การปฏิบัติธรรม
เมื่ออ่านคำอธิบายของอาจารย์ผเดิมแล้ว
คุณอรรถวาทีอาจศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความเห็นถูกได้อีกที่ลิงก์นี้ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่การนั่งสมาธิ แต่ เป็นการรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ ที่ปรากฎในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงไม่ได้แยกจากชีวิตประจำวัน เพราะ ปฏิบัติ คือ การถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม และ ธรรมก็ไม่ได้อยู่ในขณะที่นั่ง ในห้องปฏิบัติ ขณะนี้มีธรรมให้รู้ เห็น ได้ยิน คิดนึก โกรธ โลภ ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมที่ควรู้ ควรรู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา
การปฏิบัติธรรม จึงเป็นการเจริญสติปัฏฐานที่ไม่ใช่การนั่งสมาธิแต่อย่างใดเลย เพราะฉะนั้น แม้แต่ขณะที่มีความคิดนึกในเรื่องอดีต ขณะนั้นอะไรมีจริง คิดมีจริง ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง จึงไม่ทำให้ใจเดือดร้อนว่า ยังคิดเรื่องอดีตอยู่ เพราะอยากให้ใจเป็นสมาธิ แต่ การปฏิบัติที่ถูกต้องที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน คือ การรู้สภาพธรรมที่กำลังเกิด แม้แต่การคิดเรื่องอดีต คิดมีจริง ขณะที่คิด ไม่ใช่เราที่คิด แต่เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คือ จิตที่คิดนึก การรู้ความจริงว่าเป็นแต่เพียง จิต ไม่ใช่เราที่คิด ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแล้ว เพราะมีปัญญาเกิดรู้ความจริง
ดังนั้น กล่าวได้ว่า ที่ใด เมื่อไหร่ที่ปัญญาเกิด ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติธรรม เพราะ หากไม่มีปัญญา มีแต่ความสงบนิ่ง โดยที่ไม่รู้อะไร ก็ไม่ใช่ พุทธ ผู้รู้ ที่เป็น เรื่องของปัญญาเป็นสำคัญ เพราะ ปัญญานั่นเองที่จะเป็นธรรมที่สามารถดับกิเลสได้ ความไม่รู้ ความนิ่ง ความสงสัย ไม่สามารถดับกิเลสได้ ซึ่งปัญญาจะเจริญได้ ไม่ใช่ด้วยการนั่งสมาธิ แต่ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม และเมื่อใดปัญญาเจริญขึ้นมากจากการฟังพระธรรม สติและปัญญาก็จะเกิดรู้ความจริงในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องไปนั่ง หรือ อยู่ในห้อง เพราะ ธรรมมีอยู่ในชีวิตประจำวัน ขณะที่รู้ความจริงในชีวิตประจำวัน ด้วยสติและปัญญาที่เกิดขึ้น อันเกิดจากากรฟังพระธรรม ขณะนั้นปฏิบัติธรรมแล้ว แม้จะไม่เรียก ไม่กล่าวว่า ปฏิบัติธรรม เพราะ สติและปัญญา ปฏิบัติหน้าที่รู้ธรรมตามความเป็นจริง ครับ
ดังนั้นแทนที่จะพัฒนาการนั่งสมาธิ ก็มาพัฒนาความเข้าใจพระธรรมในขั้นการฟัง จะเป็นหนทางที่ถูกต้อง
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
เมื่ออ่านคำอธิบายของอาจารย์ผเดิมแล้ว
คุณอรรถวาทีอาจศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความเห็นถูกได้อีกที่ลิงก์นี้ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จุดประสงค์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง ดังนั้น เมื่อได้ยินได้ฟังคำอะไร ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า สิ่งนั้น คือ อะไร
และประการที่สำคัญ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ทุกคำ ทุกพยัญชนะ เพื่อให้เข้าใจความจริง แม้แต่ คำว่า สมาธิ ก็เช่นเดียวกัน
สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว เป็นเจตสิกประการหนึ่งที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด
อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ และ ก็จะต้องมีสมาธิซึ่งเป็นเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกครั้งทุกขณะ ไม่เว้นเลย ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ ดังนั้น ไม่ว่า จะนั่ง จะยืน จะนอน จะเดิน จึงไม่ปราศจากสมาธิเลย เพราะเกิดกับจิตทุกขณะ และที่ควรพิจารณาคือ สมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิก เกิดกับอกุศล ก็เป็นอกุศลสมาธิ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรประกอบ เพราะไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม มีปัญญาเป็นต้น มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้และอกุศลธรรมอื่นๆ ต่อไป
สมาธิที่ควรอบรม คือ สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นไปพร้อมกับการอบรมเจริญปัญญา (ภาวนา) ในชีวิตประจำวัน ภาวนาไม่ใช่การท่องบ่น แต่เป็นการอบรมเจริญปัญญา จากที่ยังไม่มีก็มีขึ้น เมื่อมีแล้ว ก็อบรมเจริญให้มีมากยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจะต้องตั้งต้นที่การฟังพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ
อีกคำหนึ่งที่ควรจะได้พิจารณา คือ ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำ เพราะเหตุว่า ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาด้วยความเป็นตัวตนหรือความติดข้องต้องการ แต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม นั่นก็คือ สติ และ สัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมไปตามลำดับ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติถูกต้อง ย่อมมีไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ความเข้าใจถูก เห็นถูก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องฟัง ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ จึงจะเข้าใจ และที่สำคัญ พระธรรม ทั้งหมดเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ที่สำคัญ คือ จะขาดการฟังพระธรรม ไม่ได้เลยทีเดียว ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความนี้เพิ่มเติม อีกครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เพียรนั่งมาตั้งหลายปี แล้วมีแต่ความกระวนกระวาย
ไม่ทราบว่าจะทรมานตัวเองไปถึงไหนคะ?
ความสงบเกิดได้ทุกขณะเมื่อใดที่จิตเป็นกุศล แมัไม่นั่งสมาธิ
ขณะที่ฟังธรรมขณะนั้นสงบ และถ้ามีความเข้าใจขณะนั้นมีปัญญา
ปัญญาจะเป็นตัวแยกแยะระหว่างกุศลและอกุศล
เมื่อกุศลเจริญขึ้น ความสงบก็มากขึ้นและมั่นคงขึ้นเองตามลำดับ
ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอนก็สงบได้ ... ถ้ามีปัญญาค่ะ