ปธานสูตร และ ปฐมวัฑฒิสูตร - ๑๑-o๗-๒๕๕๘

 
มศพ.
วันที่  5 ก.ค. 2558
หมายเลข  26735
อ่าน  1,513

นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘

เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ


ปธานสูตร จาก [เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๒๖

และ

ปฐมวัฑฒิสูตร จาก [เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๑๕๓

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

และคณะวิทยากร

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๒๖

๑๐. ปธานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุสิ้นอาสวะ ๔ ประการ

[๗๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติไม่ผิด) และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว.

จบปธานสูตรที่ ๑ อรรถกถาปธานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-บทว่า อปณฺณกปฏิปทํ คือ ข้อปฏิบัติไม่ผิด. บทว่า โยนิ จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า ก็เหตุแห่งความสิ้นอาสวะของภิกษุนั้นเป็นอันบริบูรณ์แล้ว. บทว่า อาสวานํ ขยาย ได้แก่ เพื่อพระอรหัต.

จบอรรถกถาปธานสูตรที่ ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓๖ - หน้าที่ ๑๕๓

ปฐมวัฑฒิสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

[๖๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ ชื่อว่า ย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ย่อมเจริญด้วยศีล ย่อมเจริญด้วยสุตะ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย.

(พระคาถา)

อริยสาวก ผู้ใด ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้งสองฝ่าย อริยสาวก ผู้เช่นนั้น เป็นสัปบุรุษ มีปรีชาเห็นประจักษ์ ชื่อว่า ย่อมยึดถือสาระแห่งตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว.

จบปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-บทว่า วราทายี คือเป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุด. คำที่เหลือในสูตรนี้และสูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

©ข้อความโดยสรุป©

ปธานสูตร

(ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุสิ้นอาสวะ ๔ ประการ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ มีศีล เป็นพหูสูต มีการปรารภความเพียร และมีปัญญา ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด และได้ชื่อว่าเริ่มเหตุที่จะเป็นไปเพื่อการสิ้นอาสวะแล้ว.

ข้อความโดยสรุป

ปฐมวัฑฒิสูตร (ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการคือ เจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (การสละ) และปัญญาย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ขณะนี้มีทรัพย์หรือเปล่า

ความเสื่อมและความเจริญของปัญญา

การทำความเพียรในพระพุทธศาสนา เพื่อการบรรลุธรรม

ทำอย่างไรจึงจะเกิด ศรัทธาแบบถาวร ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธศาสนาครับ

ศีล

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา [วัฑฒิสูตร]

นี่คือการอบรมเจริญปัญญา

ปัญญา รู้ สิ่งที่มีจริง ที่ กำลังปรากฏ

..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 7 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สิริพรรณ
วันที่ 2 พ.ค. 2565

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลด้วยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ