อกุศลวิบาก

 
papon
วันที่  19 ก.ค. 2556
หมายเลข  23213
อ่าน  1,067

กระผมเคยฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์ (จำไม่ได้ว่าชุดไหน) ว่าคนที่ต้องเป็น

โรคร้าย เช่น ตาบอด อัมพาต มะเร็ง เป็นคนซึ่งเคยทำกรรมหนักในอดีต เพื่อเป็นการ

ตรึงในการระวัง จะไม่ทำอีกต่อไป จึงรายละเอียดต่ออาจารย์ด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ ๓๔๒

“ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน

ท่านก็อย่าทำบาปกรรม ทั้งในที่ลับ ทั้งในที่แจ้ง

ก็หากว่าท่านจักกระทำ หรือกำลังกระทำบาปกรรม

ถึงท่านจะเหาะหนีไป ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ ได้เลย”

(ปุณณิกาเถรีคาถา)

@ถ้ามีกุศลเกิดมากขึ้น ความไม่ดีที่จะเกิดขึ้นก็จะน้อยลง

@ถ้าคิดว่า กิเลส น้อย นั่น ประมาทแล้ว

อ้างอิงจาก ..ท่านอาจารย์สุจินต์ ไปสนทนาธรรมที่เชียงใหม่ ๑๖ - ๑๗ ก.ค. ๒๕๕๖

-----------------------------------------

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดย

ตลอด ทรงแสดงโดยละเอียดโดยประการทั้งปวง แม้แต่ในเรื่องกรรมและผลของกรรม

แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุที่ได้กระทำ

แล้ว ก็ย่อมจะเป็นเหตุปัจจัยให้ผลเกิดขึ้นเป็นไปได้ตามควรแก่เหตุ เหตุที่ดี ก็ย่อม

ให้ผลที่ดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นเหตุที่ไม่ดี ก็ย่อมให้ผลเป็นผลที่ไม่ดี โดย

ไม่มีใครทำให้เลย

พระธรรมเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องเตือนที่ดีในชีวิตประจำวัน โดยปกติของบุคคลผู้

ที่ยังมีกิเลสอยู่ก็ไหลไปตามอำนาจกิเลสเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นผู้ประมาทกำลัง

ของกิเลสไม่ได้เลย เพราะภาวะของความเป็นปุถุชนแล้ว มีโทษมาก สามารถกระทำ

อกุศลกรรมที่หนักๆ ได้ แต่ผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม ฟังพระธรรมศึกษาพระ

ธรรมอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ก็จะเป็นผู้มีปัญญา

เป็นเครื่องนำทางชีวิต ให้กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่กระทำอกุศลกรรม

กิเลส เป็นสิ่งที่จะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว ขอยกเรื่องในอดีต ซึ่งเป็นอดีตกรรมของ

ท่านพระจักขุบาล ดังนี้

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ อดีตกรรมของพระจักขุบาล [ขุททกนิกาย คาถา

ธรรมบท]

เมื่อได้อ่านอดีตกรรมของพระจักขุบาล แล้ว ทำให้พิจารณาได้ว่า "เจตนาที่

เบียดเบียนคนอื่น ย่อมเบียดเบียนตนเอง" เป็นข้อคิดเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

เพราะเพียงคิดที่จะประทุษร้ายเบียดเบียนคนอื่น คิดไม่ดีกับคนอื่น ก็ไม่ดีแล้ว

เป็นกุศลธรรมที่เกิดขึ้นทำร้ายจิตใจของตนเอง ยิ่งถ้าเป็นการล่วงเป็นทุจริตกรรม

มีการประทุษร้ายคนอื่นเกิดขึ้น ทางกาย ทางวาจา ด้วยแล้ว นั่นเป็นกุศลกรรมบถ

เมื่อกุศลกรรมให้ผล ก็ให้ผลที่ไม่ดีกับตนเอง เท่านั้น ไม่ใช่ผลดังกล่าวจะเกิดขึ้น

ที่ผู้อื่น ในเมื่อเป็นกรรมที่ตนเองได้กระทำ (เจตนา เป็น กรรม) ก็ต้องเป็นตนเอง

เท่านั้นที่ได้รับผลของกรรม ซึ่งก็เป็นธรรมทั้งหมด ทั้งกรรม และ การได้รับผลของ

กรรม

แม้แต่ท่านพระจักขุบาลเอง ถึงแม้ว่าในชาติสุดท้ายท่านจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

แต่เพราะอดีตกรรมที่ท่านได้กระทำไว้ตั้งแต่ในกาลสมัยที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็เป็นเหตุ

ทำให้ท่านเป็นผู้มีตาบอด เพราะกรรมคือ เจตนาประทุษร้ายต่อผู้อื่นด้วยการประกอบ

ยาทำลายตาของหญิงชาวบ้านคนหนึ่งทำให้นางถึงกับตาบอด เจตนา อันเป็นกรรมนั้น

สะสมสืบต่ออยู่ในจิต ไม่สูญหายไปไหน เมื่อถึงคราวให้ผล ก็ทำให้พระจักขุบาล

เป็นผู้มีตาบอด "กรรม ยุติธรรมที่สุดในการให้ผล" และ "กรรม ก็ไม่ลืมที่จะให้ผลอีก

ด้วย แม้ว่าผู้ที่ได้กระทำกรรม จะลืมไปแล้วว่าตนเองได้กระทำกรรมอะไรไว้บ้าง

ตั้งแต่เมื่อใด"

ควรที่จะได้พิจารณา ว่า ถ้ากลัวความเดือดร้อนในภายหลัง ก็จะต้องงดเว้น

จากกุศลกรรม ต้องไม่ทำกุศลกรรม อย่างเด็ดขาด และนอกจากนั้น ยังจะต้องน้อม

ประพฤติในสิ่งที่ดีงามให้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย สำคัญที่สุด คือ "เป็นคนดีและ ศึกษาพระ

ธรรมให้เข้าใจ"ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 19 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับการเป็นโรคร้ายต่างๆ นั้น ที่เป็นการเจ็บป่วย พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้

ว่าเกิดจากบาปกรรม ที่เป็นเพียงเศษของกรรม คือ การฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตที่เป็น

ปาณาติบาต ไม่ต้องถึงกับกรรมหนัก ก็เป็นปัจจัยให้ป่วยเป็นโรคร้ายได้ ครับ

ซึ่ง เศษของกรรมที่ทำปาณาติบาต รวมทั้งการเบียดเบียนสัตว์ทำให้เป็นผู้เจ็บ

ป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย เพราะ กรรม คือ การเบียดเบียนสัตว์ให้ผล สมดังที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่องกรรมไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้า 253

ดูก่อนมาณพ บุคคลบางตนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้

หรือศาสตรา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรม

นั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะ

เป็นคนมีโรคมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็น

ผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา.

[๕๘๕] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางตนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษ

ก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้

หรือศาสตรา. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา

ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้า

มาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ . ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย. ดูก่อนมาณพ

ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วย

ฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา.

อย่างไรก็ดี ผู้ที่ทำบาปเป็นปกติ มีการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ก็เป็นเหตุ

ปัจจัยทำให้เป็นโรคร้ายได้เป็นธรรมดา แต่ ที่สำคัญ แม้จะเป็นโรคร้ายอย่างไร

การสะสมคุณความดีก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ ก็สะสมต่อไปทำให้สามารถละกิเลส

ได้ในที่สุด ดังนั้น โรคกายเป็นเรื่องเล็กน้อย หากเทียบกับโรคใจที่เป็นโรคที่ร้าย

แรงและเป็นต้นเหตุของปัญหาและความทุกข์ทั้งปวง ครับ

พระอรหันต์ พระสาวกในอดีตท่านก็เคยทำบาปมา และทำให้เป็นโรคร้าย แต่

เพราะท่านสะสมปัญญา สะสมกุศลธรรมมา ทำให้ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

ได้ ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ -หน้าที่ 439

พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่ง

พระอรหัตเห็นปานนั้น เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร ? กระดูกทั้ง-

หลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร? อะไรเป็นเหตุถึงควานเป็นอุปนิสัยแห่ง

พระอรหัตของท่านเล่า?

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมด เกิดแล้วแก่ติสสะนั่น

ก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้.

พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง"

ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้ :-)

บุรพกรรมของพระติสสะ

ติสสะนี้เป็นพรานนก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระ-

นามว่ากัสสปะ ฆ่านกเป็นอันมากบำรุงอิสรชน, ขายนกที่เหลือจากนก

ที่ให้แก่อิสรชนเหล่านั้น. คิดว่า "นกที่เหลือจากขาย อันเราฆ่าเก็บไว้

จักเน่าเสีย" จึงหักกระดูกแข้งและกระดูกปีกของนกเหล่านั้น ทำอย่าง

ที่มันไม่อาจบินหนีไปได้ แล้วกองไว้. เขาขายนกเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น,

ในเวลาที่ได้นกมามากมาย ก็ให้ปิ้งไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน. วันหนึ่ง

เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่ง เที่ยวไปเพื่อบิณฑ-

บาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส

คิดว่า "สัตว์มีชีวิตมากมาย ถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตู

เรือนของเรา และโภชนะอันมีรสก็มีอยู่พร้อมภายในเรือน, เราจะถวาย

บิณฑบาตแก่ท่าน " ดังนี้แล้วจึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะ

อันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระ

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุด

แห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด." พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นอย่างนั้น."

- โรคกายทุกคนก็เป็นกันได้ธรรมดา หากแต่ว่าควรที่จะหาสาเหตุของโรคทางกาย

ที่สำคัญ คือ โรคใจ ที่เป็นโรคกิเลสที่ร้ายแรง ควรหายารักษา คือ พระธรรมที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่เป็นยารักษาโรคเป็นอย่างดี ผู้ที่เป็นผุ้ป่วย คนทานยา

คือ การศึกษาพระธรรม โรคก็ค่อยๆ สงบดีขึ้น จนละโรคกิเลสได้หมดสิ้น และ

ละ ควาทุกข์ทั้งปวงได้ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 20 ก.ค. 2556

ผลของการสนทนาธรรมมีแต่ความเจริญ...พ้นจากความเสื่อม..

ทำอย่างไรจะให้คนที่ไม่สนใจ ได้มาสนใจฟังธรรมบ้างคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

พระธรรมไม่สาธารณะกับทุกคน ครับ เพราะแล้วแต่ว่า เขาสะสมปัญญา

ความห็นถูกมาหรือเปล่า แต่เราก็สามารถแนะนำ พูดคุยเรื่องสนทนาทั่วไป

และ สอดแทรก เรื่องธรรมบ้าง หากเขาสะสมมา และเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม

เขาก็จะสนใจเอง แต่ หากไม่สะสมมา ทำอย่างไรก็ไม่สนใจ สุดท้าย ก็ควร

รักษาจิตเรา ที่เข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่..

ธรรมะไม่ใช่สาธารณะ

ธรรมของเรา อันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง?ธรรมะไม่สาธารณะ จะไปบังคับคนอื่นได้อย่างไร

ธรรมะไม่สาธารณะแก่คนอื่นทั่วไป เลยต้องทำนิ่งเฉยเสีย

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 23 ก.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nong
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ