พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สุขวรรคที่ ๒ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38501
อ่าน  465

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 432

สุขวรรคที่ ๒

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 309/432

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 310/432

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 311/432

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 312/433

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 313/433

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 314/433

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 315/434

สูตรที่ ๘ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 316/434

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 317/434

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 318/434

สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 319/435

สูตรที่ ๑๒ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 320/435

สูตรที่ ๑๓ ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง 321/435

อรรถกถาสูตรที่ ๑ 436

อรรถกถาสูตรที่ ๒ 436

อรรถกถาสูตรที่ ๓ 436

อรรถกถาสูตรที่ ๔ 437

อรรถกถาสูตรที่ ๕ 437

อรรถกถาสูตรที่ ๖ 437

อรรถกถาสูตรที่ ๗ 437

อรรถกถาสูตรที่ ๘ 438

อรรถกถาสูตรที่ ๙ 438

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ 438

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑ 439

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒ 439

อรรถกถาสูตรที่ ๑๓ 439


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 432

สุขวรรคที่ ๒

สูตรที่ ๑

[๓๐๙] ๖๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขของคฤหัสถ์ ๑ สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๒

[๓๑๐] ๖๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กามสุข ๑ เนกขัมมสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

[๓๑๑] ๖๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 433

สูตรที่ ๔

[๓๑๒] ๖๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขมีอาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๕

[๓๑๓] ๖๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขอิงอามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๖

[๓๐๔] ๖๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขของพระอริยเจ้า ๑ สุขของปุถุชน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ

จบสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 434

สูตรที่ ๗

[๓๑๕] ๖๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๗

สูตรที่ ๘

[๓๑๖] ๗๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ ๑ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๙

[๓๑๗] ๗๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเกิดแต่ความยินดี ๑ สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่การวางเฉยเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๓๑๘] ๗๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่ถึงสมาธิ ๑ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 435

อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๑๑

[๓๑๙] ๗๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ ๑ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๑

สูตรที่ ๑๒

[๓๒๐] ๗๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๒

สูตรที่ ๑๓

[๓๒๑] ๗๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๓

จบสุขวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 436

สุขวรรคที่ ๒ (๑)

อรรถกถาสูตรที่ ๑

สุขวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า คิหิสุขํ ได้แก่ ความสุขทุกอย่างของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่มีความสำเร็จกามเป็นมูล. บทว่า ปพฺพชฺชาสุขํ ได้แก่ ความสุขที่มีการบรรพชาเป็นมูล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๑๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กามสุขํ ได้แก่ ความสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม. บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ความว่า บรรพชา ท่านเรียกว่า เนกขัม สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภเนกขัมนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปธิสุขํ ได้แก่ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า นิรูปธิสุขํ ได้แก่ สุขที่เป็นโลกุตระ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓


(๑) สุขวรรคที่ ๒ มีพระสูตร ๑๓ สูตร เป็นพระสูตรสั้นๆ ทั้งอรรถกถาแก้ไว้สั้นๆ จึงลงติดต่อกันไว้ทั้งวรรค โดยลงเลขข้อแต่ละสูตรกำกับไว้ด้วยเพื่อความไม่สับสน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 437

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สาสวสุขํ ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะทั้งหลาย. บทว่า อนาสวสุขํ ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๑๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส. บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๑๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อริยสุขํ ได้แก่ สุขของอริยบุคคล. บทว่า อนริยสุขํ ได้แก่ สุขของปุถุชน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กายิกํ ได้แก่ สุขที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ. บทว่า เจตสิกํ ได้แก่ สุขที่เกิดทางมโนทวาร. ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 438

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน. บทว่า นิปฺปีติกํ ได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน. บรรดาสุข ๒ อย่างนั้น พึงทราบความเป็นเลิศ โดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือ สุขปราศจากปีติที่เป็นโลกิยะ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ สุขในฌานทั้ง ๓. บทว่า อุเปกฺขาสุขํ ได้แก่ สุขในจตุตถฌาน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ. บทว่า อสมาธิสุขํ ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 439

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑

ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สปฺปีติการมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานทั้งสอง ที่มีปีติเป็นอารมณ์ แม้ในฌานที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ก็นัยนี้แหละ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒

ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๒๐) ก็พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒

อรรถกถาสูตรที่ ๑๓

ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๓๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า รูปารมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของรูปาวรจตุตถฌาน. บทว่า อรูปารมฺมณํ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของอรูปาวจรฌาน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓

จบสุขวรรคที่ ๒