ผมไม่เข้าใจเรื่อง การบังคับบัญชาไม่ได้ของนามธรรมครับ

 
OEM
วันที่  26 ก.ย. 2549
หมายเลข  2197
อ่าน  1,497

ขณะหนึ่งที่ผมสนทนาอยู่กับเพื่อนเรื่อง อนัตตา ผมบอกเรื่องที่ โลภะและเจตนา ที่มีอยู่ในใจให้เพื่อนทราบว่า ต้องการได้ยินเสียงแก้ว ที่วางอยู่ตรงหน้าสองใบให้กระทบกันเสียงดัง กิ๊ก กิ๊ก เลยเอื้อมมือไปจับแก้ว แล้วนำเอาแก้วไปกระทบกัน จนได้ยินเสียง กิ๊ก กิ๊ก ตามต้องการ ซึ่งในเวลานั้นจะเอาดังกิ๊กๆ ก็ทำได้ตามที่ต้องการ ก็เลยมีความเห็นว่า ด้วย โลภะ และ เจตนา สามารถบังคับบัญชาให้ได้สิ่งที่ต้องการในบางขณะ ซึ่งเรื่องนี้ขัดแย้งกับเรื่อง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็น อนัตตา

จึงอยากได้คำแนะนำ ของผู้ที่เข้าใจในเรื่องนี้ดีครับ หลายๆ ท่าน หลายๆ ความเห็นยิ่งดีใหญ่เลยครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 ก.ย. 2549

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง จริงก็คือจริง บัณฑิตผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายไม่คัดค้านแล้ว แต่ปุถุชนผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลายไม่เห็นตามเป็นจริงตามที่ท่านยกตัวอย่าง เรื่องเสียงที่เกิดขึ้นตามที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันยาว ซึ่งขณะนั้นทั้งรูปและนามเกิดดับเพราะปัจจัยเป็นจำนวนหลายแสนโกฏิขณะ คือว่าโดยปรมัตถธรรม เสียงที่เกิดเพราะมีปัจจัย คือการกระทบกันของแข็ง (อุตุชรูป) เมื่อเกิดแล้วก็ดับไป เป็นอนัตตา และก่อนหน้านี้มีนามธรรมคือ จิตเจตสิกที่คิด เป็นเรื่องราวอีกเป็นจำนวนมาก มีรูปที่ทำให้เคลื่อนไหวไปเพราะจิตเป็นปัจจัย ต่อจากนั้นมีก็การกระทบกันของ ของแข็งจึงมีเสียงดัง คือถ้ากล่าวโดยนัยปรมัตถธรรม นามและรูปแต่ละขณะเกิดเพราะปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
devout
วันที่ 27 ก.ย. 2549

คงจะต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดการได้ยินเสียงนั้นใช่มั้ยคะ? ถ้าเกิดหูหนวก ขึ้นมาพอดีในขณะนั้น จะยังคงได้ยินเสียงแก้วกระทบกันหรือเปล่า? โสตปสาทเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ตราบใดที่กรรมนั้นยังให้ผล จิตได้ยินก็ยังคงเกิดขึ้นรับเสียงที่มากระทบ ถ้าถามคนหูหนวก คนหูหนวกก็ไม่ได้ยิน เสียงนั้นเกิดแล้วดับแล้ว จะให้กลับมาอีกก็ไม่ได้แล้วจะกล่าวว่าบังคับบัญชาได้อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
OEM
วันที่ 27 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 1 นะครับ นับจากที่ต้องการได้ยินเสียงแก้วกระทบกันดัง กิ๊ก กิ๊ก ก็ได้มีกระบวนการต่อเนื่องคือมีการเอื้อมมือไปจับแก้ว แล้วก็นำเอาแก้วไปกระทบกัน จนเกิดเสียงดังตามที่ต้องการนั้น ผมก็พอเข้าใจครับว่านี่เป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันยาว ซึ่งขณะนั้นทั้งรูปและนามเกิดดับเพราะปัจจัยเป็นจำนวนหลายแสนโกฏิขณะ แต่จุดที่มีความสงสัยก็คือ โลภะและเจตนาที่มีความต้องการได้ยินเสียงดัง กิ๊ก กิ๊ก นั้น ก็มีการเกิด-ดับไปด้วย แต่มีการเกิด-ดับสืบต่อเนื่องกันจนบรรลุเป้าหมาย คือทำให้เกิดเสียงดัง กิ๊ก กิ๊ก ตามที่ต้องการเลยเกิดความเห็นว่า นาม (โลภะและเจตนา) สามารถบังคับบัญชาให้ได้ในสิ่งที่ต้องการในบางขณะได้ นัยปรมัตถธรรม นาม (โลภะ เจตนา) และรูป (มือ แก้ว) แต่ละขณะเกิดเพราะปัจจัย ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตรงนี้ก็พอเข้าใจครับ ขอความกระจ่างเพิ่มเติมด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
OEM
วันที่ 27 ก.ย. 2549

ขอบคุณความคิดเห็นที่ 2 นะครับที่กรุณาแนะนำ พอดีมีเพื่อน print ตามหัวข้อที่แนะมา ให้อ่านแล้วครับ ตอนนี้กำลังทำความเข้าใจอยู่

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
OEM
วันที่ 27 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 3

พอดีเรื่องที่นำเอามาปรึกษาในเว็บบอรด์เป็นเรื่องจริงครับ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นจริง เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วและก็จบลงไปแล้ว ส่วนเรื่องที่คุณdevout สมมติว่าถ้าเกิดหูหนวกขึ้นมาพอดีในขณะนั้น จะยังคงได้ยินเสียงแก้วกระทบกันหรือเปล่า?คงเป็นการสมมติที่ทำให้การสนทนาห่างจากหัวข้อสงสัยออกไปนะครับ หัวข้อที่ผมสงสัยคือ โลภะ และ เจตนา ในขณะนั้น สามารถสืบทอดบังคับบัญชาให้ได้สิ่งที่ต้องการ ในบางขณะ ใช่หรือไม่ คือ ในขณะที่เกิดความต้องการได้ยินเสียงแก้วกระทบกันในเวลานั้น โลภะก็มีเจตนาก็มี เกิด-ดับ สืบทอดและบงการให้เอื้อมมือไปจับแก้ว แล้วนำไปกระทบกันจนเกิดเสียงดัง กิ๊ก กิ๊ก ตามที่ต้องการได้ยินในแต่แรก เลยทำให้เกิดความเห็นว่านาม (โลภะและเจตนา) สามารถบังคับบัญชาให้ได้ในสิ่งที่ต้องการในบางขณะได้ ช่วยสร้างความกระจ่างต่อนะครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pannipa.v
วันที่ 27 ก.ย. 2549

ย้อนไปถึงขณะนั้นก็ดับไปนานแล้ว ไม่มีทางรู้ได้ ถ้าย้อนไปแม้แต่คุณเองจำได้แน่ หรือว่าขณะนั้นจิตเป็นโลภะ หรือเจตนา เป็นกุศลหรืออกุศล เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมากขณะยกแก้วไปกระทบกัน จิตอาจจะคิดเรื่องอื่นแทรกคั่นก็ได้ นึกย้อนไปก็นึกถึงขณะจิตนั้นไม่ได้

อย่าไปนึกถึงเลยค่ะ เพราะคนอื่นบอกไม่ได้ เป็นปัจจัตตัง ขอยกคำท่านอาจารย์สุจินต์นะคะ ท่านกล่าวว่า พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ถ้าผู้ที่เข้าใจในอรรถ ก็จะเข้าใจตลอดไป แต่คนที่ไม่เข้าใจ ก็จะเป็นแต่เรื่องที่สงสัย หรือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดได้ แต่ธรรมต้องสอดคล้องกับส่วนอื่น เช่น ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เมื่อเป็นอนัตตา "เรา" ไม่มี ก็มีแต่ธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ที่จะปรากฏลักษณะของธรรมได้ ก็ต้องทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง รู้ว่าเป็นธรรมเท่านั้นที่ปรากกฏ ไม่ใช่เรา อาจไม่ช่วยให้กระจ่าง แต่ก็เป็นการร่วมสนทนากันนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
OEM
วันที่ 27 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 5 มีความต้องการ มีแก้ว มีประสาทหู ประกอบกันเป็นเหตุปัจจัย เสียงเกิดขึ้นดับไปเสียงเกิดขึ้นอีก ก็คนละเสียงกับเสียงที่ดับไป แล้วแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา ธรรมทุกอย่างเกิดขึ้นและไม่ได้ทนทานอยู่ได้ นั่นแหละครับอนัตตา

จากความเห็นของคุณ werayut.s เท่ากับมองว่า โลภะและเจตนาเป็นความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของเหตุปัจจัย ทำให้เกิดเสียงได้ดังที่ต้องการ ถึงแม้นตัวเสียงเองจะบังคับบัญชาไม่ได้ก็ตาม ซึ่งเป็นความเห็นด้วยกับความเห็นที่ผมมีในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องเสียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เสียงที่เกิดขึ้นอีกก็คนละเสียงกับเสียงที่ดับไปแล้ว ธรรมทุกอย่างเกิดขึ้นและไม่ได้ทนทานอยู่ได้คืออนัตตา ตรงนี้ผมก็เข้าใจอย่างนั้นครับ

นามธรรม (โลภะ และ เจตนา) สามารถบังคับบัญชาให้ได้สิ่งที่ต้องการในบางขณะ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
OEM
วันที่ 28 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 8

ย้อนไปถึงขณะนั้นก็ดับไปนานแล้ว ไม่มีทางรู้ได้ ถ้าย้อนไปแม้แต่คุณเองจำได้แน่หรือว่าขณะนั้นจิตเป็นโลภะ หรือเจตนา วันนี้ยังมีสัญญา ที่จดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะนั้นได้ครับว่า อยากได้ยินเสียงแก้วกระทบกัน (มีโลภะ เจตนา) แล้วก็มีรูป (มือ แก้ว) ที่เคลื่อนไหวเพราะมี จิต

เจตสิก เป็นปัจจัย ต่อจากนั้นก็มีการกระทบกันของๆ แข็ง (แก้ว) จึงมีเสียงดัง จริงอยู่ ความจำเป็นสัญญา เป็นอนัตตา แต่วันนั้นเจตนาและความติดข้องต้องการ ที่ต้องการ จะได้ยินเสียงแก้วกระทบกันก็ได้บรรลุผลตามความต้องการไปแล้ว

ขอยกคำท่านอาจารย์สุจินต์ นะคะ ท่านกล่าวว่า พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ถ้าผู้ที่เข้าใจในอรรถ ก็จะเข้าใจตลอดไป แต่คนที่ไม่เข้าใจ ก็จะเป็นแต่เรื่องที่สงสัย หรือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดได้ แต่ธรรมต้องสอดคล้องกับส่วนอื่น เช่นธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา เมื่อเป็นอนัตตา "เรา" ไม่มี ก็มีแต่ธรรม ซึ่งเป็นอนัตตา ที่จะปรากฏ ลักษณะของธรรมได้ ก็ต้องทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง รู้ว่าเป็นธรรมเท่านั้น ที่ปรากกฏ ไม่ใช่เรา

จากถ้อยคำของท่านอาจารย์สุจินต์ ที่ คุณpannipa.v ยกมา ผมก็เข้าใจตามที่ท่านอาจารย์ได้เมตตาสั่งสอนมาครับ ว่า ไม่มีเรา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ผมเป็นผู้ที่ยังอยู่ในกองกิเลส เป็นผู้ที่ยังมีความสงสัย เป็นผู้ที่ยังต้องรับฟังคำสั่งสอนของผู้รู้อีกมาก จึงได้มาตั้งกระทู้ ถามความคิดเห็น กับผู้ที่ศึกษาพระธรรมในเว็บบอรด์แห่งนี้ครับ

ขอบคุณนะครับ ยินดีร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
devout
วันที่ 28 ก.ย. 2549

" แต่วันนั้น เจตนาและความติดข้องต้องการที่ต้องการจะ ได้ยินเสียงแก้วกระทบกันก็ได้บรรลุผลตามความต้องการไปแล้ว " ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้เลยทำให้ท่านมั่นอกมั่นใจว่า...." สามารถบังคับบัญชาให้ได้ในสิ่งที่ต้องการในบางขณะได้ " แต่ถ้าศึกษาเรื่องปัจจัยโดยละเอียดจะทราบว่า การกระทำที่สำเร็จแล้วไม่ได้สำเร็จด้วยอำนาจโลภะและเจตนาเป็นปัจจัยอย่างเดียว จะต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบพร้อมกัน ในขณะนั้น เพราะ

ลำพังโลภะและเจตนา ไม่สามารถทำให้กรรมนั้นสำเร็จลงได้ แม้จิตต้องการจะเคลื่อนไหว แต่ว่ารูปในขณะนั้นไม่เหมาะไม่ควร (คือขาดวิการรูป ๓ เช่นคนที่เป็นอัมพาต) ก็ไม่สามารถจะเคลื่อนไหวได้

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คนรักหนัง
วันที่ 28 ก.ย. 2549

ผมก็ขออนุโมทนากับ คุณoem นะครับ ที่มีความเข้าใจธรรม ในส่วนหนึ่ง เป็นธรรมดา ของปุถุชนครับที่ยังมีความสงสัยอยู่ เพราะวิจิกิจฉา คือ ความสงสัยนั้น เป็นอนุสัย (กิเลสอย่างละเอียด) อย่างน้อยเราก็ยังเริ่มพิจารณาตามคำสอนของพุทธองค์ เรื่องความเป็นอนัตตา ได้บ้าง แต่ความเป็นตัวตน ก็ยังฝังลึกอยู่ในขันธสันดาน (ความสืบต่อของจิต เป็นต้น) เพราะคิดทีไร ก็ยังมีความสงสัยเรื่องบังคับบัญชา นี่แหละ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
OEM
วันที่ 28 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 12 ถ้าศึกษาเรื่องปัจจัย โดยละเอียดจะทราบว่า การกระทำที่สำเร็จแล้วไม่ได้สำเร็จด้วยอำนาจโลภะและเจตนาเป็นปัจจัยอย่างเดียว จะต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบพร้อมกันในขณะนั้น เพราะลำพังโลภะและเจตนาไม่สามารถทำให้กรรมนั้นสำเร็จลงได้ เรื่องนี้ ก็เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วครับว่า ต้องมี เจตสิก และ รูป อื่นประกอบเป็นปัจจัยด้วยอีกในขณะนั้น แต่ก็ได้ละเอาไว้ฐานที่ แต่ละท่านน่าจะเข้าใจกันดีอยู่แล้ว เลยไม่กล่าวถึง เพราะต้องการพูดถึง เจตสิก ที่เห็นเด่นชัด 2 ตัวนี้ ครับ แต่ก็ยังต้อง ขอขอบคุณ คุณ devout นะครับ ที่พยามช่วยอธิบาย แต่ผมก็ยังมีความเห็นเหมือนเดิมครับ อยากให้ช่วยอธิบายให้ชัดเจน ตรงประเด็น และชี้ชัดลงไปเลยครับ ว่าความคิดเห็นที่เกิดขึ้นกับผม เป็นความเห็นผิด และผิดตรงไหน ผิดอย่างไร ผมจะได้ก้าวข้ามความเห็นผิดในเรื่องนี้ออกมาได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
OEM
วันที่ 28 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 13

ก็คงเป็นอย่างที่ท่าน คนรักหนัง กล่าวมาน่ะครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Sam
วันที่ 2 ต.ค. 2549

ผมเห็นว่าคุณdevout ตอบได้ตรงคำถามแล้วครับ นแต่ละขณะมีหลายปัจจัยเกิดขึ้นประกอบกัน แม้ว่าในการศึกษาท่านจะแยกอธิบายทีละอย่าง แยกกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ แต่ในการพิจารณานั้นต้องพิจารณาตามความเป็นจริง ในเมื่อมีหลายปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกัน จะเลือกพิจารณา เฉพาะธรรมะบางประการ ตามต้องการคงไม่ได้ ขออนุญาตยกตัวอย่าง ที่คิดขึ้นเองนะครับ เป็นตัวอย่างที่หวังว่าจะช่วยสร้างความเข้าใจเท่านั้น คงไม่อาจใช้อ้างอิงในที่อื่นได้ สมมติว่าคุณ OEM ศึกษาเรื่องรถยนต์ ก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบแต่ละชิ้น รวมทั้งระบบเชื้อเพลิง ระบบหล่อลื่น ฯลฯ แต่อยู่มาวันหนึ่ง คุณบอกว่า ถ้ารถมีน้ำมันเชื้อเพิงในถัง คุณก็มั่นใจได้ว่า รถนั้นจะวิ่งได้อย่างแน่นอน หรืออย่างน้อย ก็วิ่งได้ในบางขณะ ตรงนี้แสดงว่า ได้ตั้งสมมติฐานว่า ส่วนประกอบอื่นๆ ทำงานเป็นปกติจนไม่ต้องนำมาพิจารณา ซึ่งจริงๆ แล้ว แต่ละส่วนของรถยนต์นั้น ก็มีความไม่แน่นอนในตัวเอง ในเมื่อรถนี้ประกอบขึ้นด้วยหลายๆ ชิ้นส่วน ที่ต่างก็อาจชำรุดเมื่อไรก็ได้ จะหวังให้มันทำงานได้ อย่างแน่นอนตลอดเวลา หรือในบางขณะ โดยคำนึงถึงชิ้นส่วนเพียงสองสามอย่าง คงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

แน่นอนครับ ตราบใดที่เรายังไม่ประจักษ์ลักษณะของ อนัตตา ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นได้ ผมเองก็ยังมีความสงสัยในหลายประการ แต่ที่สำคัญ อย่าปล่อยให้ความสงสัยนั้น กลายเป็นความเห็นผิด โดยหมั่นศึกษาธรรมในหลายๆ ทาง ซึ่งการถามตอบในกระดานสนทนานี้ ก็เป็นหนทางหนึ่งเท่านั้น ในการสร้างความเข้าใจ

ขออนุโมทนาความสนใจและความเข้าใจธรรมะในส่วนที่ถูกต้องของคุณ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Sam
วันที่ 2 ต.ค. 2549

ขออนุโมทนาความสนใจ และความเข้าใจธรรมะ ในส่วนที่ถูกต้อง ของท่านเจ้าของกระทู้ การศึกษาพระธรรมต่อไป จะช่วยบรรเทาความสงสัยของเราได้ จนถึงขั้นดับความสงสัยเป็นสมุทเฉทในที่สุด

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
shumporn.t
วันที่ 2 ต.ค. 2549

อนุโมทนา สมาชิก k พระพุทธพจน์เป็นหนึ่งไม่มีสอง สัพเพ ธัมมา อนัตตา ขอยกคำของท่านอาจารย์สุจินต์ " การศึกษาพระไตรปิฏกต้องสอดคล้องกัน ถ้าส่วนไหนยังไม่สอดคล้องกัน ส่วนนั้นไม่ควรถือเอา จนกว่าจะศึกษาต่อไปอีกด้วยความละเอียดรอบคอบ" คำตอบของทุกท่านมีประโยชน์

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
narong.p
วันที่ 3 ต.ค. 2549

การที่จะเข้าใจความเป็น อนัตตา เราจะต้องทราบก่อนว่า หมายถึงสิ่งใด ทุกท่านคงทราบดีว่า พระพุทธพจน์ "สัพเพ ธรรมา อนัตตา" พระพุทธองค์ กล่าวถึง ธรรมทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง ปรมัตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ คุณ oem เข้าใจเป็นว่า การบังคับได้ ของนามธรรม (โลภะและเจตนา) ต่อสิ่งที่เป็นบัญญัติ (การเอื้อมมือ,แก้วกระทบกัน) ซึ่งเป็นเรื่องราวของสมมติสัจจะ ก็จะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน ในธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้และทรงแสดง เพราะถ้าพูดอย่างที่เจ้าของกระทู้สงสัยและยกตัวอย่าง ก็มีเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ที่กำหนดได้ มากมาย เช่น การต้องการที่จะเขียนกระทู้นี้ขึ้นมา ก็เป็นการบังคับบัญชาได้เช่นกัน จึงขอย้ำอีกครั้งว่าการเป็น อนัตตา "บังคับบัญชาไม่ได้" หมายถึงสิ่งที่มีจริงๆ (ปรมัติธรรม) ซึ่งไม่ต้องใส่ชื่อ ก็มีจริง เพราะมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ เช่น สภาวะแข็ง เมื่อกระทบก็รู้ได้ว่าแข็ง โดยไม่ต้องเรียกชื่อ มีลักษณะแข็งปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นแข็ง ที่ประเทศไหนๆ ก็มีลักษณะเหมือนกันหมด และประเด็นที่เกี่ยวกับกระทู้นี้คือ เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเรา ที่จะบังคับบัญชาได้ ดังนั้น คำว่า "การบังคับบัญชาไม่ได้ของนามธรรม" ที่เป็นข้อสงสัยนั้น หมายถึง การไม่สามารถบังคับ นามธรรม (โลภะและเจตนา) นั้นได้ ไม่ได้หมายถึงนามธรรม ไม่สามารถทำให้เกิดบัญญัติ ที่เป็นเรื่องราวตามที่ต้องการได้

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
Sam
วันที่ 6 ต.ค. 2549
ขออนุโมทนา คำอธิบายของคุณ narong.p
 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
pornchai.s
วันที่ 7 ต.ค. 2549

ความเห็นบางส่วนจากกระทู้ที่ 01928 เหมือนว่าบังคับบัญชาได้

ได้สนทนากับเพื่อน กล่าวถึงเรื่องสภาพธรรมว่า ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ได้อธิบายไปว่า สภาพธรรมแต่ละอย่าง เกิดจากเหตุปัจจัย เขาให้ความเห็นว่า ดูเหมือนว่าบางอย่างสามารถบังคับบัญชาได้ เช่นเมื่อเขาต้องการ ยกแขนหยิบแก้วน้ำ ก็ทำได้ เป็นต้น ก็ยังทำได้ ลักษณะเช่นนี้มีอธิบายให้เข้าใจว่าอย่างไรครับ ขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างโดยละเอียดพร้อมยกตัวอย่างด้วยครับ

โดย : สหรัตน

พระธรรมที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก คือทรงจำแนกรูปธรรม และ นามธรรม แต่ละขณะๆ ว่าเกิดเพราะปัจจัยทั้งหมด สำหรับเรื่องที่ท่านยกมากล่าวถึงเหตุการณ์โดยรวม คือเป็นการกล่าว โดยรวบรูปและนามหลายขณะมาก คือ มีจิตคิด ที่จะยกแก้วน้ำ จึงมีการเคลื่อนไหวของจิตชรูป มีการขยับมีการหยิบแก้วน้ำ การหยิบแก้วน้ำได้ เพราะความถึงพร้อมด้วยปัจจัยอย่าง เช่น เพราะมีจิตเจตสิก เพราะมีรูป ที่เหมาะกับการเคลื่อนไหวได้ ถ้ารูปไม่เหมาะกับการเคลื่อนไหว เช่น ถ้าร่างกายเป็นอัมพาต แม้ต้องการหยิบแก้วน้ำหรือทำอย่างอื่นก็ไม่ได้ ซึ่ง จิต เจตสิก รูป แต่ละขณะที่เกิด ล้วนมีปัจจัยให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น ถ้าไม่มีปัจจัยย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงความจริงว่า เป็นเพราะปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าหากบังคับได้ ทุกคนจะมีแต่จิต เจตสิก รูป ดีๆ ตลอดไป จะไม่มีสิ่งไม่ดี เช่น อกุศลเลย แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะทุกคนมีอกุศลจิตเกิดมากมาย ในชีวิตประจำวัน อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์มากมาย ฯ

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 26-08-2549

ในวิสุทธิมรรค ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีข้อความว่า

อนึ่งนามธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีเดช ไม่อาจเพื่อจะเป็นไปด้วยเดชของตน... กินไม่ได้ ดื่มไม่ได้ ขวนขวายไม่ได้ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ แม้รูปก็ไม่มีเดช ไม่อาจเพื่อจะเป็นไปด้วยเดชของตน เพราะว่ารูปนั้นไม่มีความใคร่จะกิน ไม่มีความใคร่จะดื่ม ไม่มีความใคร่จะขวนขวาย ไม่มีความใคร่สำเร็จอิริยาบถ อันที่แท้รูปอาศัยนามจึงเป็นไป แม้นามก็ต้องอาศัยรูปจึงเป็นไป ฯ ก็เมื่อมีนามธรรมที่เป็นผู้ใคร่กิน ใคร่ดื่ม ใคร่ขวนขวาย ใคร่สำเร็จอิริยาบถ รูปจึงกิน จึงดื่ม จึงขวนขวาย จึงสำเร็จอิริยาบถ ฯ

นามกายอาศัยรูปจึงเป็นไป เปรียบเหมือนมนุษย์อาศัย (โดยสาร) เรือไปในห้วงน้ำ ฯ

รูปกายอาศัยนามจึงเป็นไป เหมือนอย่างเรือ อาศัยมนุษย์จึงแล่นไปในแม่น้ำ ฯ ทั้งสองอย่างคือมนุษย์และเรือ อาศัยกันและกัน จึงไปในห้วงน้ำได้ ฉันใด นามธรรมและรูปธรรม ก็ฉันนั้น

โดยสมาชิก : chorswas.n วันที่ : 26-08-2549

เพราะทุกคนสะสมความเป็นตัวเรา ความเป็นตัวตนมามากกว่า แสนโกฏิกัปป์ พร้อมทั้งอวิชชา (ความไม่รู้) รู้สึกว่าเป็นตัวเรา ที่ทำอย่างนั้น อย่างนี้ สิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นของของเรา แม้จะได้สดับฟัง พระธรรมแล้ว ก็ยังเป็นความเข้าใจแค่ ขั้นการฟังเท่านั้น ไม่สามารถละความเป็นตัวตนได้ ไม่ประจักษ์แจ้งความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นเรื่องปกติที่ยังเหมือนบังคับ บัญชาได้ ขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด ความเป็นตัวตนซึ่งเป็นอนุสัย (กิเลสละเอียด) ก็ยังคงสะสมไปเรื่อยๆ ครับ

โดยสมาชิก : pornchai.s วันที่ : 29-08-2549

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
pornchai.s
วันที่ 9 ต.ค. 2549

ไม่เข้าใจว่าบังคับบัญชาไม่ได้ยังไง

ไม่เข้าใจว่าบังคับบัญชาไม่ได้ยังไง ในเมื่ออยากมาฟังธรรมก็ยังได้มาแล้ว อยากกินก๋วยเตี๋ยวก็เดินไปสั่ง ไม่เห็นเกี่ยวกับกรรม หรือเหตุปัจจัย

โดย : sms

พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก คือทรงจำแนกรูปธรรม และนามธรรม แต่ละขณะๆ ว่า เกิดเพราะปัจจัยทั้งหมด สำหรับเรื่องที่ท่านยกมากล่าวถึงเหตุการณ์โดยรวมคือ เป็นการกล่าวโดย รวบรูปและนาม หลายขณะมาก คือ มีจิตคิดใคร่จะฟังธรรม เพราะเห็นประโยชน์ จึงมีการเคลื่อนไหวของจิตชรูป และการเดินทาง ซึ่งจิตแต่ละขณะที่เกิด ล้วนมีปัจจัยให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น แม้จิตคิดใคร่ที่จะฟังธรรมก็เพราะปัจจัย แม้จิตที่ได้ยินหรือฟังธรรม ก็มีปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัย ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ พระพุทธองค์ จึงทรงแสดงความจริงว่าเ ป็นเพราะปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าหากบังคับได้ ทุกคนจะมีแต่จิตดีๆ ตลอดไป ไม่มีอกุศลเลย แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะทุกคน มีอกุศลจิตเกิดมากมาย ในชีวิตประจำวัน อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์มากมาย ฯ

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 07-08-2549

เมื่อความหิวเกิด เรามิได้เป็นผู้บังคับ หรือกำหนดให้ความหิวเกิด ความหิวเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ที่ร่างกายต้องการอาหารเลี้ยงชีวิต หรือยังอัตภาพให้เป็นไป เช่นเดียวกับความเจ็บไข้ วันนี้สุขสบายดี สามารถดำเนินชีวิต สั่งก๋วยเตี๋ยวรับประทานได้ แต่ใครจะรู้ว่าพรุ่งนี้ หรือแม้ในชั่วโมงข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้น เราอาจตื่นขึ้นด้วยความมึนศีรษะ ปวดหัว เป็นไข้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้กรำแดดตากฝนที่ไหน เดินอยู่ดีๆ แม้ในบ้านก็อาจเดินสะดุดของที่วางไว้ขาแพลง ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ บังคับไม่ได้ เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ที่สั่งสมมาของแต่ละบุคคล (ตามกรรม) ชีวิตเป็นของน้อย จงอย่าประมาทว่า เราเลือกทำอะไรก็ได้ เมื่อกุศลเจริญ เป็นเหตุให้ทำความดีเช่นการฟังธรรม แต่ในแต่ละวันของชีวิตล้วนเป็นไปเนื่องด้วยอกุศล สนองความต้องการ (โลภะ) แม้ในอาหารที่เลือก เสื้อผ้าที่ใส่ ล้วนเกิดจากความติดข้อง กระทำมาจนเป็นนิสัย เป็นความคุ้นเคย จนมองไม่ออกว่าเป็นอกุศล เราบังคับให้ความเจ็บป่วย ชรา มรณะ ไม่เป็นไปไม่ได้ เราไม่สามารถกำหนดให้มีอายุ ไปอีก ๘๐ ปี เช่นเดียวกับเราไม่สามารถทราบว่า หมดกรรมนี้แล้วเราจะไปที่ใด ทุกอย่างล้วนเ กิดจากเหตุปัจจัยทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นของ ตนๆ

โดยสมาชิก : chorswas.n วันที่ : 07-08-2549

เคยบ้างไหม บางครั้งที่นึกอยากจะกินอาหารร้านนั้น แล้วมีธุระหรือการงานยุ่งจนไม่ว่างที่จะไปหรือ ไปแล้วร้านปิด ก็บังคับไม่ได้ เป็นต้น เป็นการยกตัวอย่าง เทียบเคียงกับตัวอย่าง ที่ท่านยกมาว่า อยากไปกินก๋วยเตี๋ยวก็ได้กิน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของ สมมติบัญญัติ ทำให้เราเข้าใจว่า สามารถบังคับได้ ทำได้อย่างที่เราต้องการ แต่ตามความเป็นจริง ที่จะเข้าใจความหมายของการบังคับบัญชาไม่ได้ จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึง สิ่งที่มีจริง มีอยู่เพียง ๒ อย่าง คือรูปธรรม และ นามธรรม ก่อน และค่อยๆ ทำความเข้าใจความเป็น อนัตตา ของสภาพธรรมที่ปรากฏ มีความเห็นถูกว่า ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรมะ การที่คนเราหรือ คุณ sms อยากกินก๋วยเตี๋ยว ก็เพราะเกิดความหิวขึ้น ซึ่งคุณสามารถบังคับให้ไม่หิวได้ไหม? ซึ่งความหิวเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา และเมื่อมีความเข้าใจถูกว่า ไม่มีเราแล้ว จะมีใครที่ไหนเล่า ที่จะมาบังคับบัญชา เพราะแท้ที่จริง มีแต่สภาพธรรมะ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย และดับไป และการสะสมของสภาพธรรม จึงมีการกระทำแตกต่างกันเกิดขึ้น ตามการสะสมมา นั่นเอง

โดยสมาชิก : narong.p วันที่ : 28-08-2549

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
pornchai.s
วันที่ 9 ต.ค. 2549

ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา

เคยฟังธรรมว่า นามธรรม รูปธรรม เกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีใครสร้างขึ้นได้ เป็นอนัตตา ขอถามดังนี้

1. ทำไมเรามีความคิดที่จะเดิน และเราก็เดินไปตามความต้องการได้ ทำไมจึงว่าบังคับบัญชาไม่ได้

2. ถ้าคนที่ไม่เคยสั่งสม การฟังธรรมและศึกษาธรรมมา เขาก็จะไม่มีทางที่จะมาฟังธรรมและศึกษาธรรมเลยใช่หรือไม่

3. ถ้าทุกสิ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ เราก็ปล่อยตัวเฉยๆ ไม่ต้องศึกษาธรรม ไม่ต้องคิดที่จะเจริญกุศล แล้วกุศลก็จะเจริญเองได้หรือ

4. ถ้าเราสามารถเลือกที่จะฟังธรรมได้ เลือกที่จะทำดี จะขัดกับหลักอนัตตาหรือไม่

5. เราสะสมกิเลสมามากมาย อะไรเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้กุศลเจริญขึ้นได้ ไม่เข้าใจครับ โปรดให้ความกระจ่างและคลายความสงสัยให้ด้วยครับ

โดย : paisan.ju วันที่ : 04-03-2549

ตอบ

๑. ตามหลักสัจจธรรมที่ พระพุทธองค์ ทรงแสดงไว้คือ ธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ โดยหลักของปรมัตถธรรมแล้ว เป็นเช่นนั้นจริง จิต เจตสิก รูป ที่เป็นไปทุกขณะ เพราะปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นไป ที่ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ คือ ไม่มีอัตตา เจ้าของที่เป็นใหญ่จะบังคับได้ แต่ด้วยความไม่รู้เ ราก็รวมเหมาว่าเป็นเราบังคับได้ ความจริง แม้เราก็ไม่มี การบังคับจะมีได้อย่างไร อีกอย่างหนึ่งที่ว่า เมื่อมีความคิดจะเดิน ก็เดินไปได้ ตามความต้องการนั้น ถ้าไม่มีปัจจัย คือ จิต เจตสิก และรูปที่เหมาะสมกับการเดินนั้น การเดินนั้นก็มีไม่ได้ เช่น คนที่ป่วยหนักไม่มีแรง หรือเป็นอัมพาตเป็นต้น แม้อยากจะลุกขึ้นเดินก็ไม่สามารถเดินได้ตามต้องการ

๒. ถ้าไม่เคยมีการสะสมมาเลย ย่อมไม่เห็นประโยชน์ของการฟังธรรม แม้ได้ยินก็ไม่สนใจ

๓. ผู้ที่มีปัญญา เมื่อเข้าใจความจริง ย่อมเห็นประโยชน์ และเจริญกุศลธรรม และย่อมเห็นโทษ และพยามยามเพื่อละ อกุศลธรรมทั้งหลาย คือ มีชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่ปล่อยวันและคืนให้ผ่านไป โดยเปล่าประโยชน์

๔. ไม่ขัด เพราะการกระทำเหล่านั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา

๕. กุศลธรรมทั้งหลาย จะเจริญยิ่งขึ้นได้ เพราะอาศัยธรรมหลายประการ เช่น การคบเพื่อนที่ดี การเห็นประโยชน์ของกุศล (ตามข้อ ๓) การฟังพระสัทธรรม โยนิโสมนสิการ เป็นต้น

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 06-03-2549

ความหมายอนัตตาอรรถกถาวิภังค์ท่านอธิบายไว้ดังนี้

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
wannee.s
วันที่ 10 ต.ค. 2549

ธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าบังคับได้ด้วย โลภะความต้องการ ทำไมผมเราหงอก เราสามารถบังคับไม่ให้หงอกได้ไหม ฟันหลุด หรือเราไม่อยากแก่ บังคับไม่ให้แก่ได้ไหม หรือไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย แต่ก็ต้องตายในวันหนึ่ง

นี้เป็นสัจจธรรม ความจริงที่ทุกคนหนีไม่พ้น นอกจากอบรมปัญญาที่ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
OEM
วันที่ 24 ต.ค. 2549

ขอขอบคุณ และอนุโมทนากับกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยนะครับที่เข้ามาช่วยกันตอบแก้ข้อสงสัยให้กับผมในเรื่องที่ตั้งกระทู้ถามขึ้นมานี้ ถึงแม้นว่าผมจะพิจารณาแล้วแต่ความเข้าใจตามก็ยังไม่เกิดขึ้นมา แต่ก็จะเป็นปัจจัยให้ผมศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการแก้ข้อสงสัยต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
namarupa
วันที่ 27 ต.ค. 2549

ขอร่วมสนทนาด้วยคนนะคะ

คุณoem พูดว่า ทำให้เกิดความเห็นว่านาม (โลภะและเจตนา) สามารถบังคับบัญชาให้ได้ในสิ่งที่ต้องการในบางขณะได้ และยังสงสัยในประเด็นนี้อยู่นั้น ดิฉันจึงอยากจะขอเรียนถามกลับไปว่า แต่ละขณะ ที่สภาพธรรมกำลังเกิดดับสลับกันอยู่อย่างมากมาย ทั้งรูปและนาม ตามเหตุปัจจัยจำนวนหลายแสนโกฏขณะนั้น คุณoem สามารถจะเลือกได้ไหมคะว่า จะรู้อันไหนก่อน หรือจะรู้อันไหนทีหลัง? แล้วถ้าเราสามารถเลือกได้…เราสามารถ ที่จะเลือกไม่ให้โกรธได้ไหม? ไม่ให้รักได้ไหม? ไม่ให้ไม่พอใจ ได้ไหม? ฯลฯ ไม่มีทางแน่นอนใช่มั้ยคะ? ทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่เพราะคุณกำลังคิดว่า คุณสามารถบังคับบัญชาได้ (ด้วยเหตุปัจจัยอีกนั่นแหละค่ะ ที่ทำให้คุณคิดแบบนี้) คุณจึงต้องคิดแบบนี้ สงสัยแบบนี้ ผู้ที่หมดความสงสัยแล้ว คือพระอรหันต์ คุณoem ก็ทำถูกแล้วนี่คะ ที่ถามในเมื่อเราสงสัย เราก็ถาม เพื่อความกระจ่าง ตราบใดที่มันยังไม่กระจ่าง มันก็ไม่กระจ่าง ตามเหตุปัจจัยอีกนั่นแหละค่ะ เรื่องของธรรม มีอีกเยอะมากกกกกกกก ที่เรายังจะต้องสงสัยไปอีกนาน เพราะอะไรรู้ไหมคะ? เพราะธรรมเป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง ลุ่มลึก รู้ตาม และเห็นตามได้ยาก อย่างที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงไว้ทุกประการ

ขออนุโมทนาในความคิดเห็นจากทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
Komsan
วันที่ 15 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
suwit02
วันที่ 17 มิ.ย. 2551
ขออนุดมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
pisitmink
วันที่ 20 มิ.ย. 2551

มีจิตที่คิดจะยกแก้ว แต่ไม่รู้ว่าจิตที่คิดนั้นไม่ใช่เรา

มีการไหวของกาย (เอื้อมมือไปหยิบแก้ว) แต่ไม่รู้ว่ากายไหวไม่ใช่เรา

มีการกระทบแข็ง (ฝ่ามือที่แตะโดนแก้ว) แต่ไม่รู้ว่ากายกระทบแข็งไม่ใช่เรา

มีการไหวของกาย (จับแก้วมาชนกัน) แต่ไม่รู้ว่ากายไหวไม่ใช่เรา

มีเสียงแก้วกระทบกันดัง กิ๊ก กิ๊ก แต่ไม่รู้ว่าจิตได้ยินก็ไม่ใช่เรา

เกิดการปรุงแต่งต่อ ด้วยความหลงผิดว่าเป็นเราที่สามารถบังคับบัญชาได้

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
chatchai.k
วันที่ 3 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ