ธรรมะแท้จริง เป็น อย่างไร
ตั้งแต่เริ่มศึกษาธรรมะมา ผมก็ยังไม่เข้าใจดีว่า คำว่า ธรรมะแท้จริงความที่กว้างขวางเป็น อย่างไร ครูบาอาจารย์หลายท่านก็อธิบายไม่เหมือนกัน แล้วความจริงเป็นอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ธรรม หรือ ธัมมะ มีหลายหลายนัยและหลายความหมาย ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้
ในคำว่า ธมฺม นี้ ธัมมศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมี ปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจจธรรม เป็นต้น ดังนั้น ธรรมจึงมีหลายความหมาย
1. ธรรม หมายถึง ปริยัติ เช่น พระไตรปิฎก มี วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก ก็ชื่อว่า ธรรม
2. ธรรม หมาย ถึงปัญญา
3. ธรรม หมายถึง ปกติ เช่น มีความแก่เป็นปกติ เกิดเป็นปกติ ตายเป็นปกติ
4. ธรรม หมายถึง สภาวะ คือ ลักษณะของสภาพธัมมะของสภววะธรรมต่างๆ เช่น สภาวธรรมของกุศล อกุศล กิริยา
5. ธรรม หมายถึง จตุสัจจธรรม คือ อริยสัจ 4
6. ธรรม หมายถึง บุญ หรือ กุศล
7. ธรรม หมายถึง บัญญัติ เรื่องราว ก็ชื่อว่า ธรรม
8. ธรรม หมายถึง อาบัติของพระ
9. ธรรม หมายถึง ปัจจัยของสภาพธรรมต่างๆ ก็ชื่อว่า ธรรม
10. ธรรม หมายถึง ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ชื่อว่า ธรรมเช่นกัน
เชิญคลิกอ่าน ความหมายของ ธรรม ในพระไตรปิฎก ครับ
ศัพท์ว่า ธัมมะ ตามที่เราได้ศึกษาเข้าใจกัน เข้าใจคำว่า ธรรม หมายถึง ลักษณะของสภาวธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานจึงอยู่ในหมวด ที่อธิบาย คำว่าธรรมในพระไตรปิฎก ใน ข้อที่ 4 ที่อธิบาย คำว่า ธรรม คือ สภาวะ ลักษณะที่มีอยู่จริง ครับ
จะเห็นนะครับว่า ธรรม มีหลากหลายความหมายในพระไตรปิฎก ตามที่กระผมได้กล่าวมา ดังนั้น จึงไม่ใช่ไปปฏิเสธความหมายของธรรม ในความหมายนั้น ความหมายนี้ แต่จะต้องศึกษาและอ่านข้อความในพระไตรปิฎก หรือ เรื่องราวที่อ้างนั้นว่า ท่านมุ่งหมายให้เข้าใจ ในเรื่องนั้นว่าอย่างไร คำว่า ธรรม ก็เป็นไปตามความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลากหลายนัยด้วยครับ
แต่ที่สำคัญ หากเรามีพื้นฐานที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้น เราก็จะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ธรรมผิด เพราะ เข้าใจถูกก่อน ว่า ธรรมในความหมายต่างๆ เช่น บุญ ปัญญา ปริยัติ คำสอน บัญญัติเรื่องราว เป็นต้น ล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัย ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงที่มีความหมายถึง สภาวะ ลักษณะ ที่เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน หากไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงที่มี สภาวะ ลักษณะ ก็จะไม่มีบัญญัติเรื่องราว ไม่มีบุญ ไม่มีปัญญา ที่เป็นความหมายใน คำว่า ธรรมโดยนัยอื่นๆ เลยครับ
เพราะฉะนั้น หากไม่ได้ศึกษาธรรมโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมเข้าใจคำว่า ธรรมที่เป็นสัจจะ ความจริงผิดไป จากธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และย่อมเข้าใจ คำว่า ธรรมเพียงแคบๆ ตามความคิดของตนเอง เช่น ธรรม คือ ธรรมชาติทุกๆ สิ่ง แต่ไม่ได้เข้าใจความเป็นจริงที่เป็นสัจจะ ของคำว่า ธรรม ที่เป็นสัจจะความจริง คือ มีสภาวะ ลักษณะให้รู้ คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ดังนั้นถ้าเราเข้าใจความหมายที่ถูกต้องที่เป็นเบื้องต้นว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีอยู่จริงที่มีสภาวะ ลักษณะ
เมื่อได้ยินความหมาย คำว่า ธรรมในพระไตรปิฎกในความหมายอื่นๆ ก็เข้าใจถูก และไม่ขัดกัน เพราะมุ่งแสดง คำว่า ธรรมโดยนัยอื่น แต่ถ้าไม่เข้าใจถูกในเบื้องต้น ในคำว่า ธรรม ก็จะทำให้เข้าใจผิด ในคำว่า ธรรม ตามที่พระพุทธเจ้างทรงแสดง และย่อมไม่เข้าถึงตัวธรรม คือ ไม่รู้ตัวจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะ ไม่เข้าใจเบื้องต้นจริงๆ ที่เป็นสัจจะว่า ธรรม คือ อะไร การศึกษาพระธรรม ด้วยความละเอียดรอบคอบ ย่อมเกื้อกูลต่อความเห็นถูกและความเจริญขึ้นของปัญญา ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอบอมน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม และคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ก็เป็นธรรม ดังนั้น จึงสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก เพราะถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แม้จะมีธรรมอยู่ทุกขณะ แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจได้เลย ยังมากไปด้วยความไม่รู้และสะสมความไม่รู้ต่อไปอีกนานแสนนาน
ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย คิดนึก กุศล อกุศล ล้วนมีจริงๆ ในขณะนี้ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ไม่มีเราที่แทรกอยู่ในสภาพธรรมนั้นๆ ได้เลย
หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญา เป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะขาดการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย ทีเดียว ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง เช่น ความโกรธมีจริงก็เป็นธรรม ค่ะ
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 1 โดย paderm
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ธรรม หรือ ธัมมะ มีหลายหลายนัยและหลายความหมาย ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้
ในคำว่า ธมฺม นี้ ธัมมศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมี ปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจจธรรม เป็นต้น ดังนั้น ธรรมจึงมีหลายความหมาย
1. ธรรม หมายถึง ปริยัติ เช่น พระไตรปิฎก มี วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก ก็ชื่อว่า ธรรม
2. ธรรม หมาย ถึงปัญญา
3. ธรรม หมายถึง ปกติ เช่น มีความแก่เป็นปกติ เกิดเป็นปกติ ตายเป็นปกติ
4. ธรรม หมายถึง สภาวะ คือ ลักษณะของสภาพธัมมะของสภววะธรรมต่างๆ เช่น สภาวธรรมของกุศล อกุศล กิริยา
5. ธรรม หมายถึง จตุสัจจธรรม คือ อริยสัจ 4
6. ธรรม หมายถึง บุญ หรือ กุศล
7. ธรรม หมายถึง บัญญัติ เรื่องราว ก็ชื่อว่า ธรรม
8. ธรรม หมายถึง อาบัติของพระ
9. ธรรม หมายถึง ปัจจัยของสภาพธรรมต่างๆ ก็ชื่อว่า ธรรม
10. ธรรม หมายถึง ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ชื่อว่า ธรรมเช่นกัน
เชิญคลิกอ่าน ความหมายของ ธรรม ในพระไตรปิฎก ครับ
ศัพท์ว่า ธัมมะ ตามที่เราได้ศึกษาเข้าใจกัน เข้าใจคำว่า ธรรม หมายถึง ลักษณะของสภาวธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานจึงอยู่ในหมวด ที่อธิบาย คำว่าธรรมในพระไตรปิฎก ใน ข้อที่ 4 ที่อธิบาย คำว่า ธรรม คือ สภาวะ ลักษณะที่มีอยู่จริง ครับ
จะเห็นนะครับว่า ธรรม มีหลากหลายความหมายในพระไตรปิฎก ตามที่กระผมได้กล่าวมา ดังนั้น จึงไม่ใช่ไปปฏิเสธความหมายของธรรม ในความหมายนั้น ความหมายนี้ แต่จะต้องศึกษาและอ่านข้อความในพระไตรปิฎก หรือ เรื่องราวที่อ้างนั้นว่า ท่านมุ่งหมายให้เข้าใจ ในเรื่องนั้นว่าอย่างไร คำว่า ธรรม ก็เป็นไปตามความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลากหลายนัยด้วยครับ
แต่ที่สำคัญ หากเรามีพื้นฐานที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้น เราก็จะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ธรรมผิด เพราะ เข้าใจถูกก่อน ว่า ธรรมในความหมายต่างๆ เช่น บุญ ปัญญา ปริยัติ คำสอน บัญญัติเรื่องราว เป็นต้น ล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัย ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงที่มีความหมายถึง สภาวะ ลักษณะ ที่เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน หากไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงที่มี สภาวะ ลักษณะ ก็จะไม่มีบัญญัติเรื่องราว ไม่มีบุญ ไม่มีปัญญา ที่เป็นความหมายใน คำว่า ธรรมโดยนัยอื่นๆ เลยครับ
เพราะฉะนั้น หากไม่ได้ศึกษาธรรมโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมเข้าใจคำว่า ธรรมที่เป็นสัจจะ ความจริงผิดไป จากธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และย่อมเข้าใจ คำว่า ธรรมเพียงแคบๆ ตามความคิดของตนเอง เช่น ธรรม คือ ธรรมชาติทุกๆ สิ่ง แต่ไม่ได้เข้าใจความเป็นจริงที่เป็นสัจจะ ของคำว่า ธรรม ที่เป็นสัจจะความจริง คือ มีสภาวะ ลักษณะให้รู้ คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ดังนั้นถ้าเราเข้าใจความหมายที่ถูกต้องที่เป็นเบื้องต้นว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีอยู่จริงที่มีสภาวะ ลักษณะ
เมื่อได้ยินความหมาย คำว่า ธรรมในพระไตรปิฎกในความหมายอื่นๆ ก็เข้าใจถูก และไม่ขัดกัน เพราะมุ่งแสดง คำว่า ธรรมโดยนัยอื่น แต่ถ้าไม่เข้าใจถูกในเบื้องต้น ในคำว่า ธรรม ก็จะทำให้เข้าใจผิด ในคำว่า ธรรม ตามที่พระพุทธเจ้างทรงแสดง และย่อมไม่เข้าถึงตัวธรรม คือ ไม่รู้ตัวจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะ ไม่เข้าใจเบื้องต้นจริงๆ ที่เป็นสัจจะว่า ธรรม คือ อะไร การศึกษาพระธรรม ด้วยความละเอียดรอบคอบ ย่อมเกื้อกูลต่อความเห็นถูกและความเจริญขึ้นของปัญญา ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอความอนุเคราะห์ช่วยขยายความข้อ 7. ธรรม หมายถึง บัญญัติ เรื่องราว ก็ชื่อว่า ธรรม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นครับ
กราบอนุโมทนาครับ