กำลังใจเกิดขึ้นได้อย่างไร
กำลังใจตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาหมายถึงอะไร ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป คงหมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่ท้อถอยใช่ไหมครับ อะไรเป็นเหตุให้เกิดกำลังใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จ เป็นโลภะ หรือ วิริยะ ฯลฯการศึกษาพระธรรมต้องอาศัยกำลังใจไหม ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กำลังใจในทางพระพุทธศานาที่แสดงไว้ มุ่งหมายถึง กำลังใจ คือ ปัญญา เมื่อพระองค์แสดงธรรม ภิกษุเข้าใจเกิดปัญญา ก็มีกำลังใจ เกิดกำลังใจคือปัญญา กำลังใจในพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่ความฮึกเหิม ลุกขึ้นสู้ด้วยโลภะ แต่เป็นปัญญาที่เห็นจริงตามธรรม จึงมีกำลังใจ กำลังญานกำลังปัญญาตามความเป็นจริง ครับ
กำลังใจ ต้องเป็นกำลังของปัญญา ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้อบรมเจริญปัญญา ก็ไม่รู้ว่าจะมีปัญญามาจากที่ไหน ที่จะทำให้จิตใจเข้มแข็งได้ โดยปกติของผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม หรือแม้จะได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมมาบ้าง แต่ความเข้าใจยังน้อย ยังไม่มีความมั่นคง ก็ย่อมจะมีความหวั่นไหว เศร้าใจ
เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ ประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ผู้ที่มีกำลังแห่งปัญญาย่อมรู้ย่อมเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น เพราะรู้ตามความเป็นจริง จึงไม่หวั่นไหว เมื่อประสบกับโลกธรรม ฝ่ายที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นการฟัง ศึกษาพระธรรมเท่านั้นที่เป็นเหตุเกิดกำลังใจ คือ ปัญญา ครับ
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่
พระผู้มีพระภาคตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ว่า "ดูก่อนมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้"
ในอรรถกถา แก้ไว้ว่า "บทว่า ถาโม ได้แก่ กำลังแห่งญาณ. จริงอยู่ กำลังแห่งญาณของผู้ใดไม่มี เมื่อเกิดอุปัทวันตรายขึ้น ผู้นั้นก็มองไม่เห็นการถือสิ่งที่ควรถือ มองไม่เห็นกิจที่ควรทำ ย่อมประพฤติ เหมือนดังเข้าไปยังเรือนที่มืดตื้อ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร บุคคลพึงรู้กำลัง (ญาณ) ได้ ก็ในคราวที่มีอันตราย
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ให้น้อมไป เป็นไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะที่เป็นปกติ ไม่ประสบกับภัย ความเดือดร้อนใดๆ รวมถึงในภาวะที่ประสบภัย ประสบกับอันตรายต่างๆ ด้วย ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ความเข้าใจพระธรรม (ปัญญา) นี้เอง จะเป็นเครื่องนำทางชีวิตที่ดี เป็นธรรมฝ่ายดีที่จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง เป็นธรรมฝ่ายดีที่จะทำให้มีกำลังใจที่ดียิ่งขึ้น สามารถประคองชีวิตให้ดำเนินต่อไปได้ (เพื่อสะสมความดี และอบรมเจริญปัญญาต่อไป) แม้จะประสบภัยอันตรายต่างๆ ก็ตาม เพราะมีกำลังแห่งปัญญาที่เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนถาม อ.วิทยากร ทั้งสองท่าน ช่วยอธิบาย กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย ด้วยค่ะ อ่านพบในกระทู้ ศีล วาจา กำลังใจ และปัญญา โดยคุณจักรกฤษณ์ ความคิดเห็นที่ ๒
"ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา"
ขอบพระคุณและขออนุโมนาอาจารย์ประเชิญมากครับ
...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ...
เรียน ความเห็นที่ 4 ครับ
กำลังใจพึงรู้ได้เมื่อคราวมีภัย คือ เมื่อมีภัยอันตราย ผู้ไม่มีปัญญา คือ กำลังปัญญา ย่อมทำอะไรไม่ถูก แต่ ผู้มีกำลังใจ คือ กำลังปัญญา เมื่อมีภัยอันตราย ย่อมคิดพิจารณาถูก ไม่ตื่นตระหนก แต่คิดแก้ปัญหาด้วยปัญญาอย่างถูกต้อง ครับ
ขออนุโมทนา
เรียน ความเห็นที่ 7 ครับ
กำลังใจ ในอรรถกถา แก้ว่า กำลังของญาณ ปัญญา กินความหมายกว้าง หลายระดับ ส่วน พละ ๕ ที่เป็นปัญญาพละ มุ่งหมายถึง ปัญญาที่เป็นไปในการู้ความจริงของสภาพธรรม เป็นพละ ที่ไม่หวั่นไหวในอวิชชา เพราะฉะนั้น กำลังใจ ที่เป็นกำลังญาณจึงกว้างกว่า ปัญญาพละ เป็นส่วนหนึ่งของกำลังใจ คือ กำลังญาณได้ ครับ
ขออนุโมทนา