อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 337
อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร
เรื่องสาราณียธรรมเต็ม หน้า 361
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 337
อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร
มหาปรินิพพานสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พรรณนาความตามลําดับบทในมหาปรินิพพานสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า คิชฺฌกูเฏ ความว่า บนภูเขาชื่อว่าคิชฌกูฏ เพราะมีฝูงแร้งอยู่บนยอด หรือมียอดคล้ายแร้ง. บทว่า อภิยาตุกาโม ได้แก่มีพระประสงค์จะเสด็จยาตราทัพยึดแคว้นวัชชี. บทว่า วชฺชี ได้แก่เหล่าเจ้าวัชชี. บทว่า เอวํ มหิทฺธิเก ได้แก่ประกอบด้วยราชฤทธิ์ใหญ่อย่างนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถึงภาวะที่เจ้าวัชชีเหล่านั้นสามัคคีกัน ด้วยพระดํารัสนี้. บทว่า เอวํ มหานุภาเว ได้แก่ ประกอบด้วยอานุภาพมากอย่างนี้. พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถึงภาวะที่เจ้าวัชชีเหล่านั้น ทรงศึกษาหัตถิศิลปะเป็นต้น ที่ท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า พวกเจ้าลิจฉวีราชกุมารเหล่านี้ศึกษาฝึกฝนชํานาญดีแล้วหนอ ที่สามารถยิงลูกศรเข้าทางช่องดาลถี่ๆ ได้ ลูกศรที่ติดพู่ทั้งใหญ่ทั้งเล็กไม่ผิดพลาดเป้าเลย. บทว่า อุจฺเฉชฺชามิ แปลว่า จักตัดขาด. บทว่า วินาเสสฺสามิ แปลว่า จักทําให้ถึงความไม่ปรากฏ. ในคําว่า อนยพฺยสนํ นี้ ความเจริญหามิได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า อนยะ. คําว่า อนยะ นี้ เป็นชื่อของความไม่เจริญ. ความไม่เจริญนั้นย่อมขจัดทิ้งซึ่งประโยชน์เกื้อกูลและความสุข เหตุนั้นจึงชื่อว่า พยสนะ. คําว่า พยสนะ นี้ เป็นชื่อของความเสื่อม มีเสื่อมญาติเป็นต้น บทว่า อาปาเทสฺสามิ แปลว่า จักให้ถึง.
ได้ยินว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ตรัสเฉพาะการยุทธ์อย่างนี้ ในอิริยาบถมียืนและนั่งเป็นต้น จึงสั่งกองทัพอย่างนี้ว่า พวกเจ้าจงเตรียมยาตราทัพ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 338
เพราะเหตุไร. ได้ยินว่าตรงตําบลปัฏฏนคามตําบลหนึ่งแห่งแม่น้ำคงคา พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีอํานาจกึ่งโยชน์ พวกเจ้าลิจฉวีมีอํานาจกึ่งโยชน์. อธิบายว่า ก็ในตําบลนี้เป็นสถานที่ที่ตกอยู่ภายใต้อํานาจปกครอง. อีกอย่างหนึ่งในที่นั้น สิ่งที่มีค่ามากตกจากเชิงเขา. เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบดังนั้นแล้ว ทรงพระดําริว่า ไปวันนี้ ไปพรุ่งนี้ จึงตระเตรียมทันที เหล่าเจ้าลิจฉวีทรงสมัครสมานกันอยู่ จึงพากันไปก่อน ยึดของมีค่ามากเอาไว้หมด. พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปทีหลัง ทรงทราบเรื่องนั้น แล้วทรงกริ้ว เสด็จไป. เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็กระทําอย่างนั้นแหละแม้ในปีต่อมา. ดังนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทรงอาฆาตอย่างรุนแรง ได้ทรงกระทําอย่างนั้นในคราวนั้น. แต่นั้นทรงดําริว่า ชื่อว่าการต่อยุทธ์กับคณะเจ้าเป็นเรื่องหนัก ชื่อว่าการต่อตีที่ไร้ประโยชน์แม้ครั้งเดียวก็มีไม่ได้ แต่เมื่อปรึกษากับบัณฑิตสักคนหนึ่งย่อมไม่พลาด ก็บัณฑิตเช่นพระศาสดาไม่มี ทั้งพระศาสดาก็ประทับอยู่ในวิหารใกล้ๆ นี่เอง. เอาเถิด เราจะส่งคนไปทูลถาม ถ้าเราไปเองจักมีประโยชน์อะไร พระศาสดาก็จักทรงดุษณีภาพ ก็เมื่อไม่เป็นประโยชน์เช่นนี้ พระศาสดาจักตรัสว่า พระราชาเสด็จไปในที่นั้น จะมีประโยชน์อะไร. ท้าวเธอจึงส่งวัสสการพราหมณ์ไป. พราหมณ์ไปแล้วก็กราบทูลความข้อนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ราชา ฯเปฯ อาปาเทสฺสามิ วชฺชึ ดังนี้.
บทว่า ภควนฺตํ วีชยมาโน ความว่า พระเถระยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้าตามธรรมเนียม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงหนาวหรือทรงร้อน ก็หามิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคําของพราหมณ์แล้ว ไม่ทรงปรึกษากับพราหมณ์นั้น กลับมีประสงค์จะปรึกษากับพระเถระ จึงตรัสคําว่า กินฺติ เต อานนฺท สุตํ ดังนี้เป็นอาทิ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 339
บทว่า อภิณฺหสนฺนิปาตา ความว่า ประชุมกันวันละ ๓ ครั้งบ้าง ประชุมกันเป็นระยะบ้าง ชื่อว่า ประชุมกันเนืองๆ . บทว่า สนฺนิปาตพหุลา ความว่า เมื่อไม่หยุดพักว่าเมื่อวานก็ประชุมกันแล้ว ทั้งวันก่อนก็ประชุมกันแล้ว วันนี้จะประชุมกันทําไมอีก ชื่อว่า มากด้วยการประชุม. บทว่า ยาวกีวฺจ แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า วุฑฺฒิเยว อานนฺท วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขาโน ปริหานิ ความว่า เพราะเมื่อไม่ประชุมกันเนืองๆ ไม่ฟังข่าวที่มาแต่ทุกทิศทุกทาง ก็ไม่รู้เรื่องวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากเขตบ้านหรือเขตนิคมโน้น หรือโจรมั่วสุมในที่โน้น. แม้เหล่าโจรรู้ว่าพวกเจ้าพากันประมาท จึงปล้นบ้าน และนิคมเป็นต้น ทําชนบทให้พินาศ. พวกเจ้าย่อมเสื่อมด้วยประการฉะนี้. แต่เมื่อประชุมกันเนืองๆ รู้ข่าวนั้นๆ แต่นั้นก็จะส่งกําลังไปปราบฝ่ายที่ไม่ใช่มิตร แม้โจรทั้งหลายรู้ว่าพวกเจ้าไม่ประมาท พวกเราก็ไม่อาจจะคุมกันเป็นหมู่เที่ยวไปได้ แล้วก็แตกหนีไป. เจ้าทั้งหลายย่อมเจริญด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชาววัชชีพึงหวังความเจริญถ่ายเดียว ไม่เสื่อมเลย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิกงฺขา แปลว่า พึงปรารถนา อธิบายว่า พึงเห็นอย่างนี้ว่า ความเจริญจักมีแน่แท้.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สมคฺคา เป็นต้น ดังนี้.
เมื่อกลองเรียกประชุมลั่นขึ้น พวกเจ้าลิจฉวีการทําการบ่ายเบี่ยงว่า วันนี้เรามีกิจ วันนี้มงคล ดังนี้ ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันประชุม แต่พอได้ยินเสียงกลอง กําลังกินก็ดี กําลังแต่งตัวก็ดี กําลังนุ่งผ้าก็ดี กินได้ครึ่งหนึ่งบ้าง แต่งตัวได้ครึ่งหนึ่งบ้าง กําลังนุ่งผ้าบ้าง ก็เข้าประชุม ชื่อว่า พร้อมเพรียงกันประชุม ส่วนเข้าประชุมแล้ว ก็คิดก็ปรึกษากัน ทํากิจที่ควรทําไม่เลิกพร้อมกัน ชื่อว่า ไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. ก็เมื่อเลิกประชุมกันอย่างนี้แล้ว พวกที่ไปก่อนมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราได้ยินแต่พูดกันนอกเรื่อง บัดนี้จะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 340
พูดแต่เรื่องที่มีข้อยุติ แต่เมื่อเลิกพร้อมกัน ก็ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิก อนึ่ง ได้ยินว่า ความวุ่นวาย หรือโจรมั่วสุมกัน แต่เขตบ้านหรือเขตนิคมในที่โน้น เมื่อไต่ถามกันว่า ใครจักไปกระทําการปราบฝ่ายที่ไม่ใช่มิตรเล่า ต่างชิงกัน อาสาพูดว่า ข้าก่อน ข้าก่อน แล้วพากันไปก็ดี ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิก. แต่เมื่อการงานของเจ้าองค์หนึ่งต้องงดไป เหล่าเจ้าที่เหลือก็ส่งบุตรและพี่น้องไปช่วยการงานของเจ้าองค์นั้น ก็ไม่พูดกะเจ้าผู้เป็นอาคันตุกะว่า โปรดเสด็จไปวังของเจ้าองค์โน้นเถิด หากสงเคราะห์พร้อมกันทั้งหมดก็ดี และเมื่องานมงคล โรค หรือสุขทุกข์เช่นนั้น อย่างอื่น เกิดขึ้นแก่เจ้าองค์นั้น ก็พากันไปช่วยเหลือในเรื่องนั้น ทั้งหมดก็ดี ชื่อว่าพร้อมเพรียงกัน กระทํากิจที่ชาววัชชีพึงทํา.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อปฺตฺตํ เป็นต้น ดั่งนี้. ไม่ตั้งภาษีอากร หรือ พลี หรือ อาชญาที่ไม่เคยทํา ชื่อว่าไม่บัญญัติข้อที่ยังไม่บัญญัติ ส่วนใช้ข้อที่มาโดยโบราณประเพณีชื่อว่าไม่ถอนข้อที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว เมื่อบุคคลถูกเขาจับมาแสดงว่าเป็นโจร ไม่ยอมวินิจฉัย สั่งลงโทษโดยเด็ดขาดเลย ชื่อว่าไม่ถือวัชชีธรรมโบราณประพฤติ. เมื่อเจ้าเหล่านั้นบัญญัติข้อที่ยังไม่บัญญัติ พวกผู้คนที่ถูกบีบคั้นด้วยภาษีใหม่เอี่ยม เป็นต้น รู้สึกว่าเราถูกบีบคั้น ใครจักอยู่ในแคว้นของเจ้าเหล่านี้ได้ แล้วก็พากันไปชายแดน เป็นโจรบ้าง เป็นพรรคพวกของโจรบ้าง ปล้นชนบท. เมื่อพวกเจ้าเลิกถอนข้อที่บัญญัติไว้ ไม่เก็บภาษี เป็นต้น ที่มีมาตามประเพณี เรือนคลังก็เสื่อมเสีย แต่นั้นกองทัพ ช้าง ม้า และ ไพร่พล เมื่อไม่ได้วัตถุเนืองนิตย์เหมือนพนักงานต้นห้อง เป็นต้น ก็จะเสื่อมทางกําลังใจกําลังกาย พวกเขาก็ไม่ควรจะรบ ไม่ควรจะบํารุงได้. เมื่อไม่ยึดถือวัชชีธรรมโบราณประพฤติ ผู้คนในแว่นแคว้นก็จะพากันโกรธว่า พวกเจ้าทําบุตรบิดาพี่น้องของเราผู้ไม่เป็นโจรว่าเป็นโจร ตัดทําลายกัน แล้วพากันไปชายแดน เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 341
โจรบ้าง เป็นพรรคพวกของโจรบ้าง โจมตีชนบท. พวกเจ้าย่อมเสื่อมด้วยอาการอย่างนี้. แต่เมื่อพวกเจ้าบัญญัติข้อที่บัญญัติแล้ว พวกผู้คนก็จะพากันร่าเริงยินดีว่า พวกเจ้ากระทําแต่ข้อที่มาตามประเพณี ดังนี้แล้ว ต่างก็จะทําการงาน มีกสิกรรมและพาณิชยกรรม เป็นต้น ให้เกิดผลสมบูรณ์. เมื่อไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว เก็บภาษี เป็นต้น ที่มีมาตามประเพณี เรือนคลังก็เจริญ แต่นั้นทัพช้าง ม้า และ ไพร่พล เมื่อได้วัตถุเนืองนิตย์ เหมือนพนักงานต้นห้อง สมบูรณ์ด้วยกําลังใจกําลังกายแล้ว ควรรบได้ ควรบํารุงได้.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า โปราณํ วชฺชิธมฺมํ นี้ ดังต่อไปนี้ เขาว่า พวกเจ้าวัชชีแต่ก่อนไม่ตรัสว่า เมื่อตนถูกเขานํามาแสดงว่าผู้นี้เป็นโจร พวกท่านจงจับโจรนั้น แล้วมอบให้มหาอํามาตย์ฝ่ายสอบสวน ฝ่ายอํามาตย์เหล่านั้นสอบสวนแล้ว ถ้าหากว่าไม่ใช่โจรก็ปล่อยไป ถ้าเป็นโจรก็ไม่พูดอะไรๆ ด้วยตนเองแล้วมอบให้มหาอํามาตย์ฝ่ายผู้พิพากษา มหาอํามาตย์ผู้พิพากษาวินิจฉัยแล้ว ถ้าไม่ใช่โจรก็ปล่อยตัวไป ถ้าเป็นโจรก็มอบให้แก่มหาอํามาตย์ฝ่ายที่ ชื่อว่าลูกขุน. ลูกขุนเหล่านั้นวินิจฉัยแล้ว หากไม่ใช่โจรก็ปล่อยตัวไป หากเป็นโจรก็มอบให้มหาอํามาตย์ ๘ ตระกูล. มหาอำมาตย์ ๘ ตระกูลนั้นก็กระทําอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วมอบให้เสนาบดี. เสนาบดีก็มอบให้แก่อุปราช อุปราชก็มอบถวายแด่พระราชา. พระราชาวินิจฉัยแล้ว หากว่าไม่ใช่โจรก็ปล่อยตัวไป หากว่าเป็นโจรก็จะโปรดให้เจ้าหน้าที่อ่านคัมภีร์กฏหมายประเพณี ในคัมภีร์กฏหมายประเพณีนั้นเขียนไว้ว่า ผู้ใดทําความผิดชื่อนี้ ผู้นั้นจะต้องมีโทษชื่อนี้. พระราชาทรงนําการกระทําของผู้นั้นมาเทียบกับตัวบทกฏหมายนั้นแล้ว ทรงลงโทษตามสมควรแก่ความผิดนั้น ดังนั้นเมื่อพวกเจ้ายึดถือวัชชีธรรมโบราณประพฤติ ผู้คนทั้งหลายย่อมไม่ติเตียน พวกเจ้าทั้งหลายย่อมทํางานตามประเพณีโบราณ เจ้าเหล่านั้นย่อมไม่มีโทษ ย่อมมีโทษ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 342
แต่เราเท่านั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่ประมาททําการงาน. เจ้าทั้งหลายย่อมเจริญด้วยอาการอย่างนี้. ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อานนท์ พวกเจ้าวัชชี พึงหวังความเจริญถ่ายเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย.
บทว่า สกฺกโรนฺติ ได้แก่ เมื่อกระทําสักการะแก่เจ้าวัชชีเหล่านั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมกระทําแต่ดีๆ เท่านั้น. บทว่า ครุกโรนฺติ ได้แก่ กระทําการเชิดชูความเป็นผู้ควรเคารพ. บทว่า มาเนนฺติ ได้แก่ รักด้วยใจ. บทว่า ปูเชนฺติ ได้แก่ แสดงการนอบน้อม. บทว่า โสตพฺพํ มฺญนฺติ ได้แก่ ไปปรนนิบัติวันละ ๒ - ๓ ครั้ง ย่อมสําคัญถ้อยคําของเจ้าวัชชีเหล่านั้นว่าควรฟังควรเชื่อ. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนั้น ดังนี้. ชนเหล่าใด ไม่ทําสักการะแก่เจ้าผู้เฒ่า ผู้แก่อย่างนี้ และไม่ไปปรนนิบัติเจ้าเหล่านั้น เพื่อฟังโอวาทชนเหล่านั้นถูกเจ้าเหล่านั้นสลัดทิ้งไม่โอวาท ใฝ่ใจแต่การเล่น ก็ย่อมเสื่อมจากความเป็นพระราชา. ส่วนเจ้าเหล่าใด ปฏิบัติตามอย่างนั้น เจ้าผู้เฒ่าผู้แก่ย่อมสอนประเพณีโบราณแก่เจ้าเหล่านั้นว่า สิ่งนี้ควรทํา สิ่งนี้ไม่ควรทํา แม้ถึงสมัยทําสงคราม ก็ย่อมแสดงอุบายว่า ควรเข้าไปอย่างนี้ ควรออกไปอย่างนี้. เจ้าเหล่านั้นรับโอวาท ปฏิบัติตามโอวาท ย่อมสามารถดํารงราชประเพณีไว้ได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อานนท์ เหล่าเจ้าวัชชี พึงหวังความเจริญถ่ายเดียวไม่เสื่อมเลย.
บทว่า กุลิตฺถิโย ได้แก่ หญิงแม่เรือนของตระกูล. บทว่า กุลกุมาริโย ได้แก่ ธิดาของหญิงแม่เรือนเหล่านั้น ผู้ยังไม่เป็นอิสสระ. ในคําว่า โอกฺกสฺส ปสยฺห นี้คําว่า โอกฺกสฺส ก็ดี ปสยฺห ก็ดีนี้ เป็นชื่อของอาการข่มขืน. ศาสนิกชนสวดว่า อุกฺกสฺส ดังนี้ก็มี. ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกสฺส แปลว่า ฉุดคร่า. บทว่า ปสยฺห แปลว่า ข่มขืน. ก็เมื่อเจ้าเหล่านั้นกระทําอย่างนี้ พวกผู้คนในแว่นแคว้นก็พากันโกรธว่า พวกเจ้าเหล่านี้จับบุตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 343
และมารดาในเรือนของเราบ้าง จับธิดาที่เราเอาปากดูดน้ำลายน้ำมูกเป็นต้น เลี้ยงเติบโตมา โดยพลการ ให้อยู่ในเรือนของตนบ้าง แล้วเข้าไปในปลายแดนเป็นโจรบ้าง เป็นพรรคพวกโจรบ้าง โจมตีชนบท. แต่เมื่อไม่กระทําอย่างนั้น พวกผู้คนในแว่นแคว้นก็ขวนขวายน้อย ทําการงานของตน ย่อมทําคลังหลวงให้เจริญ พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า วชฺชีนํ วชฺชิเจติยานิ ความว่า สถานที่ยักษ์ ได้นามว่าเจดีย์เพราะอรรถว่า เขาทําไว้อย่างงดงามในแว่นแคว้น คือรัฐของพวกเจ้าวัชชี. บทว่า อพฺภนฺตรานิ คือตั้งอยู่ภายในพระนคร. บทว่า พาหิรานิ คือตั้งอยู่ภายนอกพระนคร. บทว่า ทินฺนปุพฺพํ แปลว่า ที่เขาเคยให้. บทว่า กตปุพฺพํ คือ ที่เขาเคยทํา. บทว่า โน ปริหาเปสฺสนฺติ ความว่า จักไม่ให้ลดลง กระทําตามเดิมนั่นเอง. จริงอยู่ เมื่อเจ้าวัชชีลดพลีกรรมที่ชอบธรรมเสีย เหล่าเทพยดาย่อมไม่กระทําอารักขาที่จัดไว้อย่างดี ทั้งไม่สามารถที่จะยังทุกข์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทําโรคไอโรคในศีรษะ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้วให้กําเริบ เมื่อมีสงครามก็ไม่ช่วย แต่เมื่อพวกเจ้าวัชชีไม่ลดพลีกรรม เทพยดาทั้งหลายย่อมการทําอารักขาที่จัดไว้เป็นอันดี ถึงไม่สามารถทําสุขที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น แต่ก็กําจัดโรคไอโรคในศีรษะ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้วได้ ทั้งจะช่วยในยามสงครามด้วย พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ดังกล่าวมานี้ .
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ธมฺมิกา รกฺขาวรณคุตฺติ ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อาวรณะ เพราะป้องกันโดยประการที่ สิ่งซึ่งไม่น่าปรารถนายังไม่มาถึง. ชื่อว่า คุตติ เพราะคุ้มครองโดยประการที่ สิ่งซึ่งปรารถนามีอยู่แล้ว ยังไม่เสียหาย ชื่อว่ารักขาเหมือนกัน. ในคํานั้น การล้อมรักษาด้วยกองเพลิง ไม่ชื่อว่า ธัมมิการักขาวรณคุตติ เพื่อบรรพชิต แต่การกระทําโดยที่ไม่ตัดต้นไม้ในป่าใกล้วิหาร ไม่จับเนื้อด้วยตาข่าย ไม่จับปลาในสระโปกขรณี ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 344
ธัมมิการักขาวรรณคุตติ. ก็ด้วยคําว่า กินฺติ อนาคตา จ นี้ ท่านถามความในใจของเจ้าวัชชีเหล่านั้นว่า มีจิตสันดานปรากฏอย่างนี้. พึงทราบวินิจฉัยในคํานั้น ดังต่อไปนี้. เจ้าวัชชีเหล่าใด ไม่ปรารถนาการมาของพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา เจ้าวัชชีเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส เมื่อบรรพชิตมาถึงแล้ว ก็ไม่ไปต้อนรับ ไม่ไปเยี่ยม ไม่กระทําปฏิสันถาร ไม่ถามปัญหา ไม่ฟังธรรม ไม่ให้ทาน ไม่ฟังอนุโมทนา ไม่จัดที่อยู่อาศัย เมื่อเป็นเช่นนั้น เสียงติเตียนเจ้าวัชชีเหล่านั้นก็จะกระฉ่อนไปว่า เจ้าชื่อโน้นไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส เมื่อบรรพชิตมาถึงก็ไม่ต้อนรับ ฯลฯ ไม่จัดที่อยู่อาศัย. เหล่าบรรพชิตฟังเรื่องนั้นแล้ว แม้ผ่านทางประตูพระนครของเจ้าองค์นั้น ก็ไม่เข้าไปยังพระนคร. เหล่าพระอรหันต์ที่ยังไม่มา ก็ย่อมไม่มา ด้วยประการฉะนี้. เมื่อที่อยู่อย่างผาสุกสําหรับพระอรหันต์ที่มาแล้วไม่มี. แม้เหล่าพระอรหันต์ที่ไม่รู้มาถึง ก็คิดว่าก่อนอื่น เราคิดจะมาอยู่ แต่ใครเล่าจักอยู่ได้โดยความไม่ไยดีของเจ้าเหล่านี้ ดังนี้แล้วก็พากันออกไปเสีย. โดยประการดังกล่าวมานี้ เมื่อเหล่าพระอรหันต์ที่ยังไม่มา ก็ไม่มา ที่มาแล้ว ก็อยู่ลําบาก ถิ่นนั้นย่อมไม่ใช่เป็นที่อยู่สําหรับบรรพชิต. แต่นั้นการอารักขาของเทวดาก็ย่อมไม่มี เมื่อเป็นดังนั้น เหล่าอมนุษย์ก็ได้โอกาส. เหล่าอมนุษย์ก็แน่นหนา ย่อมทําความป่วยไข้ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น. บุญอันมีที่ตั้ง เช่นการเห็นการถามปัญหา เหล่าท่านผู้มีศีลเป็นต้น ก็ไม่มาถึง. แต่เมื่อว่าโดยปริยายกลับกัน บุญอันเป็นฝ่ายขาว ที่ตรงกันข้ามกับบาปฝ่ายดํา ตามที่กล่าวแล้ว ย่อมเกิด พร้อมพึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคํานี้ว่า เอกมิทาหํ ก็เพื่อทรงประกาศภาวะแห่งวัชชีสูตรนี้ ที่ทรงแสดงไว้แล้วแก่เหล่าเจ้าวัชชีในกาลก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 345
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารนฺทเท เจติเย คือ วิหารที่มีชื่ออย่างนี้ ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ สถานที่อยู่ของสารันททยักษ์ในที่นั้น ได้เป็นเจดีย์. ครั้งนั้น เหล่าเจ้าวัชชีให้สร้างวิหารถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าลงในที่นั้น. วิหารนั้นก็นับได้ว่าสารันททเจดีย์นั่นเอง เพราะทรงสร้างไว้ตรงที่สารันททเจดีย์.
บทว่า อกรณียา แปลว่า ไม่พึงกระทํา อธิบายว่า ไม่ควรยึดถือ. คําว่า ยทิทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยุทฺธสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัติ ลงในอรรถตติยาวิภัติ. ความว่า ใครๆ ไม่อาจเผชิญหน้าต่อยุทธ์ได้. บทว่า อฺตฺร อุปลาปนาย ได้แก่ นอกจากการเจรจากัน. อธิบายว่า การส่งเครื่องบรรณาการมี ช้าง ม้า รถ เงิน และทอง เป็นต้น สงเคราะห์กันด้วยกล่าวว่า พอกันทีสําหรับการขัดแย้งกัน พวกเราสามัคคีกันเดี๋ยวนี้เถิด ดังนี้ ชื่อว่า การเจรจากัน. กระทําการสงเคราะห์กันอย่างนี้ ก็อาจยึดเหนี่ยวกันไว้ได้ด้วยความสนิทสนมอย่างเดียว. บทว่า อฺตฺร มิถุเภทาย ได้แก่ นอกจากทําให้แตกกันเป็นสองฝ่ายด้วยคํานี้ ท่านแสดงว่า แม้กระทําการแตกซึ่งกันและกัน ก็อาจจับเหล่าเจ้าวัชชีเหล่านั้นได้. พราหมณ์ได้นัยแห่งพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงกล่าวคํานี้. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพราหมณ์ได้นัยแห่งพระดํารัสนี้หรือ. ตอบว่า ทรงทราบสิ. ถามว่า เมื่อทรงทราบ เหตุไรจึงตรัส. ตอบว่า เพราะทรงอนุเคราะห์. ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงพระดําริว่า แม้เมื่อเราไม่กล่าว ๒ - ๓ วัน พราหมณ์จักไปจับเจ้าวัชชีเหล่านั้น แต่เมื่อเรากล่าว พราหมณ์เมื่อจะทําลายสามัคคี ก็ต้องใช้เวลาถึง ๓ ปี จักมีชีวิตอยู่เพียงเท่านี้ก็ประเสริฐแล้ว ด้วยว่าเหล่าเจ้าวัชชีเป็นอยู่ได้เพียงนี้ ก็จักทําบุญเป็นที่พึ่งของตนกันได้. บทว่า อภินนฺทิตฺวา แปลว่า บรรเทิงจิต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 346
บทว่า อนุโมทิตฺวา ได้แก่ อนุโมทนาด้วยวาจา ว่า ท่านพระโคดม คํานี้เป็นวาจาสุภาษิตแท้. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ไปยังราชสํานัก.
ลําดับนั้น พระราชา (อชาตศัตรู) ตรัสถามพราหมณ์นั้นว่า อาจารย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร. พราหมณ์ทูลว่า พระดํารัสของท่านพระสมณโคดม บ่งชี้ว่า ใครๆ ไม่อาจจับเหล่าเจ้าวัชชีได้ แต่ว่า อาจจับได้ด้วยการเจรจา ๑ ด้วยการทําให้แตกสามัคคี ๑. พระราชาตรัสถามพราหมณ์นั้นว่า ช้าง ม้า เป็นต้น ของเรา จักพินาศด้วยการเจรจา เราจักจับเหล่าเจ้าวัชชีด้วยการทําลายสามัคคีเท่านั้น เราจักทําอย่างไร. พราหมณ์ทูลว่า พระมหาราชเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอได้โปรดปรารภแคว้นวัชชี ยกเรื่องขึ้นตรัสในที่ประชุม แต่นั้น ข้าพระองค์จักทูลว่า พระมหาราชเจ้า พระองค์จะทรงประสงค์อะไรด้วยสมบัติของเจ้าเหล่านั้น เจ้าเหล่านั้นจงทํากสิกรรมและพานิชย์กรรมเป็นต้น เลี้ยงชีพอยู่เถิด แล้วทําทีจะหลบหนีไป ต่อนั้น พระองค์พึงตรัสว่า เหตุไรหนอท่านพราหมณ์ผู้นี้ จึงคัดค้านเรื่องแคว้นวัชชีที่ปรารภกัน. ตอนกลางวันข้าพระองค์จักส่งเครื่องบรรณาการไปถวายเจ้าวัชชีเหล่านั้น แม้พระองค์ก็จงให้จับข้าพระองค์นั้น ยกโทษของข้าพระองค์ ไม่ทําการจองจําและเฆี่ยนตีเป็นต้น หากแต่โกนหัวอย่างเดียว เนรเทศออกไปจากพระนคร เมื่อเป็นดั่งนั้น ข้าพระองค์จักกล่าวว่า ข้าพระองค์ให้สร้างกําแพงและคูในพระนครของพระองค์ ข้าพระองค์จะรู้ถึงสถานที่มั่นคงและอ่อนแอ และสถานที่ตื้นและลึก บัดนี้ ข้าพระองค์จักทําพระนครนั้นให้ตรงไม่นานเลย พระองค์ฟังคํานั้น พึงตรัสสั่งไล่ให้ไปดังนี้. พระราชาก็ได้ทําทุกประการ.
เหล่าเจ้าลิจฉวีทรงสดับการเนรเทศพราหมณ์นั้นแล้วตรัสว่า พราหมณ์โอ้อวด ท่านทั้งหลายอย่าให้พราหมณ์นั้นข้ามแม่น้ำคงคาไปได้. บรรดาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น เมื่อเจ้าลิจฉวีบางพวกกล่าวว่า เขาว่าพราหมณ์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 347
ถูกเขาทําอย่างนี้ เพราะเขาพูดปรารภพวกเรา เจ้าวัชชีอีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พนาย ท่านอย่าได้ให้พราหมณ์เข้ามา. พราหมณ์นั้นไปพบพวกเจ้าลิจฉวีถูกถามว่า ท่านได้ทําผิดอะไรจึงเล่าเรื่องนั้น. พวกเจ้าลิจฉวีกล่าวว่า พราหมณ์ทําผิดเล็กน้อย ไม่ควรลงโทษหนักอย่างนี้ แล้วจึงถามว่า ในนครนั้นท่านมีตําแหน่งอะไร. พราหมณ์ตอบว่า ข้าพระองค์เป็นอํามาตย์ฝ่ายวินิจฉัย. เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ท่านจงดํารงตําแหน่งนั้นนั่นแล. พราหมณ์นั้นก็ทําหน้าที่วินิจฉัยเป็นอันดี. ราชกุมารทั้งหลายพากันศึกษาศิลปะในสํานักของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์นั้นทรงคุณ วันหนึ่งพาเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่งไปที่แห่งหนึ่ง ถามว่าเด็กๆ ทํานากันหรือ. เจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ตอบว่า เออ ทํานา ถามว่า เทียมโคคู่หรือ. ตอบว่า เออ เทียมโคคู่. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้วก็กลับไป. ต่อนั้น เจ้าลิจฉวีองค์อื่นจึงถามเจ้าลิจฉวีองค์นั้นว่า อาจารย์พูดกระไร ไม่เชื่อคําเจ้าลิจฉวีองค์นั้นบอก คิดว่าเจ้าลิจฉวีองค์นั้นไม่บอกเราตามเป็นจริง ก็แตกกับเจ้าลิจฉวีองค์นั้น. แม้ในวันอื่นๆ พราหมณ์ก็พาเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่งไปที่แห่งหนึ่งถามว่า ท่านเสวยกับอะไรแล้วก็กลับ. เจ้าลิจฉวีองค์อื่นไม่เชื่อก็แตกกันอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในวันต่อๆ มา พราหมณ์ก็พาเจ้าลิจฉวีอีกองค์หนึ่งไปที่แห่งหนึ่งแล้วถามว่า เขาว่าท่านจนนักหรือ. ย้อนถามว่าใครพูดอย่างนี้. พราหมณ์ตอบว่าเจ้าลิจฉวีชื่อโน้น. พราหมณ์ก็พาเจ้าลิจฉวีองค์อื่นๆ ไปที่แห่งหนึ่งแล้วถามว่า เขาว่าท่านขลาดนักหรือ. ย้อนถามว่าใครพูดอย่างนั้น. ตอบว่าเจ้าลิจฉวีชื่อโน้น. พราหมณ์กล่าวถ้อยคําที่เจ้าลิจฉวีอีกองค์หนึ่งมิได้กล่าวต่อเจ้าลิจฉวีอีกองค์หนึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้ ๓ ปี จึงแยกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นออกจากกัน แล้วกระทําโดยประการที่เจ้าลิจฉวีทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เดินทางเดียวกัน จึงให้ตีกลองเรียกประชุม. พวกเจ้าลิจฉวีกล่าวกันว่า ผู้เป็นใหญ่จงประชุมกัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 348
ผู้กลัวจงประชุมกันเถิด แล้วก็ไม่ประชุมกัน. พราหมณ์จึงส่งข่าวถวายพระราชาว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้ว โปรดรีบเสด็จมาเถิด.
พระราชาชาสดับแล้ว ก็โปรดให้ตีกลองเรียกไพร่พล เสด็จกรีธาทัพออกไป. ชาวเมืองเวสาลีก็ตีกลองประกาศว่า พวกเราจักไม่ยอมให้พระราชาเสด็จข้ามแม่น้ำคงคา. ชาวเมืองเวสาลีฟังประกาศนั้นแล้ว ก็พูดว่า คนเป็นใหญ่จงไปกันเถิด ดังนี้ เป็นต้น แล้วก็ไม่ไปประชุมกัน. ชาวเมืองเวสาลีก็ตีกลองประกาศว่า พวกเราจักไม่ให้พระราชาเสด็จเข้าพระนคร จะปิดประตูอยู่เสีย ไม่ไปประชุมแม้แต่คนเดียว. พระราชาเสด็จเข้าทางประตูตามที่เปิดไว้ ทรงทําเหล่าเจ้าวัชชีทั้งหมดให้ถึงความย่อยยับแล้วเสด็จไป.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อถโข ภควา อจิรปกฺกนฺเต เป็นต้น ดังต่อไปนี้. บทว่า สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า พระอานนท์เรียกประชุมว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงส่งท่านผู้มีฤทธิ์ไปที่วิหารไกลๆ จงไปประชุมกันเองที่วิหารใกล้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะประชุมพวกท่าน. บทว่า อปริหานิเย ความว่า ไม่กระทําเหตุแห่งความเจริญให้เสื่อม. บทว่า ธมฺเม เทเสสฺสามิ ความว่า เราจักกล่าวให้แจ่มชัด ประหนึ่งยกพระจันทร์พันดวง พระอาทิตย์พันดวงขึ้น ประหนึ่งตามประทีปน้ำมันพันดวง ที่สี่มุมเรือน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิณฺหสนฺนิปาตา นี้ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในการประชุมของเจ้าวัชชีนั่นเอง. อนึ่ง เพราะเหตุที่ไม่ประชุมกันเนืองๆ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ยินข่าวที่มาในทิศต่างๆ แต่นั้น สีมาของวัดโน้นก็วุ่นวาย อุโบสถและปวารณาก็งด ภิกษุทั้งหลายในที่โน้นกระทําอเนสนกรรมมีเวชชกรรมและทูตกรรมเป็นต้น เป็นผู้มากด้วยวิญญัติ ไม่รู้จักกิจเป็นต้น ว่าเลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนกรรม มีการให้ดอกไม้เขาเป็นต้น. แม้ภิกษุชั่วทั้งหลายรู้ว่าสงฆ์เผลอ รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ย่อมทํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 349
ศาสนาให้เสื่อมถอย. แต่เพราะประชุมกันเนืองๆ ภิกษุทั้งหลายย่อมได้ยินเรื่องนั้นๆ . แต่นั้นก็ส่งภิกษุสงฆ์ไปกระทําสีมาให้ตรง ทําอุโบสถและปวารณาเป็นต้น ให้เป็นไป. ส่งภิกษุผู้นับเนื่องในอริยวงศ์ไปในที่ๆ เหล่าภิกษุมิจฉาชีพหนาแน่น ให้กล่าวอริยวงศ์ให้เหล่าพระวินัยธร กระทํานิคคหะภิกษุชั่วทั้งหลาย แม้ภิกษุชั่วทั้งหลายรู้ว่าสงฆ์ไม่เผลอ พวกเราไม่อาจรวมเป็นหมู่เป็นกลุ่มกันได้ ก็แตกหนีไป. พึงทราบความเสื่อมและความเจริญในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สมคฺคา เป็นต้น ดังต่อไปนี้ เมื่อเขาตีกลองหรือเคาะระฆังประกาศว่า สงฆ์จงประชุมกัน เพราะประสงค์จะแจ้งวัตตกติกา เพราะประสงค์จะให้โอวาท เพื่อปฏิบัติพระเจดีย์ ปฏิบัติลานโพธิ์ หรือ เพื่อมุงโรงอุโบสถ กระทําการหลีกเลี่ยงว่า ผมมีกิจด้วยจีวร ผมสุมบาตร ผมมีการก่อสร้าง ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันกระทํา. ส่วนภิกษุทั้งหลายเว้นกิจการนั้นทั้งหมด ประชุมกันโดยการป่าวร้องครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยความสนใจว่า ผมก่อน ผมก่อน ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันประชุม. อนึ่งประชุมกันแล้ว คิดปรึกษากัน กระทํากิจที่ควรทํา ไม่เลิกพร้อมกัน ไม่ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิก. ก็บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้เลิกกันแล้วอย่างนี้ พวกภิกษุที่ไปก่อนคิดอย่างนี้ว่า พวกเราฟังแต่เรื่องนอกเรื่อง บัดนี้จักพูดกันแต่ข้อที่ยุตติ. แต่เมื่อเลิกโดยพร้อมเพรียงกันก็ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสดับว่า สีมาของวิหารในที่ชื่อโน้นวุ่นวาย อุโบสถและปวารณาก็งด ภิกษุชั่วผู้กระทําอเนสนกรรมมีเวชชกรรมเป็นต้น ในที่ชื่อโน้นมีหนาแน่น เมื่อภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า ใครจะไปทําการนิคคหะภิกษุเหล่านั้น จึงพูดรับอาสาว่า ผมก่อน ผมก่อน แล้วก็ไป ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิก. ก็ภิกษุทั้งหลายพบภิกษุอาคันตุกะ ไม่พูดอะไรว่า จงไปบริเวณนี้ จงไปบริเวณนั้น ทั้งหมดแม้กระทําวัตรอยู่ก็ดี พบภิกษุผู้มีบาตรจีวรเก่า แสวงหา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 350
บาตรจีวรด้วยภิกษุจารวัตร เพื่อภิกษุนั้น ก็ดี แสวงหาคิลานเภสัช (ยา) เพื่อภิกษุไข้ ก็ดี ไม่พูดกะภิกษุไข้ผู้ไม่มีที่พึ่งว่า จงไปบริเวณโน้นซิ จงไปบริเวณโน้นซิ ก็ดี ปฏิบัติในบริเวณของตนๆ อยู่ ก็ดี มีคัมภีร์เหลืออยู่คัมภีร์หนึ่ง ก็สงเคราะห์ภิกษุผู้มีปัญญา ให้ภิกษุนั้นยกคัมภีร์นั้นขึ้น ก็ดี ชื่อว่า พร้อมเพรียงกันกระทํากิจของสงฆ์ที่พึงกระทํา. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อปฺตฺตํ ดังนี้ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ภิกษุทั้งหลายแต่งวัตตกติกาหรือสิกขาบทที่ไม่ชอบธรรมขึ้นใหม่ ชื่อว่าบัญญัติข้อที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เหมือนพวกภิกษุเมืองสาวัตถีในเรื่องหล่อสันถัตเก่า. พวกภิกษุที่แสดงคําสั่งสอนนอกธรรม นอกวินัย ชื่อว่า ถอดถอนข้อที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติแล้ว เหมือนพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี. ส่วนพวกภิกษุจงใจล่วงละเมิดอาบัติเล็กๆ น้อยๆ ชื่อว่าไม่สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้ เหมือนอย่างภิกษุอัสสชิปุนัพพสุกะ. ส่วนภิกษุทั้งหลายไม่แต่งวัตตกติกาหรือสิกขาบทขึ้นใหม่ แสดงคําสั่งสอนจากธรรมวินัย ไม่ถอดถอนสิกขาบท เล็กๆ น้อยๆ ชื่อว่า ไม่บัญญัติข้อที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอดถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้ เหมือนท่านพระอุปเสนะ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรและท่านพระมหากัสสปะ ผู้ตั้งแบบแผนนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบททั้งหลายของพวกเรา เป็นส่วนของคฤหัสถ์มีอยู่ แม้คฤหัสถ์ทั้งหลายก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่สมณะศากยบุตรของพวกท่าน สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกท่าน ก็ถ้าพวกเราจักถอดถอนสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ กันไซร้ ก็จักมีผู้ว่ากล่าวเอาได้ว่า สิกขาบทที่พระสมณโคดมบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายอยู่ได้ชั่วควันไฟ สาวกเหล่านี้ ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบเท่าที่ศาสดาของสาวกเหล่านี้ยังดํารงอยู่ เพราะศาสดาของสาวกเหล่านี้ปรินิพพานเสียแล้ว บัดนี้ สาวกเหล่านี้ก็ไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 351
ยอมศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย ดังนี้ ผิว่าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติข้อที่ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ไม่พึงถอดถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้. บทว่า วุฑฺฒิเยว ได้แก่ ความเจริญด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น ไม่เสื่อมเลย.
บทว่า เถรา ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้มั่นคง คือประกอบด้วยคุณอันกระทําความมั่นคง. ชื่อว่า รัตตัญู เพราะรู้ราตรีมาก. ชื่อว่า จิรปพฺพชิตา เพราะบวชมานาน. ชื่อว่า สงฺฆปิตโร เพราะตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดาของสงฆ์. ชื่อว่า สงฺฆปริณายกา เพราะปริหารสงฆ์เหตุตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดา เป็นห้วหน้าปฏิบัติในบทคือสิกขา ๓. ภิกษุเหล่าใด ไม่กระทําสักการะเป็นต้นแก่พระเถระเหล่านั้น ไม่ไปปรนนิบัติวันละ ๒ - ๓ ครั้งเพื่อรับโอวาท พระเถระแม้เหล่านั้น ย่อมไม่ให้โอวาท ไม่กล่าวเรื่องประเพณี ไม่ให้ศึกษาธรรมบรรยายอันเป็นสาระแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น ถูกพระเถระเหล่านั้นสลัดเสียแล้ว ย่อมเสื่อมจากคุณทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ จากธรรมขันธ์ มีศีลขันธ์เป็นต้นและจากอริยทรัพย์ ๗. ส่วนภิกษุเหล่าใดกระทําสักการะเป็นต้น ไปปรนนิบัติพระเถระเหล่านั้น พระเถระแม้เหล่านั้น ย่อมให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลอย่างนี้ พึงเหลียวอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงทรงบาตรและจีวรอย่างนี้ ย่อมสอนเรื่องประเพณี ย่อมให้ศึกษาธรรมบรรยายที่เป็นสาระ พร่ําสอนด้วยธุดงค์ ๑๓ กถาวัตถุ ๑๐. ภิกษุเหล่านั้นอยู่ในโอวาทของพระเถระเหล่านั้น เจริญด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมบรรลุสามัญญผลโดยลําดับ. พึงทราบความเสื่อมและความเจริญในข้อนี้ด้วยประการฉะนี้.
การให้การเกิดอีกชื่อว่าภพใหม่ ภพใหม่นั้นเป็นปกติของตัณหานั้น เหตุนั้นตัณหานั้นจึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา. อธิบายว่าให้เกิดอีก. แห่งตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 352
ผู้ให้ภพใหม่นั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า น วสํ คจฺฉิสฺสนฺติ ดังต่อไปนี้ ภิกษุเหล่าใดรับบิณฑบาตของอุปัฏฐากแล้ว จากบ้านหนึ่งไปบ้านหนึ่ง เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า อยู่ในอํานาจของตัณหานั้น. ฝ่ายภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่า ไม่อยู่ในอํานาจแห่งตัณหา. ความเสื่อมและความเจริญในข้อนั้นปรากฏชัดแล้ว.
บทว่า อารฺเกสุ ได้แก่ป่าชั่ว ๕๐๐ ธนูเป็นที่สุด. บทว่า สาเปกฺขา ได้แก่ มีตัณหา มีอาลัย. ภิกษุแม้ยังไม่บรรลุฌานในเสนาสนะใกล้บ้าน พอออกจากฌานนั้น ได้ยินเสียงหญิง ชาย และเด็กหญิงเป็นต้น เป็นเหตุเสื่อมคุณวิเศษที่ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว แต่เธอนอนในป่า พอตื่นขึ้น ก็ได้ยินแต่เสียงราชสีห์ เสือ และนกยูงเป็นต้น อย่างที่เธอได้ปิติในป่า แล้วพิจารณาปิตินั้นนั่นแล ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญภิกษุผู้หลับอยู่ในป่าเท่านั้น ยิ่งกว่าภิกษุผู้ไม่บรรลุฌานอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอํานาจประโยชน์นั้นนั่นแล จึงตรัสว่า จักเป็นผู้อาลัยในเสนาสนะป่า.
บทว่า ปจฺจตฺตํ เยว สตึอุปฏเปสฺสนฺติ ได้แก่ จักไปตั้งสติไว้ภายในของตน. บทว่า เปสลา แปลว่า ผู้น่ารัก. เหล่าภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาให้เพื่อนสพรหมจารีมาในที่นี้ เป็นผู้ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ทําสามีกิจกรรม มีไปต้อนรับ รับบาตร จีวร ปูอาสนะ พัดด้วยพัดใบตาลเป็นต้น แก่เหล่าภิกษุผู้มาถึงแล้ว. ครั้งนั้น เสียงติเตียนภิกษุเหล่านั้น ก็กระพือไปว่า เหล่าภิกษุวัดโน้น ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส ไม่ทําวัดปฏิบัติ แก่เหล่าภิกษุผู้เข้าไปวัด. บรรพชิตทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็ผ่านประตูวัด ไม่ยอมเข้าวัด. เหล่าภิกษุที่ยังไม่มา ย่อมไม่มา ด้วยประการฉะนี้. ส่วนสําหรับเหล่าภิกษุที่มาแล้ว เมื่อไม่มีวัดอยู่ผาสุก เหล่าภิกษุที่ไม่รู้ มาแล้วก็คิดก่อนว่าจะอยู่ แต่ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 353
ต้องออกไปเสีย ด้วยเห็นว่าพวกเรามากันแล้ว แต่ด้วยความไม่นําพานี้ของภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านี้ ใครจักอยู่ได้. เมื่อเป็นดังนั้น วัดนั้น ภิกษุอื่นๆ ก็มาอยู่ไม่ได้. แต่นั้น เหล่าภิกษุเจ้าถิ่นเมื่อไม่ได้พบเหล่าภิกษุผู้มีศีล ก็พลอยไม่ได้ภิกษุผู้ช่วยบรรเทาความสงสัย หรือผู้ให้ศึกษาธรรมบรรยาย หรือฟังธรรมอันไพเราะ ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นก็เป็นอันไม่ได้รับธรรมที่ยังไม่ได้รับ ไม่ได้กระทําการสาธยายธรรมที่รับไว้แล้ว. ดังนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นจึงมีแต่ความเสื่อมถ่ายเดียว ไม่มีความเจริญเลย. ส่วนภิกษุเหล่าใด ปรารถนาจะให้เพื่อนสพรหมจารีมา ภิกษุเหล่านั้น มีศรัทธามีความเลื่อมใส กระทําการต้อนรับเป็นต้น แก่เพื่อนสพรหมจารีที่มากันแล้ว จัดเสนาสนะให้ พาเข้าไปภิกษาจาร บรรเทาความสงสัย ได้ฟังธรรมอันไพเราะ เมื่อเป็นเช่นนั้น กิตติศัพท์ของภิกษุเหล่านั้นก็ฟุ้งขจรไปว่า เหล่าภิกษุในวัดโน้น มีศรัทธา เลื่อมใส ถึงพร้อมด้วยวัตร สงเคราะห์อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังเรื่องนั่นแล้ว แม้ไกลก็พากันไป เหล่าภิกษุเจ้าถิ่น กระทําวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น มาใกล้ๆ แล้วไหว้อาคันตุกะผู้แก่กว่าแล้วนั่ง ถืออาสนะนั่งใกล้ๆ อาคันตุกะผู้อ่อนกว่า แล้วถามว่า พวกท่านจักอยู่ในวัดนี้หรือจักไป เมื่ออาคันตุกะตอบว่าจักไป ก็กล่าวว่า เสนาสนะสบาย ภิกษาก็หาได้ง่าย ไม่ยอมให้ไป. ถ้าอาคันตุกะเป็นวินัยธร ก็สาธยายวินัยในสํานักของพระวินัยธร ถ้าอาคันตุกะทรงพระสูตรเป็นต้น ก็สาธยายธรรมนั้นๆ ในสํานักของพระธรรมธรนั้น อยู่ในโอวาทของพระอาคันตุกะผู้เป็นพระเถระ ย่อมบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. เหล่าพระอาคันตุกะคิดจะอยู่สักวัน ๒ วันจึงกล่าวว่า พวกเรามากันแล้วก็จะอยู่สัก ๑๐ - ๑๒ วัน เพราะภิกษุเหล่านี้มีการอยู่ร่วมอย่างสบาย. พึงทราบความเจริญและความเสื่อมด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 354
พึงทราบวินิจฉัยในสัตตกะที่ ๒ ดังต่อไปนี้. ภิกษุชื่อว่ากัมมารามะเพราะมีการงานเป็นที่ยินดี. ชื่อว่ากัมมรตะเพราะยินดีในการงาน. บทว่า กมฺมารามตํ อนุยุตฺตา ความว่า ประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้ว ประกอบตามแล้ว. ในบทเหล่านั้น งานที่จะพึงทําเรียกว่ากรรม. คืออะไรบ้าง. คือ เช่น จัดจีวร กระทําจีวร ช่วยเขาทําวัตถุมีกล่องเข็ม ถลกบาตร สายโยคประคดเอว เชิงรองบาตร เขียงเท้า และไม้กวาดเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุบางรูปเมื่อกระทํากิจเหล่านี้ ย่อมกระทํากันทั้งวันทีเดียว. ท่านหมายเอาข้อนั้นจึงห้ามไว้ดังนี้. ส่วนภิกษุใดกระทํากิจเหล่านั้น ในเวลาทํากิจเหล่านั้นเท่านั้น ในเวลาอุเทศก็เรียนอุเทศ ในเวลาสาธยายก็สาธยาย เวลากวาดลานพระเจดีย์ก็ทําวัตรที่ลานพระเจดีย์ ในเวลามนสิการก็ทํามนสิการ ภิกษุนั้นไม่ชื่อว่ามีการงานเป็นที่ยินดี.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า น ภสฺสารามา นี้ ดังต่อไปนี้ ภิกษุใดเมื่อกระทําการเจรจาปราศัย ด้วยเรื่องเพศหญิงเพศชายเป็นต้น หมดเวลาไปทั้งกลางวันและกลางคืน คุยเช่นนี้ไม่จบ ภิกษุนี้ชื่อว่า มีการคุยเป็นที่มายินดี. ส่วนภิกษุใด พูดธรรม แก้ปัญหา ชื่อว่าไม่มีการคุยเป็นที่มายินดี ภิกษุนี้ชื่อว่าคุยน้อยคุยจบทีเดียว. เพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าภิกษุทั้งหลาย พวกเธอผู้ประชุมกันมีกรณียะ ๒ อย่างคือ พูดธรรมหรือนิ่งอย่างอริยะ.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า น นิทฺทารามา นี้ดังต่อไปนี้ ภิกษุใดเดินก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ถูกถีนมิทธะครอบงําแล้วก็หลับได้ทั้งนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่ามีการหลับเป็นที่มายินดี ส่วนภิกษุใดมีจิตหยั่งลงในภวังค์ เพราะความเจ็บป่วยทางกรัชกาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 355
เรารู้ยิ่งว่า ปลายเดือนฤดูร้อนภายหลังกลับจากบิณฑบาต ปูสังฆาฏิ ๔ ชั้น มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับโดยตะแคงข้างขวา.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า น สงฺคณิการามา นี้ดังต่อไปนี้ ภิกษุใดมีเพื่อน ๑ รูป ๒ รูป ๓ รูป ๔ รูป คลุกคลีอยู่อย่างนี้ ไม่ได้รับความยินดีแต่ผู้เดียว ภิกษุนี้ชื่อว่ามีการคลุกคลีเป็นที่มายินดี. ส่วนภิกษุใดได้ความยินดีในอิริยาบถทั้ง ๔ แต่ผู้เดียว ภิกษุนี้พึงทราบว่ามิใช่ผู้มีความคลุกคลีเป็นที่มายินดี.
เหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยปรารถนา ความยกย่องคุณที่ไม่มีอยู่เป็นผู้ทุศีล ชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาลามกในคําว่า น ปาปิจฺฉา นี้.
พึงทราบวินิจฉัยในปาปมิตรเป็นต้นดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปาปมิตรเพราะมีมิตรชั่ว ชื่อว่า ปาปสหายเพราะมีสหายชั่ว เหตุไปด้วยกันในอิริยาบถทั้ง ๔. ชื่อว่า ปาปสัมปวังกะ เพราะเป็นเพื่อนในหมู่ภิกษุชั่ว เหตุเป็นผู้โอนอ่อนผ่อนตามภิกษุชั่วนั้น.
บทว่า โอรมตฺตเกน ได้แก่ มีประมาณต่ํามีประมาณน้อย. บทว่า อนฺตรา ได้แก่ ในระหว่างยังไม่บรรลุพระอรหันต์นั้น. บทว่า โอสานํ ได้แก่ งดความเพียร ท้อถอยว่าพอละด้วยเหตุเพียงเท่านี้ได้แก่หยุดกิจ. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ถึงที่สุด ด้วยผลเพียงมีศีลบริสุทธิ์ เพียงวิปัสสนา เพียงฌาน เพียงเป็นพระโสดาบัน เพียงเป็นพระสกทาคามี หรือเพียงเป็นพระอนาคามี เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่เสื่อมเลย.
พึงทราบวินิจฉัยในสัตตกะที่ ๓ ดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา. ในความว่า สทฺธา นั้น ศรัทธามี ๔ คือ อาคมนียศรัทธา อธิคมศรัทธา ปสาทศรัทธา โอกัปปนศรัทธา. บรรดาศรัทธาทั้ง ๔ นั้น อาคมนียศรัทธาย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญู. อธิคม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 356
ศรัทธาย่อมมีแก่พระอริยบุคคลทั้งหลาย ส่วนเมื่อเขาว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆก็เลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา. ส่วนความปักใจเชื่อ ชื่อว่า โอกัปปนศรัทธา. ความเชื่อทั้ง ๒ นั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. จริงอยู่ภิกษุผู้ประกอบด้วยศรัทธานั้น เป็นผู้น้อมไปในศรัทธา ก็เป็นเช่นเดียวกับพระวักกลิเถระ. ความจริง พระวักกลิเถระเป็นอันทําเจติยังคณวัตร หรือว่า โพธิยังคณวัตร. บําเพ็ญวัตรทุกอย่าง มีอุปัชฌายวัตรและอาจริยวัตรเป็นต้น. บทว่า หิริมนา ได้แก่ ผู้มีจิตประกอบด้วยหิริ อันมีลักษณะเกลียดบาป. บทว่า โอตฺตปฺปี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยโอตตัปปะ อันมีลักษณะเกรงกลัวแต่บาป.
ก็ในบทว่า พหุสฺสุตา นี้ พหุสุตะ มี ๒ คือ ปริยัตติพหุสุตะ ปฏิเวธพหุสุตะ. ปิฏก ๓ ชื่อว่า ปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปริยัติ. ภิกษุผู้มีสุตะมาก ชื่อว่า พหุสุตะ. ก็ภิกษุพหุสุตะนี้นั้น มี ๔ คือ นิสัยมุตตกะ ปริสูปัฎฐาปกะ ภิกขุโนวาทกะ สัพพัตถพหุสุตะ. ใน ๔ จําพวกนั้น. พหุสุตะ ๓ จําพวก พึงถือเอาได้ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในโอวาทวรรค ในอรรถกถาวินัย ชื่อ สมันตปาสาทิกา. จําพวกสัพพัตถพหุสุตะ ก็คล้ายกับพระอานนทเถระ. จําพวกสัพพัตถพหุสุตะนั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ชื่อว่าอารัทธวิริยา ได้แก่ เหล่าภิกษุที่ปรารภความเพียรทางกายและทางใจ. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด บรรเทาความคลุกคลีด้วยหมู่อยู่ผู้เดียว ในอิริยาบถทั้ง ๔ โดยอารัมภวัตถุ ๘ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภความเพียรทางกาย. ภิกษุเหล่าใดบรรเทาความคลุกคลีทางจิตอยู่ผู้เดียว โดยสมาบัติ ๘ ไม่ยอมยืนเมื่อกิเลสที่เกิดในขณะเดินอยู่ ไม่ยอมนั่งเมื่อกิเลสที่เกิดในขณะยืนอยู่ ไม่ยอมนอนเมื่อกิเลสที่เกิดในขณะนั่งอยู่ ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภความเพียรทางจิต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 357
บทว่า อุปฏิตสติ ได้แก่ ระลึกถึง ตามระลึกถึงกิจที่ทําไว้แล้วแม้นานเป็นต้น เหมือนพระมหาคติมพอภัยเถระ พระทีฆกอภัยเถระ และพระติปิฏกจุฬาภยเถระ ได้ยินว่า พระมหาคติมพอภัยเถระเห็นนกกากําลังยื่นจงอยปากไปที่ข้าวมธุปายาสที่เป็นมงคล ในวันที่ ๕ นับแต่ตนเกิด ก็ร้องเสียง ฮู ฮู. ต่อมา เมื่อเป็นพระเถระ ถูกพวกภิกษุถามว่า ท่านขอรับ ท่านระลึกได้แต่เมื่อไร จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ตั้งแต่ร้องขึ้นในวันที่ ๕ นับแต่ตนเกิด. มารดาของพระทีฆกอภัยเถระ น้อมตัวลงหมายจะจุมพิต ตั้งแต่วันที่ ๙ นับแต่พระเถระเกิด. มวยผมของนางก็สยาย. ต่อนั้นดอกมะลิประมาณทนานหนึ่งก็ตกไปที่อกของทารกทําให้เกิดทุกข์. เมื่อเป็นพระเถระ ท่านถูกพวกภิกษุถามว่า ท่านขอรับ ระลึกได้ตั้งแต่เมื่อไร ตอบว่า ตั้งแต่วันที่ ๙ นับแต่ตนเกิด. พระติปิฏกจูฬาภัยเถระ เล่าว่าเราปิดประตู ๓ ด้านในอนุราธบุรี ให้ผู้คนออกประตูเดียวแล้วถามว่าท่านชื่อไร ท่านชื่อไร ถึงตอนเย็นก็ไม่ถามซ้ำ สามารถระบุชื่อของผู้คนเหล่านั้นได้. ก็ท่านหมายเอาภิกษุเห็นปานนั้น จึงกล่าวว่า อุปฏิตสติ. บทว่า ปฺวนฺโต ได้แก่ประกอบด้วยปัญญา กําหนดความเกิดดับของปัญจขันธ์เป็นอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสองบทนี้ ท่านกล่าวถึงสัมมาสติและวิปัสสนาปัญญา อันเป็นเหตุอุดหนุนวิปัสสนาของเหล่าภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในสัตตกะที่ ๔ ดังต่อไปนี้. สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์. ในทุกบท ก็นัยนี้. ในสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์มีความปรากฏเป็นลักษณะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงศ์มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ วิริยะสัมโพชฌงค์มีการประคองจิตเป็นลักษณะ ปีติสัมโพชฌงค์มีการซาบซ่านไปเป็นลักษณะ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีความสงบเป็นลักษณะ สมาธิสัมโพชฌงค์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ อุเปกขาสัมโพชฌงค์มีการพิจารณาเป็นลักษณะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 358
บทว่า ภาเวสฺสนฺติ ความว่า ภิกษุทั้งหลายตั้งสติสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๔ ตั้งธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ๖ ตั้งวิริยสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๙ ตั้งปีติสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๑๐ ตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๗ ตั้งสมาธิสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๑๐ ตั้งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ด้วยเหตุ ๕ จักทําให้เจริญ. ท่านกล่าวสัมโพชฌงค์คละกันทั้งโลกิยะทั้งโลกุตตระประกอบด้วยวิปัสสนาและมรรคผลด้วยบทนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัตตกะที่ ๕ ดังต่อไปนี้. สัญญาที่เกิดขึ้นพร้อมกับอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าอนิจจสัญญา. แม้ในอนัตตสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบว่าสัญญา ๗ นี้ เป็นโลกิยวิปัสสนาก็มี สัญญา ๒ ในที่นี้ เป็นโลกุตตรวิปัสสนาก็มี โดยบาลีที่มาว่านิพพานนี้สงบประณีต คือธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง ฯลฯ นิโรธ.
พึงทราบวินิจฉัยในฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่กายกรรมที่พึงทําด้วยเมตตาจิต. แม้ในวจีกรรมและมโนกรรม ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็กรรมทั้ง ๓ นี้มาโดยเป็นของเหล่าภิกษุ แม้ในเหล่าคฤหัสถ์ก็ใช้ได้ จริงอยู่สําหรับเหล่าภิกษุ การบําเพ็ญธรรมคืออภิสมาจารด้วยเมตตาจิต ชื่อว่า เมตตากายกรรม. สําหรับคฤหัสถ์กิจมีเป็นต้นอย่างนี้ คือการไปไหว้พระเจดีย์ ไหว้ต้นโพธิ์ นิมนต์สงฆ์ การพบเหล่าภิกษุเข้าบ้านไปบิณฑบาตแล้วต้อนรับ รับบาตร ปูอาสนะ เดินตาม ทาน้ำมัน ชื่อว่า เมตตากายกรรม. สําหรับเหล่าภิกษุการสอนอาจาระ บัญญัติสิกขาบท และกัมมัฏฐาน การแสดงธรรม แม้พระไตรปิฎก พุทธวจนะ ด้วยเมตตาจิต ชื่อว่าเมตตาวจีกรรม. สําหรับคฤหัสถ์ในเวลากล่าวเป็นต้นว่า พวกเราไปไหว้พระเจดีย์ ไปไหว้ต้นโพธิ์ กระทําการฟังธรรม ให้ทําการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน สมาทานประพฤติสุจริต ๓ ถวายสลากภัตเป็นต้น ถวายผ้าอาบน้ำฝน วันนี้ถวายปัจจัย ๔ แก่สงฆ์ นิมนต์สงฆ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 359
จัดถวายของเคี้ยวเป็นต้น ปูอาสนะ ตั้งน้ำฉันต้อนรับสงฆ์นํามา ให้นั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้ เกิดฉันทะ อุตสาหะ ทําการขวนขวาย ชื่อว่าเมตตาวจีกรรม. สําหรับภิกษุลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ปฏิบัติสรีระ และทําวัตรที่ลานพระเจดีย์เป็นต้น นั่งเหนืออาสนะอันสงัด คิดว่า ขอภิกษุทั้งหลายในวัดนี้ จงมีสุข ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกันเป็นต้น ชื่อว่าเมตตามโนกรรม. สําหรับคฤหัสถ์คิดว่า ขอพระผู้เป็นเจ้า จงมีสุข ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ชื่อว่าเมตตามโนกรรม.
บทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ในที่ต่อหน้าและลับหลัง. ในบทนั้นการร่วมกันในจีวรกรรมเป็นต้น สําหรับภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเมตตากายกรรมต่อหน้า. แต่สําหรับพระเถระ สามีจิกรรมทั้งหมด แม้ต่างโดยการล้างเท้าและพัดวีเป็นต้น ก็ชื่อว่าเมตตากายกรรมต่อหน้า. ไม่ทําการดูหมิ่นในภิกษุเหล่านั้น แล้วเก็บงําสิ่งของมีเครื่องไม้เป็นต้น ที่แม้ภิกษุ ๒ ฝ่ายเก็บไว้ไม่ดี เหมือนอย่างที่ตนเก็บไว้ไม่ดี ชื่อว่าเมตตากายกรรมลับหลัง. การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านพระเทวเถระ พระติสสเถระ ชื่อว่าเมตตาวจีกรรมต่อหน้า. การที่ภิกษุสอบถามถึงผู้ที่ไม่มีอยู่ในวัด กล่าวถ้อยคําที่น่ารักว่า พระเถระไปไหน พระติสสเถระไปไหน เมื่อไรจักมาดังนี้ ชื่อว่าเมตตาวจีกรรมลับหลัง การลืมตาที่ผ่องใสด้วยความหวังดีและความห่วงใย มองดูด้วยหน้าที่ผ่องใส ชื่อว่าเมตตามโนกรรมต่อหน้า. การตั้งใจว่า ขอท่านพระเทวเถระ พระติสสเถระ จงเป็นผู้ไม่มีโรค ไม่มีอาพาธ ชื่อว่าเมตตามโนกรรมลับหลัง.
บทว่า ลาภา ได้แก่ปัจจัยที่ได้มา มีจีวรเป็นต้น. บทว่า ธมฺมิกา ความว่า เว้นมิจฉาชีพต่างด้วยการหลอกลวงเป็นต้น เกิดด้วยภิกขาจารวัตรโดยธรรมโดยเสมอ. บทว่า อนฺตมโส ปตฺตปริยาปนฺนมตฺตมฺปิ ความว่าโดยอย่างต่ําที่สุด แม้เพียงภิกษา ๒ - ๓ ทัพพีที่เนื่องในบาตร คือที่อยู่ภายในบาตร. ในคําว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี นี้ ปฏิวิภัตตะ มี ๒ อย่าง คือ อามิส-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 360
ปฏิวิภัต บุคคลปฏิวิภัต. ใน ๒ อย่างนั้นการแบ่งด้วยจิตคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้เท่านี้ จักไม่ให้เท่านี้ ชื่อว่าอามิสปฏิวิภัต. การแบ่งด้วยจิตคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้องค์โน้น ไม่ให้แก่องค์โน้น ดังนี้ ชื่อว่าบุคคลปฏิวิภัต. ภิกษุไม่กระทําแม้ทั้ง ๒ อย่าง บริโภคปัจจัยที่ยังไม่ได้แบ่ง ชื่อว่าอปฏิวิภัตตโภคี. ในคําว่า สีลวนฺเตหิ สพฺรหฺมจารีหิ สาธรณโภคี นี้ เป็นลักษณะของภิกษุผู้บริโภคทั่วไป. ภิกษุได้ลาภใดๆ อันประณีต ให้ลาภนั้นแก่พวกคฤหัสถ์โดยมุข คือการต่อลาภด้วยลาภก็หามิได้ บริโภคด้วยตนเองก็หามิได้. เมื่อรับก็ถือว่าจงทั่วไปกับสงฆ์ เห็นลาภที่เขาเคาะระฆังแล้วบริโภคเหมือนของสงฆ์. ถามว่าใครๆ บําเพ็ญ ใครไม่บําเพ็ญสาราณียธรรมนี้. ตอบว่า ภิกษุผู้ทุศีลไม่บําเพ็ญ. เพราะภิกษุผู้มีศีลไม่ยอมรับของๆ ภิกษุนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ บําเพ็ญวัตรไม่ขาด. วัตรในข้อนั้นมีอุทาหรณ์ดั่งนี้
เรื่อง สาราณียธรรมแตก
ก็ภิกษุใด เจาะจงให้แก่มารดาบิดาหรืออาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมให้สิ่งที่ควรให้ ภิกษุนั้นไม่มีสาราณียธรรม ชื่อว่าปฏิบัติด้วยความกังวล. จริงอยู่สาราณียธรรมย่อมควรแก่บุคคลผู้พ้นความกังวลเท่านั้น. ก็ภิกษุนั้นเมื่อให้เจาะจงพึงให้แก่ภิกษุไข้ ภิกษุพยาบาลภิกษุไข้แก่ ภิกษุผู้จรมา ภิกษุผู้เตรียมจะไปและภิกษุบวชใหม่ ผู้ไม่รู้การรับสังฆาฏิและบาตร. ควรให้แก่ชนเหล่านั้น ส่วนที่เหลือไม่ให้น้อยๆ ตั้งแต่เถรอาสน์ แล้วพึงให้เท่าที่ภิกษุจะรับได้. เมื่อส่วนที่เหลือไม่มี ไปเที่ยวบิณฑบาตอีก ให้สิ่งที่ประณีตๆ ตั้งแต่เถรอาสน์ แล้วบริโภคส่วนที่เหลือ. ไม่ควรให้แก่ภิกษุทุศีลเพราะพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้. ก็สาราณียธรรมนี้ บําเพ็ญยากสําหรับบริษัทผู้ยัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 361
ไม่ศึกษา บําเพ็ญไม่ยากสําหรับบริษัทผู้ที่ศึกษาแล้ว. ภิกษุใดได้ของโดยทางอื่นภิกษุนั้นย่อมไม่ถือเอา.
แม้เมื่อไม่ได้โดยทางอื่นก็รับแต่ควรแก่ประมาณเท่านั้น ไม่รับให้เกินไป. ก็สาราณียธรรมนี้ ๑๒ ปี จึงจะบริบูรณ์ สําหรับภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตบ่อยๆ แล้วให้ของที่ได้มาๆ ด้วยประการฉะนี้ ไม่ต่ําไปกว่านั้น. ก็ถ้าภิกษุบําเพ็ญสาราณียธรรมครบปีที่ ๑๒ วางบาตรที่เต็มด้วยอาหารไว้ในโรงฉันแล้วไปสรงน้ำ พระสังฆเถระถามว่า นั่นบาตรของใคร เมื่อภิกษุอื่นตอบว่า ของภิกษุผู้บําเพ็ญสาราณียธรรม จึงกล่าวว่า นําบาตรนั้นมาซิแล้วแจกจ่ายอาหารในบาตรทั้งหมดแล้วฉัน วางแต่บาตรเปล่าไว้ที่นั้น ภิกษุนั้นเห็นบาตรเปล่าเกิดความเสียใจว่า ภิกษุทั้งหลายฉันไม่เหลือไว้ให้เราเลย สาราณียธรรมก็แตก. ต้องบําเพ็ญ ๑๒ ปีใหม่. ก็สาราณียธรรมก็เหมือนติตถิยปริวาส เมื่อขาดครั้งหนึ่ง ก็ต้องบําเพ็ญใหม่. ส่วนภิกษุใดเกิดความดีใจว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เราไม่ต้องบอกกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในบาตร เพื่อนสพรหมจารีก็พากันฉัน เป็นอันชื่อว่า สาราณียธรรมนั้นเต็มแล้ว. ก็ภิกษุผู้มีสาราณียธรรมเต็มอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่มีความริษยา ไม่มีความตระหนี่. ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รักของคนทั้งหลาย และย่อมมีปัจจัยหาได้ง่าย. ของที่อยู่ในบาตรที่เขาถวายแก่ภิกษุนั้น ย่อมไม่สิ้นไป. เธอย่อมได้แต่ของที่เลิศในที่ๆ เขาแจกของ. เมื่อประสบภัยหรือความหิว เหล่าเทวดาก็ช่วยขวนขวาย. ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
เรื่องสาราณียธรรมเต็ม
เขาเล่าว่า พระติสสเถระผู้อยู่ ณ เลณศิริ อาศัยมหาศิริคามอยู่. พระมหาเถระ ๕๐ รูป ไปยังนาคทวีป ประสงค์จะไหว้พระเจดีย์ เที่ยวบิณฑ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 362
บาตในสิริคาม ไม่ได้อะไรๆ เลย ก็พากันออกไป. ก็พระเถระเมื่อเข้าไปพบพระเถระเหล่านั้นแล้วถามว่า ท่านได้อาหารแล้วหรือขอรับ. ตอบว่า พวกเราจะจาริกกันไปแล้วละผู้มีอายุ. พระเถระรู้ว่าพระเถระเหล่านั้นไม่ได้อาหาร จึงกล่าวว่า ท่านขอรับ โปรดรออยู่ที่นี่แหละ จนกว่าผมจะมา. ตอบว่า เรามีถึง ๕๐ รูปนะ ไม่ได้แม้เพียงน้ำชื้นบาตร. พระเถระพูดว่า ท่านขอรับ ธรรมดาว่า ภิกษุประจําถิ่น ย่อมเป็นผู้สามารถ แม้เมื่อไม่ได้ ก็รู้จักภิกษุผู้เป็นเพื่อนทางภิกษาจาร. พระเถระทั้งหลายมากันแล้ว. พระเถระก็เข้ามาบ้าน. มหาอุบาสิกาในบ้านใกล้ๆ ก็จัดน้ำนมและอาหารคอยพระเถระ พอพระเถระมาถึงประตูบ้านก็ถวายเต็มบาตร. พระติสสเถระนั้นก็นําบิณฑบาตไปยังสํานักพระเถระทั้งหลาย กล่าวกะพระสังฆเถระว่า โปรดรับเถิดขอรับ. พระเถระมองดูหน้าพระเถระอื่นๆ ด้วยคิดว่า พวกเราถึงเท่านั้นไม่ได้อะไรเลย แต่พระเถระรูปนี้ไปเดี๋ยวเดียวก็กลับมา อะไรกันหนอ. พระติสสเถระรู้ด้วยอาการที่มองดูเท่านั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ พวกท่านอย่ารําคาญใจไปเลย โปรดรับบิณฑบาตที่ได้มาโดยสม่ําเสมอเถิด แล้วก็ถวายอาหารจนพอแก่ความต้องการแก่พระเถระทุกรูปตั้งแต่ต้น แม้ตนเองก็ฉันพอต้องการ. เมื่อฉันเสร็จ พระเถระทั้งหลายก็ถามพระติสสเถระนั้นว่า ผู้มีอายุ บรรลุโลกุตตรธรรมเมื่อไร. พระติสสเถระ ตอบว่าโลกุตตรธรรมของผมไม่มีดอกขอรับ. ถามว่า ผู้มีอาวุโสท่านได้ฌานหรือ. ตอบว่า แม้อย่างนี้ก็ไม่มีขอรับ. ถามว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริงหนอ. ตอบว่า ท่านขอรับ ผมบําเพ็ญสาราณียธรรมนะ ตั้งแต่เวลาที่สาราณียธรรมของผมนั้นเต็มแล้ว แม้ถ้ามีภิกษุแสนรูป ของที่อยู่ในบาตรก็ไม่หมดไป. พระเถระเหล่านั้นฟังแล้วก็พากันกล่าวว่า สาธุ สาธุ ท่านสัตบุรุษ ข้อนี้ของท่านเหมาะจริง. ในคําว่า ปตฺตคตํ น ขียติ ของที่อยู่ในบาตรไม่หมดไปนี้ มีเรื่องเท่านี้ก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 363
อนึ่ง พระเถระองค์นี้นี่แหละ ไปยังสถานที่ให้ทาน ด้วยคิริภัณฑมหาบูชา ที่เจติยบรรพต ถามว่า ในทานนี้อะไรเป็นของเลิศ. ตอบว่า ผ้าสาฎก ๒ ผืนขอรับ. พระเถระพูดว่า ผ้าสาฎก ๒ ผืนเหล่านั้นจักต้องถึงเรา. อํามาตย์ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกราบทูลแก่พระราชาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพูดอย่างนี้. พระราชาตรัสว่า ภิกษุหนุ่มมีจิตคิดอย่างนี้ แต่ผ้าสาฎกเนื้อละเอียดควรแก่พระมหาเถระทั้งหลาย จึงตั้งไว้ด้วยหมายจะถวายพระเถระทั้งหลาย. พระราชาเมื่อจะถวายอันเมื่อภิกษุสงฆ์ยืนเรียงกัน ผ้าสาฎก ๒ ผืนที่วางไว้ใกล้ๆ ก็ไม่ขึ้นสู่พระหัตถ์ ขึ้นแต่ผ้าผืนอื่นๆ แต่ในเวลาที่ถวายภิกษุหนุ่ม ผ้าสาฎก ๒ ผืนนั้นขึ้นสู่พระหัตถ์ของพระราชา. ท้าวเธอทรงวางไว้ในมือของภิกษุหนุ่มนั้น มองหน้าของอํามาตย์ให้ภิกษุหนุ่มนั่งถวายทาน ทรงละสงฆ์แล้วประทับนั่งใกล้ภิกษุหนุ่ม ตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ท่านบรรลุธรรมเมื่อไร. ภิกษุหนุ่มนั้นไม่ทูลถึงคุณที่ไม่มีอยู่แม้ทางอ้อม ทูลว่า ถวายพระพร โลกุตตรธรรมของอาตมภาพไม่มีดอก. ตรัสว่า ท่านเจ้าข้า แต่ก่อนท่านได้พูดไว้มิใช่หรือ. ทูลว่าถวายพระพรจริง อาตมภาพบําเพ็ญสาราณียธรรม ตั้งแต่เวลาที่ธรรมนั้นของอาตมภาพเต็มแล้ว สิ่งของอันเลิศก็มาถึงในสถานที่แจก. พระราชาตรัสว่า สาธุ สาธุ ท่านเจ้าข้า คุณข้อนี้ของพระคุณท่านเหมาะจริงแล้วเสด็จกลับ. ในคําว่า ภาชนียฏาเน อคฺคภณฺฑํ ปาปุณาติ สิ่งของอันเลิศถึงในสถานที่แจกจ่ายนี้ มีเรื่องดังกล่าวมานี้.
อนึ่ง ชาวภาตรคาม ในพราหมณติสสภัยนคร ไม่บอกกล่าวแก่พระนาคเถรี พากันหนีไป. เวลาใกล้รุ่ง พระเถรีพูดกะเหล่าภิกษุณีสาวว่า หมู่บ้านช่างเงียบเหลือเกินช่วยกันดูสิ. ภิกษุณีสาวเหล่านั้นไปตรวจดู ก็รู้ว่า ชาวบ้านพากันอพยพไปหมดแล้ว จึงมาบอกแก่พระเถรี. พระเถรีนั้นฟังแล้วก็กล่าวว่า พวกท่านอย่าคิดว่าชาวบ้านเหล่านั้นอพยพไปกันเลย จงทําความเพียรใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 364
การเล่าเรียนบาลีอรรถกถาและโยนิโสมนสิการของตนเท่านั้น เวลาภิกษาจารก็ห่มผ้า รวมด้วยกัน ๑๒ รูปทั้งตนเอง แม้ยืนกันอยู่ที่โคนต้นไทรใกล้ประตูบ้าน เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ก็ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุณี ๑๒ รูป แล้วกล่าวว่า พระแม่เจ้า อย่าไปที่อื่นเลยโปรดอยู่ที่นี้เป็นนิตย์เถิด. แต่พระเถรีมีน้องชายชื่อพระนาคเถระ พระเถระคิดว่า มีภัยใหญ่เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จักไปฝังโน้น มีภิกษุ ๑๒ ทั้งตน ออกจากสถานที่อยู่ของตนมายังภาตรคามด้วยหมายใจจะพบพระเถรีแล้วจึงจักไป. พระเถรีทราบว่า เหล่าพระเถระมากันแล้ว จึงไปสํานักของพระเถระเหล่านั้น ถามว่า อะไรกัน พระผู้เป็นเจ้า. พระเถระก็บอกเรื่องนั้น. พระเถรีบอกว่า วันนี้พวกท่านจงอยู่ในวัดนี้เสียวันหนึ่ง พรุ่งนี้ค่อยไป. พระเถระทั้งหลายก็พากันไปยังวัด. รุ่งขึ้นพระเถรีเที่ยวบิณฑบาตที่โคนไม้ เข้าไปหาพระเถระพูดว่า ท่านฉันบิณฑบาตนี้เถิด. พระเถระกล่าวว่า จักควรหรือพระเถรีแล้วก็ยืนนิ่ง. พระเถรีกล่าวว่า พ่อเอย บิณฑบาตนี้ ได้มาด้วยธรรม อย่ารังเกียจ โปรดฉันเถิด. พระเถระพูดว่า ควรหรือพระเถรี. พระเถรีจับบาตรได้ก็โยนไปในอากาศ. บาตรก็ตั้งอยู่ในอากาศ. พระเถระก็กล่าวว่า พระเถรี ภัตแม้ตั้งอยู่ในที่ ๗ ชั่วลําตาล ก็เป็นภัตสําหรับภิกษุณีนั่นเอง แล้วกล่าวอีกว่า ชื่อว่าภัยไม่ใช่มีทุกเวลา เมื่อภัยสงบ เราก็กล่าวถึงอริยวงศ์ ถูกท่านตักเตือนด้วยจิตว่า ดูก่อนท่านผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ พวกท่านโปรดฉันอาหารของภิกษุณีเห็นปานนี้ อยู่เรื่อยไปเถิด ดังนี้ ข้าพเจ้าไม่อาจช่วยได้ ท่านภิกษุณีทั้งหลาย พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วออกเดินทาง. แม้รุกขเทวดาก็คิดว่า ถ้าพระเถระฉันบิณฑบาตจากมือพระเถรี เราจักไม่นําพระเถระนั้นกลับ ถ้าพระเถระไม่ฉันก็จักนํากลับ ยืนเห็นพระเถระไปลงจากต้นไม้พูดว่า โปรดให้บาตรเถิดเจ้าข้า แล้วรับบาตร นําพระเถระมาที่โคนไม้นั้นแลปูอาสนะถวายบิณฑบาต ให้พระเถระผู้ฉันเสร็จแล้วปฏิญาณ บํารุงภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 365
๑๒ รูป ภิกษุ ๑๒ รูป ๗ ปี ในข้อนี้ว่า เทวตา อุสฺสุกฺกํ อาปชฺชนฺติ เทวดาย่อมช่วยเหลือนี้ มีเรื่องดังกล่าวมานี้. จริงอยู่ในข้อนั้น พระเถรีก็ได้เป็นผู้บําเพ็ญสาราณียธรรม.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น ดังต่อไปนี้ ภิกษุใดมีสิกขาบทขาดในเบื้องต้นหรือที่สุดในกองอาบัติทั้ง ๗ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเหมือนผ้าขาดที่ชาย. อนึ่ง ภิกษุใดมีสิกขาบทขาดตรงกลาง ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าทะลุ เหมือนผ้าทะลุกลางผืน. ส่วนภิกษุใดมีสิกขาบทขาด ๒ - ๓ สิกขาบทตามลําดับ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าด่าง เหมือนแม่โคสีดําสีแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสีที่ต่างกัน อยู่ตรงหลังบ้าง ท้องบ้าง. ภิกษุใดมีสิกขาบทขาดในระหว่างๆ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าพร้อย เหมือนแม่โคมีลายจุดต่างๆ ในระหว่างๆ. ส่วนภิกษุใดมีสิกขบทไม่ขาดเลย ศีลเหล่านั้นของภิกษุนั้นชี่อว่าไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย. ก็ศีลนั้นๆ ชื่อว่าเป็นไท เพราะกระทําให้พ้นจากความเป็นทาสตัณหา กลับเป็นไท ชื่อว่าวิญูชนสรรเลริญแล้ว เพราะวิญูชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว ชื่อว่าอันกิเลสไม่ถูกต้องแล้ว เพราะตัณหาและทิฏฐิไม่ถูกต้องแล้ว และเพราะอันใครๆ ไม่อาจปรามาสว่า ท่านเคยต้องอาบัติชื่อนี้. ท่านเรียกว่าเป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะยังอุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิให้เป็นไป. บทว่า สีลสามฺคตา วิหริสฺสนติ ได้แก่ จักมีศีลเสมอกับภิกษุผู้อยู่ในทิศาภาคนั้นๆ อยู่. จริงอยู่ศีลของพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมเสมอกับศีลของพระโสดาบันเป็นต้นเหล่าอื่นผู้อยู่ในระหว่างสมุทรก็ดี ในเทวโลกก็ดี. ความแตกต่างกันในศีลที่ประกอบด้วยมรรคผลไม่มี. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวคํานี้.
บทว่า ยายํ ทิฏิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า อริยา ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า นิยฺยาติ ได้แก่ นําทุกข์ออกไป. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 366
ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้กระทําอย่างนั้น. บทว่า สพฺพทุกฺขกฺขยาย ได้แก่ เพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง. บทว่า ทิฏิสามฺคตา ความว่า จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันอยู่. บทว่า วุฑฺฒิเยว ความว่า ภิกษุผู้อยู่อย่างนี้ พึงหวังความเจริญถ่ายเดียว ไม่เสื่อมเลย.
บทว่า เอตเทว พหุลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงโอวาทภิกษุทั้งหลายจึงทรงทําธรรมีกถาอย่างนี้นี่แหละบ่อยๆ เพราะใกล้ปรินิพพาน. บทว่า อิติ สีลํ แปลว่า ศีลอย่างนี้ ศีลเท่านี้. ในข้อนั้น พึงทราบว่า จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าศีล. จิตเตกัคคตา ชื่อว่าสมาธิ. วิปัสสนา ชื่อว่าปัญญา. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สีลปริภาวิโต ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายทั้งอยู่ในศีลอันใด ย่อมบังเกิดสมาธิที่สัมปยุตด้วยมรรค สมาธิที่สัมปยุตด้วยผลสมาธินั้น อันศีลนั้นอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ภิกษุทั้งหลายตั้งอยู่ในสมาธิใด ย่อมบังเกิดปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรค ปัญญาที่สัมปยุตด้วยผลปัญญานั้น อันสมาธินั้นอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ภิกษุทั้งหลายตั้งอยู่ในปัญญาอันใด ย่อมบังเกิดมรรคจิต. ผลจิต จิตนั้นอันปัญญานั้นอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบทีเดียว. บทว่า ยถาภิรนฺตํ ความว่า ชื่อว่า ความไม่ยินดียิ่ง ความหวาดสะดุ้งของพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่มี. แต่ท่านอธิบายว่า ตามความชอบใจ ตามอัธยาศัย. บทว่า อายาม แปลว่ามาไปกันเถิด ปาฐะว่า อยาม ก็มี. อธิบายว่า ไปกันเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนท์ผู้ติดตามไปใกล้ๆ ว่า อานนท์. ฝ่ายพระเถระบอกภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ จงเตรียมถือบาตร จีวร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์จะเสด็จไปที่โน้น. เรื่องการเสด็จมาอัมพลัฏฐิกาวัน ง่ายทั้งนั้น. คําว่า อถ โข อายสฺมา สารีปุตฺโต ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในสัมปสาทนียสูตร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 367
บทว่า ปาฏลิคาเม อาวสถาคารํ ได้แก่ เรือนพักสําหรับคนจรมา. เขาว่าในปาฏลิคาม สหายของพระราชาสองพระองค์มากันเป็นนิจ พาครอบครัวออกจากบ้านมาพักกันเดือนหนึ่งบ้าง ครึ่งเดือนบ้าง. มนุษย์เหล่านั้นถูกรบกวนเสมอ คิดกันว่า ในเวลาที่คนเหล่านั้นมากันก็มีที่อยู่ ดังนี้แล้วจึงสร้างศาลาใหญ่กลางพระนคร สร้างที่เก็บสิ่งของไว้ส่วนหนึ่ง สร้างที่อยู่อาศัยไว้ส่วนหนึ่งของศาลานั้น. ผู้คนเหล่านั้นได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วก็มองเห็นประโยชน์อย่างนี้ว่า แม้พวกเราก็พึงไปนําพระผู้มีพระภาคเจ้ามา พระองค์เสด็จมาถึงสถานที่อยู่ของพวกเราด้วยพระองค์เองแล้ว วันนี้พวกเราจักอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ตรัสมงคลในที่พัก เพราะฉะนั้นจึงกล่าวกันอย่างนี้. บทว่า เยนาวสถาคารํ ความว่า ได้ยินว่า ผู้คนเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระอัธยาศัยชอบป่า ยินดีป่า จะทรงประสงค์หรือไม่ประสงค์ประทับอยู่ในบ้าน จึงไม่จัดแจงเรือนพัก พากันมาคิดกันว่า บัดนี้พวกเรารู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักพากันไปจัดแจงเสียก่อน ดังนั้นจึงพากันไปยังเรือนพัก. บทว่า สพฺพสนฺถริตํ แปลว่า ปูลาดไว้ทุกสิ่งทุกอย่าง.
บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า สีลวิปนฺโน ได้แก่ มีศีลวิบัติ มีสังวรสลาย. บทว่า ปมาทาธิกรณํ ได้แก่ เพราะความประมาทเป็นเหตุ. ก็พระสูตรนี้ ใช้สําหรับคฤหัสถ์ แม้บรรพชิตก็ใช้ได้. จริงอยู่ คฤหัสถ์เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นศึกษาศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม วณิชกรรม พลั้งเผลอไปด้วยการทําปาณาติบาต เป็นต้น ก็ไม่สามารถจะทําศิลปะนั้นๆ ให้สําเร็จตามกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น รากฐานของเขาก็พินาศ. แต่ในเวลาคับแค้น กระทําปาณาติบาตและอทินนาทาน ย่อมเสื่อมโภคะอย่างใหญ่เพราะอํานาจโทษ. ฝ่ายบรรพชิตทุศีล ย่อมถึงความเสื่อมจากศีล จากพุทธวจนะ จากฌาน และจากอริยทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 368
๗ เพราะความประมาทเป็นเหตุ. สําหรับคฤหัสถ์นั้น เกียรติศัพท์อันชั่วย่อมอื้อฉาวไปในท่ามกลางบริษัท ว่าคนโน้นเกิดในตระกูลโน้น ทุศีล มีบาปธรรม สละทั้งโลกนี้โลกหน้า ไม่ถวายทานแม้เพียงสลากภัต. หรือสําหรับบรรพชิต เกียรติศัพท์อันชั่วก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้น ไม่สามารถรักษาศีลได้ ไม่สามารถจะเรียนพระพุทธพจน์ได้ เลี้ยงชีพด้วยอเนสนกรรม มีเวชชกรรมเป็นต้น ประกอบด้วยอคารวะ ๖. บทว่า อวิสารโท ความว่า คฤหัสถ์มีความกลัวว่า ก่อนอื่น คนบางพวกจักรู้เรื่องกรรมของเรา ดังนั้นก็จักข่มเราหรือแสดงตัวต่อราชสกุลในที่ประชุมคนจํานวนมากแน่แท้ จึงเข้าไปหา ประหม่า คอตก หน้าคว่ํา นั่งเอาหัวแม่มือไถพื้น ถึงเป็นคนกล้า ก็ไม่อาจพูดจาได้. ฝ่ายบรรพชิตมีความกลัวว่าภิกษุเป็นอันมากประชุมกัน บางรูปจักรู้กรรมของเราแน่ ดั่งนั้น จักงดอุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง แก่เรา จักคร่าเราให้เคลื่อนจากเพศสมณะ จึงเข้าไปหา ถึงเป็นคนกล้าก็ไม่อาจพูดจาได้. ส่วนภิกษุบางรูป แม้ทุศีลก็เที่ยวไปประดุจผู้ไม่ทุศีล แม้ภิกษุนั้นก็ย่อมเป็นผู้เก้อเขินโดยอัธยาศัยทีเดียว. บทว่า สมฺมุโฬฺห กาลํ กโรติ ความว่า ก็เมื่อภิกษุผู้ทุศีลนั้นนอนบนเตียงเป็นที่ตาย สถานที่ที่ยึดถือประพฤติในกรรมคือทุศีล ย่อมมาปรากฏ. ภิกษุทุศีลนั้นลืมตาก็เห็นโลกนี้ หลับตาก็เห็นปรโลก อบาย ๔ ก็ปรากฏแก่ภิกษุทุศีลนั้น. ภิกษุทุศีลนั้นก็เป็นประหนึ่งถูกหอก ๑๐๐ เล่ม แทงที่ศีรษะ เธอจะร้องว่า ห้ามที ห้ามที มรณะไป. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมฺมุโฬห กาลํ กโรติ หลงตาย ดังนี้. บทที่ ๕ ก็ง่ายเหมือนกัน. เรื่องอานิสงส์ ก็พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า พหฺเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้อิ่มเอิบแล้ว ให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 369
เข้าถึงความสิ้นและความเสื่อมแล้ว ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยธรรมกถาที่พ้นจากบาลีอย่างอื่น และด้วยกถาอนุโมทนา การถวายเรือนพัก ประหนึ่งทรงพาข้ามอากาศคงคา ประหนึ่งทรงคั้นผึ้งรวงใหญ่ขนาดโยชน์หนึ่งแล้ว ให้มหาชนดื่มน้ำผึ้งฉะนั้น. บทว่า อภิกฺกนฺตา ได้แก่ล่วงไปแล้ว สิ้นไปแล้ว. บทว่า สฺุาคารํ ความว่า ขึ้นชื่อว่า เรือนว่าง ที่แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากไม่มี. แต่ในที่นั้นนั่นแหละ เหล่าชาวบ้านปาฏลิคามล้อมไว้ด้วยกําแพงคือม่านไว้ข้างหนึ่ง แล้วจัดเตียงไว้ด้วยประสงค์ว่า พระศาสดาจักทรงพักผ่อนในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสําเร็จสีหไสยาบนเตียงนั้น ด้วยมีพระพุทธประสงค์ว่า เรือนพักนี้ ตถาคตใช้สอยแล้วด้วยอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ กุศลนั้น จักมีผลมากแก่ชาวปาฏลิคามเหล่านั้น ดังนี้. ท่านหมายเอาเรือนพักนั้น จึงกล่าวว่า สฺุาคารํ ปาวิสิ. เสด็จเข้าไปสู่เรือนว่างดังนี้.
บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่พราหมณ์ ๒ คน คือ สุนีธะคนหนึ่ง วัสสการะคนหนึ่ง. บทว่า มหามตฺตา ได้แก่ มหามัตตะ คือมหาอํามาตย์ของพระเจ้ากรุงมคธ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามหาอํามาตย์แคว้นมคธ ก็เพราะมหาอํามาตย์ในแคว้นมคธประกอบด้วยมาตรคืออิสริยยศยิ่งใหญ่. บทว่า ปาฏลิคาเม นครํ ได้แก่ สร้างปาฏลิคามทําให้เป็นบาตร. บทว่า วชฺชีนํ ปฏิพาหาย ได้แก่ เพื่อตัดทางขยายตัวของราชวงศ์แคว้นวัชชี.
บทว่า สหสฺเสว ได้แก่ แต่ละพวกนับเป็นพันๆ. บทว่า วตฺถูนิ ได้แก่ ที่ปลูกเรือน. บทว่า จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนาหิ มาเปตํ ความว่า จิตของมหาอํามาตย์ผู้ทํานายวิชาดูพื้นที่น้อมไปเพื่อสร้างคฤหาสน์สําหรับพระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชา. เล่ากันว่า มหาอํามาตย์เหล่านั้นใช้อานุภาพแห่งศิลปะของตนมองเห็นภายใต้แผ่นดินประมาณ ๖๐ ศอก ว่าที่นี้นาคยึดไว้ ที่นี้ยักษ์สิง ที่นี้ภูตสิง มีหินหรือตอ. เวลานั้น อํามาตย์เหล่านั้นร่ายศิลปะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 370
สร้างขึ้นได้เหมือนปรึกษากับเทวดาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง เทวดาสิงอยู่ในร่างของอํามาตย์เหล่านั้น น้อมจิตไปเพื่อสร้างคฤหาสน์ในที่นั้นๆ พอเขาตอกหลักลงใน ๔ มุม เทวดาเหล่านั้นจึงเข้าสิงพื้นที่. เทวดาผู้มีศรัทธาทําอย่างนั้นแก่ตระกูลผู้มีศรัทธา เทวดาผู้ไม่มีศรัทธาก็ทําอย่างนั้นแก่ตระกูลผู้ไม่มีศรัทธา. เพราะเหตุไร. เพราะผู้มีศรัทธามีความคิดอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายในโลกนี้ ครั้นสร้างบ้านเรือนแล้ว ชั้นแรกนิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้นั่ง ให้กล่าวแต่มงคล เมื่อเป็นเช่นนี้. พวกเราก็จักได้เห็นผู้มีศีล ฟังธรรมกถา การแก้ปัญหาและอนุโมทนา ผู้คนให้ทานแล้วจักให้ส่วนบุญแก่เรา.
บทว่า ตาวตึเสหิ ความว่า เสียงขจรไปว่า พวกมนุษย์ในตระกูลโน้น อาศัยมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตผู้หนึ่งในตระกูลหนึ่ง ย่อมเป็นบัณฑิต หรือภิกษุในวิหารโน้น อาศัยภิกษุผู้เป็นพหูสูตรูปหนึ่งในวิหารหนึ่ง ย่อมเป็นพหูสูตรูปหนึ่งในวิหารหนึ่ง ย่อมเป็นพหูสูตฉันใด. เสียงขจรไปว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์อาศัยท้าวสักกเทวราชและวิษณุกรรมเทพบุตรย่อมเป็นบัณฑิตฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ. อธิบายว่า ย่อมสร้างเหมือนปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์. บทว่า ยาวตา อริยํ อายตนํ ความว่า ชื่อว่าที่เป็นที่ประชุมของมนุษย์เผ่าอริยกะมีประมาณเท่าใด. บทว่า ยาวตา วณิปฺปโถ ความว่า ชื่อว่าสถานที่เป็นที่ซื้อขายโดยกองสิ่งของที่พวกพ่อค้านํามา หรือสถานที่เป็นที่อยู่ของพวกพ่อค้าทั้งหลายมีประมาณเท่าใด. บทว่า อิทํ อคฺคนครํ ความว่า อัครนครนี้จักเป็นเมืองเจริญ เป็นเมืองใหญ่ สําหรับพวกอริยกะและพวกพ่อค้านั้นๆ. บทว่า ปุฏเภทนํ ได้แก่ ที่แก้ห่อสินค้า. ท่านอธิบายว่า เป็นที่ปล่อยสินค้าของเจ้าของสินค้าต่างๆ. อธิบายว่า ก็ชนทั้งหลายแม้ไม่ได้สิ่งของในสกลชมพูทวีปก็จักได้ในที่นี้นี่แหละ แม้ผู้ไม่ไปค้าขายในที่อื่นก็จักไปในที่นี้ เพราะฉะนั้น พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 371
เขาจักแก้ห่อสินค้าในที่นี้เท่านั้น. ท่านแสดงว่า จริงอยู่ทุกๆ วัน มูลค่าจักเกิดขึ้นห้าแสน อย่างนี้คือ ที่ประตูพระนครทั้งสี่ด้านสี่แสน ที่ท่ามกลางพระนครหนึ่งแสน.
วา ศัพท์ในบทว่า อคฺคิโต วา มีอรรถเท่ากับ จ ความว่า จักพินาศด้วยไฟ ด้วยน้ำ หรือด้วยการแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย อธิบายว่า ส่วนหนึ่งพินาศด้วยไฟ ไม่สามารถจะดับได้ ส่วนหนึ่งแม่น้ำคงคาพัดไป ส่วนหนึ่งจักพินาศไปโดยความแตกแห่งกันและกันของพวกมนุษย์ ผู้แตกกัน ด้วยอํานาจปิสุณวาจาที่กล่าวว่า คนนี้ไม่พูดกะคนโน้น คนโน้นไม่พูดกะคนนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนี้แล้ว เวลาใกล้รุ่งเสด็จไปยังฝังแม่น้ำคงคา ทรงชําระพระพักตร์แล้ว ประทับนั่งรอเวลาภิกขาจารอยู่. ฝ่ายมหาอํามาตย์มคธชื่อสุนีธะและวัสสการะคิดว่า พระราชาของพวกเราเป็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดม พระองค์จักตรัสถามพวกเราว่า ได้ยินว่า พระศาสดาได้เสด็จไปปาฏลิคาม พวกท่านได้เข้าเฝ้าพระองค์หรือเปล่า เมื่อกราบทูลว่าข้าพระองค์เข้าเฝ้าจึงตรัสถามอีกว่า พวกท่านได้นิมนต์หรือเปล่า เมื่อกราบทูลว่าไม่ได้นิมนต์จักยกโทษนิคคหะพวกเรา อนึ่งเล่า พวกเราก็จะสร้างพระนครในที่ที่ยังไม่ได้สร้าง ก็ในที่ที่พระสมณโคดมเสด็จไปแล้วๆ พวกสัตว์กาลกิณีจักถอยกลับไป จึงคิดว่า พวกเราจักให้พระองค์ตรัสสิ่งที่เป็นมงคลแก่พระนคร ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลอาราธนา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข สุนีธวสฺสการา เป็นต้น. บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ แปลว่า ในเวลาเช้า. บทว่า นิวาเสตฺวา แปลว่า ทรงอันตรวาสก คาดประคด ตามธรรมเนียมเข้าบ้าน. บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย แปลว่า ทรงถือบาตรและจีวรแนบพระองค์.
บทว่า สีลวนฺเตตฺถ ตัดเป็น สีลวนฺเต เอตฺถ. บทว่า สฺเต ได้แก่ ผู้สํารวมด้วยกายวาจาใจ. บทว่า ตาสํ ทกฺขิณมาทิเส ความว่า พึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 372
อุทิศปัจจัยสี่ที่ถวายสงฆ์คือพึงให้ส่วนบุญแก่เทวดาประจําเรือนเหล่านั้น. บทว่า ปูชิตา ปูชยนฺติ ความว่า เทวดาย่อมอารักขาด้วยดี ด้วยสั่งว่า ผู้คนเหล่านี้แม้ไม่ใช่ญาติของเรา ก็ยังให้ส่วนบุญแก่พวกเราถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พวกท่านจงจัดการอารักขาด้วยดี. บทว่า มานิตา มานยนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายที่เหล่าผู้คนนับถือด้วยการทําพลีกรรมตามกาลสมควร จึงนับถือ คือกําจัดอันตรายที่เกิดขึ้น ด้วยเห็นว่าผู้คนเหล่านี้ แม้ไม่ใช่ญาติของพวกเรา ก็ยังทําพลีกรรมแก่พวกเราในช่วงสี่เดือนหกเดือน. บทว่า ตโต นํ ได้แก่ แต่นั้นเทวดาก็ย่อมอนุเคราะห์คนผู้บัณฑิตนั้น. บทว่า โอรสํ ได้แก่ วางไว้ที่อกให้เจริญเติบโต. อธิบายว่า ย่อมอนุเคราะห์เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก พยายามกําจัดอันตรายที่เกิดขึ้นฉะนั้น. บทว่า ภทฺรานิ ปสฺสติ แปลว่า เห็นสิ่งที่ดี.
บทว่า อุลุมฺปํ ได้แก่ พาหนะที่เขาตอกลิ่มสร้างไว้เพื่อไปฝังโน้น (แพ).บทว่า กุลฺลํ ได้แก่พาหนะที่เขาใช้เถาวัลย์เป็นต้นมัดไว้ (ทุ่น).
คําว่า อณฺณวํ ในคาถาว่า เย ตรนฺติ อณฺณวํ นี้ เป็นชื่อแห่งสถานที่น้ำลึกและกว้างโดยกําหนดอย่างต่ําที่สุดประมาณโยชน์หนึ่ง. ในบทว่า สรํ นี้ ท่านประสงค์เอาแม่น้ำ. มีคําอธิบายว่า ผู้ที่ข้ามสระคือตัณหาที่ทั้งลึกทั้งกว้าง สร้างสะพานกล่าวคืออริยมรรค ละเปือกตมคือที่ลุ่มเต็มด้วยน้ำแตะต้องไม่ได้
ข้ามไป ส่วนคนผู้นี้แม้ต้องการจะข้ามแม่น้ำแม้นิดหน่อยนี้ ก็ต้องผูกแพ ส่วนผู้มีปัญญา คือพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าไม่ต้องใช้แพก็ข้ามได้.
จบกถาพรรณนาปฐมภาณวาร
ภาณวารที่ ๒
บทว่า โกฏิคาโม ได้แก่บ้านที่สร้างไว้ท้ายปราสาทของพระเจ้ามหาปนาทะ. บทว่า อริยสจฺจานํ ได้แก่ สัจจะที่กระทําให้เป็นพระอริยะ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 373
อนนุโพธา ได้แก่ เพราะไม่ตรัสรู้ คือ ไม่รู้. บทว่า อปฏิเวธา แปลว่า เพราะไม่แทงตลอด. บทว่า สนฺธาวิตํ ได้แก่ แล่นไปโดยไปจากภพสู่ภพ. บทว่า สํสริตํ ได้แก่ ท่องเที่ยวไปโดยไปๆ มาๆ ร่ําไป. บทว่า มมํ เจวตุมฺหากฺจ แปลว่า อันเราและพวกท่าน. อีกนัยหนึ่ง พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า บทว่า สนฺธาวิตํ สํสริตํ แปลว่า ความแล่นไป ท่องเที่ยวไป. ได้มีแล้วทั้งแก่เราและพวกท่าน.
บทว่า สํสริตพฺพํ แปลว่า ท่องเที่ยวไป. บทว่า ภวเนตฺติ สมูหตา ได้แก่ เชือกคือตัณหาอันสามารถนําสัตว์จากภพไปสู่ภพ อันเราและพวกท่านกําจัดแล้ว ตัดแล้ว ทําให้ไม่เป็นไปแล้วด้วยดี.
บทว่า นาทิกา ได้แก่ บ้านสองตําบล ของบุตรของอาและลุงทั้งสองอาศัยสระเดียวกัน. บทว่า นาทิเก ได้แก่ หมู่บ้านญาติตําบลหนึ่ง. บทว่า คิฺชกาวสเถ ได้แก่ ที่พักก่อด้วยอิฐ. บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ได้แก่ ส่วนเบื้องต่ํา อธิบายว่า ทําให้ถือปฏิสนธิในกามภพเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์ที่พึงละด้วยมรรคทั้งสามที่ได้ชื่อว่า โอรํ. ในสังโยชน์เหล่านั้นสังโยชน์สองนี้ คือกามฉันทะ พยาบาท ที่ข่มไม่ได้ด้วยสมาบัติหรือตัดไม่ได้ด้วยมรรค ไม่ให้ไปสู่รูปภพและอรูปภพเบื้องสูง. สังโยชน์สามมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น นําสัตว์แม้ที่บังเกิดในภพนั้นให้มาบังเกิดในภพนี้อีก เพราะฉะนั้นสังโยชน์หมดทั้งสามจึงชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์. บทว่า อนาวตฺติธมฺมา ได้แก่ มีการไม่กลับมาโดยปฏิสนธิเป็นสภาวะ. ในคําว่า ราคโทสโมหานํ ตนุตฺตา นี้ พึงทราบความที่ราคะโทสะโมหะเบาบางลงโดยอาการทั้งสองอย่าง คือด้วยการเกิดขึ้นในบางครั้งบางคราวและมีปริยุฏฐานกิเลสน้อย. กิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้นเนืองๆ แก่พระสกทาคามี เหมือนปุถุชน แต่เกิดในบางครั้งบางคราว แต่เมื่อเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นมากๆ เหมือนปุถุชน เกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 374
บางๆ เหมือนภาชนะใส่ปลา แต่พระมหาสิวเถระผู้รจนาคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า เพราะพระสกทาคามียังมีบุตรธิดาและยังมีคนสนิท ฉะนั้นจึงยังมีกิเลสหนา แต่คํานี้ท่านกล่าวถึงกิเลสในภพเบาบาง. คํานั้น ในอรรถกถาท่านคัดค้านไว้เพราะท่านกล่าวไว้ว่า พระโสดาบันเว้นภพเจ็ดเสีย กิเลสที่เบาบางในภพที่แปดไม่มี สําหรับพระสกทาคามีเว้นภพสองเสีย ไม่มีกิเลสเบาบางในภพทั้งห้า สําหรับพระอนาคามีเว้นรูปภพอรูปภพ ไม่มีกิเลสเบาบางในกามภพ พระขีณาสพไม่มีกิเลสเบาบางในภพไหนๆ เลย. คําว่า อิมํ โลกํ นี้ ท่านหมายเอากามาวจรโลก. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ก็ถ้าพระอริยบุคคลผู้บรรลุสกทาคามิผลในมนุษยโลกแล้ว บังเกิดในเทวโลก ย่อมทําให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ข้อนี้ดีอย่างนี้ แต่เมื่อสามารถกลับมาสู่มนุษยโลกแล้ว ย่อมทําให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ฝ่ายพระอริยบุคคลผู้บรรลุสกทาคามิผลในเทวโลก ถ้ามาเกิดในมนุษยโลกย่อมทําให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้ ข้อนี้ดีอย่างนี้ แต่เมื่อสามารถไปสู่เทวโลก ย่อมทําให้แจ้งซึ่งพระอรหัตเป็นแน่. ความตกไปโดยไม่เหลือ ชื่อว่าวินิบาต ในคําว่า อวินิปาตธมฺโม นี้ อธิบายว่า ความตกไปโดยไม่เหลือของพระโสดาบันนั้นเป็นธรรมหามิได้ เหตุนั้น พระโสดาบันนั้น ชื่อว่า มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา คือมีอันไม่ตกไปโดยไม่เหลือในอบายสี่เป็นสภาวะ. บทว่า นิยโต ได้แก่ แน่นอน โดยกําหนดแห่งธรรม. บทว่า สมฺโพธิปรายโน ความว่า สัมโพธิ กล่าวคือ มรรคสามในเบื้องบน เป็นที่ไป เป็นที่ดําเนิน เป็นที่พึงอาศัยของบุคคลนั้น คือ อันบุคคลนั้นพึงบรรลุแน่แท้เป็นเบื้องหน้า เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ามีสัมโพธิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ด้วยบทว่า วิเหสาเวสา ทรงแสดงว่า ดูก่อนอานนท์ นั่นเป็นความลําบากกายของตถาคต ผู้ตรวจดูญาณคติ ญาณอุปบัติ ญาณอภิสัมปรายะของเหล่าสัตว์นั้นๆ. แต่ความลําบากจิตไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 375
บทว่า ธมฺมาทาสํ ได้แก่ แว่น คือธรรม. บทว่า เยน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยแว่นธรรมอื่นใด. บทว่า ขีณาปายทุคฺคติวินิปาโต นี้ ท่านกล่าวโดยไวพจน์ของนรกเป็นต้นเท่านั้น. จริงอยู่ นรกเป็นต้นชื่อว่าอบายเพราะปราศจากอยะคือความเจริญ ชื่อว่าทุคติเพราะเป็นที่ดําเนินไป เป็นที่พึ่งอาศัยแห่งทุกข์ ชื่อว่าวินิบาตเพราะเป็นที่ตกไปโดยไม่เหลือของเหล่าชนผู้ทําชั่ว. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเสื่อมใสอันไม่หวั่นไม่ไหวเพราะรู้ถึงพระพุทธคุณตามเป็นจริงนั่นแล. แม้ในสองบทข้างต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความพิสดารของคําว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า อริยกนฺเตหิ ได้แก่ เป็นที่ใคร่ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของพระอริยะทั้งหลาย. ศีลห้า ชื่อว่าเป็นที่ใคร่ของพระอริยะทั้งหลายเพราะท่านไม่ละแม้ในภพอื่น. ท่านหมายถึงศีลห้านั้นจึงกล่าวคํานี้ไว้. แต่ในที่นี้ได้แก่สังวรทั้งหมด. คําว่า โสตาปนฺโนหมสฺสิ นี้ เป็นหัวข้อเทศนาเท่านั้น. แต่แม้พระสกทาคามีเป็นต้น ย่อมพยากรณ์โดยนัยมีอาทิว่า สกทาคามีหมสฺมิ เราเป็นสกทาคามีดังนี้แล. การพยากรณ์แห่งพระอริยสาวกทั้งปวงในฐานะที่ควรโดยไม่ผิดสิกขาบท (วินัย) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เวสาลิยํ วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้. พึงทราบความที่เมืองเวสาลีเป็นนครสมบูรณ์. โดยนัยที่กล่าวแล้วขันธกวินัยว่า เตน โข ปน สมเยน เวสาลี อิทฺธาเจว โหติ ผีตา จ ดังนี้. บทว่า อมฺพปาลิวเน ได้แก่ ในป่ามะม่วงอันเป็นสวนของนางอัมพปาลีคณิกา. บทว่า สโต ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสติปัฏฐานเทศนาในที่นี้โดยพิเศษเพื่อให้สติปรากฏในการทรงทอดทัศนาอัมพปาลีวัน. ในบทเหล่านั้นชื่อว่า สโต เพราะระลึกได้ ชื่อว่า สมฺปชาโน เพราะรู้ตัว อธิบายว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 376
พึงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอยู่. ข้าพเจ้าจักกล่าวคําที่ควรกล่าวในคําเป็นต้นว่า กาเย กายานุปสฺสี ไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร.
คําว่า นีลา เป็นต้นนี้ กล่าวรวมสีทั้งหมด. ส่วนคําว่า นีลวณฺณา เป็นต้น เป็นการแสดงจําแนกสีนั้นนั่นแหละ. ก็ในคํานั้น ท่านกล่าวคํานี้ไว้เพราะสีเหล่านั้นมิใช่สีเขียวปกติ หากผสมด้วยสีเขียว. บทว่า นีลวตฺถา ความว่า ผ้าธรรมดา ผ้าเปลือกไม้และผ้าไหม เป็นต้น ชื่อว่าเขียวสําหรับผ้าเหล่านั้น. บทว่า นีลาลงฺการา ได้แก่ ประดับด้วยมณีเขียว ดอกไม้เขียว. แม้รถของเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็ขจิตด้วยมณีเขียว ขลิบด้วยผ้าเขียว มีธงเขียว ประกอบด้วยทหารสวมเกราะเขียว อาภรณ์เขียวเทียมด้วยม้าเขียว แม้ด้ามแส้ก็เขียวเหมือนกันแล. เนื้อความในทุกบทก็พึงทราบโดยนัยนี้.
บทว่า ปฏิวฏเฏสิ แปลว่า ตี. คําว่า เช ในคําว่า กึ เช อมฺพปาลิ เป็นคําร้องเรียก. ท่านอธิบายว่า แม่อัมพปาลี เหตุไรจะ? ปาฐะว่า กิฺจิ ก็มี. ในคํานี้ ความก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า สาหารํ ได้แก่ พร้อมด้วยชนบท. บทว่า องฺคุลึ โผเฏสุํ ได้แก่ สั่นนิ้วมือ. บทว่า อมฺพกาย ได้แก่มายาหญิง. คําว่า เยสํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ท่านอธิบายว่า อันภิกษุเหล่าใดไม่เห็นแล้ว. บทว่า โอโลเกถ ได้แก่ จงดูเสีย. บทว่า อวโลเกถ ได้แก่ จงดูบ่อยๆ. บทว่า อุปสํหรถ ได้แก่ น้อมเข้ามา. อธิบายว่า พวกเธอจงน้อมนํามาเปรียบเทียบบริษัทของเจ้าลิจฉวีนี้เช่นกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ด้วยจิตของพวกเธอ จงดูเทียบกับเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า แม้เจ้าลิจฉวีเหล่านี้ก็เหมือนเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่สะสวย น่าเลื่อมใส มีวรรณะต่างๆ กัน มีวรรณะเขียว เป็นต้น ฉะนั้น. ถามว่า ก็เหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามอายตนะภายในมีจักษุเป็นต้นยึดถือนิมิตในอายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้นด้วยสูตรหลายร้อยสูตร ในสูตรนี้กลับทรงประกอบภิกษุไว้ในการยึดถือนิมิตด้วยอุตสาหะอย่างใหญ่. ตอบว่า เพราะทรงมุ่งประโยชน์เกื้อกูล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 377
ดังได้ยินมา ภิกษุบางพวกในเมืองเวสาลีนั้น ย่อหย่อนความเพียร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงใช้สมบัติของเทวดาชั้นดาวดึงส์ปลอบประโลมจึงตรัสเพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดอุตสาหะในสมณธรรมว่า เมื่อภิกษุกระทําสมณธรรมด้วยความไม่ประมาท ก็ได้อิสริยสมบัติเห็นปานนี้ง่าย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งอนิจจลักษณะก็ได้. ความจริงอีกไม่นานเลยเจ้าลิจฉวีเหล่านี้แม้ทั้งหมด ก็จักถึงความพินาศ ด้วยอํานาจของพระเจ้าอชาตศัตรู. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อความแจ่มแจ้งแห่งอนิจจลักษณะด้วยพระพุทธประสงค์ว่า เหล่าภิกษุที่ยืนดูสิริราชสมบัติของเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นจักเจริญอนิจจลักษณะว่า ความพินาศแห่งสิริสมบัติเห็นปานนั้นจักปรากฏ แล้วจักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ในบทว่า อธิวาเสตุ ถามว่า เหตุไรพวกเจ้าลิจฉวีทั้งที่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ารับนิมนต์นางอัมพปาลีไว้แล้ว จึงนิมนต์เล่า. แก้ว่า เพราะไม่ทรงเชื่อ และเพราะเป็นธรรมเนียม. ก็พวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นคิดว่า หญิงนักเลงนั้นไม่นิมนต์ พูดว่านิมนต์. ก็ชื่อว่าการไปนิมนต์ในเวลาไปฟังธรรมเป็นธรรมเนียมของมนุษย์นั่นเอง.
บทว่า เวฬุวคามโก ได้แก่บ้านปาฏลิคามใกล้กรุงเวสาลี. มิตรก็คือมิตรในคําว่า ยถามิตฺตํ เป็นต้น. บทว่า สมฺภตฺตา มิตรที่เพียงพบเห็นกันในที่นั้นๆ ชื่อว่า มิตรที่เคยเห็นกันมิใช่มิตรมั่นคง. บทว่า สนฺทิฏา ได้แก่ มิตรที่คบกันมาด้วยดีเป็นมิตรมั่นคง. อธิบายว่า พวกเธอจงเข้าไปจําพรรษาในที่ๆ พวกภิกษุเห็นปานนั้นมีอยู่. เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสอย่างนี้. เพราะมีพระพุทธประสงค์ให้ภิกษุเหล่านั้นอยู่เป็นผาสุก. ความจริงเสนาสนะในเวฬุวคามไม่เพียงพอแก่ภิกษุเหล่านั้น ทั้งภิกษามีน้อย ส่วนรอบกรุงเวสาลีเสนาสนะก็มีมาก ทั้งภิกษาก็หาได้ง่าย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ตรัสตอบว่า พวกท่านคง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 378
ไปสบาย. เพื่อทรงอนุเคราะห์ภิกษุเหล่านั้น. ได้ยินว่า พระองค์ทรงพระดําริว่าเราอยู่ได้เพียง ๑๐ เดือนก็จักปรินิพพาน. ถ้าภิกษุเหล่านั้นจักไปไกลก็ไม่อาจเห็นเราในเวลาปรินิพพาน เมื่อเป็นดังนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็จะเกิดความร้อนใจว่าพระศาสดาเมื่อปรินิพพานก็ไม่ประทานแม้เพียงสติแก่เรา ถ้าพวกเรารู้เสียก็จะไม่พึงอยู่ไกลอย่างนี้ ไม่ตรัสตอบว่าก็ภิกษุทั้งหลายอยู่รอบเมืองเวสาลีก็จักมาฟังธรรมได้เดือนละ ๘ ครั้ง จักได้รับโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ขโร แปลว่า หยาบ. บทว่า อาพาโธ ได้แก่โรคที่เป็นข้าศึกกัน. บทว่า พาฬฺหา แปลว่า รุนแรง. บทว่า มรณนฺติกา ได้แก่ สามารถให้ถึงปางตาย คือใกล้ต่อความตาย. บทว่า สโต สมฺปชาโน อธิวาเสสิ ความว่า ได้แก่ ตั้งสติให้มั่น กําหนดด้วยญาณอดกลั้น. บทว่า อวิหฺมาโน ได้แก่ ไม่กระทําอาการกระสับกระส่ายโดยคล้อยตามเวทนา ไม่ถูกเวทนาเบียดเบียน ไม่ทรงทุกข์ร้อนเลย อดกลั้นได้. บทว่า อนามนฺเตตฺวา ได้แก่ ไม่ทรงให้อุปัฏฐากรู้. บทว่า อนปฺโลเกตฺวา แปลว่า ไม่ทรงบอกลาภิกษุสงฆ์. ท่านอธิบายว่าไม่ประทานโอวาทานุสาสนี. บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยความเพียรเบื้องต้นและด้วยความเพียรที่สัมปยุตด้วยผลสมาบัติ. บทว่า ปฏิปฺฌาเมตฺวา แปลว่า ขับไล่. แม้ชีวิตก็ชื่อว่าชีวิตสังขารในคําว่าชีวิตสังขารนี้. ชีวิตอันธรรมใดปรุงแต่ง ถึงขาดก็สืบต่อตั้งอยู่ แม้ธรรมที่เป็นผลสมาบัตินั้นก็ชื่อว่าชีวิตสังขาร. ธรรมคือผลสมาบัตินั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า อธิฏาย ได้แก่อธิษฐานให้เป็นไปแล้ว. ความสังเขปในข้อนี้มีดังนี้ว่า เราพึงเข้าผลสมาบัติที่สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเข้าผลสมาบัติในกาลก่อนแต่นี้หรือ. ตอบว่า เข้าซี. แต่ว่าผลสมาบัตินั้นเป็นขณิกสมาบัติ. จริงอยู่ขณิกสมาบัติย่อมข่มเวทนาเฉพาะในภายในสมาบัติได้ทีเดียว. พอออกจากสมาบัติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 379
เวทนาย่อมครอบงําร่างกายอีก เหมือนสาหร่ายที่ขาดเพราะไม้หรือกระเบื้องตกลงไปกลับคลุมน้ำตามเดิม. อนึ่ง สมาบัติของผู้กระทําหมวด ๗ แห่งรูปและหมวด๗ แห่งอรูปให้หมดพุ่มหมดรกแล้วเข้าด้วยอํานาจแห่งมหาวิปัสสนา ชื่อว่าย่อมข่มได้ด้วยดี. เปรียบเหมือนสาหร่ายที่บุรุษลงน้ำแล้วเอามือและเท้าแหวกให้ดี ต่อเวลานานจึงจะคลุมน้ำ ฉันใด ผู้ที่ออกจากผลสมาบัตินั้น ต่อเวลานาน เวทนาจึงจะเกิดขึ้น ฉันนั้น. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นเสมือนทรงตั้งวิปัสสนาใหม่เอี่ยม ณ พระมหาโพธิบัลลังก์ในวันนั้น ทรงจ่อมลงด้วยอาการ ๑๔ กระทําหมวด ๗ แห่งรูป หมวด ๗ แห่งอรูป ไม่ให้เป็นพุ่ม ไม่ให้รก แล้วทรงไม่เสวยเวทนาด้วยมหาวิปัสสนา เข้าสมาบัติด้วยทรงประสงค์ว่าขอเวทนาอย่าเกิดตลอด ๑๐ เดือน. เวทนาที่ทรงข่มด้วยสมาบัติจึงไม่เกิดตลอดเวลา ๑๐ เดือนเลย. เวทนาที่ทรงข่มด้วยสมาบัติจึงไม่เกิดตลอดเวลา.
บทว่า คิลานา วุฏิโต ได้แก่ ประชวรแล้วหายอีก. บทว่า มธุรกชาโตวิย ได้แก่ เหมือนบุรุษนอนหงายบนหลาว ที่เกิดภาวะเกร็งหนักและแข็ง. บทว่า น ปกฺขายนฺติ ได้แก่ ไม่แจ้ง คือ ไม่ปรากฏโดยวาจาต่างๆ. ด้วยบทว่า ธมฺมาปิ นํ นปฺปฏิภนฺติ ท่านแสดงว่าแม้ธรรม คือ สติปัฏฐานไม่ปรากฏแก่เรา. แต่ธรรมคือพระบาลี พระเถระคล่องแคล่วดีแล้ว. บทว่า อุทาหรติ ได้แก่ ไม่ประทานปัจฉิมโอวาท. ท่านพระอานนท์หมายเอาปัจฉิมโอวาทนั้น.
บทว่า อนนฺตรํ อพาหรํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า เราไม่กระทํา ๒ อย่าง โดยธรรมหรือบุคคล แล้วจักแสดงธรรมเท่านี้แก่บุคคลอื่นก็หาไม่ ชื่อว่าทรงกระทําธรรมให้เป็นภายใน. ทรงพระดําริว่าเราจักแสดงธรรมเท่านี้แก่บุคคลอื่น ชื่อว่าทรงกระทําธรรมภายนอก. อนึ่ง ทรงพระดําริว่าเราจักแสดงแก่บุคคลนี้ ชื่อว่าทรงกระทําบุคคลภายใน. เมื่อทรงพระดําริว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 380
เราจักไม่แสดงแก่บุคคลนี้ ชื่อว่าทรงกระทําบุคคลภายนอก. อธิบายว่าไม่ทรงทําอย่างนั้นแสดง. ด้วยบทว่า อาจริยมุฏิ ทรงแสดงว่า ชื่อว่า กํามือของอาจารย์ย่อมมีแก่ศาสดาภายนอกพระพุทธศาสนา. เหล่าศาสดาภายนอกไม่กล่าวแก่ใครๆ ในเวลาเป็นหนุ่ม นอนบนเตียงสําหรับตายในเวลาปัจฉิมวัย ก็กล่าวแก่อันเตวาสิก (ศิษย์) ที่รักที่พอใจโดยวิธีใด กิจกรรมอะไรที่เราบริหารตั้งไว้ทําเป็นกํามือว่า เราจักกล่าวข้อนี้ในเวลาแก่เฒ่า ในเวลาปัจฉิมวัย ย่อมไม่มีแก่ตถาคต โดยวิธีนั้น. บทว่า อหํ ภิกฺขุสงฺฆํ ความว่า เราเท่านั้นจักบริหารภิกษุสงฆ์. บทว่า มมุทฺเทสิโก ความว่า เราเป็นที่พํานักของภิกษุสงฆ์นั้น เพราะอรรถว่า ภิกษุสงฆ์พึงอ้างเรา เหตุนั้น ภิกษุสงฆ์นั้นชื่อว่ามีเราเป็นที่พํานัก. อธิบายว่า ภิกษุสงฆ์จงยกเราเท่านั้น จํานงเฉพาะเรา เมื่อเราล่วงลับไปหรือไม่มีเหล่าภิกษุแล้ว หรือมีอันเป็นไป ก็หรือว่าภิกษุสงฆ์ไรๆ จะมีความคิดอย่างที่กล่าวมานี้. บทว่า น เอวํ โหติ ความว่า ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น เพราะความริษยาและความตระหนี่เรากําจัดเสียแล้ว ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง. บทว่า สกึ ตัดเป็น โส กึ. บทว่า อสีติโก แปลว่า มีอายุ ๘๐ พรรษา. คํานี้ตรัสเมื่อทรงแสดงภาวะที่ถึงปัจฉิมวัยโดยลําดับ. บทว่า เวฬุมิสฺสเกน ได้แก่ ดามด้วยไม้ไผ่สําหรับซ่อม มีผูกเท้าแขนผูกล้อเป็นต้น. บทว่า มฺเ ได้แก่ ยังอัตภาพให้เป็นไปเหมือนเกวียนเก่าไปได้ด้วยไม้ไผ่ดาม. ท่านแสดงว่าพระตถาคตสําเร็จอิริยาบถ ๔ ด้วยเครื่องผูก คือ พระอรหัตตผล. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความข้อนั้น จึงตรัสว่า ยสฺมึ อานนฺท สมเย เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ กลาปะ มีรูปนิมิตเป็นต้น. บทว่า เอกจฺจานํ เวทนานํ ได้แก่ เวทนาที่เป็นโลกิยะ. ด้วยบทว่า ตสฺมาติหานนฺท ทรงแสดงว่า เพราะเหตุที่ความผาสุกย่อมมีด้วยผลสมาบัติวิหาร ฉะนั้น แม้พวกเธอก็จงอยู่อย่างนี้ เพื่อประโยชน์แก่ความผาสุกเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 381
บทว่า อตฺตทีปา ความว่า พวกเธอจงทําตนให้เป็นที่พึ่งอาศัยเหมือนเกาะท่ามกลางมหาสมุทรอยู่เถิด. บทว่า อตฺตสรณา ได้แก่จงเป็นผู้มีตนเป็นคติเท่านั้น อย่ามีอย่างอื่นเป็นคติเลย. แม้ในบทว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตมฺตคฺเค แปลว่า มีธรรมนั้นเป็นเลิศ ต อักษรตรงกลางท่านกล่าวด้วยบทสนธิ. ท่านกล่าวอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เหล่าภิกษุของเรานั้นตัดการประกอบด้วยความสูงสุดทั้งหมดอย่างนี้ว่า พวกภิกษุเหล่านี้ก็สูงสุด เหล่านี้ก็สูงสุด แล้วจักมีอยู่ในธรรมอันเลิศอย่างยิ่ง คือในภาวะสูงสุด ได้แก่จักมีธรรมอันสูงสุดอย่างยิ่งสําหรับภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้ใคร่ศึกษา คือภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ จักมีในธรรมอันเลิศ. ทรงสรุปเทศนาด้วยยอดคือพระอรหัตแล.
จบกถาพรรณนาทุติยภาณวาร.
ภาณวารที่ ๓
บทว่า เวสาลึ ปิณฺฑาย ปาวิสิ เสด็จเข้าเมืองเวสาลีเพื่อบิณฑบาต ถามว่า เสด็จเข้าไปเมื่อไหร่. ตอบว่า ในเวลาเสด็จออกจากอุกกเวลคามไปยังเมืองเวสาลี. ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจําพรรษาแล้ว ออกจากเวฬุวคาม แล้วเสด็จกลับโดยทางที่เสด็จมาแล้วด้วยพุทธประสงค์ว่าจะเสด็จไปยังกรุงสาวัตถี ถึงกรุงสาวัตถีโดยลําดับ เสด็จเข้าสู่พระเชตวัน.
พระธรรมเสนาบดีทําวัตรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าสู่ที่พักกลางวัน. เมื่อเหล่าอันเตวาสิกทําวัตรในพระเชตวันนั้นกลับไปแล้ว ท่านก็ปัดกวาดที่พักกลางวัน ปูแผ่นหนัง ล้างเท้า นั่งขัดสมาธิเข้าผลสมาบัติ. ครั้นท่านออกจากผลสมาบัตินั้นตามกําหนดแล้ว เกิดปริวิตกอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพานก่อนหรือพระอัครสาวกหนอ. ก็รู้ว่าอัครสาวกก่อน. จึงสํารวจดูอายุสังขารของตน. ก็รู้ว่าอายุสังขารของตนจักเป็นไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 382
ดําริว่าจักปรินิพพานที่ไหนหนอ. คิดอยู่ร่ําไปว่า ท่านราหุลปรินิพพานในดาวดึงส์ ท่านพระอัญญาโกญฑัญญะในสระฉัททันต์ เราเล่าจะปรินิพพาน ณ ที่ไหน. ก็เกิดสติปรารภมารดาขึ้นว่า มารดาของเราแม้เป็นมารดาของพระอรหันต์ ๗ รูป ก็ไม่เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มารดานั้นมีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ระลึกได้แล้ว ก็เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค พิจารณาว่ามารดาจักบรรลุด้วยเทศนาของใคร ก็รู้ว่าจักบรรลุด้วยเทศนาของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น ก็ถ้าหากว่าเราพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเสียไซร้ คนทั้งหลายก็จักว่ากล่าวเราเอาได้ว่า พระสารีบุตรเป็นที่พึ่งได้แม้แก่ชนอื่นๆ จริงอย่างนั้น ในวันเทศนาสมจิตตสูตรของท่าน เทวดาแสนโกฏิก็บรรลุพระอรหัต เทวดาที่บรรลุมรรค ๓ นับไม่ถ้วน และในที่อื่นปรากฏว่ามีการบรรลุกันมากมาย อนึ่งเล่าเพราะทําจิตให้เลื่อมใสในพระเถระ ตระกูลถึง ๘๐,๐๐๐ ตระกูลบังเกิดในสวรรค์ บัดนี้ พระเถระไม่อาจเพื่อกําจัดแม้เพียงความเห็นผิดของมารดาได้ เพราะฉะนั้น จึงตกลงใจว่า เราจักเปลื้องมารดาออกจากมิจฉาทิฏฐิ แล้วจักปรินิพพานในห้องน้อยที่เกิด ดําริต่อไปว่า เราจักทูลลาพระผู้มีพระภาคไปในวันนี้นี่แหละ จึงเรียกพระจุนทะเถระมาว่า มาไปกันเถิดท่านจุนทะ ท่านจงบอกภิกษุบริษัท ๕๐๐ รูปของเราว่า อาวุโส ท่านจงถือบาตรและจีวร พระธรรมเสนาบดีประสงค์จะไปนาลกคาม. พระเถระได้ทําอย่างนั้น. ภิกษุเก็บเสนาสนะถือบาตรจีวรมายังสํานักพระเถระ.
พระเถระก็เก็บเสนาสนะ ปัดกวาดที่พักกลางวัน ยืนอยู่ที่ประตู มองดูที่พักกลางวัน ดําริว่า บัดนี้ นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ไม่มีการกลับมา ผู้อันภิกษุ ๕๐๐ รูป แวดล้อมแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลเป็นคําร้อยกรองกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 383
ฉินฺโนทานิ ภวิสฺสามิ โลกนาถ มหามุนิ
คมนาคมนํ นตฺถิ ปจฺฉมา วนฺทนา อยํ
ชีวิตํ อปฺปกํ มยฺหํ อิโต สตฺตาหมจฺจเย
นิกฺขิเปยฺยามหํ เทหํ ภารโวโรปนํ ยถา
อนุชานาตุ เม ภนฺเต (ภควา) อนุชานาตุ สุคโต
ปรินิพฺพานกาโล เม โอสฺสฏฺโ อายุสงฺขโร
ข้าแต่พระมหามุนีโลกนาถเจ้า บัดนี้ ข้าพระองค์ตัดสิ้นแล้ว ไม่มีการไปการมา นี้เป็นการถวายบังคมลาครั้งสุดท้าย ชีวิตของข้าพระองค์น้อย ต่อไปนี้ล่วงไป ๗ วัน ข้าพระองค์จะทอดทิ้งเรือนร่าง เหมือนวางภาระลง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดอนุญาต ขอพระสุคตโปรดอนุญาต แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด นี้เป็นเวลาปรินิพพาน ข้าพระองค์ปลงอายุสังขารแล้วพระเจ้าข้า.
ก็เพราะเหตุที่พวกมิจฉาทิฏฐิชอบยกโทษว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จงปรินิพพานเถิด ก็จะกลายเป็นว่า พรรณนาคุณของความตายไป เมื่อตรัสว่าอย่าปรินิพพานเลยก็จะกลายเป็นกล่าวคุณของวัฏฏสงสารไป เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงไม่ตรัสแม้คําทั้งสอง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะท่านว่า สารีบุตร เธอจักปรินิพพานที่ไหน. เมื่อท่านกราบทูลว่า ห้องน้อยในนาลกคาม แคว้นมคธมีอยู่ ข้าพระองค์จักปรินิพพานในห้องนั้น พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า สารีบุตร บัดนี้ เธอสําคัญกาลอันควรเถิดเวลานี้ การเห็นภิกษุเช่นนั้น สําหรับพี่น้องของเธอจักหาได้ยาก เพราะฉะนั้นเธอจงแสดงธรรมแก่พี่น้องเหล่านั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 384
พระเถระรู้ว่า พระศาสดาทรงมีพระประสงค์จะให้เราแสดงฤทธิ์ต่างๆ เสียก่อนแสดงธรรม จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วโลดสูง ๗ ชั่วต้นตาล กลับลงมาถวายบังคมแล้วยืนอยู่ท่ามกลางอากาศชั่ว ๗ ต้นตาล แสดงฤทธิ์ต่างๆ อย่าง แล้วแสดงธรรม. ชาวนครทั้งสิ้นประชุมกัน. พระเถระลงมาแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่าถึงเวลาไปของข้าพระองค์แล้วพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ ทรงพระดําริว่าจักให้สารีบุตรแสดงฤทธิ์แล้วจึงลุกจากธรรมาสน์ เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังพระคันธกุฏี แล้วประทับยืนบนบัลลังก์แก้วมณี. พระเถระกระทําประทักษิณ (เวียน ๓) ๓ ครั้ง แล้วถวายบังคมในที่ ๔ แห่ง กราบทูลว่า เหนือขึ้นไปแต่กัปนี้ ได้ ๑ อสงไขย กําไรแสนกัป ข้าพระองค์หมอบอยู่แทบบาทมูลของพระอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรารถนาจะพบพระองค์ ความปรารถนานั้นของข้าพระองค์สําเร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้ว นั่นเป็นการเห็นครั้งแรก นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่มีการเห็นพระองค์อีก แล้วประคองอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน แล้วกลับบ่ายหน้าไปจนพ้นทัศนวิสัย ตั้งแต่บัดนี้ไป ขึ้นชื่อว่าการไปการมาในฐานะไรๆ โดยอํานาจจุติปฏิสนธิไม่มีดังนี้แล้วจึงถวายบังคมลาไป. แผ่นมหาปฐพีก็ไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะเหล่าภิกษุผู้ยืนล้อมอยู่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงตามไปส่งพี่ชายของพวกเธอเถิด. ภิกษุทั้งหลายพากันไปจนถึงซุ้มประตู. พระเถระกล่าวว่า หยุดเถิดผู้มีอายุ พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วให้ภิกษุเหล่านั้นกลับไป ตนเองก็ไปพร้อมกับบริษัท.
พวกผู้คนก็พากันติดตามร่ําไรรําพันว่า แต่ก่อนพระผู้เป็นเจ้า จาริกไปก็กลับมา แต่ครั้งนี้ไปลับไม่กลับมา. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกท่านอย่าประมาท สังขารทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้แหละ แล้วให้ผู้คนเหล่านั้นกลับไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 385
ครั้งนั้น พระสารีบุตร อนุเคราะห์ผู้คนตลอด ๗ วัน ในระหว่างหนทาง ถึงนาลกคามในเวลาเย็น แล้วหยุดพักอยู่ที่โคนต้นไทร ใกล้ประตูบ้าน.
ครั้งนั้น หลานชายของพระเถระชื่อว่า อุปเรวตะ ไปนอกบ้านพบพระเถระเข้าไปหาแล้วไหว้ยืนอยู่. พระเถระพูดกะหลานชายว่า ย่าของเจ้าอยู่ในเรือนหรือ. หลานชายก็ตอบว่า ขอรับกระผม. พระเถระบอกว่า เจ้าจงไปบอกว่าเรามาที่นี้แล้ว และเมื่อเขาถามว่าเพราะเหตุไร จงบอกว่า ได้ยินว่า ท่านจะพักอยู่ในบ้านนี้วันเดียว จงจัดห้องน้อยที่เราเกิด และจัดที่อยู่สําหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป. หลานไปบอกว่า ย่าจา ลุงฉันมาแล้ว. ย่าถามว่า เดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหนล่ะ. ตอบว่า อยู่ใกล้ประตูบ้าน ก็ถามว่า มาองค์เดียวหรือว่ามีภิกษุอื่นมาด้วย. หลานก็ตอบว่า มีภิกษุ ๕๐๐ รูปมาด้วย. เมื่อถามว่า มาทําไม. หลานก็บอกเรื่องนั้น. นางพราหมณีคิดว่า ทําไมหนอจึงต้องสั่งให้จัดสถานที่อยู่สําหรับภิกษุถึงเพียงนั้น เขาบวชเมื่อหนุ่มอยากเป็นคฤหัสถ์เมื่อแก่ จึงให้จัดห้องที่เกิด ให้ทําที่อยู่สําหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป ตามประทีปไว้ต้อนรับพระเถระ.
พระเถระกับภิกษุทั้งหลายขึ้นไปยังปราสาท เข้าไปสู่ห้องที่เกิดแล้วนั่ง ครั้นแล้วก็ส่งภิกษุทั้งหลายไปด้วย กล่าวว่า จงไปที่อยู่ของพวกท่านกันเถิด. พอภิกษุทั้งหลายไปแล้ว อาพาธกล้าก็เกิดขึ้นแก่พระเถระ. โรคลงโลหิตเกิดเวทนาใกล้ตาย. ภาชนะหนึ่งรอง ภาชนะหนึ่งชักออก. นางพราหมณีคิดว่า ความไปแห่งบุตรของเราไม่เป็นที่ชอบใจ ยืนพิงประตูห้องที่อยู่ของตน. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูว่าพระธรรมเสนาบดีอยู่ที่ไหน ก็รู้ว่านอนบนเตียงที่ปรินิพพานในห้องน้อยที่เกิดในนาลกคาม เราจักไปดูเป็นปัจฉิมทัสสนะ แล้วพากันมาไหว้ยืนอยู่แล้ว. พระเถระถามว่าท่านเป็นใคร ตอบว่า พวกเราเป็นท้าวมหาราชเจ้าข้า. ถามว่ามาทําไม. ตอบว่ามาเป็นคิลานุปัฏฐาก. พระเถระส่งไปด้วยกล่าวว่าช่างเถิด คิลานุปัฏฐากมีอยู่ไปเสียเถิดท่าน. ครั้นท้าวมหาราชไปแล้วท้าวสักกะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 386
จอมเทพก็มาโดยนัยนั้นเหมือนกัน. เมื่อท้าวสักกะเสด็จไปแล้ว ท้าวสุยามะเป็นต้น และท้าวมหาพรหมก็พากันมา. พระเถระส่งเทพและพรหมเหล่านั้นไปอย่างนั้นเหมือนกัน.
นางพราหมณีเห็นพวกเทวดามาและไป คิดว่าพวกเหล่านั้นเป็นใครหนอ จึงมาไหว้แล้วไหว้อีกซึ่งบุตรของเราแล้วก็ไป จึงไปยังประตูห้องของพระเถระ ถามว่าเป็นอย่างไรพ่อจุนทะ พระเถระบอกเรื่องนั้นแล้วกล่าวว่า มหาอุบาสิกามาแล้วขอรับ. พระเถระถามว่าทําไมจึงมาผิดเวลา. นางพราหมณีตอบว่า มาเยี่ยมเจ้าซิลูก แล้วถามว่าพวกใครมาก่อนพ่อ. พระเถระตอบว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ อุบาสิกา. นางพราหมณีถามว่า พ่อ เจ้าเป็นใหญ่กว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือ. ตอบว่า อุบาสิกา ท้าวมหาราชเหล่านั้นก็เหมือนคนวัด ทรงถือพระขรรค์อารักขาตั้งแต่พระศาสดาของเราทรงถือปฏิสนธิ. ถามว่าครั้นท้าวมหาราชเหล่านั้นกลับไปแล้ว ใครมาอีกละลูก. ตอบว่า ท้าวสุกกะจอมเทพ. ถามว่า เจ้าเป็นใหญ่กว่าท้าวเทวราชหรือลูก. ตอบว่า อุบาสิกา ท้าวสักกะนั้นก็เหมือนสามเณรถือของ เมื่อพระศาสดาของเราลงจากดาวดึงส์ ก็ทรงถือบาตรและจีวรลงมา. ถามว่าครั้นท้าวสักกะนั้นเสด็จกลับแล้ว ใครสว่างจ้ามาล่ะลูก. ตอบว่า อุบาสิกา ผู้นั้นชื่อท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส เป็นทั้งผู้มีบุญคุณ ทั้งครูของแม่จ้ะ. ถามว่าเจ้ายังเป็นใหญ่กว่าท้าวมหาพรหมอีกหรือ. ตอบว่า จ้ะ อุบาสิกา. ได้ยินว่า ในวันที่พระศาสดาของเราประสูติ ท้าวมหาพรหมทั้ง ๔ ชื่อนี้ ใช้ข่ายทองมารับพระมหาบุรุษ ครั้งนั้น เมื่อนางพราหมณีคิดว่า บุตรของเรายังมีอานุภาพถึงเพียงนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าศาสดาของบุตรเรา จะมีอานุภาพสักเพียงไหน. ปีติ ๕ อย่างเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วเรือนร่างอย่างฉับพลัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 387
พระเถระคิดว่า มารดาของเราเกิดปีติโสมนัส บัดนี้เป็นเวลาเหมาะที่จะแสดงธรรมจึงกล่าวว่า จะคิดไปทําไมมหาอุบาสิกา. นางพราหมณีกล่าวว่าบุตรของเรามีคุณถึงเพียงนี้ พระศาสดาของบุตรเราจักมีคุณสักเพียงไหน ดังนั้นแม่จึงคิดอย่างนี้นะลูก. พระเถระกล่าวว่า ท่านมหาอุบาสิกา สมัยพระศาสดาของเราประสูติ ออกมหาภิเนษกรมณ์ตรัสรู้ และประกาศพระธรรมจักร หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว ขึ้นชื่อว่าผู้เสมอด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติญาณทัสสนะไม่มี แล้วกล่าวพระธรรมเทศนาอันประกอบด้วยพระพุทธคุณอย่างพิสดาร ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นต้น. เวลาจบพระธรรมเทศนาของบุตรที่รัก นางพราหมณีก็ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วกล่าวกะบุตรว่า พ่ออุปติสสะ เหตุไร เจ้าจึงได้กระทําอย่างนี้ล่ะลูก เจ้าไม่ให้อมตธรรมชื่อนี้แก่แม่ ตลอดเวลาถึงเพียงนี้.
พระเถระคิดว่า บัดนี้ค่าน้ำนมข้าวป้อน ที่นางสารีพราหมณีมารดาของเราให้ไว้ ก็ได้รับชดใช้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงส่งนางพราหมณีไปด้วยกล่าวว่า ไปเถิดมหาอุบาสิกา แล้วถามว่าจวนสว่างหรือยัง. ตอบว่าจวนสว่างแล้วขอรับ. สั่งว่า ถ้าอย่างนั้น จงประชุมพระภิกษุสงฆ์เถิด. ตอบว่า พระสงฆ์ประชุมกันแล้วขอรับ. สั่งว่า ยกเราขึ้นนั่งทีซิ. พระจุนทะ ก็ยกขึ้นให้นั่ง. พระเถระเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ พวกท่านอยู่กับเรามาถึง ๔๔ ปี ไม่ชอบใจกรรมทางกาย หรือกรรมทางวาจาของเราอันใด ผู้มีอายุจงงดโทษนั้นเสียเถิด. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านขอรับ พวกเราเที่ยวไปไม่ละท่านเหมือนเงา ชื่อว่ากรรมที่ไม่ชอบใจถึงเพียงนี้ย่อมไม่มีแก่พวกเรา แต่ขอท่านโปรดงดโทษแก่พวกเราเสียด้วย. ครั้นแสงอรุณปรากฏ พระเถระยังมหาปฐพีให้เลื่อนลั่นแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. เทพดาและมนุษย์เป็นอันมากพากันกระทําสักการะในสถานที่ปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 388
ท่านพระจุนทะถือบาตรและจีวรและผ้าห่อพระธาตุไปยังพระเชตุวัน พาพระอานนทเถระเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือผ้ากรองน้ำห่อพระธาตุกล่าวคุณของพระเถระด้วยคาถา ๕๐๐ คาถา โปรดให้สร้างพระธาตุเจดีย์ ได้ประทานสัญญาแก่พระอานนทเถระเพื่อเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์. พระเถระก็บอกภิกษุทั้งหลาย.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์. ในเวลาเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์นั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระก็ปรินิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาพระธาตุของพระมหาโมคคัลลานะแม้นั้น โปรดให้สร้างเจดีย์ แล้วออกจากกรุงราชคฤห์ บ่ายพระพักตร์ไปทางแม่น้ำคงคา เสด็จถึงบ้านอุกกเวลคามโดยลําดับ. ณ ริมฝังแม่น้ำคงคาในอุกกเวลคามนั้นทรงมีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร ประทับนั่ง ณ ที่นั้น ทรงแสดงพระสูตรที่เกี่ยวด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ออกจากอุกกเวลคามเสด็จถึงกรุงเวสาลี. เมื่อเสด็จเข้าไปอย่างนั้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาเช้า ทรงอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี. กถาแสดงตามลําดับในเรื่องนี้มีดังกล่าวมาฉะนี้.
ในบทว่า นิสีทนํ นี้ ท่านประสงค์เอาแผ่นหนัง. บทว่า อุเทนเจติยํ ท่านกล่าวถึงวัดที่สร้างตรงที่เจดีย์ของอุเทนยักษ์. แม้ในโคตมกเจดีย์เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ภาวิตา แปลว่า เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา แปลว่า ทําบ่อยๆ. บทว่า ยานีกตา แปลว่า กระทําเหมือนยานที่เทียมแล้ว.บทว่า วตฺถุกตา แปลว่า ทําเหมือนพื้นที่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏิตา แปลว่า ตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปริจิตา แปลว่า ก่อไว้โดยรอบ คือ ทําให้เจริญด้วยดี. บทว่า สุสมารทฺธา แปลว่า ริเริ่มด้วยดี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสโดยไม่จํากัดดังกล่าวมาฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงไม่จํากัดอีกจึงตรัสว่า ตถาคตสฺส โข เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 389
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องนี้ต่อไปนี้. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ อายุกัป. พระตถาคตเมื่อกระทําอายุประมาณของเหล่ามนุษย์ในกาลนั้นๆ ให้บริบูรณ์พึงดํารงอยู่. บทว่า กปฺปาวเสสํ วา ได้แก่ เกินกว่าร้อยปี ที่ตรัสไว้ว่า อปฺปํวา ภิยฺโย น้อยกว่าร้อยปีหรือเกินกว่านั้น. ส่วนพระมหาสิวเถระกล่าวว่า ชื่อว่าการบันลือในฐานะที่ไม่สมควรของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี. จริงอยู่ พระองค์ทรงข่มเวทนาปางตายที่เกิดขึ้นในเวฬุวคามถึงสิบเดือนได้ฉันใด ก็ทรงเข้าสมาบัตินั้นบ่อยๆ ทรงข่มเวทนาได้ถึงสิบเดือนก็พึงทรงดํารงอยู่ได้ตลอดภัททกัปนี้ได้ฉันนั้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงดํารงอยู่. ตอบว่า เพราะขึ้นชื่อว่าสรีระที่มีใจครองถูกวิโรธิปัจจัยมีฟันหักเป็นต้นครอบงําอยู่. ความจริงพระพุทธะทั้งหลายยังไม่ถึงภาวะแห่งวิโรธิปัจจัย มีฟันหักเป็นต้น ย่อมปรินิพพานเสียในเวลาที่ทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมหาชนทีเดียว. อนึ่ง เมื่อพระมหาสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็พึงดํารงอยู่เหมือนตอแต่ละอันๆ แต่พระองค์เสด็จไปกับภิกษุหนุ่มและสามเณรเป็นบริวารก็พึงถูกเขาดูหมิ่นว่า โอ้โฮ บริษัทของพระพุทธะทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงดํารงอยู่. แม้เมื่อถูกกล่าวอย่างนี้พระองค์ก็จะทรงชอบพระทัย. คําว่า อายุกปฺโป นี้ ท่านนิยามไว้ในอรรถกถาแล้ว.
ในคําว่า ยถา ตํ มาเรน ปริยุฏิตจิตฺโต นี้ คําว่า ตํ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ปุถุชนคนไรแม้อื่น ถูกมารยึดจิต ครอบงําจิต ไม่พึงอาจจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจรู้แจ้งแทงตลอดฉันนั้นเหมือนกัน. ความจริงมารย่อมยึดจิตของผู้ที่ยังละวิปัลลาส ๔ ไม่ได้ทุกๆ ประการ. พระเถระก็ยังละวิปัลลาสไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น มารจึงยึดครองจิตท่านไว้. ถามว่า ก็มารนั้นเมื่อยึดจิตกระทําอย่างไร. ตอบว่า มารแสดงอารมณ์คือรูปหรือให้ได้ยินอารมณ์คือเสียงที่น่ากลัว แต่นั้น เหล่าสัตว์เห็นรูปหรือได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 390
ยินเสียงนั้นแล้ว ก็ละสติแล้ว อ้าปาก. มารก็สอดมือเข้าทางปากของสัตว์เหล่านั้นแล้วบีบหทัย. แต่นั้น เหล่าสัตว์ก็จะสลบสนิท. แต่สําหรับพระเถระ ไฉนมารจักสามารถสอดมือเข้าทางปากพระเถระได้ ได้แต่แสดงอารมณ์ที่น่ากลัว. พระเถระเห็นมารนั้น ก็ไม่รู้แจ้งโอภาสคือนิมิต. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบ ตรัสเรียกถึง ๓ ครั้ง เพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า เพื่อทรงบรรเทาความโศกด้วยการยกโทษไว้เบื้องหน้าว่า เมื่อเราถูกเธออ้อนวอนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดดํารงอยู่เถิดพระเจ้าข้า. เธอทําไม่ดีอย่างนั้น เธอทําผิดอย่างนี้.
ชื่อว่า มารในคําว่า มาโร ปาปิมา นี้ ชื่อว่ามาร เพราะประกอบสัตว์ไว้ในความพินาศทําให้ตาย. บทว่า ปาปิมา เป็นไวพจน์ของคําว่ามารนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ มารนั้น ท่านเรียกว่า มาร เพราะประกอบด้วยบาปธรรม. แม้คําว่า กัณหะ อันตกะ นมุจิ ปมัตตพันธุก็เป็นชื่อของมารนั้นเหมือนกัน. บทว่า ภาสิตา โข ปเนสา ความว่า ก็มารนี้ ติดตามมาที่โพธิมัณฑสถานในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุประโยชน์ของพระองค์ ที่พระองค์ทรงบําเพ็ญพระบารมีมาโดยลําดับแล้ว ทรงแทงตลอดพระสัมพุทธญาณแล้ว พระองค์จะทรงตรวจดูโลกไปทําไม จึงทูลวิงวอนว่า บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดปรินิพพานเสีย เหมือนในวันนี้พระเจ้าข้า. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิเสธแก่มารนั้นว่า เราจะไม่ปรินิพพานก่อนดังนี้เป็นต้น. มารหมายเอาข้อนั้นจึงกล่าวว่า ภาสิตา โข ปเนสา ภนฺเต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ ฉลาดโดยมรรค. ภิกษุทั้งหลายถูกแนะนําอย่างนั้นเหมือนกัน แกล้วกล้าก็อย่างนั้น. บทว่า พหุสฺสุตา ชื่อว่า พหูสูต เพราะมีสุตะมาก โดยพระไตรปิฎก. ชื่อว่า ธรรมธร เพราะทรงธรรมนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เป็นพหูสูต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 391
โดยประยัติ ๑ เป็นพหูสูตโดยปฏิเวธ ๑ ชื่อว่า ธรรมธรเพราะทรงธรรม คือปริยัติและปฏิเวธนั่นแล. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติวิปัสสนาธรรมอันสมควรแก่อริยธรรม. บทว่า สามีจิปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติปฏิปทาอันเหมาะ. บทว่า อนุธมฺมจาริโน แปลว่า มีปกติประพฤติธรรมอันสมควร. บทว่า สกํ อาจริยกํ ได้แก่ วาทะอาจารย์ของตน. คําทั้งหมดมีว่า อาจิกฺขนฺติ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า สหธมฺเนน ได้แก่ ถ้อยคําอันมีเหตุมีการณ์. บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ ความว่า จักแสดงธรรมจนถึงธรรมอันนําสัตว์ออกจากทุกข์. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้น อันสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่า อิทฺธํ ได้แก่ สําเร็จด้วยอํานาจฌาน เป็นต้น. บทว่า ผีตํ ได้แก่ ถึงความเจริญโดยถึงพร้อมด้วยอภิญญา เหมือนดอกไม้ที่บานเต็มที่แล้ว เป็นต้น. บทว่า วิตฺถาริกํ ความว่า ได้แก่ แผ่ไปโดยประดิษฐานอยู่ในทิสาภาคนั้นๆ. บทว่า พาหุชฺํ ได้แก่ ชนเป็นอันมากรู้แจ้งแทงตลอดโดยตรัสรู้ของมหาชน. บทว่า ปถุภูตํ ได้แก่ ถึงความแน่นหนาโดยอาการทั้งปวง. แน่นหนาอย่างไร. แน่นหนาจนกว่าเทพยดาและมนุษย์ประกาศด้วยดีแล้ว อธิบายว่า เทวดาและมนุษย์ผู้เป็นวิญูชนมีอยู่ประมาณเพียงไร เทวดาและมนุษย์ทั้งหมดนั้นประกาศดีแล้ว.
บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ ปราศจากความอาลัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๘ ท่านเทียวไปเทียวมาร่ําร้องว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเสียบัดนี้เถิดพระเจ้าข้า. บัดนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านจงเลิกอุตสาหะ อย่าพยายามให้เราปรินิพพานเลย. บทว่า สโต สมฺปชาโน อายุสงฺขารํ โอสฺสชฺชิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทําสติตั้งมั่นด้วยดี กําหนดด้วยพระญาณ ปลงสละ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 392
อายุสังขาร. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปลงอายุสังขาร เหมือนเอามือทิ้งก้อนดิน. ทรงเกิดจิตคิดว่า จักทรงเข้าสมาบัติไม่ขาดระยะเพียง ๓ เดือนเท่านั้น ต่อแต่นั้นจักไม่เข้า. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า โอสฺสชฺชิ ปาฐะว่า อุสฺสชฺชิ ดังนี้ก็มี.
บทว่า มหาภูมิจาโร ได้แก่ มหาปฐพีหวั่นไหว. ได้ยินว่า ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว. บทว่า ภึสนโก ได้แก่ เกิดความน่ากลัว. บทว่า เทวทุนฺทภิโยว ผลิํสุ ได้แก่ เหล่ากลองทิพย์ก็บันลือลั่น เมฆฝนก็กระหึ่มครึมครางดั่งฤดูแล้ง สายฟ้ามิใช่ฤดูกาลก็แลบแปลบปลาบ. ท่านอธิบายว่าฝนตกชั่วขณะ.
ในคําว่า อุทานํ อุทาเนสิ ถามว่า ทรงอุทานเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะได้ยินว่า ชื่อว่าใครๆ จะพึงพูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกมารติดตามไปข้างหลังๆ อ้อนวอนรบกวนว่า โปรดปรินิพพานเถิด พระเจ้าข้าๆ ทรงปลงอายุสังขารเพราะกลัว จึงทรงเปล่งพระอุทานที่เปล่งด้วยกําลังปีติ เพื่อแสดงความข้อนี้ว่า ชื่อว่าคําอุทานย่อมไม่มีแก่ผู้กลัวว่า ขอมารอย่ามีโอกาสเลย.
ในอุทานนั้น ชื่อว่า ตุละ เพราะชั่งกําหนดโดยภาวะที่ประจักษ์ของสัตว์ มีสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้นทั้งหมด. กรรมที่ชั่งได้นั้นเป็นอย่างไร. ได้แก่ กรรมฝ่ายกามาวจร. ชื่อว่า อตุละ เพราะชั่งไม่ได้. หรือ โลกิยกรรมอย่างอื่นที่เทียม ที่เหมือนกับกามาวจรกรรมนั้นไม่มี. กรรมที่ชั่งไม่ได้นั้นเป็นอย่างไร.ได้แก่ กรรมฝ่ายมหัคคตะ. อีกอย่างหนึ่ง กามาวจรกรรม รูปาวจรกรรมจัดเป็นตุละ อรูปาวจรกรรมจัดเป็นอตุละ. อีกอย่างหนึ่ง กรรมที่มีวิบากน้อยชื่อว่า ตุละ ที่มีวิบากมาก ชื่อว่า อตุละ. บทว่า สมฺภวํ ได้แก่ กรรมที่กระทําเป็นก้อน อธิบายว่า กระทําเป็นกองอันเป็นเหตุเกิด. บทว่า ภวสงฺขารํ ได้แก่ กรรมที่แต่งภพใหม่. บทว่า อวสฺสชฺชิ ได้แก่ ปลง. บทว่า มุนี ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 393
พระมุนี คือ พระพุทธเจ้า. บทว่า อชฺฌตฺตรโต คือ ยินดีภายในแน่นอน. บทว่า สมาหิโต คือ ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ. บทว่า อภินฺทิ กวจมิว ได้แก่ ทําลายกิเลส ดุจเกาะ. บทว่า อตฺตสมฺภวํ ได้แก่ กิเลสที่เกิดแล้วในตน. ท่านอธิบายไว้ว่า พระมุนีทรงปลดปล่อยโลกิยกรรม กล่าวคือตุลกรรมและอตุลกรรม ที่ได้ชื่อว่า สัมภวะ เพราะอรรถว่ามีวิบาก ว่าภวสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งภพและทรงยินดีภายใน ตั้งมั่นแล้ว ทําลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนนักรบใหญ่ในสนามรบทําลายเกาะฉะนั้น.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า ตุลํ ได้แก่ ชั่ง คือ พิจารณา. บทว่า อตุลฺจสมฺภวํ ได้แก่ พระนิพพานและภพ. บทว่า ภวสงฺขารํ ได้แก่ กรรมที่ไปสู่ภพ. บทว่า อวสฺสชฺชิ มุนี ความว่า พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาโดยนัยเป็นอาทิว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง ความดับปัญจขันธ์คือ นิพพานเป็นของเที่ยงแล้ว ทรงเห็นโทษในภพ และอานิสงส์ในนิพพานแล้ว ทรงปลดปล่อยด้วยอริยมรรค อันกระทําความสิ้นกรรมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า กรรมเครื่องปรุงแต่งภพ อันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมดังนี้. พระองค์ทรงยินดีในภายใน ตั้งมั่นแล้ว ทรงทําลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนเกราะได้อย่างไร. ความจริง พระมุนีนั้น ทรงยินดีในภายใน ด้วยอํานาจวิปัสสนา ทรงตั้งมั่นด้วยอํานาจสมถะ รวมความว่า พระองค์ทรงทําลายข่ายคือกิเลสทั้งหมด ที่ตั้งรึงรัดอัตภาพดุจเกราะ ที่ได้ชื่อว่า อัตตสัมภวะ เพราะเกิดในตนด้วยกําลังสมถะและวิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้น และละกรรมด้วยการละกิเลสอย่างนี้ว่า กรรมที่ทําโดยไม่มีกิเลส ชื่อว่ายังเหลืออยู่ เพราะไม่มีปฏิสนธิ. พึงทราบว่า ชื่อว่าความกลัวของผู้ละกิเลสได้แล้วไม่มี เพราะฉะนั้น พระมุนีไม่ทรงกลัวแล้ว จึงทรงปลงอายุสังขาร เพราะเหตุนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน เพื่อให้รู้ว่าไม่ทรงกลัว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 394
บทว่า ยํ มหาวาตา ความว่า โดยสมัยใด หรือในสมัยใด ลมใหญ่ย่อมพัด. บทว่า มหาวาตา วายนฺตา ได้แก่ ธรรมดาว่า ลมอุกเขปกะเมื่อเกิดขึ้น ก็พัดตัดลมที่อุ้มน้ำหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ขาดสะบั้น แต่นั้นน้ำก็ตกลงในอากาศ เมื่อน้ำตกลงแผ่นดินก็ตกลง. ลมก็หอบรับน้ำไว้อีกด้วยกําลังของตนเหมือนน้ำภายในธมกรก. แต่น้ำนั้นก็พุ่งขึ้น. เมื่อนํ้าพุ่งขึ้นแผ่นดินก็พุ่งขึ้น น้ำไหวแล้วก็ทําให้แผ่นดินไหวอย่างนี้. การไหวของน้ำและแผ่นดินย่อมมีมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ด้วยประการฉะนี้. แต่ความพุ่งลงและพุ่งขึ้นย่อมไม่ปรากฏเพราะเป็นของหนา.
บทว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว ความว่า สมณะหรือพราหมณ์ชื่อว่าผู้มีฤทธิ์มาก เพราะมีความสําเร็จมาก ชื่อว่า ผู้มีอานุภาพมากเพราะสิ่งที่จะได้รับมาก. บทว่า ปริตฺตา แปลว่า มีกําลังน้อย. บทว่า อปฺปมาณา ได้แก่ ผู้มีกําลัง. บทว่า โส อิมํ ปวึ กปฺเปติ ความว่า ท่านทําฤทธิ์ให้เกิดแล้วเกิดความสังเวช เหมือนพระมหาโมคคัลลานะ หรือเมื่อทรงทดลอง ย่อมทําให้แผ่นดินไหว เหมือนสังฆรักขิตสามเณรหลานพระมหานาคเถระ.
ได้ยินว่า สามเณรนั้นขณะโกนผมเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัต คิดว่ามีภิกษุไรๆ ไหมหนอ ที่เคยบรรลุพระอรหัตในวันที่บวชนั่นเอง แล้วทําเวชยันตปราสาทให้ไหว. แต่นั้นก็รู้ว่าไม่มีใคร จึงคิดว่า เราจะทําให้ไหวยืนอยู่บนยอดเวชยันตปราสาทแล้วใช้เท้ากระทืบก็ไม่อาจทําให้ไหวด้วยกําลังแห่งอภิญญา. ครั้งนั้น เหล่านางรําของท้าวสักกะ ก็กล่าวกะสามเณรนั้นว่า ลูกสังฆรักขิต เธอประสงค์จะทําเวชยันตปราสาทให้ไหวด้วยศีรษะที่มีกลิ่นเหม็นเท่านั้น พ่อเอย ปราสาทมีโอกาสตั้งอยู่ดีแล้ว ท่านอาจทําให้ไหวอย่างไรได้. สามเณรรําลึกว่าเทวดาเหล่านี้เย้ยหยันกับเรา แต่เรายังไม่ได้อาจารย์ พระมหานาคเถระผู้อยู่ประจําสมุทรอาจารย์ของเราอยู่ไหนหนอ รู้ว่าอาจารย์สร้างที่เร้นในน้ำไว้ในมหา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 395
สมุทรนั่งพักผ่อนกลางวัน จึงไปในที่นั้นไหว้พระเถระแล้วยืนอยู่. แต่นั้นพระเถระพูดกะสามเณรนั้นว่า พ่อ สังฆรักขิต เจ้ายังไม่ได้ศึกษา จะเข้าไปต่อยุทธิ์หรือ แล้วถามว่า พ่อเจ้าไม่สามารถทําให้เวชยันตปราสาทให้ไหวหรือ. ตอบว่าผมยังไม่ได้อาจารย์นี้ขอรับ. ลําดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะสามเณรนั้นว่า พ่อเอย เมื่อคนเช่นเจ้าให้ไหวไม่ได้ คนอื่นคือใครเล่าจักให้ไหวได้ เจ้าเคยเห็นก้อนโคมัยลอยอยู่เหนือหลังน้ำไหมละพ่อ แล้วกล่าวต่อไปว่า พ่อเอย คนทั้งหลายเขาทําขนมเบื้อง เขาไม่ตัดที่ปลายดอก เจ้าจงรู้ด้วยอุปมานี้. สามเณรกล่าวว่า ปราสาทนั้น จักหมุนด้วยอาการเพียงเท่านี้ขอรับ แล้วอธิษฐานว่าขอน้ำจงมีตลอดโอกาสที่ปราสาทตั้งอยู่ บ่ายหน้าไปยังเวชยันตปราสาท. เหล่าเทพธิดาเห็นสามเณรแล้ว พูดกันว่า สามเณรอับอายไปครั้งหนึ่งแล้ว ยังมาแล้วมาอีก. ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า พวกเจ้าอย่าพูดกับบุตรของเราเลย บัดนี้เธอได้อาจารย์แล้ว ชั่วขณะ เธอจักทําปราสาทให้ไหวได้. สามเณรใช้นิ้วเท้าเกี่ยวยอดปราสาท. ปราสาทก็โอเอนไปทั้ง ๔ ทิศ. เหล่าเทวดาร้องลั่น ว่า พ่อเอย โปรดให้ปราสาทคงตั้งอยู่เถิดๆ. สามเณรวางปราสาทไว้ที่เดิมแล้วยืนบนยอดปราสาทเปล่งอุทานว่า
เราบวชวันนี้ ก็บรรลุอาสวักขัยวันนี้ เราทําปราสาทให้ไหววันนี้ โอพระพุทธเจ้า ทรงมีพระคุณมโหฬาร. เราบวชวันนี้ก็บรรลุอาสวักขัยวันนี้ เราทําปราสาทให้ไหววันนี้ โอพระธรรมมีพระคุณมโหฬาร. เราบวชวันนี้ก็บรรลุอาสวักขัยวันนี้ เราทําปราสาทให้ไหววันนี้ โอพระสงฆ์มีพระคุณมโหฬาร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 396
คําที่จะพึงกล่าวในเรื่องแผ่นดินไหว ๖ ประการนอกจากนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในมหาปาทานสูตร.
ในเหตุเกิดแผ่นดินไหว ๘ ประการนี้ ดังกล่าวมานี้ ครั้งที่ ๑ ไหวด้วยธาตุกําเริบ ครั้งที่ ๒ ไหวด้วยอานุภาพของผู้มีฤทธิ์ ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ ไหวด้วยเดชแห่งบุญ ครั้งที่ ๕ ไหวด้วยอํานาจแห่งญาณ ครั้งที่ ๖ ไหวด้วยอํานาจสาธุการ ครั้งที่ ๗ ไหวด้วยอํานาจความเป็นผู้มีกรุณา ครั้งที่ ๘ ไหวด้วยการร้องไห้. ครั้งเมื่อพระมหาสัตว์ลงสู่พระครรภ์พระมารดาและออกจากพระครรภ์นั้น แผ่นดินไหวด้วยอํานาจแห่งบุญของพระองค์. ครั้งตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ แผ่นดินไหวด้วยอํานาจพระญาณ ครั้งประกาศพระธรรมจักรแผ่นดินก็ผงาดขึ้นให้สาธุการไหว ครั้งปลงอายุสังขาร แผ่นดินผงาดขึ้นด้วยความกรุณา ทนความเคลื่อนไหวแห่งจิตไม่ได้ก็ไหว. ครั้งปรินิพพานแผ่นดินก็ถูกกระหน่ําด้วยกําลังการร้องไห้ก็ไหว. ก็ความนี้พึงทราบด้วยอํานาจเทวดาประจําแผ่นดิน. แต่ข้อนี้ไม่มีแก่ปฐวีธาตุที่เป็นมหาภูตรูป เพราะไม่มีเจตนาแล
บทว่า อิเม ในคําว่า อิเม โข อานนฺท อฏฺ เหตู นี้เป็นการชี้ข้อที่ทรงแสดงมาแล้ว. ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านพระอานนท์กําหนดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารวันนี้แน่แท้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงทราบว่าพระอานนท์กําหนดได้ ก็ไม่ประทานโอกาส ทรงประมวลเหตุทั้ง ๘ แม้อย่างอื่นเข้าไว้ด้วย จึงตรัสวา อฏฺ โข อิมา ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกสตํ ขตฺติยปริสํ ได้แก่ บริษัท เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ และสมาคมเจ้าลิจฉวีเป็นอาทิ. คํานี้ใช้ได้แม้ในจักรวาลอื่นๆ. บทว่า สลฺลปิตปุพฺพํ ได้แก่ เคยกระทําการสนทนาปราศรัย. บทว่า สากจฺฉา ได้แก่ เคยเข้าร่วมแม้แต่การสนทนาธรรม. บทว่า ยาทิสโก เตสํ วณฺโณ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 397
ผิวขาวบ้าง ผิวดําบ้าง ผิวสองสีบ้าง พระศาสดามีพระฉวีเหลืองดังทองคํา. ก็คํานี้ท่านกล่าวอาศัยทรวดทรง. ก็แม้ทรวดทรงของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ปรากฏเพียงอย่างเดียวเท่านั้น. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่เหมือนชนชาติมิลักขะ ทั้งไม่ทรงสวมมณีกุณฑล ประทับนั่งโดยเพศของพระพุทธเจ้าเท่านั้น. ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเห็นว่าพระพุทธองค์มีทรวดทรงเสมอกับตน. บทว่า ยาทิสโกเตสํ สโร ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีเสียงขาดบ้าง มีเสียงดังไม้ค้อนบ้าง มีเสียงเหมือนกาบ้าง พระศาสดามีพระสุระเสียงดังพรหมเท่านั้น. แต่คํานี้ท่านกล่าวหมายถึงภาษาอื่น. ความจริงแม้หากว่าในบริษัทนั้น พระศาสดาประทับนั่งตรัสบนราชอาสน์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็จะเข้าใจว่า วันนี้พระราชาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ. แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป สมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นพระราชาเสด็จกลับมาอีกก็จะเกิดการพิจารณาทบทวนว่า ผู้นี้เป็นใครกันหนอ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข อยํ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้พิจารณาทบทวนอย่างนี้ก็ไม่รู้ว่า ผู้นี้เป็นใครกันหนอ ตรัสด้วยภาษามคธ ภาษาสีหล ด้วยอาการละมุนละไมในที่นี้ เดี๋ยวนี้ก็หายวับไป เป็นเทวดาหรือมนุษย์. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เหล่าชนผู้ไม่รู้อย่างนี้ เพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า เพื่อต้องการจะอบรม จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมที่แม้เขาฟังแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยในอนาคตทีเดียว เพราะเหตุนั้น ทรงมุ่งถึงอนาคตจึงทรงแสดง. พึงทราบเหตุเกิดแห่งบริษัททั้งหลาย มีพราหมณบริษัทหลายร้อยเป็นต้น โดยอํานาจโสณทัณฑสมาคมและกูฏทันตสมาคมเป็นต้น และด้วยอํานาจจักรวาลอื่น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนําบริษัท ๘ นี้มาเพื่ออะไร? เพื่อแสดงความเป็นผู้ไม่กลัว. ได้ยินว่า พระองค์นําบริษัทเหล่านั้นมาตรัสอย่างนี้ว่า อานนท์ ความกลัวหรือความกล้า ไม่มีแก่ตถาคตผู้เข้าไปหาบริษัท ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 398
เหล่านี้แล้วแสดงธรรม แต่ใครเล่าควรจะให้เกิดความเข้าใจอย่างนี้ว่า ตถาคตเห็นมารแต่ละตนแล้วพึงกลัว อานนท์ ตถาคตไม่กลัว ไม่หวาด มีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร ดังนี้.
บทว่า อภิภายตนานิ แปลว่า เหตุครอบงํา. ครอบงําอะไร ครอบงําธรรมที่เป็นข้าศึกบ้าง อารมณ์บ้าง. ความจริงเหตุเหล่านั้นย่อมครอบงําธรรมที่เป็นข้าศึก เพราะภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ครอบอารมณ์เพราะเป็นบุคคลที่ยิ่งด้วยญาณ.
ก็ในคําว่า อชฺฌตฺตํ รูปสฺี ดังนี้เป็นต้น บุคคลชื่อว่ามีสัญญาในรูปภายในด้วยอํานาจบริกรรมในรูปภายใน. จริงอยู่ บุคคลเมื่อกระทําบริกรรมนีลกสิณในรูปภายใน ย่อมกระทําที่ผมที่ดีหรือที่ดวงตา เมื่อกระทําบริกรรมในปีตกสิณ ย่อมกระทําที่มันข้น ที่ผิว ที่หลังมือ หลังเท้า หรือที่สีเหลืองของดวงตา. เมื่อกระทําบริกรรมในโลหิตกสิณ กระทําที่เนื้อ เลือด ลิ้น หรือที่สีแดงของดวงตา. เมื่อกระทําบริกรรมในโอทาตกสิณ ย่อมกระทําที่กระดูก ฟัน เล็บ หรือที่สีขาวของดวงตา แต่บริกรรมนั้น เขียวดี เหลีองดี แดงดี ขาวดี ก็หาไม่ ยังไม่บริสุทธิ์ทั้งนั้น.
บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า บริกรรมนั้นของบุคคลใด เกิดขึ้นภายใน แต่นิมิตเกิดในภายนอก. บุคคลนั้นมีความสําคัญว่ารูปในภายใน ด้วยอํานาจบริกรรมในภายในและอัปปนาในภายนอกอย่างนี้ เรียกว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้เดียวเห็นรูปภายนอก.
บทว่า ปริตฺตานิ ได้แก่ ไม่เติบโต. บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ แปลว่า มีวรรณะดีหรือวรรณะทราม. อภิภายตนะนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยอํานาจปริตตารมณ์. บทว่า ตานิ อภิภุยฺย ความว่า คนมีท้องไส้ดีได้ข้าวเพียงทัพพีเดียวจึงมาคิดว่า จะพอกินหรือกระทํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 399
เป็นคําเดียว ฉันใด บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ มีญาณกล้า คิดว่าจะพึงเข้าสมาบัติในอารมณ์เล็กน้อยเท่านี้จะพอหรือ. นี้ไม่หนักสําหรับเรา แล้วครอบงํารูปเหล่านั้นเข้าสมาบัติ. อธิบายว่า ย่อมให้ถึงอัปปนาในอภิภายตนะนั้น พร้อมกับทํานิมิตให้เกิดขึ้นทีเดียว. ก็ด้วยบทว่า ชานามิ ปสฺสามิ นี้ ท่านกล่าวถึงความคํานึงแห่งบุคคลนั้น. ก็แล เมื่อออกจากสมาบัติ ความคํานึงนั้นก็ไม่มีภายในสมาบัติ. บทว่า เอวํ สฺี โหติ ความว่า มีสัญญาอย่างนี้ ด้วยสัญญาในความคํานึงบ้าง ด้วยสัญญาในฌานบ้าง. จริงอยู่ สัญญาเป็นเครื่องครอบงําย่อมมีแก่บุคคลนั้น แม้ภายในสมาบัติ. ส่วนสัญญาในความคํานึงย่อมมีเมื่อออกจากสมาบัติเท่านั้น.
บทว่า อปฺปมาณานิ ความว่า มีประมาณที่เจริญแล้ว คือ ใหญ่. ส่วนในบทว่า อภิภุยฺย นี้ เปรียบเหมือนบุรุษกินจุ ได้ข้าวพูนชาม ก็ยังคิดว่าของอย่างอื่นจงยกไว้ ข้าวนี้จักพอแก่เราหรือไม่ ไม่เห็นข้าวนั้นว่ามาก ฉันใด บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ มีญาณแก่กล้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่าจะเข้าฌานในอารมณ์นี้ได้หรือ อารมณ์นี้ไม่มีประมาณก็หาไม่ จึงครอบงําอารมณ์เหล่านั้น เข้าฌานด้วยคิดว่า ในการกระทําเอกัคคตาจิตไม่หนักแก่เราเลย. อธิบายว่า ให้ถึงอัปปนาในอารมณ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาทนั่นแล.
บทว่า อชฺฌตฺตํ รูปสฺี ความว่า เว้นจากบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เพราะยังไม่ได้หรือเพราะไม่ต้องการ. บทว่า เอโก พหิทฺธารูปานิ ปสฺสติ ความว่า ทั้งบริกรรมทั้งนิมิตของผู้ใดเกิดขึ้นในภายนอกอย่างเดียว ผู้นั้นมีความสําคัญว่าอรูปในภายใน ด้วยอํานาจบริกรรมและอัปปนาในภายนอกอย่างนี้ เรียกว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้เดียวเห็นรูปในภายนอก. ข้อที่เหลือในคํานั้นมีนัยกล่าวแล้ว ในอภิภายตนะที่ ๔ ทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 400
ก็ในอภิภายตนะ ๔ เหล่านี้ ปริตตอภิภายตนะมาด้วยอํานาจวิตกจริต อัปปมาณอภิภายตนะมาด้วยอํานาจโมหจริต สุวรรณอภิภายตนะมาด้วยอํานาจโทสจริต ทุพพรรณอภิภายตนะมาด้วยอํานาจราคจริต. จริงอยู่อภิภายตนะเหล่านี้ เป็นสัปปายะของผู้มีจริตเหล่านี้. แม้ความที่อภิภายตนะเป็นสัปปายะนั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในจริตนิเทสในวิสุทธิมรรค.
พึงทราบวินัยในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้นดังต่อไปนี้ บทว่า นีลานิ ท่านกล่าวไว้โดยรวมทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ ท่านกล่าวโดยวรรณะ. บทว่า นีลนิทสฺสนานิ ท่านกล่าวโดยตัวอย่าง ท่านอธิบายว่าวรรณะที่ไม่เจือกันที่ไม่ปรากฏช่องว่าง ปรากฏว่ามีสีเขียวเป็นอันเดียวกัน. ส่วนคําว่า นีลนิภาสานิ นี้ ท่านกล่าวไว้โดยอํานาจโอภาส. อธิบายว่า มีแสงสีเขียวคือประกอบด้วยรัศมีเขียว. ด้วยบทนี้ท่านแสดงความที่วรรณะเหล่านั้นบริสุทธิ์. จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า อภิภายตนะ ๔ เหล่านี้ไว้โดยวรรณบริสุทธิ์เท่านั้น. บทว่า อุมฺมารปุปฺผํ ความว่า จริงอยู่ดอกไม้นี้สนิทอ่อนนุ่ม แม้ที่เห็นๆ กันอยู่ ก็สีเขียวทั้งนั้น ส่วนดอกกัณณิกาเขาเป็นต้น ที่เห็นๆ กันอยู่ก็ขาวเพราะฉะนั้นท่านจึงถือเอาดอกผักตบนี้เท่านั้น ดอกกัณณิกาเขาท่านหาถือเอาไม่. บทว่า พาราณเสยฺยกํ แปลว่า ที่เกิดในกรุงพาราณสี ได้ยินว่าในกรุงพาราณสีนั้น ทั้งฝ้ายก็อ่อน ทั้งคนกรอด้าย ทั้งช่างทอก็ฉลาด. แม้น้ำก็สะอาดสนิท เพราะฉะนั้นผ้านั้นจึงเกลี้ยงทั้งสองข้าง คือ ในข้างทั้งสองก็เกลี้ยงปรากฏว่าอ่อนสนิท. แม้ในคําว่า ปิตานิ เป็นต้น ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แล. เมื่อจะกําหนดนีลกสิณ ย่อมกําหนดนิมิตในสีเขียว. ก็การกระทํากสิณก็ดี การบริกรรมก็ดี อัปปนาวิธีก็ดี ในที่นี้มีอาทิว่า ปุปฺผสฺมึ วา วตฺถสฺมึ วา วณฺณธาตุยา วา ทั้งหมดมีนัยที่กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 401
อภิภายตนะ ๘ เหล่านี้ ท่านนํามาก็เพื่อแสดงความเป็นผู้ไม่กลัว.ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอภิภายตนะแม้เหล่านี้ แล้วจึงตรัสอย่างนี้ว่า อานนท์ ความกลัวหรือความกล้าไม่มีแก่ตถาคตผู้กําลังเข้าสมาบัติแม้เหล่านี้ และกําลังออก ใครเล่าควรจะเกิดความเข้าใจอย่างนี้ว่า ตถาคตเห็นมารผู้เดียวพึงกลัว อานนท์ ตถาคตไม่กลัว ไม่ขลาด มีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร.
กถาว่าด้วยเรื่องวิโมกข์มีความง่ายทั้งนั้น. วิโมกข์ ๘ เหล่านี้ ท่านนํามาเพื่อความเป็นผู้ไม่กลัวเหมือนกัน. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสวิโมกข์แม้เหล่านี้แล้ว จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความกลัวหรือความกล้าไม่มีแก่ตถาคตผู้กําลังเข้าสมาบัติแม้เหล่านี้ และกําลังออก ฯลฯ ปลงอายุสังขาร. แม้บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ประทานโอกาสแก่พระอานนทเถระเลย ทรงเริ่มเทศนาแม้อย่างอื่นอีก โดยนัยมีว่า เอกมิทาหํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมาภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ตรัสรู้ครั้งแรกทีเดียว คือในสัปดาห์ที่ ๘. บทว่า โอสฺสฏโ แปลว่า ปล่อย สละ. ได้ยินว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้ จึงกล่าวว่า เพราะเหตุนั้น หมื่นโลกธาตุจึงไหว.
คําว่า อลํ นี้ เป็นคําปฏิเสธ. บทว่า โพธิํ ได้แก่ แทงตลอดด้วยมรรคญาณ ๔. ด้วยบทว่า สทฺทหสิ ตฺวํ ท่านกล่าวว่า เธอเชื่อว่าตถาคตกล่าวอย่างนี้ไหม. ด้วยบทว่า ตสฺมาติหานนฺท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เพราะเหตุที่เธอเชื่อคํานี้ ฉะนั้นข้อนี้จึงเป็นการทําไม่ดีของเธอเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าเริ่มคําว่า เอกมิทาหํ เป็นต้น เพื่อจะยกโทษของพระเถระแต่ผู้เดียวโดยประการต่างๆ เพื่อจะบรรเทาความโศกอย่างนี้ว่า เรามิได้เรียกเธอมาในที่นี้อย่างเดียวเท่านั้นดอก. แม้ในเวลาอื่นๆ เราก็เรียกมาทํานิมิตอย่างหยาบ เธอก็มิได้ล่วงรู้นิมิตแม้นั้น อันนี้ก็เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 402
บทว่า ปิเยหิ มนาเปหิ ความเป็นต่างๆ โดยชาติ ความละเว้นเพราะมรณะ ความเป็นอย่างอื่นเพราะภพ (พลัดพราก) จากมารดา บิดา พี่ชาย พี่หญิง เป็นต้น. คําว่า ตํ ในคําว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา แปลว่า เพราะฉะนั้น. อธิบายว่า เพราะจะต้องพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งสิ้นแล ฉะนั้น ตถาคตบําเพ็ญบารมี ๑๐ ก็ดี บรรลุสัมโพธิญาณก็ดี ประกาศธรรมจักรก็ดี แสดงยมกปาฏิหาริย์ก็ดี ลงจากเทวโลกก็ดี สรีระนั้นใดที่เกิดแล้วเป็นแล้ว ถูกปรุงแต่งแล้ว มีความสลายไปเป็นธรรมดา ขอสรีระแม้แห่งพระตถาคตนั้นอย่าสลายไปเลยหนอ. นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ทั้งผู้ร้องไห้ทั้งผู้คร่ําครวญก็สามารถจะได้ฐานะอันนั้น. บทว่า ปุน ปจฺจาคมิสฺสติ ความว่าสิ่งที่ตถาคตสละแล้ว ตายแล้ว สิ่งนั้นก็จักกลับปรากฏอีกไม่ได้ดอก.
บทว่า ยถยิทํ พฺรหฺมจริยํ แปลว่า คือสาสนพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่าอทฺธนียํ แปลว่า ทนอยู่นาน. บทว่า จิรฏิติก ได้แก่ ตั้งอยู่นานด้วยอํานาจเป็นนาน. บทว่า จตฺตาโร สติปฏานา เป็นอาทิ ทั้งหมดท่านกล่าวโดยเป็นโลกิยะและโลกุตตระ. ส่วนการวินิจฉัยในโพธิปักขิยธรรมเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส ในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง. คําที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบกถาพรรณนาตติยภาณวาร
บทว่า นาคาวโลกิตํ ความว่า เหมือนอย่างว่ากระดูกของมหาชน เอาปลายจดปลายตั้งอยู่เหมือนอัฏฐิของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่เกี่ยวกันเหมือนขอช้าง ฉันใด อัฏฐิของพระพุทธเจ้าหาเหมือนฉันนั้นไม่. ด้วยว่าอัฏฐิของพระพุทธเจ้าติดเป็นอันเดียวกัน เหมือนแท่งทองคํา เพราะฉะนั้น ในเวลาเหลียวหลัง จึงไม่สามารถเอี้ยวพระศอได้ ก็พระยาช้าง ประสงค์จะเหลียวดูข้าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 403
หลังต้องเอี้ยวไปทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ต้องทรงเอี้ยวพระวรกายไปฉันนั้น. แต่พอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ประตูพระนครก็ทรงเกิดความคิดว่า จะทอดทัศนากรุงเวสาลี แผ่นมหาปฐพีนี้เหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงบําเพ็ญบารมีมาหลายแสนโกฏิกัปป์ มิได้ทรงกระทําคือเอี้ยวพระศอแลดู จึงเปรียบเหมือนล้อดิน กระทําพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บ่ายพระพักตร์มุ่งไปทางกรุงเวสาลี. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า นาคาวโลกิตํ นี้.
ถามว่า การทอดทัศนากรุงเวสาลี มิใช่เป็นปัจฉิมทัศนะอย่างเดียว การทอดทัศนาแม้ในกรุงสาวัตถี กรุงราชคฤห์ เมืองนาลันทา บ้านปาฏลิคาม โกฏิคาม และนาทิกคาม เวลาเสด็จออกจากที่นั้นๆ ทั้งหมดนั้น ก็เป็นปัจฉิมทัศนะทั้งนั้นมิใช่หรือ เหตุไรในที่นั้นๆ จึงไม่เป็นการทอดทัศนาเป็นนาคาวโลก (คือเป็นปัจฉิมทัศนะ). ตอบว่า เพราะไม่เป็นอัศจรรย์. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับมาเหลียวดูในที่นั้น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่าทรงเอี้ยวพระวรกายแลดู. อนึ่ง เหล่าเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีใกล้พินาศ จักพินาศไปใน ๓ ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงสร้างเจดีย์ชื่อว่านาคาปโลกิตเจดีย์ ใกล้ประตูพระนคร จักบูชาเจดีย์นั้นด้วยสักการะ มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ข้อนั้นก็จะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น จึงเอี้ยวพระวรกายแลดูเพื่ออนุเคราะห์เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร ได้แก่ กระทําที่สุดแห่ววัฏฏทุกข์. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน.
บทว่า มหาปเทเส ได้แก่ โอกาสใหญ่ หรือในข้ออ้างใหญ่. อธิบายว่า เหตุใหญ่ที่ท่านกล่าวอ้างผู้ใหญ่ เช่นพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 404
อนภินนฺทิตพฺพํ คือ อันผู้ร่าเริงยินดีให้สาธุการ ควรฟังก่อนหามิได้. จริงอยู่เมื่อกระทําอยู่อย่างนี้ แม้ภายหลังถูกต่อว่า ว่าข้อนี้ไม่เหมาะสม ก็โต้ตอบได้ว่าเมื่อก่อนข้อนี้เป็นธรรมเดี๋ยวนี้ไม่เป็นธรรมหรือ ชื่อว่าไม่สละลัทธิ. บทว่า น ปฏิกฺโกสิตพฺพํ ความว่า ไม่พึงกล่าวก่อนอย่างนี้ว่า คนพาลผู้นี้พูดอะไร. ก็เมื่อถูกต่อว่า จักไม่พูดแม้แต่คําที่ควรจะพูด. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนภินนฺทิตฺวา อปฏิกฺโกสิตฺวา. บทว่า ปทพฺยฺชนานิ ได้แก่พยัญชนะกล่าวคือบท. บทว่า สาธุกํ อุคฺคเหตฺวา ได้แก่ ถือเอาด้วยดี ว่าท่านกล่าวบาลีไว้ในที่นี้ กล่าวความไว้ในที่นี้ กล่าวเบื้องต้นและเบื้องปลายไว้ในที่นี้. บทว่า สุตฺเต โอตาเรตพฺพานิ ได้แก่พึงสอบสวนในพระสูตร. บทว่า วินเย สนฺทสฺเสตพฺพานิ ได้แก่ เทียบเคียงในพระวินัย.
ก็ในที่นี้ ที่ชื่อว่าสูตรได้แก่วินัย. เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า ห้ามไว้ในที่ไหน ห้ามไว้ในเมืองสาวัตถี ห้ามไว้ในสุตตวิภังค์ (สุต ในที่นี้หมายถึงวินัย) ที่ชื่อวินัย ได้แก่ขันธกะ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า โกสมฺพิยํวินยาติสาเร ในเรื่องละเมิดพระวินัย (วินัย ในที่นี้หมายถึงขันธกะ) ในเมืองโกสัมพี. เมื่อเป็นเช่นนี้ชื่อว่าไม่ยึดถือวินัยปิฎก. ชื่อว่ายึดถือพระวินัยอย่างนี้คืออุภโตวิภังค์ชื่อว่าสุตร ขันธกปริวารชื่อว่าวินัย. อีกนัยหนึ่ง ยึดถือปิฎกทั้ง ๒ อย่างนี้คือ สุตตันตปิฎกชื่อว่าพระสูตร วินัยปิฎกชื่อว่าวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ก่อนอื่น ไม่ยึดถือปิฎกทั้ง ๓ แม้อย่างนี้ สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก ชื่อว่าสูตร วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย. ธรรมดาพุทธพจน์ไรๆ ที่ชื่อว่าไม่ใช่สูตรก็มีอยู่ คือ ชาดก ปฏิสัมภิทา นิทเทส สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะวิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา อปทาน.
ก็พระสุทินนเถระคัดค้านคํานี้ทั้งหมดว่า พระพุทธวจนะ ชื่อว่าไม่ใช่สูตร มีอยู่หรือ ดังนี้แล้วกล่าวว่า ปิฎก ๓ ชื่อว่าสูตร ส่วนวินัยชื่อว่าเหตุ. แต่นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 405
เมื่อจะแสดงเหตุนั้น จึงนําสูตรนี้มาอ้างว่า ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่านั้นอันใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อมีราคะ ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากราคะ เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากทุกข์ เป็นไปเพื่อมีอุปาทาน ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากอุปาทาน เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากความสะสม. เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่คําสั่งสอนของพระศาสดา. ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่านั้นอันใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปราศจากราคะ ไม่เป็นไปเพื่อราคะ เป็นไปเพื่อปราศจากความประกอบทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ เป็นไปเพื่อปราศจากอุปาทาน ไม่เป็นไปเพื่อมีอุปาทาน เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นไปเพื่อปราศจากความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นคําสั่งสอนของพระศาสดา. เพราะฉะนั้น พึงสอบสวนในพระไตรปิฎกพุทธวจนะที่ชื่อว่าสูตร พึงเทียบเคียงในเหตุคือวินัยมีราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าวินัย ความในข้อนี้มีดังกล่าวมาฉะนี้.
บทว่า น เจว สุตฺเต โอตรนฺติ ความว่า บทพยัญชนะเหล่านั้นไม่มาในที่ไหนๆ ตามลําดับสูตร ยกแต่สะเก็ดมาจาก คุฬหเวสสันตระ คุฬหอุมมัคคะ คุฬหวินัย เวทัลละ และปิฎก ปรากฏอยู่. จริงอยู่ บทพยัญชนะที่มาอย่างนี้ แต่ไม่ปรากฏในการกําจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็พึงทิ้งเสีย. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 406
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น เธอพึงทิ้งข้อนั้นเสีย. พึงทราบความในที่ทุกแห่งด้วยอุบายนี้. คําว่า อิทํ ภิกฺขเว จตุตฺถํ มหาปเทสํ ธาเรยฺยาถ ความว่า เธอพึงทรงจําโอกาสเป็นที่ประดิษฐานแห่งธรรมข้อที่ ๔ นี้ไว้.
ก็ในที่นี้พึงทราบปกิณณกะดังนี้ว่า ในพระสูตร มีมหาปเทส ๔ ในขันธกะ มีมหาปเทส ๔ ปัญหาพยากรณ์ ๔ สุตตะ ๑ สุตตานุโลม ๑ อาจาริยวาท ๑ อัตตโนมติ ๑ สังคีติ ๓.
ในปกิณณกะเหล่านั้น เมื่อถึงการวินิจฉัยธรรมว่านี้ธรรมนี้วินัย มหาปเทส ๔ เหล่านี้ถือเอาเป็นประมาณ ข้อใดสมในมหาปเทส ๔ เหล่านี้ ข้อนั้นควรถือเอา ข้อนอกนี้แม้ของผู้ถือผิด ก็ไม่ควรถือเอา. เมื่อถึงการวินิจฉัยข้อที่ควรและไม่ควรว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร มหาปเทส ๔ ที่ตรัสไว้ในขันธกะโดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรหากว่าสิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกันกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น ถือเอาเป็นประมาณ. กถาวินิจฉัยมหาปเทสเหล่านั้นกล่าวไว้ในอรรถกถาพระวินัยชื่อว่า สมันตปาสาทิกา โดยนัยที่กล่าวไว้ในที่นั้นพึงทําสันนิษฐานอย่างนี้ว่า สิ่งใดที่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นควร นอกนั้นไม่ควร.
เอกังสพยากรณียปัญหา ๑ วิภัชชพยากรณียปัญหา ๑ ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ๑ ฐ-ปนียปัญหา ๑ เหล่านั้นชื่อว่า ปัญหาพยากรณ์ ๔. ในปัญหาพยากรณ์๔ นั้น ถูกถามว่า จักษุไม่เที่ยงหรือ พึงพยากรณ์ก่อนโดยส่วนเดียวว่าไม่เที่ยงขอรับ. ในโสตะ เป็นต้นก็มีนัยนี้. นี้ชื่อว่า เอกังสกรณียปัญหา. ถูกถามว่า จักษุหรือชื่อว่าไม่เที่ยง. พึงแจกแล้วพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไม่ใช่จักษุเท่านั้น แม้แต่โสตะ ก็ไม่เที่ยง แม้ฆานะ ก็ไม่เที่ยง. นี้ชื่อว่า วิภัชชพยากรณียปัญหา. ถูกถามว่า จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 407
ก็ฉันนั้นเป็นต้น. จึงย้อนถามว่า ท่านถามด้วยอรรถว่าอะไร เมื่อเขาตอบว่า ถามด้วยอรรถว่าเห็น จึงพยากรณ์ว่า ไม่ใช่. เมื่อเขาตอบว่า ถามด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง จึงพยากรณ์ว่า ใช่. นี้ชื่อว่า ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา. แต่ถูกถามว่า นั้นก็ชีวะ นั้นก็สรีระ เป็นต้น พึงหยุดเสียด้วยกล่าวว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พยากรณ์. ปัญหานี้ไม่พึงพยากรณ์. นี้ชื่อว่าปฐนียปัญหา. ดังนั้น เมื่อปัญหามาถึงโดยอาการนั้น ปัญหาพยากรณ์ ๔ เหล่านี้ ถือเอาเป็นประมาณได้. พึงพยากรณ์ปัญหานั้นด้วยอํานาจปัญหาพยากรณ์ ๔ นี้.
ก็ปิฎก ๓ ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่า สุตตะ ในปกิณณกะมีสุตตะเป็นต้น. ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะชื่อว่า สุตตานุโลม. อรรถกถาชื่อว่าอาจริยวาท. ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ชื่อว่าอัตตโนมัติ. ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้ เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย. ส่วนข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา. แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา. ส่วนอัตตโนมัติ เพลากว่าเขาทั้งหมด. แม้อัตตโนมัตินั้น ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
ก็สังคีติมี ๓ เหล่านี้คือ ปัญจสติกสังคีติ (สังคายนาครั้งที่๑) สัตตสติกสังคีติ (ครั้งที่๒) สหัสสิกสังคีติ (ครั้งที่๓). แม้สุตตะ เฉพาะที่มาในสังคีติ ๓ นั้น ควรถือเอาเป็นประมาณ. นอกนั้นเป็นที่ท่านตําหนิ ไม่ควรถือเอา. จริงอยู่ บทพยัญชนะแม้ที่ลงกันได้ในสุตตะนั้น พึงทราบว่าลงกันไม่ได้ในพระสูตรและเทียบกันไม่ได้ในพระวินัย.
บทว่า กมฺมารปุตฺตสฺส ได้แก่ บุตรของนายช่างทอง เล่ากันมาว่า บุตรของนายช่างทองนั้น เป็นกุฏมพีให้ผู้มั่งคั่ง เป็นโสดาบัน เพราะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้งแรกเท่านั้น ก็สร้างวัดในสวนมะม่วงของตนมอบถวาย. ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 408
หมายเอาสวนมะม่วงนั้น จึงกล่าวว่า อมฺพวเน. บทว่า สูกรมทฺทวํ ได้แก่ ปวัตตมังสะของสุกรที่ใหญ่ที่สุดตัวหนึ่ง ไม่หนุ่มนัก ไม่แก่นัก. นัยว่าปวัตตมังสะนั้นนุ่มสนิท. อธิบายว่า ให้จัดปวัตตมังสะนั้น ทําให้สุกอย่างดี. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ก็คําว่าสูกรมัททวะนี้เป็นชื่อของข้าวสุกอ่อน ที่จัดปรุงด้วยปัญจโครส (ขีร นมสด ทธิ นมส้ม ฆตํ เนยใส ตกฺกํ เปรียง และโนนีตํ เนยแข็ง) และถั่ว เหมือนของสุกชื่อว่า ควปานะ ขนมผสมน้ำนมโค. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิธีปรุงรสชื่อว่าสูกรมัททวะ ก็สูกรมัททวะนั้นมาในรสายนศาสตร์. สูกรมัททวะนั้น นายจุนทะตบแต่งตามรสายนวิธี ด้วยประสงค์ว่าการปรินิพพานจะยังไม่พึงมีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่เหล่าเทวดาในมหาทวีปทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีปเป็นบริวาร ใส่โอชะลงในสูกรมัททวะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันลือสีหนาทนี้ว่า นาหนฺตํ เพื่ออะไร. เพื่อทรงเปลื้องคําว่าร้ายของคนอื่น. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าสดับคําของพวกที่ต้องการจะกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานสูกรมัททวะที่พระองค์เสวยเหลือ ทั้งแก่ภิกษุ ทั้งแก่ผู้คนทั้งหลาย โปรดให้ฝังเสียในหลุม ทําให้เสียหายดังนี้ จึงทรงบันลือสีหนาท เพื่อเปลื้องคําว่าร้ายของชนเหล่าอื่น ด้วยพระประสงค์ว่า จักไม่มีโอกาสกล่าวร้ายได้.
บทว่า ภุตฺตสฺส สูกรมทฺทเวน ความว่า ความอาพาธอย่างแรงกล้าเกิดขึ้นแก่พระองค์ผู้เสวย แต่ไม่ใช่เกิดเพราะสูกรมัททวะที่เสวยเป็นปัจจัย. ก็ผิว่า พระองค์ไม่เสวยก็จักเกิดอาพาธได้ และเป็นอาพาธอันแรงกล้าเสียด้วย. แต่เพราะเสวยโภชนะอันสนิท พระองค์จึงมีทุกขเวทนาเบาบาง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงเสด็จพุทธดําเนินไปได้. บทว่า วิเรจมาโน ได้แก่ พระองค์ทรงออกพระโลหิตอยู่เนืองๆ. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อโวจ ก็เพื่อประโยชน์แก่ปรินิพพานในสถานที่ที่พระองค์มีพระพุทธประสงค์. พึงทราบความว่า ก็พระธรรมสังคาหกเถระตั้งคาถาเหล่านี้ไว้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 409
ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าตักเตือน. บทว่า อจฺโฉทกา แปลว่า มีน้ำใส. บทว่า สาโตทกา แปลว่า มีน้ำอร่อย. บทว่า สีโตทกา แปลว่า น้ำเย็นสนิท. บทว่า เสโตทกา แปลว่า ปราศจากเปือกตม. บทว่า สุปติฏา แปลว่า มีท่าดี.
บทว่า ปุกฺกุโส เป็นชื่อของบุตรเจ้ามัลละนั้น. บทว่า มลฺลปุตฺโต แปลว่า บุตรของเจ้ามัลละ. ได้ยินว่า พวกเจ้ามัลละผลัดเปลี่ยนกันครองราชสมบัติ. ตราบใดวาระของเจ้ามัลละเหล่าใดยังไม่มาถึง ตราบนั้นเจ้ามัลละเหล่านั้นก็กระทําการค้าขายไป. เจ้าปุกุสะแม้นี้ ก็ทําการค้าขายอยู่นั่นแล จัดเกวียน ๕๐๐ เล่ม เมื่อลมพัดมาข้างหน้าก็ไปข้างหน้า เมื่อลมพัดมาข้างหลังก็ส่งหมู่เกวียนไปข้างหน้าตนเองไปข้างหลัง. ในคราวนั้น ลมพัดไปข้างหลังเพราะฉะนั้น เขาจึงส่งหมู่เกวียนไปข้างหน้า นั่งบนยานบรรทุกรัตนะทั้งหมดออกจากเมืองกุสินารา เดินทางไป หมายจะไปเมืองปาวา. ด้วยเหตุนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เดินทางไกลจากเมืองกุสินาราสู่เมืองปาวา.
บทว่า อาฬาโร เป็นชื่อของดาบสนั้น. ได้ยินว่า ดาบสนั้นมีร่างสูงและเหลือง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงมีชื่อว่า อาฬาระ. คําว่า กาลาโม ได้แก่โคตร. คําว่า ยตฺร หิ นาม เท่ากับ โยหิ นาม. บทว่า เนว ทกฺขติ แปลว่า ไม่เห็น. แต่ท่านกล่าวคํานี้ไว้เป็นอนาคตกาล เพราะประกอบกับ ยตฺร ศัพท์. จริงอยู่ คําเห็นปานนี้ เป็นลักษณะศัพท์ในฐานะเช่นนี้. บทว่า นิจฺฉรนฺตีสุ แปลว่า ร่ําร้อง. บทว่า อสนิยา ผลนฺติยา ได้แก่ร้องไห้โฮใหญ่ เหมือนฟ้าฝ่าแยกออก ๙ สาย.
ความจริง ฟ้าผ่ามี ๙ สาย คือ อสัญญา วิจักกา สเตรา คัคครา กปิสีสา มัจฉวิโลลิกา กุกกุฏกา ทัณฑมณิกา และ สุกขาสนิ. บรรดาฟ้าผ่า ๙ นั้น ฟ้าผ่าที่ชื่อว่า อสัญญา กระทําโดยไม่หมายรู้. ที่ชื่อว่า วิจักกา กระทํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 410
ล้ออันเดียว. ที่ชื่อว่า สเตรา ตกไปเช่นกับใบเรือ. ที่ชื่อว่า คัคครา ออกเสียงดุจไม้ค้อนตกไป. ที่ชื่อว่า กปิสีสา เป็นเหมือนลิงยักคิ้ว. ที่ชื่อว่า มัจฉวิโลลิกา เป็นเหมือนปลาน้ำตาไหล. ที่ชื่อ กุกกุฏกา ตกเหมือนไก่. ที่ชื่อว่า ทัณฑมณิกา ตกเช่นกับทางไถ. ที่ชื่อว่า สุกขาสนิ เพิกสถานที่ที่ตกขึ้น (ผ่าขึ้น). บทว่า เทเว วสฺสนฺเต ได้แก่คํารามกระหึ่มแห้งๆ เมื่อฝนตกเป็นระยะๆ.
บทว่า อาตุมายํ ความว่า ได้อาศัยเมืองอาตุมาอยู่. บทว่า ภูสาคาเร ได้แก่ โรงลานข้าว. บทว่า เอตฺถ โส ได้แก่ หมู่มหาชนที่ชุมนุมกัน เพราะเหตุนี้. บทว่า กฺว อโหสิ เป็น กุหึ อโหสิ. บทว่า โส ตํ ภนฺเต เป็น โส ตฺวํ ภนฺเต. บทว่า สิงฺคิวณฺณํ ได้แก่ มีสีเหมือนทองสิงคี. บทว่า ยุ-คมฏํ แปลว่า เกลี้ยงทั้งคู่. อธิบายว่า คู่ผ้าเนื้อละเอียด. บทว่า ธารณียํ ได้แก่ พึงทรงไว้ อธิบายว่า พึงห่มเป็นระยะๆ. เจ้าปุกกุสะนั้น ใช้เฉพาะในวันมหรศพเห็นปานนั้นเท่านั้น ในเวลาอื่นก็ทิ้งไป. ท่านหมายเอาคู่ผ้ามงคลสูงสุดจึงกล่าวไว้อย่างนี้. บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ อาศัยความเอ็นดูในเรา. บทว่า อจฺฉาเทหิ นี้เป็นคําละเมียดละไม. อธิบายว่า จงให้แก่เราหนึ่งผืน อานนท์หนึ่งผืน.
ถามว่า ก็พระเถระรับผ้านั้นหรือ. ตอบว่า รับสิ. เพราะเหตุไร. เพราะมีกิจถึงที่สุดแล้ว. ความจริงท่านพระอานนท์นั้นห้ามลาภเห็นปานนั้น ปฏิบัติหน้าที่อุปัฏฐากก็จริงอยู่ แต่หน้าที่อุปัฏฐากของท่านนั้นถึงที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงได้รับ. ก็หรือว่า ชนเหล่าใดพึงพูดอย่างนี้ว่า พระอานนท์ที่จะไม่ยินดี ท่านอุปัฏฐากมาถึง ๒๕ ปี ไม่เคยได้อะไรจากสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย. เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้รับเพื่อตัดโอกาสของชนเหล่านั้น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่า อานนท์แม้รับ ก็จักไม่ใช้ด้วยตนเอง คงจักบูชาเราเท่านั้น แต่บุตรของเจ้ามัลละเมื่อบูชาอานนท์ ก็จักเท่ากับบูชา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 411
พระสงฆ์ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ กองบุญใหญ่ก็จักมีแก่บุตรเจ้ามัลละนั้น เพราะฉะนั้น จึงโปรดให้ถวายพระเถระผืนหนึ่ง. ฝ่ายพระเถระจึงได้รับเพราะเหตุนั้นเหมือนกัน. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ กถากล่าวอนุโมทนาวัตถุทาน
บทว่า ภควโต กายํ อุปนามิตํ ได้แก่ คล้องไว้โดยทํานองนุ่งห่ม. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่งจากคู่ผ้านั้น. บทว่า หตจฺจิกํวิย ความว่า ถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ย่อมโชติช่วงข้างในๆ เท่านั้น แต่แสงแห่งถ่านเพลิงนั้นไม่มีข้างนอกฉันใด คู่ผ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปรากฏว่าขาดแสงภายนอก.
ถามว่า ในคําว่า อิเมสุ โข อานนฺท ทฺวีสุ กาเลสุ เหตุไรกายของพระตถาคตจึงบริสุทธิ์อย่างยิ่งอย่างนี้ในกาลทั้ง ๒ นี้. ตอบว่า เพราะความวิเศษแห่งอาหารอย่างหนึ่ง เพราะโสมนัสมีกําลังอย่างหนึ่ง. ในกาลทั้ง ๒ นี้ เหล่าเทวดาในสากลจักรวาลใส่โอชะลงในอาหาร. ก็โภชนะนั้นตกถึงท้องก็ก่อปสันนรูป. อินทรีย์ที่มีใจเป็นที่ ๖ ก็รุ่งเรืองยิ่งนัก เพราะมีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานสดใส. ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ ทรงระลึกว่า กองกิเลสที่เราสั่งสมมาหลายแสนโกฏิกัปป์ วันนี้เราละได้แล้วหนอ จึงเกิดโสมนัสมีกําลังขึ้น. จิตก็ใส เมื่อจิตใส โลหิตก็ใส เมื่อโลหิตใส อินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖ ก็รุ่งเรืองอย่างยิ่ง. ในวันปรินิพพาน ทรงรําลึกว่า วันนี้ เดี๋ยวนี้ เราจะเข้าไปสู่นครอมตมหาปรินิพพาน ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ดังนี้ จึงเกิดโสมนัสมีกําลังขึ้น. จิตก็ใส เมื่อจิตใส โลหิตก็ใส เมื่อโลหิตใส อินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖ ก็รุ่งเรืองอย่างยิ่ง. พึงทราบว่า พระวรกายของพระตถาคตบริสุทธิ์อย่างยิ่ง มีในกาลทั้ง ๒ นี้ ด้วยอาหารและโสมนัสมีกําลังด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 412
บทว่า อุปวตฺตเน ได้แก่ ในสาลวันทรงโค้งด้านทิศตะวันออก. บทว่า อนฺตเรยมกสาลานํ แปลว่า ระหว่างต้นสาละคู่. คาถาว่า สิงฺคิวณฺณํ เป็นต้น ท่านวางไว้ครั้งสังคายนา. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า นฺหาตฺวา จ ปิวิตฺวา จ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าลงสรงสนาน เต่าปลาภายในแม่น้ำ และแนวป่าริมฝังทั้ง ๒ ข้าง ทั้งหมดก็มีสีเป็นทองทั้งนั้น. บทว่า อมฺพวนํ ได้แก่สวนมะม่วงริมฝังแม่น้ำนั้นนั่นแล.บทว่าอายสฺมนฺตํ จุนฺทกํ ความว่า ได้ยินว่า ในขณะนั้น พระอานนทเถระบิดผ้าสรงน้ำเหลือไว้. พระจุนทะเถระก็อยู่ในที่ใกล้. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระจุนทะมาแล้ว.
แม้คาถานี้ว่า คนฺตวาน พุทฺโธ นทิกํ กกุฏํ ท่านวางไว้ในคราวสังคีตินั่นเอง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวตฺตา ภควา อิธ ธมฺเม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมในศาสนานี้ อธิบายว่า ทรงประกาศธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์. บทว่า ปมุเข นิสีทิ ได้แก่ นั่งตรงพระพักตร์พระศาสดา. ก็ด้วยคําเพียงเท่านี้ พระเถระมาถึงแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ผู้มาถึงแล้วอย่างนี้.
บทว่า เต อลาภา ได้แก่ ลาภ กล่าวคืออานิสงส์ทานเป็นลาภของคนอื่น ไม่ใช่ลาภของเธอ. บทว่า ทุลฺลทฺธํ ได้แก่ การได้อัตตภาพเป็นมนุษย์แม้ด้วยบุญวิเศษก็จัดว่าหาได้ยาก. บทว่า ยสฺสเต เท่ากับ ยสฺส ตว ท่านใด. นอกจากข้าวสารหรือสิ่งเศร้าหมองอย่างยิ่ง ใครจะรู้ได้ พระตถาคตเสวยบิณฑบาตครั้งหลังแม้เช่นไร แล้วเสด็จปรินิพพาน ทานอย่างใดอย่างหนึ่งจักเป็นอันเธอให้แน่แท้. บทว่า ลาภา ได้แก่ เป็นลาภคืออานิสงส์ในการให้ทานที่มีในปัจจุบันหรือเป็นไปในสัมปรายภพ. บทว่า สุลทฺธํ ได้แก่ การได้อัตตภาพเป็นมนุษย์ เป็นอันเธอได้มาดีแล้ว. บทว่า สมสมผลา แปลว่ามีผลเท่าๆ กันโดยอาการทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 413
ถามว่า พระตถาคตสรรเสริญบิณฑบาตใด ที่นางสุชาดาถวายแล้วตรัสรู้ บิณฑบาตนั้นพระองค์เสวยในเวลาที่ยังมีราคะ โทสะ และโมหะ แต่บิณฑบาตนี้ที่นายจุนทะถวายแล้ว พระองค์เสวยในเวลาที่ปราศจากราคะโทสะ โมหะ มิใช่หรือ แต่ไฉนบิณฑบาตทั้งสองนี้จึงมีผลเท่าๆ กัน แก้ว่าเพราะเสมอกันโดยการปรินิพพาน เสมอกันโดยการเข้าสมาบัติ และเสมอกันโดยการระลึกถึง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และเสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวายแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ รวมความว่ามีผลเสมอกันโดยการปรินิพพาน. ก็ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้าสมาบัตินับได้สองล้านสี่แสนโกฏิ แม้ในวันเสด็จปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงเข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด. รวมความว่า มีผลเสมอกันโดยเสมอกันด้วยสมาบัติ. ในกาลต่อมา นางสุชาดาได้ทราบว่า เล่ากันมาว่า ผู้ที่เราเห็นนั้นไม่ใช่รุกขเทวดา เป็นพระโพธิสัตว์ ได้ยินว่าพระโพธิสัตว์นั้นฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ดํารงอยู่ได้ด้วยบิณฑบาตนั้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางได้ฟังดังนั้น ก็ระลึกได้ว่า เป็นลาภของเราหนอจึงเกิดปีติโสมนัสอย่างแรง. ครั้นต่อมา นายจุนทะได้สดับว่า ได้ยินว่าบิณฑบาตครั้งสุดท้ายที่เราถวาย เราได้ยอดธรรมแล้ว ได้ยินว่า พระศาสดาเสวยบิณฑบาตของเราเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หวนระลึกได้ว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดโสมนัสอย่างแรง พึงทราบว่ามีผลเสมอกันแม้โดยการเสมอกันแห่งการระลึกถึงอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยสสํวตฺตนิกํ ได้แก่ เป็นไปเพื่อบริวาร. บทว่า อธิปเตยฺยสํวตฺตนิกํ ได้แก่ เป็นไปเพื่อความเป็นใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 414
บทว่า สฺมโต ได้แก่ ผู้มีความสํารวมด้วยความสํารวมในศีล. อธิบายว่า ตั้งอยู่ในสังวร. บทว่า เวรํ น จียติ ได้แก่ ไม่ก่อเวรห้า. บทว่า กุสโล จ ชหาติ ปารปกํ ความว่า ก็บุคคลผู้ฉลาด ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ย่อมละบาปอกุศลอันลามกโดยไม่เหลือด้วยอริยมรรค. บทว่า ราคโทสโมหกฺขยา นิพฺพุโต ความว่า ผู้ฉลาดนั้นละอกุศลอันลามกนี้แล้วนิพพานด้วยกิเลสนิพพาน เพราะสิ้นกิเลสมีราคะเป็นต้น. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพิจารณาเห็นทักษิณาของนายจุนทะและทักขิไณยสมบัติของพระองค์จึงทรงเปล่งพระอุทาน ด้วยประการดังนี้.
จบกถาพรรณนาจตุตถภาณวาร
ในคําว่า มหตา ภิกฺขุสํ เฆน สทฺธึ นี้ จํานวนของภิกษุทั้งหลายกําหนดแน่ไม่ได้. พอได้ทราบว่า จําเดิมแต่พระองค์ทรงข่มเวทนาที่เวฬุวคามไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จักปรินิพพาน บรรดาภิกษุที่มาแต่ที่นั้นๆ ไม่มีแม้แต่ภิกษุรูปเดียวที่ชื่อว่าหลีกไป เพราะฉะนั้น พระสงฆ์จึงมีจํานวนนับไม่ได้.
บทว่า อุปวตฺตนํ มลฺลานํ สาลวนํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากฝังข้างโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดีสู่สาลวโนทยาน เหมือนออกจากฝังแม่น้ำกลัมพนที ไปยังถูปารามไปทางประตูวัดของพระราชมารดา. สาลวันนั้นอยู่ที่กรุงกุสินารา เหมือนถูปารามของกรุงอนุราธปุระ. ทางเข้าพระนครโดยทางประตูทักษิณ แต่ถูปารามบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวไปทางทิศอุดร ฉันใด สาลวันจากพระราชอุทยานบ่ายหนาไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวไปทางทิศอุดร ฉันนั้น เพราะฉะนั้น สาลวันนั้น ท่านจึงเรียกว่าอุปวัตตนะทางโค้ง.
บทว่า อนฺตเร ยมกสาลานํ อุตฺตรสีสกํ ความว่าได้ยินว่า ต้นสาละแถวหนึ่งอยู่ทางหัวพระแท่น แถวหนึ่งอยู่ทางท้ายพระแท่น. ในแถวต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 415
สาละนั้น ต้นสาละรุ่นต้นหนึ่งอยู่ใกล้ทางส่วนพระเศียรต้นหนึ่งอยู่ใกล้พระบาท. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ต้นสาละที่ยืนต้นประชิดกันและกันด้วยรากลําต้นค่าคบและใบ ชื่อว่า ยมกสาละ. ด้วยบทว่า มฺจกํ ปฺเปหิ ท่านกล่าวว่า ได้ยินว่า พระแท่นบรรทมในพระราชอุทยานนั้นมีอยู่ ทรงหมายถึงพระแท่นนั้นทรงรับสั่งให้ปู. แม้พระเถระก็จัดพระแท่นนั้นถวาย. บทว่า กิลนฺโตสฺมิอานนฺท นิปชฺชิสฺสามิ ความว่า ความจริงในคํานี้ว่า
ตระกูลช้างชื่อ โคจรี กลาปะ คังเคยยะ ปิงคละ ปัพพเตยยกะ เหมวตะ ตัมพะ มันทากินี อุโบสถ ฉัททันตะ เป็นที่ครบ ๑๐ เหล่านี้เป็นยอดของช้างทั้งหลาย กําลังอันใดของพระตถาคต เป็นกําลังเท่ากับกําลังของช้างปกติพันโกฏิ โดยนัยเพิ่มด้วยคูณ ๑๐ อย่างนี้ คือ กําลังของช้างปกติที่เรียกว่าโคจรี ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังของช้างตระกูลกลาปะ ๑ เชือกเป็นต้น กําลังนั้นทั้งหมด ก็หมดสิ้นไปเหมือนน้ำที่ใส่ลงในหม้อกรองน้ำ ตั้งแต่เวลาที่เสวยบิณฑบาตของนายจุนทะ ตั้งแต่นครปาวาถึงนครกุสินารา ระยะทาง ๓ คาวุต. ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าต้องประทับนั่งพักถึง ๒๕ แห่ง เสด็จมาด้วยอุตสาหะใหญ่ เสด็จเข้าสาลวันในเวลาเย็นพระอาทิตย์ตก. พระโรคก็มาลบล้างความไม่มีโรคเสียสิ้นด้วยประการฉะนี้. เหมือนอย่างทรงแสดงความข้อนี้ เมื่อตรัสพระวาจาให้เกิดความสังเวชแก่สัตว์โลกทั้งปวง จีงตรัสว่า กิลนฺโตสฺมิ อานนฺท นิปชฺชิสฺสามิ อานนท์ ตถาคตลําบากนัก จักนอนละดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จมาในที่นี้ด้วยอุตสาหะใหญ่ ไม่อาจไปปรินิพพานในที่อื่นหรือ. ตอบว่า ไม่อาจไปปริพพานในที่อื่นที่หามิได้ แต่เสด็จมาในที่นี้ด้วยเหตุ ๓ ประการ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้ว่า เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 416
อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องของมหาสุทัสสนสูตรจักไม่มี แต่เมื่อปรินิพพานในนครกุสินารา ตลอดจนแสดงสมบัติที่ตถาคตพึงเสวยในเทวโลก ซึ่งเสวยแล้วในมนุษยโลก ประดับด้วยภาณวาร ๒ ภาณวาร ชนเป็นอันมากฟังธรรมของตถาคตแล้ว จักสําคัญกุศลว่าควรกระทํา. อนึ่ง ทรงเห็นความข้ออื่นอีกว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น สุภัททะจักไม่ได้เข้าเฝ้า ด้วยสุภัททะนั้นเป็นเวไนยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นเวไนยของพระสาวก สาวกทั้งหลายไม่อาจแนะนําสุภัททะนั้นได้. แต่ตถาคตปรินิพพานเสียที่นครกุสินารา สุภัททะนั้นก็จักเข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และที่สุดการตอบปัญหาเขาก็จักตั้งอยู่ในสรณะ ได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักเรา รับกัมมัฏฐานแล้วจักบรรลุพระอรหัตเป็นปัจฉิมสาวก ต่อเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่. ทรงเห็นความอีกข้อหนึ่งว่า เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น จะเกิดทะเลาะวิวาทกันยกใหญ่ในเวลาแจกพระธาตุ แม่น้ำก็จะหลั่งไหลเป็นสายเลือด แต่เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียที่นครกุสินารา โทณพราหมณ์จักระงับการวิวาทนั้นแล้วแจกพระธาตุทั้งหลาย. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในที่นี้ด้วยพระอุตสาหะใหญ่อย่างนี้ ก็ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้.
ในคําว่า สีหเสยฺยํ มีเสยยา การนอน ๔ คือ กามโภคิเสยยา เปตเสยยา สีหเสยยา ตถาคตเสยยา.
ในเสยยาทั้ง ๔ นั้น เสยยาที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้บริโภคกามโดยมากนอนตะแคงซ้าย นี้ชื่อว่า กามโภคิเสยยา ด้วยว่าสัตว์ผู้บริโภคกามชื่อว่านอนตะแคงขวาโดยมากไม่มี.
เสยฺยา ที่ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากพวกเปรตนอนหงาย นี้ชื่อว่า เปตเสยยา ด้วยว่า เพราะมีเนื้อและเลือดน้อย พวกเปรตถูกร่างกระดูกรั้งไว้ ไม่อาจนอนตะแคงข้างเดียวได้ จึงนอนหงายอย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 417
เสยยาที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์ราชาแห่งมฤค นอนตะแคงขวา ฯลฯ มีใจยินดี นี้ชื่อว่า สีหเสยยา. ด้วยว่าเพราะเป็นสัตว์มีอํานาจมาก สีหะราชาแห่งมฤค นอนวาง ๒ เท้าหน้าไว้ที่หนึ่ง วาง ๒ เท้าหลังไว้ที่หนึ่ง สอดหางไว้ที่โคนขา กําหนดที่วางเท้าหน้าหลังและหางไว้ วางศีรษะไว้เหนือ ๒ เท้าหน้า แม้นอนกลางวัน เมื่อตื่นก็ไม่สะดุ้งตื่น แต่ชะเง้อศีรษะสํารวจที่วางเท้าหน้า เป็นต้น ถ้าวางผิดที่หน่อยหนึ่งก็เสียใจว่า นี่ไม่เหมาะแก่ชาติและความแกล้วกล้าของเจ้า ก็นอนเสียในที่นั้นนั่นแหละไม่ออกล่าเหยื่อ แต่เมื่อวางไม่ผิดที่ก็จะดีใจว่า นี้เหมาะแก่ชาติและความแกล้วกล้าของเจ้า แล้วลุกขึ้นสะบัดแบบราชสีห์ สลัดสร้อยคอ แผดสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกล่าเหยื่อ.
ส่วนไสยาในฌานที่ ๔ ท่านเรียกว่า ตถาคตไสยา ในไสยาเหล่านั้น ในที่นี้ มาแต่สีหเสยยา ด้วยว่า สีหไสยานี้เป็นยอดไสยา เพราะเป็นอิริยาบถมากด้วยอํานาจ.
บทว่า ปาเทน ปาทํ ได้แก่ เอาเท้าซ้ายทับเท้าขวา. บทว่า อจฺจาธาย ได้แก่ เหลื่อมกันคือวางเลยกันไปเล็กน้อย. เมื่อเอาข้อเท้าทับข้อเท้าหรือเอาเข่าทับเข่า จะเกิดเวทนาขึ้นเนืองนิตย์ จิตจะไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง การนอนไม่สบาย แต่เมื่อวางเหลื่อมกัน โดยไม่ให้ทับกันเวทนาจะไม่เกิด จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง การนอนจะสบาย เพราะฉะนั้น จึงนอนอย่างนี้. แต่ในที่นี้ เพราะทรงเข้าถึงอนุฎฐานไสยา ท่านจึงไม่กล่าวว่า ทรงมนสิการถึงอุฏฐานสัญญา. ก็ในที่นี้ พึงทราบอนุฏฐาน การไม่ลุกขึ้นด้วยอํานาจพระวรกาย. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงมีโอกาสแห่งภวังคจิตม่อยหลับตลอดราตรีนั้นเลย จริงอยู่ ในปฐมยามได้มีการแสดงธรรมโปรดเหล่าเจ้ามัลละ ในมัชฌิมยามโปรดสุภัททะ. ในปัจฉิมยามทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ ในเวลาใกล้รุ่งเสด็จปรินิพพาน.
บทว่า สพฺพผาลิผุลฺลา ความว่า ต้นสาละทั้งคู่บานสะพรั่งดารดาษไปตั้งแต่โคนต้นจนถึงยอด มิใช่มีต้นสาละทั้งคู่อย่างเดียวเท่านั้น ต้นไม้แม้ทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 418
ก็ผลิตดอกออกสะพรั่งเหมือนกันไปหมด. มิใช่แต่ในสวนนั้นอย่างเดียวเท่านั้นแม้ในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ไม้ดอกก็ผลิดอก ไม้ผลก็ออกผล. ในลําต้นของต้นไม้ทุกต้นมีขันธปทุมบานที่ลําต้น สาขาปทุมบานที่กิ่งทั้งหลาย วัลลิปทุมบานที่เถาว์ อากาสปทุมบานที่อากาศ ทัณฑปทุมแทรกพื้นแผ่นดินขึ้นมาบาน. มหาสมุทรทั้งหมดดาดาษไปด้วยบัว ๕ สี ป่าหิมพานต์กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ได้เป็นที่รื่นรมย์ยิ่งนักเหมือนลําแพนหางนกยูงที่มัดติดกันเป็นพืด เหมือนพวงและช่อดอกไม้ติดกันไม่มีระหว่าง เหมือนดอกไม้ประดับศีรษะที่ผูกเบียดกันเป็นอันดี และเหมือนผอบที่มีดอกไม้เต็ม. บทว่า เต ตถาคตสฺส สรีรํ โอกิรนฺติ สาละคู่เหล่านั้นถูกภุมมเทวดาเขย่าต้นกิ่งและค่าคบ โปรยลงสู่พระสรีระของพระตถาคต คือ โรยดอกลงบนพระสรีระ. บทว่า อชฺโชกิรนฺติ หล่นเกลื่อนดังประหนึ่งจะท่วม. บทว่า อภิปฺปกิรนฺติ ได้แก่ หล่นเกลื่อนเนืองๆ คือบ่อยๆ.
บทว่า ทิพฺพานิ ได้แก่ ที่เกิด ณ นันทโปกขรณี ดอกมณฑารพเหล่านั้นมีสีดั่งทอง มีใบประมาณเท่าฉัตรใบไม้. ติดเรณูประมาณทะนานใหญ่ มิใช่ดอกมณฑารพอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นทิพย์ แม้อย่างอื่นก็เป็นทิพย์ เช่น ดอกปาริฉัตรและดอกทองหลาง เป็นต้น บรรจุผอบทองเต็ม อันเทวดาผู้อยู่ที่ขอบปากจักรวาลก็ดี ชั้นไตรทศก็ดี ในพรหมโลกก็ดี นําเข้าไป ย่อมตกลงจากอวกาศ.
บทว่า ตถาคตสฺส สรีรํ ความว่า ไม่กระจัดกระจายเสียในระหว่างมาโปรยปรายเฉพาะพระสรีระของพระตถาคตด้วยกลีบเกษรและละอองเรณู.
บทว่า ทิพฺพานิปิ จนฺทนจุณฺณานิ ได้แก่ ผงจันทน์ที่สําเร็จรูปของเหล่าเทวดา. มิใช่ผงจันทน์ที่สําเร็จรูปของเทวดาเท่านั้น เป็นของนาคสุบรรณและมนุษย์ด้วย. มิใช่ผงจันทน์อย่างเดียวเท่านั้น ยังมีผงคันธชาตอันเป็นทิพย์ทั้งหมด เช่น กฤษณาและจันทน์แดง เป็นต้น ผงหรดาล แร่พลวง เงิน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 419
และทอง ชนิดที่อบด้วยกลิ่นทิพย์ทั้งหมดบรรจุเต็มหีบเงินและทอง เป็นต้น ที่เทวดาผู้อยู่ ณ ขอบปากจักรวาล เป็นต้น นําเข้าไปไม่เรี่ยราดเสียในระหว่างโปรยลงสู่พระสรีระของพระตถาคตเหมือนกัน.
บทว่า ทิพฺพานิปิ ตุริยานิ ได้แก่ ดุริยางค์สําเร็จของเหล่าเทวดา. มิใช่ดุริยางค์เหล่านั้นอย่างเดียว ยังมีดุริยางค์ของเหล่าเทวดาในหมื่นจักรวาล และ นาค ครุฑ มนุษย์ ต่างโดยชนิดขึงสาย หุ้มหนัง ทึบ และโพรง ทุกชนิด พึงทราบว่าประชุมกันในจักรวาลอันเดียว บรรเลงกันในอากาศ.
บทว่า ทิพฺพานิปิ สงฺคีตานิ ความว่า ได้ยินว่า เหล่าเทวดาผู้มีอายุยืน ชื่อว่า วรุณ เทพวารุณ เหล่านั้น ทราบว่า พระมหาบุรุษบังเกิดในถิ่นมนุษย์ จักเป็นพระพุทธเจ้า แล้วเริ่มร้อยมาลัยด้วยหมายใจว่าจักถือไปในวันปฏิสนธิ. และเทวดานั้น กําลังร้อยมาลัย ทราบว่า พระมหาบุรุษบังเกิดในครรภ์ของมารดา ถูกถามว่า พวกท่านร้อยมาลัยเพื่อใคร ตอบว่า ยังไม่เสร็จ แล้วบอกว่า พวกเราร้อยเสร็จแล้วจักเอาไปในวันเสด็จออกจากพระครรภ์ แล้วทราบว่าออกเสียแล้ว คิดว่าจะไปในวันเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทราบแม้ว่า พระมหาบุรุษทรงครองเรือน ๒๙ พรรษา แล้ววันนี้ ก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เสียแล้ว คิดว่าจักไปในวันตรัสรู้ ก็ทราบว่าทรงทําความเพียรใหญ่ตลอด ๖ พรรษา วันนี้ก็ตรัสรู้เสียแล้ว คิดว่าจักไปในวันประกาศธรรมจักร ทราบแม้อีกว่าประทับที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ เสด็จไปยังอิสิปตนมฤคทายวัน ประกาศพระธรรมจักร คิดว่าจักไปวันทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ก็ทราบว่าวันนี้ทรงทํายมกปาฏิหารย์เสียแล้ว คิดว่าจักไปในวันเสด็จลงจากเทวโลก ทราบว่าวันนี้ก็เสด็จลงจากเทวโลกเสียแล้ว คิดว่าจักไปวันทรงปลงอายุสังขาร ทราบว่าวันนี้ก็ทรงปลงอายุสังขารเสียแล้ว คิดว่ายังทําไม่เสร็จ ก็จักไปในวันปรินิพพาน ทราบว่าวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมสีหไสยาตะแคงขวา ณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 420
ระหว่างสาละคู่ มีพระสติสัมปชัญญะ จักปรินิพพานเวลาจวนรุ่ง แต่แว่วเสียงถามว่า พวกท่านร้อยมาลัยเพื่อใคร กล่าวว่า นี่อะไรกันหนอ วันนี้นี่เอง พระมหาบุรุษทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา วันนี้ก็ออกจากพระครรภ์ของมารดา วันนี้ก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ วันนี้ก็เป็นพระพุทธเจ้า วันนี้ก็ประกาศพระธรรมจักร วันนี้ก็แสดงยมกปาฏิหาริย์ วันนี้ก็เสด็จลงจากเทวโลก วันนี้ก็ทรงปลงอายุสังขาร ทราบว่าวันนี้ก็จักเสด็จปรินิพพาน พระองค์พึงทรงดํารงอยู่ชั่วดื่มยาคู ในวันที่ ๒ หรือไม่หนอ ข้อนี้ไม่สมควรแก่พระองค์ ผู้ทรงบําเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ แล้วบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า จําเราจักถือเอาพวงมาลัยที่ยังไม่เสร็จมา เมื่อไม่ได้โอกาสภายในจักรวาล ก็จักคล้องที่ขอบปากจักรวาล วิ่งแล่นไปตามขอบปากจักรวาล เอาหัตถ์เกี่ยวหัตถ์เรียงศอสลอน ขับกล่อมปรารภพระรัตนตรัย ปรารภมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระฉัพพัณรังสีทสบารมีชาดก ๕๕๐ พระพุทธญาณ ๑๔ ในที่สุดแห่งพระพุทธคุณนั้นๆ ก็ต้องละไปๆ. ท่านอาศัยสังคีตะนั้น จึงกล่าวคํานี้ว่า ทิพฺพานิปิ สงฺคีตานิ อนฺตลิกฺเข วชฺชนฺติ ตถาคตสฺส ปูชาย ทั้งสังคีตที่เป็นทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต ดังนี้.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมตะแคงข้างขวาระหว่างต้นสาละคู่ ทรงเห็นความอุตสาหะอย่างใหญ่ของบริษัทที่ประชุมกันตั้งแต่ปฐพีจดขอบปากจักรวาล และตั้งแต่ขอบปากจักรวาลจดพรหมโลก จึงตรัสบอกท่านพระอานนท์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ ฯเปฯ ตถาคตสฺส ปูชาย. ครั้นทรงแสดงมหาสักการะอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์เป็นผู้อันบริษัทไม่สักการะด้วยมหาสักการะแม้นั้น จึงตรัสว่า น โข อานนฺท เอตฺตาวตา เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 421
ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตหมอบอยู่แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ประชุมธรรม ๘ ประการ เมื่อจะกระทําอภินิหาร มิใช่กระทําอภินิหาร เพื่อประโยชน์แก่พวงมาลัยของหอมและดุริยางค์สังคีต มิใช่บําเพ็ญบารมีทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่สิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เราตถาคตไม่ชื่อว่า เขาบูชาแล้วด้วยการบูชาอันนี้เลย.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญวิบาก ที่แม้พระพุทธญาณก็กําหนดไม่ได้ของการบูชา ที่บุคคลถือเพียงดอกฝ้ายดอกเดียวระลึกถึงพระพุทธคุณบูชาแล้วไว้ในที่อื่น ในที่นี้กลับทรงคัดค้านการบูชาใหญ่อย่างนี้. ตอบว่า เพราะเพื่อจะทรงอนุเคราะห์บริษัทอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะให้พระศาสนาดํารงยั่งยืนอย่างหนึ่ง.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงคัดค้านอย่างนั้นไซร้ ต่อไปในอนาคต พุทธบริษัทก็ไม่ต้องบําเพ็ญศีลในฐานะที่ศีลมาถึง จักไม่ให้สมาธิบริบูรณ์ในฐานะที่สมาธิมาถึง ไม่ให้ถือห้องคือวิปัสสนาในฐานะที่วิปัสสนามาถึง ชักชวนแล้วชักชวนอีก ซึ่งอุปัฏฐากกระทําการบูชาอย่างเดียวอยู่. จริงอยู่ ชื่อว่าอามิสบูชานั้น ไม่สามารถจะดํารงพระศาสนาแม้ในวันหนึ่งบ้าง แม้ชั่วดื่มข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้าง. จริงอยู่ วิหารพันแห่งเช่นมหาวิหาร เจดีย์พันเจดีย์ เช่นมหาเจดีย์ ก็ดํารงพระศาสนาไว้ไม่ได้. บุูผู้ใดทําไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว. ส่วนสัมมาปฏิบัติ ชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคต. เป็นความจริงปฏิบัติบูชานั้นชื่อว่าดํารงอยู่แล้ว สามารถดํารงพระศาสนาไว้ได้ด้วย เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิบัติบูชานั้น จึงตรัสว่า โย โข อานนฺท เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติปุพพภาคปฏิปทา อันเป็นธรรมสมควร. ก็ปฏิปทานั่นแล ท่านเรียกว่าสามีจิ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 422
ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร. ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติธรรมอันชอบยิ่ง. ชื่อว่า อนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบําเพ็ญธรรมอันสมควรกล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล. ก็ศีล อาจารบัญญัติการสมาทานธุดงค์สัมมาปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา. เพราะฉะนั้น ภิกษุตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตนทั้งหมดที่ขีดขั่นเขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อย ภิกษุนี้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. แม้ในภิกษุณี ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม บูชาด้วยมาลา บํารุงมารดาบิดา บํารุงสมณพราหมณ์ อุบาสกผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แม้ในอุบาสิกา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ปรมาย ปูชาย แปลว่า ด้วยบูชาสูงสุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า แท้จริง ชื่อว่า นิรามิสบูชานี้ สามารถดํารงพระศาสนาของเราไว้ได้. จริงอยู่บริษัท ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการบูชานี้ เพียงใด ศาสนาของเราก็จะรุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญลอยเด่นกลางท้องฟ้าฉะนั้น.
บทว่า อปสาเทสิ แปลว่า จงออกไป. บทว่า อเปหิ แปลว่า จงหลีกไป. ด้วยพระดํารัสคําเดียวเท่านั้น พระเถระก็วางพัดใบตาลแล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความที่พระองค์ไม่มีอุปัฏฐากประจําในปฐมโพธิกาลจึงตรัสคํานี้ว่า อุปฏฺาโก เป็นต้น. เมื่อพระเถระทูลอย่างนี้ว่า นี้ท่านอุปวาณะเจ้าข้า. พระอานนท์กําหนดความที่พระอุปวาณะมีความผิดว่า เอาเถอะ เราจักกราบทูลความที่พระอุปวาณะนั้นไม่มีความผิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 423
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เยภุยฺเยน อานนฺท เป็นต้น. บรรดาคําเหล่านั้นคําว่า เยภุยฺเยน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาอสัญญีสัตว์และอรูปเทวดาถูกเมินเฉย. บทว่า อปฺผุโฏ ได้แก่ ไม่สัมผัสหรือไม่แตะต้อง.
ได้ยินว่า ในส่วนที่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้า เทวดาผู้มีศักดาใหญ่เนรมิตอัตตภาพอันละเอียดในโอกาสเท่าปลายขนทราย ๑๐ องค์ๆ. ข้างหน้าแห่งเทวดา ๑๐ องค์ๆ นั้น มีเทวดา ๒๐ องค์ๆ. ข้างหน้าเทวดา ๒๐ องค์ๆ มีเทวดา ๓๐ องค์ๆ ข้างหน้าเทวดา ๓๐ องค์ๆ มีเทวดา ๔๐ องค์ๆ ข้างหน้าเทวดา ๔๐ องค์ๆ มีเทวดา ๕๐ องค์ๆ ข้างหน้าเทวดา ๕๐ องค์ๆ มีเทวดายืนเฝ้าอยู่ ๖๐ องค์ๆ เทวดาเหล่านั้นไม่เบียดกันและกันด้วยมือเท้าหรือผ้า. ไม่มีเหตุที่จะพึงกล่าวว่า ออกไปอย่าเบียดเสียดเรา. เทวดาทั้งหลายก็เป็นเช่นกับที่ตรัสไว้ว่า สารีบุตร เทวดาเหล่านั้นแล ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง ยืนในโอกาสแม้เพียงปลายเหล็กแหลมจรดกัน ไม่เบียดซึ่งกันและกันเลย.
บทว่า โอธาเรนฺโต แปลว่า ยืนบัง. ได้ยินว่า พระเถระร่างใหญ่เช่นกับลูกช้าง ห่มผ้าบังสุกุลจีวร ก็ดูเหมือนใหญ่มาก.
บทว่า ตถาคตสฺส ทสฺสนาย ความว่า เทวดาทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงติเตียนอย่างนี้. ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้นไม่สามารถมองทะลุพระเถระหรือ. ตอบว่า ไม่สามารถสิ. ด้วยว่า เหล่าเทวดาสามารถมองทะลุเหล่าปุถุชนได้ แต่มองทะลุเหล่าพระขีณาสพไม่ได้ ทั้งไม่อาจเข้าไปใกล้ด้วย. เพราะพระเถระมีอานุภาพมาก มีอํานาจมาก. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเถระจึงมีอํานาจมาก ผู้อื่นไม่เป็นพระอรหันต์หรือ. ตอบว่า เพราะท่านเป็นอารักขเทวดาในเจดีย์ของพระกัสสปพุทธเจ้าอยู่. เล่ากันว่า เมื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายได้พากันสร้างพระเจดีย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 424
องค์หนึ่ง บรรจุพระสารีริกธาตุสรีระอันเป็นเช่นกับแท่งทองคําทึบ. จริงอยู่พระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน ย่อมมีพระเจดีย์องค์เดียวเท่านั้น คนทั้งหลายใช้แผ่นอิฐทองยาว ๑ ศอก กว้างหนึ่งคืบ หนา ๘ นิ้ว ก่อพระเจดีย์นั้น ประสานด้วยหรดาลและมโนศิลาแทนดิน ชะโลมด้วยน้ำมันงาแทนน้ำ แล้วสถาปนาประมาณโยชน์หนึ่ง. ต่อนั้น ภุมมเทวดาก็โยชน์หนึ่ง จากนั้นก็อาสัฏฐกเทวดา จากนั้นก็อุณหวลาหกเทวดา จากนั้นก็อัพภวลาหกเทวดา จากนั้นก็เทวดาชั้นจาตุมมหาราช จากนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์สถาปนาโยชน์หนึ่ง. พระเจดีย์จึงมี ๗ โยชน์ ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อผู้คนถือเอามาลัยของหอมและผ้าเป็นต้นมา อารักขเทวดาทั้งหลายก็พากันถือดอกไม้มาบูชาพระเจดีย์ทั้งที่ผู้คนเหล่านั้นเห็นอยู่. ครั้งนั้น พระเถระนี้เป็นพราหมณ์มหาศาล ถือผ้าเหลืองผืนหนึ่งไป. เทวดาก็รับผ้าจากมือพราหมณ์นั้นไปบูชาพระเจดีย์. พราหมณ์เห็นดังนั้น ก็มีจิตเลื่อมใสตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็จักเป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์ของพระพุทธเจ้า เห็นปานนี้ ดังนี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ก็ไปบังเกิดในเทวโลก. เมื่อพราหมณ์นั้นท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลกและเทวโลก พระกัสสปะผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในโลกแล้วปรินิพพาน. พระธาตุสรีระของพระองค์ก็มีแห่งเดียวเท่านั้น. ผู้คนทั้งหลายนําพระธาตุสรีระนั้น สร้างพระเจดีย์โยชน์หนึ่ง. พราหมณ์เป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์นั้น เมื่อพระศาสดาอันตรธานไปก็บังเกิดในสวรรค์ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา จุติจากสวรรค์นั้นแล้วถือปฏิสนธิในตระกูลใหญ่ ออกบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. พึงทราบว่าพระเถระมีอํานาจมากเพราะเป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์มาแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 425
ด้วยบทว่า เทวตา อานนฺท อุชฺฌายนฺติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนอานนท์ เหล่าเทวดาติเตียน มิใช่บุตรเรามีความผิดอะไรอื่น. เพราะเหตุไร ท่านพระอานนท์จึงทูลว่า พระเจ้าข้า เหล่าเทวดาเป็นอย่างไรจึงใส่ใจ. ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เหล่าเทวดาติเตียน ก็เหล่าเทวดานั้นเป็นอย่างไรจึงใส่ใจพระองค์ จะยับยั้งการปรินิพพานของพระองค์หรือ. เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงภาวะที่เหล่าเทวดาเหล่านั้นยับยั้งไม่ได้ว่า เราไม่กล่าวเหตุแห่งการยับยั้ง จึงตรัสว่า สนฺตานนฺท เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาเส ปวีสฺนิโย ได้แก่ เนรมิตแผ่นดินในอากาศ มีความสําคัญในอากาศนั้นว่าเป็นแผ่นดิน. บทว่า กนฺทนฺติ แปลว่า ร้องไห้. บทว่า ฉินฺนปาทํ วิย ปปตนฺติ ได้แก่ ล้มฟาดลงดังขาดกลางตัว. บทว่า วิวฏฺฏนฺติ ได้แก่ ล้มลงกลิ้งไป. อีกอย่างหนึ่ง ล้มกลิ้งไปข้างหน้าที ข้างหลังที ข้างซ้ายที ข้างขวาที เรียกกันว่ากลิ้งเกลือก. บทว่า สนฺตานนฺท เทวตา ปวียํ ปวีสฺนิโย ความว่า ได้ยินว่า เหล่าเทวดาไม่อาจทรงตัวอยู่ได้เหนือแผ่นดินปกติ. เหล่าเทวดาย่อมจมลงในแผ่นดินนั้นเหมือนหัตถกพรหม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนหัตถกะ ท่านจงเนรมิตอัตภาพอย่างหยาบ. เพราะฉะนั้น ท่านหมายเอาเหล่าเทวดาที่เนรมิตแผ่นดินในแผ่นดิน จงกล่าวว่า เหล่าเทวดามีความสําคัญในแผ่นดินว่าเป็นแผ่นดิน. บทว่า วีตราคา ได้แก่ เหล่าเทวดาที่เป็นพระอนาคามีและขีณาสพที่มีโทมนัสอันละได้แล้วเช่นเดียวกับเสาหิน.
บทว่า วสฺสํ วุฏฺา ความว่า ได้ยินว่า ครั้งพุทธกาล ภิกษุประชุมกัน ๒ เวลา คือ จวนเข้าพรรษาเพื่อรับกัมมัฏฐาน ๑ ออกพรรษาแล้วเพื่อบอกกล่าวคุณวิเศษที่บังเกิดเพราะการประกอบเนืองๆ ซึ่งพระกัมมัฏฐานที่รับมาแล้ว ๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 426
ครั้งพระพุทธกาลฉันใด แม้ในเกาะสีหลก็ฉันนั้น. ภิกษุที่อยู่ฝังแม่น้ำคงคาข้างโน้นประชุมกันที่โลหประสาท ภิกษุที่อยู่ฝังแม่น้ำคงคาอีกฝังหนึ่งก็ประชุมกันที่ติสสมหาวิหาร. ในภิกษุ ๒ พวกนั้น ภิกษุพวกที่อยู่ฝังแม่น้ำคงคาฝังโน้นถือเอาไม้กวาดสําหรับกวาดขยะทิ้งแล้วประชุมกันที่มหาวิหาร โบกปูนพระเจดีย์ออกพรรษาแล้วก็มาประชุมกันที่โลหประสาท ทําวัตรอยู่ในที่อันผาสุก ออกพรรษาแล้วก็มาสวดบาลีและอรรถกถาที่ตนช่ําชองแล้วที่โรงเรียนนิกายทั้ง ๕ ในโลหปราสาท. พิจารณาถึงภิกษุที่เรียนบาลีหรืออรรถกถาผิดพลาดว่า ท่านเรียนในสํานักใครให้ยึดถือไว้ให้ตรง. ฝ่ายภิกษุที่อยู่ในแม่น้ำคงคาอีกฝ่ายหนึ่งก็ประชุมกันในติสสมหาวิหาร บรรดาภิกษุที่ประชุม ๒ เวลาอย่างนี้ ภิกษุเหล่าใดเรียนกัมมัฏฐานก่อนเข้าพรรษาไปแล้วกลับมาบอกคุณวิเศษ ท่านหมายเอาภิกษุเห็นปานนั้นจึงกล่าวว่า ปุพฺเพ ภนฺเต วสฺสํ วุตฺถา เป็นต้น.
บทว่า มโนภาวนีเย ได้แก่ ให้เจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยใจ อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดเจริญเพิ่มพูนมโนมนะ ลอยกิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นเสีย ภิกษุเห็นปานนั้น. ได้ยินว่า พระเถระถึงพร้อมด้วยวัตร พบภิกษุแก่ก็แข็ง ไม่ยอมนั่ง ออกไปต้อนรับ รับร่ม บาตรจีวรและเคาะตั่งถวาย เมื่อท่านนั่งในที่นั้นแล้วก็ทําวัตร จัดเสนาสนะถวาย พบภิกษุใหม่ก็นิ่งยังไม่นั่ง เข้าไปหาใกล้ๆ พระเถระนั้น ปราศจากความไม่เสื่อมแห่งวัตรปฏิบัตินั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดําริว่า อานนท์ คิดว่าเราจักไม่ได้พบภิกษุที่น่าเจริญใจ เอาเถอะ เราจักบอกสถานที่จะพบภิกษุผู้น่าเจริญใจแก่เธอ ที่เธออยู่ไม่ต้องเทียวไปเทียวมา ก็จักได้พบเหล่าภิกษุที่น่าเจริญใจได้ ดังนี้ แล้วจึงตรัสว่า จตฺตาริมานิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธสฺส ความว่า วัตรทั้งหมดมีเจติยังคณวัตร เป็นต้น ที่เธอทําตั้งแต่เช้าย่อมปรากฏแก่กุลบุตรผู้มีจิตเลื่อมใสใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 427
พระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร. บทว่า ทสฺสนียานิ ได้แก่ ควรจะเห็น คือควรไปเพื่อจะเห็น. บทว่า สํ เวชนียานิ ได้แก่ ให้เกิดสลดใจ. บทว่า านานิ ได้แก่ เหตุหรือถิ่นสถาน. คําว่า เย หิ เกจิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงการจาริกไปในเจดีย์มีประโยชน์. บรรดาบทเหล่านั้นด้วย บทว่า เจติยจาริกํอาหิณฺฑนฺตา ท่านแสดงว่า ก่อนอื่น ภิกษุเหล่าใดกวาดลานพระเจดีย์ในที่นั้นๆ ชําระอาสนะ รดน้ำที่ต้นโพธิ์แล้วเที่ยวไป ในภิกษุเหล่านั้นไม่จําต้องกล่าวถึงเลย. เหล่าภิกษุที่ออกไปจากวัดด้วยคิดว่าจักไปไหว้พระเจดีย์ในวัดโน้น มีจิตเลื่อมใส แม้กระทํากาละในระหว่างๆ ก็จักบังเกิดในสวรรค์โดยไม่มีอันตรายเลย.
ด้วยบทว่า อทสฺสนํ อานนฺท ทรงแสดงว่า การไม่เห็นมาตุคามเสียได้เลยเป็นข้อปฏิบัติธรรมอันสมควรในข้อนี้ จริงอยู่ ภิกษุเปิดประตูนั่งบนเสนาสนะ ตราบใดที่ไม่เห็นมาตุคามที่มายืนอยู่ที่ประตู ตราบนั้นภิกษุนั้นย่อมไม่เกิดโลภ จิตไม่หวั่นไหวโดยส่วนเดียวเท่านั้น. แต่เมื่อยังเห็นอยู่ แม้ทั้ง ๒ อย่างนั้นก็พึงมี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อทสฺสนํอานนฺท ด้วยบทว่า ทสฺสเน ปน ภควา สติ กถํ พระอานนท์ทูลถามว่า เมื่อการเห็นในที่ๆ ภิกษุเข้าไปรับภิกษาเป็นต้น ภิกษุจะพึงปฏิบัติอย่างไร. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุรุษผู้ยืนถือมีดด้วยกล่าวว่า ถ้าท่านพูดกับเราๆ จะตัดศีรษะท่านเสียในที่นี้แหละ หรือนางยักษิณียืนพูดว่า ถ้าท่านพูดกับเราๆ จะแล่เนื้อท่านเคี้ยวกินเสียในที่นี้ นี่แหละยังจะดีกว่า เพราะความพินาศเหตุมีข้อนั้นเป็นปัจจัย ย่อมมีได้อัตตภาพเดียวเท่านั้น ไม่ต้องเสวยทุกข์ที่กําหนดไม่ได้ในอบายทั้งหลาย ส่วนเมื่อมีการเจรจาปราศรัยกับมาตุคามอยู่ ความคุ้นก็มี เมื่อมีความคุ้น ช่องทางก็มี ภิกษุผู้มีจิตถูกราคะครอบงําก็ถึงความพินาศแห่งศีล ต้องไปเต็มอยู่ในอบาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนาลาโป ดังนี้. สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 428
บุคคลพึงพูดกับบุคคลผู้มีดาบในมือ กับปีศาจ นั่งชิดกับอสรพิษ ผู้ที่ถูกคนมีดาบ ปีศาจ อสรพิษกัดแล้ว ย่อมไม่มีชีวิต ภิกษุพูดกับมาตุคามสองต่อสอง ก็ไม่มีชีวิตเหมือนกัน.
บทว่า อาลปนฺเน ปน ความว่า ถ้ามาตุคามถามวันขอศีล ใคร่ฟังธรรม ถามปัญหา ก็หรือมีกิจกรรมที่บรรพชิตจะพึงทําแก่มาตุคามนั้น มาตุคามนั้นก็จะพูดกะภิกษุผู้ไม่พูดในเวลาเห็นปานนี้ว่า ภิกษุองค์นี้เป็นใบ้ หูหนวก ฉันแล้วก็นั่งปากแข็ง เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงพูดโดยแท้. ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า พระเจ้าข้า ภิกษุเมื่อพูดอย่างนี้ จะพึงปฏิบัติอย่างไร. ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาพระโอวาทที่ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงตั้งจิตคิดว่ามารดาในสตรีปูนมารดา ตั้งจิตคิดว่าพี่สาวในสตรีปูนพี่สาว ตั้งจิตคิดว่าลูกสาวในสตรีปูนลูกสาว จึงตรัสว่า อานนท์ พึงตั้งสติไว้.
บทว่า อพฺยาวฏาได้แก่ ไม่เกี่ยวพัน ไม่ขวนขวาย. บทว่า สทตฺเถฆฏถ ได้แก่ พยายามในพระอรหัตอันเป็นประโยชน์สูงสุด. บทว่า อนุยฺุชถ ได้แก่ จงประกอบเนืองๆ เพื่อบรรลุพระอรหัตนั้น. บทว่า อปฺปมตฺตา ได้แก่ ไม่อยู่ปราศจากสติ. ชื่อว่าผู้มีเพียร เพราะประกอบด้วยธรรมเครื่องย่างกิเลสคือความเพียร ชื่อว่ามีตนส่งไป คือ มีจิตส่งไปอยู่ เพราะเป็นผู้ไม่อาลัยในกายและชีวิต. ด้วยบทว่า กถํ ปน ภนฺเต ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ชนเหล่านั้นมีกษัตริย์บัณฑิตเป็นต้น จะพึงปฏิบัติอย่างไร เขาจักสอบถามข้าพระองค์แน่แท้ว่า ท่านอานนท์ เราจะพึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร ข้าพระองค์จะให้คําตอบแก่เขาอย่างไร. บทว่า อหเตน วตฺเถน ได้แก่ ผ้าใหม่ที่ทําในแคว้นกาสีไม่ซึมน้ำมันเพราะเนื้อละเอียด แต่ผ้าสําลีซึม เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิหเตน กปฺปาเสน. บทว่า อยสาย ได้แก่ รางทอง. ก็รางทอง ท่านประสงค์เอาว่า อยสํ ในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 429
ถามว่า ในคําว่า ราชา จกฺกวตฺติ เหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตการสร้างสถูปแก่พระราชาผู้อยู่กลางเรือนสวรรคตแล้ว ไม่ทรงอนุญาตสําหรับภิกษุผู้มีศีล. ตอบว่า เพราะไม่อัศจรรย์. แท้จริง เมื่อทรงอนุญาตสถูปสําหรับภิกษุปุถุชน ก็ไม่พึงมีโอกาสสําหรับสถูปทั้งหลายในเกาะสีหล ถึงในที่อื่นๆ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สถูปเหล่านั้นไม่อัศจรรย์เพราะเหตุนั้นจึงไม่ทรงอนุญาต. พระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดพระองค์เดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นสถูปของพระองค์จึงอัศจรรย์. ส่วนสําหรับภิกษุปุถุชนผู้มีศีลจะทําสักการะแม้อย่างใหญ่ อย่างภิกษุผู้ปรินิพพานก็ควรเหมือนกัน.
ส่วนโรงกลม ท่านประสงค์เอาว่าวิหารในคําว่าวิหารนี้. เข้าไปสู่วิหารนั้น. บทว่า กปิสีสํ ได้แก่ ไม้กลอนที่ตั้งอยู่ในที่ปลายเท้าแขนประตู. บทว่า โรทมาโน อฏฺาสิ ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระอานนท์คิดว่า พระศาสดาตรัสสถานที่อยู่ซึ่งให้เกิดความสังเวชแก่เรา ตรัสการจาริกไปในเจดีย์ว่ามีประโยชน์ ตรัสตอบปัญหาเรื่องที่จะพึงปฏิบัติในมาตุคาม ตรัสบอกการปฏิบัติในสรีระของพระองค์ ตรัสถูปารหบุคคล ๘ จําพวก วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแน่. เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้วก็เกิดโทมนัสอย่างรุนแรง. ครั้งนั้น ท่านปริวิตกอย่างนี้ว่า ชื่อว่า การร้องไห้ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ผาสุก เราจักไปในที่ส่วนหนึ่ง บรรเทาความโศกให้เบาบาง. ท่านได้ทําเหมือนอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พระอานนท์ยืนร้องไห้. บทว่า อทฺจ วตมฺหิ ตัดเป็น อหฺจ วต อมฺหิ. ปาฐะว่า อหํ วตมฺหิ ดังนี้ก็มี. บทว่า โย มมอนุกมฺปโก แปลว่า ผู้ใดอนุเคราะห์สั่งสอนเรา. พูดกันมาว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ เดี๋ยวนี้ เราจักถวายน้ำสําหรับล้างพระพักตร์แก่ใครจะล้างพระบาทแก่ใคร จักปฏิบัติเสนาสนะแก่ใคร จักรับบาตรและจีวรของใคร จาริกไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 430
บทว่า อามนฺเตสิ ได้แก่ ไม่เห็นพระเถระในระหว่างจึงตรัสเรียก. บทว่า เมตฺเตน กายกมฺเมน ได้แก่ ด้วยกายกรรม มีอันถวายน้ำล้างพระพักตร์เป็นต้น ที่ปฏิบัติไปด้วยอํานาจจิตมีเมตตา. บทว่า หิเตน ได้แก่ อันกระทําไปเพื่อความเจริญแห่งประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า สุเขน ได้แก่ อันกระทําไปด้วยอํานาจสุขกาย สุขใจ. อธิบายว่า ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจ. บทว่า อทฺวเยน ได้แก่ ไม่กระทําให้เป็น ๒ ส่วน. ท่านอธิบายว่า ทําต่อหน้าไม่ทําลับหลังอย่างหนึ่ง ทําลับหลังไม่ทําต่อหน้าอย่างหนึ่ง ทําไม่แบ่งแยกอย่างนั้น. บทว่า อปฺปมาเณน ได้แก่ เว้นจากประมาณ. ทรงแสดงว่าจริงอยู่ แม้จักรวาลคับแคบนัก แม้ภวัคคพรหมก็ต่ํานัก เพราะกายกรรมที่ท่านทํามา. บทว่า เมตฺเตน วจีกมฺเมน ได้แก่ วจีกรรม มีบอกเวลาล้างพระพักตร์เป็นต้น ที่ปฏิบัติไปด้วยอํานาจจิตมีเมตตา. อีกอย่างหนึ่ง แม้ฟังโอวาทแล้วทูลว่า สาธุ ภนฺเต ดีละ พระเจ้าข้า. จัดเป็นเมตตาวจีกรรมเหมือนกัน. บทว่า เมตฺเตน มโนกมฺเมน ความว่า ด้วยมโนกรรมที่ปฏิบัติแต่เช้าตรู่ แล้วนั่งบนอาสนะอันสงัดแล้วปฏิบัติอย่างนี้ว่า ขอพระศาสดาจงเป็นผู้ไม่มีโรค ไม่มีทุกข์เบียดเบียน จงเป็นสุขเถิด. ด้วยคําว่า กตปฺุโสิ ทรงแสดงว่า ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร (บุญเก่า) ตลอดแสนกัป. ด้วยบทว่า กตปฺุโมฺหิ ทรงแสดงว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธออย่าวางใจประมาท โดยที่แท้จงประกอบความเพียรเนืองๆ เธอประกอบความเพียรเนืองๆ อย่างนี้แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน จักบรรลุพระอรหัตในเวลาสังคายนาธรรม ก็การปรนนิบัติที่เธอกระทําแก่พระพุทธเจ้าเช่นเราชื่อว่าไร้ผลหามิได้. ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงเริ่มพรรณนาคุณของพระอานนท์ประหนึ่งแผ่ไปทั่วมหาปฐพี ประหนึ่งแผ่ไปทั่วอวกาศ ประหนึ่งยกสู่ยอดจักรวาลคีรี ประหนึ่งยกสิเนรุบรรพต ประหนึ่งจับต้นหว้าใหญ่เขย่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 431
ในพระบาลีนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เยปิเต ภิกฺขเว เอตรหิ. เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ไม่มี. แต่พึงทราบคํานั้นโดยพระบาลีนี้ว่า พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ แม้ในระหว่างแห่งจักรวาลไม่มีฉันใด. บทว่า ปณฺฑิโต แปลว่า เฉียบแหลม. บทว่า กุลโล ได้แก่ ฉลาดในธรรม มีขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นต้น.
บทว่า ภิกฺขุปริสา อานนฺทํ ทสฺสนาย ความว่า ชนเหล่าใดประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าไปหาพระเถระ และชนเหล่าใดมาได้ยินคุณของพระเถระว่า ได้ยินว่าท่านพระอานนท์น่าเลื่อมใสรอบด้าน งามน่าชม เป็นพหูสูต ผู้งามในสงฆ์ ท่านหมายเอาชนเหล่านั้นจึงกล่าวว่า ภิกษุบริษัทเข้าไปพบพระอานนท์. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อตฺตมนา ชื่อว่า มีใจเป็นของตน คือมีจิตยินดีเพราะเห็นสมด้วยการฟังมา. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือ ปฏิสันถารเห็นปานนี้ว่า ผู้มีอายุพอทนได้หรือ พอเป็นไปได้หรือ เธอจงทํากิจในโยนิโสมนสิการ จงบําเพ็ญอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตร. ในธรรมคือปฏิสันถารนั้นมีการกระทําที่ต่างกันในภิกษุณีทั้งหลายดังนี้ว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ๔ พวก ท่านสมาทานประพฤติครุธรรม ๘ บ้างละหรือ. เมื่ออุบาสกทั้งหลายมาไม่กระทําปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านไม่เจ็บปวดศีรษะหรืออวัยวะบ้างหรือ. แต่จะกระทําปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านอุบาสกทั้งหลาย สรณะ ๓ เป็นอย่างไร ท่านรักษาศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถเดือน ๘ ครั้ง จงกระทําวัตรคือการบํารุงมารดาบิดา จงปฏิบัติสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม. ในอุบาสิกาทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน.
บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทําข้อเปรียบเทียบกับพระเจ้าจักรพรรดิสําหรับพระอานนทเถระ. จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขตฺติยา ได้แก่ ชาติกษัตริย์ผู้ได้รับมุรธาภิเษก และมิได้รับมุรธา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 432
ภิเษก. ได้ยินว่า กษัตริย์เหล่านั้น สดับคําพรรณนาคุณของจักรพรรดินั้นว่า ธรรมดาว่าพระเจ้าจักรพรรดิงาม น่าชม น่าเลื่อมใส สัญจรไปได้ทางอากาศ เถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ดังนี้ ย่อมดีใจ ในเมื่อได้เห็นสมด้วยได้ยินพระคุณ. บทว่า ภาสติได้แก่ ทรงกระทําปฏิสันถารว่า พ่อเอย อย่างไรเรียกว่าบําเพ็ญราชธรรม อย่างไรเรียกว่ารักษาประเพณี. แต่ในพราหมณ์ทั้งหลาย ทรงกระทําปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านอาจารย์อย่างไรชื่อว่าสอนมนต์ เหล่าศิษย์ก็เรียนมนต์ พวกท่านจงทําทักษิณา ผ้า หรือโคแดง. ในคฤหบดีทั้งหลายทรงทําปฏิสันถารอย่างนี้ว่า พ่อเอย พวกท่านไม่ถูกเบียดเบียนด้วยอาชญา หรือด้วยภาษีอากรจากพระราชามีบ้างหรือ ฝนตกต้องตามฤดูกาลไหม ข้าวกล้าสมบูรณ์ไหม. ในสมณะทั้งหลาย ก็ทรงทําปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า บริขารสําหรับบรรพชิตหาได้ง่ายไหม พวกท่านอย่าประมาทในสมณธรรม.
บทว่า ขุทฺทกนครเก ได้แก่ นครเล็ก ที่คับแคบ เป็นนครที่ยังต้องพัฒนา. บทว่า อุชฺชงฺคลนครเก ได้แก่ นครที่มีพื้นไม่เรียบ. บทว่า สาขนครเก ได้แก่ นครเล็กเสมือนกิ่งของนครใหญ่อื่น เหมือนกิ่งเล็กๆ ของต้นไม้ทั้งหลายฉะนั้น. บทว่า ขตฺติยมหาสาลา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ผู้เป็นขัตติยมหาศาล. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. บรรดามหาศาลเหล่านั้น ที่ชื่อว่าขัตติยมหาศาลได้แก่ เหล่ากษัตริย์ที่เก็บทรัพย์ไว้ร้อยโกฏิบ้าง พันโกฏิบ้าง จ่ายกหาปณประจําวันออกไปวันละ ๑ เล่มเกวียน ตกเย็นกหาปณะรับเข้าวันละ ๒ เล่มเกวียน. ที่ชื่อว่าพราหมณมหาศาลได้แก่ เหล่าพราหมณ์ที่เก็บทรัพย์ไว้แปดสิบโกฏิ จ่ายกหาปณะไปวันละ ๑ กุมภะ ตกเย็นรับเข้าวันละ ๑ เล่มเกวียน. ที่ชื่อว่าคฤหบดีมหาศาลได้แก่ เหล่าคฤหบดีที่เก็บทรัพย์สมบัติไว้ ๔๐ โกฏิ จ่ายกหปณะประจําวันๆ ละ ๕ อัมพณะ ตกเย็นรับเข้าวันละ ๑ กุมภะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 433
บทว่า มา เหวํ อานนฺท อวจ ได้แก่ อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่ควรพูดว่านี่นครเล็ก ความจริงเราตถาคตมาที่นครนี้ด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ ยืน นั่ง หลายครั้ง ก็เพื่อจะกล่าวถึงสมบัติของนครนี้โดยแท้ แล้วจึงตรัสว่า ภูตปุพฺพํ เป็นต้น.
บทว่า สุภิกฺขา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยของเคี้ยวและของกิน. บทว่า หตฺถิสทฺเทน ความว่า เมื่อช้างเชือกหนึ่งร้องขึ้น ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกก็ร้องตาม ดังนั้น กุสาวดีราชธานี จึงไม่สงัดจากเสียงช้าง. จากเสียงม้าก็เหมือนกัน. ก็สัตว์ทั้งหลายในราชธานีนี้มีบุญ มีรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว ตามกันและกันสัญจรไปในระหว่างถนน ฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดด้วยเสียงรถ. อนึ่งดุริยางค์ มีกลองเป็นต้น ในนครนั้นก็ย่ํากันอยู่เป็นนิตย์. ดังนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดจากเสียงกลองเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมสทฺโท ได้แก่ เสียงกังสดาล. บทว่า ตาลสทฺโท ได้แก่ เสียงตาลที่เคาะด้วยมือและตาลรางสี่เหลี่ยม. บางอาจารย์กล่าวว่า กูฏเภริสทฺโท เสียงกลองกูฏ ดังนี้ก็มี. บทว่า อสถ ปิวถ ขาทถ แปลว่า จงกิน จงดื่ม จงเคี้ยว. ก็ในเรื่องนี้มีความสังเขปดังนี้. กุสาวดีราชธานีไม่สงัดจากเสียงที่สิบนี้ว่า เชิญบริโภคเถิดท่านผู้เจริญ มีเสียงไม่ขาดเลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในนครอื่นๆ มีเสียงเห็นปานนี้ว่า พวกเจ้าจงทิ้งหยากเยื่อ จงถือจอบ จงถือกระเช้า เราจักไปแรมคืน พวกเจ้าจงถือห่อข้าวสาร จงถือห่อข้าวสุก จงให้จัดโล่และอาวุธดังนี้ฉันใด ในกุสาวดีนี้หามีเสียงเห็นปานนี้ฉันนั้นไม่. ก็แลครั้นตรัสว่าจากเสียงที่สิบ ดังนี้แล้ว ทรงจบมหาสุทัสสนสูตรทั้งหมดว่า ดูก่อนอานนท์ กุสาวดีราชธานีล้อมรอบด้วยกําแพง ๗ ชั้นแล้ว จึงตรัสว่า คจฺฉ ตฺวํ อานนฺท ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 434
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกมถ ความว่า พวกท่าน จงก้าวมาข้างหน้า. ถามว่า ก็พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินาราไม่ทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดอกหรือ. ตอบว่า ทรงทราบ. ธรรมดาว่า ในสถานที่ๆ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปๆ ย่อมโกลาหลมากทั้งที่ยังไม่เสด็จมา ก็เพราะทรงประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพวกเจ้ามัลละเหล่านั้น มาแล้วจักต้องจัดโอกาสที่ยืนที่นั่งถวายแก่ภิกษุสงฆ์ จึงส่งพระอานนท์ไปที่สํานักของเจ้ามัลละเหล่านั้น แม้ในเวลาอันไม่ควร. โน อักษรในคําว่า อมฺหากํ จ โน นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อฆาวิโน ได้แก่ กุลทุกข์. บทว่า เจโตทุกฺขสมปฺปิโต ได้แก่ ผู้เปียมด้วยโทมนัส. บทว่า กุลปริวตฺตโส กุลปริวตฺตโส เปตฺวา ความว่า พวกเจ้ามัลละเป็นตระกูลๆ คือสังเขปว่า ตระกูล เป็นส่วนๆ โดยอยู่ถนนเดียวกันและตรอกเดียวกัน.
บทว่า สุภทฺโท นาม ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพพาชกผู้นุ่งห่มผ้าจากตระกลอุทิจจพราหมณมหาศาล. บทว่า กงฺขาธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือความเคลือบแคลง. ถามว่าก็เพราะเหตุไร สุภัททปริพพาชกนั้นจึงมีความคิดอย่างนี้ในวันนี้. ตอบว่า เพราะมีอุปนิสัยอย่างนั้น. ได้ยินว่า แต่ก่อนได้มีพี่น้อง ๒ คน ในการบําเพ็ญบุญ. พี่น้อง ๒ คนนั้นได้กระทําข้าวกล้าร่วมกัน ใน ๒ คนนั้น พี่ชายคิดว่าเราจักถวายทานข้าวกล้าอันเลิศปีละ ๙ ครั้ง. ฤดูหว่าน ถวายเมล็ดอันเลิศ. ในฤดูข้าวตั้งท้องปรึกษากับน้องชายว่าจักผ่าท้องกล้าถวาย. น้องชายบอกว่า พี่ต้องการจะให้ข้าวกล้าอ่อนพินาศไปหรือ. พี่ชายรู้ว่าน้องชายไม่ยินยอม จึงแบ่งนากัน ผ่าท้องข้าวจากส่วนของตน คั้นน้ำนม ปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย. ในฤดูเป็นข้าวเม่าก็ให้กระทําข้าวเม่าถวาย. ในเวลาเกี่ยวก็ให้ถวายข้าวอันเลิศ. ในเวลามัดขะเน็ดก็ได้ถวายข้าวอันเลิศในเวลาทําขะเน็ด. ในเวลาทําเป็นฟ่อนเป็นต้น ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศเวลาทํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 435
ฟ่อน ข้าวอันเลิศขณะขนไว้ในลาน ข้าวอันเลิศขณะนวด ข้าวอันเลิศในขณะอยู่ในฉาง. ได้ถวายทานเลิศในข้าวกล้าปีละ ๙ ครั้ง ดังกล่าวมาฉะนี้. ส่วนน้องชายเสร็จทํานาแล้วจึงจะถวาย. ในพี่น้อง ๒ คนนั้น พี่ชายเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญเถระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า เราจะพึงแสดงธรรมโปรดแก่ใครก่อนหนอ จึงทรงพระดําริว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ถวายทานอันเลิศในข้าวกล้าปีละ ๙ ครั้ง เราจักแสดงธรรมอันเลิศนี้แก่เขา จึงทรงแสดงโปรดก่อนคนอื่นทั้งหมด. ท่านดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับพรหม ๑๘ โกฏิ. ส่วนน้องชายล่าช้า คิดได้อย่างนี้ในเวลาพระศาสดาปรินิพพานเพราะถวายทานในภายหลัง จึงได้เป็นผู้มีความประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา.
บทว่า มา ภควนฺตํ วิเหเสิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เห็นแก่ตัวทั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมากๆ เพื่อประโยชน์แก่การแก้ปัญหานั้น ก็จักทรงลําบากทั้งทางกายและวาจา ด้วยว่า โดยปกติพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงลําบากอยู่แล้วจึงกล่าวอย่างนี้. ปริพพาชกก็ตามใจพระเถระด้วยคิดว่า ภิกษุรูปนี้ ไม่ให้โอกาสแก่เราผู้ต้องการประโยชน์ ก็ได้แต่ตามใจ จึงกล่าว ๒ - ๓ ครั้ง. บทว่า อสฺโสสิ โขความว่า เมื่อพระเถระยืนพูดอยู่ใกล้ประตูม่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ยินด้วยพระโสตตามปกติ. ก็แลครั้นแล้วจึงตรัสว่า อลํ อานนฺท เป็นต้น เพราะพระองค์เสด็จมาด้วยอุตสาหะอันใหญ่เพื่อโปรดสุภัททะนั่นแล. ศัพท์ว่า อลํ ในคําว่า อลํ อานนฺท นั้น เป็นนิบาต. ได้ในอรรถว่า ปฏิเสธ. บทว่า อฺาเปกฺโข ว แปลว่า เป็นผู้ใคร่จะรู้.
บทว่า อพฺภฺีสุ ได้แก่ รู้อย่างที่เจ้าลัทธิเหล่านั้นปฏิญญา. ท่านอธิบายว่า ปฏิญญานั้นของเจ้าลัทธิเหล่านั้นเป็นนิยยานิกะไซร้ พวกเขาทั้งหมดก็รู้ทั่วถึง ถ้าปฏิญญาของพวกเขาไม่เป็นนิยยานิกะไซร้ พวกเขาก็ไม่รู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 436
เพราะฉะนั้น ปฏิญญาของเจ้าลัทธิเหล่านั้น เป็นนิยยานิกะหรือไม่เป็นนิยยานิกะ. ใจความของปัญหานั้น มีอย่างนี้เท่านั้น. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธว่า อย่าเลย เพราะไม่เป็นฐานะอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีโอกาสอย่างหนึ่ง ด้วยการตรัสถึงความที่ปฏิญญาของเจ้าลัทธิเหล่านั้นไม่เป็นนิยยานิกะ จึงทรงแสดงธรรมอย่างเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระพุทธประสงค์ว่าจักทรงแสดงธรรมโปรดพวกเจ้ามัลละตอนปฐมยาม แสดงธรรมโปรดสุภัททะตอนมัชฌิมยาม สอนภิกษุสงฆ์ตอนปัจฉิมยาม เสด็จปรินิพพานในเวลาใกล้รุ่ง.
บทว่า สมโณปิ ตตฺถ น อุปลพฺภติ ความว่า ในธรรมวินัยนั้นไม่มีแม้สมณะที่ ๑ คือพระโสดาบัน แม้สมณะที่ ๒ คือพระสกทาคามี แม้สมณะที่ ๓ คือพระอนาคามี แม้สมณะที่ ๔ คือพระอรหันต์ ก็ไม่มีในธรรมวินัยนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยไม่กําหนดเทศนาเบื้องต้น บัดนี้ เมื่อทรงกําหนดศาสนาของพระองค์จึงตรัสว่า อิมสฺมึ โข เป็นต้น. บทว่า สฺุาปรปฺปวาทา สมเณภิ ความว่า ปรัปปวาท (ลัทธิของเจ้าลัทธิอื่น) สูญว่างเปล่าจากสมณะ ๑๒ จําพวก คือ ผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่มรรค ๔ รวม ๔ จําพวก ผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จําพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จําพวก. บทว่า อิเม จ สุภทฺท ความว่า ภิกษุ ๑๒ จําพวกเหล่านี้. ในคําว่า สมฺมา วิหเรยฺยุํ พระโสดาบันบอกฐานะที่ตนบรรลุแก่ผู้อื่นทําผู้อื่นนั้นให้เป็นโสดาบันชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระสกทาคามีเป็นต้นก็นัยนี้. พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคกระทําแม้ผู้อื่นให้เป็นผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคก็ชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่เหลือก็นัยนี้. พระผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อโสดาปัตติมรรค กําหนดกัมมัฏฐานที่ตนคล่องแคล่ว กระทําแม้ผู้อื่นให้เป็นผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อโสดาปัตติมรรคก็ชื่อว่าอยู่โดยชอบ. ในพระผู้เริ่มวิปัสสนาเพื่อมรรคที่เหลือก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 437
นัยนี้. ท่านหมายเอาความข้อนี้จึงกล่าวว่า สมฺมา วิหเรยฺยํ. บทว่า อสฺุโโลโก อรหนฺเตหิ อสฺส ความว่า พึงไม่ว่างเว้นเหมือนป่าไม้อ้อ ป่าไม้แขม.
บทว่า เอกูนติํส วยสา ได้แก่ ทรงมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษาโดยวัย. คําว่า ยํ ในคําว่า ยํ ปริพฺพชฺชิํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กิํ กุสลานุเอสี ได้แก่ ทรงเสาะแสวงว่าอะไรเป็นกุศลท่านประสงค์สัพพัญุตญาณว่ากุศลคืออะไร ในคําว่า กิํ กุสลานุเอสี นั้น อธิบายว่า ทรงแสวงหาสัพพัญตญาณนั้น. ด้วยบทว่า ยโต อหํ ทรงแสดงว่า จําเดิมแต่กาลใด แต่ระหว่างนี้เราบวชมาเกิน ๕๐ พรรษา. บทว่า ายสฺส ธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมคืออริยมรรค. บทว่า ปเทสวตฺติ เป็นไปในประเทศคือแม้ในทางแห่งวิปัสสนา. บทว่า อิโต พหิทฺธา ภายนอกศาสนาของเรา. บทว่า สมโณปิ นตฺถิ แม้สมณะผู้บําเพ็ญวิปัสสนา ผู้อยู่ในทางแห่งวิปัสสนาไม่มี ท่านอธิบายว่า สมณะที่ ๑ แม้ที่เป็นโสดาบันไม่มี.
บทว่า เย เอตฺถ ความว่า เธอเหล่าใดอันพระศาสดาอภิเษกโดยอันเตวาสิกาภิเสกเฉพาะพระพักตร์ในพระศาสนานี้ เป็นลาภของเธอเหล่านั้น เธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว. ได้ยินว่าในลัทธิภายนอก อาจารย์พูดกับอันเตวาสิกผู้ใดว่าจงบรรพชาผู้นี้ จงโอวาทสั่งสอนผู้นี้ อันเตวาสิกผู้นั้นย่อมเป็นอันอาจารย์ตั้งไว้ในฐานะของตน เพราะฉะนั้น ข้อเหล่านี้ว่า จงบวชผู้นี้ จงโอวาทสั่งสอนผู้นี้ เป็นลาภของอันเตวาสิกผู้นั้น. สุภัททปริพาชกถือลัทธิภายนอกนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวแม้กะพระเถระอย่างนี้.
บทว่า อลตฺถ โข แปลว่า ได้แล้วอย่างไร. ได้ยินว่า พระเถระนําสุภัททะนั้นไปในที่แห่งหนึ่ง เอาน้ำจากคณโฑรดศีรษะบอกตจปัญจกกัมมัฏฐาน ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะแล้วให้สรณะแล้วนําไปยังสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าให้อุปสมบทแล้ว ตรัสบอกกัมมัฏ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 438
ฐาน. เธอรับกัมมัฏฐานไว้แล้ว อธิษฐานจงกรมในที่ส่วนหนึ่งแห่งอุทยาน พากเพียรพยายามชําระวิปัสสนา บรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งลง. ท่านหมายเอาอุปสมบทกรรมนั้นจึงกล่าวว่า อจิรูปสมฺปนฺโน โข ปน เป็นต้น. ก็ท่านพระสุภัททะนั้นได้เป็นปัจฉิมสักขีสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล. คําของพระสังคีติกาจารย์ว่า ในบรรดาสาวกเหล่านั้น รูปใดบรรพชาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังได้อุปสมบทเรียนกัมมัฏฐานบรรลุพระอรหัตก็ดี ได้แม้อุปสมบทเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังเรียนกัมมัฏฐานบรรลุอรหัตก็ดี เรียนแม้กัมมัฏฐานเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังบรรลุอรหัตก็ดี แม้ทุกรูปนั้นก็ชื่อว่าปัจฉิมสักขีสาวก. ส่วนท่านสุภัททะนี้บรรพชาอุปสมบทเรียนกัมมัฏฐานบรรลุพระอรหัต เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่.
จบกถาพรรณนาปัญจมภาณวาร.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงการประทานพระโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ที่ทรงเริ่มไว้นั้น จึงกล่าวคําว่า อถ โข ภควา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทสิโต ปฺตฺโต ความว่า ทั้งธรรมก็ทรงแสดงแล้วบัญญัติแล้ว ทั้งวินัยก็ทรงแสดงบัญญัติแล้ว. อธิบายว่า ชื่อว่าทรงบัญญัติ ได้แก่ทรงแต่งตั้งแล้ว. บทว่า โส โว มมจฺจเยน ได้แก่ ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายโดยที่เราล่วงไป.
จริงอยู่ เรายังเป็นอยู่นี้แลแสดงอุภโตวิภังควินัย พร้อมทั้งขันธกบริวารแก่เธอทั้งหลาย ในวัตถุที่จัดไว้ด้วยอํานาจกองอาบัติทั้ง ๗ ว่า นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก นี้อาบัติที่แก้ไขได้ นี้อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ นี้อาบัติที่เป็นโลกวัชชะ นี้เป็นปัณณัติวัชชะ นี้อาบัติออกได้ในสํานักบุคคล นี้อาบัติออก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 439
ได้ในสํานักคณะ นี้อาบัติออกได้ในสํานักสงฆ์. วินัยปิฎกแม้ทั้งสิ้นนั้น เมื่อเราปรินิพพานแล้วจักทํากิจของศาสดาของพวกท่านให้สําเร็จ. อนึ่ง เรายังเป็นอยู่นี้แหละ ก็จําแนกแยกแยะธรรมเหล่านี้แสดงสุตตันตปิฎกด้วยอาการนั้นว่า เหล่านี้สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ สุตตันตปิฎกแม้ทั้งสิ้นนั้นจักทํากิจแห่งศาสดาของท่านทั้งหลายให้สําเร็จ. อนึ่ง เรายังดํารงอยู่นี้แหละ จําแนกแยกแยะธรรมเหล่านี้คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ สัญเจตนา ๗ จิตต์ ๗ แม้ในจิตนั้น ธรรมเท่านี้ เป็นกามาวจร เท่านี้เป็นรูปาวจร เท่านี้เป็นอรูปาวจร เท่านี้เป็นธรรมเนื่องกัน เท่านี้เป็นธรรมไม่เนื่องกัน เท่านี้เป็นโลกิยะ เท่านี้เป็นโลกุตตระ แล้วแสดงอภิธรรมปิฎก เป็นสมันตปัฏฐาน ๒๔ ประดับมหาปัฏฐานอนันตนัยอภิธรรมปิฎกแม้ทั้งสิ้น เมื่อเราปรินิพพานแล้ว จักทํากิจแห่งศาสดาของเธอทั้งหลายให้สําเร็จ.
อนึ่ง พระพุทธวจนะนี้ทั้งหมดที่เราภาษิตแล้ว กล่าวแล้ว ตั้งแต่ตรัสรู้จนถึงปรินิพพานมีมากประเภทอย่างนี้ คือ ปิฎก ๓ นิกาย ๕ องค์ ๙ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์. พระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พันเหล่านี้ดํารงอยู่ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุเป็นอันมากอย่างนี้ว่า เราจักปรินิพพานผู้เดียว อนึ่ง เราบัดนี้ก็โอวาทสั่งสอนผู้เดียวเหมือนกัน เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พันเหล่านี้ก็จักโอวาทสั่งสอนท่านทั้งหลาย ทรงโอวาทว่าธรรม วินัย นั้นจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายเมื่อเราล่วงไป แล้ว เมื่อทรงย้ำแสดงจารีตในอนาคตกาล จึงตรัสว่า ยถา โขปน เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 440
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมกล่าวย่อมร้องเรียก. บทว่า นาเมน วา โคตฺเตน วา ได้แก่ นวกะพึงร้องเรียกโดยชื่ออย่างนี้ว่า ติสสะ นาคะ หรือโดยโคตรอย่างนี้ว่ากัสสปโคตร หรือโดยวาทะว่าอาวุโส อย่างนี้ว่า อาวุโสติสสะ อาวุโสกัสสปะ บทว่า ภนฺเตติวาอายสฺมาติวา ได้แก่ พึงเรียกอย่างนี้ว่า ภนฺเต ติสสะ อายฺสมา ติสสะ.
บทว่า สมูหนตุได้แก่ เมื่อจํานงอยู่ จงถอน. อธิบายว่า ผิว่าปรารถนา ก็พึงถอนเสีย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสโดยส่วนเดียวว่า จงถอนเสีย แต่ตรัสด้วยคําเป็นวิกัป. ตอบว่า เพราะทรงเห็นกําลังของมหากัสสปะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นว่า เมื่อตรัสว่า จงถอนเสีย พระมหากัสสปะจักไม่ถอนในเวลาทําสังคายนา เพราะฉะนั้น จึงตรัสไว้ด้วยคําเป็นวิกัป นั่นและ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ มาในปัญจสติกสังคีติโดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาพระเถระเหล่านั้นพระเถระบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เสีย นอกนั้นก็เป็นอาบัติเล็กน้อยๆ. ก็การวินิจฉัยในเรื่องอาบัติเล็กๆ น้อยๆ นี้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาชื่อสมันตปาสาททิกา.
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระนาคเสนรู้จักอาบัติเล็กๆ น้อยเพราะถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ท่านพระนาคเสน อาบัติเล็กเป็นอย่างไร อาบัติน้อยเป็นอย่างไร? ทูลตอบว่า มหาบพิตร ทุกกฏเป็นอาบัติเล็ก ทุพภาษิตเป็นอาบัติน้อย. ส่วนพระมหากัสสปะเถระ เมื่อไม่รู้อาบัติเล็กอาบัติน้อยนั้นจึงประกาศว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบททั้งหลายของพวกเราที่เป็นส่วนของคฤหัสถ์ก็มีอยู่ แม้คฤหัสถ์ทั้งหลายก็รู้ว่า ข้อนี้ควรแก่ท่านทั้งหลายที่เป็นสมณสักยบุตร ข้อนี้ไม่ควรแก่ท่านทั้งหลายที่เป็นสมณสักยบุตรถ้าเราจะถอนสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เสีย ผู้คนทั้งหลายก็จักว่ากล่าวเอาได้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 441
สิกขาบทที่พระสมณโคดมบัญญัติเอาไว้แก่สาวกทั้งหลายอยู่ได้ชั่วควันไฟ สาวกเหล่านี้ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบเท่าที่ศาสดายังดํารงอยู่ เพราะศาสดาของสาวกเหล่านี้ปรินิพพานเสียแล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติในข้อที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนในข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว นี้เป็นญัตติ. ท่านประกาศกรรมวาจาดังกล่าวมานี้. ข้อนั้นไม่ควรถืออย่างนี้ ก็ท่านพระนาคเสนกล่าวไว้อย่างนั้น ด้วยประสงค์จะไม่ให้ปรวาที (ฝ่ายตรงกันข้าม) มีโอกาส. ท่านพระมหากัสสปเถระประกาศกรรมวาจานี้ก็ด้วยประสงค์จะไม่เพิกถอนอาบัติเล็กๆ น้อยๆ แล. แม้เรื่องพรหมทัณฑ์ท่านก็วินิจฉัยไว้แล้วในอรรถกถาวินัยชื่อสมันตปาสาทิกา เพราะมาแล้วในบาลีสังคีติ.
บทว่า กงฺขา คือ ทางสองแพร่ง. บทว่า วิมติ คือ ไม่สามารถจะวินิจฉัยได้. ความสังเขปในข้อนี้อย่างนี้ว่า ผู้ใดพึงบังเกิดความสงสัยว่า เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ใช่พระพุทธเจ้าหนอ เป็นพระธรรมหรือไม่ใช่พระธรรมหนอ เป็นพระสงฆ์หรือไม่ใช่พระสงฆ์หนอ เป็นมรรคหรือมิใช่มรรคหนอ เป็นปฏิปทาหรือไม่ใช่ปฏิปทาหนอ เราจะกล่าวข้อนั้นแก่เธอทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงถามดังนี้. บทว่า สตฺถุคารเวนาปิ น ปุจฺเฉยฺยาถ ความว่า ถ้าพวกเธอไม่ถามด้วยความเคารพในศาสดาอย่างนี้ว่า พวกเราบวชในสํานักของพระศาสดา แม้ปัจจัย ๙ ก็เป็นของพระศาสดาของพวกเราเหล่านั้น ก็ไม่ควรจะทําความสงสัยตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ในวันนี้ ไม่ควรจะทําความสงสัยในกาลภาคหลัง. บทว่า สหายโกปิ ภิกฺขเว สหายกสฺส อาโรเจตุ ทรงแสดงว่า บรรดาท่านทั้งหลาย ผู้ใดเห็นคบกันแล้วกับภิกษุใด ผู้นั้นจงบอกภิกษุนั้นว่า ข้าพเจ้าจะบอกแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายฟังคําภิกษุนั้นแล้วจักหมดความสงสัยทุกรูป. บทว่า เอวํ ปสนฺโน ความว่า ข้าพเจ้าเชื่ออย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 442
นี้. บทว่า าณเมว ความว่า กระทําความเป็นผู้หมดความสงสัยให้ประจักษ์ ชื่อว่าความรู้นั่นแลของตถาคตในข้อนี้ มิใช่เพียงความเชื่อ. บทว่า อิเมสฺหิอานนฺท ความว่า บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปที่นั่งอยู่ภายในม่านเหล่านี้. บทว่า โยปจฺฉิมโก ความว่า ภิกษุใดต่ําสุดโดยคุณ. ท่านกล่าวหมายถึงพระอานนท์เถระเท่านั้น. บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ความว่า จงยังกิจทั้งปวงให้สําเร็จด้วยความไม่ไปปราศจากสติ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมที่เตียงปรินิพพาน ประทานพระโอวาทที่ประทานมา ๔๕ พรรษา รวมลงในบทคือความไม่ประมาทอย่างเดียวเท่านั้น. ก็คํานี้ว่า ปจฺฉิม วาจา เป็นคําของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย ต่อแต่นี้ไป เพื่อจะแสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําบริกรรมในพระปรินิพพาน จึงกล่าวคํามีอาทิว่า อถ โข ภควาปมชฺฌานํ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพุโต ภนฺเต ความว่า ท่านพระอานนท์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ ไม่มีอัสสาสปัสสาสะ จึงถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ. ท่านพระอนุรุทธตอบว่า ยังผู้มีอายุ. พระเถระทราบเรื่อง. ได้ยินว่า พระเถระเข้าสมาบัตินั้นๆ พร้อมกับพระศาสดานั่นแล จึงรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วดําเนินไป บัดนี้ เข้านิโรธสมาบัติ ชื่อว่าการทํากาละในภายในนิโรธสมาบัติไม่มี.
ในพระบาลีนี้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าเนวสัญญานาสัญญาตนะ ฯลฯ ออกจากตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ ทุติยฌานในฐานะ ๑๓ ตติยฌานก็เหมือนกัน เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕. เข้าอย่างไร. คือเข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ เหล่านี้ มีอสุภะ ๑๐ อาการ ๓๒ กสิณ ๘ เมตตา กรุณา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 443
มุติตา อานาปานสติปริจเฉทากาส เป็นต้น. แต่เว้นอาการ ๓๒ และอสุภะ ๑๐ เข้าทุติยฌานในฐานะที่เหลือ ๑๓ และเข้าตติยฌานในฐานะ ๑๓ นั้นเหมือนกัน. อนึ่ง เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕ เหล่านี้ คือกสิณ ๘ อุเบกขาพรหมวิหาร อานาปานสติ ปริจเฉทากาส อรูป ๔. กล่าวโดยสังเขปเท่านี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมสามี เสด็จเข้าพระนครคือปรินิพพาน เสด็จเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ยี่สิบสี่แสนโกฏิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปต่างประเทศกอดคนที่เป็นญาติฉะนั้น.
ในคํานี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลําดับมาเสด็จปรินิพพาน คือ ในลําดับทั้ง ๒ คือ ในลําดับแห่งฌาน ในลําดับแห่งปัจจเวกขณญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลําดับ ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้วพิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ. แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต ที่เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ. สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก อย่างต่ํา มดดํา มดแดง ต้องกระทํากาละด้วยภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล. เรื่องแผ่นดินใหญ่ไหวเป็นต้น มีนัยดังกล่าวไว้แล้วแล.
บทว่า ภูตา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล ได้แก่ ปราศจากบุคคลที่เปรียบเทียบได้. บทว่า พลปฺปตฺโต คือ ผู้ถึงพลญาณ ๑๐. บทว่า อุปฺปาทวยธมฺมิโน ได้แก่ มีอันเกิดและดับเป็นสภาวะ. บทว่า เตสํ วูปสโม ความว่า ความระงับสังขารเหล่านั้น ก็คือพระนิพพานอันไม่มีปัจจัยปรุงแต่งแท้จริง เป็นสุข. บทว่า นาหุ อสฺสาสปสฺสาโส คือ ไม่เกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 444
อัสสาสปัสสาสะ. บทว่า อเนโช ชื่อว่า อเนชะ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องไหวคือตัณหา. บทว่า สนฺติมารพฺภ ได้แก่ ปรารภอาศัยหมายเอาอนุปาทิเสสนิพพาน บทว่า ยํ กาลมกริ ผู้ใดได้กระทํากาละ. ท่านอธิบายว่า ผู้มีอายุ พระพุทธมุนี คือศาสดาของเราพระองค์ใด ทรงปรารภสันติว่าเราจักถึงสันติ ได้ทรงทํากาละแล้ว บัดนี้พระพุทธมุนีพระองค์นั้น มีจิตตั้งมั่นคงที่ไม่เกิดอัสสาสปัสสาสะ คือไม่มีไม่เป็นไป. บทว่า อสลฺลีเนน คือ ด้วยจิตไม่หดหู่ เบิกบานดีแล้วแล. บทว่า เวทนํ อชฺฌาวสยิ ทรงอดกลั้นเวทนาแล้ว คือไม่กระสับกระส่ายเป็นไปตามอํานาจของเวทนา. บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ หลุดพ้นไม่ติดขัดด้วยธรรมอะไรๆ ถึงความไม่มีบัญญัติโดยประการทั้งปวง เป็นเช่นเดียวกับความดับของไฟที่โพลงแล้ว. ท่านกล่าวว่า ตทาสิ หมายเอาแผ่นดินไหวที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังอย่างนี้ว่า แผ่นดินใหญ่ไหวพร้อมกับปรินิพพาน. จริงอยู่ความไหวแห่งแผ่นดินนั้นทําให้เกิดขนลุกและน่าสะพรึงกลัว. บทว่า สพฺพาการวรูเปเต แปลว่า เข้าถึงเหตุอันประเสริฐทั้งปวง.
บทว่า อวีตราคาได้แก่ ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี. จริงอยู่ ปุถุชน พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้นยังละโทมนัสไม่ได้. เพราะฉะนั้น ท่านแม้เหล่านั้นประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญ วางมือทั้งสองไว้เหนือศีรษะร้องไห้. เรื่องทั้งหมดพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ.
บทว่า อุชฺฌายนฺติ คือ เทวดายกโทษกล่าวอยู่ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่อาจอดกลั้นแม้ด้วยตนเองได้ จักปลอบโยนชนที่เหลือได้อย่างไร. บทว่า กถํ ภูตา ปน ภนฺเต อนุรุทฺธ ความว่า ท่านผู้เจริญ พวกเทวดาเป็นอย่างไร. พระอนุรุทธะกําหนดว่า เทวดาเหล่านั้นจะยับยั้งการปรินิพพานของพระศาสดาได้หรือ. ต่อมา เพื่อจะแสดงความเป็นไปของเทวดาเหล่านั้นพระเถระจึงกล่าวว่า สนฺตาวุโส เป็นต้น. คํานั้นมีข้อความที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 445
บทว่า รตฺตาวเสสํ คือ ราตรีที่ยังเหลือระยะเวลาเล็กน้อยเพราะปรินิพพานในเวลาใกล้รุ่ง. บทว่า ธมฺมิยา กถาย คือ ไม่มีธรรมกถาที่แยกออกไปเป็นอย่างอื่น. แต่ว่า พระเถระเจ้าทั้งสองยังเวลาให้ล่วงไปด้วยกถาที่เกี่ยวด้วยมรณะเห็นปานนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระยามัจจุราชนี้ ไม่ละอายต่อพระศาสดาผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็จะป่วยกล่าวไปใยว่าจะละอายต่อโลกิยมหาชน. ก็เมื่อพระเถระทั้งสองกล่าวกถาอยู่นั้น อรุณก็ขึ้นโดยครู่เดียวเท่านั้น. บทว่า อถโข ความว่า เมื่ออรุณขึ้น พระเถระก็กล่าวต่อพระเถระ.
บทว่า เตน กรณีเยน ความว่า กรณียะอันใดอย่างนี้ คือจะพึงจัดสักการะมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น ในที่ปรินิพพานเช่นไรหนอ. จะพึงจัดที่นั่งสําหรับภิกษุสงฆ์เช่นไร. จะพึงจัดขาทนียะ โภชนียะ เช่นไร. อันผู้รู้เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วจะพึงกระทํา พวกเจ้ามัลละประชุมกันด้วยกรณียะเช่นนั้น. บทว่า สพฺพฺจ ตาลาวจรํ ได้แก่ เครื่องดุริยางค์ทุกชนิด. บทว่า สนฺนิปาเตถ ความว่า ตีกลองเรียกประชุม. เจ้ามัลละเหล่านั้นได้กระทํากันอย่างนั้น. บทว่า มณฺฑลมาเล ได้แก่ นํามาลัยวงด้วยผ้า. บทว่า ปฏิยาเทนฺตา แปลว่า จัด. บทว่า ทกฺขิเณน ทกฺขณํ คือ ทิศาภาคด้านทักษิณแห่งพระนคร. บทว่า พาหิเรน พาหิรํ ได้แก่ ไม่เข้าไปภายในพระนคร นําไปข้างนอก โดยข้างนอกพระนครนั่นแหละ. บทว่า ทกฺขิณโต นครสฺส ความว่า ตั้งไว้ในสถานที่เช่นเดียวกับประตูด้านทักษิณของกรุงอนุราธปุระ กระทําสักการะสัมมานะแล้วจักทําฌาปนกิจในสถานที่เช่นเดียวกับพระเชตวัน.
บทว่า อฏฺ มลฺลปาโมกฺขา ได้แก่ พวกเจ้ามัสละรุ่นมัชฌิมวัยสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง. บทว่า สีสํ นฺหาตฺวา ได้แก่ ชําระศีรษะอาบน้ำแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 446
บทว่า อายสฺมนฺตํ เถรํ ความว่า พระเถระผู้เดียวปรากฏว่าเป็นผู้มีทิพยจักษุ เพราะฉะนั้นเมื่อพระเถระองค์อื่นๆ แม้มีอายุ พวกเจ้ามัลละเหล่านั้นก็เรียนถามเฉพาะพระเถระ ด้วยประสงค์ว่า ท่านพระอนุรุทธเถระนี้จักบอกแก่พวกเราได้ชัดเจน. บทว่า กถํ ปน ภนฺเต เทวตานํ อธิปฺปาโย ความว่า พวกเจ้ามัลละเรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า ก่อนอื่น พวกเรารู้ความประสงค์ของพวกเรา แต่ความประสงค์ของเหล่าเทวดาเป็นอย่างไร. พระเถระเมื่อจะแสดงความประสงค์ของพวกเจ้ามิลละเท่านั้น จึงกล่าวว่า ตุมฺหากํ โข เป็นต้น.
คําว่า เจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ชื่อว่า มกุฏพันธนะนี้ เป็นชื่อของศาลามงคล เป็นที่แต่งพระองค์ของพวกเจ้ามัลละ. ก็ศาลานี้ท่านเรียกว่าเจดีย์ เพราะอรรถว่า ท่านสร้างไว้อย่างงดงาม. ในคําว่า ยาว สนฺธิสมลสงฺกฏิรา นี้ ที่ต่อเรือนชื่อว่าสันธิ บ่อกําจัดกองคูถ (บ่อคูถ) ชื่อว่าสมละ ที่เทขยะชื่อว่าสังกฏิระ. บทว่า ทิพฺเพหิ จ มานุสเกหิ จ นจฺเจหิ ความว่า การฟ้อนรําของเหล่าเทวดามี ณ เบื้องบน ของเหล่ามนุษย์มี ณ เบื้องล่าง. ในการขับร้องเป็นต้น ก็นัยนี้. อนึ่ง ในระหว่างเหล่าเทวดาก็มีเหล่ามนุษย์ ในระหว่างเหล่ามนุษย์ก็มีเทวดา ทั้งเทวดาและมนุษย์ได้พากันไปสักการะบูชาแม้ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
บทว่า มชฺเฌน มชฺฌํ นครสฺส หริตฺวา ความว่า เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกเขานํามาอย่างนี้ ภรรยาของพันธุลเสนาบดีชื่อว่ามัลลิกา ทราบว่า เขานําพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามา ก็คิดว่าเราจักให้เขานําเครื่องประดับชื่อมหาลดาประสาธน์ เช่นเดียวกับเครื่องประดับของนางวิสาขา ซึ่งเราเก็บไว้ไม่ได้ใช้สอยมาตั้งแต่สามีของตนตายไป จักบูชาพระศาสดาด้วยมหาลดาประสาธน์นี้ ดังนี้แล้ว ให้ทําความสะอาดมหาลดาประสาธน์นั้น ชําระด้วยน้ำหอมแล้ววางไว้ใกล้ประตู. เขาว่า เครื่องประดับนั้น มีอยู่ในสถาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 447
ที่ ๓ แห่ง คือ ที่เรือนของสตรีทั้งสองนั้น (นางวิสาขาและนางมัลลิกา) และเรือนของโจรชื่อว่าเทวนานิยะ. ก็นางมัลลิกานั้นกล่าวว่า เมื่อพระสรีระของพระศาสดามาถึงประตูแล้ว พ่อทั้งหลายจงวางพระสรีระของพระศาสดาลงแล้ว สวมเครื่องประดับนี้ที่พระสรีระของพระศาสดา. เครื่องประดับนั้นสวมตั้งแต่พระเศียรจนจรดพื้นพระบาท พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมีพระฉวีวรรณเหมือนทองคํา ประดับด้วยมหาลดาประสาธน์ที่ทําด้วยรัตนะ ๗ ประการ ก็รุ่งเรืองยิ่งนัก. นางมัลลิกานั้นเห็นดังนั้นแล้วก็มีจิตผ่องใส ทําความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักโลดแล่นอยู่ในวัฏฏสงสารตราบใด ตราบนั้น กิจด้วยเครื่องประดับจงอย่าแยกจากข้าพระองค์ ขอสรีระจงเป็นเช่นเดียวกับเครื่องประดับที่สวมใส่อยู่เป็นนิตย์เถิด. ครั้งนั้นพวกเจ้ามัลลปาโมกข์ยกพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยเครื่องมหาลดาประสาธน์ที่ทําด้วยรัตนะ ๗ ประการ ออกทางประตูทิศบูรพา วางพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าลง ณ มกุฏพันธนะเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละทางเบื้องทิศบูรพาแห่งพระนคร.
บทว่า ปาวาย กุสินารํ ความว่า ท่านพระมหากัสสปะเดินทางไกลด้วยหมายใจว่า จักเที่ยวไปบิณฑบาตในนครปาวาแล้วจักไปยังนครกุสินารา. ในคําว่า นั่ง ณ โคนไม้นี้ เหตุไร ท่านจึงไม่กล่าวว่าพักกลางวัน. เพราะท่านไม่นั่งเพื่อต้องการจะพักกลางวัน. ความจริง เหล่าภิกษุบริวารของพระเถระล้วนแต่จําเริญสุข มีบุญมาก ท่านเดินทางด้วยเท้าบนแผ่นดินที่เสมือนแผ่นหินอันร้อนในเวลาเที่ยง พากันลําบาก. พระเถระเห็นภิกษุเหล่านั้นก็คิดว่า ภิกษุทั้งหลายพากันลําบาก ทั้งสถานที่ๆ จะไปก็ยังอยู่ไกล จักพักเสียเล็กน้อยระงับความลําบาก ตอนเย็นถึงนครกุสินาราจักเข้าเฝ้าพระทศพล จึงแวะลงจากทาง ปูสังฆาฏิที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วเอาน้ำจากคณโฑน้ำลูบมือและเท้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 448
ให้เย็นแล้วนั่งลง. แม้เหล่าภิกษุบริวารของท่านก็นั่ง ณ โคนไม้ ใช้โยนิโสมนสิการทํากัมมัฏฐาน นั่งสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย. ดังนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่าพักกลางวัน. เพราะนั่งเพื่อต้องการบรรเทาความเมื่อยล้า.
บทว่า มนฺทารวปุปฺผํ คเหตฺวา ได้แก่ เอาไม้เสียบดอกมณฑารพขนาดถาดใหญ่ถือมาดังร่ม. บทว่า อทฺทสา โข ได้แก่ เห็นอาชีวกเดินมาแต่ไกล. ก็แลครั้นเห็นแล้ว พระเถระคิดว่า นั่นดอกมณฑารพปรากฏอยู่ในมือของอาชีวกนี่ ก็ดอกมณฑารพนั้นไม่ปรากฏในถิ่นมนุษย์เสมอๆ จะมีก็ต่อเมื่อผู้มีฤทธิ์บางท่านแผลงฤทธิ์และต่อเมื่อพระสัพพัญูโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดาเป็นต้น แต่วันนี้ ผู้มีฤทธิ์ไรๆ ก็ไม่ได้แสดงฤทธิ์นี่ พระศาสดาของเราก็ไม่เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา ไม่ได้เสด็จออกจากพระครรภ์ ทั้งวันนี้พระองค์ก็มิได้ตรัสรู้ ไม่ได้ประกาศพระธรรมจักร ไม่ได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ ไม่ได้เสด็จลงจากเทวโลก ไม่ได้ทรงปลงอายุสังขาร แต่พระศาสดาของเราทรงพระชรา จักเสด็จปรินิพพานเสียเป็นแน่แล้ว. ลําดับนั้น พระเถระเกิดจิตคิดว่าจักถามเขา จึงดําริว่า ก็ถ้าเรานั่งถาม ก็จักเป็นการกระทําความไม่เคารพในพระศาสดา ดังนี้แล้วจึงลุกขึ้น ห่มบังสุกุลจีวรสีเมฆที่พระทศพลประทาน ประหนึ่งพญาช้างฉัททันต์ หลีกออกจากที่ยืน คลุมหนังแก้วมณีฉะนั้น ยกอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมทานไว้เหนือเกล้า ผินหน้าตรงต่ออาชีวกด้วยคารวะที่ทําในพระศาสดา กล่าวถามว่า ผู้มีอายุ ท่านทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างไหม.
ถามว่า ก็ท่านพระมหากัสสปะรู้การปริพพานของพระศาสดา หรือไม่รู้จึงถาม. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่าการรู้ของพระขีณาสพทั้งหลาย ต้องเนื่องด้วยอาวัชชนะ ความนึก ก็ท่านพระมหากัสสปะนี้ไม่รู้ จึงถาม เพราะท่านไม่ได้นึกไว้. พระเถระมากด้วยสมาบัติ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยการมากไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 449
สมาบัติเป็นนิตย์ ในที่อยู่กลางคืน ที่พักกลางวัน ที่เร้นและที่มณฑปเป็นต้น เข้าบ้านของตระกูลก็เข้าสมาบัติทุกประตูเรือน ออกจากสมาบัติแล้วจึงรับภิกษา เขาว่า พระเถระทําความตั้งใจอย่างนี้ว่า ด้วยอัตภาพสุดท้ายนี้ เราจักอนุเคราะห์มหาชน ชนเหล่าใด ถวายภิกษาหรือทําสักการะด้วยของหอม... และดอกไม้เป็นต้นแก่เรา ทานนั้นของชนเหล่านั้นจงมีผลมาก ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่รู้เพราะมากไปด้วยสมาบัติ. ดังนั้น อาจารย์พวกหนึ่งจึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้จึงถาม. คํานั้นไม่ควรถือเอา. เพราะว่าไม่มีเหตุที่จะไม่รู้ในข้อนั้น. การปรินิพพานของพระศาสดาได้เป็นการกําหนดไว้ชัดแล้วด้วยนิมิตทั้งหลาย มีหมื่นโลกธาตุไหวเป็นต้น พระเถระผู้รู้อยู่จึงถามเพื่อให้เกิดสติแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยคิดว่า ก็ในบริษัทของพระเถระ ภิกษุบางเหล่าก็เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า บางเหล่าก็ไม่เคยเห็น บรรดาภิกษุเหล่านั้น แม้ภิกษุเหล่าใดเคยเห็นแล้ว ภิกษุแม้เหล่านั้นก็ยังอยากจะเห็น แม้ภิกษุเหล่าใดไม่เคยเห็น แม้ภิกษุเหล่านั้นก็อยากจะเห็นเหมือนกัน บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดไม่เคยเห็น ภิกษุเหล่านั้นก็ไปเพราะกระหายที่จะเห็นยิ่งนัก ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ไหนทราบว่าปรินิพพานเสียแล้ว ก็จะไม่อาจจะดํารงตัวอยู่ได้ ทิ้งบาตรจีวร นุ่งผ้าผืนเดียวบ้าง นุ่งไม่ดีบ้าง ห่มไม่ดีบ้าง ทุบอกร่ําร้องไห้ ในที่นั้น ผู้คนทั้งหลายจักแสดงโทษของเราว่า เหล่าภิกษุผู้ถือบังสุกุลจีวริกังคธุดงค์ที่มากับพระมหากัสสปะ ร้องไห้เสียเองเหมือนสตรี ภิกษุเหล่านั้นจักปลอบโยนพวกเราได้อย่างไร ก็ป่าใหญ่นี้คงจะว่างเปล่า เมื่อภิกษุทั้งหลายร้องไห้เหมือนในที่นี้ ขึ้นชื่อว่าโทษคงจะไม่มี เพราะรู้เรื่องเสียก่อน แม้ความโศกเศร้าก็คงจะเบาบางดังนี้.
บทว่า อชฺช สตฺตาหํ ปรินิพฺพุโต สมโณ โคตโม แปลว่า นับถึงวันนี้ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันแล้ว. บทว่า ตโต เม อิทํ ได้แก่ ดอกมณทารพนี้ ข้าพเจ้าเก็บมาแล้วแต่สถานที่ปรินิพพานของพระสมณโคดมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 450
บทว่า สุภทฺโท นาม วุฑฺฒปพฺพชิโต ความว่า คําว่าสุภัททะเป็นชื่อของภิกษุนั้น แต่เพราะภิกษุนั้นบวชในเวลาเป็นคนแก่ ท่านจึงเรียกว่าวุฑฒบรรพชิต. ก็เพราะเหตุไรสุภัททะภิกษุนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. เพราะอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ยินว่า สุภัททะภิกษุนี้นั้นเคยเป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมานคร ที่มาในขันธกะ บวชเมื่อแก่ ทราบว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากนครกุสินาราไปยังอาตุมานครพร้อมกับภิกษุ ๒๕๐ รูป. พระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังเสด็จมา จึงคิดว่าจักกระทํายาคูทานถวายในเวลาเสด็จมา จึงเรียกบุตร ๒ คนซึ่งเตรียมตัวจะเป็นสามเณร บอกว่า พ่อเอย เขาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังอาตุมานครพร้อมกับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๒๕๐ รูป ไปเถิดพ่อ จงถือเครื่องมีดโกนพร้อมกับทะนานและถังไปทุกลําดับบ้านเรือน จงรวบรวมเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของเคี้ยวบ้าง เราจักกระทํายาคูทานถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จมา. บุตร ๒ คนนั้นก็ได้กระทําอย่างนั้น.
ผู้คนเห็นเด็กเหล่านั้นมีเสียงเพราะ มีไหวพริบ บ้างประสงค์จักให้กระทํา บ้างประสงค์จะไม่ให้กระทํา แต่ก็ให้กระทําทั้งนั้น ถามว่า พ่อเอ้ย เจ้าจักรับไปในเวลาทําหรือ. เด็ก ๒ คนนั้นบอกว่า พวกข้าไม่ต้องการอะไรอื่นแต่พ่อของเราประสงค์จะถวายยาคูทานในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา. ผู้คนได้ฟังดังนั้นแล้วก็ไม่ค่อยนําพา ยอมให้สิ่งที่เด็กทั้ง ๒ นั้นอาจนําไปได้หมด ที่ไม่อาจนําไปได้ก็ส่งคนไป. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังอาตุมานครก็เข้าไปยังโรงลานข้าว ตกเย็นสุภัททะภิกษุก็ไปยังประตูบ้าน เรียกมนุษย์มากล่าวว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ได้รับอะไรๆ อย่างอื่นจากสํานักของท่านทั้งหลาย ข้าวสารเป็นต้นที่เด็กของข้าพเจ้านํามาเพียงพอแก่สงฆ์ พวกท่านจงให้เพียงงานฝีมือเถิด. ถามว่า พวกข้าพเจ้าจะทําอย่างไรเจ้าข้า. สุภัททะภิกษุพูดว่า พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ๆ แล้วให้ถือเครื่องอุปกรณ์ทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 451
ให้สร้างเตาไฟที่วิหาร ตนเองนุ่งกาสาวะดําผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แล้วสั่งว่า จงทําสิ่งนี้ ครุ่นคิดอยู่ตลอดทั้งคืน สละทรัพย์หนึ่งแสนให้เขาจัดยาคูสําหรับดื่มกิน และน้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบ. ยาคูที่พึงกินแล้วดื่มชื่อว่ายาคูสําหรับกินดื่ม. ของมีเนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ ดอกไม้ ผลไม้ และรสเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่าของเคี้ยว ใส่ของเคี้ยวทั้งหมดลงในยาคูนั้น. คันธชาติที่หอมที่เขาใช้ทาศีรษะสําหรับผู้ต้องการเล่นกีฬาก็มี.
ครั้นเวลาเช้าตรู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติพระสรีรกิจแล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จบ่ายพระพักตร์เข้าไปยังอาตุมานครเพื่อเที่ยวบิณฑบาต. ผู้คนทั้งหลายก็บอกแก่สุภัททะภิกษุนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังเสด็จเข้าบ้านบิณฑบาต ท่านจัดยาคูไว้เพื่อใคร. พระสุภัททะภิกษุนั้นนุ่งห่มผ้ากาสาวะดําเหล่านั้น เอามือข้างหนึ่งจับทัพพีและกระบวย คุกเข่าข้างขวาลงที่พื้นดิน ถวายบังคมดุจพรหมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับยาคูของข้าพระองค์เถิด. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามและทรงฟังคํานั้นแล้ว ทรงติเตียนพระสุภัททะวุฑฒบรรพชิตนั้น. เพราะเรื่องนั้น ทรงบัญญัติ ๒ สิกขาบทคือ สิกขาบทว่าด้วยการชักชวนในสิ่งเป็นอกัปปิยะ และสิกขาบทว่าด้วยการรักษาเครื่องมีดโกน โดยนัยที่มาในขันธกะว่า พระตถาคตแม้ทรงทราบก็ทรงถามดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่าภิกษุผู้แสวงหาโภชนะล่วงไปถึงหลายโกฏิกัปป์ พวกเธอบริโภคโภชนะที่เป็นอกัปปิยะของพวกเธอ อันเกิดขึ้นโดยไม่ชอบธรรม จักต้องไปบังเกิดในอบายทั้งหลาย หลายแสนอัตภาพ จงหลีกไป อย่ามายุดยื้อ ดังนี้แล้ว ได้เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปเที่ยวภิกษา แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่รับอะไรๆ เลย.
พระสุภัททะเสียใจก็ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เข้าใจว่าเรารู้ทุกสิ่งจึงเที่ยวไป ถ้าไม่ทรงประสงค์จะรับก็ควรส่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 452
คนไปบอก ขึ้นชื่อว่าอาหารที่สุกแล้วนี้ เมื่อจะตั้งอยู่นานตลอดไป พึงตั้งอยู่ได้เพียง ๗ วัน แท้จริงของนี้จะพึงเป็นของที่เราจัดไว้ตลอดชีวิต พระองค์ก็ทรงทําให้พินาศเสียสิ้น พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ไม่ทรงหวังดีต่อเราเสียเลย. เมื่อพระทศพลยังทรงพระชนม์อยู่ จึงไม่อาจกล่าวอะไรๆ ได้. ได้ยินว่า พระสุภัททะนั้นคิดอย่างนี้ว่า พระมหาบุรุษนี้ บวชจากตระกูลสูง ถ้าเราพูดอะไรไปก็จักทรงคุกคามเราผู้เดียว. พอได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นี้นั้น ปรินิพพานแล้วในวันนี้ ก็ร่าเริงยินดีประดุจได้ลมหายใจ จึงกล่าวอย่างนี้. พระเถระฟังคํานั้นแล้ว มิได้สําคัญว่าประหนึ่งถูกประหารที่หทัย ประหนึ่งฟ้าปราศจากเมฆผ่าลงบนกระหม่อม. แต่พระเถระเกิดธรรมสังเวช. พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน แม้วันนี้ พระสรีระของพระองค์มีพระฉวีวรรณดังทองคําก็ยังดํารงอยู่ทีเดียว. กากบาปเสี้ยนหนามอันใหญ่เกิดขึ้นเร็วอย่างนี้ในพระศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนํามาด้วยทุกข์ยาก ก็คนบาปนี่ นี้เมื่อเติบโต ได้คนอื่นเห็นบาปนั้นเป็นพรรคพวก ก็อาจจะทําพระศาสนาให้เสื่อมถอยได้.
ลําดับนั้น พระเถระคิดว่า ก็ถ้าเราจักให้หลวงตาผู้นี้นุ่งผ้าเก่า เอาขี้เถ้าโรยศีรษะ ขับไล่ไป. ผู้คนทั้งหลายก็จะพากันยกโทษพวกเราว่า เมื่อพระสรีระของพระสมณโคดมยังคงอยู่ เหล่าสาวกก็วิวาทกัน เพราะฉะนั้น เราจึงอดกลั้นไว้ก่อน ก็ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วก็เสมือนกองดอกไม้ที่ยังไม่ได้ควบคุม ในธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้นเปรียบเหมือนดอกไม้ทั้งหลายที่ต้องลมย่อมกระจัดกระจายไปฉันใด สิกขาบท ๑ - ๒ สิกขาบทในวินัยก็จักพินาศ ปัญหาวาระ ๑ - ๒ วาระในสูตรก็จักพินาศ ภูมิอื่น ๑ - ๒ ภูมิในอภิธรรมก็จักพินาศ ในเมื่อเวลาล่วงไปๆ ด้วยอํานาจบุคคลชั่วเห็นบาปนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อมูลรากพินาศไปอย่างนี้ พวกเราก็จักเป็นเสมือนปีศาจ. เพราะฉะนั้น เราจําจักต้องสังคายนาธรรมวินัย เมื่อเป็นดังนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ก็จัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 453
มั่นคงเหมือนดอกไม้ที่คุมไว้ด้วยด้ายเหนียว ก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จต้อนรับเราตลอดทาง ๓ คาวุต (๓๐๐ เส้น) ประทานอุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ประการ ทรงเปลี่ยนจีวรจากพระวรกาย ตรัสปฏิปทาเปรียบด้วยดวงจันทร์ ประหนึ่งสั่นมือในอากาศ ทรงยกย่องเราเป็นกายสักขี (มีวิหารธรรมเสมอด้วยพระองค์) ทรงมอบความเป็นสกลศาสนทายาท ๓ ครั้งว่า เมื่อภิกษุเช่นเรายังดํารงอยู่ ภิกษุชั่วผู้นี้จักไม่ได้ความเจริญในพระศาสนา. อธรรมยังไม่รุ่งเรือง ธรรมก็จะไม่เสื่อมถอย อวินัยยังไม่รุ่งเรือง วินัยก็จะไม่เสื่อมถอย ฝ่ายอธรรมวาทียังไม่มีกําลัง ฝ่ายธรรมวาทีก็จะไม่อ่อนกําลัง ฝ่ายอวินัยวาทียังไม่มีกําลัง ฝ่ายวินัยวาทีก็จะไม่อ่อนกําลัง เพียงใด เราก็จักสังคายนาธรรมและวินัยเพียงนั้น. แต่นั้น เหล่าภิกษุรวบรวมภิกษุที่เป็นสภาคกัน เพียงพอแก่ตนๆ ก็จักกล่าวสิ่งที่ควรและไม่ควรได้ เมื่อเป็นดังนี้ ภิกษุชั่วผู้นี้ตนเองก็ประสบนิคคหะ ไม่อาจเงยศีรษะได้อีก พระศาสนาก็จักมั่นคงและแพร่หลาย. พระเถระคิดว่า เราเกิดจิตคิดอย่างนี้แล้ว ยังไม่อาจบอกใครๆ ได้แต่ปลอบโยนภิกษุสุงฆ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา มหากสฺสโป ฯเปฯ เนตํ านํ วิชฺชติ ดังนี้.
บทว่า จิตกํ ได้แก่ จิตกาธานที่ทําด้วยไม้จันทน์ ประดับด้วยรัตนะสองพัน. บทว่า อาลิมฺเปสฺสาม ได้แก่ ช่วยกันจุดไฟ. บทว่า น สกฺโกนฺติ คือ ชนทั้งหลาย ๘ คนบ้าง ๑๖ คนบ้างถือคบไฟเป็นคู่ๆ เพื่อติดไฟ พัดด้วยใบตาล เป่าด้วยสูบ แม้กระทําการณ์นั้นๆ ก็ไม่อาจทําให้ไฟติดได้. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เทวตานํ อธิปฺปาโย นี้ดังนี้. ได้ยินว่า เทวดาเหล่านั้น เป็นเทวดาอุปัฏฐากของพระเถระนั่นเอง. ความจริง เพราะจิตเลื่อมใส พระอสีติมหาสาวก อุปัฏฐาก ๘๐,๐๐๐ ตระกูลของพระมหาสาวกเหล่านั้นก็ไปบังเกิดในสวรรค์. ลําดับนั้น เหล่าเทวดาผู้มีจิตเลื่อมใสในพระเถระแล้วบังเกิดใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 454
สวรรค์ ไม่เห็นพระเถระในสมาคมนั้น คิดว่าพระเถระประจําตระกูลของพวกเราไปเสียที่ไหนหนอ ก็เห็นท่านเดินอยู่ระหว่างทาง จึงพากันอธิษฐานว่าเมื่อพระเถระประจําตระกูลของพวกเรายังไม่ได้ถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอจิตกาธานอย่าเพิ่งติดไฟ ดังนี้. เหล่าผู้คนฟังเรื่องนั้นแล้วคิดว่า เขาว่าพระมหากัสสปะกล่าวว่า ดูก่อนท่านภิกษุ เราจักถวายบังคมพระบาทของพระทศพลพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ดังนี้แล้วจึงมา เมื่อยังมาไม่ถึงจิตกาธานก็จักไม่ติดไฟ ผู้เจริญ ภิกษุนั้นเป็นเช่นไร ดํา ขาว สูง เตี้ย เมื่อภิกษุเช่นนี้ยังดํารงอยู่ ทําไมพระทศพลจึงปรินิพพาน ดังนี้แล้ว บางพวกถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นเดินสวนทาง บางพวกทําถนนให้สวยงามยืนสํารวจทางที่จะมา.
คําว่า อถโข อายสฺมา มหากสฺสโป เยน กุสินารา ฯเปฯ สิรสาวนฺทิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระกระทําประทักษิณจิตกาธานพลางรําลึกกําหนดว่า ตรงนี้พระเศียร ตรงนี้พระบาท. แต่นั้น พระเถระก็ยืนใกล้พระบาททั้งสอง เข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่าขอพระยุคลบาทของพระทศพลที่มีลักษณะจักรอันประกอบด้วยซี่ ๑,๐๐๐ ซี่ประดิษฐานแล้ว จงชําแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมกับชั้นสําลี รางทอง และจิตกาธานไม้จันทน์ออกเป็น ๒ ช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พร้อมด้วยจิตอธิษฐาน พระยุคลบาทก็ชําแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่เป็นต้นเหล่านั้นโผล่ออกมา ประหนึ่งจันทร์เพ็ญออกจากระหว่างพลาหกฉะนั้น. พระเถระเหยียดมือทั้ง ๒ เสมือนดอกปทุมแดงที่คลี่บานแล้ว จับพระยุคลบาทของพระศาสดาอันมีพระฉวีวรรณดังทองคําจนถึงข้อพระบาทไว้มั่นแล้ว ประดิษฐานไว้เหนือเศียรเกล้าอันประเสริฐของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เผยพระบาทถวายบังคมพระบาทของผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 455
มหาชนเห็นความอัศจรรย์ดังนั้นแล้ว บันลือสีหนาทกระหึ่มขึ้นพร้อมกัน บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้วไหว้ตามความพอใจ. ก็แลพอพระเถระ มหาชน และภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นถวายบังคมแล้ว ก็ไม่มีกิจที่จะต้องอธิษฐานอีก. ด้วยอํานาจการอธิษฐานตามปกติเท่านั้น ฝ่าพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะดังน้ำครั่ง พ้นจากมือของพระเถระแล้วไม่กระทําไม้จันทน์เป็นต้นอะไรให้ไหว ประดิษฐานอยู่ในที่เดิม. จริงอยู่ เมื่อพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าออกมาหรือเข้าไป ใยสําลีก็ดี เส้นผ้าก็ดี หยาดน้ำมันก็ดี ชิ้นไม้ก็ดี ไม่เคลื่อนจากที่เลย. ทั้งหมดตั้งอยู่ตามเดิมนั่นแล. แต่เมื่อพระยุคลบาทของพระตถาคตตั้งขึ้นแล้วก็หายวับไป เหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์อัสดงคต มหาชนพากันร้องไห้ยกใหญ่. น่ากรุณายิ่งกว่าครั้งปรินิพพานเสียอีก.
ก็คําว่า สมเยว ภควโต จิตโก ปชฺชลิ นี้ ท่านกล่าวด้วยอํานาจมองไม่เห็นใครๆ ผู้พยายามจะติดไฟ. ก็จิตกาธานนั้นติดไฟพรึบเดียวโดยรอบด้วยอานุภาพของเทวดา. บทว่า สรีราเนว อวสิสฺสึสุ ความว่า เมื่อก่อนได้ชื่อว่าสรีระ ก็เพราะตั้งอยู่ด้วยโครงร่างอันเดียวกัน บัดนี้ท่านกล่าวว่าสรีระทั้งหมดกระจัดกระจายไปแล้ว. อธิบายว่า พระธาตุทั้งหลายก็เสมือนดอกมะลิตูม เสมือนแก้วมุกดาที่เจียรนัยแล้ว และเสมือนจุณทองคํายังเหลืออยู่. จริงอยู่ สรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลายย่อมติดกันเป็นพืดเช่นกับแท่งทองคํา. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานพระธาตุให้กระจายว่า เราอยู่ได้ไม่นานก็จะปรินิพพาน ศาสนาของเรายังไม่แพร่หลายไปในที่ทั้งปวงก่อน เพราะฉะนั้น เมื่อเราแม้ปรินิพพานแล้ว มหาชนถือเอาพระธาตุแม้ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดทําเจดีย์ในที่อยู่ของตนๆ ปรนนิบัติ จงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ถามว่า พระธาตุอย่างไหนของพระองค์กระจัดกระจาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 456
อย่างไหนไม่กระจัดกระจาย. ตอบว่า พระธาตุ ๗ เหล่านี้คือ พระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ พระอุณหิส ๑ ไม่กระจัดกระจาย นอกนั้นกระจัดกระจาย. บรรดาพระธาตุเหล่านั้น พระธาตุเล็กๆ ทั้งหมดได้มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระธาตุใหญ่ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักกลาง พระธาตุขนาดใหญ่ยิ่งมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวหักกลาง.
บทว่า อุทกธารา ความว่า ท่อน้ำขนาดปลายเท่าแขนก็ดี ขนาดแข้งก็ดี ขนาดลําตาลก็ดี ตกจากอากาศดับไป. คําว่า อุทกํ สาลโตปิ นี้ ท่านกล่าวหมายต้นสาละที่ยืนต้นล้อมอยู่. ท่อน้ำออกจากระหว่างลําต้นและระหว่างค่าคบของต้นสาละเหล่านั้นดับไฟ. จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าขนาดใหญ่. เกลียวน้ำขนาดเท่างอนไถ แม้ชําแรกดินโดยรอบ เช่นเดียวกับพวงแก้วผลึกผุดขึ้นจับจิตกาธาน. บทว่า คนฺโธทเกน ได้แก่ น้ำหอมนานาชนิดที่เขาบรรจุหม้อทองหม้อเงินให้เต็มนํามา. บทว่า นิพฺพาเปสุํ ความว่า เหล่าเจ้ามัลละดับจิตกาธานเกลี่ยด้วยไม้ ๘ อันที่ทําด้วยทองและเงิน. ก็เมื่อไฟกําลังไหม้จิตกาธานนั้นอยู่ เปลวไฟก็พุ่งขึ้นจากระหว่างกิ่งค่าคบและใบของต้นสาละที่ยืนต้นล้อมอยู่. ใบ กิ่ง หรือ ดอกไม่ไหม้เลย. ทั้งมดแดง ทั้งลิง ทั้งสัตว์เล็กๆ เที่ยวไปโดยระหว่างเปลวไฟ. ธรรมดาในท่อน้ำที่ตกจากอากาศก็ดี ในท่อน้ำที่ออกจากต้นสาละก็ดี ในท่อน้ำที่ชําแรกแผ่นดินออกไปก็ดี ควรถือเอาเป็นประมาณ.
ก็แลครั้นดับจิตกาธานอย่างนี้แล้ว เหล่าเจ้ามัลละก็ให้ประพรมด้วยคันธชาติ ๔ ชนิดที่สัณฐาคาร โปรยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่คํารบห้า ติดเพดานผ้าไว้เบื้องบน ขจิตด้วยดาวทองเป็นต้น ห้อยพวงของหอมพวงมาลัยและพวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลําแพนไว้สองข้างตั้งแต่สัณฐาคารจนถึงมงคลศาลาที่ประดับศีรษะ กล่าวคือมกุฏพันธน์ แล้วติดเพดานผ้าไว้เบื้องบน ขจิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 457
ด้วยดาวทองเป็นต้น ห้อยพวงของหอมพวงมาลัยและพวงแก้วแม้ในที่นั้น ให้ยกธง ๕ สี โดยสีก้านมณีและไม้ไผ่ล้อมธงชัยและธงปฏากไว้โดยรอบ ตั้งต้นกล้วยและหม้อบรรจุน้ำไว้เต็ม ที่ถนนทั้งหลายอันรดน้ำและเกลี้ยงเกลาก็ตามประทีปมีด้าม วางรางทองพร้อมด้วยพระธาตุทั้งหลายไว้บนคอช้างที่ประดับแล้ว บูชาด้วยมาลัยและของหอมเป็นต้น เล่นสาธุกีฬา นําเข้าไปภายในพระนคร วางไว้บนบัลลังก์ที่ทําด้วยรัตนะ ๗ ประการ ณ สัณฐาคาร กั้นเฉวตฉัตรไว้เบื้องบน. ครั้นกระทําดังนี้แล้ว ครั้งนั้น เหล่าเจ้ามัลละชาวนครกุสินาราให้ทหารถือหอกเป็นลูกกรง ให้ทหารถือธนูเป็นกําแพงล้อมที่สัณฐาคาร บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการฟ้อนรํา การขับร้อง การประโคมด้วยมาลัย ของหอม ตลอด ๗ วัน บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺติปฺชรํ กริตฺวา ได้แก่ จัดเหล่าบุรุษถือหอกล้อมไว้. บทว่า ธนุปาการํ ได้แก่ จัดเหล่าช้างเรียงลําดับกระพองต่อกันล้อมไว้ก่อน. จากนั้น จัดเหล่าม้าเรียงลําดับคอต่อกัน ต่อนั้น จัดเหล่ารถเรียงลําดับปลายลิ่มล้อรถต่อกัน ต่อนั้น จัดเหล่าราบยืนเรียงลําดับแขนต่อกัน ปลายรอบแถวทหารเหล่านั้น จัดเหล่าธนูเรียงลําดับต่อกันล้อมไว้. เหล่าเจ้ามัลละจัดอารักขาตลอดที่ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ ๗ วัน ทําประหนึ่งลูกโคสวมเกราะ ด้วยประการฉะนี้.
ท่านหมายเอาข้อนั้นจึงกล่าวว่า ธนุปาการํ ปริขิปาเปตฺวา ดังนี้. ถามว่าก็เพราะเหตุไร เหล่าเจ้ามัลละเหล่านั้นจึงได้กระทําดังนั้น. ตอบว่าใน ๒ สัปดาห์แรกจากนี้ เจ้ามัลละเหล่านั้นกระทําโอกาสที่ยืนและนั่งสําหรับภิกษุสงฆ์ จัดแจงของเคี้ยวของฉันถวาย ไม่ได้โอกาสที่จะเล่นสาธุกีฬา. แต่นั้น เจ้ามัลละเหล่านั้นดําริกันว่าพวกเราจักเล่นสาธุกีฬาตลอดสัปดาห์นี้. ข้อที่ใครๆ รู้ว่าพวกเราประมาท แล้วมายึดเอาพระธาตุทั้งหลายไปเสีย มีฐานะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 458
ที่จะเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นพวกเราจักต้องตั้งกองรักษาการณ์ไว้แล้วเล่นกีฬากัน. ด้วยเหตุนั้น เจ้ามัลละเหล่านั้นจึงได้กระทําดังนั้น.
บทว่า อสฺโสสิ โข ราชา ความว่า พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบเรื่องแล้ว. ได้ยินว่า เหล่าอํามาตย์ของท้าวเธอ ครั้งแรกทีเดียวคิดว่า ธรรมดาว่าพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ใครๆ ก็ไม่อาจนําพระองค์มาได้อีก แต่ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระราชาของเรา ด้วยศรัทธาของปุถุชน ถ้าพระราชาพระองค์นี้จักทรงสดับโดยทํานองนี้ หฤทัยของท้าวเธอจักต้องแตก แต่พวกเราควรระวังรักษาพระราชาไว้ดังนี้. อํามาตย์เหล่านั้นจึงนํารางทอง ๓ ราง บรรจุของอร่อยๆ ไว้เต็ม นําไปยังราชสํานัก กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พวกข้าพระองค์ฝันไป พระองค์ควรทรงผ้าเปลือกไม้สองชั้นแล้วบรรทมในรางที่เต็มด้วยของอร่อยๆ ๔ อย่าง พอที่ช่องพระนาสิกโผล่ เพื่อขจัดความฝันนั้นเสีย พระราชาสดับคําของเหล่าอํามาตย์ผู้หวังดี ทรงรับสั่งว่า เอาสิพ่อ แล้วได้ทรงกระทําอย่างนั้น. ลําดับนั้น อํามาตย์ผู้หนึ่งเปลื้องเครื่องประดับแล้วสยายผม ผินหน้าไปทางทิศที่พระศาสดาปรินิพพาน ประคองอัญชลีทูลพระราชาว่า พระเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้หลุดพ้นจากความตายหามีไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นผู้เจริญชนมายุ เป็นเจติยสถาน เป็นบุญเขต เป็นพระแท่นอภิเษก เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย ปรินิพพานแล้ว ณ นครกุสินารา พระราชาทรงสดับแล้วก็ถึงวิสัญญีภาพ (สลบ) ปล่อยไออุ่นในรางอันเต็มด้วยของอร่อย ๔ อย่าง ลําดับนั้น เหล่าอํามาตย์ก็ยกพระองค์ขึ้นจากรางที่ ๑ นั้น ให้บรรทม ณ รางที่ ๒. ท้าวเธอกลับฟื้นขึ้นมาตรัสถามว่า พ่อเอย พวกเจ้าพูดอะไรนะ. กราบทูลว่า พระมหาราชเจ้า พระศาสดาปรินิพพานแล้ว เจ้าข้า. พระราชาก็กลับทรงวิสัญญีภาพอีก ปล่อยไออุ่นลงในรางของอร่อย ๔ อย่าง. ลําดับนั้นเหล่าอํามาตย์ช่วยกันยกท้าวเธอขึ้นจากรางที่ ๒ นั้นแล้วให้บรรทมในรางที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 459
ท้าวเธอทรงกลับพื้นขึ้นมาตรัสถามว่า พ่อเอย พวกเจ้าพูดอะไรนะ. กราบทูลว่า พระศาสดาปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชาก็ทรงวิสัญญีภาพอีก. ครั้งนั้นเหล่าอํามาตย์ช่วยกันยกพระองค์ขึ้นให้สรงสนาน เอาหม้อน้ำรดน้ำลงบนพระเศียร.
พระราชาทรงจําได้แล้ว ลุกจากที่ประทับ นั่งสยายพระเกศาที่มีวรรณะดั่งแก้วมณีอบด้วยของหอม ทอดพระปฤษฏางค์ที่มีวรรณะดังแผ่นทองคํา เอาฝ่าพระหัตถ์ตบพระอุระ จับพระอุระที่มีวรรณะดังผลตําลึงทองคํา ประหนึ่งว่าจะเสียบด้วยนิ้วพระหัตถ์อันกลมกลึง ที่มีวรรณะดุจหน่อแก้วประพาฬ ทรงคร่ําครวญ เสด็จลงไปในระหว่างถนนด้วยเพศของคนวิกลจริต ท้าวเธอมีนางรําที่แต่งตัวแล้วเป็นบริวาร เสด็จออกจากพระนครไปยังสวนมะม่วงของหมอชีวก ทอดพระเนตรสถานที่ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแสดงธรรม พร่ําปริเทวนาการซ้ำๆ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สัพพัญูประทับนั่งแสดงธรรมที่นี้มิใช่หรือ? ทรงบรรเทาความโศกศัลย์ของข้าพระองค์ พระองค์ทรงนําความโศกศัลย์ของข้าพระองค์ออกไป ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มายังสํานักของพระองค์แล้ว แต่บัดนี้ พระองค์ไม่ประทานแม้คําโต้ตอบแก่ข้าพระองค์ และตรัสคําเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์สดับมาในเวลาอื่นมิใช่หรือ? ว่า ในเวลาเห็นปานนั้น พระองค์มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จจาริกไป ณ ภาคพื้นชมพูทวีป แต่บัดนี้ข้าพระองค์ก็ได้แต่ฟังเรื่องอันไม่เหมาะไม่ควรแก่พระองค์เลย แล้วทรงรําลึกพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถา ทรงพระดําริว่า อะไรๆ ย่อมไม่สําเร็จได้ด้วยปริเทวนาการของเรา จําเราจักให้นําพระบรมธาตุของพระทศพลมา. ทรงสดับมาอย่างนี้แล้ว ครั้นแล้ว เมื่อทรงหายวิสัญญีภาพเป็นต้นแล้วก็โปรดส่งทูตไป. ท่านหมายเอาเรื่องนั้น จึงกล่าวว่า อถ โข ราชา เป็นอาทิ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 460
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูตํ ปาเหสิ ได้แก่ ทรงส่งทูตและบรรณาคารไป. พระเจ้าอชาตศัตรูทรงพระดําริว่าถ้าพวกเจ้ามัลละจักให้ ก็เป็นการดี ถ้าเขาไม่ให้ ก็จําเราจักต้องนํามาด้วยอุบายนํามาให้ได้ ดังนี้แล้ว ทรงจัดกองทัพ ๔ เหล่า เสด็จออกไปด้วยพระองค์เอง. แม้เหล่าเจ้าลิจฉวีเป็นต้นก็ส่งทูตไป เสด็จออกไปด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่าเหมือนพระเจ้าอชาตศัตรู ฉะนั้น. ถ้ามีคําถามว่า บรรดาเจ้าเหล่านั้น เจ้ามัลละชาวนครปาวามีระยะใกล้กว่าเขาทั้งหมด อยู่ในนครปาวาระยะ ๓ คาวุต แต่นครกุสินารา แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้านครปาวาแล้ว ก็ยังเสด็จไปนครกุสินารา เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พวกเจ้ามัลละนครปาวาจึงไม่เสด็จมาเสียก่อน. ตอบว่า เพราะว่าพวกเจ้าเหล่านั้นมีบริวารมาก เมื่อทํากิจกะปริวารที่มากจึงมาภายหลัง. บทว่า เต สงฺเฆ คเณ เอตทโวจุํ ความว่า พวกเจ้าและพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้น รวมเป็นชาวนคร ๗ นคร พากันมาแล้ว ยื่นคําขาดว่า เหล่าเจ้ามัลละจะให้พระบรมธาตุแก่พวกเราหรือจะรบ. แล้วตั้งทัพล้อมนครกุสินาราไว้ เหล่าเจ้ามัลละก็ได้กล่าวคําโต้ตอบไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานในคามเขตของพวกเรานี่.
ได้ยินว่า เจ้าเหล่านั้นตรัสอย่างนี้ว่า พวกเราไม่ได้ส่งข่าวของพระศาสดา พวกเราไปก็ไม่ได้นําข่าวมา แต่พระศาสดาเสด็จมาเอง ทรงส่งข่าวไปรับสั่งให้เรียกพวกเรา แต่แม้พวกท่านก็ไม่ให้พระรัตนะที่เกิดในคามเขตของพวกท่านแก่พวกเรา ธรรมดาว่าพระรัตนะที่เสมอด้วยพระพุทธรัตนะไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก พวกเราได้พระรัตนะอันสูงสุดเห็นปานนี้ จักไม่ยอมให้ ก็พวกท่านเท่านั้นดื่มน้ำนมจากถันของมารดา พวกเราไม่ได้ดื่มก็หาไม่. พวกท่านเท่านั้นเป็นลูกผู้ชาย พวกเราไม่ได้เป็นลูกผู้ชายหรือ เป็นไรก็เป็นกัน ต่างทําอหังการส่งสาส์นโต้ตอบกัน ใช้มานะขู่คํารามต่อกันและกัน. ก็เมื่อมีการรบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 461
กัน ฝ่ายเหล่าเจ้ามัลละกรุงกุสินาราน่าได้ชัยชนะ. เพราะเหตุไร? เพราะเหล่าเทวดาที่พากันมาเพื่อบูชาพระบรมธาตุต้องเป็นฝ่ายของเจ้ามัลละกรุงกุสินาราเหล่านั้นแน่. แต่ในพระบาลีมาเพียงเท่านี้ว่า เหล่าเจ้ามัลละกรุงกุสินารากล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราจักไม่ยอมให้ส่วนแบ่งแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
บทว่า เอวํ วุตฺเต โทโณ พฺราหฺมโณ ความว่า โทณพราหมณ์สดับเรื่องการวิวาทของกษัตริย์พราหมณ์เหล่านั้นแล้ว ดําริว่า พวกเจ้าเหล่านี้ก่อวิวาทกันในสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน เป็นการไม่สมควร การทะเลาะกันนี้ควรจะพอกันที จําเราจักระงับการวิวาทกันนั้นเสีย ดังนี้แล้วก็ไปกล่าวข้อความนี้แก่หมู่คณะเจ้าเหล่านั้น. กล่าวว่าอย่างไร? โทณพราหมณ์ยืนในที่ดอน (สูง) ได้กล่าวคาถาที่ชื่อว่า โทณครรชิต (การบันลือของโทณพราหมณ์) ประมาณ ๒ ภาณวาร. บรรดาภาณวารทั้ง ๒ นั้น ก่อนอื่นพวกเจ้าเหล่านั้นไม่รู้แม้แต่บทเดียว. จบภาณวารที่ ๒ พวกเจ้าทั้งหมดพูดกันว่าผู้เจริญนั้นดูเหมือนเสียงของท่านอาจารย์นี่ๆ แล้วก็พากันเงียบเสียง. เขาว่าในภาคพื้นชมพูทวีป คนที่เกิดในเรือนของตระกูลโดยมากชื่อว่าไม่เป็นศิษย์ของโทณพราหมณ์นั้นไม่มีเลย. ครั้งนั้น โทณพราหมณ์รู้ว่า เจ้าเหล่านั้นฟังคําของตนแล้วเงียบเสียง นิ่งอยู่ จึงได้กล่าวซ้ำ ได้กล่าว ๒ คาถานี้ว่า สุณนฺตุโภนฺโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺหากํ พุทฺโธ แปลว่า พระพุทธเจ้าของพวกเรา. บทว่า อหุ ขนฺติวาโท ความว่า พระองค์แม้ไม่บรรลุพุทธภูมิ ทรงบําเพ็ญบารมีทั้งหลาย ไม่ทรงทําความโกรธในคนอื่นๆ ได้กระทําแต่ขันติอย่างเดียว ทรงสรรเสริญขันติอย่างเดียว สมัยเสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส สมัยเป็นธรรมปาลกุมาร สมัยเป็นพระยาช้างฉัททันต์ สมัยเป็นพญานาคชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 462
ภูริทัตตะ สมัยเป็นพญานาคชื่อจัมเปยยกะ สมัยเป็นพญานาคชื่อสังขปาละ สมัยเป็นกระบี่ใหญ่ และในชาดกอื่นๆ เป็นอันมาก. จะป่วยกล่าวไปใย บัดนี้พระพุทธเจ้าของพวกเราทรงบรรลุลักษณะความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ได้มีพระวาทะเรื่องขันติ. การที่พวกเราจะมาประหัตประหารกันในเหตุเรื่องส่วนแบ่งพระสรีระของพระองค์ผู้เป็นบุคคลสูงสุด อย่างเช่นกล่าวมานี้นั้น ไม่ดีเลย. คําว่า น หิ สาธุยํ ตัดบทว่า น หิ สาธุ อยํ. บทว่าสรีรภาเค แปลว่า นิมิตแห่งส่วนของพระสรีระ อธิบายว่า เหตุส่วนแห่งพระบรมธาตุ. บทว่า สิย สมฺปหาโร ท่านอธิบายว่า การสัมปหารกันด้วยอาวุธไม่พึงดีเลย. บทว่า สพฺเพว โภนฺโต สหิตา ความว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทั้งหมดจงเกื้อกูลกัน อย่าแตกกันเลย. บทว่า สมคฺคา ได้แก่ จงเป็นผู้ประชุมพร้อมกัน พูดคําเดียวกัน สามัคคีกัน ทางกายและทางวาจาเถิด. บทว่า สมฺโมทมานา ได้แก่ จงเป็นผู้บรรเทิงต่อกันและกัน แม้ทางจิตเถิด. บทว่า กโรมฏฺ ภาเค ความว่า จงแบ่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นส่วน. บทว่า จกฺขุมโต ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. โทณพราหมณ์ได้กล่าวเหตุเป็นอันมากให้เข้าใจกันว่ามิใช่พวกท่านพวกเดียวที่เลื่อมใส แม้มหาชนก็เลื่อมใส ในชนเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าไม่ควรจะได้ส่วนแบ่งพระสรีระไม่มีแม้แต่คนเดียว.
บทว่า เตสํ สงฺฆานํ คณานํ ปฏิสฺสุณิตฺวา ความว่า เพราะหมู่คณะที่มาประชุมกันจากที่นั้นๆ เหล่านั้นรับฟัง (ยินยอม) โทณพราหมณ์จึงแบ่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น ๘ ส่วน เท่าๆ กัน. ลําดับความในเรื่องนั้น มีดังนี้.
เล่ากันว่า เพราะเจ้าเหล่านั้นยินยอม โทณพราหมณ์จึงสั่งให้เปิดรางทอง. เจ้าทั้งหลายก็มายืนที่รางทองนั่นแล ต่างแลเห็นพระบรมธาตุทั้งหลายมีวรรณะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 463
ดั่งทองคํา พากันรําพันว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพัญู แต่ก่อนข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้เห็นพระสรีระของพระองค์มีวรรณะดังทองคํา ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ขจิตด้วยพระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ งามรุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ แต่บัดนี้ ก็เหลือแต่พระบรมธาตุมีวรรณะดั่งทองคํา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การณ์นี้ไม่สมควรแก่พระองค์เลย. สมัยนั้น แม้โทณพราหมณ์รู้ว่าเจ้าเหล่านั้นเผลอก็ฉวยพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาเก็บไว้ในระหว่างผ้าโพก. ต่อมาภายหลังจึงแบ่งเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน พระบรมธาตุทั้งหมดรวมได้ ๑๖ ทะนาน โดยทะนานตามปกติเจ้านครแต่ละพระองค์ได้ไปองค์ละ ๒ ทะนานพอดี.
ส่วนเมื่อโทณพราหมณ์กําลังแบ่งพระบรมธาตุอยู่นั้นแล. ท้าวสักกะจอมเทพสํารวจดูว่า ใครหนอฉกเอาพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นปัจจัยแห่งการตรัสเรื่องสัจจะ ๔ เพื่อทรงประสงค์ตัดความสงสัยของโลกพร้อมทั้งเทวโลกไป ก็ทรงเห็นว่า พราหมณ์ฉกเอาไป. ทรงดําริว่าแม้พราหมณ์ก็ไม่อาจทําสักการะอันควรแก่พระเขี้ยวแก้วได้ จําเราจะถือเอาพระเขี้ยวแก้วนั้นไปเสีย แล้วทรงถือเอาจากระหว่างผ้าโพกบรรจุไว้ในผอบทองคํา นําไปยังเทวโลก ประดิษฐานไว้ ณ พระจุฬามณีเจดีย์. ฝ่ายพราหมณ์ครั้นแบ่งพระบรมธาตุแล้วไม่เห็นพระเขี้ยวแก้ว แต่เพราะตนฉกเอาโดยกิริยาของขะโมย จึงไม่อาจแม้แต่จะถามว่าใครฉกเอาพระเขี้ยวแก้วของเราไป. เห็นแต่การยกโทษลงในตนเองว่าเจ้าเท่านั้นแบ่งพระบรมธาตุมิใช่หรือ ทําไมเจ้าไม่รู้ว่าพระบรมธาตุของตนมีอยู่ก่อนเล่า. ลําดับนั้น พราหมณ์คิดว่าทะนานทองคํานี้ก็มีคติดังพระบรมธาตุ เราจักทําทะนานทองคําที่ตวงพระบรมธาตุของพระตถาคตเป็นสถูป แล้วจึงทูลว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายโปรดประทานทะนานลูกนี้แก่ข้าพระเจ้าเถิด. แม้เหล่าเจ้าโมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ส่งทูตไปตระเตรียมการรบ ยกออกไปเหมือนพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 464
พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าและงานมหกรรมในกรุงราชคฤห์. ถามว่า ได้ทรงทําอย่างไร? ตอบว่า ได้ทรงทําการมหกรรมตั้งแต่กรุงกุสินาราจนถึงกรุงราชคฤห์เป็นระยะทาง ๒๕ โยชน์. ในระหว่างนั้นทรงให้ทําทางกว้าง ๘ อุสภะ ปราบพื้นเรียบ สั่งให้ทําการบูชาในทางแม้ ๒๕ โยชน์เช่นที่เหล่าเจ้ามัลละสั่งให้ทําการบูชาระหว่างมกุฏพันธนเจดีย์และสัณฐาคาร ทรงขยายไปในระหว่างตลาดในที่ทุกแห่ง เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก ทรงให้ล้อมพระบรมธาตุที่บรรจุไว้ในรางทองคําด้วยลูกกรงหอก ให้ผู้คนชุมนุมกันเป็นปริมณฑล ๕๐๐ โยชน์ในแคว้นของพระองค์. ผู้คนเหล่านั้นรับพระบรมธาตุ เล่นสาธุกีฬา ออกจากกรุงกุสินารา พบเห็นดอกไม้มีสีดั่งทองคําในที่ใดๆ ก็เก็บดอกไม้เหล่านั้นในที่นั้นๆ บูชาพระบรมธาตุในระหว่างหอก เวลาดอกไม้เหล่านั้นหมดแล้วก็เดินต่อไป เมื่อถึงฐานแอกแห่งรถในคันหลัง ก็พากันเล่นสาธุกีฬาแห่งละ ๗ วันๆ เมื่อผู้คนรับพระบรมธาตุมากันด้วยอาการอย่างนี้ เวลาก็ล่วงไป ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน. เหล่ามิจฉาทิฏฐิพากันติเตียนว่า ตั้งแต่พระสมณโคดมปรินิพพานพวกเราก็วุ่นวายด้วยการเล่นสาธุกีฬาโดยพลการ การงานของพวกเราเสียหายหมด แล้วก็ขุ่นเคืองใจ ไปบังเกิดในอบายประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน.
เหล่าพระขีณาสพระลึกแล้วเห็นว่า มหาชนขุ่นเคืองใจพากันบังเกิดในอบาย แล้วดําริว่า พวกเราจักให้ท้าวสักกะเทวราชทรงทําอุบายนําพระบรมธาตุมา ดังนี้ จึงพากันไปยังสํานักท้าวสักกะเทวราชนั้น ทูลบอกเรื่องนั้นแล้วทูลว่า ท่านมหาราช ขอได้โปรดทรงทําอุบายนําพระบรมธาตุมาเถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าปุถุชนที่มีศรัทธาเสมอด้วยพระเจ้าอชาตศัตรูไม่มี พระองค์ไม่ทรงเชื่อเราดอก ก็แต่ว่า ข้าพเจ้าจักแสดงสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว เสมือนมารที่น่าสะพรึงกลัว จักประกาศเสียงดังลั่น จักทําเป็นคนไข้สั่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 465
ระรัวเหมือนคนผีเข้า ขอพระคุณเจ้าทูลว่า มหาบพิตร พวกอมนุษย์เขาโกรธเคือง ได้โปรดให้นําพระบรมธาตุไปโดยเร็ว ด้วยอุบายอย่างนี้ ท้าวเธอก็จักทรงให้นําพระบรมธาตุไป. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะก็ได้ทรงทําทุกสิ่งทุกอย่างดังกล่าวนั้น ฝ่ายพระเถระทั้งหลายก็เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลว่า ถวายพระพร พวกอมนุษย์เขาโกรธเคือง โปรดให้นําพระบรมธาตุไปเถิด. พระราชาตรัสว่าท่านเจ้าข้า จิตของโยมยังไม่ยินดีก่อน แต่เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะให้เขานําพระบรมธาตุไป. ในวันที่ ๗ ผู้คนทั้งหลายก็นําพระบรมธาตุมาถึง. ท้าวเธอทรงรับพระบรมธาตุที่มาด้วยอาการอย่างนั้น ทรงสร้างพระสถูปไว้ ณ กรุงราชคฤห์และทรงทํามหกรรม แม้เหล่าเจ้าพวกอื่นๆ ก็นําไปตามสมควรแก่กําลังของตนๆ สร้างพระสถูปไว้ณ สถานของตนๆ แล้วทํามหกรรม. บทว่า เอวเมตํภูตปุพฺพํ ความว่า การแบ่งพระบรมธาตุ และการสร้างพระสถูป ๑๐ แห่งนี้เคยมีมาแล้วในชมพูทวีปด้วยประการฉะนี้. ภายหลังพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้.
เมื่อสถาปนาพระสถูปกันดั่งนี้แล้ว พระมหากัสสปเถระเห็นอันตรายของพระบรมธาตุทั้งหลาย จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า ถวายพระพร ควรเก็บพระบรมธาตุไว้อย่างนี่แหละ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสว่า ดีละท่านเจ้าข้า กิจด้วยการเก็บพระบรมธาตุของโยมจงยกไว้ก่อน แต่โยมจะนําพระบรมธาตุที่เหลือมาได้อย่างไร. ทูลว่า ถวายพระพร การนําพระบรมธาตุมาไม่ใช่ภาระของมหาบพิตร แต่เป็นภาระของพวกอาตมภาพ. ตรัสว่า ดีละท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าโปรดนําพระบรมธาตุมาเถิด โยมจะเก็บไว้. พระเถระเว้นไว้เพียงที่ราชตระกูลนั้นๆ ปกปิดไว้ พระบรมธาตุส่วนที่เหลือก็นํามา. ส่วนพระบรมธาตุทั้งหลายในรามคามเหล่านาคเก็บรักษาไว้. พระเถระดําริว่าอันตรายของพระบรมธาตุเหล่านั้นไม่มี ต่อไปในอนาคตกาลคนทั้งหลายจักเก็บไว้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 466
ในพระมหาเจดีย์ ในมหาวิหาร ลังกาทวีปดังนี้ แล้วไม่นําพระบรมธาตุเหล่านั้นมา นํามาจากนครทั้ง ๗ ที่เหลือประดิษฐานไว้ ณ ทิศตะวันออกและทิศใต้แห่งกรุงราชคฤห์ อธิษฐานว่า หินอันใดมีอยู่ในที่นี้ หินอันนั้นจงอันตรธานไป ขอฝุ่นจงสะอาดด้วยดี ขอน้ำอย่าขึ้นถึง ดังนี้.
พระราชาสั่งให้ขุดที่นั้น คุ้ยฝุ่นออกจากที่นั้น ก่ออิฐแทน โปรดให้สร้างเจดีย์สําหรับพระอสีติมหาสาวก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้เมื่อมีคนถามว่า พระราชาโปรดให้สร้างอะไรไว้ในที่นี้ ตอบว่า ให้สร้างพระเจดีย์สําหรับพระมหาสาวกทั้งหลาย. แต่ในที่นั้นลึก ๘๐ ศอก โปรดให้ปูเครื่องลาดโลหะไว้ภายใต้ สร้างผอบที่ทําด้วยไม้จันทน์เหลืองเป็นต้น และพระสถูปไว้อย่างละ ๘ๆ. ครั้งนั้น พระราชาใส่พระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ในผอบจันทน์เหลือง ทรงใส่ผอบจันทน์เหลืองแม้นั้นลงในผอบจันทน์เหลืองอีกใบหนึ่ง แล้วทรงใส่ผอบจันทน์เหลืองแม้นั้นลงในผอบจันทน์เหลืองอีกใบหนึ่ง ดังกล่าวมาฉะนี้ เป็นอันทรงรวมผอบ ๘ ใบไว้ในใบเดียวกัน ด้วยอุบายอย่างนั้นแล ทรงใส่ผอบทั้ง ๘ ผอบนั้นลงในพระสถูปจันทน์เหลือง ๘ สถูป ทรงใส่สถูปจันทน์เหลืองทั้ง ๘ สถูปลงในผอบจันทน์แดง ๘ ผอบ ทรงใส่ผอบจันทน์แดงทั้ง ๘ ผอบลงในพระสถูปจันทน์แดง ๘ สถูป ทรงใส่สถูปจันทน์แดงทั้ง ๘ สถูปลงในผอบงา ทรงใส่ผอบงาตั้ง ๘ ผอบลงในสถูปงา ๘ สถูป แล้วทรงใส่สถูปงาทั้ง ๘ สถูปลงในผอบรัตนะล้วน ๘ ผอบ ทรงใส่ผอบรัตนะล้วน ๘ ผอบลงในสถูปรัตนะล้วน ๘ สถูป ทรงใส่สถูปรัตนะล้วน ๘ สถูปลงในผอบทองคํา ๘ ผอบ ทรงใส่ผอบทองคํา ๘ ผอบลงในสถูปทองคํา ๘ สถูป ทรงใส่สถูปทองคํา ๘ สถูปลงในผอบเงิน ๘ ผอบ ทรงใส่ผอบเงิน ๘ ผอบลงในสถูปเงิน ๘ สถูป ทรงใส่สถูปเงิน ๘ สถูปลงในผอบมณี ๘ ผอบ ทรงใส่ผอบมณี ๘ ผอบลงในสถูปมณี ๘ สถูป ทรงใส่สถูปมณี ๘ สถูปลงใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 467
ผอบทับทิม ๘ ผอบ แล้วทรงใส่ผอบทับทิมลงในสถูปทับทิม ๘ สถูป ทรงใส่สถูปทับทิม ๘ สถูปลงในผอบแก้วลาย ๘ ผอบ แล้วทรงใส่ผอบแก้วลาย ๘ ผอบลงในสถูปแก้วลาย ๘ สถูป ทรงใส่สถูปแก้วลาย ๘ สถูปลงในผอบแก้วผลึก ๘ ผอบ แล้วทรงใส่ผอบแก้วผลึกลงในสถูปแก้วผลึก ๘ สถูป.
เจดีย์แก้วผลึกมีก่อนเจดีย์ทั้งหมด ถือเอาเป็นประมาณแห่งเจดีย์ในถูปาราม. บนเจดีย์แก้วผลึกนั้นโปรดให้สร้างเรือนทําด้วยรัตนะล้วน. บนเรือนรัตนะนั้นให้สร้างเรือนทําด้วยทองคําไว้ บนเรือนทองคํานั้นให้สร้างเรือนด้วยเงินไว้ บนเรือนเงินนั้นให้สร้างเรือนทําด้วยทองแดงไว้ บนเรือนทองแดงนั้น โรยเมล็ดทรายทําด้วยรัตนะทั้งหมด เกลี่ยดอกไม้น้ำ ดอกไม้บกไว้ ๑,๐๐๐ ดอก โปรดให้สร้างชาดก ๕๕๐ ชาดก พระอสีติมหาเถระ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระนางมหามายาเทวี สหชาติทั้ง ๗ ทั้งหมดดังกล่าวมานี้ทําด้วยทองคําทั้งสิ้น. โปรดให้ตั้งหม้อน้ำเต็มที่ทําด้วยทองและเงินอย่างละ ๕๐๐ หม้อให้ยกธงทอง ๕๐๐ ธง ให้ทําประทีปทอง ๕๐๐ ดวง ประทีปเงิน ๕๐๐ ดวง ทรงใส่ไส้ผ้าเปลือกไม้ไว้ในประทีปเหล่านั้น บรรจุน้ำมันหอม. ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะอธิษฐานว่า พวงมาลัยอย่าเหี่ยว กลิ่นหอมอย่าหาย ประทีปอย่าไหม้ แล้วให้จารึกอักษรไว้ที่แผ่นทองว่า แม้ในอนาคตกาล ครั้งพระกุมารพระนามว่าอโศกจักเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช ท้าวเธอจักทรงกระทําพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลายไป ดังนี้. พระราชาทรงเอาเครื่องประดับทั้งหมดบูชา ทรงปิดประตูแล้วเสด็จออกไปตั้งแต่แรก. ท้าวเธอครั้นปิดประตูทองแดงแล้ว ทรงคล้องตรากุญแจไว้ที่เชือกผูก ทรงวางแท่งแก้วมณีแท่งใหญ่ไว้ที่ตรงนั้นนั่นเอง โปรดให้จารึกอักษรไว้ว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจนจงถือเอาแก้วมณีแท่งนี้กระทําสักการะพระบรมธาตุทั้งหลายเทอญ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 468
ท้าวสักกะเทวราชเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาทรงส่งไปด้วยพระดํารัสสั่งว่า พ่อเอย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเก็บพระบรมธาตุแล้ว เจ้าจงตั้งกองรักษาการณ์ไว้ที่นั้น. วิสสุกรรมเทพบุตรมาประกอบหุ่นยนต์มีโครงร่างร้าย รูปไม้ (หุ่นยนต์) ถือพระขรรค์สีแก้วผลึก ในห้องพระบรมธาตุ เคลื่อนตัวได้เร็วเสมือนลม. วิสสุกรรมเทพบุตรประกอบหุ่นยนต์แล้ว ติดลิ่มสลักไว้อันเดียวเท่านั้น เอาสิลาล้อมไว้โดยรอบ โดยอาการเสมือนเรือนสร้างด้วยอิฐ ข้างบนปิดด้วยสิลาแผ่นเดียว ใส่ฝุ่นแล้วทําพื้นให้เรียบ แล้วประดิษฐานสถูปหินไว้บนที่นั้น. เมื่อการเก็บพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยอย่างนี้แล้ว แม้พระเถระดํารงอยู่จนตลอดอายุก็ปรินิพพาน แม้พระราชาก็เสด็จไปตามยถากรรม พวกมนุษย์แม้เหล่านั้นก็ตายกันไป.
ต่อมาภายหลัง เมื่อครั้งอโศกกุมารเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชาพระนามว่าอโศก ทรงรับพระบรมธาตุเหล่านั้นไว้แล้ว ได้ทรงกระทําให้แพร่หลาย. ทรงกระทําให้แพร่หลายอย่างไร? พระเจ้าอโศกนั้นอาศัยนิโครธสามเณร ทรงได้ความเลื่อมใสในพระศาสนา โปรดให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร แล้วตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า โยมให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหารแล้วจักได้พระบรมธาตุมาจากไหนเล่าท่านเจ้าข้า. ภิกษุสงฆ์ทูลว่า ถวายพระพร พวกอาตมภาพฟังมาว่า ชื่อว่าที่เก็บพระบรมธาตุมีอยู่ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน. พระราชาให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ก็ไม่พบ ทรงให้ทําพระเจดีย์คืนดีอย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปยังกรุงเวสาลี แม้ในที่นั้นก็ไม่ได้ ก็ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ แม้ในที่นั้นก็ไม่ได้ แล้วไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคามก็ไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์. จอบที่ตกต้องพระเจดีย์ก็หักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ในที่นั้นก็ไม่ได้ ก็ไปยังเมืองอัลลกัปปะเวฏฐทีปะ ปาวา กุสินารา ในที่ทุกแห่งดั่งกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 469
มานี้ รื้อพระเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย ครั้นทําเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดีดั่งเดิมแล้วก็กลับไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่าใครเคยได้ยินว่าที่เก็บพระบรมธาตุในที่ชื่อโน้น มีบ้างไหม. ในที่ประชุมนั้นพระเถระรูปหนึ่งอายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่าอาตมาภาพก็ไม่รู้ว่าที่เก็บพระบรมธาตุอยู่ที่โน้น แต่พระมหาเถระบิดาอาตมภาพให้อาตมภาพครั้งอายุ ๗ ขวบถือหีบมาลัย กล่าวว่า มานี่สามเณร ระหว่างกอไม้ตรงโน้นมีสถูปหินอยู่ เราไปกันที่นั้นเถิด แล้วไปบูชา ท่านพูดว่า สามเณรควรพิจารณาที่ตรงนี้. ถวายพระพร อาตมภาพรู้เท่านี้ พระราชาตรัสว่าที่นั่นแหละ แล้วสั่งให้ตัดกอไม้ แล้วนําสถูปหินและฝุ่นออกก็ทรงเห็นพื้นโบกปูนอยู่ แต่นั้นทรงทําลายปูนโบกและแผ่นอิฐแล้ว เสด็จสู่บริเวณตามลําดับ ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ ๗ ประการ และรูปไม้ (หุ่นยนต์) ถือดาบ เดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้เหล่าคนผู้ถือผีมา แม้ให้ทําการเช่นสรวงแล้วก็ไม่เห็นที่สุดโต่งสุดยอดเลย จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลายแล้วตรัสว่า ข้าพเจ้ารับพระบรมธาตุเหล่านี้แล้วบรรจุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร จะทําสักการะ ขอเทวดาอย่าทําอันตรายแก่ข้าพเจ้าเลย.
ท้าวสักกะเทวราชเสด็จจาริกไปทรงเห็นพระเจ้าอโศกนั้นแล้ว เรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อเอย พระธรรมราชาอโศกจักทรงนําพระบรมธาตุไป เพราะฉะนั้น เจ้าจงลงสู่บริเวณไปทําลายรูปไม้ (หุ่นยนต์) เสีย วิสสุกรรมเทพบุตรนั้นก็แปลงเพศเป็นเด็กชาวบ้านไว้จุก ๕ แหยม ยืนถือธนูตรงพระพักตร์ของพระราชาแล้วทูลว่า ข้าจะนําไปมหาราชเจ้า. พระราชาตรัสว่านําไปสิพ่อ. วิสสุกรรมเทพบุตรจับศรยิงตรงที่ผูกหุ่นยนต์นั้นแล ทําให้ทุกอย่างกระจัดกระจายไป. ครั้งนั้น พระราชาทรงถือตรากุญแจที่ติดอยู่ที่เชือกผูก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 470
ทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณีและเห็นอักษรจารึกว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจนถือเอาแก้วมณีแท่งนี้แล้ว จงทําสักการะพระบรมธาตุทั้งหลาย ทรงกริ้วว่า ไม่ควรพูดหมิ่นพระราชาเช่นเราว่าเจ้าแผ่นดินยากจน ดังนี้แล้วทรงเคาะซ้ำๆ กันให้เปิดประตู เสด็จเข้าไปภายในเรือนประทีปที่ตามไว้เมื่อ ๒๑๘ ปี ก็โพลงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ดอกบัวขาบก็เหมือนนํามาวางไว้ขณะนั้นเอง เครื่องลาดดอกไม้ก็เหมือนลาดไว้ขณะนั้นเอง เครื่องหอมก็เหมือนเขาบดวางไว้เมื่อครู่นี้เอง. พระราชาทรงถือแผ่นทอง ทรงอ่านว่า ต่อไปในอนาคตกาล ครั้งกุมารพระนามว่าอโศกจักเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชาพระนามว่าอโศก ท้าวเธอจักทรงกระทําพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลายดังนี้ แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระเห็นตัวเรา แล้วทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบกับพระหัตถ์ขวา. ท้าวเธอเว้นเพียงพระบรมธาตุที่ปกปิดไว้ในที่นั้น ทรงนําพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมดมาแล้ว ปิดเรือนพระบรมธาตุไว้เหมือนอย่างเดิม ทรงทําที่ทุกแห่งเป็นปกติอย่างเก่าแล้ว โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ไว้ข้างบนบรรจุพระบรมธาตุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร ทรงไหว้พระมหาเถระแล้วตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้า โยมเป็นทายาทในพระพุทธศาสนาได้ไหม พระมหาเถระทูลว่า ถวายพระพร มหาบพิตรยังเป็นคนภายนอกของพระศาสนาจะเป็นทายาทของอะไรเล่า. ตรัสถามว่า ก็โยมบริจาคทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ให้สร้างวิหารไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ วิหาร ยังไม่เป็นทายาทคนอื่นใครเล่าจะเป็นทายาท. พูดว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตรได้ชื่อว่าเป็นปัจจยทายก ก็ผู้ใดบวชบุตรหรือธิดาของตน ผู้นี้จึงจะชื่อว่า เป็นทายาทของพระศาสนา. ท้าวเธอจึงให้บวชพระโอรสและพระธิดา. ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายทูลพระองค์ว่า ขอถวายพระพร บัดนี้มหาบพิตรเป็นทายาทในพระศาสนาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 471
บทว่า เอวเมตํ ภูตปุพุพํ ความว่า แม้การเก็บพระบรมธาตุในอดีตกาลนี้เคยมีมาแล้วในภาคพื้นชมพูทวีป ด้วยประการฉะนี้ แม้การกสงฆ์ผู้ทําสังคายนาครั้งที่ ๓ ก็วางบทนี้ไว้. ก็คาถา เป็นต้นว่า อฏฺโทณํ จกฺขุมโต สรีรํ เป็นต้นนี้ พระเถระชาวสีหลทวีป กล่าวไว้แล้วแล.
จบ อรรถกถามหาปรินิพพานสูตรที่ ๓