ปุณณกสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  21 ก.ค. 2556
หมายเลข  23222
อ่าน  1,388

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ปุณณกสูตรที่ ๓

(ว่าด้วยเครื่องบูชายัญ)

...จาก...
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๙๐๐


(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มี.ค. ๒๕๕๔)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร


[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๙๐๐

ปุณณกสูตรที่ ๓

(ว่าด้วยเครื่องบูชายัญ)

[๙๒๗] ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาว่า

ข้าพระองค์มีความต้องการปัญหา จึง

มาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่มีความหวั่นไหว ผู้ทรง

เห็นรากเหง้ากุศลและอกุศล สัตว์ทั้งหลายผู้

เกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์

พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชา

ยังแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนปุณณกะ

สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่า-

ใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมากในโลกนี้ คือ ฤาษี

กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนาความเป็น

มนุษย์เป็นต้น อาศัยของมีชรา จึงบูชายัญ

แก่เทวดาทั้งหลาย.

ป. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอันมากในโลกนี้ คือ

ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ บูชายัญแก่เทวดา

ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์

สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น เป็น

คนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา

ได้บ้างแลหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนปุณณกะ สัตว์ทั้งหลาย

ผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหวัง ย่อม

ชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพัน

ถึงกาม เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า สัตว์

เหล่านั้นประกอบการบูชา ยังเป็นคนกำหนัด

ยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าหาก

ว่าสัตว์เหล่านั้นผู้ประกอบการบูชา ไม่ข้าม

พ้นชาติและชราไปได้ด้วยยัญวิธีทั้งหลาย

ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลก

และมนุษย์โลก ข้ามพ้นชาติและชราไปได้

ในบัดนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้า-

พระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จง

ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนปุณณกะ ผู้ใดไม่มีความ

หวั่นไหว (ดิ้นรน) ในโลกไหนๆ เพราะ

ได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก

ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่วอันจะ

ทำให้มัวหมองดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอัน

กระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่า

ผู้นั้น ข้ามพ้นชาติและชราไปได้แล้ว.

จบปุณณกมาณวกปัญหาที่ ๓

อรรถกถาปุณณกสูตรที่ ๓

ปุณณกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อเนชํ ดังนี้ แม้พระสูตรนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ทรงตรัสห้ามโมฆราชโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มูลทสฺสาวึ คือผู้เห็นรากเหง้ามีอกุศลมูล

เป็นต้น . บทว่า อิสโย ได้แก่ชฎิล มีชื่อว่า ฤาษี. บทว่า ยญฺ ได้แก่

ไทยธรรม. บทว่า อกปฺปยึสุ คือแสวงหา.

บทว่า อาสึสมานา คือปรารถนารูปเป็นต้น. บทว่า อิตฺถตฺตํ

คือปรารถนาความเป็นมนุษย์เป็นต้น. บทว่า ชรํ สิตา คืออาศัยชรา. ใน

บทนี้ท่านกล่าวถึงทุกข์ในวัฏฏะทั้งหมดด้วยหัวข้อคือชรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายอาศัยทุกข์ในวัฏฏะเมื่อไม่พ้นไปจาก

ทุกข์นั้นจึงปรารถนาอย่างนี้.

ยัญนั่นแล ชื่อว่า ยัญญปถะ ในบทนี้ว่า กจฺจิสฺสุ เต ภควา

ยญฺญปเถ อปฺปมตฺตา อตารุ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ สัตว์ทั้งหลายเป็นคนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา

ได้บ้างหรือ. ท่านอธิบายไว้ว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในยัญ ปรารภ

ยัญ ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะได้บ้างหรือ.

บทว่า อาสึสนฺติ คือสัตว์ทั้งหลายปรารถนาการได้รูปเป็นต้น. บทว่า

โถมยนฺติ คือ สรรเสริญยัญเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า สุจึ ทินฺน เราให้ของ

ที่สะอาดแล้ว. บทว่า อภิชปฺปนฺติ ย่อมปรารถนา คือ ย่อมเปล่งวาจาเพื่อ

ได้รูปเป็นต้น. บทว่า ชุหนฺติ ย่อมบูชา คือย่อมให้. บทว่า กามาภิชปฺปนฺติ

ปฏิจฺจ ลาภํ ย่อมรำพันถึงกามก็เพราะอาศัยลาภ คือสัตว์ทั้งหลายย่อมรำพันถึง

กามบ่อยๆ เพราะอาศัยการได้ลาภมีรูปเป็นต้น คือย่อมกล่าวว่า ทำอย่างไร

ดีหนอ กามทั้งหลายจะพึงมีแก่เราบ้าง. ท่านอธิบายว่า กามทั้งหลายอาศัย

ตัณหาย่อมเจริญ. บทว่า ยาจโยคา ผู้ประกอบการบูชา คือน้อมไปในการ

บูชา. บทว่า ภวราครตฺตา กำหนัดยินดีในภพ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย

กำหนัดด้วยความยินดีในภพ ด้วยความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้. หรือ

เป็นผู้กำหนัดด้วยความยินดีในภพ กระทำความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า

ไม่ข้านพ้น คือไม่ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะมีชาติเป็นต้นไปได้.

บทว่า สงฺขาย คือพิจารณาแล้วด้วยญาณ. บทว่า ปโรวรานิ ยิ่ง

และหย่อน อธิบายว่า ยิ่งและหย่อน มีความเป็นของตนของผู้อื่นและความเป็น

ตนของตนเองเป็นต้น. บทว่า วิธูโม ปราศจากควัน คือเว้นควันมีกาย

ทุจริตเป็นต้น. บทว่า อนิโฆ ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต คือเว้นจากกิเลส

อันกระทบจิต คือราคะเป็นต้น. บทว่า อตาริ โส ผู้นั้นข้ามไปได้ คือผู้เห็น

ปานนั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้ามชาติและชราไปได้. บทที่เหลือในบทนี้ชัด

ดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต

ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา แม้พราหมณ์นี้ก็ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วย

อันเตวาสิก ๑,๐๐๐. ชนอื่นอีกหลายพัน ก็เกิดดวงตาเห็นเห็น. บทที่เหลือ

เช่นกับที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาปุณณกสูตรที่ ๓


...ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกท่าน...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ปุณณกสูตร

(ว่าด้วยเครื่องบูชายัญ)

ปุณณกมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูล

ถามปัญหากับพระองค์ ซึ่งปัญหาที่ปุณณกมาณพกราบทูลถาม สรุปได้ว่า ผู้ที่เกิด

มาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นฤาษี (ชฏิล) กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก ที่มีการบูชายัญ

แก่เทวดา นั้น อาศัยอะไร และปรารถนาอะไร คนเหล่านั้นเมื่อไม่ประมาทในการ

บูชายัญ จะพ้นจากชาติชราได้หรือไม่ และ จริงๆ แล้วใครเป็นผู้พ้นจากชาติ

และชราได้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ว่า ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นฤาษี

(ชฏิล) กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก เหล่านั้น อาศัยชรา ปรารถนาความเป็นมนุษย์

เป็นต้น จึงบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย อาศัยลาภ ปรารถนากาม ชื่นชมมกาม มี

รูป เป็นต้น จึงบูชายัญ แก่เทวดาทั้งหลาย คนเหล่านั้น แม้จะบูชายัญอย่างนั้น

ไม่สามารถพ้นจากชาติและชราได้ เนื่องจากยังติดข้องยินดีพอใจในกาม และความ

ติดข้องยินดีพอใจในภพ เพราะผู้ที่พ้นจากชาติและชราได้คือ บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว

ไม่ดิ้นรน ไม่มีกิเลสโดยประการทั้งปวง คือ พระอรหันต์ เท่านั้น

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ปุณณกมาณพ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับ

อันเตวาสิก ๑๐๐๐ ส่วนชนอีกหลายพันได้ดวงตาเห็นธรรม.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กามคุณ ๕

พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหว

ยัญ

ยัญ [อุชชยสูตร]

ดวงตาเห็นธรรม

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tusaneenui
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
guy
วันที่ 26 ก.ค. 2556

กราบ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 26 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natural
วันที่ 27 ก.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ