สารแห่งความสุข ..เอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) มีผลต่อจิตหรือ?

 
chatchai.k
วันที่  3 ส.ค. 2557
หมายเลข  25204
อ่าน  6,850

จากกระทู้ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี ท่านคงได้คำตอบแล้วว่าสุขที่แท้จริงมาจากความสงบ คือ สงบจากอกุศลทั้งหลาย

สำหรับสารเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง ออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและทำให้รู้สึกมีความสุข สารเอ็นดอร์ฟินอาจเกิดจากการออกกำลัง หรือถ้าท่านดูหนังตลกหรือฟังเรื่องตลก แล้วหัวเราะชอบใจ ร่างกายก็หลั่งสารนี้ได้เช่นกัน

ขอเรียนถามว่า สารเอ็นดอร์ฟิน มีผลต่อจิตหรือไม่ และความสุขที่เกิดขึ้นคงเป็นความสุขที่เกิดจากกิเลสหรืออย่างไร และคงไม่ใช่ความสุขที่เกิดจากความสงบ กรุณาชี้ให้เห็นความแตกต่างของความสุขทั้งสองกรณีนี้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตและเจตสิกจะเกิดได้ ต้องอาศัยรูป ซึ่งได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ หทยะ กายปสาทนั้นซึบซาบอยู่ทั่วตัว ทั้งอวัยวะน้อยใหญ่ เว้นไว้แต่เพียงผมกับปลายเล็บ ส่วนมโนทวารก็รับรู้อารมณ์ทุกอย่าง ทั้งทางใจ และต่อจากทางทวารอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตย่อมรับรู้อารมณ์ทุกอย่างที่มากระทบรูป การทานยานอนหลับและการดื่มสุรา มีผลต่อรูปโดยตรง เช่น ระบบประสาทการทำงานของสมอง การเต้นของหัวใจ และอวัยวะอื่นๆ ซึ่งย่อมมีผลต่อการรับรู้ ของจิตด้วย ครับ

เช่นเดียวกับ สารเอ็นดอร์ฟิน สารแห่งความสุข ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม ก็มีผลต่อรูป ทำให้มีผลต่อจิตด้วย เพราะรูปมีผลต่อจิตด้วย ทำให้เกิดเวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมจิต มีโสมนัสเวทนา เป็นต้นได้ เพราะทำให้เกิดรูปที่ดี ละเอียด เป็นต้นได้ เช่นกันครับ ซึ่งความสุขในที่นี้ เป็นโสมนัสเวทนา ซึ่งสามารถจะเกิดกับกุศลจิต และอกุศลจิตก็ได้ แต่โดยมากก็เป็นความโสมนัสเวทนาที่เกิดกับอกุศลจิตเป็นส่วนมาก ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
peem
วันที่ 3 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 3 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น โดยปกติความติดข้องต้องการ ก็มีเป็นประจำอยู่แล้วสำหรับผู้ที่ยังดับโลภะไม่ได้ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดเมื่อใดก็ติดข้อง กิจหน้าที่ของโลภะ คือ ติดข้อง ไม่สละ ไม่ปล่อยในสิ่งที่ติดข้อง และไม่ปล่อยให้จิตเป็นกุศลด้วย นี้คือ ความเป็นจริง ดังนั้น เมื่อโลภะ เกิดขึ้น มีเวทนาเกิดร่วมด้วย จะเป็นความรู้สึกเฉยๆ หรือความรู้สึกที่เป็นโสมนัสก็ตาม ตามความเป็นจริงของธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในขณะนั้น เมื่อได้รับสารอาหาร ที่พึงพอใจ ส่วนใหญ่ก็ชอบ มีความรู้สึกดีใจที่ได้รับในสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ ซึ่งก็เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย และข้อที่น่าพิจารณา คือ ไม่ใช่เฉพาะอาหารเท่านั้นที่เป็นที่ตั้งแห่งความติดข้องยินดีพอใจ มีมากมายกว่านี้มาก

สารต่างๆ ย่อมมีผลต่อความเป็นไปของรูป และก็เนื่องถึงจิตด้วย เช่น เมื่อได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายร่างกายแข็งแรง จากที่เคยกังวลกับเรื่องดังกล่าว ก็ทำให้ลดน้อยลงได้ เป็นต้น แต่ก็ต้องไม่ลืมความเป็นธรรม กล่าวคือ เป็นเรื่องของสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ครับ

…ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 3 ส.ค. 2557

ฮอร์โมน ที่เกิดจากออกกำลังกาย ก็ทำให้ร่างกายสดชื่น เกิดความสุข เวทนาได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bsomsuda
วันที่ 3 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 4 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 4 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
swats31
วันที่ 25 ต.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ