เหมกปัญหา และ โตเทยยปัญหา ... วันเสาร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  8 ก.ย. 2556
หมายเลข  23546
อ่าน  1,522

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

เหมกปัญหาที่ ๘ (ว่าด้วยเรื่องกำจัดตัณหา)

โตเทยยปัญหาที่ ๙ (ว่าด้วยการรู้จักมุนี)

จาก ...

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๙๓๐, ๙๓๓

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ ๙๓๐

เหมกปัญหาที่ ๘ (ว่าด้วยเรื่องกำจัดตัณหา)

[๔๓๒] เหมกมาณพทูลถามปัญหาว่า

(ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม) อาจารย์เหล่าใดได้พยากรณ์ลัทธิของตน แก่ ข้าพระองค์ ในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมา แล้วอย่างนี้ๆ จักเป็นอย่างนี้ๆ คำพยากรณ์ ทั้งหมดของอาจารย์เหล่านั้น ไม่ประจักษ์ แก่ตน คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่อง ทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น (ข้าพระองค์ไม่ ยินดีในคำพยากรณ์นั้น) ข้าแต่พระองค์ผู้ เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็น เครื่องกำจัดตัณหา อันซ่านไปในอารมณ์ ต่างๆ ในโลกแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพยากรณ์ว่า

ดูกร เหมกะ ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึง บท คือ นิพพาน อันไม่แปรผัน เป็นที่บรรเทา ฉันทราคะในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง และ สิ่งที่ได้ทราบ อันน่ารัก ณ ที่นี้ เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชน เหล่านั้นสงบระงับแล้ว มีสติข้ามตัณหาอัน ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้แล้ว.

จบเหมกมาณวกปัญหาที่ ๘

อรรถกถาเหมกสูตรที่ ๘

เหมกสูตรที่ ๘ มีคำเริ่มต้นว่า เย เม ปุพฺเพ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย เม ปุพฺเพ วิยากํสุ ความว่า อาจารย์เหล่าใด มีพาวรีพราหมณ์เป็นต้น ได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่ข้าพระองค์ในกาลก่อน.บทว่า หุรํ โคตมสาสนา คือ ก่อนศาสนาของพระโคดม. บทว่า สพฺพนฺตํ ตกฺกวฑฺฒนํ คือ คำพยากรณ์นั้นทั้งหมด เป็นเครื่องทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น. บทว่า ตณฺหานิคฺฆาตนํ ธรรมเป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ทำตัณหาให้พินาศ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่เหมกมาณพนั้นจึงตรัสสอง คาถาว่า อิธ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺญาย เย สตา ชนเหล่าใดได้รู้ ทั่วถึงบทคือนิพพาน เป็นผู้มีสติ ความว่า ชนเหล่าใดรู้แจ้งถึงบทคือนิพพานอัน ไม่ตายนั้น โดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ รู้โดยลำดับ เป็นผู้มีสติด้วยสติในกายานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา เห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้ว คือ เห็นธรรมเพราะรู้แจ้งธรรม และดับกิเลส เพราะดับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว พระผู้มี พระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ. เมื่อจบเทศนาก็ได้มีผู้บรรลุธรรม เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในสูตรก่อนนั่นแล

จบอรรถกถาเหมกสูตรที่ ๘.

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ ๙๓๐

โตเทยยปัญหาที่ ๙ (ว่าด้วยการรู้จักมุนี)

[๔๓๓] โตเทยยมาณพ ทูลถามปัญหาว่า

ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหา และข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษ ของผู้นั้น เป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร โตเทยยะ

ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหา และข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษ อย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี.

ต. ผู้นั้นไม่มีความปรารถนา หรือ ยังปรารถนาอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือ ยังเป็นผู้มีปรกติกำหนดด้วยปัญญาอยู่ ข้าแต่ พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง มุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ รอบคอบ ขอพระองค์จงตรัสบอกมุนีนั้นให้ แจ้งชัดแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูกร โตเทยยะ ผู้นั้นไม่มีความ ปรารถนา และไม่เป็นผู้ปรารถนาอยู่ด้วย ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา มิใช่เป็นผู้มีปรกติกำหนด ด้วยปัญญาอยู่ด้วย ท่านจงรู้จักมุนี ว่า เป็นผู้ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องอยู่แล้ว ในกามและภพแม้อย่างนี้.

จบโตเทยยมาณวกปัญหาที่ ๙

อรรถกถาโตเทยยสูตรที่ ๙

โตเทยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ กามา ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส โตเทยยมาณพ ทูลถามว่า ความพ้นวิเศษอันผู้นั้นพึงปรารถนาเป็นอย่างไร. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่พ้นแก่ โตเทยย มาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร ได้แก่ ความพ้นอย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ว่าความสิ้น ตัณหาเท่านั้น ชื่อว่า ความพ้น ดังนี้ โตเทยยมาณพก็ยังไม่เข้าใจความนั้นอยู่ดี จึงทูลถามอีกว่า นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มีความปรารถนา หรือยังปรารถนาอยู่ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺญกปฺปี หรือยังเป็นผู้กำหนดด้วย ปัญญาอยู่ คือ ยังกำหนดตัณหาหรือทิฏฐิ ด้วยญาณมีสมาปัตติญาณ เป็นต้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกข้อนั้นแก่ โตเทยยมาณพ จึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า กามภเว คือในกาม และในภพ. บทที่เหลือในบททั้งปวง ชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต นั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับพระสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาโตเทยยสูตรที่ ๙.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

เหมกปัญหาที่ ๘ (ว่าด้วยเรื่องกำจัดตัณหา)

เหมกมาณพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูล ว่า แต่ก่อนอาจารย์กล่าวแสดง ความคิดเห็นในปัญหาที่ตนเองสงสัย แต่ไม่สามารถทำให้เกิดความแจ่มแจ้งได้ จึงขอให้พระองค์ตรัสบอกถึงธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ผู้ที่ได้รู้ทั่วถึงบทคือพระนิพพาน กำจัดความติดข้องใน กามได้ มีสติ ดับกิเลสได้ ย่อมดับตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ได้ ในเวลาจบพระธรรมเทศนา เหมกมาณพได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับอันเตวาสิก ๑๐๐๐ ส่วนชนอีกหลายพันได้เกิดดวงตาเห็นธรรม.


ข้อความโดยสรุป

โตเทยยปัญหาที่ ๙ (ว่าด้วยการรู้จักมุนี)

โดเทยยมาณพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลถามพระองค์ถึงความพ้น วิเศษของผู้ไม่มีกาม ไม่มีตัณหา ไม่มีความสงสัย ว่า เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ความพ้นวิเศษอย่างอื่นของผู้นั้น ไม่มี ต่อจากนั้น โตเทยยมาณพ กราบทูลถามพระองค์ ถึงลักษณะของความเป็นมุนี (ผู้รู้) ว่าเป็นอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ผู้ไม่มีโลภะ เป็นผู้มีปัญญา ไม่ถูกตัณหาและความ เห็นผิดครอบงำ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามและไม่ติดข้องอยู่ในภพ ผู้มีลักษณะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นมุนี

ในเวลาจบพระธรรมเทศนา โตเทยยมาณพได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับ อันเตวาสิก ๑๐๐๐ ส่วนชนอีกหลายพันได้เกิดดวงตาเห็นธรรม.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กิเลสเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมอง

กิเลสตัณหา

นิพพาน ไม่ใช่อนัตตา แล้วนิพพานคืออะไร

โลภะ โทสะ โมหะ

กิเลสกาม - วัตถุกาม

กามเป็นอันมาก

ความติดข้อง

รัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุดได้อย่างไร

ดวงตาเห็นธรรม

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
swanjariya
วันที่ 11 ก.ย. 2556

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์และคณะวิทยากรพร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ทุกท่านค่ะ กราบขอบพระคุณในความเมตตาของอาจารย์คำปั่นที่อธิบายและให้ความรู้ เพิ่มเติมทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจกระจ่างขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 14 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natural
วันที่ 14 ก.ย. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ