พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

พาลวรรคที่ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38457
อ่าน  538

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 345

พาลวรรคที่ ๓

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 267/345

อรรถกถาสูตรที่ ๑ 345

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยคน ๒ จําพวกกล่าวตู่พระตถาคต 268/346

อรรถกถาสูตรที่ ๒ 346

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยคน ๒ จําพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต 269/347

อรรถกถาสูตรที่ ๓ 347

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยคน ๒ จําพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต 270/348

อรรถกถาสูตรที่ ๔ 348

อรรถกถาสูตรที่ ๕ (อรรถกถาแบ่งพระสูตรที่๔ เป็น ๒ พระสูตร) 349

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยคติ ๒ อย่างของผู้มีการงานลามกและไม่ลามก 271/350

อรรถกถาสูตรที่ ๖ 350

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยคติ ๒ อย่างที่คนมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้ 272/350

อรรถกถาสูตรที่๗ - ๘ 351

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยฐานะ ๒ ที่ต้อนรับคนทุศีลและคนมีศีล 273/351

อรรถกถาสูตรที่ ๙ 351

สูตรที่ ๘ ว่าด้วยประโยชน์ ๒ ประการในการเสพเสนาสนะอันสงัด 274/352

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ 352

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นไปในส่วนแห่งอวิชชา 275/353

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยจิตที่เศร้าหมองด้วยราคะหรืออวิชชาย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญาไม่เจริญ 276/353

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑ 353


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 345

พาลวรรคที่ ๓

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก

[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑

พาลวรรคที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑

พาลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า ทำผิดแล้ว ไม่เห็นความผิดของตนว่า เราทำผิด ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำผิด แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส ความว่า เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า ยถาธมฺมํ น ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่กระทำอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 346

อีก ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ก็ไม่ยอมรับการขอขมานี้ตามธรรม คือ ตามสมควร คือ ไม่กล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีก เรายกโทษแก่ท่าน ดังนี้. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๒

ว่าด้วยคน ๒ จำพวก กล่าวตู่พระตถาคต

[๒๖๘] ๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คนที่เชื่อโดยถือผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต.

จบสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ ได้แก่ กล่าวตู่ คือ กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง. บทว่า โทสนฺตโร แปลว่า มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน. จริงอยู่ คนแบบนี้ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต เช่น สุนักขัตตลิจฉวีกล่าวว่า อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมหามีไม่. บทว่า สทฺโธ วา ทุคฺคหิเตน ความว่า หรือว่าผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ มีความเลื่อมใสอ่อนนั้น ถือผิดๆ กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น เป็นโลกุตระทั้งพระองค์ พระอาการ ๓๒ มีพระเกสา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 347

เป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต

[๒๖๙] ๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ว่าตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ว่าตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต.

จบสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 348

สูตรที่ ๔

ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต

[๒๗๐] ๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไป ว่าพระสุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้ว ว่าพระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึ่งนำไป ว่าพระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้ว ว่าพระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต.

จบสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เนยฺยตฺถํ สุตฺตนฺตํ ความว่า สุตตันตะใดมีเนื้อความพึงแนะนำ ซึ่งสุตตันตะมีเนื้อความพึงแนะนำนั้น. บทว่า นีตตฺโถ สุตฺตนฺโตติ ทีเปติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า สุตตันตะนี้มีเนื้อความกล่าวไว้แล้ว. ในบาลีประเทศนั้น สุตตันตะเห็นปานนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ บุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๓ จำพวก บุคคล ๔ จำพวก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 349

ดังนี้ ชื่อว่ามีเนื้อความพึงแนะนำ. ก็ในที่นี้ ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ ดังนี้เป็นต้นก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ บุคคลหามีไม่ พึงแนะนำเนื้อความแก่เขาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว แต่บุคคลผู้นี้โง่เขลา จึงแสดงว่า สุตตันตะนี้มีเนื้อความแนะนำแล้ว. เพราะว่าเมื่อบุคคลไม่มีโดยปรมัตถ์แล้ว พระตถาคตก็ไม่พึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ ดังนี้เป็นต้นซิ. แต่เพราะพระองค์ตรัสอย่างนั้น ฉะนั้น จึงถือว่าบุคคลมีอยู่โดยปรมัตถ์ ชื่อว่าย่อมแสดงสุตตันตะมีเนื้อความควรแนะนำ ว่าเป็นสุตตันตะมีเนื้อความแนะนำแล้ว. บทว่า นีตตฺถํ ได้แก่ มีเนื้อความที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ซึ่งในที่นี้ก็มีเนื้อความชัดอยู่แล้วว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน. แต่บุคคลผู้นี้โง่เขลา คิดว่า ยังมีสุตตันตะที่มีเนื้อความพึงแนะนำ เราจักนำเนื้อความของสุตตันตะนั้นมา ถือว่า ที่เที่ยง ที่เป็นสุข ที่เป็นตัวตนก็มีอยู่ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมแสดงสุตตันตะมีเนื้อความแนะนำแล้ว ว่าเป็นสุตตันตะมีเนื้อความควรแนะนำ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถา (๑) สูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕


(๑) อรรถกถาสูตรที่ ๔ - ๕ นี้ แก้พระสูตรที่ ๔ (ข้อ ๒๗๐) แต่อรรถกถาแบ่งเป็น ๒ สูตร.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 350

สูตรที่ ๕ (๑)

ว่าด้วยคติ ๒ อย่างของผู้มีการงานลามกและไม่ลามก

[๒๗๑] ๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานลามกพึงหวังได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานไม่ลามกพึงหวังได้.

จบสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖ (๒)

ในสูตรที่ ๖ (บาลีข้อ ๒๗๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีการกระทำอันเป็นบาป. เพราะคนทั้งหลายย่อมทำบาปโดยอาการปกปิด แม้หากทำโดยอาการไม่ปกปิด บาปกรรมก็ได้ชื่อว่า กรรมอันปกปิดอยู่นั่นเอง. บทว่า นิรโย ได้แก่ ขันธ์พร้อมทั้งโอกาส และขันธ์ในกำเนิดดิรัจฉาน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๖ (๓)

ว่าด้วยคติ ๒ อย่างที่คนมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้

[๒๗๒] ๒๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้ ดูก่อน


(๑) อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๖ แต่แก้บาลีสูตรที่ ๕ (ข้อ ๒๗๑)

(๒) พระสูตรเป็นสูตรที่ ๕.

(๓) บาลีเป็นสูตรที่ ๖ แต่อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๗ - ๘.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 351

ภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้.

จบสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

ในสูตรที่ ๗ และสูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

สูตรที่ ๗ (๑)

ว่าด้วยฐานะ ๒ ที่ต้อนรับคนทุศีลและคนมีศีล

[๒๗๓] ๒๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนทุศีลมี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนมีศีล ๒ อย่าง คือ มนุษย์หรือเทวดา.

จบสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิคฺคหา แปลว่า ฐานะที่ต้อนรับ ความว่า สถานที่ ๒ แห่ง ย่อมต้อนรับบุคคลทุศีล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙


(๑) อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๙.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 352

สูตรที่ ๘ (๑)

ว่าด้วยประโยชน์ ๒ ประการในการเสพเสนาสนะอันสงัด

[๒๗๔] ๒๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เห็นการอยู่สบายในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว.

จบสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อตฺถวเส ได้แก่ เหตุ. บทว่า อรญฺวนปฏฺานิ ได้แก่ ป่าและดง. ใน ๒ อย่างนั้น ในอภิธรรมท่านเรียกที่ทั้งหมดที่อยู่นอกเสาอินทขีล [เสาหลักเมือง] ออกไปว่า ป่า โดยตรงก็จริง ถึงอย่างนั้น บ่าที่ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์พอพักอยู่ได้ที่ท่านกล่าวว่า ใกล้ที่สุดชั่ว ๕๐๐ ธนูนั้นแหละ พึงทราบว่า ท่านประสงค์. บทว่า วนปฏฺํ ได้แก่ ป่าที่เลยเขตบ้านออกไป ไม่เป็นถิ่นของมนุษย์ ไม่เป็นที่ไถที่หว่าน. บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ สุดกู่ คือ ไกลมาก. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารํ ได้แก่ การอยู่อย่างผาสุกทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า ปจฺฉิมญฺจ ชนตํ อนุกมฺปมาโน ความว่า อนุเคราะห์สาวกรุ่นหลังของเรา.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐


(๑) อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 353

สูตรที่ ๙ (๑)

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา

[๒๗๕] ๒๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอมรมจิต จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้.

จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๒๗๖] ๓๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ ด้วยประการฉะนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.

จบสูตรที่ ๑๐

จบพาลวรรคที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑ (๒)

ในสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิชฺชาภาคิยา แปลว่า เป็นไปในส่วนวิชชา. บทว่า สมโถ


(๑) สูตรที่ ๙ - ๑๐ มีเนื้อความติดต่อกัน ควรจะรวมไว้ในสูตรเดียวกัน แต่บาลีแยกเป็น ๒ สูตร อรรถกถารวมไว้เป็นสูตรเดียวกัน คือ สูตรที่ ๑๑.

(๒) บาลีข้อ ๒๗๕ - ๒๗๖.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 354

ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ ญาณกำหนดสังขารเป็นอารมณ์. บทว่า กิมตฺถมนุโภติ ความว่า ให้สำเร็จประโยชน์อะไร คือ ให้ถึงพร้อม ให้บริบูรณ์. บทว่า จิตฺตํ ภาวียติ ความว่า เจริญเพิ่มพูน พัฒนามรรคจิต. บทว่า โย ราโค โส ปหียติ ความว่า ละกิเลสที่ชื่อว่าราคะด้วยอำนาจย้อมใจได้. เพราะราคะเป็นข้าศึกของมรรคจิต มรรคจิตเป็นข้าศึกของราคะ. ขณะมีราคะ ไม่มีมรรคจิต ขณะมีมรรคจิต ไม่มีราคะ. ราคะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมห้ามมิให้มรรคจิตเกิดขึ้นเมื่อนั้น คือ ตัดหนทาง. มรรคจิตเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมรรคจิตก็เพิกถอนราคะพร้อมทั้งรากทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ราโค ปหียติ.

บทว่า วิปสฺสนา ภิกฺขเว ภาวิตา ความว่า วิปัสสนาญาณอันภิกษุเพิ่มพูนแล้วให้เจริญแล้ว. บทว่า ปญฺา ภาวียติ ความว่า มรรคปัญญาอันวิปัสสนาให้เจริญ คือ ให้เพิ่มพูน ให้พัฒนา บทว่า ยา อวิชฺชา สา ปหียติ ความว่า ละอวิชชาใหญ่ที่มีมูลแห่งวัฏฏะได้ในฐานะทั้ง ๘. อวิชชาเป็นข้าศึกของมรรคปัญญา มรรคปัญญาก็เป็นข้าศึกของอวิชชา. ในขณะมีอวิชชา ไม่มีมรรคปัญญา ในขณะมีมรรคปัญญา ไม่มีอวิชชา. อวิชชาเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมห้ามมิให้มรรคปัญญาเกิดขึ้น คือ ตัดหนทาง. มรรคปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมรรคปัญญาก็เพิกถอนอวิชชาพร้อมทั้งรากทีเดียว. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อวิชฺชา ปหียติ. สหชาตธรรมทั้งสอง คือ มรรคจิต มรรคปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยพระดำรัสว่า ราคูปกฺกิลิฏฺํ วา ภิกฺขเว จิตฺตํ น วิมุจฺจติ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มรรคจิตย่อมไม่หลุดพ้น เพราะ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 355

จิตยังเศร้าหมองด้วยราคะ. ด้วยพระดำรัสว่า อวิชฺชูปกฺกิลิฏฺา วา ปญฺา น ภาวียติ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มรรคปัญญา ภิกษุย่อมเจริญไม่ได้ เพราะปัญญายังเศร้าหมองด้วยอวิชชา. บทว่า อิติ โข ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล. บทว่า ราควิราคา เจโตวิมุตฺติ ความว่า ธรรมดาเจโตวิมุตติย่อมมี เพราะสำรอกราคะ คือ ราคะสิ้นไป. คำนี้เป็นชื่อของผลสมาธิ. บทว่า อวิชฺชาวิราคา ปญฺาวิมุตฺติ ความว่า ธรรมดาปัญญาวิมุตติย่อมมี เพราะสำรอกอวิชชา คือ อวิชชาสิ้นไป. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิ วิปัสสนา ที่เป็นไปในขณะต่างๆ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑

จบพาลวรรคที่ ๓