ธัมมสากัจฉา ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ แพรวอาภาเพลส ราชบุรี
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาต แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ เรียนเชิญ ทุกท่าน ผู้มีจิตศรัทธาเจริญกุศล
ร่วมฟังและสนทนาธรรม ณ แพรวอาภาเพลส อ.เมืองราชบุรี
ในวันอังคาร ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.
ตาม รายละเอียด และ แผนที่ ที่ส่งมาด้วยนี้
จาก ใหญ่ราชบุรี จันทร์ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
คำว่า "กุรุ " ขอความกรุณา อธิบาย คำนี้ ทุกประการ ในแง่ของ ธัมมะ ด้วยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กุรุ มีที่มาจาก ครั้งสมัยอดีตกาลนานมาแล้ว ที่เป็นชาวมนุษย์ ในทวีปอื่น มาอาศัย ในสถานที่นี้ เลยเรียกชื่อว่าตาม ชื่อของมนุษย์ทวีปนั้น ที่เรียกว่า อุดรกุรุทวีปกุรุทวีป ซึ่ง มนุษย์ที่เมืองกุรุ มีปัญญามาก และ มีสภาพอากาศที่ดี พระพุทธเจ้าจึงทรง แสดงมหาสติปัฏฐาน ที่เป็นพระสูตรอันลึกซึ้งที่เมืองนี้ กับ ชนชาวกุรุที่มีปัญญา ที่ สามารถจะรองรับพระธรรมอันลึกซึ้งได้ และ โดยมาก ชาวกุรุ เป็นผู้อบรมเจริญ สติปัฏฐาน กันเป็นปกติ ผู้ใด ที่ไม่ได้อบรมเจริญติปัฏฐาน ก็จะถูก ว่า จากชาวเมือง นั้นว่า ชีวิตเธอสูญเปล่า ไม่มีประโยชน์
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ ครับ
ที่มาของคำว่า กุรุ [อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร]
ดังนั้น เมื่อได้ยินชื่อ กุรุ ก็ให้น้อมระลึกถึงการเป็นผู้เจริญสติปัฏาน ซึ่ง ก็จะต้อง เริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นสำคัญ เมื่อปัญญาเจริญมากขึ้น ก็ย่อม เป็นปัจจัยให้เกิด สติปัฏฐาน ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ได้ครับ ดังเช่น มีการจัดสนทนาธรรมในสถานที่ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการเจริญขึ้นของ ปัญญา อันเป็นปัจจัยให้เกิดสติและปัญญา รู้แจ้งสภาพรรมตามความเป็นจริง จนถึง การดับกิเลสได้ ครับ ก็ขออนุโมทนา ในกุศลจิตของท่านอาจารย์สุจินต์ วิทยากร ผู้จัด และ ผู้ร่วมฟัง ร่วมสนทนาธรรมทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
“ขอเรียนเชิญร่วมฟังและสนทนาธรรม”
กับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร
ของมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ใน วันอังคาร ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ -๑๕.๐๐ น.
ณ แพรวอาภาเพลส ชั้น ๒ ห้องชวนชม
กรุณาติดต่อสอบถาม หรือ แจ้งความประสงค์ เข้าร่วมฟังพระธรรมครั้งนี้ได้ที่
๐๘๑-๕๗๑๖๕๓๓ ๐๘๗-๕๓๑๓๑๐๕
อาจารย์มาลี - อาจารย์จรัญ ฉลวยศรีเมือง
email- aumpt7@hotmail.com
(รายการนี้เป็น “ธรรมบรรณาการ” มิได้จัดเก็บ ค่าใช้จ่ายใดๆ จากท่าน)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบายคำว่า "กุรุ" นะคะ เร็วมากเลยค่ะ
คำว่า "ธัมมัสสากัจฉา" มีรากศัพท์มาจากคำใดบ้าง และมีความหมายอย่างไร
เขียนให้ถูกต้องอย่างไร มีองค์ประกอบลักษณะอย่างไร
เรียนถามมาเพราะก็เป็นคำที่ไม่รู้จักจริง ทั้งนั้นเลยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๐๔
การสนทนาธรรม ชื่อว่า ธรรมสากัจฉา
คำว่า ธรรมสากจฉา (ธัมมสากัจฉา) เป็นคำมาจากภาษาบาลีว่า ธมฺมสากจฺฉา ซึ่งแยกศัพท์เป็น ธมฺม (สิ่งที่มีจริง พระธรรม) กับ คำว่า สากจฺฉา (การสนทนา การกล่าวด้วยดี,การกล่าวตรงกัน) แปลรวมกันได้ว่า การสนทนาธรรม ซึ่งเป็นการ
กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง เพื่อให้เข้าใจถูกเห็นถูก ตรงกัน ตรงตามความเป็นจริงของธรรม ประโยชน์ของการสนทนาธรรมก็คือ จากที่ไม่เคยเข้าใจ ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น หรือเมื่อเข้าใจแล้ว ก็เพิ่มพูนความมั่นคงในความเข้าใจ ให้ยิ่งขึ้น สรุปแล้ว คือ การสนทนาธรรมเป็นมงคล เป็นความดี เป็นเหตุให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกเจริญขึ้น ครับ การเขียนคำดังกล่าวนี้ เขียนได้ดังนี้ คือ ธรรมสากัจฉา ธัมมสากัจฉา หรือถ้าไม่ถนัดคำนี้ ก็กล่าวถึงคำไทยธรรมดาๆ ก็ได้ คือ การสนทนาธรรม เพราะมีความหมายอย่างเดียวกัน เพียงแต่เป็นคนละภาษาเท่านั้นเอง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา
สำหรับคำอธิบายคำว่า "ธรรมสากัจฉา" “ธัมมสากัจฉา” นะคะ
คำว่า "ฟัง"กับ “ได้ยิน” มาจากคำใดในภาษาธัมมะ
และ มีความหมายต่างกันอย่างไร
แต่ละ คำ ประกอบด้วย จิต เจตสิก ดวงใดบ้าง มีลักษณะอาการต่างกันอย่างไร
เรียนถามมาเพื่อละความไม่รู้นะคะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบายค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 5 ครับ
คำว่า ฟัง ในภาษาธรรมใช้คำว่า สุตะ เช่น เป็นผู้มีสุตะมาก คือ ฟังมาก ส่วน คำว่า ได้ยิน ภาษาธรรมเรียกว่า โสตวิญญาณ หรือ เรียกง่ายๆ ว่า จิตได้ยิน ซึ่ง สำหรับการได้ยิน ก็เป็นผลของกรรม ที่เพียงได้ยินเท่านั้น แต่ยังไม่ได้พิจารณา ไตร่ตรอง คือ เพียงแค่ได้ยินเสียงเท่านั้นเอง แต่ สำหรับการฟัง ที่เรียกว่า สุตะ ไม่ใช่เพียงได้ยิน แต่ หมายถึง การได้ยินแล้ว พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยิน จึงชื่อเป็นผู้มีสุตะ การฟัง คือ ได้ยินแล้วพิจารณาในเรื่องนั้น ซึ่งย่อมทำให้เกิด ปัญญา ความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ ครับ
สำหรับ โสตวิญญาณ คือ ขณะที่ได้ยิน ขณะนั้น มีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วย ๗ ประเภท คือ
๑. ผัสสเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์
๒. เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก หรือเสวยอารมณ์
๓. สัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จดจำ หรือคุ้นเคยในอารมณ์
๔. เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งใจ จงใจ
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่น เป็นหนึ่งในอารมณ์
๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นสภาพที่รักษาสัมปยุตธรรมให้มีชีวิตอยู่ได้
๗. มนสิการเจตสิก เป็นสภาพที่สนใจ ทำให้จิตมุ่งตรงต่ออารมณ์
ส่วน การฟัง ที่เป็นสุตะ ขณะนั้น เป็นขณะที่พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินแล้ว ก็เป็นความคิดนึกซึ่งมีเจตสิกมากกว่า ๗ ดวง และ อาจมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา
สำหรับคำอธิบายคำว่า "ฟัง" กับ “ได้ยิน” นะคะ
คำว่า "ธรรมบรรณาการ" กับ “ธรรมทาน"
มีความหมายต่างกันอย่างไร
เรียนถามมาเพื่อละความไม่รู้นะคะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบายค่ะ
ธรรมบรรณาการ คือ สิ่งของที่มอบให้ด้วยความเคารพ ที่เป็นธรรม ส่วน ธรรมทาน ก็คือ การให้ ธรรม โดยนัยทั้งสองคำ ก็ มีความหมายเหมือนกัน ที่เป็นการให้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงไว้อย่างถูกต้อง ไมว่าจะเป็นวัตถุ เช่น หนังสือ หรือ แสดงธรรม ให้มีการฟังธรรม ล้วนแล้วแต่เป็น การให้ธรรมทาน เป็น ธรรมบรรณาการ ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรมบรรณาการ คือสิ่งของที่มอบให้ด้วยความเคารพ ที่เป็นธรรม ส่วน ธรรมทาน ก็คือ การให้ ธรรม (ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ. ผเดิม ด้วยครับ)
การฟังพระธรรม เป็นการฟังสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือ เป็นการฟังเรื่อง ของสภาพธรรมที่ปรากฏ แล้วพิจารณาจนเข้าใจ เป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกของตนเอง มิฉะนั้นแล้ว ถ้าฟังเสียงอย่างอื่นที่ไม่ใช่พระธรรม โสตวิญญาณ ที่ได้ยินเสียง ก็จะเป็นเหตุนำมาซึ่งโลภะความติดข้องยินดี พอใจ และโทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจอยู่เสมอ ซึ่งก็เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ
การฟังพระธรรม เป็นกุศล เป็นความดี เป็นการฟังเรื่องสัจจธรรมที่มีจริง เป็นจริง ในชีวิตประจำวัน ทำให้เราเข้าใจสภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็น บุคคลว่าแท้ที่จริงก็เป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้นจริงๆ ทำให้เข้าใจโลก และเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะฟัง จะศึกษาในส่วนใดของพระธรรมคำสอนที่เป็นวาจาสัจจะ เป็นคำที่ แสดงถึงความจริงที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ล้วนเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดย ตลอด ก็เป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่ง ที่จะได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก ต่อไป นี้คือ สิ่งที่ควรพิจารณา ครับ
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
สำหรับผู้ศึกษาใหม่ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากค่ะ กราบอนุโมทนาอาจารย์วิทยากรทุกๆ ท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา
สำหรับคำอธิบายคำว่า "ธรรมบรรณาการ" กับ “ธรรมทาน" นะคะ
ขอความกรุณา ช่วยรวบรวม คำอธิบาย ความหมาย คำว่า "ธรรม" ให้ด้วยค่ะ
เรียนถามมาเพื่อละความไม่รู้นะคะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบายค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ธรรม หรือ ธัมมะ มีหลายหลายนัยและหลายความหมาย ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้ครับ
ในคำว่า ธมฺม นี้ ธัมมศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมี ปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจจธรรม เป็นต้น ดังนั้น ธรรมจึงมีหลายความหมาย
1. ธรรม หมายถึง ปริยัติ เช่น พระไตรปิฎก มี วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก ก็ชื่อว่า ธรรม
2. ธรรม หมาย ถึงปัญญา
3. ธรรม หมายถึง ปกติ เช่น มีความแก่เป็นปกติ เกิดเป็นปกติ ตายเป็นปกติ
4. ธรรม หมายถึง สภาวะ คือ ลักษณะของสภาพธัมมะของสภววะธรรมต่างๆ เช่น สภาวธรรมของกุศล อกุศล กิริยา
5. ธรรม หมายถึง จตุสัจจธรรม คือ อริยสัจ ๔
6. ธรรม หมายถึง บุญ หรือ กุศล
7. ธรรม หมายถึง บัญญัติ เรื่องราว ก็ชื่อว่า ธรรม
8. ธรรม หมายถึง อาบัติของพระ
9. ธรรม หมายถึง ปัจจัยของสภาพธรรมต่างๆ ก็ชื่อว่า ธรรม
10. ธรรม หมายถึง ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ชื่อว่า ธรรมเช่นกัน
เชิญคลิกอ่าน ความหมายของ ธรรม ในพระไตรปิฎก ครับ
ศัพท์ว่า ธัมมะ ตามที่เราได้ศึกษาเข้าใจกัน เข้าใจคำว่า ธรรม หมายถึง ลักษณะของสภาวธรรม ที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานจึงอยู่ในหมวด ที่อธิบาย คำว่าธรรมในพระไตรปิฎก ใน ข้อที่ ๔ ที่อธิบาย คำว่า ธรรม คือ สภาวะ ลักษณะที่มีอยู่จริง จะเห็นนะครับว่า ธรรม มีหลากหลายความหมายในพระไตรปิฎก ตามที่กระผมได้ กล่าวมา ดังนั้น จึงไม่ใช่ไปปฏิเสธความหมายของธรรม ในความหมายนั้น ความหมาย นี้ แต่จะต้องศึกษาและอ่านข้อความในพระไตรปิฎก หรือ เรื่องราวที่อ้างนั้นว่า ท่านมุ่ง หมายให้เข้าใจ ในเรื่องนั้นว่าอย่างไร คำว่า ธรรม ก็เป็นไปตามความมุ่งหมายของพระ พุทธเจ้าทรงแสดงหลากหลายนัยด้วยครับ แต่ที่สำคัญ หากเรามีพื้นฐานที่ถูกต้อง เป็นเบื้องต้น เราก็จะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ธรรมผิด เพราะ เข้าใจถูกก่อนครับ ว่า ธรรมในความหมายต่างๆ เช่น บุญ ปัญญา ปริยัติ คำสอน บัญญัติเรื่องราว เป็นต้น ล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัย ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงที่มีความหมายถึง สภาวะ ลักษณะ ที่ เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน หากไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงที่มี สภาวะ ลักษณะ ก็จะไม่มี บัญญัติเรื่องราว ไม่มีบุญ ไม่มีปัญญา ที่เป็นความหมายใน คำว่า ธรรมโดยนัยอื่นๆ เลยครับ เพราะฉะนั้น หากไม่ได้ศึกษาธรรมโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมเข้าใจคำว่า ธรรมที่เป็นสัจจะ ความจริงผิดไป จากธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และย่อมเข้าใจ คำว่า ธรรมเพียงแคบๆ ตามความคิดของตนเอง เช่น ธรรม คือ ธรรมชาติทุกๆ สิ่ง แต่ไม่ได้เข้าใจความเป็นจริงที่เป็นสัจจะ ของคำว่า ธรรม ที่เป็นสัจจะความจริง คือ มี สภาวะ ลักษณะให้รู้ คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ดังนั้นถ้าเราเข้าใจความหมายที่ ถูกต้องที่เป็นเบื้องต้นว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีอยู่จริงที่มีสภาวะ ลักษณะ เมื่อได้ยินความ หมาย คำว่า ธรรมในพระไตรปิฎกในความหมายอื่นๆ ก็เข้าใจถูก และไม่ขัดกัน เพราะ มุ่งแสดง คำว่า ธรรมโดยนัยอื่น แต่ถ้าไม่เข้าใจถูกในเบื้องต้น ในคำว่า ธรรม ก็จะทำ ให้เข้าใจผิด ในคำว่า ธรรม ตามที่พระพุทธเจ้างทรงแสดง และย่อมไม่เข้าถึงตัวธรรม คือ ไม่รู้ตัวจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะ ไม่เข้าใจเบื้องต้น จริงๆ ที่เป็นสัจจะว่า ธรรม คือ อะไร การศึกษาพระธรรม ด้วยความละเอียดรอบคอบ ย่อมเกื้อกูลต่อความเห็นถูกและความเจริญขึ้นของปัญญา ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา
สำหรับคำอธิบายคำว่า "ธรรม" นะคะ
วันนี้ได้ถอดข้อความบรรยายธัมมะของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอส่งมาให้ช่วยตรวจพิจารณาด้วยค่ะ...
ส. ปรมัตถธรรมหมายถึงสภาพธรรมะที่มีจริงๆ แม้ไม่เรียกชื่อ สิ่งนั้นก็มี หรือแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่ออย่างไรก็ตาม สภาพธรรมะนั้นก็ยังคงเป็นสภาพธรรมะนั้น อย่างภาษาบาลีใช้คำว่า โลภะ ภาษาไทยบอกว่า ความติดข้อง ความอยากได้ ความต้องการ ภาษาอังกฤษเรียกอีกคำหนึ่ง ภาษาอื่นก็เปลี่ยนไป แต่เปลี่ยนลักษณะของโลภะไม่ได้ จะใช้ภาษาอะไรก็ได้ ไม่เรียกก็ได้ แต่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมะนั้นไม่ได้
นี่คือปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่เรียกชื่อเลยก็ได้ จะใช้ชื่ออะไรก็ได้ จะเปลี่ยนชื่ออะไรก็ได้ แต่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมะนั้นไม่ได้
เพราะฉะนั้น ที่ว่ามี คือมีปรมัตถธรรม มีธรรมะจริงๆ จะเรียกก็ได้ ไม่เรียกก็ได้ จะไม่บอกว่า เป็นตัวตน ไม่บอกว่าเป็นคน ไม่บอกว่าเป็นอะไร แต่ลักษณะของรูปก็เป็นรูป ลักษณะของนามก็เป็นนาม
เรียน ความเห็นที่ 16 ครับ
จากข้อความที่ผู้ถาม ถอดมานั้น เป็นการแสดงลักษณะของธรรม ใน ธรม โดยนัย ที่แสดงถึง สภาพธรรมที่มีจริง ที่เรียกว่า ปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน อันเป็นการแสดงถึง ธรรมว่า จะต้องมีลักษณะ สภวะให้รู้ได้ แม้จะไม่เรียกชื่อ ก็จะต้อง มีลักษณะ สิ่งใด มีลักษณะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เรียกว่า ธรรม โดยนัยที่เป็น ปรมัตถ ธรรม ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม เพื่อเข้าใจ “เพิ่มขึ้น” ไม่ใช่เพื่อจำคำ “เพิ่มขึ้น”
อ้างอิงจาก ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ ไปสนทนาธรรมที่บริษัทจึงชินฮวด
สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบ สัมผัสทางกาย คิดนึก กุศล อกุศล ล้วนมีจริงๆ ในขณะนี้ซึ่งเป็นธรรม ที่เกิดเพราะเหตุ ปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ไม่มีเราที่แทรกอยู่ ในสภาพธรรมนั้นๆ ได้เลย
ธรรมมีจริงๆ เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่จะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกได้ ก็ต้องอาศัย พระธรรม คือ คำสอน ที่เป็นวาจาสัจจะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะถ้าไม่ได้ ฟังพระธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรมเลย แม้จะมีธรรม ก็ไม่สามารถมีความเข้าใจถูกเห็นถูก ตามความเป็นจริงได้เลย เพราะฉะนั้นแล้ว จะขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลยทีเดียวครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ธรรมคือสิ่งที่มีจริง แม้ไม่เรียกชื่อ ก็เป็นธรรม เช่น กุศลเปืนธรรมฝ่ายดี อกุศล เป็นธรรมฝ่ายไม่ดื ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา
สำหรับคำอธิบายคำว่า "ปรมัตถธรรม" นะคะ
ข้อความว่า "อย่าพูดคำที่ไม่รู้จัก" หรือ "พูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย" มีความหมายอย่างไรบ้าง จะประพฤติปฏิบัติตามอย่างไร มีคุณมีโทษอย่างไร คำไหนๆ ก็ยังไม่เคย รู้จัก หรือ ประจักษ์ เลยค่ะ จะพูดจะถามกันได้อย่างไรคะ และ "การใคร่ครวญพิจารณา" คืออย่างไร คะ
เรียนถามมาเพื่อความชัดเจนนะคะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบายค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 21 ครับ
อย่าพูดคำที่ไม่รู้จัก คือ พูดในคำที่ยังไม่เข้าใจริงๆ เช่น คำว่า ปฎิบัติธรรม เป็นต้น เพราะ พูดไปก็ไม่สามารถทำให้เข้าใจถูกได้ แต่ สิ่งที่สำคัญ ควรศึกษาพระธรรมก่อน จึงจะพูดในคำที่รู้จักแล้ว คือ เข้าใจแล้วจึงพูดครับ
ตั้งแต่เกิดจนตาย พูดแต่คำที่ไม่รู้ คือ ไม่ได้รู้จริงในคำนั้นจริงๆ เพราะ เป็นคำที่เข้าใจ ตามๆ กันมา ที่ไม่ใช่ คำที่แท้ที่จริงที่เป็น วาจาสัจจะ อันเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า เช่น คำว่า สติ ก็เข้าใจตามความหมายที่เข้าใจกัน แต่ไม่ถูกต้องตาม ความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ในคำว่า สติ และ คำว่า ธรรม ก็เช่นกัน พูด กล่าวกันบ่อย ได้ยิน และ พุดตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่รู้ว่าธรรม ที่แท้จริง คืออะไร และ ธรรมกำลังมีในขณะนี้ ซึ่ง การจะเข้าใจความจริง ในแต่ละคำ ก็ต้องศึกษาพระ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็เข้าใจทีละคำ ก็จะทำให้เกิดปัญญา ความเห็นถูก และเข้าใจคำที่ได้ยินได้ฟังได้ถูกต้อง ครับ
การใคร่ครวญพิจารณา คือ การใครครวญด้วยปัญญา คือ เมื่อฟัง และ อ่านแล้ว ด้วย ความตั้งใจ ก็ใคร่ครวญ พิจารณา สิ่งที่ได้อ่าน ได้ฟัง เพื่อประโยชน์ คือ เกิดปัญญา ความเข้าใจถูก ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
ข้อความว่า "อย่าพูดคำที่ไม่รู้จัก" หรือ "พูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย"
ขอเรียนถามเพิ่มเติม ว่า
คำไหนๆ ก็ยังไม่เคย รู้จัก หรือ ประจักษ์ เลยค่ะ จะพูดจะถามกันได้อย่างไรคะ
คงยังไม่ควรพูดอะไร แต่ควรตั้งใจฟัง จนกว่าประจักษ์จริง ค่อยพูด ใช่ไหมคะ
วันนี้ได้ถอดข้อความบรรยายธัมมะของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอส่งมาให้ช่วยตรวจพิจารณาด้วยค่ะ
ส. เพราะฉะนั้น อยากจะถามเพื่อให้เกิดปัญญาขึ้นว่าเห็นอะไร ตอบให้ตรงเลยว่า เห็นอะไร
ผู้ฟัง
ส. ตอนนี้เลยใช่ไหมคะ ก็เห็นทุกๆ ท่านกำลังนั่งฟังธรรมะ ทุกคนจะตอบเหมือนกันหมดเลย แต่ความจริงเห็นสี หรือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จะเห็นเกินว่านี้ไม่ได้เลย ใช่ไหมคะ ถ้าดับไฟมืดหมด ทั้งๆ ที่คนอยู่ในห้องนี้ เห็นไหมคะ ไม่เห็น
เพราะฉะนั้น เห็นจริงๆ เพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นเอง ถ้าตาอยู่ตรงนี้ ข้างหลังก็มีแสงสว่าง แต่ไม่มากระทบตรงจักขุปสาท การเห็นก็ไม่เกิด สีสันวัณณะต้องมากระทบกับจักขุปสาท การเห็นจึงเกิดเห็นขึ้นมาได้อย่างเร็วมาก
เพราะฉะนั้น เห็นจริงๆ เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา นี่คือความรู้ถูกต้อง และหลังจากเห็นแล้วจึงคิด บางคนของหาย อย่างเข็มเล่มเล็กๆ ทั้งๆ ที่อยู่ตรงหน้าก็ไม่เห็น ทำไมของอยู่ตรงหน้าก็ไม่เห็น เพราะไม่ได้คิดนึกถึงสัณฐานของเข็มที่กำลังปรากฏ แต่พอหาเจอบกว่าอยู่ตรงนี้เอง เพราะขณะนั้นนึกถึงรูปร่างอันนี้ ใช่ไหมคะ
เพราะฉะนั้น ขณะที่เรากำลังนั่ง แล้วเราก็ไม่เห็นใครสักคนหนึ่ง เพราะกำลังคิดเรื่องอื่น เป็นไปได้ไหมคะ ได้
เพราะฉะนั้น แสดงว่าสีเป็นอย่างหนึ่ง ความคิดเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่พอมารวมกัน คือคิดถึงสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เราก็บอกว่า เราเห็นคน ทั้งๆ ที่ขณะนั้นเราคิดถึงรูปร่าง สีสันของสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว เรามีอัตตสัญญา ความทรงจำยึดมั่นในสิ่งที่เห็น ในความจำของเราว่า ต้องเป็นคนที่เราเห็น แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าจะวิจัยวิเคราะห์ต่อไปอย่างละเอียดแล้ว เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วนึกถึงสิ่งนั้นเท่านั้นเอง ถ้าไม่นึกก็ไม่เห็น ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นก็อยู่ตรงหน้านี่แหละ ก็ยังไม่เห็นได้
เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ก็พอจะเกิดปัญญาขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ที่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วที่บอกว่าเห็นคน ความจริงเห็น
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
ข้อความว่า "อย่าพูดคำที่ไม่รู้จัก" หรือ "พูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย" คำไหนๆ ก็ยังไม่เคย รู้จัก หรือ ประจักษ์ เลยค่ะ จะพูดจะถามกันได้อย่างไรคะ คงยังไม่ควรพูดอะไร แต่ควรตั้งใจฟัง จนกว่าประจักษ์จริง ค่อยพูด
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม อีกครั้งค่ะ
บ้านธัมมะ > ฟังธรรม > ปัญหาธรรมะ
เข้าใจอะไร ถ้าทุกคนศึกษาเพื่อเข้าใจทั้งนั้น แต่ว่าศึกษาเพื่อเข้าใจอะไร ต้องให้ตรงอีกนะคะ คือ เข้าใจสภาพธัมมะที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เข้าใจอย่างอื่นค่ะ บางคนอาจจะคิดว่า เพื่อ เข้าใจ สิ่งที่มีในตำรา แต่ว่า นั่นไม่ใช่ "ความเข้าใจ" นั่นเป็น "เรื่อง" แต่ว่า ศึกษาตำรา เพื่อที่จะเข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจจริงๆ นะคะ ว่า ไม่ว่าจะ ศีกษา ส่วนใด ในพระไตรปิฎก ศึกษาน้อยหรือมากก็ตาม แต่ก็เพื่อที่จะ เข้าใจ สภาพธัมมะที่กำลังปรากฏ เช่น "ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา" เพียงเท่านี้ เข้าใจ ลักษณะของสภาพธัมมะ ที่กำลังปรากฏ อย่างนี้ จริงๆ หรือยังกำลังเห็น เป็นอนัตตา อย่างไร กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังติดนึก กำลังกระทบสัมผัส กำลังสุข กำลังทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างไร
ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ ศึกษา คือ ฟัง เรื่อง ของ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก ต่างๆ เพิ่มความเช้าใจ ในลักษณะที่เป็นอนัตตา ของสภาพธัมมะที่กำลังปรากฏ ยิ่งขึ้น ตราบใด ซึ่งทางตา ยังไม่ปรากฏ ลักษณะที่เป็นอนัตตา ก็ศึกษา ต่อไป เพื่อที่จะ เข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ จนกว่า สติ จะระลึก จนกว่า ปัญญา จะเพิ่มขึ้น จนกว่า ลักษณะของสภาพธัมมะ จะปรากฏ จนกว่า กิเลสจะดับ
การฟัง ของ แต่ละท่าน อาจจะ เคยฟังมาแล้ว ใน อดีต อนันตชาติ ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้นะคะ ว่าได้ฟังมามากน้อยเท่าไหร่ แล้วก็ในขณะที่ฟังนั้น เข้าใจเท่าไหร่ แล้วก็สติ ระลึก ลักษณะของสภาพธัมมะ ที่กำลังปรากฏ เท่าไหร่ ซึ่งเมื่อได้ฟังอีกนะคะ ก็เตือนให้ สามารถที่จะ เป็นปัจจัย ให้ สติเกิด ระลึกลักษณะ ของ สภาพธัมมะ ที่กำลังปรากฏ ถ้ามีปัญญา ที่สะสมมาแล้ว มาก ก็จะเป็น การแทงตลอด ลักษณของ สภาพธัมมะ ที่กำลังปรากฏ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ใน ขั้นของการฟัง แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ฟัง เพื่อ เข้าใจ สภาพธัมมะที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ ฟัง เพื่อ เข้าใจ สิ่งที่มีอยู่ใตำรา แล้วก็ไม่รู้เลย ว่า สภาพธัมมะ ที่กำลังปรากฏ เป็นอย่างไร ตรงกับ ที่ทรงแสดงไว้ อย่างไรบ้าง
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า ข้อความว่า
"ธัมมะไม่สาธารณะแก่ชนทั่วไป" หมายความว่าอย่างไรคะ และ ปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนใดบ้าง
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำอธิบายค่ะ
จาก ใหญ่ราชบุรี จันทร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรียน ความเห็นทื 25 ครับ
ธรรม ไม่สาธารณะกับชนทั่วไป หมายถึง แต่ละคน สะสมมาไม่เหมือนกัน คือ ผู้ที่ สะสมปัญญา สะสมความเข้าใจ สะสมปัญญา และ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จิตใจ ย่อมน้อมที่จะสนใจ และ เข้าใจในพระธรรมของพระพุทธเจ้า และ เห็นว่า พระธรรม เป็นสิ่งที่มีค่า ส่วนผู้ที่ไม่ได้สะสมความเข้าใจ ปัญญา และ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็จะไม่สนใจในพระธรรม ไม่มีศรัทธาในการฟัง และ เห็นว่าพระธรรมไม่มีค่า เพราะ ฉะนั้น พระธรรม จึงไม่สาธารณะกับชนทั่วไป เป็นไปตามการสะสมมาของแต่ละ บุคคล ครับ ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎก ก็มีแสดงไว้ ที่แสดงถึง การเห็นคุณค่าของ พระธรรมที่เป็นรัตนะ ว่า บุคคลบางบุคคลก็เห็นคุณค่า บุคคลบางบุคคลน็ไม่เห็นคุณค่า อันแสดงให้เห็นว่า พระธรรมไม่สาธารณะกับชนทั่วไป ครับ เชิญอ่าน ครับ ธรรมไม่สาธารณะแก่คนอื่นทั่วไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ 33
อีกประการหนึ่งก็ถ้าหากว่า ทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภคแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าชื่อว่าไม่ควรแก่การบริโภค (ไม่ควรแก่การนับถือ) ของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่ำทราม ซึ่งไม่มีอุปนิสัย ของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งมีความเห็นวิปริตและของคนเหล่าอื่นเห็นปานนี้ โดยที่สุดแม้ด้วยความฝัน (คือไม่เคยแม้แต่ฝันถึง) แต่ว่าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้
ควรแก่การบริโภคของชนทั้งหลาย ผู้มีอุปนิสสัยถึงพร้อม ผู้สามารถเพื่อจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในที่สุดแเห่งคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ผู้มีนิพเพธิกญาณทัสสนะมีพระพาหิยทารุจีริกะเป็นต้น และแห่งพระมหาสาวกผู้เกิดในสกุลใหญ่เหล่าอื่น ด้วยว่าอริยสาวกเหล่านั้น ยังการบริโภคนั้นให้สำเร็จอยู่ด้วยอนุตตริยะทั้งหลายมีทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นต้น ชื่อว่าได้บริโภคซึ่งพระตถาคตเจ้า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่มี
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
"ธัมมะไม่สาธารณะแก่ชนทั่วไป"
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า
ระดับ ของ ความอ่อน-แข็ง มีต่างๆ ขอความกรุณา อธิบายความละเอียดด้วยค่ะ
และ ปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนใดบ้าง
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำอธิบายค่ะ
จาก ใหญ่ราชบุรี จันทร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรียน ความเห็นที่ 28 ครับ
ระดับของความอ่อน และ แข็ง ซึ่ง ปรากฎทางกาย โดยการรับกระทบ ที่ กายปสาทรูป ซึ่ง ขณะใดที่รู้อ่อน หรือ รู้แข็ง ขณะนั้น เป็นกายวิญญาณจิต ซึ่ง ระดับของความอ่อน ความแข็ง ก็แล้วแต่ ความมากไปด้วย ปฐวีธาตุ หรือ ธาตุดินมาก ก็แสดงถึงลักษณะที่แข็งมาก ถ้าธาตุอดินน้อย ก็แข็งน้อย หรือ อ่อนนั่นเองแต่ ไม่ได้มีการแสดงระดับความอ่อน และ แข็งโดยละเอียดใน พระไตรปิฎก ครับ
ที่สำคัญ หนทางการเจริญอบรมปัญญา ที่เป็นสติปัฏฐาน เป็นการะลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เพราะ ฉะนั้น เมื่อใดสติเกิด สติและปัญญาย่อมรู้ว่า เป็นแต่เพียงํธรรมไม่ใช่เรา อย่างเช่น การรู้ธาตุดิน ขณะที่แข็งปรากฎ หรือ อ่อนปรากฎ ก้รู้ลักษณะในขณะนั้นว่าเป็นแต่ เพียงธรรมไม่ใช่เรา โดยที่ไม่ต้องไปรู้ว่า แข็งมาก หรือ แข็งน้อย หรือ มีระดับ อย่างไร เพราะ ปัญญาที่เป็นการเจริญสติป๊ัฏฐาน เป็นการรู้ลักษณะว่าเป็นแต่เพียง ธรรมไม่ใช่เรา เป็นสำคัญครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
ระดับ ของ ความอ่อน-แข็ง มีต่างๆ ขอความกรุณา อธิบายความละเอียดด้วยค่ะ
และ ปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนใดบ้าง
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า
๑. "แข้นแข็ง" หมายความว่าอย่างไรคะ (ขอโทษนะคะ ไม่ทราบว่าเขียนถูกหรือเปล่า)
๒."รู้ที่เป็นเรา" กับ "รู้ที่ไม่เป็นเรา" เป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไรบ้างคะ และ มีความละเอียดปรากฏในพระไตรปิฎกอย่างไรบ้างคะ
๓."ตามลำดับ" หมายความว่าอย่างไรคะ กรุณายกตัวอย่างแสดงลำดับด้วยค่ะ
ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา ในคำอธิบายค่ะ
บ้านธัมมะ > ฟังธรรม > ปัญหาธรรมะ
โลภะ มีทกวัน โทสะ ก็มีทุกวัน ธัมมะ ก็มีทุกวัน ถ้าฟังวิทยุ หรือ ฟังรายการเทป ของ มูลนิธิฯนะคะ เป็น ชีวิตประจำวันประจำวัน เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ประเดี๋ยวเราก็มีโลภะ ประเดี๋ยวเราก็มีกุศล ก็เป็น เรื่อง ของ สภาพธัมมะ ที่มีจริงๆ แต่ว่า ถ้าจะ ศึกษา พระไตรปิฎก ๓ ปิฎก ก็ควรจะ ตั้งต้นที่ พระอภิธรรมปิฎก เพราะว่า เป็น การตรัสรู้ธัมมะ ซึ่งถ้าไม่มีการตรัสรู้อย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกและพระวินัยปิฎก ก็มีไม่ได้ แต่ว่าการที่จะหยิบพระไตรปิฎก โดยเฉพาะ พระอภิธรรมปิฎก ขึ้นมาอานเอง รับรองได้ว่า ไม่มีใคร สามารถจะ เข้าใจได้ เพราะว่า ท่านแสดงกับ ท่านพระสารีบุตน พระอัครสามวก ในครั้งที่เสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา และก็บนสวรรค์นั้นก็มีบรรลุมรรคผล แล้วก็มีการเข้าใจอริยสัจจธรรมได้ด้วย ไม่ใช่แต่เฉพาะในมนุษย์ แต่ว่ามีพระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังนี่ค่ะ ซึ่งท่านก็ได้เก็บข้อความจากพระอภิธรรมปิฎกนี่น่ะค่ะ มาประมวลเป็น อภิธรรมมัตถสังคหะ
แล้วเราก็หลายๆ สำนัก ทุกสำนัก ก็จะศึกษากันตาม อภิธรรมมัตถสังคหะ ซึ่งเริ่มด้วย จิตปรมัตถ์ กล่าวถึง เรื่องจิตทั้งหมด แต่ว่าจริงๆ แล้ว ในสมัยพุทธกาล นี่ค่ะ ไม่มีการแยกเป็น ปริจเฉท ที่ ๑ หรือ แยก จิต จาก เจตสิก เลย เพราะฉะนั้น ก็แสดงรวมกันไปได้ คือ ทุกอย่าง เป็น ธัมมะ อย่างที่ พอพูดถึง ปรมัตถธรรม ก็พูดถึง เรื่อง จิต เจตสิก เป็น นามธรรม รูป เป็น รูปธรรม ไม่ต้องไปคอยถึง ปริจเฉท ที่ ๖ ซึ่งเขาจะแสดงถึง "รูป" โดยละเอียด แต่เราก็สามารถ ที่จะ กล่าว พื้นฐานทั่วๆ ไป ได้นะคะ แล้วก็ ศึกษาตาม เพราะฉะนั้น อย่า รั้งรอ หรือ รีรอ ที่จะฟังอะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับ ธัมมะ ที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
ฟังวันนี้ ก็ไปต่อกับ วันหลังได้ เหมือนกับ วันนี้ก็มีตาหูจมูกลิ้นกายใจ เมื่อวานนี้ก็มี ก็ไม่ต้องคอยว่า จะไปรู้ ตาก่อน หรือหูก่อน จมูกก่อน ลิ้นก่อน ก็เป็น สิ่งที่พิสูจน์ได้ ทุกขณะ ค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
จาก ใหญ่ราชบุรี อังคาร ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรียน ความเห็นที่ 30 ครับ
๑. "แข้นแข็ง" หมายความว่าอย่างไรคะ (ขอโทษนะคะ ไม่ทราบว่าเขียนถูกหรือเปล่า) แข้นแข็ง ก็เป้นการแสดงลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นธาตุดิน ที่ มีลักษณะแข็ง นั่นเอง ครับ
๒. "รู้ที่เป็นเรา" กับ "รู้ที่ไม่เป็นเรา" เป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไรบ้างคะ และ มีความละเอียดปรากฏในพระไตรปิฎกอย่างไรบ้างคะ
รู้ ที่เป็นเรา เช่น รู้ว่าเรากำลังเห็น รู้ว่าเรากำลังได้ยิน เป็นการู้โดยการคิดนึก และรู้โดย จักขุวิญญาณ (เห็น) ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ส่วน รู้ที่ไม่ใช่เรา คือ รู้ด้วยปัญญาที่เป็น ปัญญารู้ ที่กำลังรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ที่เป็นขณะที่สติปัฏฐานเกิด ครับ ซึ่ง ความละเอียดในพระไตรปิฎก ก็แสดง ถึง ขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ ขณะที่รู้ตัวลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นลักษณะของไตรลักษณ์ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา ที่ไม่ใช่เรา ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญาที่รู้ เป็นสำคัญ ครับ
๓. "ตามลำดับ" หมายความว่าอย่างไรคะ กรุณายกตัวอย่างแสดงลำดับด้วยค่ะ
ตามลำดับ มีหลายหลายนัย ทั้ง การศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ คือ ศึกษาในขั้นฟังให้เข้าใจ ที่เผ็นปริยัติ ย่อมถึง ลำดับต่อไป คือ ปฏิบัติ ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด รู้ความจริง และ ถึงลำดับ คือ ปฏิเวธ คือ การรู้แจ้งสัจจธรรม เป็นพระอริยบุคคล ปัญญาเจริญตามลำดับ จากขั้นการฟัง ขั้นที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขั้นวิปัสสนาญาณ ตามลำดับ และ ถึง การถึงความเป็นพระอริยบุคคล แต่ละขั้น ตามลำดับ ดับกิเลสไปตามลำดับ คือ ดับความเห็นผิดก่อน และ จึงดับกิเลสที่เป็นโทสะ โลภะ และ อวิชชา จนหมดวิ้น เป็นต้น ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.ผเดิม นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า
๑. "ท่านจงให้ทาน ท่านจงทำบุญ ท่านจงฟังธรรม" เป็นข้อความอยู่ในพระสูตรใด กรุณาสรุปสาระสำคัญของพระสูตรให้ด้วยค่ะ
๒. "ให้ทาน" กับ "ทำบุญ" มีความหมาย มีลักษณะอาการต่างกันอย่างไรคะ
๓. "อานิสงส์" กับ "ผลานิสงส์" มีความหมายต่างกันอย่างไร กรุณาแยกรากศัพท์ด้วยค่ะ และยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำทั้งสองให้ด้วยค่ะ
ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
จาก ใหญ่ราชบุรี พุธ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๖
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็น ครับ
-ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม เพื่อเข้าใจ “เพิ่มขึ้น” ไม่ใช่เพื่อจำคำ “เพิ่มขึ้น”
อ้างอิงจาก ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ ไปสนทนาธรรมที่บริษัทจึงชินฮวด
- สำหรับข้อความที่กล่าวถึง จงให้ทาน จงทำบุญ จงฟังธรรม นั้น มีปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น
[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๕๒๒
พุทธรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก ธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, สังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, พวกท่านจงให้ทานทั้งหลาย จงทำบุญทั้งหลาย วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๔วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๕ พวกท่านจงทำอุโบสถ จงฟังธรรม" ซึ่งจากประโยคดังกล่าว แสดงถึงการชักชวนของบุคคลผู้เป็นบัณฑิต ที่มีความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นได้สะสมสิ่งที่ดีที่เป็นความดีประการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน การสละวัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น ตลอดจนถึงบุญประการต่างๆ รวมถึงการมีโอกาสได้ฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ด้วย
-การให้ทาน ก็เป็นบุญประการหนึ่ง เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดจากอกุศล แต่บุญไม่ได้มีเฉพาะทาน เท่านั้น ยังมีในส่วนอื่นอีก ดังต่อไปนี้ คือ
๑. ทาน การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
๒. ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อน
๓. ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา วิปัสสนาภาวนา ๑
๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจในขณะนั้นไม่หยาบกระด้างด้วยความถือตัว
๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์ ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่อยู่ในสภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะสงเคราะห์แก่ผู้นั้น แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต เป็นบุญ
๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้
๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้าเป็นคนพาล ไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบการกระทำบุญกุศลของบุคคลอื่น ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนาในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่นชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น
๘. ธัมมเทศนา การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติมิตรสหาย หรือบุคคลใดก็ตามซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผลในพระธรรมวินัย ก็ควรที่จะได้แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น
๙. ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ก็เป็นบุญ
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การกระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมและเหตุผลของสภาพธรรมนั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่เป็นอกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตามสภาพธรรมจริงๆ ว่า สภาพธรรมนั้นเป็นอกุศล ไม่ปะปนกุศลธรรมกับอกุศลธรรม
จากข้อความข้างต้น ก็พอจะเข้าใจได้ว่า ทาน เป็นบุญประการหนึ่ง ส่วน การทำบุญ
นั้น กว้างขวางมาก ไม่ได้มุ่งเฉพาะทานเพียงอย่างเดียว ครับ
-อานิสงส์ กับ ผลานิสงส์ นั้น [สำหรับคำที่เป็นภาษาบาลี ที่เกี่ยวกับรากศัพท์ต่างๆ ก็คงจะไม่จำเป็นมากนักสำหรับคนไทย เช่น คำว่า อานิสงส์ ภาษาบาลี คือ อานิสํส มีรากศัพท์มาจาก อา บทหน้า นิ บทหน้า สํส ธาตุ ลงในอรรถว่า สรรเสริญ พร้อมกับ ลง อ ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น อานิสํส (อานิสงส์ = ผลที่หลังไหลมากจากเหตุ) ขอเพียงเข้าใจในความหมายก็พอ]
ก็ควรที่จะได้พิจารณา ว่า ในพระไตรปิฎก มีทั้ง ผล ทั้ง อานิสงส์ และ ผลานิสงส์ ด้วย ซึ่งก็ไม่พ้นไปจาก สิ่งที่เกิดมาจากเหตุ สิ่งที่หลังไหลมาจากเหตุ เช่น กล่าวถึงผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว หรือ เมื่อมีการอบรมเหตุอย่างนี้ ก็ย่อม เป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น ตามควรแก่เหตุ เป็นต้น
สำหรับในรายละเอียด ก็ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
ทานสูตร [อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต]
ปฐมเจโตวิมุตติสูตร .. ธรรมที่อำนวยผลให้บรรลุวิมุตติ
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.คำปัน นะคะ สำหรับ คำอธิบาย
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า
"บุญ" กับ "กุศล" มีคำแปล ความหมาย ลักษณะของปรมัตถธรรม อย่างไรค่ะ เข้าใจว่า ด้วยยังไม่มีพื้นฐานในคำต่างๆ ก็เลยติดอยู่ในคำ ใช่ไหมคะ หากรู้เป็นเรื่องเป็นวิชาการ จำได้ พูดได้ ก็คิดว่าเป็นระดับหนึ่ง จะเป็นเครื่องเนิ่นช้าในการเข้าใจสภาพธัมมะหรือเปล่าคะ และเพราะเหตุใด มีกล่าวอธิบายประเด็นนี้ไว้อย่างไรบ้างคะไว้
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในความกรุณาของทุกๆ ท่านค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 34 ครับ
จากคำถามที่ว่า
"บุญ" กับ "กุศล" มีคำแปล ความหมาย ลักษณะของปรมัตถธรรม อย่างไรค่่ะ
ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ควรอย่างยิ่งที่จะได้เข้าใจธรรมทีละคำ โดยในที่นี้มีคำที่ควรจะได้เข้าใจ ๒ คำคือ บุญ กับ กุศล ซึ่งเมื่อโดยอรรถแล้ว เหมือนกัน ไม่แตกต่างกันเลย
บุญ เป็นสภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด (เพราะโดยปกติแล้วจิตสกปรกด้วยอำนาจของอกุศลธรรม) จากที่เป็นอกุศล ก็ค่อยๆ เป็นกุศลขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากขณะที่จิตเป็นกุศล เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในการอบรมเจริญความสงบของจิต และเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปทำบุญ เพราะบุญอยู่ที่สภาพจิต จิตเป็นกุศลเป็นบุญ (ซึ่งก็สามารถกล่าวโดยโวหารของชาวโลกได้ว่า ผู้นั้น ผู้นี้กระทำบุญ) ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตเป็นอกุศล ก็ไม่ใช่บุญ
กุศล เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นสภาพธรรมที่ตัดซึ่งอกุศลธรรม กุศล เป็นนามธรรม หมายถึง สภาพจิตใจที่ดีงาม ซึ่งจิตใจที่ดีงามนี้ ทำให้เกิดผลที่เป็นสุข, จิตใจที่ดีงาม ย่อมเป็นเหตุทำให้ได้รับผลที่ดีงามด้วย ฉะนั้น ถ้าใครมีจิตใจที่ดีงาม โดยที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่ทะนงตน ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ไม่มีกิเลสอะไรๆ เกิดขึ้นในขณะนั้นก็เป็นกุศล ถึงแม้ว่าจะไม่มีวัตถุสิ่งของให้แก่บุคคลอื่น ก็เป็นกุศลอย่างอื่นได้ เพราะเหตุว่ากุศล ไม่ได้มีเฉพาะการให้ทานเท่านั้น การอ่อนน้อมถ่อมตน การคอยช่วยเหลือบุคคลอื่น การมีเมตตาไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น การให้ข้อคิดธรรมเตือนใจดีๆ แก่ผู้อื่น การฟังธรรม การอุทิศส่วนกุศล การอนุโมทนาในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำ เป็นต้น ก็เป็นกุศลเช่นเดียวกัน
ความหมายของกุศลตามที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์ มีดังนี้
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า ๒๒๖
กุศลศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก.
สภาวะที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ยังปาปธรรมอันบัณฑิตเกลียดให้ไหว ให้เคลื่อนไป ให้หวั่นไหว คือ ให้พินาศ
ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ย่อมตัดส่วนสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมองของจิต) ที่ถึงส่วนทั้งสอง คือ ที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิด เหมือนหญ้าคาย่อมบาดส่วนแห่งมือที่ลูบคมหญ้าทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมตัดคือ ย่อมทำลายอกุศล เหมือนหญ้าคา ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า กุศลธรรมทุกประเภท ความดีทุกประการ เป็นบุญ เป็นกุศล ซึ่งก็คือ กุศลจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย นั่นเอง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะไม่เป็นภัยใดๆ เลย ไม่เป็นภัยทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น มีแต่จะนำมาซึ่งประโยชน์สุขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ครับ.
ส่วนคำถามที่ว่า
เข้าใจว่า ด้วยยังไม่มีพื้นฐานในคำต่างๆ ก็เลยติดอยู่ในคำ ใช่ไหมคะ หากรู้เป็นเรื่องเป็นวิชาการ จำได้ พูดได้ ก็คิดว่าเป็นระดับหนึ่ง จะเป็นเครื่องเนิ่นช้าในการเข้าใจสภาพธัมมะหรือเปล่าคะ และเพราะเหตุใด มีกล่าวอธิบายประเด็นนี้ไว้อย่างไรบ้างคะไว้
การศึกษาธรรม ที่ถูกต้อง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรู้ความหมายแต่ละคำเป็น อย่างไร แต่ จะต้องเข้าใจใหถูกว่า สิ่งที่ศึกษาเป็นการแสดงถึงความจริงของสภาพ ธรรม ที่มีจริงในขณะนี้ เพื่อที่จะรู้ความจริงในขณะนี้ เพราะการศึกษาธรรมไม่ใช่ ดั่งวิชาการทางโลก ที่จะต้องรู้ส่วนประกอบของคำ แต่ละคำ ซึ่งการศึกษาเช่นนี้ก็จะ เป็นเครื่องเนิ่นช้า เพราะ ถูกโลภะอย่างละเอียดที่อยากรู้ชือ่ แต่ลืมที่จะศึกษาเพื่อ เข้าใจตัวจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา ท่านวิทยากร สำหรับคำอธิบายค่ะ
จาก"เก็บไว้ในหทัย" หน้า ๕๓
"ความพอใจ ที่จะ ศึกษา และ เข้าใจ ในธรรมะ ไม่ใช่ โลภะ ไม่ใช่ความติดข้อง แต่เป็นการแสวงหาหนทางที่จะดับความติดข้อง ดับความยึดมั่นในความเห็นผิด ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย"
ขอเรียนถามว่า หมายถึง "ฉันทะ" หรือเปล่าคะ หรือ หมายถึง สภาพธรรมใด สภาพธรรมนั้น ปราศจากโลภะ หรือไม่ อย่างไรคะ
ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา ท่านวิทยากร สำหรับคำอธิบายค่ะ
เรียน ความเห็น 36 ครับ
หมายถึง ฉันทะ ที่เป็นกุศล ในการฟัง ในการศึกษาพระธรรม เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ครับ เพราะความเป็นจริงของฉันทะ แล้ว เกิดกับอกุศล ก็ได้ เกิดกับกุศล ก็ได้ ดังนั้น ในประโยคดังกล่าวที่ได้ฟังจากท่านอาจารย์ ก็เป็นความพอใจในการที่ศึกษาพระธรรม ให้เข้าใจ เป็นฉันทะ ที่เกิดร่วมกับกุศลจิต ที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ขัดเกลากิเลส มี ความไม่รู้ เป็นต้น ครับ
....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...