ความเร็วของจิต

 
chackapong
วันที่  9 เม.ย. 2550
หมายเลข  3384
อ่าน  6,137

แสงเป็นความเร็วสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่มีสิ่งใดเร็วไปกว่าแสง (ประมาณ186,000 mile/sec) แล้วความเร็วของจิตจะมีเครื่องมือวัดหรือไม่ ถ้าวัดได้จะมีความเร็วเท่าไร ผมได้รับคำตอบว่า ความเร็วของจิตเป็นนามธรรม ไม่สามารถวัดได้

ขอเรียนถามปัญหา ๓ ข้อที่อยู่รวมกัน

๑. ช่วยอธิบายความเร็วของจิตที่เป็นนามธรรม ว่า คืออย่างไร

๒. ทำไมถึงใช้คำว่า ความเร็วของจิตในความหมายใกล้เคียงกับความเร็วของแสง

๓. มีศัพท์อื่นอีกหรือไม่ ที่จะใช้แทนในทางธรรมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนละความหมายกับความเร็วของแสง หรือความเร็วที่เราเข้าใจในชีวิตประจำวันที่คุ้นเคย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 เม.ย. 2550

จิตเป็นนามธรรม จิตเกิดดับอย่างรวดเร็วไม่ปรากฏรูปร่างสัณฐาน สิ่งใดที่ไม่ปรากฏรูปร่างสัณฐาน (นามธรรม) ย่อมไม่สามารถจะวัดระยะเวลาหรือใช้เครื่องมือที่เป็นรูปธรรมวัดได้ เมื่อท่านอบรมเจริญปัญญาประจักษ์แจ้งความเกิดดับของจิต เมื่อนั้นย่อมรู้แจ้งว่า เร็วอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 10 เม.ย. 2550

ภูมิ หมายถึงที่เกิดของจิต ทั้งหมดมี ๓๑ ภพภูมิ จะขอกล่าวถึงยอดภูมิ คือ สุทธาวาส ภูมิ ๕ เป็นภูมิที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์จากกามราคะที่ได้ปัญจฌาน ได้แก่ พระ อนาคามีและพระอรหันต์ทั้งหลาย คือ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิและอกนิฏฐาภูมิ อวิหาภูมิ เป็นภูมิที่ต่ำสุด อยู่ห่างจากเวหัปผลาภูมิ คือ ภูมิที่ต่ำลงไป ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ ในทั้ง ๕ ภูมินี้ แต่ละภูมิยังสูงกว่ากันอีกชั้นละ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ ตามลำดับ อีก ๒๖ ภพภูมิก็มีระยะทางที่ห่างไกลกันมาก

สมมติว่า มีมนุษย์ผู้ได้ปัญจฌาน บรรลุคุณธรรมเป็นพระอนาคามี จุติจิตเกิด ๑ ขณะ ต่อด้วยปฏิสนธิจิตทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่นอีก ๑ ขณะ ไปบังเกิดเป็นพรหมในชั้นอกนิฏฐาภูมิ อาจารย์ปัจจุบันท่านเทียบไว้ว่า ๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร ลองคูณดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 11 เม.ย. 2550

จิตไม่มีการเดินทางนะคะ จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่น ขณะที่จุติจากมนุษยโลก แล้วไป ปฏิสนธิที่พรหมโลก เป็นเพราะผลของกรรม เป็นจิตคนละดวง จึงไม่มีการเดินทาง ไปที่ไหนทั้งสิ้น จะวัดการเกิดดับของจิตก็ด้วยปัญญา ที่เป็นพลววิปัสสนาเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
shumporn.t
วันที่ 11 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 เม.ย. 2550

๑. ช่วยอธิบายความเร็วของจิตที่เป็นนามธรรม ว่า คืออย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

อรรถกถาอุปเนยยสูตร

ก็เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกินเปรียบ) คือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนามนั้นเป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ. อุปมาด้วยล้อแห่งรถ แม้เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิต ดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชีวิต อัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมด ประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะของจิตนั้น ย่อมเป็นไปเร็วพลัน.

๒. ทำไมถึงใช้คำว่า ความเร็วของจิตในความหมายใกล้เคียงกับความเร็วของแสง

แสงเป็นระยะทางต่อวินาที ส่วนความเร็วของจิต เกิดที่วัตถุที่เกิดของจิต ไม่เหมือนกันครับ อนุโมทนา คุณแวะเข้ามา ครับ

๓. มีศัพท์อื่นอีกหรือไม่ ที่จะใช้แทนในทางธรรมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนละความหมายกับความเร็วของแสง หรือความเร็วที่เราเข้าใจในชีวิตประจำวันที่คุ้นเคย ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนามนั้นเป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ แสงเป็นระยะทาง ๑ วินาที เท่ากับ แสงเดินทางได้ ๑๘๐,๐๐๐ ไมล์ คนละแบบกันเลยครับ ที่สำคัญเราไปคิดเป็นเรื่องราว คิดนึกในลักษณะของสภาพธัมมะ ไม่ได้ ประจักษ์ตัวจริงของสภาพธัมมะคือ จิต ครับ ดังคุณแวะเข้ามากล่าวว่าต้องรู้ด้วยปัญญา

อนุโมทนาครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chackapong
วันที่ 15 เม.ย. 2550

ขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นกระทู้นี้หรืออื่นๆ ที่ผ่านมา ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่ง บนเส้นทางแสนยาวไกล สวัสดีปีใหม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
AmpholSuttipo
วันที่ 21 ต.ค. 2565

ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ เรื่องแสงเดินทาง อุปมาการเดินทางของแสงเทียบกันมนุษย์ที่อยู่บนความเร็วการเคลื่อนที่ของดวงดาว (โลก) ในวัฏจักร หมุนอยู่บนโลก ขณะที่ ที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ และขณะที่ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางหมุนอยู่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก และขณะที่กาแล็กซี่ทางช้างเผือกก็โคจรอยู่ในจักรวาล ในหนึ่งจักวาล ลองเปรียบความเร็วที่กล่าวมาดูนะครับว่า การเดินทางนั้น วกวนตลอดเวลา เพราะทุกการหมุนอยู่ในแต่ละวัฏรจักร แต่เป็นไปโดยรูปของการเคลื่อนไปของพลังงานเช่นเดียวกับแสง มีการหักเหของการเคลื่อนไปตลอดเวลา ตามความไม่เรียบของอวกาศ และที่คนทั่วไปไม่รู้คือ การเคลื่อนที่ไปของแสงนั้นก็มีการเกิดดับของพลังงานในแต่ละอะตอมอยู่ตลอดเวลา ใช่ว่าจะหนีพ้นจากกฏของธรรมะได้เลย และความจริงที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบนั้นแตกต่างจากการเคลื่อนที่ เพราะการเกิดดับเหมือนการกะพริบที่เร็วมากๆ เพราะไม่อาจจะเห็นได้ด้วยการอุปมาทั่วไป แม้กระทั่ง เราดูทีวีที่กะพริบ แต่ละพิกเซล 240 เฮิร์ต เรียกว่าเร็วมากๆ ไม่อาจจับด้วย สายตาได้ แต่ความเร็วของการเกิดดับที่ให้เราได้เห็นรูปเป็นไปทั้งสากลจักวาล นั้นเร็วเพียงใหน การเกิดดับนั้น ไม่มีเส้นทางให้ติดตาม เพราะเป็นไปตามปัจจัยของกรรมที่เกิดแล้วและดับแล้ว มีแต่ลักษณะของรูปและนามในความเร็วเกิดดับแตกต่างกัน เช่นรูปเกิดดับ ๑ ขณะแต่จิตเกิดดับแล้ว ๑๗ ขณะ ดูว่า นามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่เพียงไร ผู้รู้แจ้งความจริง สิ่งที่เราความสงสัย คือสงสัยในความเข้าใจของเรา ว่า ที่เราเข้าใจนั้น ตรงกับพระปัญญาญาณของพระองค์จริงๆ หรือเปล่า เพราะหากผิดเพี้ยนไป คิดดูว่าจะเสียหายเพียงไร สูญเสียเวลาไปกี่กัปป์กี่กัลล์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ต.ค. 2565

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑

๑. ขันธวิภังค์

ว่าโดยกำหนดกาลของขันธ์ ๕

คำว่า โดยกำหนดกาล นี้ ถามว่า รูปตั้งอยู่นานเท่าไร อรูป (นาม) ตั้งอยู่นานเท่าไร?

ตอบว่า รูปมีการเปลี่ยนแปลงนาน ดับก็ช้า อรูป (นาม) เปลี่ยนแปลงเร็ว ดับก็รวดเร็ว เมื่อรูปยังคงทรงอยู่นั่นแหละ จิตเกิดดับไป ๑๖ ดวง ก็แต่ว่ารูปนั้นจะดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจักให้ผลไม้ตก จึงเอาไม้ค้อนฟาดกิ่งไม้ ผลทั้งหลายและใบทั้งหลายก็พึงหลุดจากขั้วพร้อมกันทีเดียว บรรดาผลและใบเหล่านั้น ผลทั้งหลายย่อมตกถึงดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก ใบทั้งหลายก็พึงตกไปในภายหลัง เพราะความเป็นของเบา ฉันใด ความปรากฏแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมในขณะเดียวกันในปฏิสนธิ ดุจเวลาที่ใบและผลทั้งหลายหลุดจากขั้วในขณะเดียวกันโดยการฟาดด้วยไม้ค้อน ฉันนั้นเหมือนกัน การที่รูปยังทรงอยู่นั่นแหละจิตก็เกิดดับไป ๑๖ ดวง ดุจการที่ผลตกลงสู่พื้นดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ ดุจการที่ใบตกไปถึงพื้นดินในภายหลัง เพราะความที่ใบทั้งหลายเป็นของเบา.

บรรดารูปและจิตเหล่านั้น ถึงรูปดับช้าเปลี่ยนแปลงนาน จิตดับเร็วเปลี่ยนแปลงเร็วก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปละทิ้งอรูป (นาม) แล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ หรืออรูปละทั้งรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ ความเป็นไปของรูปและอรูปแม้ทั้ง ๒ มีประมาณเท่ากันทีเดียว ในข้อนี้พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้.

บุรุษคนหนึ่งมีเท้าสั้น คนหนึ่งมีเท้ายาว เมื่อคนทั้ง ๒ นั้นเดินทางร่วมกัน คนเท้ายาวก้าวเท้าครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้จะก้าวเท้าไป ๑๖ ก้าวในการก้าวไปครั้งที่ ๑๖ ของคนเท้าสั้น คนเท้ายาวก็จะชักเท้าของตนดึงมา กระทำเท้าให้ก้าวไปพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจเลยคนหนึ่งไปได้ การไปของคนแม้ทั้ง ๒ จึงชื่อว่า มีประมาณเท่ากันนั่นแหละฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น. ด้วยว่า อรูปเหมือนคนเท้าสั้น รูปเหมือนคนเท้ายาว. เมื่อรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตในอรูป (นาม) ธรรมก็เกิดดับ ๑๖ ดวง เหมือนเวลาที่คนเท้ายาวก้าวไปครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้ก้าวไป ๑๖ ครั้ง. การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เหมือนบุคคลเท้าสั้นชักเท้าของตนดึงมา ๑๖ ก้าว บุรุษเท้ายาวก้าวไป ๑ ก้าวฉะนั้น การที่อรูปไม่ละรูป รูปไม่ละอรูป เป็นไปโดยประมาณเท่ากัน เหมือนการที่บุรุษ ๒ คน ไม่ทิ้งซึ่งกันและกันเดินไปโดยประมาณพร้อมกันนั่นแหละดังนี้แล.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการกำหนดกาลอย่างนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
AmpholSuttipo
วันที่ 21 ต.ค. 2565

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 9 โดย chatchai.k

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑

๑. ขันธวิภังค์

ว่าโดยกำหนดกาลของขันธ์ ๕

คำว่า โดยกำหนดกาล นี้ ถามว่า รูปตั้งอยู่นานเท่าไร อรูป (นาม) ตั้งอยู่นานเท่าไร?

ตอบว่า รูปมีการเปลี่ยนแปลงนาน ดับก็ช้า อรูป (นาม) เปลี่ยนแปลงเร็ว ดับก็รวดเร็ว เมื่อรูปยังคงทรงอยู่นั่นแหละ จิตเกิดดับไป ๑๖ ดวง ก็แต่ว่ารูปนั้นจะดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจักให้ผลไม้ตก จึงเอาไม้ค้อนฟาดกิ่งไม้ผลทั้งหลายและใบทั้งหลายก็พึงหลุดจากขั้วพร้อมกันทีเดียว บรรดาผลและใบเหล่านั้น ผลทั้งหลายย่อมตกถึงดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก ใบทั้งหลายก็พึงตกไปในภายหลัง เพราะความเป็นของเบา ฉันใด ความปรากฏแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมในขณะเดียวกันในปฏิสนธิ ดุจเวลาที่ใบและผลทั้งหลายหลุดจากขั้วในขณะเดียวกันโดยการฟาดด้วยไม้ค้อน ฉันนั้นเหมือนกัน การที่รูปยังทรงอยู่นั่นแหละจิตก็เกิดดับไป ๑๖ ดวง ดุจการที่ผลตกลงสู่พื้นดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ ดุจการที่ใบตกไปถึงพื้นดินในภายหลัง เพราะความที่ใบทั้งหลายเป็นของเบา.

บรรดารูปและจิตเหล่านั้น ถึงรูปดับช้าเปลี่ยนแปลงนาน จิตดับเร็วเปลี่ยนแปลงเร็วก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปละทิ้งอรูป (นาม) แล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ หรืออรูปละทั้งรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ ความเป็นไปของรูปและอรูปแม้ทั้ง ๒ มีประมาณเท่ากันทีเดียว ในข้อนี้พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้.

บุรุษคนหนึ่งมีเท้าสั้น คนหนึ่งมีเท้ายาว เมื่อคนทั้ง ๒ นั้นเดินทางร่วมกัน คนเท้ายาวก้าวเท้าครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้จะก้าวเท้าไป ๑๖ ก้าวในการก้าวไปครั้งที่ ๑๖ ของคนเท้าสั้น คนเท้ายาวก็จะชักเท้าของตนดึงมา กระทำเท้าให้ก้าวไปพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจเลยคนหนึ่งไปได้ การไปของคนแม้ทั้ง ๒ จึงชื่อว่า มีประมาณเท่ากันนั่นแหละฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น. ด้วยว่า อรูปเหมือนคนเท้าสั้น รูปเหมือนคนเท้ายาว. เมื่อรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตในอรูป (นาม) ธรรมก็เกิดดับ ๑๖ ดวง เหมือนเวลาที่คนเท้ายาวก้าวไปครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้ก้าวไป ๑๖ ครั้ง. การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เหมือนบุคคลเท้าสั้นชักเท้าของตนดึงมา ๑๖ ก้าว บุรุษเท้ายาวก้าวไป ๑ ก้าวฉะนั้น การที่อรูปไม่ละรูป รูปไม่ละอรูป เป็นไปโดยประมาณเท่ากัน เหมือนการที่บุรุษ ๒ คน ไม่ทิ้งซึ่งกันและกันเดินไปโดยประมาณพร้อมกันนั่นแหละดังนี้แล.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการกำหนดกาลอย่างนี้.

กราบขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 4 ก.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ