เป็นผู้เชื่อง่าย

เพราะไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อมรอบ

สันโดษ สันตุฏฐิกถา

มิจฉัตตะ๑๐จึงพลาดจากสวรรค์และมรรคผล [มิจฉัตตสูตร]

กุศลกรรมบถ 10 กับบุญกริยาวัตถุ 10 ต่างกันอย่างไร

อกุศลกรรมบถ ๑๐ [สังคีติสูตร]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 22 เม.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
vallada
วันที่ 28 เม.ย. 2555

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ