ความหมายของคำว่าอาราธนาและสมาทาน
จากพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ ๑๐ หัวข้อ เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
ข้อความว่า ..และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี..
รับอาราธนา รับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี หมายความว่าอย่างไร ต่างจากสมาทาน (สมาทานศีล สมาทานธรรม) อย่างไร และเหตุในการอาราธนาและสมาทาน คืออะไรคะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-คำว่า อาราธนา หมายถึง เชื้อเชิญ เช่น พรหมอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม คือ เชื้อเชิญให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
-รับอาราธนา รับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงรับการเชื้อเชิญนั้นแล้ว ด้วยอาการ คือ นิ่ง
-สมาทาน หมายถึง การถือเอาด้วยดี, การถือเอาเป็นข้อปฏิบัติด้วยดี โดยไม่จำเป็นต้องมีการกล่าวเป็นข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นเรื่องของเจตนาในการที่จะงดเว้นจากสิ่งที่ควรงดเว้น ซึ่งสิ่งที่ควรงดเว้นเป็นนิตย์ ในชีวิตประจำวันมี ๕ ประการ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่พ้นไปจากความประพฤติเป็นไปทางกาย วาจา ของแต่ละบุคคลเลย ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า อาราธนา กับ สมาทน ทั้งสองคำ เป็นคำที่ชาวพุทธได้ยินบ่อย ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยที่พอจะเข้าใจได้ ไม่ว่าคำดังกล่าวจะปรากฏ ณ ที่ใด ก็ตาม
อาราธนา เป็นการเชื้อเชิญ และยังมีความหมายอื่นๆ อีก เช่น อ้อนวอน ขอร้อง เป็นต้น ถ้ามีคำว่า ศีลต่อด้วย คือ อาราธนาศีล ก็คือ กล่าวเชื้อเชิญให้พระภิกษุให้ศีล ส่วนคำว่า สมาทาน นั้น เป็นการถือเอาด้วยดี เป็นข้อปฏิบัติ แม้จะไม่ได้กล่าวเป็นคำพูดอะไรๆ ออกมา ก็สามารถน้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ เพราะเป็นผู้ที่เห็นโทษของการล่วงศีล และเห็นคุณประโยชน์ของศีล จึงถือเอาด้วยการน้อมประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยความเป็นผู้มีเจตนาที่จะงดเว้นจากสิ่งที่เป็นโทษ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ครับ
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่าน ครับ.
ขออนุญาตกราบเรียนถามเพิ่มเติมว่า
คำว่า "สมาทาน" หมายถึง การถือเอาด้วยดี การถือเอาเป็นข้อปฏิบัติด้วยดี
ในพระธรรมวินัย มุ่งหมายถึงเรื่อง "ศีล" เพียงอย่างเดียว
หรือ "ปัญญา" สามารถถือเอาด้วยดีในกุศลทุกประการที่ควรประพฤติปฏิบัติ ครับ?
เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง [อรรถกถาโคปาลสูตร]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...