พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36146
อ่าน  858

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 334

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ขอเชิญรับฟัง...

พระเจ้าปุกกุสาติ ๑

พระเจ้าปุกกุสาติ ๒


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 334

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด.

[๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด.

[๖๗๕] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้วทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ตั้งพระกายตรงดํารงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก.แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดําริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 335

ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร.

[๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไป อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน.

ปุ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม.

ปุ. ดูก่อนผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก.

[๖๗๗] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดําริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา. แต่นั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงพึงธรรมนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 336

จงใส่ใจให้ดี. เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ.

[๖๗๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสําคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสําคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก.

[๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุอาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโนเป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส.นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมหน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 337

ที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจมีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี๖คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ.

[๖๘๔] ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กําหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูกม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แข่นแข็ง กําหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกําหนัดปฐวีธาตุได้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 338

[๖๘๕] ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไปกําหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กําหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น.พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกําหนัดอาโปธาตุได้.

[๖๘๖] ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกําหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกําหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุและจะให้จิตคลายกําหนัดเตโชธาตุได้.

[๖๘๗] ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กําหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ํา ลมในท้องลมในลําไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 339

หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กําหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกําหนัดวาโยธาตุได้.

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กําหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กินที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กําหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกําหนัดอากาสธาตุได้.

[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องบุคคลย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 340

กําลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไปย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ.

[๖๙๐] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากําลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไปย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 341

เสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว.

[๖๙๑] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไปสังเกตดูไปเป็นระยะๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อนสลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหูเครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสําเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาองเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดํารงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดํารงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดํารงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญาย-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 342

ตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดํารงอยู่ตลอดกาลยืนนาน.บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คํานึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คํานึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยงอันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวยถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 343

[๖๙๒] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแลบุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กําลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กําเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จสิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดาเป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้นแลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาทความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 344

แล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะโทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น.นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสําคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสําคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสําคัญตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสําคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสําคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กําเริบ.ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกําเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กําเริบจักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสําคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสําคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจําธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 345

[๖๙๔] ลําดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดาพระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลําดับ จึงลุกจากอาสนะทําจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลาไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สําคัญ ถ้อยคําที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสํารวมต่อไปเถิด.

[๖๙๕] พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สําคัญ ถ้อยคําที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทําคืนตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทําคืนตามธรรม ถึงความสํารวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ.

ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย.

[๖๙๖] ลําดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทําประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กําลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 346

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทํากาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร.

[๖๙๗] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลําบากเพราะเหตุแห่งธรรมดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ํา ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 347

อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร

ธาตุวิภังคสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า จาริกํ (เสด็จจาริก) ได้แก่ จาริกไปโดยรีบด่วน. บทว่า สเจ เต อครุ (ถ้าท่านไม่หนักใจ) ความว่า ถ้าไม่เป็นความหนักใจ คือ ไม่ผาสุกอะไรแก่ท่าน บทว่า สเจ โส อนุชานาติ (ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาติ) ความว่าได้ยินว่า ภัคควะมีความคิดอย่างนี้ว่าธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีอัธยาศัยต่างกัน คนหนึ่งมีหมู่เป็นที่มายินดีคนหนึ่งยินดีอยู่คนเดียว ถ้าคนนั้นยินดีอยู่คนเดียว จักกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุท่านอย่าเข้ามาข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว ถ้าคนนี้ยินดีอยู่คนเดียวก็จักพูดว่าดูก่อนผู้มีอายุ ท่านจงออกไป ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จักเป็นเหตุให้คนทั้งสองทําการทะเลาะกัน ธรรมดาสิ่งที่ให้แล้ว ก็ควรเป็นอันให้แล้วเทียว สิ่งที่ทําแล้ว ก็ควรเป็นอันทําแล้วแล. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.บทว่า กุลปุตฺโต (กุลบุตร) ได้แก่ กุลบุตรโดยชาติบ้าง กุลบุตรโดยมรรยาทบ้าง. บทว่า วาสูปคโต (เข้าไปอยู่) ได้แก่เข้าไปอยู่แล้ว. ถามว่ากุลบุตรนั้น มาจากไหน. ตอบว่าจากนครตักกศิลา. ในเรื่องนั้นมีการเล่าโดยลําดับดังนี้.

ได้ยินว่า ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าปุกกุสาติเสวยราชสมบัติในพระนครตักกศิลา ในปัจจันตประเทศ. ครั้งนั้น พ่อค้าทั้งหลายต่างก็เอาสินค้าจากพระนครตักกศิลามาสู่พระนครราชคฤห์นําบรรณาการไปถวายแต่พระราชา. พระราชาตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้น ผู้ยืนถวายบังคมว่า พวกท่านอยู่ที่ไหน. ขอเดชะ อยู่ในพระนคร.ตักกศิลา. ลําดับนั้น พระราชาตรัสถามถึงความเกษม และความที่ภิกษาหาได้ง่ายเป็นต้น ของชนบทและประวัติแห่งพระนครกะพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสถาม

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 348

ว่า พระราชาของพวกท่านมีพระนามอย่างไร. พระนามว่า ปุกกุสาติ พระพุทธเจ้าข้า. ทรงดํารงอยู่ในธรรมหรือ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ทรงดํารงอยู่ในธรรม ทรงสงเคราะห์ชนด้วยสังคหวัตถุสี่ ทรงดํารงอยู่ในฐานะมารดาบิดาของโลก ทรงยังชนดุจทารกนอนบนตักให้ยินดี. ทรงมีวัยเท่าใด. ลําดับนั้น พวกพ่อค้าทูลบอกวัยแด่พระราชานั้น. ทรงมีวัยเท่ากับพระเจ้าพิมพิสาร. ครั้งนั้นพระราชาตรัสกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พระราชาของพวกท่านดํารงอยู่ในธรรม และทรงมีวัยเท่ากับเรา พวกท่านพึงอาจเพื่อทําพระราชาของพวกท่านให้เป็นมิตรกับเราหรือ. อาจ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงสละภาษีแก่พ่อค้าเหล่านั้น ทรงให้พระราชทานเรือนแล้วตรัสว่า พวกท่านประสงค์ในเวลาขายสินค้ากลับไป พวกท่านพึงพบเราแล้วจึงกลับไปดังนี้. พ่อค้าเหล่านั้น ทําอย่างนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชาในเวลากลับ. พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงกลับ ไป พวกท่านจงทูลถามถึงความไม่มีพระโรคบ่อยๆ ตามคําของเราแล้วทูลว่า พระราชาทรงพระประสงค์มิตรภาพกับพระองค์. พ่อค้าเหล่านั้นทูลรับพระราชโองการแล้ว ไปรวบรวมสินค้า รับประทานอาหารเช้าแล้วเข้าไปถวายบังคมพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า แนะพนาย พวกท่านไปไหนไม่เห็นหลายวันแล้ว. พวกพ่อค้าทูลบอกเรื่องราวทั้งหมดแด่พระราชา. พระราชาทรงมีพระหฤทัยยินดีว่าดูก่อนพ่อทั้งหลายเป็นการดีเช่นกับเรา พระราชาในมัชฌิมประเทศได้มิตรแล้วเพราะอาศัยพวกท่าน.

ในเวลาต่อมา พ่อค้าทั้งหลายแม้อยู่ในพระนครราชคฤห์ ก็ไปสู่พระนครตักกศิลา. พระเจ้าปุกกุสาติตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้น ผู้ถือบรรณาการมาว่า พวกท่านมาจากไหน. พระราชาทรงสดับว่าจากพระนครราชคฤห์จึงตรัสว่า พวกท่านมาจากพระนครของพระสหายเรา. อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามถึงความไม่มีพระโรคว่า พระสหายของ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 349

เราไม่มีพระโรคหรือ แล้วทรงให้ตีกลองประกาศว่า จําเดิมแต่วันนี้ พวกพ่อค้าเดินเท้า หรือ พวกเกวียนเหล่าใด มาจากพระนครของพระสหายเรา จําเดิมแต่กาลที่พ่อค้าทั้งปวง เข้ามาสู่เขตแดนของเรา จงไห้เรือนเป็นที่พักอาศัยและเสบียงจากพระคลังหลวง จงสละภาษี อย่าทําอันตรายใดๆ แก่พ่อค้าเหล่านั้นดังนี้. ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงให้ตีกลองประกาศเช่นนี้ เหมือนกันในพระนครของพระองค์. ลําดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงส่งพระบรรณาการแก่พระเจ้าปุกกุสาติว่า รัตนะทั้งหลายมีแก้วมณีและมุกดาเป็นต้น ย่อมเกิดในปัจจันตประเทศ รัตนะใดที่ควรเห็น หรือควรฟัง เกิดขึ้นในราชสมบัติแห่งพระสหายของเราขอพระสหายเราจงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น. ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติ ก็ทรงส่งพระราชบรรณาการตอบไปว่า ธรรมดามัชฌิมประเทศเป็นมหาชนบท รัตนะเห็นปานนี้ใด ย่อมเกิดในมหาชนบทนั้น ขอพระสหายของเราจงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น. เนื้อกาลล่วงไปๆ อย่างนี้ พระราชาเหล่านั้น แม้ไม่ทรงเห็นกัน ก็เป็นมิตรแน่นแฟ้น. เมื่อพระราชาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงทําการตรัสอยู่อย่างนี้ บรรณาการย่อมเกิดแก่พระเจ้าปุกกุสาติก่อน. ได้ยินว่าพระราชาทรงได้ผ้ากัมพล ๘ ผืน อันหาค่ามิได้ มีห้าสี. พระราชานั้นทรงพระดําริว่า ผ้ากัมพลเหล่านี้งามอย่างยิ่ง เราจักส่งให้พระสหายของเรา. ทรงส่งอํามาตย์ทั้งหลายด้วยพระดํารัสว่า พวกท่านจงให้ทําผอบแข็งแรง ๘ ผอบเท่าก้อนครั่งใส่ผ้ากัมพลเหล่านั้น ในผอบเหล่านั้น ให้ประทับด้วยครั่งพันด้วยผ้าขาวใส่ในหีบพันด้วยผ้า ประทับด้วยตราพระราชลัญจกรแล้วถวายแก่พระสหายของเรา และได้พระราชทานพระราชสาส์นว่า บรรณาการนี้ อันเราผู้อํามาตย์เป็นต้น แวดล้อมแล้ว เห็นในท่ามกลางพระนคร. อํามาตย์เหล่านั้น ไปทูลถวายแด่พระเจ้าพิมพิสาร.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 350

พระเจ้าพิมพิสารนั้น ทรงสดับพระราชสาส์น ทรงให้ตีกลองประกาศว่าชนทั้งหลายมีอํามาตย์เป็นต้น จงประชุม ดังนี้ อันอํามาตย์เป็นต้นแวดล้อมแล้วในท่ามกลางพระนคร ทรงมีพระเศวตฉัตรกั้นประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์อันประเสริฐ ทรงทําลายรอยประทับ เปิดผ้าออก เปิดผอบ แก้เครื่องภายในทรงเห็นก้อนครั่ง ทรงพระราชดําริว่า พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา คงสําคัญว่า พระสหายของเรามีพระราชหฤทัยรุ่งเรือง จึงทรงส่งพระราชบรรณาการนี้ไปให้ดังนี้. ทรงจับก้อนอันหนึ่งแล้วทรงทุบด้วยพระหัตถ์ พิจารณาดูก็ไม่ทรงทราบว่า ภายในมีเครื่องผ้า. ลําดับนั้น ทรงที่ก้อนนั้นที่เชิงพระราชบัลลังก์. ทันใดนั้น ครั่งก็แตกออก. พระองค์ทรงเปิดผอบด้วยพระนขา ทรงเห็นกัมพลรัตนะภายในแล้ว ทรงให้เปิดผอบทั้งหลาย แม้นอกนี้. แม้ทั้งหมดก็เป็นผ้ากัมพล. ลําดับนั้น ทรงให้คลีผ้ากัมพลเหล่านั้น. ผ้ากัมพลเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยสี ถึงพร้อมด้วยผัสสะ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก. มหาชนทั้งหลาย เห็นแล้วกระดิกนิ้ว ทําการยกผ้าเล็กๆ ขึ้น พากันดีใจว่า พระเจ้าปุกกุสาติ พระสหายไม่เคยพบเห็นของพระราชาแห่งพวกเรา ไม่ทรงเห็นกันเลย ยังทรงส่งพระราชบรรณาการเห็นปานนี้ สมควรแท้เพื่อทําพระราชาเห็นปานนี้ให้เป็นมิตร. พระราชาทรงให้ตีราคาผ้ากัมพลแต่ละผืน. ผ้ากัมพลทุกผืนหาค่ามิได้. ในผ้ากัมพลแปดผืนนั้น ทรงถวายสี่ผืนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.ทรงไว้ใช้สี่ผืนในพระราชวังของพระองค์. แต่นั้น ทรงพระราชดําริว่า การที่เราเมื่อจะส่งภายหลัง ก็ควรส่งบรรณาการดีกว่าบรรณาการที่ส่งแล้วก่อน ก็พระสหายได้ส่งบรรณาการอันหาค่ามิได้แก่เรา เราจะส่งอะไรดีหนอ. ก็ในกรุงราชคฤห์ไม่มีวัตถุที่ดียิ่งกว่านั้นหรือ. ไม่มีหามิได้พระราชาทรงมีบุญมากก็อีกประการหนึ่ง จําเดิมแต่กาลที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว เว้นจากพระ-

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 351

รัตนตรัยแล้วไม่มีสิ่งใดอื่น ที่ชื่อว่า สามารถเพื่อยังพระโสมนัสให้เกิดขึ้นได้.พระองค์จึงทรงปรารภเพื่อทรงเลือกรัตนะ.

ธรรมดารัตนะ มี๒ อย่างคือ มีวิญญาณ ไม่มีวิญญาณ. ในรัตนะ๒ อย่างนั้น รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ได้แก่ทอง และเงินเป็นต้น ที่มีวิญญาณได้แก่สิ่งที่เนื่องกับ อินทรีย์. รัตนะที่ไม่มีวิญญาณเป็นเครื่องใช้ ด้วยสามารถแห่งเครื่องประดับ เป็นต้น ของรัตนะที่มีวิญญาณนั้นเทียว. ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะที่มีวิญญาณประเสริฐที่สุด. รัตนะแม้มีวิญญาณมี ๒ อย่างคือ ดิ รัจฉานรัตนะ มนุษยรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น ดิรัจฉานรัตนะ ได้แก่ช้างแก้วและม้าแก้ว. ดิรัจฉานรัตนะแม้นั้น เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ทั้งหลายนั้นเทียว. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น มนุษยรัตนะประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้มนุษยรัตนะก็มี๒ อย่างคือ อิตถีรัตนะ ปุริสรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น แม้อิตถีรัตนะ ซึ่งเกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเป็นอุปโ ภคของบุรุษแล. ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ปุริสรัตนะเทียว ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้.แม้ปุริสรัตนะก็มี๒ อย่างคือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑. แม้ในอาคาริกรัตนะนั้น พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนมัสการสามเณรที่บวชในวันนี้ด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์. ในรัตนะทั้ง ๒ อย่างแม้นี้ อนาคาริกรัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุด. แม้อนาคาริกรัตนะก็มี๒ อย่างคือ เสกขรัตนะ ๑ อเสกรัตนะ ๑.ในอนาคาริกรัตนะ ๒ อย่างนั้น พระเสกขะตั้งแสนย่อมไม่ถึงส่วนแห่งพระอเสกขะ.ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้ อเสกขรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุด. อเสกขรัตนะแม้นั้น ก็มี ๒ อย่างคือ พุทธรัตนะ สาวกรัตนะ. ในอเสกขรัตนะนั้น สาวกรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของพุทธรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้พุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้พุทธรัตนะก็มี ๒ อย่างชื่อ ปัจเจกพุทธรัตนะ สัพพัญูพุทธรัตนะ ในพุทธรัตนะนั้น ปัจเจก

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 352

พุทธรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของสัพพัญูพุทธเจ้า. ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้สัพพัญูพุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. ก็ขึ้นชื่อว่ารัตนะที่เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. เพราะฉะนั้นจึงทรงพระราชดําริว่า เราจักส่งรัตนะที่ไม่มีอะไรเสมอเท่านั้น แก่พระสหายของเราจึงตรัสถามพวกพ่อค้าชาวนครตักกศิลาว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย รัตนะ๓ อย่างนี้คือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ย่อมปรากฏในชนบทของพวกท่านหรือ.ข้าแต่มหาราช แม้เสียงก็ไม่มีในชนบทนั้น ก็การเห็นจักมีแต่ที่ไหนเล่า.

พระราชาทรงยินดีแล้ว ทรงพระราชดําริว่า เราอาจเพื่อจะส่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่สถานที่เป็นที่อยู่ของพระสหายเรา เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชน แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงแรมคืนในปัจจันตชนบททั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจะไม่อาจเสด็จไป พึงอาจส่งพระมหาสาวกมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น แต่เราฟังมาว่า พระเถระทั้งหลายอยู่ในปัจจันตชนบทสมควรเพื่อส่งคนทั้งหลายไปนําพระเถระเหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้ตนแล้ว บํารุงเทียว เพราะฉะนั้น แม้พระเถระทั้งหลายไม่อาจไป ครั้นส่งสาส์นไปแล้ว ด้วยบรรณาการใด พระศาสดาและพระมหาสาวกทั้งหลายก็เป็นเหมือนไปแล้ว เราจักส่ง สาส์นด้วยบรรณาการนั้น ดังนี้ทรงพระราชดําริอีกว่าเราให้ทําแผ่นทองคํา ยาว สี่ศอก กว้างประมาณ หนึ่งคืบ หนาพอควร.ไม่บางนัก ไม่หนานัก แล้วจักลิขิตอักษรลงในแผ่นทองคํานั้นในวันนี้ ทรงสนานพระเศียรตั้งแต่เช้าตรู่ ทรงอธิษฐานองค์พระอุโบสถทรงเสวยพระยาหารเช้า ทรงเปลื้องพระสุคนธมาลาและอาภรณ์ออก ทรงถือชาดสีแดงด้วยพระขันทอง ทรงปิดพระทวารทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นล่าง เสด็จขึ้นพระปราสาททรงเปิดพระสีหบัญชรด้านทิศตะวันออก ประทับนั่งบนพื้นอากาศ ทรงลิขิตพระอักษรลงในแผ่นทองคํา ทรงลิขิตพระพุทธคุณโดยเอกเทศก่อนว่า พระ-

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 353

ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกตนอย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตื่นแล้ว ทรงจําแนกพระธรรม เสด็จอุบัติในโลกนี้ ดังนี้.

ต่อแต่นั้น ทรงลิขิตว่า พระพุทธเจ้าทรงบําเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศอย่างนี้ ทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา การเปิดโลกได้มีแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงอยู่ในพระครรภ์มารดา ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อทรงอยู่ครอบครองเรือน ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อเสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์อย่างนี้ ทรงเริ่มตั้งความเพียรอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ ทรงบําเพ็ญทุกรกิริยาอย่างนี้เสด็จขึ้นสู่ควงมหาโพธิ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์แล้ว ทรงแทงตลอดสัพพัญูตญาณ เมื่อทรงแทงตลอดสัพพัญูตญาณ เป็นอันมีการเปิดโลกแล้วอย่างนี้ ในชื่อว่ารัตนะเห็นปานนี้ อื่นไม่มีในโลกพร้อมกับเทวโลก ดังนี้ทรงลิขิตพระพุทธคุณทั้งหลายโดยเอกเทศอย่างนี้ว่า

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตไม่มี พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคําสัตย์นี้ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้

เมื่อจะทรงชมเชยธรรมรัตนะที่สองว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้แล้ว ทรงลิขิตโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยเอกเทศว่า สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ มรรคมีองค์แปด

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 354

อันประเสริฐ ชื่อว่า พระธรรมอันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว เห็นปานนี้และเห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วทรงลิขิตพระธรรมคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ซึ่งสมาธิใดว่า ให้ผลในลําดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคําสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้

ต่อแต่นั้น เมื่อจะทรงชมเชยพระสังฆรัตนะที่สามว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้ ทรงลิขิตจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีลโดยเอกเทศว่า ธรรมดากุลบุตรทั้งหลายฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ออกบวชอย่างนี้ บางพวกละเศวตฉัตรบวช บางพวกละความเป็นอุปราชบวช บางพวกละตําแหน่งทั้งหลายมีตําแหน่งเสนาบดีเป็นต้นบวช ก็แล ครั้นบวชแล้ว บําเพ็ญปฏิบัตินี้ ทรงลิขิตการสํารวมในทวารหก สติสัมปชัญญะความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัยสี่การละนีวรณ์บริกรรมฌานและอภิญญา กรรมฐาน ๓๘ ประการ จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยเอกเทศ ทรงลิขิตอานาปานสติกรรมฐาน ๖ ประการ โดยพิสดารเทียว ทรงลิขิตพระสังฆคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า ชื่อว่า พระสงฆ์สาวกของพระศาสดาถึงพร้อมด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ และเห็นปานนี้

บุคคลเหล่าใด ๘ จําพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคล

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 355

เหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระสุคต ทานทั้งหลายอันบุคคลถวายแล้ว ในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคําสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ทรงลิขิตว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว เป็นศาสนานําสัตว์ออกจากทุกข์ถ้าพระสหายของเราจะอาจไซร้ ขอได้เสด็จออกทรงผนวชเถิด ดังนี้ ทรงม้วนแผ่นทองคํา พันด้วยผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ทรงใส่ในหีบอันแข็งแรง ทรงวางหีบนั้นในหีบทองคํา ทรงวางหีบทองคําลงในหีบเงินทรงวางหีบเงินลงในหีบแก้วมณี ทรงวางหีบแก้วมณีลงในหีบแก้วประพาฬ ทรงวางหีบแก้วประพาฬลงในหีบทับทิม ทรงวางหีบทับทิมลงในหีบแก้วมรกต ทรงวางหีบแก้วมรกตลงในหีบแก้วผลึก ทรงวางหีบแก้วผลึกลงในหีบงา ทรงวางหีบงาลงในหีบรัตนะทุกอย่าง ทรงวางหีบรัตนะทุกอย่างลงในหีบเสื่อลําแพน ทรงวางหีบเสื่อลําแพนลงในผอบแข็งแรง

ทรงวางผอบแข็งแรงลงในผอบทองอีก ทรงนําไปโดยนัยก่อนนั้นเทียว ทรงวางผอบที่ทําด้วยรัตนะทุกอย่างลงในผอบที่ทําด้วยเสื่อลําแพน. แต่นั้นทรงวางผอบที่ทําด้วยเสื่อลําแพนลงในหีบที่ทําด้วยไม้แก่น ทรงนําไปโดยนัยกล่าวแล้วอีกนั้นเทียว ทรงวางหีบที่ทําด้วยรัตนะทุกชนิดลงในหีบที่ทําด้วยเสื่อลําแพน ข้างนอกทรงพันด้วยผ้าประทับตราพระราชลัญจกร ตรัสสั่งอํามาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงตกแต่งทางในสถานที่ซึ่งอยู่ในอํานาจของเราทําให้กว้างแปดอุสภะ สถานที่สี่อุสภะ ต้องให้งามเสมอ ท่านทั้งหลายจงตกแต่งสถานที่สี่อุสภะ ในท่ามกลางด้วยอานุภาพของพระราชา. แต่นั้น ทรงส่ง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 356

ทูตด่วน แก่ข้าราชการภายในว่า จงประดับช้างมงคล จัดบัลลังก์บนช้างนั้นยกเศวตฉัตร ทําถนนพระนครให้สวยงาม ประดับประดาอย่างดี ด้วยธงปฏากอันงดงาม ต้นกล้วย หม้อน้ำที่เต็ม ของหอม ธูป และดอกไม้เป็นต้น จงทําบูชาเห็นปานนี้ ในสถานที่ครอบครองของตนๆ ดังนี้ ส่วนพระองค์ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อันกองกําลังพร้อมกับดนตรีทุกชนิดแวดล้อม ทรงพระราชดําริว่า เราจะส่งบรรณาการไปดังนี้ เสด็จไปจนสุดพระราชอาณาเขตของพระองค์แล้ว ได้พระราชทานพระราชสาส์นสําคัญแก่อํามาตย์แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา เมื่อจะทรงรับบรรณาการนี้ อย่ารับในท่ามกลางตําหนักนางสนมกํานัล จงเสด็จขึ้นพระปราสาทแล้วทรงรับเถิด. ครั้นพระราชทานพระราชสาส์นนี้แล้ว ทรงพระราชดําริว่า พระศาสดาเสด็จไปสู่ปัจจันตประเทศ ทรงนมัสการด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์แล้วเสด็จกลับ. ส่วนข้าราชการภายในทั้งหลาย ตกแต่งทางโดยทํานองนั้นเทียว นําไปซึ่งพระราชบรรณาการ.

ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติ ทรงตกแต่งทางโดยทํานองนั้น ตั้งแต่รัชสีมาของพระองค์ ทรงให้ประดับประดาพระนคร ได้ทรงกระทําการต้อนรับพระราชบรรณาการ. พระราชบรรณาการเมื่อถึงพระนครตักกศิลา ได้ถึงในวันอุโบสถ. ฝ่ายอํามาตย์ผู้รับพระราชบรรณการไปทูลบอกพระราชสาส์นที่กล่าวแต่พระราชา. พระราชาทรงสดับพระราชสาส์นนั้นแล้ว ทรงพิจารณากิจควรทําแก่อํามาตย์ทั้งหลายผู้มาพร้อมกับพระราชบรรณาการ ทรงถือพระราชบรรณาการ เสด็จขึ้นสู่พระปราสาทแล้วตรัสว่า ใครๆ อย่าเข้ามาในที่นี้ทรงให้ทําการรักษาที่พระทวาร ทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงวางพระราชบรรณาการ บนที่พระบรรทมสูง ส่วนพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะต่ํา ทรงทําลายรอยประทับ ทรงเปลื้องเครื่องห่อหุ้ม เมื่อทรงเปิดโดยลําดับจําเดิมแต่

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 357

หีบเสื่อลําแพน ทรงเห็นหีบซึ่งทําด้วยแก่นจันทร์ ทรงพระราชดําริว่า ชื่อว่ามหาบริวารนี้ จักไม่มีแก่รัตนะอื่น รัตนะที่ควรฟังได้เกิดขึ้นแล้ว ในมัชฌิมประเทศแน่แท้. ลําดับนั้น ทรงเปิดหีบนั้นแล้ว ทรงทําลายรอยประทับ พระราชลัญจนะ ทรงเปิดผ้ากัมพลอันละเอียดทั้งสองข้าง ทรงเห็นแผ่นทองคํา.พระองค์ทรงคลี่แผ่นทองคํานั้นออก ทรงพระราชดําริว่า พระอักษรทั้งหลายน่าพอใจจริงหนอ มีหัวเท่ากัน มีระเบียบเรียบร้อย มีมุมสี่ ดังนี้ ทรงปรารภเพื่อจะทรงอ่านจําเดิมแต่ต้น. พระโสมนัสอัน มีกําลังได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ที่ทรงอ่านแล้วอ่านอีกซึ่งพระพุทธคุณทั้งหลายว่า พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ ขุมพระโลมาเก้าหมื่นเก้าพันขุม ก็มีปลายพระโลมชูชันขึ้น. พระองค์ไม่ทรงทราบถึงความที่พระองค์ ประทับยืน หรือประทับนั่ง. ลําดับนั้นพระปีติอันมีกําลังอย่างยิ่งได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า เราได้ฟังพระศาสนาที่หาได้โดยยากนี้ แม้โดยแสนโกฏิกัปป์. เพราะอาศัยพระสหาย. พระองค์เมื่อไม่อาจเพื่อทรงอ่านต่อไป ก็ประทับนั่งจนกว่ากําลังปีติสงบระงับ แล้วทรงปรารภพระธรรมคุณทั้งหลายต่อไปว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วดังนี้.พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นแม้ในพระธรรมคุณนั้นเทียว. พระองค์ประทับนั่งอีกจนกว่าความสงบแห่งกําลังปีติ ทรงปรารภพระสังฆคุณทั้งหลายต่อไปว่าพระสงฆ์สาวกเป็นผู้ปฏิบัติดี. ในพระสังฆคุณแม้นั้น พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นเหมือนกัน. ลําดับนั้น ทรงอ่านอานาปานสติกัมมัฏฐาน ในลําดับสุดท้าย ทรงยังฌานหมวดสี่และหมวดห้าให้เกิดขึ้น. พระองค์ทรงยังเวลาให้ล่วงไป ด้วยความสุขในฌานนั้นและ. ใครอื่นย่อมไม่ได้เพื่อเห็น. มหาดเล็กประจําพระองค์คนเดียวเท่านั้น ย่อมเข้าไปได้. ทรงยังเวลาประมาณกึ่งเดือนให้ผ่านไปด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 358

ชาวพระนครทั้งหลายประชุมกันในพระลานหลวง ได้ทําการโห่ร้องตะโกนว่า จําเดิมแต่วันที่พระราชาทรงรับพระราชบรรณาการแล้ว ไม่มีการทอดพระเนตรพระนคร หรือ การทอดพระเนตรดูนางฟ้อนรํา ไม่มีการพระราชทานวินิจฉัย พระราชาจงทรงพระราชทานพระราชบรรณาการที่พระสหายส่งมาให้แก่ผู้รับไปเถิด ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงพยายามเพื่อหลอกลวงแม้ด้วยเครื่องบรรณาการ ยึดพระราชสมบัติของพระราชาบางพระองค์ให้แก่ตน พระราชาของพวกเราทรงทําอะไรหนอ ดังนี้. พระราชาทรงสดับเสียงตะโกนแล้วทรงพระราชดําริว่า เราจะธํารงไว้ซึ่งราชสมบัติหรือพระศาสดา.ลําดับนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดําริว่า ประธานและมหาอํามาตย์ของประธานย่อมไม่อาจเพื่อจะนับความที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราจักธํารงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา ดังนี้. ทรงจับพระแสงดาบที่ทรงวางไว้บนพระที่บรรทม ตัดพระเกศาแล้วทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงยังกําพระเกศาพร้อมกับพระจุฑามณีให้ตกลงในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายถือเอากําเกศานี้ครองราชสมบัติเถิด. มหาชนยกกําพระเกศานั้นขึ้นแล้ว ร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระราชาทั้งหลายชื่อว่าได้พระราชบรรณาการจากสํานักพระสหายแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับพระองค์. พระเกศาและพระมัสสุประมาณสององคุลีแม้ของพระราชาได้มีแล้ว. ได้ยินว่า พระเกศาและพระมัสสุเกิดเป็นเช่นกับบรรพชาของพระโพธิสัตว์นั้นแล. ลําดับนั้น ทรงส่งมหาดเล็กประจําพระองค์ให้นําผ้ากาสาวพัสตร์สองผืน และบาตรดินจากในตลาดทรงอุทิศต่อพระศาสดาว่า พระอรหันต์เหล่าใดในโลก เราบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้แล้วทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงสะพายบาตรทรงถือธารพระกร ทรงจงกรมไปมา สอง-สามครั้ง ในพื้นใหญ่ด้วยพระราชดําริว่า บรรพชาของเรางามหรือไม่ ดังนี้ ทรงทราบว่า บรรพชาของเรา

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 359

ดังนี้แล้ว ทรงเปิดพระทวาร เสด็จลงจากพระปราสาท. ก็ประชาชนทั้งหลายเห็นนางฟ้อนผู้ยืน ที่ประตูทั้งสามเป็นต้น แต่จําพระราชานั้นซึ่งเสด็จลงมาไม่ได้. ได้ยินว่า พากันคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มาเพื่อแสดงธรรมกถาแก่พระราชาของพวกเรา. แต่ครั้นขึ้นบนพระปราสาทแล้ว เห็นแต่ที่ประทับยืนและที่ประทับนั่งเป็นต้นของพระราชารู้ว่า พระราชาเสด็จไปเสียแล้วจึงพากันร้องพร้อมกันทีเดียว เหมือนชนในเรือกําลังอับปางจมน้ำ ในท่ามกลางสมุทรฉะนั้น. เสนีทั้งสิบแปด ชาวนครทั้งหมด และพลกายทั้งหลายพากันแวดล้อมกุลบุตร ผู้สักว่าเสด็จลงสู่พื้นแผ่นดินแล้ว ร้องเสียงดัง.

ฝ่ายอํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลแด่กุลบุตรนั้นว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดาพระราชาทั้งหลายในมัชฌิมประเทศทรงมีมายามาก ขอพระองค์ได้โปรดส่งพระราชสาส์นไปว่า ขึ้นชื่อว่าพุทธรัตนะ ได้เกิดขึ้นในโลกแล้วหรือไม่ ทรงทราบแล้วจักเสด็จไป ขอเดชะ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด. เราเธอพระสหายของเรา เรากับพระสหายนั้นไม่มีความต่างกัน พวกเจ้าจงหยุดเถิดอํามาตย์เหล่านั้น ก็ติดตามเสด็จนั้นเทียว. กุลบุตรทรงเอาธารพระกรขีดเป็นตัวหนังสือ ตรัสว่า ราชสมบัตินี้เป็นของใคร. ของพระองค์ ขอเดชะผู้ใดทําตัวหนังสือนี้ในระหว่าง บุคคลนั้น พึงให้เสวยพระราชอํานาจ. พระเทวีพระนามว่า สีวลี เมื่อไม่ทรงอาจเพื่อทําพระอักษรที่พระโพธิสัตว์กระทําแล้วในมหาชนกชาดก ให้มีระหว่างก็เสด็จกลับไป. มหาชนก็ได้ไปตามทางที่พระเทวีเสด็จไป. ก็มหาชนไม่อาจเพื่อทําพระอักษรนั้นให้มีในระหว่าง. ชาวนครทําพระอักษรนี้ไว้เหนือศีรษะกลับ ไปร้องแล้ว. มหาชนคิดว่ากุลบุตรนี้จักให้ไม้สีฟันหรือน้ำบ้วนปาก ในสถานที่เราไปแล้ว ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรโดยที่สุดแม้เศษผ้าก็หลีกไป. ได้ยินว่า กุลบุตรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาของเราเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชาพระองค์เดียว เสด็จ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 360

ไปพระองค์เดียว เราละอายต่อพระศาสดา ได้ยินว่า พระศาสดาของเราทรงบรรพชาแล้ว ไม่เสด็จขึ้นยาน และไม่ทรงสวมฉลองพระบาท โดยที่สุดแม้ชั้นเดียวไม่ทรงกั้นร่มกระดาษ. มหาชนขึ้นต้นไม้กําแพง และป้อมเป็นต้นแลดูว่า พระราชาของเราเสด็จไปดังนี้. กุลบุตรคิดว่า เราเดินทางไกล ไม่อาจเพื่อจะไปทางหนึ่งได้ จึงเสด็จติดตามพ่อค้าพวกหนึ่ง. เมื่อกุลบุตรผู้สุขุมมาลไปในแผ่นดินที่ร้อนระอุ พื้นพระบาททั้งสองข้าง ก็กลัดหนองแตกเป็นแผล. ทุกข์เวทนาก็เกิดขึ้น.

ครั้นเมื่อพวกพ่อค้าตั้งค่ายพักนั่งแล้ว กุลบุตรก็ลงจากทาง นั่ง ณโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. ชื่อว่าผู้ทําบริกรรมเท้า หรือนวดหลังในที่นั่ง ไม่มี.กุลบุตรเข้าอานาปานจตุตถฌาน ข่มความลําบากในทางความเหน็จเหนื่อยและความเร่าร้อน ยังเวลาให้ผ่านไปด้วยความยินดีในฌาน. ในวันรุ่งขึ้น เมื่ออรุณขึ้นแล้วทําการปฏิบัติสรีระ เดินติดตามพวกพ่อค้าอีก. ในเวลาอาหารเช้าพวกพ่อค้ารับบาตรของกุลบุตรแล้วใส่ขาทนียะและโภชนียะลงในบาตรถวาย.ขาทนียะและโภชนียะนั้นเป็นข้าวสารดิบบ้าง เศร้าหมองบ้าง. แข็งเสมอกับก้อนกรวดบ้าง จืด และเค็มจัดบ้าง. กุลบุตรพิจารณาสถานที่พัก บริโภคขาทนียะและโภชนียะนั้นดุจอมฤตโดยทํานองนั้น เดินไปสิ้นทาง ๒๐๐ โยชน์ ต่ํากว่า๘ โยชน์ (๑๙๒ โยชน์) แม้จะเดินไปใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันก็ตาม แต่ก็ไม่ถามว่า พระศาสดาประทับอยู่ณ ที่ไหน. เพราะเหตุไร. เพราะเคารพในพระศาสดา และเพราะอํานาจแห่งพระราชสาส์น ที่พระราชาทรงส่งไป. ก็พระราชาทรงส่งพระราชสาส์นไป ทรงทําดุจพระศาสดาทรงอุบัติในกรุงราชคฤห์ว่า พระตถาคตทรงอุบัติในโลกนี้. เพราะฉะนั้น จึงไม่ถาม เดินทางไปสิ้น๕ โยชน์. ในเวลาพระอาทิตย์ตก กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่าพระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน. ท่านมาจากที่ไหนขอรับ. จากอุตตรประ-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 361

เทศนี้ พระนครชื่อว่า สาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราชคฤห์นี้ประมาณ ๔๕ โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ณ กรุงสาวัตถีนั้น. กุลบุตรนั้นคิดว่า บัดนี้ไม่ใช่กาล เราไม่อาจกลับ วันนี้เราพักอยู่ในที่นี้ก่อน พรุ่งนี้จักไปสู่สํานักพระศาสดา. แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาลพัก ณ ที่ไหน. พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน. ลําดับนั้น กุลบุตรนั้นขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่การพักอาศัยในศาลาของนายช่างหม้อนั้น.

ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่า ปุกกุสาติ ทรงพระดําริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไปจักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทํากาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบําเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทําการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้ ทรงทําการปฏิบัติพระสรีระ แต่เช้าตรู่ มีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตเสด็จเข้าพระคันธกุฏิ ทรงระงับความลําบากในการเดินทางครู่หนึ่ง ทรงพระดําริว่า กุลบุตรได้ทํากิจที่ทําได้ยากเพราะความเคารพในเรา ละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์ ไม่ถือเศษผ้า โดยที่สุดแม้คนผู้ให้น้ำบ้วนปาก ออกไปเพียงคนเดียว ดังนี้ ไม่ตรัสอะไรในพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์เสด็จออกไปเพียงพระองค์เดียว และเมื่อเสด็จไป ก็ไม่ได้ทรงเหาะไป ไม่ทรงย่นแผ่นดิน. ทรงพระดําริอีกว่า กุลบุตรละอายต่อเราไม่นั่งแม้ในยานหนึ่ง ในบรรดาช้าง ม้า

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 362

รถ และวอทองเป็นต้น โดยที่สุด ไม่สวมรองเท้าชั้นเดียว ไม่กางร่มกระดาษออกไป แม้เราก็ควรไปด้วยเท้าเท่านั้น ดังนี้ จึงเสด็จไปด้วยพระบาท.พระองค์ทรงปกปิดพระพุทธสิรินี้ คืออนุพยัญชนะ ๘๐ รัศมี ๑ วา มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เสด็จไปด้วยเพศของภิกษุรูปหนึ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญที่หมอกเมฆปกปิดไว้ฉะนั้น โดยปัจฉาภัตเดียวเท่านั้น ก็เสด็จไปได้ ๔๕ โยชน์ในเวลาพระอาทิตย์ตก ก็เสด็จถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น ในขณะที่กุลบุตรเข้าไปแล้วนั้นแล. ท่านหมายถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น จึงกล่าวว่า ก็โดยสมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปพักในนิเวศน์ของนายช่างหม้อนั้นก่อน ดังนี้ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้นเสด็จไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทรงข่มขู่ว่าเราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปยังศาลาของนายช่างหม้อประทับ ยืนที่ประตูนั้นแล เมื่อจะให้กุลบุตรทําโอกาส จึงตรัสว่า สเจ เต ภิกฺขุ (ภิกษุ ถ้าท่านไม่หนักใจ) ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อุรุทฺทํ (กว้างขวาง) ได้แก่ สงัดไม่คับแคบ. บทว่า วิหรตายสฺมา ยถาสุขํ (นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด) ความว่า กุลบุตรทําโอกาสว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอยู่เป็นสุข ตามอิริยาบถที่มีความผาสุกเถิด. ก็กุลบุตรละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์แล้วบวชจักตระหนี่ศาลาของนายช่างหม้อที่คนอื่นทอดทิ้ง เพื่อพรหมจารีอื่นหรือ.ก็โมฆบุรุษบางพวกบวชในศาสนาแล้ว ถูกความตระหนี่ทั้งหลายมีความตระหนี่เพราะอาวาสเป็นต้นครอบงํา ย่อมตะเกียกตะกาย เพราะอาวาสของบุคคลเหล่าอื่นว่า สถานที่อยู่ของตน เป็นกุฏิของเรา เป็นบริเวณของเรา ดังนี้. บทว่า นิสีทิ (ประทับนั่ง) ความว่า พระโลกนาถทรงสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ทรงละพระคันธกุฏิเป็นเช่นกับ เทพวิมาน ทรงปูลาดสันถัต คือ หญ้า ในศาลาช่างหม้อ ซึ่งมีขี้เถ้าเรี่ยราดไปทั่ว สกปรกด้วยภาชนะแตก หญ้าแห้ง ขี้ไก่และขี้สุกรเป็นต้นเป็นเช่นกับที่ทิ้งขยะ ทรงปูปังสุกุลจีวรประทับนั่ง ดุจเสด็จเข้าพระมหาคันธ-

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 363

กุฏิ อันมีกลิ่นทิพย์เช่นกับเทพวิมานแล้วประทบนั่งฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติในพระมหาสัมมตวงศ์อันไม่เจือปน แม้กุลบุตรก็เจริญแล้วในขัตติยครรภ์. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระอภินิหาร แม้กุลบุตรก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ต่างก็ทรงสละราชสมบัติทรงผนวช. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรรณะดุจทอง แม้กุลบุตรก็มีวรรณะดุจทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ทรงมีลาภคือสมาบัติ. ทั้งสองก็ทรงเป็นกษัตริย์ ทั้งสองก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระอภินิหาร ทั้งสองก็ทรงผนวชจากราชตระกูล ทั้งสองทรงมีพระวรรณะดุจทอง ทั้งสองทรงมีลาภ คือ สมาบัติ เสด็จเข้าสู่ศาลาของช่างหม้อแล้วประทับนั่ง ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ศาลาช่างหม้อ จึงงดงามอย่างยิ่ง.พึงนําสถานที่ทั้งหลายเป็นต้นว่า ถ้ำที่พญาสัตว์ทั้งสองมีสีหะเป็นต้นเข้าไปแสดงเปรียบเทียบเถิด.

ก็ในบุคคลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังแม้พระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้สุขุมาล เดินทางมาสิ้น ๔๕ โยชน์ โดยเวลาหลังภัตเดียวควรสําเร็จสีหไสยาสักครู่ก่อน ให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง ดังนี้ ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติเทียว. ฝ่ายกุลบุตรก็ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราเดินทางมาสิ้น๑๙๒ โยชน์ ควรนอนพักบรรเทาความเหนื่อยในการเดินทางสักครู่ก่อน ก็นั่งเข้าอานาปานจตุตถฌานแล. ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัตินั้น จึงกล่าวว่า อถโข ภควา พหุเทว รตฺตึ (พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีเป็นอันมาก) เป็นต้น. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระดําริว่า เราจักแสดงธรรมแก่กุลบุตรมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงไม่ทรงแสดงเล่า. ตอบว่า ไม่ทรงแสดงเพราะเหตุว่า กุลบุตรมีความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางยังไม่สงบระงับ จักไม่อาจเพื่อรับพระธรรมเทศนาได้ ขอให้ความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางนั้นของกุลบุตรสงบระงับก่อน. อาจารย์พวก

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 364

อื่นกล่าวว่า ธรรมดานครราชคฤห์เกลือนกล่นด้วยมนุษย์ ไม่สงัดจากเสียง ๑๐ อย่าง เสียงนั้นจะสงบโดยประมาณสองยามครึ่ง พระองค์ทรงรอการสงบเสียงนั้นจึงไม่ทรงแสดง. นั้นไม่ใช่การณ์. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถเพื่อยังเสียง แม้ประมาณพรหมโลกให้สงบระงับได้ ด้วยอานุภาพของพระองค์.พระองค์ทรงรอความสงบระงับจากความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางก่อน จึงไม่ทรงแสดง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเทว รตฺตึ (ล่วงเลยราตรีเป็นอันมาก) ได้แก่ประมาณสองยามครึ่ง. บทว่า เอตทโหสิ (ทรงพระดำริดังนี้) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากผลสมาบัติแล้ว ทรงลืมพระเนตรที่ประดับประดาด้วยประสาทห้าอย่าง ทรงแลดูดุจทรงเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ในวิมานทองฉะนั้น.

ลําดับนั้น พระองค์ทรงเห็นกุลบุตรปราศจากการคะนองมือ การคะนองเท้าและการสั่นศีรษะ นั่งเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดีแล้ว เหมือนพระพุทธรูปทองไม่หวั่นไหว เป็นนิตย์ จึงตรัสว่า เอตํ ปาสาทิกํ นุโข (น่าเลื่อมใสหนอ) เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิโก (น่าเลื่อมใส) คือนํามาซึ่งความเลื่อมใส.ก็คํานั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์. ในคํานั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า กุลบุตรย่อมเป็นไปด้วยอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น อิริยาบถเป็นกิริยาที่น่าเลื่อมใสโดยประการใด ก็ย่อมเป็นไปโดยประการนั้น. ในอิริยาบถทั้ง ๔ อย่าง อิริยาบถ๓ อย่างย่อมไม่งาม. จริงอยู่ ภิกษุเดินไป มือทั้งหลายย่อมแกว่งเท้าทั้งหลายย่อมเคลื่อนไป ศีรษะย่อมสั่น. กายของภิกษุผู้ยืน ย่อมแข็งกระด้าง. อิริยาบถแม้ของภิกษุผ้นอน ย่อมไม่น่าพอใจ. แต่เมื่อภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ในปัจฉาภัต ปูแผ่นหนัง มีมือและเท้าชําระล้างดีแล้ว นั่งขัดสมาธิอันประกอบด้วยสนธิสี่นั้นเทียว อิริยาบถย่อมงาม. ก็กุลบุตรนี้ขัดสมาธินั่งเข้าอานาปานจตุตถฌาน. กุลบุตรประกอบด้วยอิริยาบถด้วยประการฉะนี้แล. พระผู้มีพรภาคเจ้าทรงปริวิตกว่า กุลบุตรน่าเลื่อมใสหนอแล. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 365

ทรงปริวิตกว่า เอาเถิดเราควรจะถามดูบ้าง แล้วตรัสถาม เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้บวชอุทิศพระองค์หรือ. ตอบว่า ไม่ทรงรู้หามิได้ แต่เมื่อไม่ตรัสถาม ถ้อยคําก็ไม่ตั้งขึ้น เมื่อถ้อยคําไม่ตั้งขึ้นแล้ว การแสดงย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสถาม เพื่อเริ่มตั้งถ้อยคําขึ้น. บทว่า ทิสฺวาปาหํ น ชาเนยฺยํ ความว่า ชนทั้งหมดย่อมรู้พระตถาคตผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริว่านี้พระพุทธเจ้า. การรู้นั้นไม่น่าอัศจรรย์. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปกปิดพระพุทธรัศมีเสด็จไปด้วยอํานาจของภิกษุผู้บิณฑบาตรูปหนึ่ง จึงรู้ได้ยาก ท่านปุกกุสาติกล่าวสภาพตามเป็นจริงว่า เราไม่รู้ด้วยประการฉะนี้. ความจริงเป็นอย่างนั้น ท่านปุกสุสาติไม่รู้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แม้ประทับนั่ง ณ ศาลาช่างหม้อด้วยกัน.

บทว่า เอตทโหสิ (ได้มีพระดำริดังนี้) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางสงบระงับแล้ว ทรงมีพระดําริ. บทว่า เอวมาวุโส (ชอบแล้วท่านมีอายุ) ความว่า กุลบุตรได้อ่านสักว่าสาส์นที่พระสหายส่งไป สละราชสมบัติออกบวชด้วยคิดว่าเราจักได้ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะของพระทศพลครั้น บรรพชาแล้วก็เดินทางไกลประมาณนี้ ก็ไม่ได้พระศาสดา ผู้ตรัสสักบทว่า ดูก่อนภิกษุเราจักแสดงธรรมแก่ท่าน กุลบุตรนั้นจักไม่ฟังคําที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน โดยเคารพหรือ. กุลบุตรนี้เป็นเหมือนนักเลงสุราที่กระหายและเหมือนช้างที่ตกมันฉะนั้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรเมื่อปฏิญาณถึงการฟังโดยความเคารพ จึงทูลว่า เอวมาวุโส ดังนี้. บทว่า ฉธาตุโร อยํ (คนเรานี้มีธาตุ ๖) ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอัน เป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น. จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใด ยังไม่บริสุทธิ์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือ ศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนืองๆ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 366

ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม ๗ ฌาน ๘ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว. แต่บุพภาคปฏิปทานั้น ของผู้ใด บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว. จริงอย่างนั้น กุลบุตรนั้นอ่านพระสาส์นแล้วขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไปตลอด ๑๙๒ โยชน์ ยังกิจในยานให้สําเร็จ. แม้สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะอันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตเท่านั้น แก่กุลบุตรนั้น.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉธาตุโร ได้แก่ ธาตุ ๖ มีอยู่ บุรุษไม่มี.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่ไม่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน คําดังกล่าวมานี้พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัพพาสวสูตรนี้นั้นแล. แต่ในธาตุวิภังคสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มี จึงตรัสอย่างนั้น. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละบัญญัติว่าบุรุษ ตรัสว่า ธาตุเท่านั้นแล้วทรงวางพระหฤทัย กุลบุตรก็พึงทําความสนเท่ห์ถึงความงงงวยไม่อาจเพื่อรับเทศนาได้. เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงละบัญญัติว่า บุรุษโดยลําดับ ตรัสสักว่า บัญญัติว่า สัตว์ หรือ บุรุษ หรือ บุคคล เท่านั้นโดยปรมัตถ์ ชื่อว่า สัตว์ ไม่มี ทรงวางพระทัยในธรรมสักว่า ธาตุเท่านั้นตรัสไว้ในอนังคณสูตรว่า เราจักให้แทงตลอดผลสาม ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ดุจอาจารย์ให้เรียนศิลปะด้วยภาษานั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในภาษาอื่น. ในธาตุวิภังคสูตรนั้น ธาตุ ๖ ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่ามีธาตุ๖. มีอธิบายว่า ท่านย่อมจําบุคคลใดว่า บุรุษ บุคคลนั้นมีธาตุ๖ ก็ในที่นี้โดยปรมัตถ์ก็มีเพียงธาตุเท่านั้น. ก็บทว่า ปุริโส (คน) คือ เป็นเพียง

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 367

บัญญัติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปติฏฐาน เรียกว่า อธิษฐานในบทนี้ว่า จตุราธิฏาโน (อธิฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔) ความว่า มีอธิษฐานสี่. มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุบุรุษนี้นั้นมีธาตุ ๖ มีผัสสอายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้. กุลบุตรนั้นเวียนกลับจากธาตุนี้เทียว ถือเอาอรหัตอันเป็นสิทธิที่สูงสุด ดํารงอยู่ในฐานะ๔ นี้ ถือเอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีอธิษฐาน ๔. บทว่า ยตฺถฏิตํ (อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว) ได้แก่ดํารงอยู่ในอธิษฐานเหล่าใด. บทว่า มฺสฺสวา นปฺปวตฺตนฺต (ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป) ได้แก่ ไม่มีกิเลสเครื่องสําคัญคนเป็นไป. บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ (บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว) ได้แก่มุนี ผู้พระขีณาสพ เรียกว่า สงบแล้ว ดับแล้ว.

บทว่า ปฺํ นปฺปมชฺเชยฺย (ไม่พึงประมาทปัญญา) ความว่าไม่พึงประมาท สมาธิปัญญาและวิปัสสนาปัญญา ตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อแทงตลอดอรหัตตผลปัญญา.บทว่า สจฺจมนุรกฺเขยฺย (พึงตามรักษาสัจจะ) ความว่า พึงรักษาวจีสัจ ตั้งแต่ต้นเพื่อกระทําให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจ คือ นิพพาน. บทว่า จาคมนุพฺรูเหยฺย (พึงเพิ่มพูนจาคะ) ความว่า พึงพอกพูนการเสียสละกิเลสแต่ต้นเทียว เพื่อทําการสละกิเลสทั้งปวง ด้วยอรหัตตมรรค.บทว่า สนฺติเมว โส สิกฺเขยฺย (พึงศึกษาสันติเท่านั้น) ความว่า พึงศึกษาการสงบระงับ กิเลสตั้งแต่ต้นเทียวเพื่อสงบระงับกิเลสทั้งหมดด้วยอรหัตตมรรค. พระผู้มีพระภาค.เจ้าตรัสบุพภาคาธิษฐานทั้งหลาย มีสมถวิปัสสนาปัญญาเป็นต้นนี้ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุอธิษฐานทั้งหลายมีปัญญาธิษฐานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. บุทว่า ผสฺสายตนํ (ผัสสายตนะแดนสัมผัส) ความว่า อายตนะ คือ อาการของผัสสะ. บทว่า ปฺาธิฏาโน (มีปัญญาเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) เป็นต้น พึงทราบด้วยอํานาจแห่งปัญญาทั้งหลายมีอรหัตตผลปัญญาเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อน. บัดนี้ เป็นอันกล่าวถึงบทว่า อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสําคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปด้วยอํานาจแห่งมาติกาที่ตั้งไว้แล้ว. แต่ครั้น บรรลุอรหัตแล้ว กิจด้วยคําว่า ไม่พึงประมาทปัญญาเป็นต้น ย่อมไม่มีอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวาง

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 368

มาติกาที่มีธาตุกลับกันแล้ว เมื่อจะทรงจําแนกวิภังค์ด้วยอํานาจตามธรรมเท่านั้น จึงตรัสคําว่า ไม่พึงประมาทปัญญา ดังนี้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ในบาทคาถานั้น ใครประมาทปัญญา ใครไม่ประมาทปัญญา.ตอบว่า บุคคลใดบวชในศาสนานี้ก่อนแล้ว สําเร็จชีวิตด้วยอเนสนา ๒๑ วิธีด้วยอํานาจ กรรมมีเวชกรรม เป็นต้น ไม่อาจเพื่อตั้งจิตตุปบาทโดยสมควรแก่บรรพชา บุคคลนี้ชื่อว่า ประมาทปัญญา. ส่วนบุคคลใดบวชในศาสนาแล้วตั้งอยู่ในศีล เล่าเรียนพระพุทธพจน์ สมาทานธุดงค์อันเป็นที่สบาย ถือกัมมัฏฐานอันชอบจิต อาศัยเสนาสนะอันสงัด กระทํากสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนาว่าในวันนี้แล พระอรหัตดังนี้ เที่ยวไป บุคคลนี้ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. แต่ในสูตรนี้ ได้ตรัสถึงความไม่ประมาทปัญญานั้นด้วยอํานาจแห่งธาตุกัมมัฏฐาน. ส่วนคําใดพึงกล่าวในธาตุกัมมัฏฐานนั้น คํานั้นได้กล่าวไว้แล้วในสูตรทั้งหลาย มีหัตถิปโทปมสูตรเป็นต้น ในหนก่อนนั้นแล.ในสูตรนี้มีอนุสนธิโดยเฉพาะว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีก คือวิญญาณดังนี้. เพราะได้ตรัสรูปกัมมัฏฐานในหนก่อนแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงเปลี่ยนแสดงอรูปกัมมัฏฐาน ด้วยอํานาจเวทนาจึงทรงปรารภเทศนานี้. ก็หรืออรูปกัมมัฏฐานนี้ใดอันเป็นวิญญาณผู้กระทํากรรม ด้วยอํานาจวิปัสสนาที่ภิกษุนี้ พึงถึงในธาตุทั้งหลายมีปฐวีธาตุเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เมื่อจะทรงจําแนกแสดงอรูปกัมมัฏฐานนั้นด้วยอํานาจ วิญญาณธาตุ จึงทรงปรารภเทศนานี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวสิสฺสติ ความว่าจะเหลือเพื่อประโยชน์อะไร. จะเหลือเพื่อประโยชน์แก่การแสดงของพระศาสดา และเพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอดของกุลบุตร. บท ปริสุทธํ (อันบริสุทธิ์) ได้แก่ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาตํ (ผุดผ่อง) ได้แก่ประภัสสร.บทว่า สุขนฺติปิ ปชานาติ (รู้ชัดว่า สุขบ้าง) ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราเสวยสุข ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 369

เสวยสุขเวทนา. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าเวทนากถานี้ไม่ได้ตรัสไว้ในหนก่อนไซร้ ก็ควรเป็นไปเพื่อตรัสไว้ในสูตรนี้ ก็เวทนากถานั้นได้ตรัสไว้แล้วในสติปัฏฐานนั้นเทียว เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสติปัฏฐานนั้นแล. บทเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุขเวทนียํ (อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา) ได้กล่าวไว้แล้วเพื่อแสดงความเกิดขึ้นและความดับ ด้วยอํานาจปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า สุขเวทนียํ คือ เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน บทว่า อุเปกฺขาเยว อวสิสฺสติ (สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คืออุเบกขา) ความว่า ก็ศิษย์จับมุกดาที่อาจารย์ผู้ทําแก้วมณีผู้ฉลาด ร้อยเพชรด้วยเข็มเอามาวางแล้ววางอีกให้ในแผ่นหนังเมื่อทําการร้อยด้วยด้าย ชื่อว่า ทําเครื่องประดับมีตุ้มหูแก้วมุกดาและข่ายแก้วมุกดาเป็นต้น ชื่อฉันใดกุลบุตรนี้เมื่อมนสิการซึ่งกัมมัฏฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้แล้ว ชื่อว่า ได้กระทําให้คล่องแคล่ว ฉันนั้นเหมือนกันเพราะฉะนั้น รูปกัมมัฏฐานก็ดี อรูปกัมมัฏฐานก็ดี ได้เกิดคล่องแคล้ว ด้วยประการเท่านี้.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่ คืออุเบกขา ดังนี้. ถามว่าจะเหลือเพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อการทรงแสดงของพระศาสดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อแทงตลอดของกุลบุตรดังนี้บ้าง.คํานั้นไม่ควรถือเอา. กุลบุตรได้อ่านสาส์นของพระสหายได้ยืนอยู่บนพื้นปราสาทยังอานาปานจตุตถฌาณให้เกิดแล้ว ก็อานาปานจตุตถฌานนั้น ย่อมยังยานกิจของกุลบุตรนั้น ผู้เดินทางมาประมาณนี้ให้สําเร็จ เพราะฉะนั้น จึงเหลือเพื่อการตรัสของพระศาสดาเท่านั้น. ก็ในฐานะนี้พระศาสดาตรัสคุณในรูปาวจรฌานแก่กุลบุตร. เพราะได้ตรัสว่าดูก่อนภิกษุ รูปาวจรจตุตถฌานนี้คล่องแคล้วก่อน ดังนี้. บทว่า ปริสุทฺธา เป็นต้น เป็นการแสดงคุณแห่งอุเบกขา

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 370

นั้นเทียว. บทว่า อกฺกํ พนฺเธยฺย (ติดเตา) คือ เตรียมเบ้าเพลิง. บทว่า อาลิมฺเปยฺย (สุม) ความว่า ใส่ถ่านเพลิงลงในเบ้านั้นแล้วจุดไฟ เป่าด้วยสูบให้ไฟลุกโพลง.บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย (ใส่เบ้า) ความว่า คีบถ่านเพลิงวางไว้บนถ่านเพลิง หรือใส่ถ่านเพลิงบนถ่านเพลิงนั้น. บทว่า นีหตํ (ถูกไล่ขี้) คือ มีมลทินอันนําออกไปแล้ว. บทว่า นินฺนิตกสาวํ ได้แก่ มีน้ำฝาดออกแล้ว. บทว่า เอวเมว โข (ฉันนั้นเหมือนกันแล) ความว่า ทรงแสดงคุณว่า จตุตถฌานเปกขานี้ก่อน ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่ท่านปรารถนา ในบรรดาธรรมนี้คือ วิปัสสนา อภิญญา นิโรธ ภโวกกันติ เหมือนทองนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อชนิดแห่งเครื่องประดับ ที่ปรารถนาและต้องการแล้วฉะนั้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสโทษ เพื่อความผ่องแผ้วจากความใคร่ในรูปาวจรจตุตถฌานแม้นี้ แต่ตรัสคุณเล่า. ตอบว่า เพราะการยึดมั่นความใคร่ในจตุตถฌานของกุลบุตร มีกําลัง.ถ้าจะพึงตรัสโทษไซร้ กุลบุตรก็จะพึงถึงความสงสัย ความงงงวยว่า เมื่อเราบวชแล้ว เดินทางมาตลอด ๑๙๒ โยชน์ จตุตถฌานนี้ยังยานกิจให้สําเร็จได้เรามาสู่หนทางประมาณเท่านี้ ก็มาแล้วเพื่อความยินดีในฌานสุข ด้วยฌานสุขพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโทษแห่งธรรมอันประณีตเห็นปานนี้ ทรงรู้หนอแลจึงตรัส หรือไม่ทรงรู้ จึงตรัส ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณ. ในบทนี้ว่า ตทนุธมฺมํ (มีธรรมควรแก่ฌานนั้น) ดังนี้ อรูปาวจรฌาน ชื่อว่า ธรรม.รูปาวจรฌาน เรียกว่าอนุธรรม เพราะเป็นธรรมคล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้นอีกประการหนึ่ง วิปากฌาน ชื่อว่า ธรรม กุศลฌาน ชื่อว่า อนุธรรม.บทว่า ตทุปาทานา (ยึดอากาสานัญจายตนฌาน) คือ การถือเอาธรรมนั้น. บทว่า จิรํ ทีฆมทฺธานํ (ตลอดกาลยาวนาน) ได้แก่ ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัป. ก็คํานั้น ตรัสด้วยอํานาจแห่งวิบาก. แม้นอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 371

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณของอรูปาวจรฌาน โดยวาระ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งอรูปาวจรฌานนั้น จึงตรัสว่า เธอรู้ัชัดย่างนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตเมตํ (จิตนี้ก็เป็นสังขต) ความว่าในปฐมพรหมโลกนั้น มีอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป แม้ก็จริง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงกระทําจิตนั้นให้เป็นการปรับปรุง คือความสําเร็จ ความพอกพูนก็ย่อมทรงกระทํา. อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ชั่วคราว มีการเคลื่อนไป แตกดับ และกระจัดกระจายเป็นธรรมดาคล้อยตามความเกิด ถูกชราบั่นทอน อันมรณะครอบงํา ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็นที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึงพาอาศัย. แม้ในวิญญาณายตนะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

บัดนี้ เมื่อจะทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคือ อรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้น จะไม่คํานึง ดังนี้เป็นต้น. เหมือนหมอ ผู้ฉลาดเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งพิษแล้ว กระทําใจให้พิษเคลื่อนจากฐานให้ขึ้นข้างบน ไม่ให้เพื่อจับคอหรือศีรษะ ให้พิษตกลงในแผ่นดินฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณในอรูปาวจรฌานแก่กุลบุตรฉันนั้นเหมือนกัน. กุลบุตรครั้นฟังอรูปาวจรฌานนั้นแล้ว ครอบงําความใคร่ในรูปาวจรฌาน ตั้งความปรารถนาในอรูปาวจรฌาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้นครอบงําความใคร่ในรูปาวจรฌานนั้นแล้ว จึงทรงแสดงโทษนั้นทั้งหมด ด้วยบทเดียวเท่านั้นว่า สงฺขตเมตํ แก่ภิกษุ ผู้ยังไม่บรรลุ ยังไม่ได้อรูปาวจรฌานนั้นว่า ชื่อว่าสมบัติในอากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้นมีอยู่ ก็อายุของผู้ได้อากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้น ในพรหมโลกที่หนึ่ง มี ๒๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สองมี๔๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สามมี ๖๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สี่ มี๘๔,๐๐๐ กัป แต่อายุนั้น ไม่เทียง ไม่ยังยืน ไม่แน่นอน เป็นไปชั่วคราว

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 372

มีการเคลื่อนไป แตกดับ และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คล้อยตามความเกิดถูกชราบั่นทอน อันมรณะครอบงํา ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็นที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย แม้ได้เสวยสมบัติในพรหมโลกนั้น ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ทํากาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว พึงตกในอบายสี่อีก.กุลบุตรได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ยึดมั่นความใคร่ในอรูปาวจรฌาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้ยึดมั่นความใคร่ในรูปาวจร และอรูปาวจรแล้ว เมื่อจะทรงถือยอดคืออรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คํานึงดังนี้เป็นต้น. ก็หรือว่ามหาโยธะ (นายทหารผู้ใหญ่) คนหนึ่ง ยังพระราชาพระองค์หนึ่งให้พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้บ้านส่วย ซึ่งมีรายได้หนึ่งแสน. พระราชาทรงระลึกถึงอานุภาพของมหาโยธะนั้นว่า โยธะมีอานุภาพมาก เขาได้ทรัพย์น้อย ดังนี้ จึงพระราชทานอีกว่า ดูก่อนพ่อ บ้านนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ท่านจงรับเอาบ้านอื่น ซึ่งมีรายได้ตั้งสี่แสน. เขารับสนองพระบรมราชโอการว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า ละบ้านนั้นแล้วรับเอาบ้านนี้. พระราชาตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะนั้น ผู้ยังไม่ถึงบ้านนั้นแลทรงส่งไปว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรค กําลังเกิดในบ้านนั้น แต่ในที่โน้น มีนครใหญ่ ท่านพึงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้นเถิด ดังนี้. มหาโยธะนั้น พึงเสวยราชย์อย่างนั้น. ในข้อนั้น พึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนพระราชา. ปุกกุสาติกุลบุตรเหมือนมหาโยธะ. อานาปานจตุตถฌาน เหมือนบ้านที่ได้ครั้งแรก. การให้การทําการยึดมั่น ซึ่งความใคร่ในอานาปานฌานแล้วตรัสอรูป เหมือนกาลให้มหาโยธะสละบ้านนั้น แล้ว.ตรัสว่า เจ้าจงถือเอาบ้านนี้. การที่ให้กุลบุตรนั้นเปลี่ยนการปรารถนาในสมาบัติเหล่านั้น ที่ยังไม่ถึง ด้วยการทรงแสดงโทษในอรูปว่า สงฺขตเมตํ แล้ว

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 373

ทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัตในเบื้องสูง เหมือนกาลที่ตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะ ซึ่งยังไม่ถึงบ้านนั้นแล้ว ตรัสว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไร ด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรคกําลังเกิดในบ้านนั้น ในที่โน้นมีนคร ท่านจงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อภิสงฺขโรติ (จะไม่ปรุงแต่ง) คือไม่สั่งสม ได้แก่ไม่ทําให้เป็นกอง. บทว่า น อภิสฺเจตยติ (จะไม่คิดถึง) คือ ไม่ให้สําเร็จ บทว่า ภวาย วา วิภวาย วา (ความเจริญหรือความเสื่อม) ได้แก่ เพื่อความเจริญ หรือเพื่อความเสื่อม พึงประกอบแม้ด้วยอํานาจแห่งสัสสตะและอุจเฉทะ. บทว่า น กิฺจิ โลเก อุปาทิยติ (ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก) ความว่า ไม่ถือ ไม่ลูบคลํา แม้ธรรมหนึ่งอะไรๆ ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นในโลก ด้วยตัณหา. บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ (ย่อมทราบชัด... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งอยู่ในพุทธวิสัยของพระองค์ ทรงถือยอดคืออรหัต ด้วยเทศนา. ส่วนกุลบุตรแทงตลอดสามัญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน.พระราชาเสวยโภชนะมีรสต่างๆ ด้วยภาชนะทองคําทรงปั้นก้อนข้าวโดยประมาณของพระองค์ ครั้นเมื่อพระราชกุมารประทับนั่ง ณ พระเพลา แสดงความอาลัยในก้อนข้าวพึงทรงน้อมก้อนข้าวนั้น. กุมารทรงทําคําข้าว โดยประมาณพระโอษฐ์ของพระองค์ พระราชาทรงเสวยคําข้าวที่เหลือด้วยพระองค์เองหรือทรงใส่ในจานฉันใด พระตถาคตผู้ธรรมราชาก็ฉันนั้น เมื่อทรงถือยอดคือพระอรหัต โดยประมาณพระองค์ ทรงแสดงเทศนา. กุลบุตรแทงตลอดสามัญญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน. ก็ในกาลก่อนแต่นี้ กุลบุตรนั้นแสดงกถาอันประกอบด้วยไตรลักษณ์ อันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง เห็นปานนี้ว่า ขันธ์ธาตุ อายตนะ ทั้งหลาย ย่อมไม่กังขา ย่อมไม่สงสัยว่า นัยว่าไม่เป็นอย่างนั้นข้อนั้นอาจารย์ของเรากล่าวแล้วอย่างนี้ ทราบว่า ความเป็นคนเขลา ความเป็น

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 374

ผู้ผิด ไม่มีด้วยประการฉะนี้. ได้ยินว่า ในฐานะบางอย่าง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จไปด้วยเพศอันบุคคลไม่รู้ได้. ได้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลงว่า นั่นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอแล. เพราะกุลบุตรนี้แทงตลอดอนาคามิผลแล้วในกาลนั้น จึงถึงความตกลงว่า บุคคลนี้คือ พระศาสดาของเรา. ถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร กุลบุตรจึงไม่แสดงโทษล่วงเกินเล่า. ตอบว่าเพราะไม่มีโอกาส. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําวาระอันไม่ตัดแล้วด้วยมาติกาตามที่ทรงยกขึ้นแล้ว จึงทรงแสดงพระเทศนา ดุจทรงให้หยั่งลงสู่อากาศคงคาฉะนั้นแล.

บทว่า โส (เขา) คือ พระอรหันต์นั้น. บทว่า อนชฺโฌสิตา (ไม่น่าปรารถนา) ความว่ารู้ชัดว่า ไม่ควรแล้ว เพื่อกลืน ติดใจ ถือเอา. บทว่า อนภินนฺทิตา (ไม่น่าเพลิดเพลิน) คือรู้ชัดว่า ไม่ควรแล้วเพื่อเพลิดเพลินด้วยอํานาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า วิสํยุตฺโต น เวนิยติ (ก็เป็นผู้ไม่ยึดติดเสวยสุข หรือทุกข์ หรืออทุขมสุขเวทนานั้น) ความว่า ก็ถ้าว่า ราคานุสัยเพราะปรารภสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะปรารภทุกขเวทนา อวิชชานุสัยเพราะปรารภเวทนานอกนี้ พึงเกิดแก่บุคคลนั้นไซร้ บุคคลนั้นก็ชื่อว่า ประกอบพร้อมแล้วเสวย.แต่เพราะไม่เกิดจึงชื่อว่าไม่ประกอบเสวยคือสลัดออกแล้ว พ้นวิเศษแล้ว.บทว่า กายปริยนฺติกํ (มีกายเป็นที่สุข) ความว่า เวทนา ซึ่งเกิดขึ้นมีกายเป็นที่สุด จนถึงความเป็นไปแห่งกาย ต่อแต่นั้น ก็ไม่เกิด. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.บทว่า อภินนฺทิตานิ สีติภวิสฺสนฺติ (ที่เพลิดเพลินกันแล้ว... จักสงบ) ความว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดเป็นอันชื่อว่าไม่ยินดีแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายไม่มีพิเศษ ในอายตนะสิบสอง จักดับในอายตนะสิบสองนี้นั้นเทียว. ก็กิเลสทั้งหลายแม้ดับแล้วเพราะมาถึงนิพพาน ย่อมไม่มีในที่ใด เรียกว่า ดับแล้วในที่นั้น. เนื้อความนี้นั้น.พึงแสดงด้วยสมุทย ปัญหาว่า ตัณหานั้น เมื่อจะดับย่อมดับในที่นั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดแม้เป็นธรรม ชาติสงบแล้ว เพราะอาศัยนิพพาน จักเป็นของสงบในโลกนี้แล. ถามว่า ก็

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 375

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเสวยอารมณ์ทั้งหลาย ในที่นี้มิใช่หรือ ทําไมจึงไม่ตรัสกิเลสทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะแม้ความเสวยอารมณ์ทั้งหลาย จะเป็นของสงบ เพราะไม่มีกิเลสนั้นเทียว. ธรรมดาความที่ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายเป็นของสงบ ไม่มีในฐานะนอกนี้ เพราะฉะนั้น คํานั้นกล่าวดีแล้ว. นี้เป็นการเปรียบเทียบอุปมาในบทนี้ว่า เอวเมว โข (ฉันนั้นเหมือนกันแล) เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อประทีปน้ำมัน ไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมดก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกันตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทํากุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้งหลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาดสูญนั้นเทียว. อนึ่ง คนหนึ่งกระสันในเปลวประทีปแอบซ่อนด้วยคิดว่า เพราะอาศัยบุรุษนี้ เปลวประทีปจึงไม่ดับ ดังนี้ พึงตัดศีรษะของบุรุษนั้น. เพราะไม่ใส่ไส้และไม่เติมน้ำมันอย่างนี้ เปลวประทีปที่หมดเชื้อ ก็ย่อมดับฉันใดพระโยคาวจรผู้กระสันในปวัตติกาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตัดขาดกุศลและอกุศล ด้วยอรหัตตมรรค. เพราะความที่กุศลนั้น ถูกตัดขาดแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นอีกแก่ภิกษุผู้ขีณาสพ เพราะความแตกแห่งกายดังนี้

บทว่า ตสฺมา (เพราะฉะนั้น) ความว่า เพราะอรหัตตผลปัญญา ยิ่งกว่าสมาธิปัญญาและวิปัสสนาปัญญาในเบื้องต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต (ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้) ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยอรหัตตผลปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อันสูงสุดนี้.ญาณในอรหัตตมรรค ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไปซึ่งทุกข์ทั้งปวง แต่ในสูตรนี้ทรงประสงค์ญาณในอรหัตตผล. เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กําเริบ ดังนี้. ก็ในบทเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 376

บทว่า วิมุตฺติ (ความหลุดพ้น) ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ. บทว่า สจฺจํ ได้แก่ ปรมัตถสัจคือ นิพพาน. ความหลุดพ้นนั้นตรัสว่า ไม่กําเริบ เพราะทําอารมณ์อันไม่กําเริบด้วยประการฉะนี้. บทว่า มุสา (เท็จ) ได้แก่ ไม่จริง. บทว่า โมสธมฺมํ (มีสภาพหลอกลวง) ได้แก่สภาพที่พินาศ. บทว่า ตํ สจฺจํ (สิ่งนั้นจริง) ความว่า สัจจะนั้นเป็นของแท้มีสภาพ.บทว่า อโมสธมฺมํ (มีสภาพไม่หลอกลวง) ได้แก่มีสภาพไม่พินาศ. บทว่า ตสฺมา (เพราะฉะนั้น) ความว่า เพราะปรมัตถสัจ คือ นิพพานนั้นแล สูงกว่าวจีสัจบ้าง ทุกขสัจและสมุทยสัจบ้าง ด้วยอํานาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่ต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต (ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้) ความว่าผู้ประกอบพร้อมด้วยปรมัตถสัจจาธิษฐานอันสูงสุดนี้. บทว่า ปุพฺเพ (ในกาลก่อน) คือในกาลเป็นปุถุชน. บทว่า อปธี โหนฺติ (อุปธิ) ได้แก่ อุปธิ เหล่านั้นคือ ขันธูปธิกิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ ปัญจกามคุณูปธิ. บทว่า สมตฺตา สมาทินฺนา (ประกอบกระทำ) ความว่า บริบูรณ์คือถือเอาแล้ว ได้แก่ลูบคลําแล้ว. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการสละกิเลสด้วยอรหัตตมรรคนั้นแลดีกว่าการสละกิเลสด้วยอํานาจแห่งสมถะ และวิปัสสนาแต่ต้น และกว่าการสละกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต คือ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยจาคาธิษฐานอันสูงสุดนี้. ชื่อว่า อาฆาฏะ ด้วยอํานาจแห่งการทําการล้างผลาญ ในคําเป็นต้นว่า อาฆาโฏ. ชื่อว่า พยาบาทด้วยอํานาจแห่งการปองร้าย. ชื่อว่า สัมปโทสะด้วยอํานาจแห่งการประทุษร้ายทุกอย่าง. ท่านกล่าวอกุศลมูลเท่านั้น ด้วยบททั้ง ๓. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการสงบระงับกิเลสด้วยอรหัตตมรรคนั้นแล สูงกว่าการสงบระงับกิเลสด้วยอํานาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่เบื้องต้น.และการสงบระงับกิเลสด้วยโสดาปัตตมรรคเป็นต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต (ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้) ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยอุปสมาธิษฐานอันอุดมนี้

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 377

บทว่า มฺิตเมตํ (ความถือตนมีอยู่) ความว่าความสําคัญ แม้๓ อย่างคือ ตัณหามัญญิตะ มานมัญญิตะ ทิฏฐิมัญญิตะ ย่อมเป็นไป. ก็บทนี้ว่า อสฺสมหํ ( ในบทนี้ว่า อหมสฺมิ คือความสําคัญตัณหานั้นเทียว ย่อมเป็นไป. ชื่อว่า โรค เพราะอรรถว่า เบียดเบียน ในบทว่า โรโค (โรค) เป็นต้น. ชื่อว่า คัณฑะ (เหมือนหัวฝี) เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายในภายใน. ชื่อว่า สัลละ (เหมือนลูกศร) เพราะอรรถว่าเสียดแทงเนืองๆ.บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ (บัณฑิตเรียกบุคคลว่า มุนีผู้สงบแล้ว) ความว่าบุคคลนั้นเรียกว่า มุนีผู้พระขีณาสพผู้สงบแล้ว คือ ผู้สงบระงับแล้วดับทุกข์แล้ว. บทว่า ยตฺถ ิตํ (อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว) คือ ตั้งอยู่ในฐานะใด. บทว่า สงฺขิตฺเตน (โดยย่อ) ความว่า ก็พระธรรมเทศนาแม้ทั้งหมด ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อแล้วเทียว. ชื่อว่า เทศนาโดยพิสดารไม่มี. แม้สมันตปัฏฐานกถาก็ย่อแล้วนั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้ถึงตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้. ก็ในบุคคล ๔ จําพวก มีอุคฆฏิตัญูเป็นต้น ปุกกุสาตีกุลบุตร เป็นวิปัจจิตัญู พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธาตุวิภังคสูตรนี้ ด้วยอํานาจแห่งวิปัจจิตัญู ด้วยประการฉะนี้. ในบทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญบาตร และ จีวรของข้าพระองค์ ยังไม่ครบแล มีคําถามว่า เพราะเหตุไรบาตรและจีวรที่สําเร็จด้วยฤทธิ์จึงไม่เกิดขึ้นแก่กุลบุตรเล่า. ตอบว่า เพราะความที่บริขาร ๘ อย่าง อันกุลบุตรไม่เคยให้ทานแล้วในกาลก่อน. กุลบุตรมีทานเคยถวายแล้ว มีอภินิหารได้กระทําแล้ว จึงไม่ควรกล่าวว่า เพราะความที่ทานไม่เคยให้แล้ว. ก็บาตรและจีวรอันสําเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น. ส่วนกุลบุตรนี้ยังมีปฏิสนธิอีก. เพราะฉะนั้น บาตรและจีวรที่สําเร็จด้วยฤทธิ์ จึงไม่เกิดขึ้น. ถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสวงหาด้วยพระองค์เองให้ถึงพร้อมเล่า. ตอบว่าเพราะพระองค์ไม่มีโอกาส. อายุของกุลบุตรก็สิ้นแล้ว. มหาพรหมผู้อนาคามีชั้น

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 378

สุทธาวาส ก็เป็นราวกะมาสู่ศาลาช่างหม้อแล้วนั่งอยู่. เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงแสวงหาด้วยพระองค์เอง. บทว่า ปตฺตจีวรํ ปริเยสนํ ปกฺกามิ (หลีกไปหาบาตรและจีวร) ความว่าท่านปุกกุสาติหลีกไปในเวลานั้น เมื่ออรุณขึ้นแล้ว.

ได้ยินว่า การจบพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า การขึ้นแห่งอรุณ และการเปล่งพระรัศมี ได้มีในขณะเดียวกัน. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระเทศนาแล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี มีสี ๖ ประการ. นิเวศน์แห่งช่างหม้อทั้งสิ้น ก็โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน. พระฉัพพัณณรัศมี ชัชวาลย์แผ่ไปเป็นกลุ่มๆ ทําทิศทางทั้งปวงให้เป็นดุจปกคลุมด้วยแผ่นทองคํา และดุจรุ่งเรืองด้วยดอกไม้และรัตนะอันประเสริฐซึ่งมีสีต่างๆ. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานว่า ขอให้ชาวพระนครทั้งหลาย จงเห็นเรา ดังนี้. ชาวพระนครทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ต่างก็บอกต่อๆ กันว่า ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว นัยว่า ประทับ นั่ง ณ ศาลาช่างหม้อ แล้วกราบทูลแด่พระราชา.พระราชาเสด็จไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาแล้วเมื่อไร. เมื่อเวลาพระอาทิตย์ตกวานนี้ มหาบพิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยกรรมอะไร. พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของพระองค์ทรงฟังพระราชสาส์นที่มหาบพิตรส่งไปแล้ว เสด็จออกบวช เสด็จมาเจาะจงอาตมาภาพ ล่วงเลยกรุงสาวัตถีเสด็จมาสิ้น ๔๕ โยชน์. เสด็จเข้าสู่ศาลาช่างหม้อนี้แล้วประทับ นั่งอาตมภาพจึงมา เพื่อสงเคราะห์พระสหายของมหาบพิตร ได้แสดงธรรมกถากุลบุตรทรงแทงตลอดผล ๓ (โสดาปฏิผล สกทาคามีผล อนาคามีผล) มหาบพิตร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พระเจ้าปุกกุสาติประทับ อยู่ที่ไหน พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระเจ้าปุกกุสาติกุลบุตรทรงขออุปสมบทแล้ว เสด็จไปเพื่อทรงแสวงหาบาตรและจีวรเพราะบุตรและจีวรยังไม่ครบบริบูรณ์. พระราชาเสด็จไปทางทิศทางที่กุลบุตร

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 379

เสด็จไป. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเหาะไปปรากฏ ณ พระคันธกุฏีในพระเชตวันนั้นแล. แม้กุลบุตรเมื่อแสวงหาบาตรและจีวร ก็ไม่ไปสู่สํานักของพระเจ้าพิมพิสาร และของพวกพ่อค้าเดินเท้า ชาวเมืองตักกศิลา. ได้ยินว่ากุลบุตรนั้นคิดอย่างนี้ว่า การที่เลือกแสวงหาบาตรและจีวรที่พอใจและไม่พอใจในสํานักนั้นๆ แล ไม่สมควรแก่เราผู้ดุจไก่ พระนครใหญ่ จําเราจักแสวงหาที่ท่าน้ำป่าช้า กองขยะ และตามตรอก ดังนี้. กุลบุตรปรารภเพื่อแสวงหาเศษผ้าที่กองขยะในตรอกก่อน.

บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ (ได้ปลิดชีพ) ความว่า แม่โคลูกอ่อนหมุนไปวิ่งมา ขวิดกุลบุตรนั้น ผู้กําลังแลดูเศษผ้าในกองขยะแห่งหนึ่ง ให้กระเด็นขึ้นถึงความตายกุลบุตรผู้ถูกความหิวครอบงํา ถึงความสิ้นอายุในอากาศนั่นเทียว ตกลงมานอนคว่ําหน้าในที่กองขยะ เป็นเหมือนรูปทองคําฉะนั้น. ก็แลทํากาละแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา. พอเกิดแล้วก็บรรลุพระอรหัต. ได้ยินว่า ชนที่สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี ๗ คน ได้บรรลุพระอรหัต สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภิกษุ ๗ รูป เข้าถึงอวิหาพรหมโลกแล้ว หลุดพ้น มีราคะและโทสะสิ้นแล้วข้ามตัณหาในโลก และท่านเหล่านั้น ข้ามเปลือกตม บ่วงมัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสนยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะ ของมนุษย์แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์.

ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปลคัณฑะ ๑ ปุกกุสาติ ๑ รวม ๓ ภัททิยะ ๑

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 380

ขันฑเทวะ ๑ พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑ท่านเหล่านั้น ละโยคะของมนุษย์แล้วเข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้.

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารทรงพระราชดําริว่า พระสหายของเราได้อ่านสักว่าสาล์นที่เราส่งไป ทรงสละราชสมบัติ ที่อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จมาทางไกลประมาณเท่านี้ กิจที่ทําได้ยากอันกุลบุตรได้ทําแล้ว เราจักสักการะเข้าด้วยเครื่องสักการะของบรรพชิต ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า พวกท่านจงไปตามหาพระสหายของเรา ดังนี้. ราชบริวารทั้งหลายที่ถูกส่งไปในที่นั้นๆ ได้เห็นกุลบุตรนั้น. เห็นเขาล้มลงที่กองขยะ กลับมาทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จไปทรงเห็นกุลบุตรแล้ว ทรงคร่ําครวญว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไม่ได้เพื่อทําสักการะแก่พระสหายหนอ พระสหายของเราไม่มีที่พึ่งแล้ว ตรัสสั่งให้นํากุลบุตรด้วยเตียง ทรงตั้งไว้ในโอกาสอันสมควร ตรัสสั่งให้เรียกผู้อาบน้ำให้และช่างกัลบกเป็นต้น โดยให้รู้ถึงการทําสักการะแก่กุลบุตรผู้ยังไม่ได้อุปสมบททรงให้อาบพระเศียรของกุลบุตร ทรงไห้นุ่งผ้าอันบริสุทธิ์เป็นต้น ทรงให้ตกแต่งด้วยเพศของพระราชา ทรงยกขึ้นสู่วอทอง ทรงให้ทําการบูชา ด้วยวัตถุทั้งหลายมีดนตรี ของหอมและมาลาทุกอย่างเป็นต้น ทรงนําออกจากพระนครทรงให้ทํามหาจิตกาธาน ด้วยไม้หอมเป็นอันมาก ครั้นทรงทําสรีรกิจของกุลบุตรแล้ว ทรงนําเอาพระธาตุมาประดิษฐ์ไว้ในพระเจดีย์. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธาตุวิภังคสูตรที่ ๑๐