การบริจาคเงินเพื่อการกุศล

 
oom
วันที่  4 พ.ค. 2550
หมายเลข  3621
อ่าน  2,964

กรณีที่เราเป็นข้าราชการ ไม่มีครอบครัว เมื่อเราเสียชีวิต ก็จะได้เงินตอบแทน ต่างๆ ตามสิทธิของข้าราชการ ซึ่งเงินส่วนนี้ เราขอบริจาคให้เป็นสาธารณประโยชน์ ทั้งหมด โดยไม่แบ่งให้ญาติพี่น้อง เนื่องจากญาติพี่น้องก็มีเงิน ไม่เดือดร้อนอะไร คิด ว่าถูกต้องหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนา ในกุศลศรัทธาที่บริจาคทรัพย์ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณประโยชน์ ถ้าหากญาติพี่น้อง ที่เคยมีอุปการะคุณต่อกัน ควรแบ่งปันทรัพย์ เพื่อตอบแทนบุญคุณ แก่บุคคลเหล่านั้นบ้างก็จะเป็นการดี แต่การบริจาคทรัพย์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นควร กระทำเมื่อตั้งแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะถึงยังไงเราต้องจากทรัพย์นั้นไป หรือทรัพย์ เหล่านั้นต้องจากเราไป ชีวิตและทรัพย์ทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง ควรทำบุญตั้งแต่วันนี้ มีน้อยก็ควรให้น้อย ตามกำลัง การไม่ให้เลยไม่ดี

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

ควรให้ทาน ควรทำบุญ [อาทิตตชาดก]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
medulla
วันที่ 4 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 4 พ.ค. 2550

เชิญคลิกอ่านที่นี่..

อานิสงส์การให้ทาน [สาธุสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 4 พ.ค. 2550

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๐

คำกล่าวของเปรตตนหนึ่ง

การสงวนทรัพย์ คือ การไม่ให้แก่ใครๆ เป็นความพินาศของสัตว์ทั้ง หลาย ความฉิบหาย ก็คือ การสงวนทรัพย์ ได้ยินว่าเปรตทั้งหลาย รู้ว่า การสงวนทรัพย์ คือการไม่ให้ แก่ใครๆ เป็นความพินาศ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าสงวนทรัพย์ไว้ เมื่อทรัพย์มีอยู่เป็นอันมาก ไม่ให้ทานเมื่อไทย ธรรมมีอยู่ ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน ข้าพเจ้าได้รับผลแห่งกรรมของตน จึงเดือด ร้อนในภายหลัง ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
devout
วันที่ 4 พ.ค. 2550

การให้ไม่ใช่เพื่อผลของทาน แต่เป็นการขัดเกลาความตระหนี่ ซึ่งควรกระทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

ชิตังเม ชิตังเม ชิตังเม

เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว

คือ คำเปล่งอุทานของเอกสาฎกพราหมณ์ (อดีตชาติของท่านพระมหากัสสปะเถระ) เมื่อท่านเอาชนะความตระหนี่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 4 พ.ค. 2550

คนที่ตระหนี่ก็ไม่ให้ทาน คนประมาทก็ไม่ให้ทานเพราะคิดว่า ยังมีชีวิตอยู่อีกนาน ขอยกข้อความจากพระไตรปิกฏ ค่ะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

มัจฉริสูตร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แหม่มค่ะ
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่าน ในกรณีของสมาชิก oom ถ้าหาก ญาติไม่เดือดร้อน แต่ไม่เห็นด้วยคือการกระทำของเรา ทำให้ผู้อื่นเศร้า หมอง ควรกระทำหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oom
วันที่ 4 พ.ค. 2550

ปัจจุบันก็ทำบุญทุกวิธีตามบุญญกิริยวัตถุ ๑๐ อยู่แล้วค่ะ เพียงแต่ว่าตอนตายไปแล้ว ยังมีมรดกตกทอด จากการรับราชการ ที่จะได้รับเมื่อเราตายไปแล้ว ไม่ได้ตอนที่ยังมีชีวิต จึงต้องมอบหมาย ให้ญาติพี่น้องที่รับมรดกต่อ ช่วยจัดการให้ตามเจตนา ที่เราต้องการ โดยที่ไม่ทำให้ทุกคนเดือดร้อน แต่ถ้าเขาเดือดร้อนเรื่องเงิน ก็คงแบ่ง ให้ตามสมควร

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 4 พ.ค. 2550

การให้ ไม่เลือกเลยว่าเป็นใครหรือบุคคลใด แน่นอนว่า เราควรให้ในที่ที่ควรให้เช่นสาธารณประโยชน์ แต่ก็ควรแบ่งบางส่วน เพื่อสงเคราะห์ญาติ แม้เขาจะมีมากก็ตามให้เพียงเล็กน้อยก็ได้ ดังนั้นตามความเป็นจริงแล้ว ขณะใดมีศรัทธาที่ไหนก็ให้ในที่นั้นการแบ่งให้เหมาะสม พระพุทธเจ้ามิได้ ทรงห้ามที่จะให้บุคคลอื่น แต่ทรงตรัสว่า มีศรัทธาที่ใด ก็ให้ที่นั้น และความเศร้าหมอง ของการให้ หรือทานบารมี คือกำหนด ไทยธรรม (ของที่จะให้) ว่าจะไม่ให้ของชิ้นนี้ เป็นต้น และกำหนดปฏิคาหก คือผู้รับว่าเราจะให้กับบุคคลนี้ บุคคลนี้เราไม่ให้ นี่ก็ทำให้ ทานบารมีเศร้าหมอง แม้อดีตกาลพระเจ้ามหาสุทัสสน ทรงไม่ให้เลือกว่า คนนี้มีเงินแล้วเราไม่ให้ แต่ทรงแจกจ่ายทั่วไปทั้งหมดครับ นี่คืออัธยาศัยของผู้ให้จริง ให้แม้ผู้ด่า และผู้ที่โกรธอยู่ จะกล่าวไปใย ถึงผู้เป็นญาติและมีเงินแล้ว แต่ควรแจกจ่ายตามอัตราส่วนที่เหมาะสม ว่าควรให้ในทางไหน มากกว่ากันครับ ขอยกต้วอย่างในพระไตรปิฎก ในเรื่องต่างๆ ครับ เรื่องการสงเคราะห์ญาติ มิได้ทรงแสดงว่า ญาติมีเงินแล้วไม่ให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 201

ข้อความบางตอนจาก

ปัตตกัมมสูตร

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕ คือ ญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ราชพลี (ช่วยราชการ) เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา ด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ ๓ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว เรื่องความเศร้าหมองของการให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 615

ความเศร้าหมองแห่งทานบารมี เพราะกำหนดไทยธรรม (ของที่จะให้) และปฏิคาหก (ผู้รับ)

เรื่องมีศรัทธาที่ใดให้ที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

ข้อความบางตอนจาก

อิสสัตถสูตร

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาว่าพระองค์ตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่เหล่าสาวกของคนพวกอื่น ไม่มีผลมาก ดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบปัญหา ของเรา ก็จักทรงทำลายวาทะ ของเหล่าเดียรถีย์ได้ ในที่สุด ท้าวเธอ เมื่อทรงทูลถามปัญหาจึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควร ให้ทานในที่ไหนหนอ

บทว่า ยตฺถ ความว่า จิตเลื่อมใสในบุคคลใด พึงให้ ทานในบุคคลนั้น หรือพึงให้แก่บุคคลนั้น.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ