อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 333
อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์
อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง 641/333
อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ ๗
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 333
อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์
อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง
[๖๔๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ก็อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[๖๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. ก็เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 334
อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
[๖๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก. ก็อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลผู้เจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.
[๖๔๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่. ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่.
[๖๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก. ก็อัฏฐิกสัญญา
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 335
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.
[๖๔๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
[๖๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา ฯลฯ
[๖๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา ฯลฯ
[๖๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ
[๖๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 336
[๖๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาอันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
[๖๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา ฯลฯ
[๖๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ฯลฯ
[๖๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ฯลฯ
[๖๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจเจ ทุกขสัญญา ฯลฯ
[๖๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกเข อนัตตสัญญา ฯลฯ
[๖๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา ฯลฯ
[๖๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา (๑) ฯลฯ
[๖๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่เหลือเป็นพระอนาคามี แม้นิโรธ
(๑) ตั้งแต่ข้อ ๖๔๗ ถึงข้อ ๖๖๔ มีเนื้อความเหมือนข้ออัฏฐิกสัญญา
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 337
สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
[๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. ก็นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 338
[๖๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
(พึงขยายความบาลีไปจนกระทั่งถึงการแสวงหา)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
[๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา. สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้ง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 339
หลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.
[๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
(พึงขยายความบาลี ตั้งแต่การกำจัดราคะเป็นที่สุดเช่นนี้ไป จนถึงการแสวงหา)
[๖๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา. สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 340
เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.
(พึงขยายความโพชฌงค์สังยุต เหมือนมรรคสังยุต)
เรื่องในวรรคนี้ คือ
๑. อัฏฐิกสัญญา ๒. ปุฬวกสัญญา ๓. วินีลกสัญญา ๔. วิจฉิททกสัญญา ๕. อุทธุมาตกสัญญา ๖. เมตตา ๗. กรุณา ๘. มุทิตา ๙. อุเบกขา ๑๐. อานาปานสติ.
จบอานาปานวรรคที่ ๗ แห่งโพชฌงค์สังยุต
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจทุกขสัญญา ๗. ทุกเขอนัตตสัญญา ๘. ปหานสัญญา ๙. วิราคสัญญา ๑๐. นิโรธสัญญา.
จบนิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงค์สังยุต
[๖๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ
แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.
จบคังคาเปยยาลที่ ๙
[๖๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี เท้ามากก็ดี มีประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 341
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
(พึงขยายความอัปปมาทวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)
จบอัปปมาทวรรคที่ ๑๐ แห่งโพชฌงค์สังยุต
[๖๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ ฯลฯ
(พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร
(พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)
จบพลกรณียวรรคที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 342
[๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้. ๓ อย่างเป็นไฉน. คือ การแสวงหากาม ๑ กามแสวงหาภพ ๑ การแสวงพรหมจรรย์ ๑
(พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕.ปฐมทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร ๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.
(เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดาร โดยอาศัยวิเวก)
จบเอสนาวรรคที่ ๑๒
โอฆะ ๔
[๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการเหล่านี้. ๔ ประการเป็นไฉน. ได้แก่ โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา (พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).
[๖๗๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้แล. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 343
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้แล.
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร
จบโอฆวรรคที่ ๑๓
แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างนั้น อย่างละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค
(คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถแห่งราคะ)
จบวรรคที่ ๑๔
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 344
(อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)
จบวรรคที่ ๑๕
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุภสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร.
(พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความให้ พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)
จบวรรคที่ ๑๖
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ปฐมทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร ๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.
จบเอสนาวรรคแห่งโพชฌงค์สังยุตที่ ๑๗
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร.
(โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งการกำจัดราคะเป็นที่สุด การกำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะเป็นที่สุด)
จบวรรคที่ ๑๘
(มรรคสังยุคแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงคสังยุต แม้นั้น ก็พึงขยายเนื้อความให้พิสดาร)
จบโพชฌงค์สังยุต
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 345
อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ (๑)
อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา
พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา ในอานาปานวรรคที่ ๗ เป็นต้น.
บทว่า อฏฺิกสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า กระดูก กระดูก ดังนี้. ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อมไม่ปรากฏเลย. อนึ่ง โครงกระดูกล้วนมีสีดุจสังข์ ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏแก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะ ผู้ทรงธรรมอยู่บนคอข้าง และแก่พระติสสเถระผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง. เรื่องทั้งหลายขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.
จบอรรถกถาอัฏฐิกสัญญา
ว่าด้วยปุฬุวกสัญญา
บทว่า ปุฬุวกสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า มีหนอน. แม้ในบทว่า วินีลกสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในข้อนี้ เรื่องวินิจฉัยกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคกับนัยภาวนา. พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น พึงทราบด้วยอำนาจฌานหมวด ๓ - ๔. อุเบกขา ด้วยอำนาจฌานที่ ๔ แล.
จบอรรถกถาปุฬุวกสัญญา
(๑) อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 346
ว่าด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น
บทว่า อสุภสญฺา ได้แก่ ปฐมฌานสัญญาในอสุภะ. บทว่า มรณสญฺา ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า เราต้องตายแน่ ชีวิตของเราเนื่องด้วยความตาย. บทว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺา ความว่า ในข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น เป็นปฏิกูลสัญญา สำหรับผู้กลืนกินเท่านั้น. บทว่า สพฺพโลเก อนภีรตสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ให้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นอยู่ในโลกทั้งสิ้น.
บุพภาค ๒ คือ ปหานสัญญา วิราคสัญญา คือ คลุกเคล้าด้วยนิโรธสัญญา. ท่านแสดงกัมมัฏฐาน ๒๐ มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล. กัมมัฏฐาน ๒๐ เหล่านั้น ๙ เป็นอัปปนา ๑๑ เป็น อุปจารฌาน. ส่วนในข้อนี้ เรื่องวินิจฉัยที่เหลือมาแล้วในวิสุทธิมรรคแล.
คงคาเปยยาลเป็นต้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว ในมรรคสังยุตแล.
จบอรรถกถาโพชฌงค์สังยุต
ในอรรถกลาสังยุตตนิกายชื่อสารัตถปกาสินี.