การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเป็นการปฏิบัติธรรมหรือไม่ครับ

 
NYC
วันที่  4 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25869
อ่าน  2,417

ขอเรียนถามท่านอาจารย์ครับ การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเป็นการปฏิบัติธรรมหรือไม่ครับ ปกติผมมักเปิดธรรมะฟังขณะอยู่ที่ทำงาน จึงมีคนในนั้นทักว่าธรรมะต้องปฏิบัติไม่ใช่แค่ศึกษา ถามเขาว่าปฏิบัติยังไง เขาจึงชวนไปนั่งสมาธิและเดินจงกรมช่วงปีหน้า แล้วเขาก็สอนผมไม่หยุด อีกทั้งยังพูดดูหมิ่นพระอภิธรรมด้วยว่าเป็นเพียงหลักวิชาการ อ้างว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ศึกษาอะไรมากแต่ให้ปฏิบัติบูชา ผมจึงอยากขอคำอธิบายเรื่องการปฏิบัติอีกครั้งครับเพื่อทำความเข้าใจ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาและความเห็นถูกครับ การกระทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วไม่รู้ ทำแล้วสงสัย ทำแล้วเป็นไปในการเพิ่มอกุศลจิต อกุศลธรรม มีความไม่รู้ความไม่สบายใจ โทสะ และกิเลสอื่นเพิ่มขึ้น นั่นไม่ใช่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นหนทางที่ผิด ไม่ใช่หนทางที่ถูกและไม่ใช่ปัญญาเลยครับ แต่การกระทำอะไรก็ตามเมื่อกระทำแล้ว กุศลเจริญขึ้นและปัญญาเจริญมากขึ้น นั่นเป็นพระพุทธศาสนาและเป็นหนทางที่ถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับ

ดังนั้น เมื่อรู้ว่าการกระทำนั้นเพิ่มอกุศลไม่ได้เพิ่มปัญญา ความเห็นถูกอะไรเลย เพราะความเห็นถูกและปัญญาที่เจริญย่อมนำมาซึ่งความอาจหาญ ร่าเริงด้วยปัญญา แต่ไม่ใช่การทนไม่ได้เพราะความคิดนึกที่ไม่ถูกต้องอันเกิดจากสมาธิที่เป็นสมาธิที่ผิดครับ คำว่า จงกรม ก็ดี สมาธิ ก็ดี ซึ่งถ้าได้ศึกษาอย่างละเอียดแล้ว จะไม่เข้าใจผิดเลยจะไม่เข้าใจผิดว่าจงกรมและสมาธิเป็นรูปแบบของการปฏิบัติ

เพราะจงกรม ก็คือ การเดินปกติ ไม่ใช่สร้างท่าทางขึ้นมาให้ผิดปกติ เดินตามปกตินี้เอง คือ จงกรม (ซึ่งมาจากภาษาบาลีว่า จงฺกม แปลว่า การก้าวเดินไป ก้าวไป) สภาพธรรมใดปรากฏก็สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ในขณะนั้น ส่วนสมาธิเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก มีทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ ซึ่งถ้าไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตนด้วยความจดจ้องต้องการว่าเป็นทางที่จะทำให้หลุดพ้น นั่นล้วนเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส พอกพูนสังสารวัฏฏ์ให้ยืดยาวต่อไป ส่วนสมาธิที่เป็นกุศลก็มี เพราะสมาธิเป็นเจตสิกประการหนึ่งที่เกิดกับจิตทุกประเภท (เอกัคคตาเจตสิก) ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเกิดกับอกุศล (ซึ่งมีมากเป็นอย่างยิ่ง) เป็นอกุศลสมาธิหรือเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเกิดกับกุศลจิตก็เป็นกุศลสมาธิ ทั้งหมดทั้งปวงนั้นต้องเริ่มที่การฟังการศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ครับ

การนั่งสมาธิ การเดินจงกรมไม่ใช่การปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ด้วยสติ และปัญญา

เชิญคลิกอ่านที่นี่นะครับ

มีประโยชน์มาก

จะไปปฏิบัติ (นั่งสมาธิ เดินจงกรม)

การนั่งสมาธิ

จะนั่งสมาธิ หรือจะเข้าใจสมาธิ

สมาธินั้น...แค่ไหนจึงเป็นมิจฉาสมาธิ แค่ไหนจึงเป็นสัมมาสมาธิ.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 4 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หนทางเดียวที่จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริงนั้น ต้องฟังพระธรรม ต้องศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยความตั้งใจจริงๆ เพราะพระธรรมทั้งหมดนั้นแสดงให้ผู้ฟังผู้ศึกษาได้เข้าใจตามความเป็นจริง และสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาในการที่จะรู้ธรรม ต้องเป็นปกติจริงๆ ไม่ใช่ผิดปกติ จึงขอให้กลับมาตั้งต้นที่การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 4 ธ.ค. 2557

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ตั้งแต่ขั้นการฟังให้เข้าใจ สูงสุดคือ การบรรรลุมรรรคผล นิพพาน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 5 ธ.ค. 2557

หากเป็นผู้ที่มีความมั่นใจ เข้าใจในพระธรรม จะไม่หวั่นไหวหรือสงสัยเลย หากยังสงสัยก็ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูก ค่อยๆ อบรมต่อไปค่ะ

กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 5 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
NYC
วันที่ 5 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ch.
วันที่ 5 ธ.ค. 2557

พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า การนั่งสมาธิหรือการเดินจงกรมเท่านั้นจึงจะเป็นการปฏิบัติธรรม การฟังธรรมและศึกษาพระอภิธรรมเป็นแต่เพียงรู้ทฤษฎีเท่านั้นยังไม่ใช่ผู้ปฏิบัติธรรมเพราะสำนักปฏิบัติทั้งหลาย ตลอดจนพระที่มีชื่อเสียงหลายท่านก็จะสอนกันให้เข้าใจเช่นนี้เลยทำให้เข้าใจว่าการฟังธรรมและการศึกษาธรรมไม่ใช่การปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง การกระทำใดๆ ที่ไม่ทำให้ปัญญาเจริญงอกงามขึ้นและเข้าใจพระธรรมเพิ่มมากขึ้นอย่าไปทำให้เสียเวลาเลยครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 5 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sottipa
วันที่ 6 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาให้ความเข้าใจมากขึ้น

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sottipa
วันที่ 6 ธ.ค. 2557

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ขออนุโมทนา ตัวเองต้องเข้าใจก่อน

เป็นการยากที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจเข้าใจแล้วรู้แล้วต้องอธิบายได้ ไม่พูดในสิ่งที่ไม่รู้ ที่เคยได้ยินมา จากท่านอาจารย์สุจิจนต์ อันเป็นที่เคารพและนับถือของเรา มีคนรังเกียจคำว่าเรา เพราะคิดว่าคำว่าเรา เป็นการแสดงว่าเขาเข้าใจว่าเป็นเรา แต่ลืมไปถึงคำว่าโวหาร ใช้คำว่าเรา เพียงอาศัยสื่อสารกัน ไม่ได้ถ้าใช้คำว่าเรา ขออธิบายแค่นี้ก่อนเป็นเริ่มต้น สำหรับครั้งต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Sottipa
วันที่ 6 ธ.ค. 2557

ไม่มีอะไรที่จะฟัง ฟังให้เข้าใจนอกจากคำของท่านอาจารย์ ที่ให้เข้าใจถึงธรรมะ ว่าเป็นธรรมะ ให้สมาทาน อาจหาญร่าเริง ขอถามว่าคำว่า สมาทานเป็นอย่างไร ไม่รู้ต้องถาม เรียน ธรรมะต้องรู้ทุกคำไม่ผ่าน เปรียบธรรมะเหมือนยา ท่านอาจารย์เป็นผู้ใหญ่ใจดี ที่อ่านฉลากยาออก ผมเป็นคนไข้ เป็นเด็กที่อ่านฉลากยาไม่ออก ก็ต้องอาศัยท่านอาจารย์ที่จัดยาให้ และกินยาทุกมื้อจนหายป่วยหายไข้ในที่สุด จึงอาจหาญร่าเริงที่จะแสดงความคิดเห็นได้ในที่นี้ ขอบคุณและขออนุโมทนาทุกท่านที่ผมได้มีในวันนี้ ขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
peem
วันที่ 24 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
อนุโมทนา
วันที่ 6 พ.ย. 2558

ขั้นสุตมยปัญญา พอเข้าใจได้ว่า ขั้นธ์ห้า ทำหน้าที่ของขันธ์ห้า ที่ยึดขั้นธ์ห้านี้เป็นเรา ยึดเพราะอวิชชา แต่เราไม่สามารถบังคับบัญชาขันธ์ห้าได้สักอย่างเดียว เมื่อฟังแล้วเริ่มค่อยๆ เข้าใจ ว่าสัญญาทำหน้าที่จำสิ่งที่ฟัง เมื่อเข้าใจเพื่มขึ้นๆ ก็จะเกื้อกูลแก่สังขารขันธ์ ในที่นี้ขอพูดถึงเฉพาะปัญญาเจตสิกจะทำหน้าที่ต่อจนแก่รอบเพื่อประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าทุกอย่างเป็นธรรม มิใช่เรา ละความยึดมั่นถือมั่นในอัตตสัญญา นี่ คือ "การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"

ขออนุโมทนา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 5 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ