การพูดที่ไม่เป็นประโยชน์

 
oom
วันที่  18 พ.ค. 2550
หมายเลข  3738
อ่าน  8,025

เคยอ่านในพระอภิธรรมเรื่อง การพูดไม่เป็นประโยชน์ ถือว่าผิดศีลข้อพูดเพ้อเจ้อ มีประมาณ ๑๘ ข้อ ไม่ค่อยแน่ใจ คือ ถ้าพูดไม่เกี่ยวกับธรรมถือว่าเป็นการพูดเพ้อเจ้อ เช่น พูดเรื่องอาหารการกิน พูดเรื่องงาน พูดเรื่องในชีวิตประจำวัน ดูข่าว พูดเรื่องต้นไม้ เรื่องสัตว์ ถือเป็นพูดเพ้อเจ้อ ซึ่งในชีวิตประจำวันจะปฏิบัติได้อย่างไร เพราะเราต้องทำงาน ถ้าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ ในวันหนึ่งๆ ควรทำอย่างไรที่จะไม่ให้ผิดศีล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 18 พ.ค. 2550

การพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง อกุศลเจตนาพูดในเรื่องที่ไม่มีประโยชน์แก่ผู้อื่น แต่การพูดกับผู้อื่นด้วยเมตตาจิตถามสุขทุกข์ และพูดแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตด้วยกุศลจิต ไม่เป็นสัมผัปปลาป ฉะนั้น การจะเป็นการผิดอกุศลกรรมบถข้อการพูดเพ้อเจ้อหมายถึง การพูดด้วยอกุศลเจตนาให้ผู้อื่นรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 112 [สัมผัปปลป]

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ค่ะ ...

สัมผัปปลาป [มังคลัตถทีปนี]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
reflect
วันที่ 18 พ.ค. 2550
ผู้ที่ละขาดการพูดเพ้อเจ้อได้เป็นสมุจเฉท คือ พระอรหันต์
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 18 พ.ค. 2550

ถ้าเราแนะนำให้ความรู้วิชาเขา เช่น สอนภาษาอังกฤษ เพื่อจะใช้ทำงานได้ หรือ เพื่อจะได้ใช้แนะนำประโยชน์ธรรมชาวต่างชาติ ก็ไม่เป็นการพูดเพ้อเจ้อ หรือคนที่ กลุ้มใจมีความทุกข์เราพูดให้เขาคลายทุกข์ได้ ก็ไม่เป็นเพ้อเจ้อ รักษาศีลให้เป็น ปกติอย่างน้อยมีศีล ๕ ฯลฯ

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

คุณและโทษของการพูด [พหุภาณีสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Tipjeensalute
วันที่ 18 พ.ค. 2550

Speaking with a good intention that benefit others is acceptable.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pdoun
วันที่ 18 พ.ค. 2550
พูดอ้อมค้อมไปมาสุดท้าย ให้โทษกับผู้อื่น แม้เล็กน้อย และให้ประโยชน์กับตน
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 18 พ.ค. 2550
แม้คำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็ต้องกล่าวให้ถูกกาล
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 18 พ.ค. 2550

การพูดเพ้อเจ้อ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็ยังมีเหตุให้พูด แต่จะถึงเป็นกรรมบถ ให้เกิดใน ทุคติ ต้องพูดแล้วทำลายประโยชน์ บุคคลนั้นครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 217

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาปฐมวัตถุกถาสูตรที่ ๙

ปฐมวัตถุกถาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

พูดสิ่งที่เป็นไปเพื่อพิจารณา [อรรถกถาปฐมวัตถุกถาสูตร]

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อิสระ
วันที่ 18 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paisan.ju
วันที่ 19 พ.ค. 2550

จากความเห็นที่ 7 ที่ว่า "ทำลายประโยชน์ผู้อื่น" หมายความว่าอย่างไรครับ คือ ถ้าไม่ มีกุศลจิตขณะพูด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ถือว่าทำลายประโยชน์ผู้อื่นแล้วใช่ ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 19 พ.ค. 2550

เรื่อง คำพูดใดที่ทำให้สงบ ประเสริฐกว่าคำพูดมากมาย แต่ไม่ทำให้สงบจากกิเลส

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

ธรรมบทเดียวฟังแล้วสงบระงับ [พระกุณฑลเกสีเถรี]

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 20 พ.ค. 2550

จากความเห็นที่ 7 ที่ว่า "ทำลายประโยชน์ผู้อื่น" หมายความว่าอย่างไรครับ คือ ถ้าไม่มีกุศลจิตขณะพูดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ถือว่าทำลายประโยชน์ผู้อื่น แล้ว ใช่ไหมครับ

ขณะที่พูดเพ้อเจ้อ ขณะนั้นต้องเป็นอกุศลแน่นอนครับ แต่อกุศลก็มีหลายระดับ พูดเล่นกับเพื่อน ไม่ได้มีกิเลสรุนแรง แต่ถ้าพูดเพ้อเจ้อ เจตนาเพื่อให้อีกคน ที่กำลัง ฟังธรรม ไม่ได้ฟังธรรม ชื่อว่ามุ่งทำลายประโยชน์ใหญ่ คือการฟังพระธรรม นี่ก็เป็นกิเลสที่รุนแรง มุ่งทำลายประโยชน์ เป็นต้นครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
oom
วันที่ 21 พ.ค. 2550

การพูดเพื่อตักเตือนผู้อื่น โดยที่เรามีเจตนาดี ไม่อยากให้เขาทำผิด แต่ผู้ที่ถูกตัก เตือน กลับไม่พอใจ และโกรธ แบบนี้ถือว่าเราพูดไม่เป็นประโยชน์ เราไม่สมควร พูดเตือนบุคคลนี้อีกต่อไปใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
prakaimuk.k
วันที่ 21 พ.ค. 2550

ตามปกติแล้วปุถุชนทั่วไป (รวมทั้งตัวเราด้วย) มักเกิดความไม่พอใจ (ไม่มากก็น้อย) เมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือน ทั้งนี้ก็เนื่องจากยังมีมานะและความเป็นตัวตนอยู่ ... การตักเตือนด้วยเจตนาดีเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเขารับไม่ได้ ก็ไม่ควรพูดเรื่องนั้นๆ อีก แต่ยังคงรักษาเจตนาดีไว้ ทำตัวเป็นเพื่อนที่ดี ช่วยเหลือในกิจการต่างๆ ของเขา เท่าที่จะทำได้ด้วยความจริงใจ ด้วยความมั่นคงในความเห็นที่ตรงที่ถูกต้อง เมื่อใดที่ เขาต้องการคำแนะนำจากเรา เราก็สามารถให้คำปรึกษาหรือตักเตือนได้ โดยยึดหลัก ของความเห็นที่ตรง ...

... แม้คำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็ต้องกล่าวให้ถูกกาล ... (คห.ที่ 16)

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
study
วันที่ 21 พ.ค. 2550

การพูดเพื่อตักเตือนผู้อื่น ด้วยเจตนาดี ควรดูกาละเทศะที่สมควรว่า เขาพร้อมที่

จะรับฟังหรือไม่ หรือเขาปาวารณาตนไว้ก่อนหรือไม่ว่าขอให้ตักเตือน และถ้าให้ดีคือขอโอกาสเขาก่อนว่าจะพูดเตือนเขาในบางอย่าง ถ้าเขายินดีรับฟังก็ควรพูด ถ้าเขาไม่ให้โอกาสไม่ควรพูด ที่สำคัญคือเราต้องรักษาใจให้ดีว่า จะเตือนด้วยเมตตาจิต และถ้อยคำที่น่าฟัง เพื่อประโยชน์แก่เขาเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Tipjeensalute
วันที่ 21 พ.ค. 2550

Here is a sample case of a family support (mom and dad) . Dad is not agreed to be with mom when she goes to practice Smatti with her friends and sleeping over at the Center located in the Temple. Food and teaching process has been provided and a monk at the Temple leads the class. Dad has his duty to bring mom there on Friday and to pick her up on Sunday afternoon. Mom is expecting more of his support to be there with her and it is considered being the most important for her. Here is a question.

What could a son say to his dad without hurt his feeling that he should be there learning and supporting mom?

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 21 พ.ค. 2550

การเตือนด้วยเจตนาหวังดีเป็นกุศลจิต ถึงแม้ว่าจะทำให้เขาไม่พอใจ แต่สักวัน หนึ่งเขาอาจจะคิดได้ และซาบซึ้งถึงความหวังดีของคุณค่ะ เช่น ในอดีตกาล พระ พุทธเจ้าก็เคยว่า พระเทวทัต ตอนที่พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์ พระเทวทัต โกรธอาฆาต แต่ตอนหลังถูกแผ่นดินสูบถึงคอก็ระลึกคุณของพระพุทธเจ้า แล้วพระ เทวทัตก็เอาคางถวายเป็นพุทธบูชา ตอนนี้ท่านอยู่ในอเวจีนรก แต่ในอนาคตท่านจะ ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
oom
วันที่ 22 พ.ค. 2550

ขอบพระคุณมาก ได้ข้อคิดเตือนสติที่ดีมากเลยค่ะ เพราะในชีวิตประจำวัน การทำงาน มักพบปัญหาหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวกับเจ้านายบ้าง ลูกน้องบ้าง เพื่อนร่วมงานบ้าง ทั้งที่ ถูกใจ และไม่ถูกใจ บางครั้งก็ไม่พูด แต่บางครั้งก็อดไม่ได้เกิดโทสะ อารมณ์เสีย พอ พูดไปแล้วถึงคิดได้ว่าไม่น่าพูดเลย ไม่มีประโยชน์

การพูดเพื่อเป็นประโยชน์นั้น ข้อสำคัญต้องพูดให้ถูกกาล ถูกบุคคล ถูกสถานที่ และ พูดด้วยเมตตาจิต

การกระทำแบบนี้ แสดงว่าเราต้องพิจารณาด้วยปัญญาใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 22 พ.ค. 2550

ขึ้นอยู่กับปัญญาจริงๆ ครับ บังคับบัญชาไม่ได้เลยที่จะพูดหรือไม่พูด เพราะเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 พ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
oom
วันที่ 30 พ.ค. 2550

พูดแล้ว เหตุใดหนอ คนฟังไม่ยอมเชื่อ ทั้งๆ ที่สิ่งที่เราพูดไว้เป็นความจริงทุกอย่าง ทำให้เกิดปัญหาตามมา ต้องพบกับความเดือดร้อน การสูญเสีย ความยุ่งยาก เพราะ เราทำผิดศีลข้อมุสา ใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 พ.ค. 2550

การที่ คนฟังไม่ยอมเชื่อสิ่งที่เราพูด มีสาเหตุหลายประการ คือ จากตัวเขาเองที่เป็นผู้ ว่ายาก และจากผลของกรรมของเรา ที่ให้ทานโดยไม่เคารพ ย่อมทำให้ ไม่มีใครเชื่อใน สิ่งที่เราพูด รวมทั้งผลของกรรมที่ทำการพูดเพ้อเจ้อ เศษของกรรมที่เหลือเมื่อเกิดเป็น มนุษย์ย่อมทำให้คนอื่นไม่เชื่อถ้อยคำครับ ลองอ่านดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 พ.ค. 2550

เรื่องการให้ทานที่ไม่เคารพ ย่อมทำให้ไม่มีใครเชื่อฟัง

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ ...

ให้ทานที่ไม่เคารพ [เวลามสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 พ.ค. 2550

เรื่องผลของกรรมเพราะพูดเพ้อเจ้อ ทำให้คนไม่เชื่อถือถ้อยคำ

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 496

ข้อความบางตอนจาก สัพพลหุสสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ