สุทธัฏฐกสูตร ... วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  31 มี.ค. 2556
หมายเลข  22709
อ่าน  1,394

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

สุทธัฏฐกสูตร

(ว่าด้วยเรื่องเห็นผู้บริสุทธิ์)

...จาก...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้า ๗๒๑


(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันมาฆบูชา

วันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้า ๗๒๑

สุทธัฏฐกสูตรที่ ๔

(ว่าด้วยเรื่องเห็นผู้บริสุทธิ์)

[๔๑๑] คนพาล ผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ

สำคัญเอาเองว่า เราได้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์

เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่หาโรคมิได้ ความหมด-

จดด้วยดี ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการเห็น

เมื่อคนพาลนั้น สำคัญเอาเองอย่างนี้ รู้ว่า

ความเห็นนั้นเป็นความเห็นที่ยิ่ง

แม้เป็นผู้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์เนืองๆ

ก็ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นมรรคญาณ

ถ้าว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการ

เห็น หรือนรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยมรรค

อันไม่บริสุทธิ์อย่างอื่นจากอริยมรรค นรชน

ผู้เป็นอย่างนี้ ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้เลย ก็คนมี

ทิฏฐิ ย่อมกล่าวยกย่องความเห็นนั้นของคน

ผู้กล่าวอย่างนั้น

พราหมณ์ ไม่กล่าวความบริสุทธิ์โดย

มิจฉาทิฏฐิอย่างอื่น จากอริยมรรคญาณ

ที่เกิดขึ้นในเพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง

ศีล พรต และในเพราะอารมณ์ที่ได้ทราบ

พราหมณ์นั้น ไม่ติดอยู่ในภพและบาป ละ

ความเห็นว่าเป็นตัวตนเสียได้ ไม่กระทำใน

บุญและบาปนี้

ชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นผู้กล่าว

ความบริสุทธิ์โดยทางมรรคอย่างอื่นเหล่านั้น

ละศาสดาเบื้องต้นเสีย อาศัยศาสดาอื่น อัน

ตัณหาครอบงำย่อมข้ามธรรมเป็นเครื่องข้อง

ไม่ได้ ชื่อว่าถือเอาธรรมนั้นด้วย ละธรรม

นั้นด้วย เปรียบเหมือนวานรจับและปล่อย

กิ่งไม้ที่ตรงหน้าเสียเพื่อจับกิ่งอื่น ฉะนั้น

สัตว์ ผู้ข้องอยู่ในกามสัญญา สมา-

ทานวัตรเองแล้ว ไปเลือกหาศาสดาดีและเลว

ส่วนพระขีณาสพผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน

ผู้มีความรู้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมด้วยเวทคือมรรค

ญาณ ย่อมไม่ไปเลือกหาศาสดาดีและเลว

พระขีณาสพ นั้นครอบงำมาร และ

เสนาในธรรมทั้งปวง คืออารมณ์อย่างใด

อย่างหนึ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้ทราบ

ใครๆ จะพึงกำหนดพระขีณาสพผู้บริสุทธิ์

ผู้เห็นความบริสุทธิ์ เป็นผู้มีหลังคาคือกิเลส

อันเปิดแล้ว ผู้เที่ยวไปอยู่ ด้วยการกำหนด

ด้วยตัณหาและทิฏฐิอะไร ในโลกนี้

พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด

ด้วยตัณหาหรือด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่กระทำ

ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า พระขีณาสพ

เหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีที่สุด

ด้วยอกิริยทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ท่านสละ

คันถะกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเนื่องอยู่ในจิต-

สันดานได้แล้ว ย่อมไม่กระทำความหวังใน

โลกไหนๆ

พราหมณ์ ผู้ล่วงแดนกิเลสได้ ไม่มี

ความยึดถือวัตถุหรืออารมณ์อะไร เพราะ

ได้รู้หรือเพราะได้เป็นเป็นผู้ไม่มีความยินดี

ด้วยราคะ เป็นผู้ปราศจากราคะไม่กำหนัด

แล้ว พราหมณ์นั้น ไม่มีความยึดถือวัตถุและ

อารมณ์อะไรๆ ว่า สิ่งนี้เป็นของยิ่งในโลกนี้

ฉะนี้แล.

จบสุทธัฏฐกสูตรที่ ๔.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 31 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

สุทธัฏฐกสูตร

(ว่าด้วยเรื่องเห็นผู้บริสุทธิ์)

[เหตุเกิดของพระสูตร สรุปจากอรรถกถา]

ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน

แล้ว ชาวเมืองสร้างพระมหาเจดีย์บูชาพระองค์ พรานป่าคนหนึ่งชาวปัจจันตชนบท

ได้มาเยี่ยมสหายซึ่งเป็นกุฏุมพีในกรุงพาราณสี ได้ทราบข่าวว่ามีการบูชาพระมหา

เจดีย์ของพระพุทธเจ้า จึงเอาไม้จันทน์ทำเป็นวงกลมประมาณเท่าถาดสำริดไว้ข้าง

บนอิฐทองในพระมหาเจดีย์ นั้น เพื่อบูชา ผลของกรรมนั้นทำให้ท่องเที่ยววนเวียน

ไปอยู่ในสวรรค์ ในกาลเป็นที่อุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ คือ พระสมณโคดม

ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ มหาศาล ในกรุงสาวัตถี มีรัศมีคล้ายวงแห่งพระจันทร์

เกิดที่อก จึงมีชื่อว่า จันทาภะ คนในบ้านคิดว่า จันทาภกุมาร เป็นคนประเสริฐ

ใครได้เห็น ก็จะได้ยศ ได้ทรัพย์สมบัติ ได้ไปสวรรค์ จึงประตกแต่งจันทาภกุมารและ

นำพาออกไปเพื่อประชาชนทั่วชมพูทวีปได้เห็น ซึ่งจะเป็นเหตุให้ตนเองได้ทรัพย์

จากชาวเมืองเหล่านั้น ไป ณ สถานที่แห่งใด ก็จะมีคนมาเพื่อเห็นจันทาภกุมาร

และให้ทรัพย์ตามสมควร แต่พอเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ ซึ่งพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ขณะนั้นไม่มีใครมาหาจันทาภกุมารเลย มีแต่พากัน

ไปที่พระวิหารเพื่อฟังพระธรรมจากพระองค์ เป็นเหตุให้จันทาภกุมารได้เข้าเฝ้า ด้วย

พอเขาได้เห็นพระคุณลักษณะของพระองค์ เกิดความเลื่อมใสว่า พระองค์ทรงเพียบ

พร้อมด้วยพระคุณลักษณะมากมายไม่มีใครเปรียบ พระองค์ยังไม่มีความถือพระองค์

ว่าเป็นคนสำคัญเลย ส่วนตนเอง แม้มีเพียงรัศมีเท่าวงของพระจันทร์เกิดที่อก ก็มี

ความสำคัญตนมากมายและผู้คนก็นำพาเราเที่ยวไปให้คนอื่นบูชาทั่วชมพูทวีป

จึงได้คิดว่าพระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย จึงได้ขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านได้รับการอุปสมบท

แล้วไม่นาน ก็ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้มีนามว่า

พระจันทาภเถระ

ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันปรารภพระจันทาภเถระนั้นว่า ผู้ที่เห็นจันทาภะ

แล้วจะได้ยศ ได้ทรัพย์ ได้ไปสวรรค์ หรือได้ถึงความบริสุทธิ์ด้วยเห็นรูปทางจักษุ

ทวารนั้นหรือหนอ? พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระสูตรนี้ในเพราะเกิดเรื่องของ

พระจันทาภเถระนั้น

เนื้อหาโดยสรุปของพระสูตร คือ ความบริสุทธิ์ ไม่ได้อยู่ที่การเห็น การได้ยิน

เป็นต้น แต่อยู่ที่การดำเนินตามหนทางอันประเสริฐ คือ การอบรมเจริญปัญญา

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กิเลสเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมอง

กิเลสตัณหา

อริยมรรค

หนทางนี้เป็นหนทางที่ไกล...มาก

เวท ... เวทคู

พระขีณาสพ หมายถึงใคร?

อกิริยทิฏฐิ

สัสสตทิฏฐิ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 31 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 1 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 4 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 4 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natural
วันที่ 4 เม.ย. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ