พระสงฆ์ค้าขาย

 
syn
วันที่  9 ต.ค. 2556
หมายเลข  23810
อ่าน  5,219

การที่พระสงฆ์ทำการค้าขายในเชิงธุรกิจ ชื้อมาขายไปหวังกำไร (แต่ท่าน

ก็ชื้อมาด้วยความสุจริต) แล้วเราก็ชื้อจากท่านมาขายต่ออีกที "เป็นบาปไหม

ครับ" เคยชื้อมา 2 ครั้ง (เราไม่ชื้อก็มีคนอื่นชื้อ) แต่ฉุกคิดกลัวบาป สินค้าเป็น

พวกเครื่องเสียงลำโพงครับ ขอความกรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

@ เงิน ทอง ย่อมสมควรกับเพศคฤหัสถ์ ไม่สมควรกับเพศบรรพชิต เพราะ บรรพชิต

หมายถึง การเว้นทั่ว เว้นทั่ว จากการกระทำดั่งเช่น คฤหัสถ์ ที่เคยทำมา ไม่ว่า การจะ

ใช้เงิน และทอง การประกอบกิจการงาน ดั่งเช่น คฤหัสถ์ และเว้นทั่ว ซึ่งการกระทำ ที่

ไม่ดีทางกาย วาจาและใจ อันมีพระวินัยบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นข้อกำหนด

ให้รักษา และ เว้นทั่วจากกิเลสโดยประการทั้งปวง อันเกิดจากการฟังพระธรรม ศึกษา

พระธรรม เพราะฉะนั้น ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พระก็ไม่สามารถที่จะรับเงิน และทอง และ

ใช้เงินทองได้ เพราะ ไม่เช่นนั้น พระภิกษุ ก็ไม่ต่างจากเพศคฤหัสถ์ ที่มีการใช้เงิน และ

ทอง และเงินและทองเหล่านั้น ก็มีการสะสม นำมาซึ่งความยินดี นำมาซึ่งการเพิ่มกิเลส

อาสวะต่างๆ ได้ โดยไม่รู้ตัวเลย ครับ

ดังนั้น พระภิกษุ จึงไม่ควรประกอบกิจการงานดั่งเช่น คฤหัสถ์ อันเป็นการทำ ผิดพระ-

วินัย ตัวท่านก็อาบัติ เพราะ ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง ทำให้ผิดพระวินัย ต้องอาบัติได้ ครับ

ส่วน ตัวผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องกระทำในสิ่งที่ถูก ที่จะไม่เอื้อ ที่จะทำให้ท่านต้องอาบัติ

ผิดพระวินัยมากขึ้น เพราะฉะนั้น ตัวเราเองที่เป็นคฤหัสถ์ ก็ไม่ควรซื้อขายกับ พระภิกษุ

ไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะ จะทำให้ท่านอาบัติเพิ่มขึ้น เพราะ เพียงท่านยินดีใน เงิน ทอง ก็

ต้องอาบัติแล้ว ไม่ต้องพูดถึงการค้าขาย ดั่งเช่น คฤหัสถ์ ครับ

ส่วนผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ที่ทำการซื้อขาย กับ พระภิกษุ ไม่ได้เป็นบาป เพราะไม่ได้ล่วงศีล

5 ข้อหนึ่งข้อใด และ ไม่ทำให้เกิดผลไม่ดี และ ไม่มีอาบัติ สำหรับคฤหัสถ์ หากแต่ว่า

เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ครับ เพราะฉะนั้น ครั้งต่อไปก็ไม่ควรกระทำอีก เพราะ จะทำให้

ท่านผิดพระวินับ และ ตัวเราเอง ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้พระศาสนาอันตรธานไป

เพราะ เอื้อต่อการผิดพระวินัยของพระภิกษุได้ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
syn
วันที่ 9 ต.ค. 2556

กราบขอบพระคุณมากครับ ด้วยความศรัทธา ในศาสนาพุทธอย่างสูงสุดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 9 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 9 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การประกอบอาชีพค้าขาย เป็นกิจของคฤหัสถ์ ไม่ใช่ของพระภิกษุสามเณร

พระภิกษุสามเณร เป็นเพศบรรพชิต ที่มีศรัทธา มีความจริงใจในการที่จะสละอาคาร

บ้านเรือน เพื่อมุ่งสู่เพศที่สูงยิ่ง เพื่อฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา

ขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าบวชเข้ามาแล้ว จะทำอะไรก็ได้ จะทำ

เหมือนอย่างคฤหัสถ์ทุกอย่างก็ได้ อย่างนี้ ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการย่ำยี

ธรรมวินัย เพราะ พระภิกษุจะไม่ประกอบอาชีพอย่างที่คฤหัสถ์ทำ จะไม่รับเงินรับทอง

สิ่งที่ผู้ถามได้ถามมานั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับเพศบรรพชิต โดยประการทั้งปวง

กิจ หรือ ภาระหน้าที่ ที่สำคัญของเพศบรรพชิต คือ ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม

น้อมประพฤติตามพระธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการศึกษาพระวินัยให้เข้าใจ ก็จะทำ

ให้รู้ได้ ถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามไว้ และในส่วนที่พระองค์ทรงอนุญาต ก็จะ

เป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดี ให้ได้กระทำเฉพาะในสิ่งที่ถูกที่ควร และ เว้น ในสิ่งที่ไม่

เหมาะสมกับเพศของตน ซึ่งเป็นเพศที่สูงยิ่ง ถ้าย่อหย่อนไม่สำรวมตามพระธรรมวินัย

ย่อมมีแต่จะเพิ่มโทษคืออกุศลธรรมให้ตนเองโดยส่วนเดียว

ส่วนผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ถ้าได้มีความเข้าใจพระธรรมวินัยด้วย ก็จะไม่กระทำการใดๆ

อันจะเอื้ออำนวยต่อการต้องอาบัติของพระภิกษุ เมื่อรู้ว่าไม่เหมาะไม่ควรแล้ว ก็ไม่ควร

ที่จะทำต่อไป สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็่ผ่านไป แต่สามารถเริ่มต้นกับสิ่งที่ดีในขณะนี้ได้ ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว

ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 9 ต.ค. 2556

พระสงฆ์ทำการค้าขาย ผิดพระวินัย ถ้าคิดจะทำการค้าขาย สึกมาเป็นคฤหัสถ์

ดีกว่า ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณตาใจบุญ
วันที่ 10 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 10 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Tomnana
วันที่ 11 ต.ค. 2556

กราบอนุโมทนา ทุกท่าน ด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ