ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๖๐

 
khampan.a
วันที่  14 ส.ค. 2559
หมายเลข  28079
อ่าน  2,088

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจเพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นข้อความที่สั้นบ้าง ยาวบ้าง แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์ พอที่จะเข้าใจได้ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๖๐

~ คิดให้ถูกต้อง พูดคำที่ถูกต้องและทำในสิ่งที่ถูกต้อง เริ่มได้เลย

~ ตราบใดที่พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง ไม่ได้ขัดเกลากิเลสเลย แสดงว่าไม่มีการศึกษาธรรมให้เข้าใจ เพราะเหตุว่าถ้าศึกษาธรรมเข้าใจถูกต้อง จะไม่เป็นอย่างนี้ (คือ จะไม่รับเงินและทองและไม่ยินดีในเงินและทอง) แต่ที่เป็นอย่างนี้ (คือ ยังรับเงินและทอง และยินดีในเงินและทอง) เพราะเหตุว่า ไม่ได้เรียน ไม่ได้เข้าใจธรรม มีชีวิตซึ่งอยากบวชด้วยเหตุหลายประการ เพราะ "อยาก" แต่ไม่ใช่เพราะเข้าใจธรรมแล้วบวชเพื่อขัดเกลากิเลส

~ ถ้าการกระทำ นั้น ดี ไม่มีเลยที่จะให้ผลที่ไม่ดีแม้แต่คำพูดจริง ที่ว่า การเป็นพระภิกษุเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลส ในเพศบรรพชิตและต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ไม่ได้ผิดเลยพูดเพื่อประโยชน์ถ้าเป็นประโยชน์ ควรพูด

~
ไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยด้วย ทำไมจึงต้องเป็นพระภิกษุ เพราะว่าเป็นคฤหัสถ์ก็ศึกษาพระธรรมได้เมื่อมีศรัทธา และก็รู้ว่าไม่สามารถที่จะดำรงเพศบรรพชิตซึ่งสะอาดบริสุทธิ์ตั้งแต่เช้าจรดค่ำดุจสังข์ขัด (คือ ขัดจนขาวบริสุทธิ์) พระวินัยทุกข้อขัดเกลากิเลสอย่างยิ่งเพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีกิเลส และไม่สามารถที่จะรักษาพระธรรมวินัยแล้วจะเป็นภิกษุทำไม?

~
เหมือนกันทุกกาลสมัย ไม่ว่าจะเป็นอดีต หรือ อนาคต ก็เช่นเดียวกับปัจจุบัน ซึ่งความทุกข์ทั้งหมดย่อมเนื่องมาจากฉันทราคะ (ติดข้องพอใจ) ถ้ามีความผูกพัน มีความรักใคร่ มีความพอใจในบุคคลใดมาก แล้วบุคคลนั้นตาย หรือ ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ ถูกติเตียน ท่านก็ย่อมเป็นทุกข์มากน้อยตามฉันทราคะ ซึ่งท่านมีต่อบุคคลเหล่านั้น

~ ถ้าท่านเป็นผู้ที่ติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ (สภาพธรรมที่กระทบทางกาย) มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน วันหนึ่งท่านอาจจะเป็นผู้ที่ล่วงศีล แม้ในข้อกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ เพราะเหตุว่า ท่านไม่ได้เพียรที่จะขัดเกลากิเลสของท่าน แต่ว่าสะสมกิเลสเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อกิเลสเพิ่มมากขึ้น ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ในกามมากขึ้น ท่านก็ย่อมประพฤติผิดในกามได้ ไม่ว่าจะเป็นการประพฤติผิดศีลในข้อ ๑ หรือข้อ ๒ หรือข้อ ๓ หรือข้อต่อๆ ไป ก็เป็นไปเพราะความติดในกาม ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ

~ จิตเกิดดับสืบต่อกันเร็วมากทีเ
ดียว ถ้าไม่เป็นผู้ละเอียดที่จะศึกษาความต่างกันของจิต ก็จะไม่ทราบได้ว่า กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล เพราะเหตุว่า บางคนจะเข้าใจอกุศลเป็นกุศล แล้วจะเข้าใจกุศลเป็นอกุศล พระมหากรุณาที่ทรงแสดงสภาพของจิตไว้โดยละเอียด เพื่อให้ผู้ที่ประจักษ์ลักษณะของสภาพของจิตนั้น ไม่เข้าใจสภาพของจิตผิด

~ พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงนั้น จะไม่พ้นจากเรื่องของการที่จะรู้ชัดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่เพราะเหตุว่า ท่านยังไม่รู้ชัดจริงๆ ในสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ทรงโอวาทพร่ำสอนแล้วๆ เล่าๆ ในเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ


~ สัปบุรุษที่ยิ่งกว่า สัปบุรุษ คือ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ทรงพระมหากรุณาแสดงธรรมโดยละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ก็ชื่อว่า เป็นผู้ที่คบหาสัปบุรุษ

~ เรื่องของกิเลสที่สะสมมา ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายบ้าง ใจบ้างนั้น เป็นสิ่งที่ลึก แล้วก็ละเอียดซับซ้อนมาก

~ ถ้าไม่ฝึกอบรม วาจาก็ย่อมเหมือนเดิม เคยพูดไม่เพราะ ทำให้คนอื่นเจ็บใจ ทุกข์ร้อน เดือดร้อนทุกวันๆ ก็ยังคงเหมือนเดิม

~ ถ้าผู้ใดกล่าวว่า รู้ทั่วถึงธรรมตามความเป็นจริง แต่เวลาที่ใครไต่ถาม ซักไซร้ ไล่เลียง แล้วก็พูดกลบเกลื่อนเสียบ้างพูดนอกเรื่องนอกราวเสียบ้าง ทำความโกรธ ความขัดเคืองและความเสียใจให้ปรากฏ หรือว่านั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณก็แสดงว่า ผู้นั้นไม่ได้รู้จริงในธรรม

~ การฟังธรรม เมื่อได้ฟังแล้ว ตรึกพิจารณาถึงคุณค่าของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงไว้โดยประการทั้งปวง เพื่อเกื้อกูลแก่การขัดเกลา เพื่อที่จะให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น ละคลายอกุศลธรรมทั้งหลายลง เป็นการเกื้อกูล แก่การที่สติจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม และละการยึดมั่นในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

~ ปัญญาเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้ง ตรงกันข้ามกับอวิชชาซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้สภาพความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ลักษณะของปัญญากับลักษณะของอวิชชานี้ต้องต่างกันแน่นอน อวิชชามีเป็นพื้นอยู่ในจิต แต่ว่าปัญญา จะต้องอบรมสะสมให้เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

~ เมาด้วยโลภะ เมาด้วยโทสะ เมาด้วยโมหะ มีเป็นประจำอยู่แล้ว แต่บางท่านก็ยังเพิ่มการที่จะดื่มสุราให้เมายิ่งขึ้น ถึงกับขาดสัมปชัญญะ ที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ


~ การอ่านพระธรรมวินัยทั้งหมดต้องประกอบกัน เพราะเหตุว่าพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงแล้วว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะทรงแสดงธรรมด้วยประการใดๆ ก็ตาม ก็จะต้องไม่ลืมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่เป็นตัวตนที่จะเว้น วิรัติ บังคับได้ตามใจชอบ แต่จะต้องเป็นธรรมที่เป็นโสภณธรรมเกิดขึ้นระลึกได้ รู้ แล้วจึงงดเว้น จึงละ จึงบรรเทา ตามขั้นของ สภาพธรรมนั้นๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นโสภณธรรม เป็นกุศลขั้นใด



~ ชาตินี้ท่านเป็นทุกข์แล้ว เพราะความรักใคร่พอใจ ความผูกพันในบุคคลซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ ชาติก่อนๆ นี้ก็เหมือนกัน ท่านก็เคยผ่าน เคยเป็นทุกข์เพราะบุคคลที่เป็นที่รัก เพราะฉันทราคะของท่านที่มีต่อบุคคลเหล่านั้น แล้วทุกข์ข้างหน้าก็เหมือนกัน ท่านก็ยังจะต้องมีทุกข์อีกมากเหลือเกิน ตราบใดที่ยังมีฉันทราคะ มีความพอใจ ผูกพันในบุคคลอื่น

~ จะต้องเป็นผู้ไม่ประมาทเลย เพราะเหตุว่าสมัยหนึ่งเป็นบุคคลที่ดี เพราะเหตุว่ายังไม่มีปัจจัยที่แพ้ต่อลาภ สักการะ แต่ว่าในสมัยต่อมาเมื่อมีลาภ สักการะและสรรเสริญ และบุคคลนั้นเป็นผู้พ่ายแพ้ต่อลาภสักการะและสรรเสริญ ก็มีปัจจัยทำให้ทุจริต พูดมุสา (พูดเท็จ) แม้รู้ได้ เมื่อยังไม่ได้ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทยังไม่ใช่พระโสดาบันบุคคล ก็ยังมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ล่วงทุจริตกรรมได้

~ พระพุทธพจน์ ลึกซึ้งอย่างยิ่ง ทุกคำกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งใครก็รู้ไม่ได้แน่ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมโดยละเอียดจริงๆ ไม่ใช่ผิวเผิน

~
พระภิกษุใด เป็นผู้ที่ไม่เคารพในพระธรรมวินัย และก็กล่าวตู่พระพุทธพจน์ เป็นภิกษุที่ต้องการอะไร นอกจากต้องการลาภ สักการะ หรือว่าความสำคัญตน

~
พระภิกษุกล่าวว่าพระธรรมยาก แล้วก็ให้ศึกษาอย่างอื่น ทำอย่างอื่น ไม่ศึกษาให้เข้าใจความยาก ผู้นั้นก็ไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย ไม่เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

~ คฤหัสถ์จะเคารพกราบไหว้ใคร (ระหว่าง) พระภิกษุซึ่งประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยและศึกษาพระธรรม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเข้าใจอย่างถูกต้อง ว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ก็คือสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ แล้วก็จะขัดเกลากิเลสของตนเอง ตามเพศ คือ เพศพระภิกษุก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย นี้คือ เพศพระภิกษุพวกหนึ่งที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ส่วนอีกพวกหนึ่งรับเงินรับทอง ทำกิจซึ่งไม่ใช่กิจของพระภิกษุเลย แล้วก็ไม่ได้ศึกษาพระธรรมด้วย ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยด้วย คฤหัสถ์จะเคารพกราบไหว้ภิกษุรูปไหน?

~
ต้องขัดเกลากิเลสด้วยพระธรรม ด้วยความเข้าใจจริงๆ ว่า กิเลสมาก ยอมสละเพศคฤหัสถ์มาสู่เพศบรรพชิต เพราะอัธยาศัยที่สามารถจะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติตามไม่ได้ ใช้คำว่าลาสิกขา เพราะว่าไม่สามารถจะประพฤติอย่างนั้น ก็ขอไม่เป็นภิกษุต่อไป ก็ตรงดี เพราะธรรมเป็นเรื่องตรง

~
คนที่หวังดี เป็นมิตรแท้ ไม่ใช่คนประจบประแจงป้อยอให้เขาทำชั่วต่อไป แต่ต้องเป็นคนที่หวังดีจริงๆ รู้ว่าสิ่งใดเป็นโทษ ก็กล่าวให้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นโทษ และควรที่จะประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง คนนั้นแหละเป็นเพื่อนที่แท้จริง เป็นผู้ที่หวังดีจริงๆ แต่ไม่ใช่ยอมให้ประพฤติผิดพระวินัยต่อไป

~ อกุศลแม้เล็กน้อย ก็เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ แต่ที่ไม่เห็นความน่ารังเกียจ ก็เพราะความไม่รู้

~ โกรธใครเมื่อไหร่ ไม่เมตตา หวังดีต่อใครเมื่อไหร่ เมตตา

~ ถ้าเคารพอย่างอื่น มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง ก็ไม่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

~ ห้ามความคิดของคนอื่นไม่ได้ แต่คนที่กล่าวคำจริง ก็เป็นผู้ที่หวังดี เป็นมิตรที่หวังดีให้เขาได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ได้ทำอะไรที่เสียหายหรือเป็นโทษเลย กล่าวความถูกต้อง เพื่อให้ได้พิจารณา, เจตนาของผู้ที่ให้ความรู้ที่ถูกต้องของความจริงทั้งหมด ด้วยความหวังดี ขณะนั้นเป็นกุศล ไม่ผิด

~ ถ้ามีคนเอาผ้ายันต์มาให้ เอาไหม? ถึงเอามาให้ก็ไม่รับ ไม่เอา แล้วจะถามด้วยว่า ผ้านี้สำคัญอย่างไร สามารถที่จะทำอะไรได้ ต้องมีเหตุผล ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เชื่อกันไปแต่อธิบายไม่ได้บอกไม่ได้ถ้าถามว่าผ้า (ยันต์) นี้คืออะไร สามารถทำอะไรได้ เป็นผ้าแท้ๆ จะทำอะไรได้?

~ อยู่ดีๆ ผ้าผืนหนึ่งจะเป็นผ้าวิเศษไปได้อย่างไร ใครจะสามารถไปบันดาลให้ผ้านั้นวิเศษได้ เพราะฉะนั้นไม่เป็นไปตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทำทำไมจุดประสงค์ที่ทำเพื่ออะไร ไม่เป็นการขัดเกลากิเลส ผู้นั้น ไม่ใช่ภิกษุ

~ ถ้าเป็นผู้รู้จริง ไม่สนใจผ้ายันต์เลย แค่ผ้าจะทำอะไรได้ นอกจากลวงคนอื่นให้คิดว่าผ้านั้นเป็นผ้าวิเศษ

~ คำที่เป็นความจริง เปลี่ยนไม่ได้ โทษ ต้องเป็นโทษ อกุศล เป็น อกุศล

ขอเชิญผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกัน (สหายธรรม) ร่วมแบ่งปันธรรมด้วยครับ

ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ผ่านมาได้ที่นี่ครับ

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๕๙

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 14 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
peem
วันที่ 14 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของ อ.คำปั่น อักษรวิลัย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
worrasak
วันที่ 14 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
thilda
วันที่ 14 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Noparat
วันที่ 15 ส.ค. 2559

~ คำที่เป็นความจริง เปลี่ยนไม่ได้ โทษ ต้องเป็นโทษ อกุศล เป็น อกุศล.

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 15 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
rrebs10576
วันที่ 16 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 16 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kukeart
วันที่ 16 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Boonyavee
วันที่ 16 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
มานิสาโข่งเขียว
วันที่ 17 ส.ค. 2559

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
j.jim
วันที่ 17 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
j.jim
วันที่ 17 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sottipa
วันที่ 17 ส.ค. 2559

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 12 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ