การปฏิบัติ

 
วรรณสตูล
วันที่  25 พ.ค. 2556
หมายเลข  22954
อ่าน  2,037

อยากทราบวิธิการปฏิบัติธรรม อบรมปัญญาที่ถูกต้อง ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชื่อ เพื่อสื่อความหมายศัพท์ที่เป็นภาษาบาลี ก็เพื่อเข้าใจความจริงในสภาพธรรมในขณะนี้ ซึ่งพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น ทรงแสดงเป็นภาษาบาลี แต่ในปัจจุบัน ก็มีการแปลภาษาบาลี ออกมาเป็นภาษาไทย เป็นพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย แต่ยังคงไว้ซึ่งอรรถ และธรรมที่แสดงถูกต้อง ตรงตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และเมื่อแสดงเป็นภาษาไทยแล้ว ก็เป็นชื่อที่อ้างอิงตามภาษาบาลี แต่อย่างไรก็ดี ก็ต้องเข้าใจชื่อ เข้าใจศัพท์ในคำนั้น เพื่อที่จะได้เข้าใจอรรถ ความหมายของพระสูตร พระธรรมบทนั้น เพราะในความละเอียดแล้ว การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องคือ สติและปัญญาเกิด รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ อันไม่ใช่การไปนั่งสมาธิ เดินจงกรม ตามที่กระทำกันในปัจจุบัน ซึ่งการจะเกิดสติและปัญญา (ปฏิบัติธรรม) ไม่ได้เกิดจากการไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม แต่เกิดจากการฟังพระธรรม และศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่เข้าใจตามภาษาของตน สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้คือ ปริยัติ การศึกษา ฟังพระธรรม ย่อมนำไปสู่ปฏิบัติ และ ปฏิบัติ ย่อมนำไปสู่ ปฏิเวธ คือ การบรรลุธรรม

ดังนั้น ก็จะต้องศึกษาฟังพระธรรม ปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นจากการฟังพระธรรม ก็จะทำให้ถึงการปฏิบัติได้ แต่ผู้ใดไม่ฟัง ไม่ศึกษาพระธรรม ย่อมไม่ถึงการปฏิบัติได้เลย ครับ ซึ่งปริยัติที่เป็นการฟัง การศึกษาพระธรรมก็มีศัพท์ธรรมต่างๆ ที่ควรรู้ควรเข้าใจ ด้วยจุดประสงค์ที่ถูกคือ เพื่อให้เกิด ความดี เกิดความเข้าใจถูก แต่ไม่ใช่การรู้ศัพท์ เพื่อไปสอบ เพื่อรู้ชื่อ เรื่องราวมากๆ อันนั้นไม่ใช่การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง ดังนั้นจำเป็นจะต้องรู้ศัพท์ธรรม เพื่อประโยชน์ที่จะเข้าใจเนื้อความธรรมทั้งหมดที่ได้อ่าน

ขอยกตัวอย่าง การศึกษาภาษอังกฤษ ในประโยคทั้งหมด ในประโยคหนึ่ง ก็มีคำศัพท์ต่างๆ หากไม่รู้ศัพท์เลย ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะแปลประโยคนั้น ว่ากำลังหมายความว่าอย่างไร แต่ ถ้ามีการรู้ศัพท์ในประโยคนั้น ก็สามารถแปล และสื่อความหมายรู้เรื่อง ว่ากำลังหมายถึงอะไร ครับ

การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ก็ควรเข้าใจศัพท์ ในคำนั้นให้เข้าใจถูกต้อง สมดังที่ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวไว้น่าฟังว่า เข้าใจธรรมทีละคำ คือ เข้าใจคำนั้นแต่ละคำ ให้ถูกต้อง ไม่ข้าม เพราะอาจทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะเมื่อเข้าใจผิดคำนั้น แม้แต่คำว่า ปฏิบัติ ถ้าไม่ละเอียด เผิน ก็เข้าใจปฏิบัติผิด ที่คิดว่า ปฏิบัติคือ การจะไปทำ ไปนั่งสมาธิ เดินจงกรม เมื่อเข้าใจแม้แต่ธรรม ทีละคำผิด ก็เข้าใจอรรถเรื่องราวต่างๆ ผิดด้วย ปฏิบัติก็ผิดด้วย ครับ ดังนั้นก็ควรเข้าใจในคำศัพท์เท่าที่จะเข้าใจได้ ครับ

แม้แต่คำว่า กุศล ก็เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ปราศจากโทษ หากไม่ศึกษา ไม่เข้าใจคำนี้ให้ละเอียด ก็จะเข้าใจผิดได้ สำคัญว่า สิ่งที่เป็นกุศล เป็นอกุศลก็ได้ และ คำว่า อกุศล ก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี นำมาซึ่งโทษ ซึ่งหากศึกษาไม่ละเอียด ก็จะทำให้เข้าใจผิด สำคัญว่า อกุศล เป็นกุศลก็ได้

การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ไม่เผินในแต่ละคำ สำคัญมาก เพราะจะเป็นพื้นฐาน ทำให้เข้าใจเรื่องราวในอรรถ ความหมายของพระสูตร ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมากมาย เหมือนกับการแปลภาษาอังกฤษทั้งประโยคนั่นเอง ที่รู้ศัพท์ก็ทำให้เข้าใจประโยคในความหมายนั้นไม่คลาดเคลื่อน เมื่อมีความเข้าใจถูก ในการศึกษาธรรมทีละคำ เมื่อไม่คลาดเคลื่อนก็จะเป็นรากฐาน พื้นฐาน ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะปริยัติที่ถูกต้อง ครับ

ซึ่งการจะรู้ศัพท์ธรรมนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปท่องศัพท์ทีละตัว ก็อาศัยการฟังพระธรรมจากท่านผู้รู้ ที่อธิบาย ซึ่งทุกครั้งที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ยกคำศัพท์ขึ้นกล่าวนั้น ท่านอาจารย์จะมีคำอธิบายทุกครั้งว่า คำนั้นหมายถึงอะไร เพราะฉะนั้น เรื่องศัพท์จึงไม่ใช่อุปสรรค ขอเพียงฟังบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ปล่อยมือจากพระธรรม ความเข้าใจถูกเห็นถูก ย่อมจะเจริญขึ้นอย่างแน่นอน ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 26 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

การศึกษาพระธรรม เป็นการศึกษาในสิ่งที่ประเสริฐ เป็นการศึกษาในสิ่งที่มีจริง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก จากที่ไม่รู้ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น ที่สำคัญคือ ไม่ขาดการฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน พระธรรมแต่ละคำนั้นมีค่ามาก แสดงให้เข้าใจถึงสิ่งที่มีจริงๆ ตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นคำใดก็ตาม เช่น คำที่ยกมา คือ อกุศล/กุศล และปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงคำลอยๆ แต่มีความหมายว่า เป็นคำกล่าวแสดงให้เข้าใจว่า มีจริงๆ อกุศล ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ไม่งาม เป็นโทษ ให้ผลเป็นทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์กับใครๆ เลยทั้งสิ้น ได้แก่ อกุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย อกุศลก็มีจริงๆ ในขณะนี้ ขณะที่ติดข้อง ขณะที่โกรธขุ่นเคืองใจ ขณะที่ลังเลสงสัย ขณะที่ตระหนี่หวงแหน ขณะที่ริษยาผู้อื่น เป็นต้น ขณะนั้นอกุศลก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่แล้ว ซึ่งเข้าใจกันในภาษาไทยว่า ความชั่ว ความไม่ดี ในทางตรงกันข้าม กุศล เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นธรรมที่ให้ผลเป็นสุข เป็นธรรมที่ตัดหรือทำลายซึ่งบาปธรรมทั้งหลาย ได้แก่ กุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย ซึ่งเข้าใจในภาษาไทยว่า ความดี นั่นเอง ส่วนปฏิบัตินั้น ไม่ใช่เรื่องทำ แต่เป็นการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เป็นธรรมฝ่ายดีคือ สติและปัญญา พร้อมกับโสภณธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่ใช่เราไปทำอะไรด้วยความผิดปกติหรือด้วยความจดจ้องต้องการ รากฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งก็จะต้องกลับมาที่การฟังพระธรรม

ความเข้าใจจะค่อยๆ เจริญขึ้น ถ้าไม่ขาดการฟังพระธรรม การฟังบ่อยๆ อ่านบ่อยๆ ก็จะค่อยๆ คุ้นกับคำที่เป็นภาษาบาลี พร้อมทั้งเข้าใจด้วยว่าคำที่กล่าวถึงมุ่งหมายถึงอะไร ค่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อย ย่อมไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้เห็นประโยชน์ มีศรัทธาที่จะฟัง ที่จะศึกษา ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 26 พ.ค. 2556

เรียนรู้ชื่อ เพื่อให้เข้าใจความจริง เพื่อให้เข้าถึงสภาพธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วรรณสตูล
วันที่ 26 พ.ค. 2556

แสดงความคิดเห็นต่อค่ะ

ค่ะ ขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นทุกๆ ความเห็นค่ะ วรรณ ตัดสินเข้าปฏิบัติธรรมครั้งแรกเมื่อประมาณ 9 ปี ก่อนที่สำนักวิปัสสนาพัฒนาทางจิตไปๆ มาที่สำนักดังกล่าวอยู่ระยะหนึ่ง... จากนั้นด้วยอยู่ไกลและไม่สะดวก จึงไม่ได้ไปที่สำนักดังกล่าวอีกจนเดี๋ยวนี้ แต่ก็ได้นำแนวทางการปฏิบัตินั้นมาใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งสภาวธรรมนั้นผ่านทางเวปของสำนักดังกล่าวค่ะ พื้นเพเดิมวรรณนั้นเป็นบุคคลที่ไม่เคยเข้าวัด ไหว้พระไม่เป็น ไม่รู้ถึงมารยาทใดๆ ที่เกี่ยวกับวัดหรือพระสงค์องค์เจ้าและไม่เคยฟังพระเทศน์ ไม่เคยฟังบทความเกี่ยวกับธรรมะใดๆ เลย วันนี้มีความสนใจในธรรมะ หมายถึงว่ามีเพื่อนๆ ที่ศึกษาธรรมะแล้วใช้ศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับธรรมมะแต่วรรณไม่รู้เรื่อง และตัดสินใจที่จะเรียนรู้จากซีดีธรรมของอาจารย์สุจินต์ แต่ไม่รู้เรื่องในศัพท์เลยค่ะ อยากทำความเข้าใจในศัพท์ต่างๆ ให้เข้าใจ และเข้าถึง และถูกต้องค่ะ

วรรณปฏิบัติของวรรณเป็นไปในลักษณะการแยกรูป-นาม รูปก็คือ ตัวเราหรือสิ่งต่างที่รับรู้แล้วหนัก หนา ดำค่ะ ส่วนนามนั้นคือ ใจรู้ที่รับรู้อาการหรืออารมณ์ต่างๆ มีลักษณะใส เบา สบาย นิ่ง ค่ะ และปัจจุบันนี้วรรณป่วยด้วยโรค SLE ซึ่งระยะของโรคกำลังทำลายอวัยวะภายในแต่วรรณไม่ทุกข์ค่ะอยู่อย่างปกติจนเพื่อนๆ รอบๆ ข้าง ยังสงสัยว่าวรรณป่วยจริง หรือในขณะเดียวกันภาระที่ตนเองต้องเผชิญในเรื่องของกิจการเล็กๆ ที่เพิ่งล้มละลายไปนั้น วรรณก็อยู่ได้อย่างสบายไม่ทุกข์เช่นกันค่ะ

อันนี้วรรณเข้าใจว่า เป็นอานิสงค์จากการที่วรรณปฏิบัติ ถูกต้องไหมคะ

วรรณมีความอยากที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจในศัพท์ต่างๆ เพื่อให้ถูกทาง และความอยากที่เกิดขึ้นเป็นความอยากที่เกิดขึ้นในบรรยากาศที่สงบ ใส นิ่ง ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
mon-pat
วันที่ 26 พ.ค. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ ๔ ครับ

การศึกษาพระธรรมที่เป็นการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ไม่ใช่ศึกษาแล้ว ทุกข์น้อยลง แต่ปัญญาไม่รู้อะไรเลย แต่ที่สำคัญ หนทางการศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องคือ ปัญญารู้อะไร และปัญญาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญญาที่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะไม่เช่นนั้น ก็เป็นการสำคัญผิด ยึดถือด้วยความเป็นเรา ว่าเป็นเราที่ไม่ทุกข์ เป็นต้น

ดังนั้น การปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่ตัวตนที่จะไปพยายามทำ การแยกรูป แยกนาม แต่จะต้องอาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นทีละน้อย แต่ถูกต้อง ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วรรณสตูล
วันที่ 26 พ.ค. 2556

ขอบคุณค่ะ

การปฏิบัติ...ที่บอกว่าถูกต้องหรือถูกทางนั้นเป็นอย่างไรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ

การปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ การที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ที่กำลังมีในชีวิตประจำวัน ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งการจะรู้เช่นนี้ได้ ก็ด้วยอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่ต้องมีตัวตนที่จะไปพยายามให้รู้ความจริง การฟังบ่อยๆ เนืองๆ ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น ก็จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจความจริง ครับ

ดังนั้น พระพุทธศาสนา สำคัญที่เรื่องเหตุ ส่วนผลที่ถูกต้องคือ ปัญญารู้ความจริง ซึ่งพระอริยสาวก กว่าจะอบรมปัญญาถึงระดับนั้น จะต้องฟังพระธรรมมานับชาติไม่ถ้วน จนได้บรรลุธรรม เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในการเข้าใจพระพุทธศาสนา แม้แต่คำว่า ปฏิบัติ จึงจะต้องเป็นผู้ละเอียด ที่จะศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดรอบคอบจริงๆ ครับ ขออนุโมทนา

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

การปฏิบัติธรรม

ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วรรณสตูล
วันที่ 26 พ.ค. 2556

อีกอย่างหนึ่งคือวรรณไม่เคยฟังธรรมค่ะ แต่ช่วงนี้ตัดสินใจฟังของอาจารย์สุจินต์ค่ะ เพราะในบางบทสนทนาก็สามารถปฏิบัติตามไปได้ด้วย และที่รู้สึกเมื่อได้ฟังบทสนทนาของท่านนั้นคือสามารถเรียนรู้ได้ทีละคำจริงๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนาด้วย ครับ ขอให้เริ่มจากความเห็นถูก เบื้องต้น คือเริ่มจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เข้าใจถูก และ ปฏิบัติถูกต้องได้ ครับ เชิญคลิกฟังธรรมได้ที่ เมนู ฟังธรรม และซีดีธัมมะครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nopwong
วันที่ 28 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วรรณสตูล
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ฟังธรรมของอาจารย์ สุจินต์ มาพักใหญ่ๆ แล้วค่ะ แต่ก็ยังไม่มีความเข้าใจค่ะ หมายถึงว่า ศัพท์เยอะมาก ไม่เข้าใจค่ะ แต่ในส่วนที่ท่านบอกให้ทำตามนั้นก็สามารถทำได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วรรณสตูล
วันที่ 30 พ.ค. 2556

เช่นที่บอกว่าเจตสิก ก็ไม่เข้าใจค่ะ วรรณ รู้จักและเข้าใจคำว่าใจรู้ค่ะ ใจรู้ ที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิด ดับ ค่ะ เช่น ขณะที่เห็นต้นไม้ ใจรู้อยู่ที่ต้นไม้และรู้ว่าเป็นต้นไม้ทันทีในลักษณะที่แว๊บหาย ใจรู้กับต้นไม้นั้นเป็นคนละส่วนกันแม้อยู่ที่เดียวกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 30 พ.ค. 2556

ค่อยๆ ฟังไป ครับ จะค่อยๆ เข้าใจทีละน้อย ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วรรณสตูล
วันที่ 31 พ.ค. 2556

เหมือนตนเองกำลังปฏิเสธคำศัพท์ต่างๆ ค่ะ ที่บอกว่าปฏิเสธนั้นก็เฉยๆ แล้วไม่สนใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
วรรณสตูล
วันที่ 1 ส.ค. 2556

กราบสวัสดีท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยศรัทธาค่ะ

วรรณค่ะเป็นคนสตูลมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะเมื่อหลายปีก่อนที่สำนักวิปัสสนาแห่งหนึ่งที่จังหวัดตรังและได้ใช้แนวทางที่ท่านพระอาจารย์และท่านแม่ครูที่นั้นชี้ทางไว้และนำมาปฏิบัติจากนั้นจนเดี๋ยวนี้ค่ะเป็นคนที่ไม่รู้จักวัดค่ะไม่รู้จักศีลค่ะไม่รู้จักพระค่ะไม่รู้ศัพท์ใดเกี่ยวกับธรรมะเลยค่ะบทสวดมนต์ก็ไม่รู้จักค่ะแต่โชคดีและเป็นบุญเหลือเกินที่มีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและจากการได้ศึกษาธรรมะทำให้สามารถอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องยอมรับและทนกับสิ่งใดเลยค่ะการศึกษาธรรมะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยอกเยี่ยมและเป็นของจริงค่ะ...เห็นรูปท่านอาจารย์ครั้งแรกเห็นดวงตาที่ใสค่ะจึงศรัทธาและตั้งจิตอธิษฐานในทันทีว่าขอให้มีโอกาสได้ไปกราบท่านอาจารย์สักครั้ง...แค่ไปกราบเท่านั้นค่ะ...เมื่อก่อนวรรณจะใช้คำว่าปฏิบัติ...แต่พอได้ฟังเทปของท่านอาจารย์จนเข้าใจก็เปลี่ยนจากปฏิบัติเป็นศึกษาธรรมค่ะ....

กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
orawan.c
วันที่ 26 มิ.ย. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ