กรรมที่เว้นจากการให้ผล
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความที่ผู้ถามยกมานั้น มีดังนี้
เมื่อบุคคล เป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพ ตลอดคืนและวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้นจากการให้ผลพึงมี.
เรื่องกรรมเป็นเรื่องละเอียดมากครับ กรรมบางอย่างให้ผลก็มี กรรมบางอย่างไม่ให้ผล ก็มี ที่เรียกว่า อโหสิกรรม ที่ไม่ให้ผลเพราะ กรรมอื่นมาตัดรอน เพราะฉะนั้น กรรมที่เว้น จากการให้ผลพึงมี หมายถึง หากบุคคลนั้นทำกรรมดี อบรมปัญญา บรรลุเป็นพระโสดาบัน แทนที่จะไปนรก ก็พ้นจากนรกได้ เพราะ กรรมดี คือ การบรรลุเป็นพระโสดาบัน ตัดรอนให้ไม่ต้องเกิดในอบายภูมิอีกนั่นเองครับ หรือ ดังเช่น พระองคุลิมาล ท่านทำกรรมชั่วไว้มาก แทนที่ท่านจะต้องตกนรก แต่เพราะท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ จะไม่เกิดอีก เพราะฉะนั้น กรรมชั่วที่จะทำให้ไปนรก ก็ไม่สามารถให้ผลได้ เป็นกรรมที่เว้นจากการให้ผล ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
ผมฟังอาจารย์สุจินต์บรรยายคร่าวๆ จำได้ว่า พระสารีบุตร เป็นผู้แสดงธรรมบทนี้ว่า อโหสิกรรมมี ๖ ประเภท และอโหสิกรรมประเภทที่ไม่ให้ผลคือ ผู้ที่บรรลุพระอรหันต์ ไม่เกิดดับอีก และผู้ที่บรรลุพระอรหันต์แล้วมีแต่กิริยาจิต ไม่มีอกุศลหรือกุศลจิต จึงไม่ให้ผลในภายภาคหน้า. ผิดถูกอย่างไรช่วยแนะนำด้วยครับ
ขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 3 ครับ
อโหสิกรรม มีหลากหลายนัย ครับ ซึ่ง อโหสิกรรม มุ่งหมายถึง กรรมที่ไม่สามารถให้ผลได้ ในความเป็นจริง ชวนจิต เจ็ด ขณะ ชวนจิตขณะที่ หนึ่ง ให้ผลในชาตินี้ ชวนจิต ชาติที่สอง ถึง หก ให้ผลในชาติถัดๆ ไป ชวนจิต ขณะที่ เจ็ด ให้ผลในชาติ หน้า ดังนั้น ถ้ากรรมบางอย่างที่จะให้ในชาติหน้า ต้องตกนรก คือ ชวนจิตดวงที่ เจ็ด จะให้ผล คือ เกิดในนรก แต่ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันก่อน ก็ทำให้ อกุศลกรรมที่เป็น ชวนจิตขณะที่ เจ็ด ไม่สามารถให้ผลในชาติหน้าได้ ชวนจิตขณะที่เจ็ด จึงเป็นอโหสิกรรมไป คือ กรรมมีแต่ไม่สามารถให้ผลได้ เพราะถูกกรรมอื่นตัดรอน นี่ก็เป็นอโหสิกรรม อีกนัยหนึ่ง ส่วน การบรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็ห้าม ชวนจิต ขณะที่ สอง ถึง เจ็ด ไม่ให้ผล อีกได้ เพราะท่านจะไม่เกิดอีกครับ แต่ กรรมที่เป็นชวนจิต ขณะที่ หนึ่ง สามารถให้ผลได้ คือ ให้ผลในชาติปัจจุบัน มีท่านพระองคุลิมาล ถูกก้อนหิน เลือดไหลเมื่อเป็พระอรหันต์ แล้ว ครับ แต่ท่านไม่ต้องตกนรกในชาติหน้าและชาติถัดๆ ไป
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว กรรมมีทั้งกรรมดี (กุศล กรรม) และกรรมที่ไม่ดี (อกุศลกรรม) ตัวอย่างของกรรมดี เช่น การให้ทาน การรักษา ศีล การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นต้น กรรมที่ไม่ดี เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามเป็นต้น
กรรมทั้งสองอย่างนี้ไม่ปะปนกัน และให้ผลต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าถึงคราวที่อกุศล กรรมให้ผล ก็ทำให้ได้รับผลที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ก็ทำให้ได้รับผลที่ดี น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น การเกิดในสุคติภูมิเป็นผลของกุศลกรรม การเกิดในอบายภูมิเป็นผลของอกุศลกรรม
บุคคลผู้ที่มีปัญญา มีความมั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรม ย่อมจะเป็นผู้ไม่ประมาทในการเจริญกุศลประการต่างๆ และละเว้นจากอกุศลกรรมทุกอย่างโดยประการทั้งปวง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...